สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่
สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่ สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่

การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน


ที่มาของข้อมูล สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น

การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน

     การใช้วัสดุอื่นแทนปุ๋ยเคมี  คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์  สามารถแบ่งออกได้เป็น  3  ส่วน คือ การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการใช้วัสดุอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี
1. การจัดการดิน
     ไม่เผาตอซัง  ฟางข้าวและเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนาเพราะเป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ควรไถกลบ ตอซํง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ต่างๆ ลงในดินทุกปี
     เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน ปอเทือง เป็นต้น
               
                           ต้นปอเทือง                                                                    ต้นโสน
 
                         ต้นถั่วเขียว
     ป้องกันการสูญเสียหน้าดินเนื่องจากการชะล้าง  โดยใช้วัสดุคลุมดินพืชคลุมดิน และควรมีการไถพรวนอย่างถูกวิธี
     ควรวิเคราะห์ดินนาทุกปี  แล้วแก้ไขภาวะวามเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว (ประมาณ 5.5 - 6.5) ถ้าพบว่าดินมีความเป็นกรดสูงแนะนำให้ใช้ปูนมาร์ล  ปูนขาว หรือขี้เถ้าไม้  ปรับปรุงสภาพดิน
2. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
     หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดและยายามแสวงหาปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติมาใช้อย่างสม่ำเสมอ  แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ  จึงต้องใช้ในปริมาณที่สูงมากและอาจมีไม่พอเพียงสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์  และถ้าหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต  จึงแนะนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า "สร้างให้เกิดในพื้นที่ใช้ทีละน้อยสม่ำเสมอเป็นประจำ"
3. ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และเศษใบไม้
     ใช้ในอัตรา 100 - 500 กก./ไร่  โดยการใส่ให้ทั่วแปลง  แล้วไถกลบลงดินก่อนการปักดำ  หรือหว่านข้าวประมาณ  7 - 10 วัน ถ้าหากไม่สามารถใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามอัตราที่กำหนดก็ให้ใส่เท่าที่หาได้ทีละเล็กน้อย แต่ใส่สม่ำเสมอทุกปี
                                
                                                  ปุ๋ยคอก                                                        ปุ๋ยหมัก
4. การปลูกปุ๋ยพืชสดร่วมระบบกับข้าว
     เช่น  การหว่านปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  พืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ถั่วพุ่ม  ถั่วลิสง  หรือโสนต่างๆ  ให้หว่านเมล็ดพืชอัตรา  5  ก.ก./ไร่  จนพืชสดมีอายะ 50 - 60 วัน แล้วจึงไถกลบลงดินก่อนการปักดำหรือหว่านข้าวประมาณ  7 - 10 วัน
5. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
     โดยการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผัก  ผลไม้  ปลา  หรือหอยเชอร์รี่  โดยใช้สัดส่วนหมักในกากน้ำตาล : น้ำ ในสัดส่วน 3:1:1 ใช้เวลา 7 วัน (ผักและผลไม้) และจากหอยเชอรี่หรือปลา (21 วัน) จากนั้นผสมน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน : น้ำ 500 ส่วนฉีดพ่นอัตรา 5 ลิตร / ไร่ ใส่ 4 - 5 ครั้ง  ในระยะเตรียมดิน  ระยะแตกกอใส่ 2 ครั้ง ระยะตั้งท้องและออกดอก
6. การใช้อินทรีย์วัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี
     หากปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความสมบูรณ์ของดินข้างต้นแล้ว  ยังพบว่าดินมีความสมบูรณ์ไม่เพียงพอหรือขาดธาตุอาหารที่สำคัญบางชนิดไป  สามารถนำอินทรีย์วัตถุจากธรรมชาติต่อไปนี้ทดแทนปุ๋ยเคมีบางชนิดได้  คือ 
          แหล่งธาตุไนโตรเจน  เช่น  แหนแดง  สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว  กากเมล็ดสะเดา  เลือดสัตว์แห้ง  กระดูกป่น  เป็นต้น
          แหล่งธาตุฟอสฟอรัส  เช่น  หินฟอสเฟต  กระดูกป่น  มูลไก่  มูลค้างคาว  กากเมล็ดพืช  ขึ้เถ้าไม้  สาหร่ายทะเล  เป็นต้น
          แหล่งธาตุโพแทสเซียม  เช่น  ขี้เถ้า  และหินปูนบางชนิด
          แหล่งธาตุแคลเซียม  ปูนขาว  โคโลไมท์  เปลือกหอยป่น  กระดูกป่น  เป็นต้น
คำสำคัญ (Tags): #คู่มือชาวนา
หมายเลขบันทึก: 346682เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2010 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ

-แวะมาเยี่ยมสำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่ครับ

-ความอุดมสมบูรณ์ของดิน....สร้างได้จริงๆ นะครับ

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท