การเรียนรู้


รัฐประศาสนศาสตร์ หรือการบริหารรัฐกิจ

ความหมายของ “การบริหารรัฐกิจ” (Public Administration)

      Felix A. Nigro ได้ให้คำนิยาม (definition) ของคำว่า “Public Administration” ไว้ว่า หมายถึง

  •  
    1. พลังของกลุ่มที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันในหน่วยงานของราชการ
    2. เป็นการดำเนินงานที่ครอบคลุมการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 สาขา คืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างอำนาจทั้งสามนั้น
    3. มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของรัฐ และดังนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง
    4. มีความแตกต่างในลักษณะที่สำคัญหลายประการจากการบริหารงานธุรกิจของเอกชน
    5. มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับบรรดากลุ่มธุรกิจเอกชน (private groups) และบุคคลต่าง ๆ (individual) ในการจัดทำบริการในด้านต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน (community)

 

      White ได้ให้นิยามความหมายอย่างกว้างที่สุดว่าการบริหารรัฐกิจนั้นประกอบด้วยการปฏิบัติการทั้งปวงซึ่งกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสำเร็จหรือนำมาบังคับใช้ได้ผล 

      Simon ได้ให้หมายความไว้ว่า การบริหารรัฐกิจในความหมายที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปนั้น หมายถึงกิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนกลาง การปกครองมลรัฐ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำคัญก็คือไม่รวมเอางานของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย 

      จากความหมายของนักวิชาการดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าการบริหารรัฐกิจ (public administration) นั้น เป็นการดำเนินงานของทางราชการเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐที่เอาการใช้อำนาจนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย (แต่มีแนวความคิดของนักวิชาการบางคน เช่น Nigro เห็นแตกต่างออกไปจาจากนักวิชาการอื่นในเรื่องนี้) 

Public Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์ (Science) และในฐานะที่เป็นศิลป์ (Art)

      คำว่า public administration นั้น อาจจะมองได้เป็น 2 ด้าน คือมองในด้านของการปฏิบัติงาน (public administration as an activity) เรียกว่าเป็นการบริหารราชการ การบริหารรัฐกิจ การบริหารสาธารณสุข หรือการบริหารสาธารณะก็เรียก กับมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการ (public administration as a field of study) ซึ่งหมายเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือวิชาการบริหารรัฐกิจ อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการบริหารงานของรัฐ

      เมื่อมองในด้านของการเป็นวิชาการนั้น public administration เป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งเรียกว่าวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือวิชาการบริหารรัฐกิจ ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการบริหารงานของรัฐ เป็นศาสตร์หรือวิชาการ (science) อันรวบรวมเป็นระบบ (systematic) มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้และนำถ่ายทอดให้ความรู้กันได้

      เมื่อมองในด้านของการปฏิบัติงาน public administration หรือการบริหารราชการ การบริหารรัฐกิจ การบริหารสาธารณกิจ หรือการบริหารสาธารณะ หมายถึงการใช้ศิลปะ (art) ในการอำนวยงาน จัดให้มีการร่วมมือประสานงาน และควบคุมคนจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลงานบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์บางประการที่ตั้งไว้ โดยนักบริหารจะต้องใช้ความสามารถที่จะนำเอาทรัพยากรในการบริหารมาใช้ในระบบการบริหารเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงคืที่ต้องการ คือการทำให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสำเร็จเป็นจุดหมายปลายทาง ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ (experience) และทักษะ (skills) ของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย

หมายเลขบันทึก: 347100เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับคุณแสงจันทร์

แวะเข้ามาอ่าน และขอเป็นกำลังใจให้ครับ

สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่น่ะค่ะ..ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท