ม.รามคำแหง/HR


ร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้กับชาวรามคำแหง

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์รามคำแหง

         ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวรามคำแหงจะมาร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่นี่

                                          จีระ  หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 34640เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
สวัสดีครับท่านอาจารย์ ผมก็ลูกศิษย์รามคำแหงคนหนึ่งครับ ถึงแม้ว่าจะเรียนในสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ สุโขทัย แต่ก็มีเลือดรามคำแหงอยู่เต็มเปี่ยมครับ ถ้ามีอะไรให้ผมรับใช้บอกได้เลยนะครับ
กราบเรียนท่านอาจารย์ และสวัสดีชาวรามทุกท่าน ผมชื่อนิรุตต์ เป็นลูกพ่อขุน ครับ อีกทั้งขณะนี้ กำลังเรียน ป.โทที่ราม ในสาขา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีความสนใจในเรื่อง Tool Management โดยเฉพาะ Competency และ Balanced Scorecard ขณะนี้ ผมกำลังทำ Thesis เกี่ยวกับ Balanced Scorecard อยู่ ถ้าอย่างไรแล้ว ผมคงต้องขอความกรุณาท่านอาจารย์ และผู้รู้ทุกๆ ท่าน ในส่วนของคำแนะนำนะครับ เบอร์ติดต่อผม 0-9183-8355 หรือที่บริษัท DDK (Thailand) Ltd. 0-2529-1428-31 ต่อ 1104 ขอขอบพระคุณสำหรับความกรุณาทุกๆ ท่านครับ
สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ จีระ ก่อนอื่นต้องเรียนท่านอาจารย์ก่อนเลยว่า รู้สึก ยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่านอาจารย์มาให้ความรู้กับพวกเรา ชาว HRD. CCO. รุ่นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันเสาร์ที่17 มิถุนายน 2548 ซึ่งในการบรรยายของท่านอาจารย์ในวันนั้น ทำให้พวกเราได้เรียนรู้ผ่านหลากหลายมุมมอง ทั้งในเรื่องของหลักทฤษฎี 4 L’s , Talent Management และ 8 K’s ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้มีคุณยม ได้สรุปไว้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ใน Blog ของ กฟผ. ซึ่งคุณยมได้สรุปไว้อย่างชัดเจน อ่านเข้าใจได้ง่าย อยากให้เพื่อน ๆ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะคะ สำหรับเนื้อหาอื่นเพิ่มเติมที่อาจารย์ได้สอนในวันนั้น ก็จะมีในเรื่องของ 5 K’s ซึ่งก็คือ ท Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม โดยท่านอาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว้า ทุนทางนวัตกรรมนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ นวัต ซึ่งมาจากคำว่าใหม่ ต้องมาความคิดใหม่ กรรม คือเอาไปทำ และ 3 คือ ต้องเอาไปทำให้สำเร็จ ท Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (ต้องคิดนอกกรอบ แต่ทำได้ยากเพราะคนส่วนมากชอบทำในสิ่งที่ทำมาแล้ว ท Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ท Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม ท Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ นอกจากนี้ท่านอาจารย์ยังได้นำเอาเทปการสัมภาษณ์ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งบันทึกไว้เมื่อ 12 ปีที่แล้ว แต่แนวคิดของคุณพารณ นั้นยังคงเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ได้เป็นอย่างดีในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของการสื่อสารระหว่างกันในองค์กร การสร้างคนในองค์กร ที่คุณพารณ ให้แนวคิดว่าจะต้องพัฒนาคนในองค์กรทุกระดับ จะทำส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ เรื่องของจรรยาบรณ ความตั้งมั่นในความเป็นธรรม และการรักษาคนในองค์กร โดยสร้างความผูกพัน ความรักในองค์กร การดูแลด้านสวัสดิการ การแต่งตั้ง โยกย้าย ต้องเป็นธรรม ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร และอีกประเด็นที่สำคัญคือในเรื่องของสังคมฐานความรู้ ซึ่งมี 3 ประการ คือ 1. ได้ความรู้มาด้วยวิธีอะไร ถ้าได้มาจากการอ่านตำราเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องได้มาจากประสบการณ์ด้วย 2. Share กับเพื่อน ผู้ร่วมงาน ฯลฯ เช่นที่ท่านอาจารย์ได้เปิด Blog ให้พวกเราได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 3. มีความรู้ใหม่มา Share แล้วจะทำอย่างไร จะนำไปใช้ให้เกิด Perform ant อย่างแท้จริง เปลี่ยนความรู้ให้เป็นประโยชน์ขององค์กรได้อย่างไร เพราะฉะนั้นก็อยากจะชวนเพื่อน ๆ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันใน Blog นี้เยอะ ๆ นะคะ
ยม ยม "ปัญหาในองค์กร การแลกเปลี่ยนความเห็นอาจจะเป็นประโยชน์กับสังคมการเรียนรู้"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  

มีผู้สนใจท่านหนึ่ง ส่งคำถาม ไปขอความเห็นผมทาง Email address   ผมคิดว่าเป็นคำถามที่ดี มีประโยชน์ ถ้านำความเห็นมาร่วมแชร์ความรู้ใน Blog นี้จะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจหลายท่าน เพราะเป็นปัญหาที่หลายองค์กร อาจจะกำลังเผชิญอยู่ ผมจึงขอนำสิ่งที่ผมได้แชร์ไป มาลงใน blog นี้ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ดังนี้

คำถามที่ 1. เมื่อลูกค้าคือพระเจ้า แต่ถ้ามีลูกค้ารายใหญ่ใช้อำนาจโดยมิชอบกลั่นแกล้งพนักงาน จะทำปฏิบัติอย่างไรดีค่ะ และมีทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน 

ความเห็นส่วนตัวของผม  ถ้าผู้ถาม กำหนด นโยบายไว้ว่า ลูกค้าคือพระเจ้า ก็จะต้องมียุทธ์ศาสตร์ในการปฏิบัติ  เพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้า ความเห็นส่วนตัวผมสองแนวทางดังนี้ ประการแรก ใช้ยุทธศาสตร์การสร้างความไดเปรียบในการแข่งขันทางการค้า ตามแนวคิดของ Michael E. Porter ได้แก่

         1.       ยุทธ์ศาสตร์ด้านต้นทุน (Cost Leadership) เน้นต้นทุนต่ำ เพื่อให้มีกำไร ให้ราคาสินค้าหรือบริการโดนใจลูกค้า ประการต่อมา 

         2.       ยุทธศาสตร์เน้นที่ลูกค้า (Customer focus)  เน้นที่ความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มยุโรป กลุ่มเอเชีย กลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน  ไม่หว่านไปทั่วกับลูกค้าทุกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น รถโวลโว่  เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีฐานะดี และเน้นความปลอดภัย  จึงมีแนวคิดในการสร้างรถภายใต้แนวคิดที่ว่า ทุกชีวิตปลอดภัยในวอลโว่   ประการสุดท้ายคือ

         3.       ยุทธศาสตร์สร้างความแตกต่าง (ในสินค้าหรือบริการ) (Differentiation) เน้นการสร้างนวตกรรมในสินค้าบริการอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่ง เช่น ผู้ผลิตรถญี่ปุ่น คิดค้นรถรุ่นใหม่ออกมาทุกห้าปี เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าที่ชอบโมเดลใหม่ ๆ  

การใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด จะทำให้ธุรกิจสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และทำให้มีลูกค้ามากพอ ที่จะไม่ต้องง้อลูกค้ามาก จนเกินไป

 

ประการที่สอง   องค์กรของผู้ถาม ต้องพัฒนาองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมเผชิญปัญหา ต่าง ๆ และสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั่วทั้งองค์กร โดยการใช้ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ

 

ทฤษฎี 8 K's[1] ได้ให้แนวคิดไว้ว่า "ทรัพยากรมนุษย์" นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของทุนทั้งสิ้น 8 ประการ ได้แก่

 

1.     Human  Capital  หรือ ทุนมนุษย์        คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นทุนขั้น      พื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี  และสามารถสร้างต่อได้

 

2.     Intellectual  Capital  หรือ ทุนทางปัญญา      คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม     บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ   Intellectual  Capital  เสมอไป  คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

3.     Ethical  Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม   บุคคลที่มีความรู้ดี  สติปัญญาดี  แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม  ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี  ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม ไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง

 

4.     Happiness  Capital หรือ ทุนแห่งความสุข   มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือ สุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

 

5.     Social  Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social  Capital หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม

 

6.  Sustainability  Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน

 

7.   Digital  Capital  หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ   โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี  เป็นโลกาภิวัตน์  ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ  จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

8.      Talented  Capital  หรือ ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ    ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน  บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ประการที่สาม  ในการพัฒนาองค์กร พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังกล่าว ผมเสนอให้ใช้หลักการทางพุทธศาสตร์ หลักธรรมภิบาล (จะอธิบายรายละเอียดในข้อต่อไป) เข้ามาบูรณาการ เช่น   ธรรมที่ทำให้งาม ได้แก่ ขันติ คือความอดทน  โสรัจจะ คือความสงบเสงี่ยม  ธรรมข้อนี้ สอนให้คนธรรมสองประการซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดภาพที่ดีแก่ผู้ปฏิบัติถ้าคนใด องค์กรใดมีวัฒนธรมองค์กร อย่างนี้ จะทำให้องค์กรนั้น คน ๆ นั้นมีความสง่างาม เป็นที่นิยม ต้องใจของผู้ใช้สินค้าและบริการ  ในพุทธศาสนายังมีอีกหลายธรรมมะ ที่สามารถนำมาประยุกต์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เกิดทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี

 ฉะนั้น ถ้าจะให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ก็ต้องเข้มงวดตั้งแต่การสรรหาคัดเลือก ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนทางความรู้ มีพื้นฐานทุน 8 ประการไว้ดี แล้ว องค์กรนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์สูงสุด  ในข้อหนึ่ง ผมตอบโจทย์เพียงเท่านี้ก่อน


คำถามที่ 2 จะปรับปรุงและจัดการทัศนคติอย่างไร หากมีทัศนคติในทางลบเกิดขึ้นในองค์กร ท่านมีคำแนะนำที่ดีที่สุดอย่างไรบ้างเกี่ยวกับแรงจูงใจ ใช้ทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน

ความเห็นส่วนตัวของผมในข้อสองนี้  ถามถึง การจัดการกับทัศนคติทางลบ ในองค์กร จะจัดการอย่างไร ข้อนี้ ผมแนะนำ ให้ ทำรายการทัศนคติทางลบที่มีอยู่ในองค์กรว่ามีอะไรบ้าง  แล้วนำมาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การแก้ไข และการป้องกัน กล่าวคือ

  1. ต้องรู้ว่าอะไร คือปัญหา  ทำรายการมาว่ามีทัศนคติทางลบอะไร บ้าง โดยแบ่งเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เช่น ทัศนคติทางลบ ในระดับองค์กร ระดับผู้บริหาร ระดับหัวหน้างาน ระดับพนักงาน และพยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน เพราะทัศนคติทางลบ ที่มีอยู่ในหัวหน้างานจะส่งผลให้เกิดทัศนคติไม่ดี ไปถึงพนักงานและองค์กรได้
  2. ต้องรู้ว่าอะไร คือสาเหตุ  ที่ทำให้เกิดปัญหา  เมื่อได้รายการทัศนคติทางลบมาแล้ว ให้นำมาวิเคราะห์หาเหตุแห่งปัญหา เหตุแห่งทุกข์นั้น จะทำให้เห็นปัญหาที่รากหญ้า ได้
  3. กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา  เมื่อทราบเหตุแห่งปัญหา แล้ว หาทางกำหนดแนวทางในการลดทัศนคติทางลบ ให้หมดไปก่อนที่จะค้นหาวิธีเพิ่มทัศนคติทางบวก  กล่าวคือ ลดของเสียทางใจเสียก่อน 
  4. เลือกแนวทางที่ดีที่สุดมาปฏิบัติและติดตามผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อได้แนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่ดีมาแล้ว ลองนำมาปฏิบัติและติดตามผลดูว่าเป็นอย่างไร  จะปรับปรุงวิธีการแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำขึ้นอีก  แนวทางทั้งสี่ข้อนี้เรียกว่า อริยสัจสี่ ทฤษฎีของพระพุทธเจ้าในการขจัดปัญหาทั้งหลาย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ ตอบคำถามที่ถามมาได้หลายข้อ ครับ
นอกจากนี้ ผมเสนอให้ใช้หลักบริหารกิจการตามหลักธรรมาภิบาล คำว่า ธรรมาภิบาล  คือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมายถึง ขบวนการ หรือขั้นตอนในการทำงานหรือกิจกรรมใด ๆ ที่จัดขึ้นในถาบันฯ เริ่มจากงานในหน้าที่รับผิดอบของแต่ละคน งานที่ได้รับคำสั่งให้ทำ หรืองานที่ร่วมกันทำ จะต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 6 หลัก คือ 

1.    นิติธรรม  เคารพและปฏิบัติตามกฎ กติกา ระเบียบแบบแผนและกฎหมายต่าง ๆ โดยไม่ละเมิดอย่างตั้งใจ หรือจงใจหลีกเลี่ยง หรือไม่ตั้งใจเพราะไม่รู้ ฉะนั้นถ้าไม่แน่ใจต้องศึกษาก่อนว่าจะผิดหลักนิติธรรม ก่อนที่จะทำลงไปหรือไม่ การดำเนินการตามหลักนิติธรรม ได้แก่

  •    กำหนดจรรณยาบรรณของหน่วยงานและของผู้ร่วมงาน
  • จัดให้มีระบบการร้องเรียนในการให้บริหารของหน่วยงาน
  • รณรงค์ให้มีการใช้หลักคุณธรรมอย่างกว้างขวางและจริงจังในทุกระดับจากระดับบริหารจนถึงระดับผู้ปฏิบัติตามทุกคน
  • จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความมีคุณธรรมของหน่วยงาน ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ของหน่วยงานเพื่อสร้างจิตสำนึกในเรื่องนี้
  • สร้างระบบเครือข่ายการส่งเสริมหลักคุณธรรมระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม
  2.  คุณธรรม ในหลายแง่มุม เช่น เมตตาธรรม คือความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข จริยธรรม ทำอะไรก็ให้ถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน กตัญญู กตเวทิตา การรู้จักบุญคุณ และคิดจะตอบแทน หิริโอปตัปปะ การรู้จักละอาย และเกรงกลัวบาปกรรมไม่ดี โดยที่การมีคณธรรม จะช่วยยกคุณค่าความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้น เป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป  การดำเนินการตามหลักคุณธรรม ได้แก่
  • กำหนดจรรณยาบรรณของหน่วยงานและของผู้ร่วมงาน
  • จัดให้มีระบบการร้องเรียนในการให้บริหารของหน่วยงาน 
  •   รณรงค์ให้มีการใช้หลักคุณธรรมอย่างกว้างขวางและจริงจังในทุกระดับจากระดับบริหารจนถึงระดับผู้ปฏิบัติตามทุกคน
  • จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความมีคุณธรรมของหน่วยงาน ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ของหน่วยงานเพื่อสร้างจิตสำนึกในเรื่องนี้
  • สร้างระบบเครือข่ายการส่งเสริมหลักคุณธรรมระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม
  3.  ความโปร่งใส  ตรวจสอบได้ ทุกเรื่องราวในการทำงานตามภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ ตอบข้อสงสัยได้ชัดเจนทุกคำถาม  การดำเนินการตามหลักความโปร่งใส ได้แก่
  •  สำรวจความเห็นของผู้ร่วมงานเกี่ยวกับความโปร่งใสที่ต้องการได้รับจากหน่วยงาน 
  •  สร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน
  • กระตุ้นและผลักดันให้ผู้ร่วมงานของหน่วยงานปฏิบัติตาม พรบ. ข้อมูลข่าวสาร และมีระบบให้ผู้ร่วมงานสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้
  • ปรับปรุงระบบสารสนเทศและระบบการจัดเก็บเอกสาร ให้สะดวกต่อการสืบค้น และเผยแพร่แก่ผู้ร่วมงาน
  • จัดทำประกาศและคู่มือการขอรับบริการสำหรับผู้ร่วมงาน โดยระบุขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการที่ชัดเจน 
  •  มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ร่วมงานทั่วไป
  4.   การมีส่วนร่วม พึงระลึกไว้ว่าตัวเองเป็นสมาชิกถาวรของสถาบันฯ นอกเหนือจากงานในหน้าที่แล้วกิจกรรมอื่นที่มีผลดีต่อสถาบันฯ จะต้องร่วมมือ อะไรที่ไม่ดีต้องทักท้วง การดำเนินการตามหลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ 
  • ปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกลไกการให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม
  • การกระจายอำนาจการบริหารงานในหน่วยงานหรือสู่ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมงาน
  • รณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมแก่ผู้ร่วมงานของทุกหน่วยงาน
  • สร้างหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มีส่วนร่วม

 

 5.   ร่วมรับผิดชอบ ต่อผลงานที่ทำเอง ทำโดยกลุ่ม ทำในนามสถาบันฯ ถ้าดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ถ้าผิดพลาดบกพร่องต้องช่วยกันแก้ไข ไม่วางเฉย การดำเนินการตามหลักการร่วมรับผิชอบ ได้แก่
  • ให้ผู้บังคับบัญชาเป็นแบบอย่างที่ดี มีมาตรฐานหรือข้อกำกับความประพฤตินักบริหาร
  • สร้างความสำนึกเรื่องความรับผิดชอบของตนเอง (self-accountability) เช่น ใช้การมีส่วนร่วมระบบการตรวจสอบ ระบบประเมินผลแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
  • ส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถ โดยใช้ระบบการให้รางวัล และระบบจูงใจอื่น ๆ
  6.   ความคุ้มค่า ทั้งในแง่ของรูปธรรมและนามธรรม ที่สัมผัสจับต้องมองเห็นได้ หรือรู้สึกได้ว่าคุ้มค่าหรือไม่คุ้มค่า ถ้าทำตามหลักข้างต้นทั้ง 5 มาครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงหลักความคุ้มค่าแล้วไม่ผ่าน ก็ควรทบทวนปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อผลงานให้มากที่สุด  การดำเนินการตามหลักการความคุ้มค่า ได้แก่
  •  สร้างจิตสำนึกแก่ผู้ร่วมงานของหน่วยงานในการประหยัดการใช้ทรัพยากร
  • ลดขั้นตอนการให้บริการ/การทำงานให้สะดวกยิ่งขึ้น
  • ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิต
  • กำหนดเป้าหมาย และมาตรฐานการทำงาน
  • มีระบบการติดตามประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบความคุ้มทุน ในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ 
  •  มีระบบการรายงานผลที่สอดคล้องกับระบบการประเมินผลฯ 
  •  ใช้เทคนิคการบริหารงานแบบใหม่สำหรับบางงาน ที่หน่วยงานไม่ต้องทำเอง เช่น การจ้าง เหมา รปภ., พนักงานทำความสะอาด เป็นต้น
 
คำถามที่ 3.ตอนนี้เรามีเทคโนโลยีของโลกอินเตอร์เน็ตทำให้สื่อสารโดยไม่ต้องพบหน้ากัน จะทำอย่างไรเพื่อจะได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่นี้ โดยไม่ขาดมนุษย์สัมพันธ์ และใช้ทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน
 

ความเห็นส่วนตัวของผม  ใช้ทฤษฎี 8 K’s   ถ้าทรัพยากรมนุษย์มีทุนตามทฤษฎี 8 K’s อย่างครบถ้วน ผมคิดว่า ปัญหาการขาดมนุษย์สัมพันธ์จะไม่เกิด ขึ้น นอกจากนี้ ตามแนวพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเขียนหลักธรรม(ทฤษฎี) ไว้หลายประการ ที่สามารถนำมาบูรณาการใช้กำหนดจริธรรมในองค์กร เน้นให้คนในองค์กรรู้รักสามัคคี มีสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้เป็นอย่างดี 



คำถามที่ 4.ถ้าต้องจัดการ ควบกิจการ โดยต้องพยายามนำบุคคลต่างบริษัท ต่างวัฒนธรรมมาทำงานรวมกันให้ได้ จะทำอย่างไร พอจะมีทางเลือกอื่นหรือไม่ ที่ทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันภายในบริษัทข้ามชาติ และใช้ทฤษฎีอะไร

 คำถามที่ 5. ถ้าบริษัทมีพนักงานอยู่ 4 ร่น คือ หลังสงครามโลก หลังสงครามเวียดนาม รุ่น x รุ่น  Y จะทำให้คนที่แตกต่างกันมีวิสัยทัศน์เป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างไร ใช้ทฤษฎีอะไร 

ความเห็นส่วนตัวของผม   ข้อ 4 และ 5  มีความเห็นที่สามารถไปใช้ได้ทั้งสองข้อ   ผมเสนอว่าองค์กรควร

  • ต้องมีหลักการบริหารที่ชัดเจน เช่น การใช้หลักธรรมภิบาล นำมาใช้ดังกล่าวข้างกต้น และ
  • ควรมีกลยุทธ์ในการบริหารที่ชัดเจน ได้แก่   การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจหลัก (Mission)  วัตถุประสงค์ (Goals)  เป้าหมาย (Objective) และแผนกลยุทธ์ ที่ชัดเจน 
  • มีการกำหนดวัฒนธรรมองค์กร ที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตก
  • มีการกำหนดจริยธรรมในองค์กรที่ชัดเจน โดยให้ทุกส่วนงานมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
  • ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ ใช้ทฤษฎี 8 K’s  ของ ศ.ดร.จีระ เป็นแนวทางครับ
คำถามที่ 6. จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าองค์กรมุ่งผลระยะสั้น มุ่งแข่งขันภายในองค์กร ให้มีระบบจัดอันดับ เน้นตัวเลข เราจะจัดการกับสถานการณ์เช่นนี้ได้อย่างไร ใช้ทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน  

ความเห็นส่วนตัวของผม   จะเกิดอะไรขึ้นถ้าการแก้ไขปัญหามุ่งผลระยะสั้น  แน่นอนครับ ระยะยาวจะเกิดปัญหาตามมา เพราะการมองปัญหา มองการแก้ มองแค่ระยะสั้น  การแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา 

             การมุ่งแข่งขัน ภายในองค์กร ให้มีระบบจัดอันดับ เน้นตัวเลข ผมไม่แน่ใจว่า ปัญหาที่แท้จริงในองค์กรคืออะไร และการกำหนดการแก้ไขปัญหานี้ สามารถขจัดปัญหานั้นได้หรือไม่  ผมเสนอให้ใช้หลักการแก้ไขปัญหา ทฤษฎีของพระพุทธเจ้า ตามมี่ผมเขียนอธิบายไว้ในความเห็นส่วนตัวที่เขียนตอบในข้อที่ 2 ครับ   การแก้ปัญหา ควรคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับทรัพยกรมนุษย์/ ภาพลักษณ์ขององค์กร ของลูกค้า   และที่สำคัญ การตัดสินใจแก้ไขปัญหา ก็ควรเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้เกิด ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนแห่งความยั่งยืน ด้วย



คำถามที่ 7. จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเขียนพันธกิจขององค์กร (Mission statements) เพื่อวางแผนกลยุทธ์ ใช้ทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน

 

ความเห็นส่วนตัวของผม   ในยุคนี้โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกองค์กร ได้แก่ PEST P=Political การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองของโลก ของประเทศ ของเอเชีย  E=Economy การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน อัตราค่าแรง และค่าของเงิน เศรษฐกิจของโลก ของประเทศ  S=Social การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม จำนวนประชากร ฯ  T=Technology การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีฯ 

 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้องค์กรที่มีสายตาอันกว้างไกล ต้องมีการบริหารเชิงกลยุทธ์ ครับ การบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันก็มีหลากหลายวิธี เช่นการ กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจหลัก วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนและยืดหยุ่นได้

หลายองค์กรจึงใช้หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวมาใช้ในองค์กร  ถามว่าจำเป็นหรือไม่ ไม่มีคำตอบที่ตายตัว แน่นอน อยู่ที่สถานภาพขององค์กร ว่าเป็นอย่างไร  ธุรกิจอะไร สถานะทางการตลาดเป็นอย่างไร ความเข้มแข็งของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เข้มแข็งหรือไม่เพียงใด แต่การมีการบริหารเชิงกลยุทธ์ดีกว่าไม่มีอะไรเลยครับ  ผมขอแสดงความคิดเห็นไว้เพียงเท่านี้ก่อน  หากท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับการพัฒนาองค์กร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เชิญท่านร่วมแสดงความคิดเห็นใน blog นี้ ครับ

 

ขอให้ทุกท่านโชคดี สวัสดีครับ

ยม

น.ศ. ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(กทม.2)

ยม เสนอ "บทเรียนจากความจริง" บทเรียน HRDS -ของ ศ.ดร.จีระ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

  เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet  ดังที่เคยปฏิบัติ รายการแรกที่ผมค้นหาก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียน :  HRDS  ได้สาระน่าสนใจมาก ผมทำงานด้าน HRM, HRD เมื่ออ่านบทความนี้แล้ว ผมเชื่อมั่นว่าผมจะสามารถนำสาระจากบทความนี้ไปบูรณาการในการพัฒนาตนเอง และการทำงานให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี

ในบทความเรื่อง บทเรียน : HRDS ศ.ดร.จีระ อาจารย์เขียนถึงสิ่งที่อาจารย์ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และกล่าวถึง การไปพูดที่กระทรวงพาณิชย์ และที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง มีประเด็นน่าสนใจหลายประเด็น เช่น  

 
  • การไปบรรยายให้ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จันทบุรี
  • บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 
  • คำแนะนำของ ศ.ดร.จีระ ที่มีให้กับองค์กรที่ เชิญอาจารย์ไปบรรยาย ให้เอาจริง ให้เน้นคุณภาพ  เน้นวิธีการเรียนแบบ 4 L's และวัดผล ให้เป็นรูปธรรม (เรื่อง ทฤฏี 4 L’s ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.chiraacademy.com/chiratheory.html )
  • การไปบรรยายที่กระทรวงพาณิชย์ สาระที่สนทนากับอธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร
  • การไปบรรยายให้คณาจารย์และนักเรียนปริญญาเอกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35 คน
  • แนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ ให้ไว้ 1 เรื่องคือ HRDS  น่าสนใจมากครับ  อาจารย์เขชื่อมโยง พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ากับ เรื่อง HRDS ได้เป็นอย่างดี  น่าสนใจมาก
 

รายละเอียดของบทความ บทเรียนจากความจริง เรื่อง บทเรียน :  HRDS ดูชื่อเรื่องจะเป็นฝรั่ง แต่สาระที่อาจารย์เขียนอ่านแล้วแบบไทย ๆ น่าเชิญชวนให้ติดตาม   ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถอ่านได้จากตอนท้ายของข้อความนี้ 

 

ท่านผู้อ่านสามารถติดตามสาระน่ารู้กับ ศ.ดร.จีระ ได้อีก นอกจากบทความใน น.ส.พ.แนวหน้าทุกวันเสาร์แล้ว  วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทาง ททบ.ช่อง 5 เวลา 8.30 น. ท่านจะได้พบ กับ ศ.ดร.จีระ ในรายการ เจาะลึกประเทศไทย ส่วนวันอาทิตย์ทาง UBC รายการโทรทัศน์ "สู่ศตวรรษใหม่" ออกอากาศครั้งแรกทาง สทท.11 ทุกวันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือน เวลา 14.00 - 14.50 น.  และออกอากาศซ้ำทาง UBC News ช่อง 07 ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 2 เวลา 13.05 - 14.00 น.  และรายการวิทยุ  "Knowledge for People”   ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น.  สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. " คลื่นความคิด "  

  สุดสัปดาห์นี้ คนไทยเรายังคงมีความสุข ปิติยินดี กับไออุ่นจากการฉลองครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมขอเชิญชวนท่านร่วมเขียนถวาย เขียนการทำความดี ถวายพระพรแด่พระองค์ท่าน ใน Blog เทิดพระเกียรติ 60 ปี ครองราชย์ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ กรุณาเปิดให้บรรดาลูกศิษย์ ที่http://gotoknow.org/blog/chirakm  

สวัสดีครับ

 

ยม

 

น.ศ.ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)

  

บทเรียน : HRDS[1]

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ผมเขียนบทความนี้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี บางท่านอาจจะยังไม่เคยรู้จัก เป็นพระราชวังเก่าของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มีโรงแรมเล็กประมาณ 50 ห้อง มีห้องประชุมจัดสัมมนา ภายในยังมีสวนผลไม้ และมีอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สมกับทฤษฎี 4 L's Learning Environment ของผม


ผมพาเจ้าหน้าที่ระดับสูง C8 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติหรือสภาวิจัย มาฝึกเรื่องเตรียมภาวะผู้นำ ในวันที่ 22 - 23 มิถุนายน 2549 บุคลากรเหล่านี้ เป็นผู้มีมันสมองยอดเยี่ยม เพราะอาชีพการวิจัยเป็นอาชีพที่สำคัญ ผมได้ทำต่อเนื่องกันมา รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 โดยผมอยู่ 1 วัน 1 คืนเต็ม ได้รับความกรุณาและอบอุ่นแบบครอบครัวเดียวกัน การเรียนรู้ยุคใหม่ ผู้ฝึกกับผู้เรียนต้องช่วยกันแสดงความเห็นร่วมกัน นำเอาความรู้ใหม่ ๆ ไปใช้ หวังว่าจะปรับพฤติกรรมของผู้เรียนบ้างไม่มากก็น้อย


บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจะต้องเข้มแข็งและพัฒนาต่อไป เพราะ

- stake holders ข้างนอกมีมากมาย เช่น นักการเมือง , นักธุรกิจ , นักวิชาการ , ต่างประเทศ , สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป
- ของดีมีมาก แต่นำไปใช้ไม่เป็น เพราะขาดการประชาสัมพันธ์แบบมืออาชีพ
- Brand ยังไม่ชัดในสายตาคนทั่วไป
การอยู่ด้วยกันกับรุ่นแรก 60 ชั่วโมงได้ประโยชน์มากระดับหนึ่ง และรุ่น 2 อีก 40 คน ใน 60 ชั่วโมง คงจะได้อะไรมากขึ้นอีกไม่มากก็น้อย ผมบอกเขาว่า ต้องทำการพัฒนาแบบ
- ต่อเนื่อง
- เรียนในสิ่งที่ตัวเขาสนใจ นำไปใช้ และต่อยอด
- เรียนเพื่อสร้างสังคมการเรียนแบบ 4 L's
- เรียนกันเองเป็นทีม
- มีความคิดใหม่และนอกกรอบ
- work smart ไม่ใช่ work hard
ช่วงนี้ผู้อ่านที่ติดตามงานของผม จะเห็นว่ามีผู้สนใจเชิญผมหลายแห่ง สิ่งที่ผมขอองค์กรทุกแห่งที่เชิญคือ
- ให้เอาจริง
- ให้เน้นคุณภาพ
- เน้นวิธีการเรียนแบบ 4 L's
- วัดผล ให้เป็นรูปธรรม


นอกจากงานของสภาวิจัยแล้ว ผมภูมิใจที่มาเป็นแขกของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพราะคุณพ่อผม นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เคยเป็นรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ 2 สมัย กว่า 40 ปีแล้ว


ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าต่างประเทศ ย้ายไปอยู่จังหวัดนนทบุรี สถานที่สบาย ติดแม่น้ำเจ้าพระยา


อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งรู้จักกันมานาน เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร พยายามสร้าง capacity building ให้ข้าราชการทุกระดับ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะอธิบดีส่วนมากในระบบราชการไทย ใช้เวลาในการดูแลคนน้อยมาก อธิบดี รองอธิบดี และข้าราชการมีระดับ C8 , C7 ประมาณ 150 คน มาฟังการบรรยายของผม มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยผ่านการถาม/ตอบ ซึ่งผมเน้นเรื่อง Leadership กับ Innovation ว่า กรมการค้าต่างประเทศจะต้องเร่งรัดเรื่อง การทำงานเร็ว นอกกรอบ เพราะ
- การค้าต่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงเร็ว และมีปัจจัยหลากหลาย
- จะต้องเปิดโอกาสให้ Ideas ต่าง ๆ เกิดขึ้น และ share กัน
- ระดมความคิดให้เป็น bottom up มากขึ้น
- ผู้นำต้องกระตุ้นให้เกิด Execution ในโครงการใหม่ ๆ เพราะภาระงานประจำของกรมมีมากมาย
ส่วนเมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน ผมไปบรรยายให้คณาจารย์และนักเรียนปริญญาเอกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35 คน ปรากฏว่าได้ความรู้มากมาย เช่น
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีภาควิชากว่า 10 ภาควิชายังทำงานไม่ข้ามศาสตร์ ต่างคนต่างทำ
- การวิจัยยังไม่บูรณาการเข้าหากัน ซึ่งจะต้องปรับการทำงานให้มากขึ้น


มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องทำงานเชิง paradigm shift และต้องพัฒนาวิธีการทำงานให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์ตลอดเวลา


สัปดาห์นี้ ผมขอฝากแนวคิดไว้ 1 เรื่องคือ HRDS ทุกท่านน่าจะนำไปต่อยอด ซึ่งผมสร้างมาจากความปลื้มปีติของคนไทยทั้งชาติ ในช่วงมหามงคลเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ผมคิดว่าบทเรียนที่เราได้รับจากความรู้และ wisdom ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีมากมาย และมีคุณค่ามหาศาล แต่ถ้าจะสรุป จะได้ 4 เรื่องใหญ่ คือ HRDS

- Happiness พระองค์ท่านทรงเน้น คำว่าประโยชน์สุข คนไทยต้องมีความสุข จึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่มองเงินเป็นเครื่องวัดความสุข ไม่ว่าจะทำงานหรืออยู่กับครอบครัว จะต้องเน้นความสุขก่อนเงิน คนที่เป็นนักธุรกิจ หรือนักการเมืองต้องเสียสละเพื่อคนอื่นบ้าง เรื่องความสุขจึงเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นจุดสำคัญของทุนมนุษย์ 8 K's ที่ผมได้พูดไว้
" ทำอะไรจงทำเพื่อความสุข ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน "
คนรวยบางคนมีเงินทองมากมาย แต่ครอบครัวแตกแยก ลูกเกเร ความสุขก็ไม่ได้เกิดขึ้น
- Respect ผมคิดว่าพระองค์ท่านทรงมองมนุษย์เท่ากัน ให้เกียรติและยกย่องซึ่งกันและกัน ผมคิดว่า สำหรับประเทศไทย นายจ้างมองแรงงานคล้ายๆ กันว่าได้เงินจากฉัน ต้องทำงานให้ฉัน ไม่ได้ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
- Dignity เรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ก็สำคัญ การเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี จะทำให้คนมีความภูมิใจ และจะทำให้เขาได้มีความสำเร็จในชีวิตและงาน
- Sustainability นอกจากมีผลงาน (Performance) แล้ว คนเป็นจุดสร้างความยั่งยืน ไม่ว่ามาจากคุณธรรม จริยธรรม หรือมองระยะสั้นให้สอดคล้องกับระยะยาว ที่จะต้องสร้างขึ้นมา เพราะสังคมไทยต้องการความยั่งยืน


ทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นบทเรียนที่บรรดาคนไทยหรือชาวต่างประเทศ ให้มองเรื่องคน ในแนวเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมองลึก และมักจะวัดในสิ่งที่วัดไม่ได้ (Intangible) และนำไปสู่ความสำเร็จ ท่านลองนำไปคิดดู ถ้าดี นำไปเป็นบทเรียนปรับตัวเองต่อไป

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 

ก่อนอื่นขอกล่าวคำว่าสวัสดีค่ะและยินดีที่ได้ทราบว่า ท่านอาจารย์จีระ จะมาเป็นวิทยากรสอนข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ทำให้ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ได้รับความรู้มากมายจากอาจารย์ และได้เห็นภาพชัดขึ้น การสอนของอาจารย์ ส่วนมากจะเน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อต้องการให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน รวมถึงสร้างความสามัคคีในกลุ่ม ทำให้ผู้เรียนมีการคิดเป็นระบบมากขึ้น มีการวางแผนและจัดลำดับความสำคัญและประเด็นที่ต้องการนำเสนอออกมาได้อย่างชัดเจนขึ้น ผู้เรียนแต่ละคนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ทำให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงความคิดเห็นของแต่ละคนได้อย่างชัดเจน จนทำให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนหรือเนื้อหาที่นำมาประกอบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

      การสอนของอาจารย์ สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน ทั้งด้านการบริหาร การจัดการบุคลากร การทำงานเป็นทีม และทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า ตัวเราต้องรู้ตัวเองอยู่เสมอว่า เรามีความพร้อมหรือถนัดในด้านใด   เพื่อนำสิ่งต่าง ๆ ที่เรามีศักยภาพมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง และสามารถหาความรู้ให้มากขึ้นในส่วนที่ตนเองขาด เช่น ปัจจุบัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และทุกคนต้องปรับและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมให้ท้นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจุบันภาษาอังกฤษและภาษาจีน รวมถึงภาษาญี่ปุ่น เริ่มมีความจำเป็นต่อการทำงานในองค์กรต่าง ๆ มากขึ้นเพราะประเทศมีการพัฒนาและแข่งขันในโลกของอุตสาหกรรมมากขึ้น ดังนั้น องค์กร พนักงาน ผู้บริหารควรมีความคิดกว้างไกล พัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าและเพิ่มความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้

- Functional Competency

- Organizational Competency

- Leadership Competency

- Entreprenueurial Competency

- Macro and Global Competency

ตลอดจนเสริมแรงด้วยการใช้ Motivation และ ใช้ Empowerment ในทางที่เหมาะสม ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่เป็นจริงในการทำงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมองค์กรมากขึ้น

ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

ผมปรับปรุงข้อความที่ผมเขียนเกี่ยวกับ บทเรียนจากความเป็นจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อเช้านี้รีบเขียนไป แล้วเห็นว่าน่าจะปรับปรุงข้อความบางส่วนโดยเฉพาะในส่วนที่ผมเขียนต่อจากข้อความของ ศ.ดร.จีระ ตอนท้ายนี้/สีฟ้า/ ส่วนที่ผมเขียนแสดงความคิดเห็น ผมทำสีดำไว้   มีดังนี้ครับ

 

เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม

 

   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital  ประโยคนี้จะเห็นว่า ศ.ดร.จีระ สะท้อนให้เห็น อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคต  ผมมีความเชื่อว่า คนเราถ้าทำอะไร แล้วไม่มีอารมณ์ที่ดี หรือมีอารมณ์มากเกินไป นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์ ความสมดุลทางอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ จะมีความสมดุลทางอารมณ์ได้ดี  นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เป็นบิดา มารดา ควรที่จะบริหารพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดแก่สมาชิกในองค์กร สถาบันที่ตนเองเป็นผู้นำ อย่างมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ถ้าปล่อยให้สมาชิกในองค์กร ไม่มีความสมดุลทางอารมณ์ จะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาได้



·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

ประโยคนี้น่าสนใจ ผมจับประเด็นได้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งนาน ยิ่งเก่า ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม  ไม่เหมือนเครื่องจักร ยิ่งนานไปยิ่งเสียค่าเสื่อม ใช้งานไม่ค่อยได้ดีเรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความวิสัยทัศน์ ความสามารถของนักบริหาร หรือผู้นำเป็นอย่างมาก ว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำให้คนเก่าแก่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้หรือไม่ 

 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  เท่ากับสร้างความสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   

 

·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี

- วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว

- วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล    

 

ประโยคนี้ ผมคิดว่า เป็นผลพวงจากการใช้ระบบทุนนิยม ในการบริหารสังคมโลก ทำให้เกิดผู้ได้เปรียบ ผู้เสียเปรียบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีการวัดความเหลื่อมล้ำของสังคม เป็นระยะ และควรมีมาตรฐานว่า ในแต่ละปัจจัยที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำนั้น ควรมีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ เมื่อวัดออกมาแล้ว หัวข้อใดเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ควรมีสัญญาณเตือนภัย เรื่องพวกนี้ และมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขและปัองกันภัยแห่งความเหลื่อมล้ำของสังคม ไม่ให้เกิดภัยแก่ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ของโลก

 

เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 

 

 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ

- Head และ

- Heart  

 

ศ.ดร.จีระ มีงานได้รับเชิญไปสอนหลายแห่งมาก  ทั้งสถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน  อาจารย์มีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย  เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำ เมื่อมีความรู้ เมื่อมีโอกาส ก็เผื่อแผ่เมตตา กับผู้อื่น  ผมได้มีโอกาสเรียนและใกล้ชิดกับ ศ.ดร.จีระ ทำให้ทราบว่า นอกจากท่านมีความรู้ มีประสบการณ์ มีอุดมการณ์ เหมือน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ แล้ว ท่านยังมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ และให้โอกาส ให้ความรู้ กับศิษย์เสมอ

 

จากประโยคข้างต้น ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  

 

 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

 o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

 o       I ตัวที่ 2 เน้น    Imagination   เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย  

 

ข้อความนี้ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึง แนวทางในการสอนเด็กของไทยเรา  ในอดีตเราสอนให้เด็กท่องจำ คนไหนท่องจำเก่ง คนนั้นคะแนนดี คนไหนคิดนอกกรอบ จะโดนข้อหาว่า นอกคอก ทำตัวไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ผลผลิตของโรงเรียน ได้นักเรียนที่จบการศึกษา  ได้ทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดในกรอบเท่านั้น และที่อันตรายมาก คือใครคิดไม่เหมือนตนเองคือคนไม่ดี ต้องขจัดออกไป พอโลกหรือสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวให้อยู่รอด ไม่มีความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาชาติ ใครคิดใหม่ ๆ จะถูกวิจารณ์อย่างมาก  ประเทศเราไม่สามารถพัฒนาไปได้รวดเร็วนัก

 

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมไปเยี่ยมโรงเรียนแห่งหนึ่งในชนบท  มีการจัดสถานที่ให้เด็กเล็กไว้เล่นคือมีสวนเด็กเล่น กั้นคอกไว้ ข้างในมีพื้นเป็นทราย และมีล้อยางรถเก่าอยู่ สี่ห้าเส้น ผมถามว่านั่นคืออะไร  ได้รับคำตอบว่าเด็กชอบเล่นทราย จึงทำไว้ให้เด็กเล่น  ของเล่นภายในไม่ได้เอื้อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์นัก ปัญหามาจากผู้ใหญ่ที่ขาดความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ กลายเป็นวัฐจักรแห่งความทางตันแห่งความคิดสร้างสรรค์

 

เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  ยังมีการสอนแบบนี้อยู่มาก  นโยบายของรัฐ เกี่ยวกับบริหารการศึกษา การสอนเด็กนักเรียน  ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  

 

 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ให้ความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายทั้งในระดับผู้ใหญ่ และเยาวชน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็กในโรงเรียน และถ้าจะลึกไปกว่านั้น ต้องพัฒนาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ด้วย 

  

สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR Manager หรือผู้บริหารในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ถึงระดับลูกหลานพนักงานที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล อย่างมียุทธศาสตร์ครับ

 


  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

     

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  

 

ยม  

น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.) 

ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สร้าง Ideas ใหม่ๆ[1] 
โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์
(คัดมาจาก น.ส.พ.แนวหน้า วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2549)
ฟุตบอลโลกใกล้จะปิดฉากแล้ว ผมไม่ค่อยเขียนถึง เพราะมีเรื่องอื่นน่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สร้างความ ปลาบปลื้มให้แก่คนไทย 64 ล้านคน

เมื่อจบงานพระราชพิธีไปแล้ว การเมืองร้อนเริ่มตึงเครียดอีกแล้ว ต้องอดทน และติดตาม ศึกษาต่อไป
มีบทเรียนมากมายจากการกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่เราสามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานของเรา

สัปดาห์นี้ ผมจึงเลือกเสนอ Ideas ใหม่ๆ 2-3 เรื่องเท่านั้นว่า ควันหลงฟุตบอลโลกทิ้งอะไร เป็นบทเรียน
-
เรื่องทุนทางอารมณ์ใน 5 K's ของผม หรือ Emotional Capital เป็นจุดหักเหในความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง การ เล่น 10 คนของอังกฤษยังเกือบชนะโปรตุเกส
Rooney สมบูรณ์ทางร่างกาย หายจากบาดเจ็บทัน แต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ กระทืบเท้า ใส่คู่อริ แค่วินาทีเดียวก็ต้องโดนใบแดง การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว
 
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก วันนี้ฟุตบอลทีม ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

อีกเรื่องหนึ่งคือ การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ มีการพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงกัน ระดับนานาชาติ ในระดับ APEC ในปีนี้และปีหน้าเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาด้วย

ในฐานะที่ผมดูแลเรื่อง APEC HRD จะต้องเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีความสุข ในภูมิภาค APEC มากขึ้น

ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart

Heart คือ Feeling ความรู้สึกมาจากใจ มี Heart อย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องมี Head ด้วย
Head
คือการมองเป้าหมาย การมีข้อมูล การมียุทธวิธี เข้าใจ การเงิน การตลาด การ แข่งขัน ที่ทำให้ Heart ไปสู่ความสำเร็จ

ถ้ามี Head แต่ไม่มี Heart ก็ไม่สำเร็จ ลูกศิษย์หลายคนบอกว่า วิศวกร มี Head มาก แต่ ไม่มี Heart เลย
ให้ดูตัวอย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นวิศวกร แต่มี Heart ที่เห็นคุณค่าของคน ให้การทำงานของ Heart และ Head ไปด้วยกัน
ผมยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's

- I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการคิดสร้างสรรค์และนอกกรอบ อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 95% เป็นอาจารย์ที่ลอกตำรามาสอน และบางครั้งไม่เคยฝึกวิธีการสอน ให้เด็กมีส่วนร่วม และ Apply กับความจริง

- ส่วน I ตัวที่ 2 ผมเน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า " Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ "

เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย

เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์ ปรากฏว่าให้เด็ก ส่ง Blog มาถึงผมว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้ นักเรียนสนใจส่ง Blog มากเกือบทุก คน และแสดงความตั้งใจ คิดเป็น ไม่ว่าคุณภาพของเด็กจะอ่อนอย่างไร ถ้าสนใจก็สามารถพัฒนา สมองได้

การสอนหนังสือยุคใหม่ จะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจ ซึ่งผมประทับใจมากที่เด็ก โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระหายจะได้ความรู้ และใน Blog ก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I's และทฤษฎี 2 R's ของผม  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร.
02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร
0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า  http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์   ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region 

 

เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที สุดท้ายวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 
สัปดาห์นี้ ศ.ดร.จีระ เขียนบทเรียนจากความจริง ท่านได้ทำสิ่งดีมีประโยชน์กับสังคมแล้วนำมาเขียนให้ศึกษาครั้งนี้ 3 เรื่อง เป็นสิ่งที่นักศึกษา ลูกศิษย์ ลูกหา ของอาจารย์ควรเอาอย่างอยู่สองประการ

 

ประการแรก  คือเรื่องการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แบบข้ามศาสตร์  อาจารย์ทำงานที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมประเทศชาติ มากกว่าเพื่อส่วนตน ตรงนี้น่ายกย่องสรรเสริญ และควรยึดถือเป็นตัวอย่างที่ดี  

ประการที่สองเรื่องการเขียน ศ.ดร.จีระ เขียนบรรยายสิ่งที่ปฏิบัติภารกิจในสัปดาห์ สรุปเป็นเรื่อง ๆ สามเรื่อง ให้ผู้สนใจได้อ่านหาสาระได้หลากหลาย   ที่สำคัญคือแนวทางในการเขียนสรุป ของท่าน ศ.ดร.จีระ ทำได้ดีไม่ติดขัด ถึงแม้เป็นสามเรื่อง แต่ก็ดูเหมือนเรื่องเดียวกัน โดยใช้วันเวลา เป็นตัวเรียงลำดับเรื่องราว คือวันที่ 15 16 และ วันที่ 18  อ่านได้เข้าใจง่าย เป็นหลักการเขียนเรื่องที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย ถ่ายทอดความคิดผ่านสื่อได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือการสอดแทรกข้อคิด ที่ชวนให้ศึกษาและเกิดปัญญาได้ดี 
มีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย  ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD)”
ศ.ดร.จีระ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง ม.ขอนแก่นโชคดีที่มี ศ.ดร.จีระ ร่วมอยู่ในสภาฯ เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ สดเสมอ และเป็นผู้มีความเมตตา มีคุณธรรม จากประโยคนี้ ทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณาจารย์ที่นั่นทำงานใหญ่เพื่อชาติ  การที่มีนักวิชาการ นักวิจัย จากกล่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และสหรัฐอเมริกา อังกฤษ มาร่วมกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นการทำงานด้านวิชาการระดับชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมด้านการทูต ด้วย ผมคิดว่าเนื้อหาสาระที่เสวนากันน่าจะเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติและความร่วมมือต่อกัน คงไม่มาคุยกันเรื่องต้นไม้ข้างถนน หรือขยะในชุมชน 
 โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้ 
เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นสิ่งสำคัญ การบริหารกิจการบ้านเมืองก็ดี นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ก็ดี นโยบายพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ดี ควรคิดถึงความยั่งยืนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ผมได้เรียนรู้เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน และการจะทำสิ่งใด ก็ตามขอให้คิดถึงความยั่งยืน จาก ศ.ดร.จีระ  ศ.ดร.บุญทัน ศ.ดร.ติน ศ.ดร.อุทัย อาจารย์แม่คุณหญิงเต็มศิริ และจากบทความต่าง ๆ ของ ศ.ดร.ป๋วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ประเทศเราผมคิดว่า ยังขาดทุนแห่งความยั่งยืนอยู่มาก รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรจัดให้ครู อาจารย์ผู้สอนนักเรียนตั้งแต่ประถม มัธยม ให้มีองค์ความรู้ รู้จริงเกี่ยวกับทุนแห่งความยั่งยืน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  รวมทั้งทุนตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ เพื่อให้บรรดาครูทั้งหลายได้เข้าใจ เพื่อนำไปสอนนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ไปสอนเด็กว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือการจัดการพื้นที่น่าอย่างไร 
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว 

ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย


ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กัน

ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้


ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย

สุดท้าย ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
 

ตรงนี้ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ศ.ดร.จีระ ท่านสรุปไว้ได้ดี ทำให้เข้าใจถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มากขึ้น เข้าใจถึงหลักแห่งความยั่งยืนมากขึ้น

 

 ปัจจัยแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มที่การทำโครงการระยะสั้นให้ดี ทำอะไรอย่างคิดสั้นอย่างเดียว ต้องคิดให้ยาวด้วยว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ 
ปัจจัยที่สอง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ  ที่มีอยู่ นอกจากไม่ทำลาย แล้วควรเป็นการทำเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ให้คงอยู่ไปถึงรุ่นลูก หลานในอนาคตด้วย ต้องคำนึงถึงตรงนี้ให้มาก ๆ มิฉะนั้นแล้วในอนาคตไทยอาจจะต้องซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวรายใหญ่รองจากไทยแล้ว  และถ้าเราไม่หันมาอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติกันให้ดี เวียดนามแซงหน้าไทยแน่นอน 
ปัจจัยที่สาม การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริธรรม  ควบคู่ไป ในความเข้าใจของผม สรุปสั้น ๆ ว่า คุณธรรม คือรู้ว่าอะไรควร ไม่ควร รู้ว่าปฏิบัติอย่างไรแล้วจะเกิดคุณประโยชน์ และเกิดความเป็นธรรม คือรู้  ส่วนจริยธรรม เป็นพฤติกรรมที่ควรต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะตามหลักคุณธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคม  การพัฒนาอย่างยั่งยืน คนพัฒนาต้องมีตรงนี้  นักการเมืองที่กำหนดนโยบายพรรค รัฐมนตรีที่กำหนดนโยบายสาธารณะ ต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม จึงจะเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราท่านตรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ 
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้ ตรงนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ต้องคิดแบบมีเหตุ มีผล มีที่มาที่ไป ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้ผ่านการศึกษา พิสูจน์ วิเคราะห์มาแล้ว ไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์และความคิดของตนเองเป็นหลัก สังคมใด องค์การใดมีผู้นำที่ตัดสินใจโดยเอาตนเองเป็นใหญ่ คงไปได้ไม่ยั่งยืน ในระยะยาวจะสร้างปัญหาตามมาอย่างมาก เพราะปกติการตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ปัญหาอื่นมักจะตามมาเสมอ การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว จะทำให้ทราบว่าจะเกิดอะไรและจะแก้ไขป้องกันอย่างไรการหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ยั่งยืนได้เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้ ความสำเร็จในอดีต อาจไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้ การหาความรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับความยั่งยืน 
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ประเทศจะขับเคลื่อนได้ด้วยคุณภาพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ  เรื่องนี้ ประเทศอินเดียรู้ปัญหาดีและมีการเตรียมการไว้ดีมาก อินเดียกำลังจะเป็นประเทศมหาอำนาจแข่งกับจีน  แต่อินเดียมีปัญหาว่า ความเจริญกำลังกระจุกตัวอยู่ที่บางเมืองและกับคนบางกลุ่ม รัฐบาลอินเดียมีมาตรการรองรับด้วยการปรับปรุงคุณภาพคนด้วยการศึกษา ยกระดับความสามารถของครู ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และมีการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง โดยเน้นที่ภูมิปัญญา ไม่เน้นฟอร์ม  คนอินเดียไม่เน้นฟอร์มแต่เน้นว่าในหัวมีความรู้ มีปัญญาดีหรือไม่ ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นคนอินเดียส่วนใหญ่มีความรู้ดีมากขึ้น  คนอินเดียพูดภาษาอังกฤษได้เป็นส่วนใหญ่ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาศาสตร์อื่น ๆ

 

การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ถ้าทำให้เกิดความเจริญเฉพาะกลุ่ม ไม่กระจายออกไปอย่างทั่วถึง ปัญหาความขัดแย้งแก่งแย่งชิงดีกันจะตามมา   
ปัจจัยสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ การให้ที่ทรงคุณค่าที่สุดคือการให้ผู้อื่นได้มีมีเข้มแข็งขึ้นทั้งความรู้ สติ สมาธิ ศีล ปัญญา ให้เขาได้มีความสามรถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ และสามารถขยายผลสามารถช่วยผู้อื้น ต่อได้จะยิ่งเกิดความยั่งยืน  การให้วัตถุให้เงินเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าไม่ให้เขาได้มีโอกาสพึ่งตัวเองอย่างที่ ศ.ดร.จีระ ว่า ก็คงยั่งยืนได้ยากครับ 
เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรและนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน 

รายการโทรทัศน์ ที่ท่าน ศ.ดร.จีระจัดเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เดิมทราบว่าจะออกรายการทางช่อง 5 ต่อมาทราบภายหลังว่าจะออกทางช่อง 11 รายการนี้ ผมคิดว่าสำคัญและจะเกิดประโยชน์ ทางกระทรวงศึกษาธิการน่าจะร่วมด้วย เพื่อจัดทำรายการนี้เป็นวีดีโอทัศน์ ประกอบการพัฒนาองค์ความรู้ให้ครู เพื่อให้ครูใช้สอนนักเรียน ต่อไป รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาครูให้มีความรู้เรื่องนี้ให้มาก ก่อนจะสายเกินไป ผมเคยได้ยินครูสอนนักเรียนเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครูตั้งใจดีมาก แต่สอนเรื่องการจัดสรรที่นา ที่เลี้ยงปลา ที่เพาะปลูก ไม่ได้สอนแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้สอนเรื่องโลกาภิวัตน์ว่าคืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร และในฐานะคนไทยควรต้องทำอย่างไร 

 ผมหวังว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ควรทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระจายความรู้เหล่านี้ไปอย่างทั่วถึงประชาชนส่วนใหญ่ และมีการติดตามประเมินผล และพัฒนาการให้ความรู้ด้านนี้อย่างต่อเนื่องทั้งระยะสั้นและระยะยาว   

 

ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี

 

วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย

 

ท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาน่าจะอ่านตรงนี้ และเชิญ ศ.ดร.จีระ ไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ เชิญ ดร.ไมตรี เข้าไปร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาด้วย  เพื่อรีบปฏิรูปการทำงานของครู  รูปแบบการสอนของครูที่เป็นแบบดั้งเดิมถือเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่งทางการพัฒนาเด็กไทย

ผลการวิจัยที่อินเดีย ซึ่งทาง BOI ได้จ้างนักวิชาการที่อินเดียวิจัยค้นหาอุปสรรคในการพัฒนาของไทย พบว่า ครูของไทยยังด้อยประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องภาษา และหลักการสอน ข้อเสนอแนะก็คือควรมีแผนระยะสั้นและระยะยาวในการพัฒนาครูอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ผมเห็นด้วยกับ ดร.ไมตรี ครับ รัฐบาลควรเข้ามาช่วยส่งเสริมแนวคิดนี้ให้เป็นจริง โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ครับ

  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

   

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

ยม   
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" (ต่อ)
เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์[1]

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมประทับใจการจัดการประชุมครั้งนี้มาก โดยเฉพาะคณบดี ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง ที่ทำงานอย่างหนักและได้ผล เพราะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย
ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD )
ผมคงเป็นนักวิชาการคนเดียวที่ไม่ได้จบทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ต้องพูดในหัวข้อเรื่องวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ที่เน้นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในส่วนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไปสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้
ในวันนี้ ผมจึงเน้นมากๆ ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนคืออะไร
ความจริง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั่นเอง
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว อย่าให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว ผมได้ตัวอย่างมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทย คือรวยระยะสั้น แต่มีปัญหาระยะยาวมากมายอย่างที่เห็นกัน
ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย และต้องไปด้วยกันกับ การพัฒนา บางแห่งเรียกว่าเป็น Green development
ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ คือมีศีลธรรม คุณธรรมคู่ไปกับกับพัฒนา
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ
และสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
ผมคิดว่า การเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่จะทำได้จริงหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างที่ไปไม่ถึงเพราะ เหตุผลทางการเมือง ความโลภและความเห็นแก่ตัวของสังคม
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย เราคิดว่ารัฐบาลจะมีหน้าที่ต้องทำ แต่จริงๆ แล้ว ประชาชน โดยเฉพาะชุมชนของนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถมีส่วนร่วมกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นได้ เพื่อจะพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผมจึงขอเน้นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะช่วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น
-
สาขาแรกคือ ช่วยให้การศึกษาของชุมชนหรือสังคมดีขึ้น ในวันนั้น ผมเน้นเป็นพิเศษคือ การใช้ Internet การใช้ Blog การเรียนแบบทางไกลหรือ E-Learning
-
สาขาที่สองคือ การใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันการแพทย์มีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย การแพทย์ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสังคม ไม่ใช่เฉพาะเรื่องรักษา แต่เป็นเรื่องการป้องกันด้วย ผมจึงเสนอเรื่อง Tele - Medicine ไปด้วย
-
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากคือ การพัฒนาชนบท และการพัฒนาศักยภาพของภาคเกษตรของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงที่ยังล้าหลังอีกมาก
-
ต่อมาจะช่วยเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศาสนาต่างๆ ในสังคม เพื่อสร้างสันติภาพ รวมทั้งการลดการก่อการร้ายข้ามชาติ
-
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน Global warming หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งมีมากขึ้นทุกวัน และกระทบต่อประชาชนมาก
-
การแสวงหาพลังงานทดแทนน้ำมัน
-
และสร้างความสามารถในการแข่งขัน competitiveness แบบยั่งยืน ในสังคมในภูมิภาคนี้มากขึ้น แทนที่จะเน้นเฉพาะสินค้าส่งออกแรงงานราคาถูกเท่านั้น ให้มีการใช้ความรู้และวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาสินค้ามากขึ้น
ถ้าจะพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ผมขอให้นักวิทยาศาสตร์มองอะไรที่กว้าง เชื่อมโยงกับการพัฒนา ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องวิจัยเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด ต้องมี networking มากขึ้น รับฟังและเรียนรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มากขึ้น
เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
-
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
-
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
-
และนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน
ซึ่งแท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ซึ่งผู้ส่งออก นักลงทุน นักการเงิน นักวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ได้ เพื่ออยู่ในโลกาภิวัตน์แบบยั่งยืน ซึ่งรายการโทรทัศน์นี้จะเชื่อมโยงให้ได้อย่างดี ผมอยากให้ผู้อ่านได้ติดตามชม
และสุดท้าย เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเชื่อมโยงกับ APEC ที่ผมเคยเขียนถึงว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขอเงินสนับสนุนโครงการเรื่อง Lesson study โดยร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ศึกษา และเผยแพร่ในประเทศไทย เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่ไทยได้รับจาก APEC
ครั้งนี้มี ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี การสอนแบบนี้ต้องมีการสังเกตว่าเด็กคิดอย่างไร ทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ มีการสร้างคำถามลักษณะปลายเปิด ที่เด็กสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลาย จะมีการถกเถียงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการที่ดี และมีการสังเกตการสอนของครู ครูจะต้องอภิปรายถกเถียงกันหลังจากเสร็จสิ้นการสอน คล้ายเป็นการวิจัยชั้นเรียน นับเป็นการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
แต่วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย และสิ่งสำคัญที่ได้รับนอกเหนือจากความรู้แล้วคือ networking ซึ่งครูทุกคนที่ได้มาร่วมกันในวันนั้น คงจะได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแผนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กไทยต่อไปในอนาคต
หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้แนวทางจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ยุคนี้ สื่อดีๆ ต้องสร้างความรู้ใหม่ให้ผู้อ่าน และนำไปต่อยอด

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                 โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" (ต่อ)
เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์[1]

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมประทับใจการจัดการประชุมครั้งนี้มาก โดยเฉพาะคณบดี ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง ที่ทำงานอย่างหนักและได้ผล เพราะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย
ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD )
ผมคงเป็นนักวิชาการคนเดียวที่ไม่ได้จบทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ต้องพูดในหัวข้อเรื่องวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ที่เน้นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในส่วนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไปสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้
ในวันนี้ ผมจึงเน้นมากๆ ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนคืออะไร
ความจริง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั่นเอง
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว อย่าให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว ผมได้ตัวอย่างมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทย คือรวยระยะสั้น แต่มีปัญหาระยะยาวมากมายอย่างที่เห็นกัน
ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย และต้องไปด้วยกันกับ การพัฒนา บางแห่งเรียกว่าเป็น Green development
ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ คือมีศีลธรรม คุณธรรมคู่ไปกับกับพัฒนา
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ
และสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
ผมคิดว่า การเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่จะทำได้จริงหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างที่ไปไม่ถึงเพราะ เหตุผลทางการเมือง ความโลภและความเห็นแก่ตัวของสังคม
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย เราคิดว่ารัฐบาลจะมีหน้าที่ต้องทำ แต่จริงๆ แล้ว ประชาชน โดยเฉพาะชุมชนของนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถมีส่วนร่วมกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นได้ เพื่อจะพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผมจึงขอเน้นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะช่วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น
-
สาขาแรกคือ ช่วยให้การศึกษาของชุมชนหรือสังคมดีขึ้น ในวันนั้น ผมเน้นเป็นพิเศษคือ การใช้ Internet การใช้ Blog การเรียนแบบทางไกลหรือ E-Learning
-
สาขาที่สองคือ การใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันการแพทย์มีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย การแพทย์ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสังคม ไม่ใช่เฉพาะเรื่องรักษา แต่เป็นเรื่องการป้องกันด้วย ผมจึงเสนอเรื่อง Tele - Medicine ไปด้วย
-
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากคือ การพัฒนาชนบท และการพัฒนาศักยภาพของภาคเกษตรของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงที่ยังล้าหลังอีกมาก
-
ต่อมาจะช่วยเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศาสนาต่างๆ ในสังคม เพื่อสร้างสันติภาพ รวมทั้งการลดการก่อการร้ายข้ามชาติ
-
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน Global warming หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งมีมากขึ้นทุกวัน และกระทบต่อประชาชนมาก
-
การแสวงหาพลังงานทดแทนน้ำมัน
-
และสร้างความสามารถในการแข่งขัน competitiveness แบบยั่งยืน ในสังคมในภูมิภาคนี้มากขึ้น แทนที่จะเน้นเฉพาะสินค้าส่งออกแรงงานราคาถูกเท่านั้น ให้มีการใช้ความรู้และวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาสินค้ามากขึ้น
ถ้าจะพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ผมขอให้นักวิทยาศาสตร์มองอะไรที่กว้าง เชื่อมโยงกับการพัฒนา ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องวิจัยเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด ต้องมี networking มากขึ้น รับฟังและเรียนรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มากขึ้น
เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
-
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
-
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
-
และนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน
ซึ่งแท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ซึ่งผู้ส่งออก นักลงทุน นักการเงิน นักวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ได้ เพื่ออยู่ในโลกาภิวัตน์แบบยั่งยืน ซึ่งรายการโทรทัศน์นี้จะเชื่อมโยงให้ได้อย่างดี ผมอยากให้ผู้อ่านได้ติดตามชม
และสุดท้าย เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเชื่อมโยงกับ APEC ที่ผมเคยเขียนถึงว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขอเงินสนับสนุนโครงการเรื่อง Lesson study โดยร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ศึกษา และเผยแพร่ในประเทศไทย เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่ไทยได้รับจาก APEC
ครั้งนี้มี ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี การสอนแบบนี้ต้องมีการสังเกตว่าเด็กคิดอย่างไร ทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ มีการสร้างคำถามลักษณะปลายเปิด ที่เด็กสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลาย จะมีการถกเถียงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการที่ดี และมีการสังเกตการสอนของครู ครูจะต้องอภิปรายถกเถียงกันหลังจากเสร็จสิ้นการสอน คล้ายเป็นการวิจัยชั้นเรียน นับเป็นการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
แต่วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย และสิ่งสำคัญที่ได้รับนอกเหนือจากความรู้แล้วคือ networking ซึ่งครูทุกคนที่ได้มาร่วมกันในวันนั้น คงจะได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแผนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กไทยต่อไปในอนาคต
หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้แนวทางจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ยุคนี้ สื่อดีๆ ต้องสร้างความรู้ใหม่ให้ผู้อ่าน และนำไปต่อยอด

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                 โทรสาร 0-2273-0181  
กมลทิพย์ กรวิจิตรกุล
ชื่อนักศึกษา นางกมลทิพย์ กรวิจิตรกุล รหัสประจำตัว 4914980359 เสนอ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน องค์การต่าง ๆ ล้วนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และความเจริญก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประสิทธิผลขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์การในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์แนวคิด เทคนิคการดำเนินงานและเทคโนโลยีต่าง ๆ จากภายนอก เรียนรู้จากประสบการณ์จากกันและกันภายในและภายนอกองค์กร นำมาพัฒนาคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) ต่อไป การพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้นั้น ปัจจัยสำคัญที่สรรค์สร้างให้เกิดนวัตกรรม ก็คือ คน ปัญญาความรู้ และทักษะความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เป็นหัวใจหลักของการสร้างประสิทธิภาพของการทำงาน และขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคง ดังนั้น จึงต้องมี “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” ให้ต้องคิด วิเคราะห์ และวางแผนโดยคาดคะเนถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เท่าทัน และตรงเงื่อนไขใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นอนาคต โดยผู้บริหารระดับสูงต้องมีความมุ่งมั่นในการนำองค์กรไปสู่องค์กรสร้างนวัตกรรม สร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การเปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กร ได้คิดสร้างสรรค์และนำเสนอ Idea ได้อย่างอิสระ กล้าที่จะเสี่ยงนำเอา Idea ดี ๆ ไปพัฒนา รวมทั้งการใช้รางวัลเป็นตัวกระตุ้นให้บุคลากรขององค์กรได้คิดสรรค์สร้างงาน สภาพแวดล้อมที่สบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด ไม่ถูกตีกรอบความคิด ก็มีส่วนช่วยให้เกิด Idea ใหม่ ๆ ในทางตรงกันข้าม หากผู้บริหารระดับสูงไม่มีความมุ่งมั่น ไม่เปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรสามารถคิดสร้างสรรค์และนำเสนอ Idea ได้อย่างอิสระ โดยไม่กล้าเสี่ยงที่จะนำ Idea ดี ๆ ไปพัฒนา รวมทั้งไม่ใช้รางวัลเป็นตัวกระตุ้น เหล่านี้ ล้วนเป็นปัญหาอุปสรรคที่ไม่อาจทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในองค์กร นอกจากนี้หากมองไปที่ต้นน้ำ เริ่มจากสภาพปัญหาการศึกษาโดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนแปลงช้า ระดับความรู้ ส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับขีดความสามารถทางสมองของเด็ก ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ ๆ วิธีการเรียนการสอนไม่นำไปสู่การเรียนรู้ ด้วยตนเอง ไม่ได้กระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ดี การจะทดลองหรือลองทำโดยนำเอาความรู้เรื่องทรัพยากรมนุษย์ไปใช้ให้เกิดผล เป็นรูปธรรมในองค์กรปัจจุบันนี้ ต้องเข้าใจถึงเป้าประสงค์ขององค์กรเสียก่อน กล่าวได้ว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ “สัมบูรณ์” (absolute) ในตัวมันเอง แต่ทว่าเป็นสิ่งที่จะต้อง “สัมพัทธ์” (relative) ไปกับปัจจัยควบคุมนั้นคือ นโยบายการบริหารจัดการองค์กร หรือเป้าประสงค์ขององค์กรจะเป็นตัวกำหนดเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากนั้นก็สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องกันใน 4 วิธีเป็นวงจร โดยเริ่มจากการเรียนรู้จากประสบการณ์และต่อมา ลองสังเกต ไตร่ตรองเพื่อการศึกษาประสบการณ์นั้น ก็จะนำไปสู่การได้มาซึ่งแนวคิด เปลี่ยนแปลงไปเป็นแผนงาน งาน/โครงการ ที่จะนำไปทดลองปฏิบัติและพิจารณาการประเมินผล เพื่อเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ ( learning experience ) การให้โอกาสบุคลากรในองค์กรได้คิดสร้างสรรค์และนำเสนอ Idea ได้อย่างอิสระนั้นในระยะแรกอาจมีไม่มาก หรือไม่มีเลย ก็ต้องใช้ปัจจัยที่กล่าวข้างต้นเป็นตัวกระตุ้นผลักดัน และมีการพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ขึ้นเป็นขั้นเป็นลำดับ ที่สำคัญคือการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมได้จริง จะต้องมีความอดทนและกระทำอย่างต่อเนื่อง

สวัสดีคะ

ลูกพ่อขุนเหมือนกันคะ ตอนนี้จบ MBA จากรามแล้ว อยากเรียนต่อ ป.เอก ด้านทรัพยากรมนุษย์ที่รามต่อ อยากให้พี่ ๆ ทั้งหลายแนะนำการเตรียมตัวให้หน่อยคะ ตอนนี้กำลังเตรียมเรื่องทุนอยู่ ยังไม่รู้ว่าอีกกี่ปีจะได้มีโอกาสเรียน แต่ก็ฝันไว้ก่อนคะ จะได้มีจุดมุ่งหมายคะ ที่สำคัญขอมาเรียนรู้ความรู้ต่าง ๆ จากทุกท่านด้วยนะคะ ได้ประโยชน์มากเลยคะ  ขอบคุณคะ

คือว่าตอนนี้ผมอยู่ป5เองคับอาจารย์ผมหาคำถามไปตอบอาจารย์ไม่ได้เลยคับผมเลยอยากจะถามว่า

หลักของธรรมภิบาลมีอะไรมั่งคับ

ใช้ในการบริหารธุรกิจอย่างไร

แล้วก็ศัพย์ภาษาอังกฤษคำว่า ธรรมาภิบาล คืออะไรคับ

 

ขอบคุรคับอาจารย์

อยากทราบว่าการสรรหาและการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ เมื่อเราจะถามคำถามเราควรถามคำถามแบบไหนค่ะ  และไม่ทำให้ผู้บรรยายต้องสับสนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท