เรื่องเล่าการดูแลผุ้ป่วยเบาหวาน จากเภสัชกร รพร.ด่านซ้าย


ในการเยี่ยมบ้านสหวิชาชีพเภสัชกรจะร่วมทีมในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการใช้ยา ซึ่งนอกจากจะได้แก้ไขปัญหาด้านการใช้ยาในผู้ป่วยให้ได้ตรงกับปัญหาที่แท้จริงซึ่งทีมเยี่ยมบ้านได้พบเห็นแล้ว ยังทำให้เข้าใจผู้ป่วยและมองผู้ป่วยเป็นมิตรเป็นญาติ เข้าใจข้อจำกัดในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

เภสัชกรกับผู้ป่วยเบาหวาน รพร.ด่านซ้าย

             บทบาทหลักของเภสัชกรของทีมสหวิชาชีพในงานคลินิกเบาหวาน คงหนีไม่พ้นการดูแลความปลอดภัยด้านยา ซึ่งขอบเขตการดูแลจะครอบคลุมตั้งแต่การดูแล และติดตามความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาลที่คลินิกไปจนถึงการใช้ยา การใช้ยาเมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการดูแลตนเองเรื่องยา และความถูกต้องของการใช้ยาของผู้ป่วยเมื่อได้รับยาเบาหวาน ยาลดความดันโลหิต ยาที่ใช่รักษาภาวะแทรกซ้อนและภาวะอื่นๆ ของผู้ป่วยที่บ้าน เภสัชกรที่ดูแลงานด้านคลินิกเบาหวานจึงเริ่มใต้การทำงานในคลินิกเบาหวานในช่วงที่เริ่มต้นตั้งคลินิกเบาหวานด้วยการค้นคว้าความรู้ด้านการติดตามอาการไม่พึงประสงค์และความปลอดภัยด้านยา แล้วประสานงานกับอายุรแพทย์ เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในการติดตามความปลอดภัยด้านการใช้ยาเช่น จะติดตาม Creatinine ทุก 6 เดือนในผู้ป่วยที่ได้รับยา metformin ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทุกครั้งในผู้ป่วยที่ได้รับยาในกลุ่ม Beta blockers เป็นต้น ซึ่งคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายจะมี 2 คลินิก คือ คลินิกเบาหวานของฝ่ายเวชปฏิบัติที่ดูแลผู้ป่วยในความรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาล และคลินิกเบาหวานผู้ป่วยนอกที่ครอบคลุมผู้ป่วยเบาหวานนอกเหนือเขตรับผิดชอบของคลินิกเบาหวานฝ่ายเวชปฏิบัติ แต่กระบวนการทำงานของทั้งสองคลินิกจะคล้ายคลึงกัน

              เมื่อถึงคลินิกเบาหวานในแต่ละสัปดาห์ ก่อนวันที่จะมีคลินิกเบาหวาน 1วัน  เภสัชกรที่รับผิดชอบงานคลินิกเบาหวาน และทีมเบาหวาน จะนำแฟ้มผู้ป่วยมาทบทวน เพื่อคัดแยกผู้ป่วยที่จะต้องได้รับคำปรึกษากับเภสัชกร หรือบุคลากรอื่นๆ ตามปัญหาของผู้ป่วย และนอกจากนี้เภสัชกรจะทำการเตือนการสั่งห้องปฏิบัติการที่ใช้ติดตามความปลอดภัยด้านยาในครั้งต่อไปลงในใบสั่งยาของผู้ป่วยเบาหวาน  เพื่อให้แพทย์พิจารณาและสั่งตรวจผลทางห้องปฏิบัติการตามแนวทางการติดตามความปลอดภัย

              เมื่อถึงวันที่มีคลินิกเบาหวาน เภสัชรที่รับผิดชอบคลิกนิกเบาหวานจะไปประจำอยู่ที่คลินิกเบาหวาน ซึ่งแยกออกมาจากแผนกผู้ป่วยนอก เภสัชกรจะให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาผู้ป่วยในรายที่มีปัญหาในการใช้ยา และค้นหาปัญหาในรายที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ เมื่อผู้ป่วยไปรับยาห้องเภสัชกรที่ประจำห้องยาจะทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์หรือวิธีช่วยบริหารยาในผู้ป่วยตามที่เภสัชกรรับผิดชอบ ได้บันทึกเตือนไว้เช่น จัดทำฉลากตัวใหญ่ ทำฉลากตัวเลข ทำสัญญลักษณ์ที่ปากกาอินสุลิน สอนการใช้ปากกาอินสุลิน เป็นต้น และแจ้งการเปลี่ยนแปลงยาพร้อมเหตุผลแก่ผู้ป่วยหรือญาติทุกครั้ง จากนั้นเมื่อเสร็จคลินิกเภสัชกรจะสรุปข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ว่าผู้ป่วยได้รับการติดตามหรือการรักษาที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยขณะนั้นหรือตามแผนการดูแลที่ได้ทบทวนไว้ก่อนหรือไม่ และวางแผนในการดูแลผู้ป่วยในครั้งต่อไป

             นอกจากการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกเบาหวานแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เภสัชกรมีหน้าที่ในการทบทวนความถูกต้องในการรับประทานยาแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล และแก้ไขปัญหาในกรณีที่พบปัญหาจาการใช้ยา โดยเน้นแก้ปัญหาร่วมกันกับผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลทบทวนการใช้ปากกาอินสุลินโดยให้ผู้ป่วยบริหารฉีดอินสุลินเองภายใต้การควบคุมของเภสัชกรหรือพยาบาล ในกรณีที่มีปัญหาที่ต้องติดตามที่บ้านหรือต้องการค้นหาปัญหาของผู้ป่วยที่บ้านก้จะวางแผนการเยี่ยมบ้านสหวิชาชีพร่วมกับทีมเยี่ยมบ้าน

             ในการเยี่ยมบ้านสหวิชาชีพเภสัชกรจะร่วมทีมในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการใช้ยา ซึ่งนอกจากจะได้แก้ไขปัญหาด้านการใช้ยาในผู้ป่วยให้ได้ตรงกับปัญหาที่แท้จริงซึ่งทีมเยี่ยมบ้านได้พบเห็นแล้ว ยังทำให้เข้าใจผู้ป่วยและมองผู้ป่วยเป็นมิตรเป็นญาติ เข้าใจข้อจำกัดในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยได้มากกว่าการนัดพบกันที่โรงพยาบาล การร่วมทีมเยี่ยมบ้านสหวิชาชีพก็ทำให้ได้ร่วมงานกับวิชาชีพอื่นเช่น พยาบาล นักกายภาพบำบัด ให้ได้เข้าใจแนวคิดและเรียนรู้ร่วมกันนารทำงานดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย

ภญ.ปัญญาภรณ์ เกตุคร้าม

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย

เล่าในตลาดนัด KM DM ภาคอีสาน 19-20 พ.ค. 2552 จ.ขอนแก่น (พรพ.)

หมายเลขบันทึก: 349018เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2010 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เภสัชกรเบาหวาน ตัวจริง

คือน้องรัชมล ที่ บางละมุง แกเป็นเภสัชกร ที่เป็นเบาหวาน

และน้องแปะ ที่ศรีษะเกษ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท