โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

CQI แผลเบาหวาน


CQI การดูแลแผลเบาหวาน

การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(CQI)งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน   โรงพยาบาลห้วยแถลง

เรื่อง การดูแลแผลเบาหวาน

โดย นายพสิษฐ์  วิริยะสิริกร  พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

 

ที่มาและความสำคัญ

สืบเนื่องมาจากผู้ป่วยเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลายอย่างเช่น  หัวใจ  ไต   ระบบประสาท  และอาจจะเกิดแผลที่อวัยวะส่วนปลายโดยเฉพาะแผลที่เท้าได้ง่ายกว่าคนปกติที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน  การรักษาแผลเบาหวาน  นอกจากจะใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นานกว่าปกติแล้ว  ยังมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการดูแลรักษาแผลเบาหวานอีกหลายอย่างซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากรและการเกิดความเบื่อหน่ายต่อการรักษาทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการอีกด้วย

ปัจจุบัน วิทยาการและความรู้ในการดูแลผู้ป่วยได้ก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการรักษาโดยใช้ยา    การใช้สมุนไพร   การใช้ศาสตร์แขนงอื่นๆในการรักษา  ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง  รวมไปถึงนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้แผลเบาหวานหายเร็วขึ้น  แต่อาจจะมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณเพราะการรักษาด้วยเทคนิคบางอย่างต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งอาจจะไม่สามารถดำเนินการได้

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ในการดูแลผ จึงได้เกิดความคิดที่ว่าหากเรารู้จักประยุกต์และนำทรัพยากรที่เรามีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะเป็นผลดีต่อการดูแลผู้ป่วยได้ไม่มากก็น้อย   การที่เราจะช่วยให้แผลเบาหวานหายได้เร็วขึ้นก็มีหลายวิธี  ทั้งการใช้การศัลยกรรม  การใช้เครื่องมือพิเศษต่างๆ แต่วิธีที่น่าสนใจคือ การใช้เครื่องชะล้างแผลแบบ VersaJet  แต่ราคาค่อนข้างแพงมาก อาจจะไม่เกิดความคุ้มทุนหากต้องซื้อเครื่องมือชนิดนี้ในการมาทำแผลผู้ป่วยเบาหวาน    การใช้วิธีนี้เป็นวิธีทางหนึ่งในการช่วยให้แผลผู้ป่วยหายได้เร็วขึ้นโดยอาศัยหลักการชะล้างบาดแผลโดยไม่ก่อให้เกิดการทำลาย Granulation Tissue  นั่นเอง  เพราะโดยปกติแล้วเราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ป่วยเบาหวานแผลจะหายช้าเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงส่วยปลายไม่ดี  รวมถึงภาวการณ์ติดเชื้อได้ง่ายก็ส่งผลให้แผลหายช้าลง   การทำแผลในอดีตจะใช้สำลีเช็ดที่บริเวณแผลโดยตรง ทำให้เช็ดเอา Granulation tissue ส่วนที่กำลังจะเกิดใหม่ออกไปด้วย   จึงเกิดความคิดที่ว่า  จะเป็นการดีที่เราสามารถลดการทำลาย Granulation Tissue  เหล่านี้  แต่จะทำอย่างไรเมื่อเรายังต้องทำความสะอาดแผลทุกวัน

หลังจากที่ได้มีโอกาสไปอบรมเรื่องการดูแผลเบาหวานและได้ไปศึกษาดูงานหลายๆที่  ก็พบปัญหาเช่นเดียวกันคือ  ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นแผลจะหายช้าและต้องใช้เวลาในการทำแผลนานกว่าแผลทั่วไป   จึงคิดหาวิธีการว่าทำอย่างไรแผลเบาหวานจึงจะหายได้เร็วขึ้น จึงได้ทดลองใช้ Syring Irrigate แผลแทนการเช็ดแผลโดยตรงก็พบว่าแผลหายเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ที่ทำแผลก็ต้องมีความรู้และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการควบคุมอาหารการรับประทานยาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการหายของแผลร่วมด้วย

หมายเลขบันทึก: 347198เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2010 03:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อช่วยให้แผลเบาหวานหายเร็วขึ้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าได้รับการดูแลบาดแผลอย่างเหมาะสมและแผลหายเร็วขึ้น

ตัวชี้วัด/เป้าหมาย

แผลเบาหวานที่ใช้วิธี syring irrigate หายเร็วขึ้นมากกว่าวิธีการทำแผลธรรมดา 50 %

หลักฐาน/ความรู้เชิงประจักษ์

การสมานแผล (อังกฤษ: wound healing, wound repair) เป็นกระบวนการซับซ้อนซึ่งผิวหนังหรืออวัยวะอื่นทำการซ่อมแซมตัวเองหลังจากได้รับบาดเจ็บ[2] ในผิวหนังปกติ ชั้น epidermis และ dermis อยู่ในสมดุลสถิตตลอดเวลาเพื่อสร้างเกราะกำบังป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เมื่อเกราะป้องกันนี้ถูกทำลายจะมีกระบวนการทางสรีรวิทยาปกติเพื่อทำการรักษาบาดแผลเกิดขึ้นทันที ตัวแบบคลาสสิคของการสมานแผลแบ่งออกเป็นสามหรือสี่ระยะซึ่งค่อนข้างซ้อนทับกัน ระยะที่ (1) คือระยะการหยุดของเลือด (hemostasis) ซึ่งนักวิชาการบางท่านไม่นับเป็นระยะ (2) การอักเสบ (inflammatory) (3) การเจริญ (proliferative) และ (4) การปรับรูปร่าง (remodeling) [3] เมื่อเกิดมีการบาดเจ็บของผิวหนังจะมีเหตุการณ์ทางชีวเคมีอันซับซ้อนเกิดขึ้นเป็นขั้นตอนที่สอดรับกันอย่างดีเพื่อรักษาบาดแผล[4] ภายในไม่กี่นาทีหลังได้รับบาดเจ็บเกล็ดเลือดจะมารวมตัวกันที่บริเวณบาดแผลเพื่อสร้างเป็น fibrin clot โดย clot นี้จะทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้เลือดไหล

ในระยะการอักเสบ แบคทีเรียและเศษเซลล์จะถูกจับกินและกำจัดทิ้ง มี factor หลายอย่างถูกปล่อยออกมาทำให้มีการย้ายที่และการแบ่งตัวของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระยะการเจริญ

ในระยะเจริญมีลักษณะเฉพาะคือการสร้างหลอดเลือดใหม่ (angiogenesis) การวางตัวของคอลลาเจน (collagen deposition) การสร้างเนื้อเยื่อแกรนูเลชัน (granulation tissue formation) การสร้างเนื้อเยื่อบุผิว (epithelialization) และการหดรั้งตัวของบาดแผล (wound contraction) [5] ในการสร้างหลอดเลือดใหม่จะมีการสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่จากเซลล์เยื่อบุผิวหลอดเลือด[6] ใน fibroplasia และ granulation tissue formation นั้นเซลล์ไฟโบรบลาสต์จะเจริญและสร้าง extracellular matrix ขึ้นมาใหม่โดยการหลั่ง collagen และ fibronectin[5] ในขณะเดียวกันเยื่อบุผิวจะมีการสร้างเยื่อบุผิวขึ้นใหม่โดยเซลล์เยื่อบุผิวจะเจริญและ "คืบคลาน" มาอยู่เหนือก้นแผล เป็นการปกป้องเนื้อเยื่อที่กำลังสร้างขึ้นใหม่[7]

ในการหดรั้งของบาดแผล บาดแผลจะมีขนาดเล็กลงเป็นผลจาก myofibroblast ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวที่ขอบแผลและหดตัวเองลงด้วยกระบวนการคล้ายคลึงกับการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ เมื่อบทบาทของเซลล์เหล่านี้ยุติลงจะเกิดกระบวนการ apoptosis เพื่อทำลายตัวเอง

ในขั้นตอนการเจริญเต็มที่และปรับรูปร่างของบาดแผล collagen จะมีการปรับรูปร่างและจัดเรียงตำแหน่งใหม่ตามแนวแรงตึง เซลล์ที่หมดหน้าที่จะทำลายตัวเองด้วยกระบวนการ apoptosis[5]

อย่างไรก็ดี กระบวนการเหล่านี้ซับซ้อนและเปราะบางอย่างมาก มีโอกาสถูกขัดจังหวะทำให้เกิดการล้มเหลวของการสมานแผลกลายเป็นบาดแผลที่ไม่หายเรื้อรังได้ ปัจจัยที่อาจมีส่วน เช่น เบาหวาน โรคหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง อายุมาก และการติดเชื้อ เป็นต้น[8]

กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินการ

1.ประเมินลักษณะของแผลเบาหวาน หากแผลยังมีการติดเชื้อยู่ให้รักษาเรื่องการติดเชื้อให้หายก่อน หรือหากเกิดจากการกดทับแผลให้ Off Loading ก่อนแล้วจึงทำแผล

2.ประชาสัมพันธ์ให้ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานถึงที่มาและความสำคัญของวิธีการทำแผล เปลี่ยนวิธีการทำแผลโดยใช้ syringe ดูด Nss ชะล้างแผลแทนการใช้ลำลีเช็ดแผลผู้ป่วยเบาหวานและขอความร่วมมือในการทำแผล

3.เริ่มทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่เริมทำแผล และวัดขนาดแผล ถ่ายรูปเก็บไว้

4.ประเมินบาดแผลหลังใช้วิธีการ Syring Irrigate ทุก 1 เดือน และวัดขนาดแผล+ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน

5.วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบก่อน-หลังการทำแผลเพื่อสรุปผล

ผลการดำเนินการ

1.ผู้ป่วยเบาหวานรายที่ 1 HN 422 (เริ่มประเมินตั้งแต่ 15 ก.ค. 52-15 ต.ค.52)

- ขนาดของแผลลดลง 25 % ใน 15 วัน (ขนาดแผลเดิม 2 ซม.ลดลงเหลือ 1.5 ซม.)

- ขนาดของแผลลดลง 50 % ใน 60 วัน (ขนาดแผลเดิม 2 ซม.ลดลงเหลือ 1. ซม.)

- ขนาดของแผลลดลง 75 % ใน 90 วัน (ขนาดแผลเดิม 2 ซม.ลดลงเหลือ 0.5 ซม.)

2.ผู้ป่วยเบาหวานรายที่ 2 HN 51351 (เริ่มประเมิน 22 กรกฎาคม 2552-5 พฤศจิกายน 2552)

ผู้ป่วยรายนี้แผลหายโดยใช้ระยะเวลา 106 วัน จากเดิมที่เริ่มเป็นแผลปี 2550 มีระยะเวลาในการทำแผลตั้งแต่ 7 กันยายน 2550-14 กรกฎาคม 2552ใช้เวลาในการทำแผลทั้งสิ้นรวมจนถึงแผลหาย 788 วัน(ปี2550 115 วัน+ปี 2551 365 วัน+ปี 2552 308 วัน=788วัน)

กำลังหาวิธีทำแผลเบาหวานให้หายเร็วๆ รบกวนขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ไหมคะ

รบกวนสอบถามค่ะ..

การล้างแผลด้วย Normal salineใช้แรงดันที่แผลอยู่ระหว่าง 5-15 ปอนด์ต่อตารางนิ้วโดยใช้ Syringe ขนาด 30 cc. ฉีด Normal saline ที่แผล แล้วเราจะทราบได้อย่างไรคะว่าแรงที่เราฉีดนั้นอยู่ในระหว่าง 5-15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว?

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท