การเฝ้าระวังผู้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย


ดูแลใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยทางจิตอาจฆ่าตัวตาย

    ในการเจ็บป่วยทางจิตเวช ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตนเองหรือเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย เช่นในผู้ป่วยจิตเภทที่มีหูแว่วมากๆ ได้ยินเสียงตำหนิติเตียนตนเอง เสียงคนมาด่าว่า กระวนกระวายใจมาก อยู่นิ่งไม่ได้  ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นต้น

    ญาติจะดูแลอย่างไรให้เขาเหล่านั้นปลอดภัย  ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ควรดูแลเขาดังนี้คือ อยู่เป็นเพื่อนใกล้ชิด ให้เขาอยู่ในสายตาตลอด    สังเกตอารมณ์เศร้าจากสีหน้า ท่าทาง คำพูดสั่งลา บางคนพูดถึงการบริจาคร่างกาย บางคนบอกไม่มีอะไรให้ห่วงแล้ว ถ้าอาการดีขึ้นกะทันหันก็น่าห่วง เขาอาจค้นพบวิธีฆ่าตัวตายแล้วก็ได้ รับฟังผู้ป่วยพูดด้วยท่าทีที่เห็นใจ  ให้กำลังใจ   ไม่ตำหนิ ประชดประชันหรือพูดท้าทายให้ทำร้ายตนเอง  ช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกอบอุ่นหรือมีที่พึ่งทางใจ เช่น อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความห่วงใยของครอบครัวและญาติตลอดจนเพื่อนฝูง ดูแลการรับประทานยาทีละมื้อ  อาจต้องให้อ้าปากให้ดูเวลารับประทานยา เขาอาจซ่อนที่ใต้ลิ้น เก็บซองยาไว้ จัดยาให้ ไม่ให้เขาจัดยาเอง เพื่อป้องกันการรับประทานยาเกินขนาด  เก็บอาวุธ ของมีคมสารเคมีในครัวเรือนให้มิดชิด รวมทั้งเชือกและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ผู้ป่วยอาจนำมาฆ่าตัวตายได้ ถามความรู้สึกเขา ถามเรื่องความคิดฆ่าตัวตาย ตอนนี้มีความคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ คิดวิธีไหน ญาติควรตระหนักว่า การถามถึงความคิดอยากตาย จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโล่งอก ว่ามีผู้เข้าใจความรู้สึกของตน มิใช่เป็นการชักนำ เพราะความคิดอยากตายมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีอารมณ์เศร้า  ญาติมักไม่เข้าใจเวลาผู้ป่วยบ่นอยากตาย มักจะห้ามปรามไม่ให้พูดหรือคิดมาก   ผู้ป่วยจึงไม่มีโอกาสระบาย  ยิ่งทำให้เศร้ามากขึ้นและอาจฆ่าตัวตายสำเร็จ ญาติต้องช่วยดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล ส่งเสริมการทำกิจวัตร เสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพามาพบแพทย์ 

หมายเลขบันทึก: 348595เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2010 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ต้องดูแลเอาใจใส่พวกเขามากๆหน่อยครับ

"เติมใจ"ให้เขาทุกๆวัน เอิร์ทเชื่อว่า เขาจะ "เต็มใจ" ที่จะมีชีวิตอยู่

การฆ่าตัวตายก็น่าจะน้อยลงตามไปด้วย ^^

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะครับ

สวัสดีค่ะคุณไพรัชช์

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

ใช่แล้วค่ะ การเติมกำลังใจ เติมความใส่ใจ และความเข้าใจคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยจิตเวชเต็มใจจะอยู่และอยู่อย่างมีความสุขค่ะ

Sdc11024

ฝากยิ้มมาให้ค่ะ LOL..P'Kade

ขอบคุณค่ะพี่เกด คนดูก็ยิ้มตามค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท