แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน


ความรู้สึกเชิงจำนวน

ชื่อเรื่อง      รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน

                 กลุ่มสาระการเรียนรูคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  2

ผู้ศึกษา      นางกุหลาบ  สีหาพงศ์

ปีที่พิมพ์    2551

 บทคัดย่อ

              รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  สร้างแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  2)   เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  3)  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้สึกเชิงจำนวน  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  และ  4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน  ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2/1   ปีการศึกษา  2551  โรงเรียนบ้านภูมิซรอล   กลุ่มโรงเรียนมออีแดง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4   จำนวน  26   คน  ซึ่งได้มาโดยสุ่มอย่างง่าย  (Simple  Random  Sampling)  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มแบบยกชั้น  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน  จำนวน   7  ชุด  ชุดละ  20  แบบฝึก  แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ  จำนวน  140  แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้สึกเชิงจำนวน  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  3  ตัวเลือก  จำนวน  35  ข้อ  ซึ่งมีค่าความยาก  (p) รายข้อ ระหว่าง  .20  ถึง .77  ค่าอำนาจจำแนก  (B)  ระหว่าง .41  ถึง  .54  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .87  แบบทดสอบท้ายแบบฝึกเสริมทักษะ  จำนวน  7  ชุด  ชุดละ  10  ข้อ  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  3  ตัวเลือก  และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .96  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  ค่าเฉลี่ยร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ  ดัชนีประสิทธิผล  และการทดสอบ  t  (t-test  for  dependent)

                    ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

                         1.  แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ  82.95 / 83.74  สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  ที่ตั้งไว้

                         2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ  0.6782  แสดงว่ามีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ  67.82

                         3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้านความรู้สึกเชิงจำนวน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน โดยที่หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

                         4.   ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน  หลังได้รับการสอน พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากมาก  (  = 2.64 , S.D. = .39) 

 

 

หมายเลขบันทึก: 347712เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2010 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท