องค์กรสมัยใหม่ อย่างไรดี


ศาสตราจารย์ด้านการจัดการท่านหนึ่งคือ ดรักเกอร์ (Drucker) แนะนำให้มีการทบทวนเป็นระยะๆ เพื่อยกเลิกกิจกรรมที่ไม่ควรทำ (not do what not to do) หรือกิจกรรมที่ไม่คุ้มค่า รวมทั้งรณรงค์ยกเลิกวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้(ลปรร.)ผ่านบล็อกของ Gotoknow นำเรื่องขึ้นบล็อก และได้อ่านข้อคิดเห็นจากท่านผู้อ่านมีส่วนทำให้เกิดการเรียนรู้ (learning) เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ผู้เขียนอ่านข้อคิดเห็นในเรื่อง “ใช้แรง ได้ออกกำลัง” อ่านไปอ่านมา กลับไปนึกถึงลักษณะขององค์กรยุคใหม่ได้

องค์กรสมัยใหม่น่าจะมีลักษณะที่เรียกว่า "อีน (een)" ต่อไปนี้...

  • Green = สีเขียว:                                                                          
    องค์กรยุคใหม่น่าจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปลูก+รักษาต้นไม้ ลดมลภาวะ ประหยัดพลังงาน ฯลฯ องค์กรที่มีภาพพจน์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมักจะได้รับการยอมรับจากสังคมมากกว่าองค์กรที่มีภาพพจน์เป็นศัตรู หรือเมินเฉย(ไม่ใส่ใจ)กับเรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายนอกแล้ว
    องค์กรสมัยใหม่น่าจะเป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในด้วย โดยเฉพาะการมีบรรยากาศเป็นมิตร มีมิตรจิตมิตรใจทั้งต่อคนใน คนนอก และสังคม
  • Clean = สะอาด:                                                                             
    องค์กรยุคใหม่น่าจะเป็นองค์กรของคนดี สะอาดทั้งทางกายภาพ(ไม่สกปรก เช่น มีกิจกรรม 5 ส จนเกิดวัฒนธรรมแห่งความสะอาด ฯลฯ) และการบริหารโปร่งใส มีการตรวจสอบ ไม่โกง หรือเรียกว่า สะอาดทั้งภายนอกและภายใน
  • Lean = กระทัดรัด:                                                                       
    คำ “ลีน” เปรียบคล้ายคนที่แข็งแรง มีสุขภาพดี ไม่มีไขมัน (fat) มากเกิน ศาสตราจารย์ด้านการจัดการท่านหนึ่งคือ ดรักเกอร์ (Drucker) แนะนำให้มีการทบทวนเป็นระยะๆ เพื่อยกเลิกกิจกรรมที่ไม่ควรทำ (not do what not to do) หรือกิจกรรมที่ไม่คุ้มค่า รวมทั้งรณรงค์ยกเลิกวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา
  • Keen = สมรรถนะสูง:                                                                    
    ยุคนี้เป็นยุคที่มีการแข่งขันสูง องค์กรที่จะอยู่รอดได้น่าจะเป็นองค์กรของคนเก่ง ส่งเสริมคนเก่งให้ได้ดี มีผลิตภาพ ส่งเสริมให้คนมีสมรรถภาพ และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
  • Meaning = มีความหมาย:                                                             
    องค์กรที่ดีควรเป็นพลเมืองที่ดี (good citizen) ของสังคม มีเป้าหมายหรืออุดมการณ์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งจะทำให้องค์กรมีความหมาย หรือมีคุณค่าในตัวเอง แม้แต่องค์กรเอกชนก็ควรทำตัวให้มีความหมาย และตอบแทนอะไรให้สังคมบ้าง จึงจะเป็นที่ยอมรับในระยะยาว
  • แหล่งข้อมูล:                                                                                       

  • ที่มา > วัลลภ พรเรืองวงศ์. ข้อคิดเห็นในเรื่อง “ใช้แรง ได้ออกกำลัง” > http://gotoknow.org/blog/health2you/34467 > 18 มิถุนายน 2549.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
  • เชิญอ่านสุขภาพเพื่อคุณที่นี่... http://gotoknow.org/blog/health2you  
หมายเลขบันทึก: 34602เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ขอบคุณมากครับที่นำมาให้อ่าน
  • คนเก่งที่ไม่ดี น่ากลัวกว่าคนไม่เก่ง แต่เป็นคนดีครับ
  • ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต...                              
  • คนเก่ง+ไม่ดี = อันตรายมากกว่าคนไม่เก่ง+ดี...
    จริงครับ
  • เรื่องนี้คล้ายแนวพระราชดำริที่ว่า สังคมมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่ควรให้คนเลวปกครอง ควรให้คนดีปกครอง

ถ้าสังเกตดู... เวลาคนเลวปกครองมักจะใช้วัฒนธรรม "ABS" มอมเมาผู้คน... 

- ABS ไม่ใช่ anti-brake lock system ที่ใช้ป้องกันล้อล็อค(ตาย)เวลาเบรคในรถชั้นดี

-ABS ในที่นี้... หมายถึง ask, borrow & seeding...

(1). Ask / "ขี้ข้อ"... คนดีส่งเสริมให้คนทำงานเลี้ยงชีพ คนเลวมักจะส่งเสริมให้คนเรียกร้องสิทธิประโยชน์ ไม่ทำงาน ชอบ(โกงมา)แจกแบบ "สลาก(โกงแล้ว)กินแบ่ง"
(2). Borrow / "ขี้ยืม"... คนดีส่งเสริมให้ประหยัด ไม่ก่อหนี้ คนปลอดหนี้มีทุกข์น้อยกว่า อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ คนเลวมักจะส่งเสริมให้คนก่อหนี้ มีสุขชั่ววูบ มีทุกข์ทยอยไปนาน
(3). Seeding / "เส้นสาย"... คนดีส่งเสริมให้เคารพกฎกติกา คนเลวมักจะส่งเสริมเส้นสาย ญาติพี่น้อง พรรคพวกของตัวเอง เปรียบคล้ายมะเร็งที่แพร่กระจายในเยื่อบุช่องท้องคล้ายวัชพืช

ถ้าสังเกตองค์กร...องค์กรอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ องค์กรสุขภาพดี (healthy) องค์กรเนื้องอกดี (tumourous) และองค์กรเนื้อร้ายหรือมะเร็ง (cancerous)

(1). องค์กรสุขภาพดี (healthy)... ประสิทธิผลดี บริหารโดยธรรม
(2). องค์กรเนื้องอกดี (tumourous)... มีคน หรือหน่วยงานบางส่วนมีประสิทธิผลต่ำ ทำงานกินแรงคนอื่น หรือค่าจ้างสูงผิดปกติ เช่น คนขับรถเงินเดือนเป็นหมื่น + สวัสดิการต่างหาก ทั้งๆ ที่เงินเท่ากันจ้างคนอื่นดีกว่านี้+ถูกกว่านี้ได้ ฯลฯ
(3). องค์กรเนื้อร้าย (cancerous) หรือมะเร็ง... หัวหน้าหน่วยงานโกงกิน และใช้วัฒนธรรม ABS เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

หนูทำรายงานเกี่ยวกับองค์กรสมัยใหม่จะเป็นอย่างไร

ซึ่งหนูพยายามาทุกเว็บไซต์แต่ไม่เป็นที่น่าพอใจของอาจารย์

หนูขอข้อมูลเพิ่มเติมได้มั้ยค่ะ

ตอบในอีเมลของหนูนะค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณหนิง

  • เรียนเสนอให้ลองอ่านเรื่องของปีเตอร์ ดรัคเกอร์ครับ
  • หรือจะลองไปเลียบๆ เคียงๆ ดูว่า อาจารย์ที่สอนชอบอาจารย์ท่านใด แล้วลองอ่านแนวคิดของอาจารย์ท่านนั้นดูก็น่าจะดี

สวัสดีค่ะ ตอนนี้นู๋เรียน เกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ นู่ขอบคุณนค่ะที่ให้ความรู้ที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน และบทความนี้ก็ส่งเอาไปเขียนส่งงานด้วยค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณอุ๋งอิ๋ง

  • ผมเองก็ต้องขอขอบคุณ.... คุณอุ๋งอิ๋งและท่านผู้อ่านที่ให้เกียรติแวะมาอ่านบทความเช่นกัน

ทุกวันนี้...

  • เมืองไทยเรามีความรู้อยู่บนอินเตอร์เน็ตมากมาย คนที่ใฝ่รู้คงจะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้มากมายทีเดียว

ขอบคุณมากค่ะ กำลังหาข้อมูลเพื่อนำไปสอบวัดความรู้ ได้ความรู้เพิ่มเติมพอดี เยี่ยมเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท