Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน


พระครูปลัดวีระนนท์ วีรนนฺโท : เจ้าอาวาสวัดป่าเจริญราช พระวิปัสสนาจารย์ http://www.veeranon.com/

การพิจารณาจิต หรือการตามดูจิตเรียกว่า  จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

  

จิตมันก็หวั่นไหว แต่ถ้าเรามีสติ จิตก็ไม่หวั่นไหว จิตตั้งมั่นต่อสู้พิจารณาอย่างชัดเจน

 

มันเห็นอาการต่างๆที่เกิดขึ้น มันเห็นสภาวะที่กำลังจะปวด ก็กำหนดปวดหนอๆ

มันเป็นสัญญาณเตือนภัยกำหนดทันทีว่ารู้หนอ แต่ส่วนใหญ่แล้วเราจะเผลอสติ

เมื่อมันปวดแล้วจึงค่อยกำหนดว่า  ปวดหนอ

 

แท้ที่จริงสภาวะปวดหรือเวทนามันเกิดขึ้นแล้ว

ตั้งแต่เราเดิน หรือยืน หรือขณะที่กำลังนั่ง ตัวสภาวะตัวนี้เกิดขึ้น

แต่ไม่ได้เอามาพิจารณา มันก็ปวดเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้กำหนดพิจารณาทางจิตให้ละเอียด

 

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือจิตที่ระลึกรู้คิดเป็นในทางบุญก็ให้รู้ว่าคิดเป็นทางบุญ

จิตที่ระลึกรู้คิดเป็นไปทางบาปก็ให้รู้ว่าคิดไปทางบาป

โดยให้พิจารณารู้ว่าอันนี้มันเป็นบุญนะ  อันนี้มันเป็นบาปนะ

การมีสติระลึกรู้อยู่บ่อยๆ เป็นประจำๆ ทำให้ไม่เผลอสติ

 

ส่วนที่เป็นกุศล ส่วนที่ไม่เป็นอกุศล หรือส่วนที่มันอยู่ตรงกลางแห่งความสุข คือ ความพอดี

เราก็จะได้เห็นได้รู้ทัน แต่หากเราไม่รู้ทันไม่เห็นสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น

จิตก็จะหวั่นไหวไปตามกิเลสสภาวะอารมณ์เป็นไปตามตัณหาร้อยแปด

 

กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

 

กามตัณหามี ๓๖ ภวตัณหามี ๓๖ วิภวตัณหามี ๓๖ องค์ธรรมรวมกันเป็น ๑๐๘

 

คือกิเลส ,๕๐๐ และตัณหา ๑๐๘

 

ซึ่งตรงนี้ทำให้หลงสุขเกลียดทุกข์ ไม่อยากมี ไม่อยากเอา

ตัวสภาวะที่เกิดขึ้นโดยที่เราก็ไม่อยากจะได้สภาวะอาการนั้น

มันทำให้รู้สึกปวดอึดอัด หายใจไม่คล่อง

อาการพองไม่เห็น อาการยุบไม่เห็น

มันไม่มีอะไรเลย ทำให้จิตอึดอัด

เราจึงไม่อยากให้มีสภาวะอารมณ์อย่างนั้นและไม่อยากเป็นเช่นนั้น

พอจิตไม่อยากมีสภาวะอารมณ์นั้น  มันก็เกิดความทุกข์ รู้สึกอึดอัดใจ

ตัวอึดอัดใจตัวนี้มัน คือ  ตัวฟุ้ง

 

อย่างไรก็ตามเมื่อมีสติ สมาธิ ปัญญา เข้ามาพร้อมกัน

มีสติและสมาธิมากำกับ กำหนดรู้ทันต่อเหตุการณ์ต่อสภาวะที่เกิดขึ้น

การขับเคลื่อน หรือการควบคุมของสภาวจิตของสติ ก็จะเป็นไปได้อย่างง่ายดายและราบรื่น

จิตของเราก็จะรู้ว่าขณะนี้จิตท่องเที่ยวไปในเรื่องบุญ

 

รู้ว่าขณะนี้จิตท่องเที่ยวไปในเรื่องบาป

รู้ว่าขณะนี้จิตท่องเที่ยวไปในเรื่องของอดีต

รู้ว่าขณะนี้จิตท่องเที่ยวไปสู่อนาคต

 

พระพุทธองค์ตรัสว่า

 

อดีตที่ผ่านมาแล้วให้ละทิ้งไป

 

อนาคตยังมาไม่ถึง  ก็อย่าเพ้อฝัน

 

ให้กำหนดเอาปัจจุบันส่วนนี้  ให้เห็นชัดเจน  

 

เมื่อได้ยินเสียง กำหนดเสียงหนอ

เสียงกระทบที่ไหนให้กำหนดตรงที่กระทบ ไม่ใช่กำหนดที่เสียงหรือกำหนดที่หู

กำหนดที่กระทบหรือภาษาพระ  เรียกว่า  ผัสสะ

 

ซึ่งตรงไหนที่มันกระทบหรือที่มันได้ยินก็กำหนดตรงนั้น

ตาเห็นรูปกำหนดตรงไหน กำหนดที่ตาหรือกำหนดที่รูป

โดยให้กำหนดในขณะที่ตัวผัสสะคือตัวกระทบนั่นเองว่าเห็นหนอ

 

พอใจ  ก็กำหนด   พอใจหนอ

 

ไม่พอใจ  ก็กำหนด  ไม่พอใจหนอ

 

นี่คือ  การกำหนดด้วยสติ

 

ติดตามอ่านตอนต่อไปที่นี่ค่ะ

 

อิสระแห่งจิต

 

http://gotoknow.org/blog/mindfreedom

 

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน

 

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 347777เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2010 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ธรรมย่อมรักษาผู้ที่รักษาธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท