โครงการฝึกอบรมการทำแก็สชีวภาพชุมชนบางเสร่


โครงการฝึกอบรม การทำแก๊สชีวภาพชุมชนบางเสร่ ประจำปีงบประมาณ 2553 จัดโดย คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา

 

 

 

 

โครงการฝึกอบรม 

การทำแก๊สชีวภาพชุมชนบางเสร่ ประจำปีงบประมาณ 2553

จัดโดย คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา

................................................

 

 ชื่อโครงการ :      โครงการฝึกอบรมเรื่อง  “การทำแก๊สชีวภาพชุมชนบางเสร่”

1.  ผู้รับผิดชอบโครงการ 

                        คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา

                            โทร. 0-3810-2290-93 ต่อ101-106 , 081-616-7746    

                                ผู้รับผิดชอบโครงการ

                                ชื่อ-นามสกุล      นายสมบูลณ์  สังวรณ์

                                ตำแหน่ง             อสวท.    

                               โทรศัพท์           08-52868710 โทรสาร 0-3843-6841

                         E-mail       [email protected]            

2. โครงการมีความสอดคล้องกับกิจกรรมหลัก  คือ

                          กิจกรรมการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี

4.  หลักการและเหตุผล

                               ชุมชนบางเสร่  เขตเทศบาลตำบลบางเสร่  อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  มีเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรและมีอาชีพประมง มีการต้มปลา เพื่อทำปลาตากแห้ง  มีมูลสุกรและน้ำต้มปลาที่ทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ปีละ ไม่น้อยกว่า 1,000  เมตริกตัน ประชาชนจึงมีการประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าน่าจะนำมูลสุกรและน้ำต้มปลา มาทำให้เกิดประโยชน์ โดยนำเทคโนโลยีแบบง่ายๆ มาเปลี่ยนให้มูลสุกรและน้ำต้มปลา ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะนำมาผลิตแก๊สชีวภาพ เพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ในการหุงหาอาหาร หรือ นำไปต้มปลา  ตามลำดับ เป็นต้น

                                 ดังนั้น เพื่อเป็นการให้ความรู้ด้านวิชาการและนำความรู้ไปฝึกทักษะทำให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวันบรรลุเป้าหมายดังกล่าว คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพาจึงร่วมกับสมาชิกอสวท. เครือข่ายสัตหีบ  จัดโครงการฝึกอบรมเรื่อง “การทำแก๊สชีวภาพชุมชนบางเสร่”   ขึ้นเพื่อเป็นการถ่ายทอดเผยแพร่ความรู้เทคโนโลยีการทำแก๊สชีวภาพที่ถูกต้อง และช่วยลดรายจ่ายให้กับประชาชนในชุมชน

บางเสร่ อำเภอสัตหีบ  จังหวัดชลบุรี 

 

 

 

5.  วัตถุประสงค์               

                 1. เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และเทคนิคการทำแก๊สชีวภาพสู่ชุมชนบางเสร่

ตลอดจนลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้อแก๊สหุงต้มที่มีราคาสูง

                  2 . เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันจริง

เป็นการลดค่าใช้จ่ายของคนในครอบครัว

                  3 .เพื่อให้ชุมชนบางเสร่ ตลอดจนผู้เข้ารับการอบรมได้รู้จักวิธีการ นำวัสดุที่เหลือใช้

ในท้องถิ่น มาแปรรูปทำให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

6.  กลุ่มเป้าหมาย

         ประชาชนในชุมชนบางเสร่  จำนวน  60  คน

7.  พื้นที่ดำเนินการ

                  พื้นที่กลุ่มเป้าหมาย : พื้นที่ชุมชนเทศบาลตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

8.  ระยะเวลาดำเนินการ   

              เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ถึง เดือนกันยายน 2553

9.  แผนการดำเนินโครงการ

              1.การเตรียมการ

การเตรียมงาน ( กุมภาพันธ์ 2553 ) ประกอบด้วยกิจกรรม

       - แต่งตั้งกรรมการจัดงานฝ่ายต่างๆ และขออนุมัติการจัดโครงการ

       - เตรียมพร้อมสถานที่ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์

       - ประสานงานการอบรมและส่งจดหมายเชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิและประธานเปิด – ปิดงาน

       - จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม

       - ลงทะเบียนรับสมัครผู้รับการอบรม 

              2.การดำเนินงานหรือให้บริการ

การบรรยาย / อภิปรายและการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยวิทยากรจากปราชญ์ชาวบ้าน  ในเดือนมีนาคม และโดยจัดเตรียมสถานที่ จุดสาธิตการทำแก๊สชีวภาพ เขตชุมชนบางเสร่  เทศบาลตำบลบางเสร่ 

อำเภอสัตหีบ  จังหวัดชลบุรี โดยได้รับคำปรึกษาแนะนำจากวิทยากร

หัวข้อการบรรยายและการอบรมเชิงปฏิบัติการและรายชื่อวิทยากรรับเชิญมีดังต่อไปนี้

               1. บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “แก๊สชีวภาพและขั้นตอนการก่อสร้างบ่อหมัก

ทำให้ เกิดแก๊สชีวภาพ-ถังเก็บแก๊สชีวภาพ”

 โดย วิทยากร ปราชญ์ชาวบ้าน

               2. บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ  “วัสดุเหลือใช้ที่ทำให้เกิดแก๊สชีวภาพ”

  โดย วิทยากร จากกรมวิชาการเกษตร

            

 

 

         

               3. บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “ขั้นตอนการหมักวัสดุที่ทำให้เกิดแก๊สชีวภาพ” และ “การนำน้ำที่ไหลออกมาจากบ่อน้ำหมักแก๊สชีวภาพไปใช้ ประโยชน์”

โดย วิทยากร ปราชญ์ชาวบ้าน

               3.การติดตามประเมินผล :

การติดตามประเมินผลโดยการส่งแบบสอบถามผู้เข้าร่วมโครงการหลังการฝึกอบรม ในกรณีที่ผู้ร่วมอบรมทดลองนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์จริง จะติดตามถึงผลสัมฤทธิ์ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นพร้อมการให้คำปรึกษาแนะนำ โดยสามารถประเมินผลหลังจากที่ได้ใช้แก๊สชีวภาพ เป็นระยะเวลา 2 เดือนขึ้นไป

10.   ผลผลิตของโครงการ

ผลผลิต / ตัวชี้วัด

วิธีการจัดเก็บข้อมูล

จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

1.ใบสมัคร

2. ฐานข้อมูลผู้สมัคร

3.ใบลงทะเบียน

ร้อยละของผู้รับบริการฯ มีการนำไปใช้ประโยชน์จากการสร้างอาชีพใหม่ ส่งเสริมอาชีพเดิม ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การติดตามประเมินผลโดยการส่งแบบสอบถามผู้เข้าร่วมโครงการหลังการฝึกอบรม   ในกรณีที่ผู้ร่วมอบรมทดลองนำความรู้ที่ได้รับไปใช้จริง ติดตามถึงผลสัมฤทธิ์ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นพร้อมการให้คำปรึกษาแนะนำ

กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการและเข้าถึงข้อมูลเทคโนโลยีความรู้ต่างๆผ่านช่องทาง เช่น ติดต่อโดยตรงทางโทรศัพท์ เว็บไซต์

1.สถิติการโทรศัพท์/e-mail เข้ามาขอรับบริการ

2.www.clinictech.buu.ac.th

3.งาน Roadshow/open house

ร้อยละผู้รับบริการมีความพึงพอใจกับการบริการของคลินิกเทคโนโลยี

 

แบบประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการวิชาการ

 

11. ผลลัพธ์

               11.1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้และข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเกิดการ

                        สร้างรายได้เพิ่มขึ้นหรือลดรายจ่ายให้กับธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ ร้อยละ 65

                11.2  ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 70                                                

                11.3 ประชาชนผู้เข้ารับบริการมีแก๊สชีวภาพใช้  ร้อยละ 80

 

 

 

 

 

12. งบประมาณ 

รายรับ     งบประมาณสนับสนุนจากธนาคารออมสิน                                                             59,000 บาท

งบประมาณ : (ค่าใช้จ่ายโดยละเอียด)

  1. ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ท่าน (1,200 บาท/ชม. x 4 ชม.)                                                       4,800 บาท
  2. ค่าเดินทางวิทยากร 2 ท่าน                                                                                                   1,500 บาท
  3. ค่าตอบแทนผู้ช่วยวิทยากร 2 ท่าน (600 บาท/ชม.x 4 ชม)                                                   2,400 บาท
  4. ค่าอาหารกลางวัน (1 มื้อ x 70 บาท/คน/มื้อ x 60 คน)                                                         4,200 บาท
  5. ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม (2 มื้อ x25 บาท/คน/มื้อ x 60 คน)                                                 3,000 บาท
  6. ค่าเช่าสถานที่/ห้องประชุม/ค่าเช่าอุปกรณ์สื่อโสตฯ                                                            3,000 บาท
  7. ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม (60 คน x 50 บาท/คน)                                               3,000 บาท   
  8. วัสดุ และอุปกรณ์สำนักงาน                                                                                                3,000 บาท
  9. ค่าเช่าเหมายานพาหนะ / ค่าวัสดุเชื้อเพลิง                                                                           4,000 บาท
  10. ค่ารายงานสรุปและประเมินผลโครงการ                                                                            3,000 บาท
  11. ค่าวัสดุและอุปกรณ์การผลิต *                                                                                          10,020 บาท
  12. ค่าบริหารจัดการโครงการ (ติดต่อประสานงาน พิธีเปิด – ปิด ฯลฯ)                                 10,000 บาท                                                                                                                       
  13. หักค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัย 12%                                                                                     7,080 บาท

                                                                                                     รวมรายจ่ายทั้งสิ้น                                59,000 บาท

หมายเหตุ     - ถัวจ่ายทุกรายการ

                     - จำนวน 60 คน ประกอบด้วย ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร ผู้ช่วยวิทยากรและกรรมการ

                        ดำเนินงาน

                     * ค่าวัสดุและอุปกรณ์การผลิต

                     1.ถังปูนซิเมนต์  6 ถัง  1,800 บาท     2.ถังครอบแก๊สชีวภาพ 1 ถัง  6,000 บาท  

                     3.ถังพลาสติกครอบแก๊ส

                       สำรอง 2 ถัง   2,000 บาท  4. อื่นๆ  200 บาท   รวม 10,000  บาท

                     * ค่าวัสดุและอุปกรณ์การผลิตที่นอกเหนือจากนี้จะได้รับการสนับสนุนจากจุดสาธิต

 

 

หมายเลขบันทึก: 349709เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2010 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท