สิ่งที่ได้จากการอบรมปฐมบท-ปฐมภูมิตามโครงการสำหรับ PCA


การปฐมบท-ปฐมภูมิตามโครงการสำหรับ PCAเปลี่ยนชีวิตได้อย่างไร?

ช่วงวันที่ 22-26 มี.ค.53 ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้รับเลือกแกมบังคับนิดๆ จากทางทีมงานPCA CUPศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็น node ของเขตภาคอิสานตอนบน แหมก็ไปตั้ง 5 วัน แล้วที่สงขลาอีก แต่ก็เมื่อได้รับเลือกจากที่คนอื่นไม่ไปแล้วเพราะมันไกล และพวกหัวหน้า สอ.ทั้งหลายไม่ว่าง ตำแหน่งนี้เลยตกมาเป็นของพยาบาลวิชาชีพ แต่ก็ไม่เหงาครับ เพราะมีหัวหน้า สอ.หินตลาด พี่เก้งผู้มากด้วยประสบการณ์ในทุกด้าน และมีความสามารถ อย่างไรก็จะอาศัยพี่เขานี่ละชี้แนะ อย่างไรก็ตามมีข้อแม้ครับต้องนั่งเครืองเท่านั้น (ว่าแล้วก็จัดการจองเครื่องบินแอร์เอเชียจากอุดร-สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ สนนราคาก็ประมาณ 10388 ครับ) ไม่อยากบอกเลยตอนไปเกือบตกเครื่องเพราะมัวแต่รอลูกชายแกมาส่งอยู่ ออกจากสนามบินนานาชาติอุดรธานี (เออขนาดขอนแก่นยังไม่เป็นนานาชาติ จากการสันนิษฐานอาจเป็นเพราะคนอุดรมีเขยฝรั่งเยอะ เกี่ยวกันไหมเนี๊ยะ) ไปนั่งๆ นอนๆ รอต่อเครื่องที่สุวรรณฯ 5 โมงเย็นถึงออกไปถึงหาดใหญ่ ประมาณ เกือบ 2 ทุ่ม เหมาแท็กซี่ไป โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ทอีก 650 บาท ต่อ 600 บาท พี่แท็กซี่คัมรี่บอกว่าแค่ 50 บาทเอง จะต่อทำไม (แล้ว50บาทเองทำไม่ไม่ลดละเพ่)

 

 

หมายเลขบันทึก: 348187เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2010 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

***วัตถุประสงค์ที่มาที่ไปของ “การอบรมเชิงปฏิบัติการ ปฐมบท-ปฐมภูมิ ตามโครงการกลไลการพัฒนาและรับรองคุณภาพระบบบริการปฐมภูมิ***

จากวิทยากร นพ.สกล (จาก มอ.) นพ.วรวุฒิ (รพ.สันทราย) อ.แอ๊ด (ลำปาง) พอจะสรุปได้ว่า จากประสบการณ์การทำงานคุณภาพต่างๆ ในระบบสุขภาพทั้ง รพ. หรือ สอ.เอง ทำให้เรียนรู้ว่าที่ผ่านมาที่ไหนเขียนรายงานเก่งมักจะผ่าน เน้นที่เอกสารมากเกินไป ไม่ได้ดูที่คนไข้จริงๆ สักเท่าไหร่ เคยมีเรื่องที่ รพ.ปฏิเสธคนไข้บอกว่าอัตราการครองเตียงหรืออะไรสักอย่างนี้ละครับที่มันเกิน จุดเน้นของที่มาโครงการนี้คือ ต้องการพัฒนาคนโดยเฉพาะระดับหัวหน้าให้เข้าใจตนเอง เข้าใจคนอื่น ให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ หลังจากนั้นค่อยมาพัฒนา PCA Primary Care Award

แล้วยังเน้นว่าถ้าไม่เข้าใจ เราไม่ต้องทำ

เรามีความสุข กับสิ่งที่ทำไหม?

อย่าเอามาตรฐานมาจับมันจะเครียด คุณค่าต่างๆ ขึ้นอยู่ว่าจะทำมันอย่างไร…

กรอบแนวคิดในการเปลี่ยนแปลง มาจากการสั่งสมประสบการณ์ การให้คุณค่ากับสิ่งต่างที่ตนเห็นว่าเหมาะสม การจะปรับเปลี่ยนคนๆ หนึ่งจึงยากมาก เช่น ต้องมีประสบการเฉียดตาย สะเทือนใจอย่างแรง ในฐานะที่เรามาอบรมจะต้องเป็น Coach ต้องคอยสะท้อนชีวิตเป็นกระจกให้เขา เสนอแนะ ทั้งนี้ต้องเข้าไปยืนรับรู้มองโลกในแบบของเขา เข้าใจในสิ่งที่เขาเห็นครับ

หลักการในการทำงาน

Head Heart Hand

ความเงียบ คือ จังหวะการรอใครสักคนกำลังรวบรวมความคิด ความกล้าในการแสดงออก อย่าเพิ่งอึดอัด เปิดใจเราก่อน แล้วค่อยเปิดใจเขา เน้นการฟังมากครับ

ทักษะการสื่อสารมีหลายระดับ

1.ทั่วไปคาดการณ์ไปก่อน (downloading) ไม่ลึก พูดคุยกันตามธรรมเนียม ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมทั่วไป

2.ยืนยันหรือถกด้วยเหตุผล (debating) เป็นการพูดคุยมุ่งเน้นความผิดถูก ไม่ได้สนใจความรู้สึก หรือ I in It

3.เอาใจเขามาใส่ใจเรา (dialogue) หรือ I in You พูดคุยเพื่อหาความหมายที่ซ่อนอยู่ เน้นความเข้าใจซึ่งกันและกัน

4.การพูดคุยเพื่อเกิดสิ่งใหม่ (generative dialogue) มอบความฝันความเป็นไปได้ร่วมกัน

ท่านอาจารย์บอกว่ากระบวนการ PCA เน้นแบบที่ 3 และ 4 แต่ผมมองว่ามันใช้ได้ทุกอย่างในชีวิต โดยเฉพาะการให้บริการคนไข้ ยอมรับแต่โดยดีว่าแต่ก่อนไม่สนใจครับ กลับมาต้องปรับปรุงโดยด่วน เพิ่งรู้ว่าเองบริการได้แย่มากมายเลย จากที่แต่ก่อนประเมินตัวเองว่าบริการไม่ดีเท่าไหร่

ระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

1.เจ็บป่วยธรรมดา ต้องการการรักษา บทบาทที่หมอตอบสนองคือ ซ่อมแซม (Fixer repair)

2.พฤติกรรมเสี่ยง ต้องการพฤติกรรมบำบัด เรามักใช้ความกลัวขู่ เช่น ถ้าไม่คุมน้ำตาลให้ได้จะเกิดโรคแทรกซ้อน….เป็นเพียงแค่ Instrucor

3.กรอบความคิด (Frame of thought) ต้องสะท้อนชีวิต (Reflection) ให้เขา เป็น Coach ผู้หล่อเลี้ยง

4.อัตตา ตัวตน ( Self) เปลี่ยนยาก ต้องการเปลี่ยนตัวตน (self transformation reborn) ต้องใช้บทบาทรักไม่มีเงื่อนไข (Uncondition love)

ดีใจกับเพื่อนที่มีแหล่งเผยแพร่คววามรู้นะ

อืม..ขอบคุณเพื่อนที่แวบมาทักทายกันครับทั้ง กุลยา และน้องโอเว่น

สิ่งที่ได้จากการอบรมเพิ่มเติม ถ้าเราชัดกับความรู้สึก ในสิ่งที่เราทำ เราจะไม่กลัว ใช้ความรู้สึกดีๆ ในการทำงาน มาก่อนการให้ความหมาย

**การเป็น coach ต้องใจเย็น การจะเปลี่ยนแปลงเขาออกจากโซนที่ปลอดภัยหรือพฤติกรรมที่ทำมาตลอดชีวิต ดึงศักยภาพที่แท้จริง มีความสนุกกับการเรียนรู้ อย่าอยู่ในกรอบจะสนุกมา ดังนั้น coach จึงต้องแข็งแรงกว่าคนทั่วไป เพือกระบวนการการเยี่ยวยามาจากความเมตตา

การอบรมฯ ในครั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญคือ การที่แกนนำทีมที่ทำงานเรื่อง PCA ต้องเข้าใจตัวเอง และเข้าใจ รู้จักฟัง เพื่อน พี่น้องผู้ร่วมงาน มันไม่มีอะไรที่ถูกต้องที่สุด ดีที่สุดเสมอไป เพราะว่าสิ่งแวดล้อม บริบท อัตตามันต่างกันมาก

สำหรับผมแล้วไว้แต่หวังว่าหลังจากที่ตนเองพัฒนาเข้าใจตนเองแล้ว เข้าใจคนรอบข้าง สามารถแนะนำให้เพื่อนร่วมงานที่ สอ. ทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์ มีคุณภาพที่คนในท้องถิ่นในต้องการจริงๆ

เพราะที่ผ่านมา PMQA ผมไม่เข้าเข้าใจ ค่อนข้างจะเกลียดด้วยซ้ำไป ไม่อยากทำด้วย แต่เมื่อผ่านการอบรมนี้ทำให้มุมมองอะไรหลายๆ อย่างเปลี่ยนไป

เพราะสิ่งที่ได้ คือ เราใส่ใจความรู้สึกของคนที่มาอยู่ใกล้ชิด หรือร่วมกับเรามากขึ้น มองคนเห็นแบบเข้าใจ แล้วเห็นคุณค่าในตัวเขามากขึ้น ครับ

จากที่เราอบรมมาเขาว่าคนเรามีสภาวะ 2 สภาวะ คือ สภาวะปกติจะเปิดรับการเรียนรู้ มีการพัฒนา เจริญเติบโต พร้อมที่จะสือสารซ่อมแซมตนเอง

สภาวะที่ 2 คือ สภาวะคุกคามจะปิดกั้นตนเองตรงข้ามกับสภาวะแรก เหงาเศร้าไร้พลังหยุดการเรียนรู้ ปิดกั้นการเรียนรู้ไม่สื่อสารกะใคร

ดังนั้นการดูและตนเองจึงมีความสำคัญมาก เพื่อดำรงตนในอยู่ในสภาวะที่ 1 ครับ ต้องมีสติรู้เท่าทัน ควบคุมให้อยู่ในอาการปกติ

ยังมีอีกหลายอย่างไม่รู้ว่ามีคนแวะมาอ่านหรือเปล่า แต่ไม่เป็นไรครับ เป็นการทบทวนเรียนรู้ไปในตัวก็ได้

อยากทราบว่าการเข้ารับการอบรม ที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์สำหรับผู้รับบริการและความร่วมมือร่วมใจในการทำงานในเชิงคุณภาพภายในแต่ละ สอ. ควรส่งระดับผู้บริหารเช่น หน.สอ. หรือส่ง ระดับผู้ปฏิบัติก็เพียงพอแล้ว

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

สำหรับคำถามของคุณ pooh ที่ถามว่าการอบรมในระดับปฐมบท-ปฐมภูมินั้นควรจะส่งระดับใดใน สอ.ไป?

ในส่วนตัวผมที่เป็นระดับผู้ปฏิบัติงานนั้นคิดว่า ควรจะได้รับการอบรมทุกคนเลยครับ เพราะว่ามันเป็นการปรับแนวความคิด โดยมีพื้นฐานจากที่ต้องรู้จักตนเองก่อน ชัดเจนในตนเองทั้งความคิด ความเข้าใจ มีอะไรที่เป็นสิ่งที่บ่งการเราอยู่

แต่ว่าการส่งไปอบรมแบบที่ต้นแบบที่ทางกระทรวงจัด มันเป็นไปไม่ได้ทั้งในแง่ของ รับจำนวนจำกัด งบประมาณไม่พอ เวลา สถานที่

ถ้าเป็นไปได้ ระดับหัวหน้าต้องไปอบรมกับทีมวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ (แต่เท่าที่ผมไปอบรมเจอระดับ สสอ. หัวหน้าฝ่ายโรงพยายาล เขาก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือหรือเปิดตัวเองค้นหาตัวเองสักเท่าไหร่ครับ) แต่อย่างไรก็ตามมีคนที่เข้าใจในตนเอง ชัดเจนในความรู้สึก รู้ว่าสิ่งที่เราควรทำในการทำงานให้กับผู้รับบริการคือ อะไรก็มีครับ เพราะหัวหน้าคือ คนที่มีอำนาจในการนำทำให้งานลุล่วง

สำหรับลูกน้อง ควรได้รับการอบรม ถ้าเป็นไปได้อาจสร้างทีมระดับจังหวัด หรือเขตก็ได้ครับ

ที่สำคัญเวลาจะส่งคนไป ช่วยดูด้วยว่าเขามีเรื่องกันไหม ไม่คุยกันไหม ควรจะแยกไปคนระรอบครับ เพื่อการเปิดใจ การเข้าร่วมกิจกรรม หลังจากนั้นค่อยให้มากลุ่มเดียวกัน ยิ่งคนที่มีฐิทิสูง....

ตอนนี้ที่อำเภอศรีบุญเรืองเริ่มให้ คนใน สอ.ทำความเข้าใจกับ PCA แล้ว แต่น้องบ่นกันว่าไม่ค่อยเข้าใจกัน ทั้งที่ผมว่ามันง่ายกว่า PMQA อีก แต่ก็นะ ถ้าทำได้จะดีมาก

สอ.ผม ก็พยายามกระตุ้น หัวหน้า และพี่ น้องให้ทำกันครับ

คืบหน้าอย่างไรเดี๋ยวรายงานครับ

เข้ามาอ่าน...ได้สาระมากมาย...ทบทวนที่ไปมาได้เยอะเลยนะคะ..ขอบคุณสำหรับสาระดี.ดี..จะกลับมาใหม่..ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท