ลูกสอนแม่ แม่สอนลูก


                 เย็นวานนี้ระหว่างทางกลับบ้าน ลูกสาววัย 8 ขวบ  นั่งๆ แล้วเธอเกิดสะอึกสะอื้น พลางบอก แม่ช่วยคุยกับครูให้ลูกย้ายที่นั่งได้มั๊ย "ทำได้เหรอลูก" "ครูจัดไปแล้วและเพิ่งเปิดเทอมได้ เดือนเดียวเอง" ดิฉันย้อนถามแบบตั้งใจให้เขาคิดอีกครั้ง ว่าทำได้ หรือเปล่า ซักถามกติกาของห้องเป็นยังไง  (ตั้งใจสอนให้เขาเป็นเด็กเคารพกติกา)     "ลูกเห็นแม่ของ แนนนี่ (เพื่อนสนิท) คุยกับครูแล้วก็ได้ย้ายมานั่งข้างหน้าเลย"  "ลูกอยากให้แม่คุยกับครูบ้าง"    "ลูกบอกแม่ซิคะว่าลูกอึดอัดอะไร ถ้าต้องนั่งที่เดิม"  "อาร์ต ชอบแกล้ง"  "ชอบเรียกลูก ว่าปลาร้า ปลาเค็ม ปลาปักเป้า"  "ลูกไม่ชอบ

"หนูก็ชอบแกล้งน้องเหมือนกัน  เด็กๆ ก็ชอบแกล้งกันทั้งนั้นแหล่ะ "

"ไม่รู้แหล่ะลูกไม่อยากนั่งข้างอาร์ตแล้วพรุ่งนี้แม่ต้องมาบอกครูนะแม่"  

แม่เงียบ........ ลูกเงียบ 

" ถ้าแม่ไม่บอกลูกจะบอกพ่อ  เพราะครูในโรงเรียนเชื่อพ่อ พ่อพูดอะไรลูกเห็นคนทำตามหมด" 

เอาละซิคุณแม่เจอโจทย์ยาก  ดิฉันนิ่งไปพักใหญ่  นึกไม่ออกว่าจะพูดต่อยังไง  นึกในใจว่าลูกกำลังใช้ความ พยายามเอาความสนิทสนมส่วนตัวเพราะพ่อเป็นเพื่อนครูด้วยกันและลูกได้จดจำสิ่งที่แม่ของเพื่อนจัดแจงให้ลูกได้จนสำเร็จ ไปเรียบร้อยแล้ว ถ้ายอมทำให้ตอนนี้ลูกจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกและทำได้อย่างปกติ ตามความต้องการของตัวโดยไม่คิดถึงกติกา  

ก่อนนอนดิฉันคุยกับลูกว่า 

"ลูกลองคิดดูถ้าแม่ของทุกคน ในห้องลูกไปบอกครูทุกวัน ว่าอยากย้ายที่นั่งให้ลูกตัวเองเพราะ.......อย่างโน้น  อย่างนี้  คุณครูจะทำยังไงคงต้องปวดหัวตายแน่ที่จะต้องทำตามความต้องการของเด็กทุกคน ลูกไม่สงสารครูเหรอ" "อีกอย่างห้ามคิดพ่อตัวเป็นเพื่อนครูแล้วจะทำให้ได้ทุกอย่าง"    "ลูกต้องมีวิธีจัดการกับเพื่อนที่มีหลายแบบเองเพราะลูกต้องเจอกับเพื่อนที่มีนิสัยต่างกัน"
                    "ถ้าลูกทนอะไรไม่ได้แล้วให้แม่จัดการให้ทุกครั้ง  อีกหน่อยลูกจะจัดการอะไรไม่ได้"

(ลูกจะรู้เรื่องมั๊ยเนี่ย แม่พูดซะยืดยาว)  

น้องปลาเงียบไป  ดิฉันคิดว่าเขาคงหลับแล้ว       และแล้วน้องปลาพูดออกมาว่า "แม่ไม่ต้องแล้ว ลูกจะจัดการเอง"   ดิฉันแอบยิ้มในความมืดที่การพูดของเรา นำไปสู่การคิดจะจัดการอะไรด้วยตัวเอง   ลองรอฟังผลก็แล้วกัน อยากรู้เหมือนกันเขาจะจัดการยังไง บนความเชื่อว่าเด็กๆ เขาคงมีวิธี  นิทานเรื่องนี้ทำให้ต้องย้อนมามองที่ตัวเอง "ยอดนักจัดการ" ที่ผ่านมาเราคงจัดการให้ซะทุกอย่าง  เลี้ยงลูกไปเลี้ยงลูกมา จนลูกคิดว่าแม่มีบทบาทในการจัดการให้เขาซะทุกเรื่อง   

คำสำคัญ (Tags): #คุณแม่
หมายเลขบันทึก: 35013เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
และแล้ว "น้องปลา"..มีวิธีการจัดการอย่างไรคะ...อยากร่วมเรียนรู้ ลปรร. กับน้องปลาคะ....บางครั้งปัญหาเดียวกันอาจเจอได้...ในวัยที่แตกต่างกันได้นะคะ...(ยิ้ม) เฉกเช่นคนในองค์กรเดียวกัน...นั่งข้างกัน...แล้วโกรธกัน ไม่อยากพูดกัน....บางทีวิธีของ "น้องปลา" อาจจะมีประโชน์ต่อ...ผู้ใหญ่ได้อีกหลายคนนะคะ
เรื่องเกิดขึ้นเมื่อวานนี้เองค่ะ เย็นนี้คงได้รับรายงานว่าเขาจัดการยังไง ขอบคุณค่ะ  เย็นนี้ถ้าเขาได้จัดการแล้วจะให้เขาเล่าให้ "พี่กะปุ๋ม" ฟังค่ะ
ยิ้มอย่างกว้าง....ที่สุด...ที่มาพบว่าคุณแม่ของน้องปลาให้ "ตน"...ได้เป็น "พี่สาว"...."น้องปลา"...ชอบม้ากมาก....วัยใกล้กันก็อย่างนี้แหละคะ....
พี่กะปุ๋ม - น้องปลาไม่เล่าอะไรเมื่อเย็นวันศุกร์  วันนี้(วันเสาร์) คุณแม่เลยถามถึง  น้องปลาบอกว่า "ลูกบอกอาร์ตไปแล้ว "แม่เราบอกว่าใครแกล้ง ให้จัดการ" "  แต่ว่าลูกก็ยังอยากให้แม่พูดกับครูอยู่ดีนั่นแหล่ะจะได้ย้ายที่    เป็นอันว่าเขายังคงความคิดเดิมให้แม่แก้ปัญหาให้ง่ายกว่า   สนใจประสบการณ์เด็ก ต้องติดตาม บางวันอาจไม่ได้อะไรจากเขาเลย บางวันก็เป็นเรื่องเป็นขึ้นมา แล้วแต่อารมณ์เขา  จะลองติดตามอารมณ์เขาแล้วเกี่ยวมาเล่าพี่กะปุ๋ม นะจ๊ะ
    อ่านแล้วรู้สึกดีครับ เป็นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่น่าชื่นชม ผลจะเป็นอย่างไรไม่น่าวิตก ถ้าเหตุยังเป็นไปในแนวทางที่ทำอยู่ ทุกอย่างต้องดีแน่ๆครับ ขอเป็นกำลังใจให้ ทั้งคุณแม่และคุณลูกครับ .. ขอย้ำคำพูดเดิมๆที่ผมชอบใช้บ่อยๆว่า " อัน ความง่าย กับความ มักง่าย นั้นอยู่ใกล้กันจนน่ากลัว" น่าจะสะกิดเตือนหลายท่านได้ ว่าอย่าเผลอปล่อยให้ความรัก ชักนำความ "ง่ายเกินไป" มาทำร้ายบุตรหลานคนไทยในระยะยาวเลย
แวะมาเยี่ยม"น้องปลา"...คะ...อยากฟังเรื่องเล่าสนุกๆ..เกี่ยวกับคุณลูกและคุณแม่คะ...

ลูกสายเรียนอนุบาล 2 ,ลูกชาย อนุบาล 3  จะสอนลูกเสมอว่าอยู่ รร.

เพื่อนคนไหนไม่อยากเล่นกับเรา  เราก็ไม่ต้องไปเล่นกับเค้า

ถ้าเพื่อนคนไหน เกเร เราก็อย่างไปเล่นกับเค้า เพราะคนเกเรจะไม่มีใครอยากเล่นด้วย  และ ก็เช่นเดียวกันถ้าเราเกเร  เราก็จะไม่มีเพื่อน

เพื่อนคนไหนชอบเล่นกับเรา  เราก็เล่นกับเค้า

ถ้าเราใจดี มีน้ำใจ แบ่งขนม สิ่งของให้เพื่อน  เพื่อนก็จะรักเรา  เราก็จะมีเพื่อนมาก

ลูกชายอายุ 5 ขวบ ฟังเข้าใจ และทำตาม ชอบมาเล่าว่าเพื่อนในห้องไม่มีใครแกล้งกันหรอก เพราะรู้จักกันหมดแล้ว ดูเค้ามีความสุขที่ได้อยู่กับเพื่อน

แต่ ลูกสาวคนเล็ก ตอนอยู่เตรียมอนุบาล ยังชอบแย่งของเล่นกับเพื่อนอยู่ ตอนนี้พูดให้ฟังบ่อย เริ่มดีขึ้นตามลำดับ ตอนนี้เรียนอนุบาล2แล้ว คุณครูบอกว่าเป็นเด็กใจดี แบ่งบัน เพื่อนหลายคนชอบเล่นกับเค้า และทำให้อยากไปเรียนมากขึ้น  (ดิฉันคิดว่าเพื่อนมีความสำคัญกับเด็กวันนี้มาก)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท