จิตสาธารณะกับการศึกษาไทย ข่าวเพิ่มคาบเรียนจิตสาธารณะ


จิตสาธารณะกับการศึกษาไทย จิตสาธารณะที่บังคับให้ทำ

เล็งเพิ่มคาบเรียน "จิตสาธารณะ"

          "ชินภัทร"  เดินหน้าสนองนโยบาย "จุรินทร์" เต็มที่  เล็งกำหนดคาบกิจกรรม "จิตสาธารณะ" สอดแทรกในวิชาสังคม และจัดสอบคิดเป็นคะแนนมีผลต่อการเข้าเรียนต่อ ม.1 และ ม.4
          นายชินภัทร  ภูมิรัตน  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)  เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ว่าที่ประชุมได้หารือถึงผลการศึกษาการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณ ประโยชน์  โดยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศเกาหลีใต้   ญี่ปุ่น  ไต้หวัน และไทย เพื่อให้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา  โดยเน้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างจิตสาธารณะ ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)  พบว่า  ในหลายประเทศได้กำหนดในเรื่องของการส่งเสริมค่านิยมในการรักชาติไว้ในหลัก สูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และให้ความสำคัญกับการเรียนในวิชาหน้าที่พลเมือง โดยเน้นการจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์  เช่น  ประเทศญี่ปุ่นจัดให้มีกิจกรรมเรียนรู้โดยการบริการสังคม เป็นต้น นอกจากนั้นมีการกำหนดสัดส่วนกิจกรรมดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน  อาทิ ในประเทศเกาหลีใต้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมระดับประถมศึกษา  จำนวน  10  ชม.ต่อปี  ระดับ ม.ต้น และ  ม.ปลาย จำนวน 20 ชม.ต่อปี  สอดคล้องกับแนวทางของ  รมว.ศธ.ที่ให้มีการทบทวนการเรียนการสอนในหลักสูตร และลดความซ้ำซ้อนในแต่ละชั้นปีลงไปกว่าร้อยละ  30 ดังนั้น สพฐ.จะใช้เวลาดังกล่าวไปจัดกิจกรรมส่งเสริมในเรื่องจิตสำนึกสาธารณะให้มาก ขึ้น
          เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นยังมีข้อคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบูรณาการกลุ่มสาระต่างๆ  โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 1 ที่มีการสอนทั้งหมด 8 กลุ่มสาระนั้น พบว่าในประเทศเกาหลีใต้  ญี่ปุ่น  และไต้หวัน สามารถสอนวิชาสังคมศึกษาโดยบูรณาการวิชาอื่นๆ อาทิ  วิทยาศาสตร์   ศิลปะ  เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืน  ซึ่งคิดว่าในส่วนนี้ สพฐ.จะมาปรับใช้ให้เหมาะสม โดยอาจต้องเพิ่มความเข้มข้น ในการเรียนการสอนวิชาสังคมให้มากขึ้น
          "สพฐ.จะมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนที่ทำให้วิชาสังคมศึกษาเป็นที่น่าสนใจ  และผู้ปกครองรับรู้และส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม   รวมทั้งมีการเสนอว่าในอนาคตอาจมีการจัดทดสอบและให้คะแนนการมีส่วนร่วมใน กิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น   เพื่อให้มีผลต่อการพิจารณาศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น  อาทิ ม.1 ม.4 เป็นต้น ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ทำให้นักเรียนมีแรงจูงใจอยากเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น" เลขาฯ กพฐ. กล่าว.

แหล่งที่มา : ไทยโพสต์

       อ่านข่าวนี้คิดอยู่นานว่าจะดีใจหรือเสียใจดีกับการที่ผู้บริหารระดับประเทศมีแนวคิดอย่างนี้ กำหนดคาบกิจกรรม "จิตสาธารณะ" สอดแทรกในวิชาสังคม และจัดสอบคิดเป็นคะแนนมีผลต่อการเข้าเรียนต่อ ม.1 และ ม.4

       เค้าเข้าใจคำว่าจิตสาธารณะกันไหมเนี่ย เอาเถอะมองในแง่ดีอย่างน้อยก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย  แต่ในความเป็นจริงแล้วหลักสูตรใหม่(หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551) ก็ได้กำหนดไว้ในกิืจกรรมพัฒนาผู้เรียนอยู่แล้วทุกระดับชั้น ให้นักเรียนจะต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์็  เช่น ระดับประถมศึกษาต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์อย่างน้อย 10 ชั่วโมง/ปี เป็นต้น  

      การเพิ่มชั่วโมงให้มากขึ้นคงไม่ใช่้คำตอบที่ถูกต้องนักของการสร้างจิตสาธารณะ  ควรจะเป็นการนำจิตสาธารณะไปบูรณาการในการเรียนการสอนสาระต่าง ๆ น่าจะถูกต้องเหมาะสมกว่า การสร้างจิตสาธารณะสามารถบูรณาการสอนสอดแทรกได้ในหลายสาระไม่เฉพาะแต่สาระสังคมศึกษาเท่านั้น แต่ที่สำคัญที่สุดครูและผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ทั้งหลายควรปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็ก ๆ เพราะ "ตัวอย่างที่ดี มีค่ามากกว่าคำสอน" ใช่ไหมค่ะท่าน 

      อ้อแล้วไอ้หลักสูตรเนี่ยของใหม่ยังไม่ทันจะใช้ จะเปลี่ยนใหม่อีกแล้วเหรอค่ะ แล้วที่จะเปลี่ยนเนี่ยมันคุ้นๆ ว่าเหมือนของเก่าที่ทิ้งไปนะ  เฮ้อการศึกษาไทย

หมายเลขบันทึก: 346034เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2010 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่ใช้ในปีการศึกษา 2553 กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ

1.รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

2.ซื่อสัตย์สุจริต

3.มีวินัย

4.ใฝ่เรียนรู้

5.อยู่อย่างพอเพียง

6.มุ่งมั่นในการทำงาน

7.รักความเป็นไทย

8.มีจิตสาธารณะ

กำหนดตายตัวเลยครับ แต่เหมือนคำขวัญวันเด็กจังเลย

เซ็ง..นักวิชาการเมืองไทย..ว่างกันมากเลยหาเรื่องให้ครูทำอะไรก็ไม่รู้  งานสอนนักสือเด็กเป็นงานรอง....เบื่อจริงๆๆ

มีจิตอาสา กับมีคุณธรรมจริยธรรมนี่ มันต่างกันอย่างไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท