BWN Newsletters # 51-60


BWN Newsletters # 51-60

16/02/51 Newsletter#60 (BWN movement)

สวัสดี BWN
     ช่วงนี้กระแสสังคม หันมาสนใจ เรื่องชายหาดกันอย่างคึกคัก ซึ่งต้องขอบคุณสื่อต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
     นสพ โฟกัสภาคใต้ ฉบับ 12 กพ ได้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า สงขลา ซึ่งระบุว่า '... เมื่อมีการออกแบบก่อสร้างเขื่อนนั้น มีการประเมินการกัดเซาะไว้แล้ว ว่าในแต่ละปีจะเกิดการกัดเซาะเท่าไหร่ แต่เมื่อของบประมาณดำเนินการป้องกันแล้ว ทางสำนักงบประมาณไม่อนุมัติ  แต่ในด้านการศึกษานั้น มีผลออกมาว่า จะเกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง'
      ก็คงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ใครคือผู้ทำลายชายหาด แต่ก็ยังมีนักวิชาการรับจ้างบางคน ยังคงอยู่ในความหลงผิดอยู่ดี ถ้าเพื่อนๆอยากรู้ว่าเป็นใคร ก็คลิกไปที่หัวข้อ แสดงความเห็น ใน website BWN
    แล้วช่วยกันเขียนเตือนสติเขา ให้ทำในสิ่งที่ถูกที่ควร ซึ่งท่านจะได้กุศล ที่ทำให้เขานั้นตื่นเสียที 
      
Help Save Songkhla Beach
===========
31/01/51 Newsletter#59 (BWN memorial day)

สวัสดีครับ BWN ทุกท่าน
     ต้องร่วมกันจารึกไว้ในแผ่นดินว่า เมื่อ 14 ม.ค. 51 เป็นการก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ ของการรักษาทรัพยากรชายหาดของชาติไทย เมื่อชาวบ้านตำบลสะกอมประมาณ 20 คน เดินทางไปศาลปกครองสงขลา ฟ้องกรมเจ้าท่า ที่สร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น ปากคลองสะกอม ทำให้ชายหาดและฝั่งสะกอมที่สวยงาม พังทลายจนหมดสิ้น
      ชาวบ้านฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ที่เกิดกับวิถีประมงชายฝั่ง ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นเงินคนละประมาณ 1 ล้านบาท และสูญเสียหาดทราย ที่ธรรมชาติสร้างไว้อย่างปราณีต คิดเป็นมูลค่าปีละ 21 ล้านบาท ทุกๆปี
      เครือข่ายเฝ้าระวังรักษาชายหาด ต้องขอแสดงการขอขอบพระคุณ น้ำใจของชาวบ้านที่ช่วยกันรักษา ทรัพยากรชายหาดที่ล้ำค่านี้ ไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบไป
    ภาพการไปฟ้องศาล และสาระการฟ้องดูได้ใน website BWN
 
Help Protecting Our Beautiful Beaches
===========
15/01/51 Newsletter#58 (Songkhla beach today)

สวัสดีครับ BWN
     เมื่อ 14 ม.ค. 51 ผู้เชี่ยวชาญด้านชายฝังของ BWN ได้ไปสำรวจความวิบัติของกำแพงชายฝั่งที่บ้านนาทับ สงขลา ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อตุลาคม 2550 นี้เอง ด้วยเงินหลายสิบล้านบาท และได้นำภาพมาลงใน website BWN ให้ดูกัน
     เพียงคลื่นลมปกติ ทุกอย่างก็พังทลายหมดแล้ว ขณะเดียวกันก็เห็นรถบรรทุกจำนวนมาก กำลังถมหินลงในทะเลชายฝั่งบ้านบ่ออิฐ นาทับ ซึ่งเป็นงานของกรมเจ้าท่า เพื่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ตลอดแนวชายฝั่งสงขลา ไม่มีใครสนใจรักษาชายหาดทราย ที่สวยงามไว้เลย มีแต่ผู้จ้องทำลาย บนผลประโยชน์หลายร้อยล้าน
    ที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง ซึ่งมีหน้าที่รักษาทรัพยากร และนิเวศชายหาด ก็ร่วมวงก่อสร้างเขื่อนกับเขาด้วย โดยเพิ่งจัดประชุมเปิดตัว โครงการ สร้างเขื่อนริมทะเลชายฝั่ง เขตนครศรีธรรมราช-สงขลา ที่โรงแรมหาดทรายแก้วรีสอร์ท เมื่อ 14 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา โดยว่าจ้าง ม.ธรรมศาสตร์ ศึกษาออกแบบหลายสิบล้านบาท
    ทางกรมทรัพยากรธรณี ก็ไม่น้อยหน้า ว่าจ้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ศึกษาออกแบบก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ชายหาดสมิหลา ด้วยเงินเกือบ 5 ล้านบาท ขณะนี้กำลังเริ่มงานกันอยู่
     มีหน่วยงานไหนบ้างใหม ที่ไม่ตกอยู่ในอบายความหลงผิด และเข้าใจความสำคัญของชายหาด ที่ธรรมชาติสร้างสรรขึ้นมานับพันนับหมื่นปี ทำไมคนรุ่นเรานี้ จึงได้โง่เขลา ไม่คิดรักษาทรัพยากรนี้ ไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์สืบไปบ้าง
 
Help save Songkhla beach
===========
11/01/51 Newsletter#57 (Good news comming soon)

สวัสดีครับ BWN
     ความวิบัติของชายหาดและฝั่ง จังหวัดสงขลา คงเป็นที่ประจักษ์แก่ทุกคน ที่สนใจในเรื่องนี้ และสาเหตุที่แท้จริงก็เริ่มเปิดเผยขึ้นทุกขณะ
    เมื่อต้นมกราคม 2551 นสพ.ท้องถิ่นน้องใหม่ของจังหวัดสงขลา ชื่อ Southern Post ได้ลงหน้าหนึ่งว่า หาดสมิหลาพังทลาย ใครทำ...ทำไม...ทำเพื่อใคร? และได้ลงจดหมายข่าวของ BWN อย่างละเอียด ซึ่งต้องขอขอบพระคุณท่าน ที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ ที่คนในประเทศนี้มองว่า เป็นเรื่องเล็ก แต่ความจริงแล้ว มันคือหัวใจของคนใต้ทีเดียว ถ้าคนใต้ไม่รักษาหาดทราย ไวัให้ลูกหลาน แล้วใครล่ะจะเป็นผู้ดูแล ก็หวังว่า Southern Post จะติดตามเรื่องนี้ต่อไป จนกว่าปัญหาชายฝั่ง จะได้รับการแก้ไข อย่างถูกต้องตามความจริงทางวิชาการ
     เมื่อ 8 มกราคม 2551 หน้าหนึ่ง นสพ.เดลินิวส์ ลงข่าวและภาพชายฝั่งบ้านปึก ต.นาทับ คลื่นซัดพังทลาย สิ่งที่เห็นคือ กำแพงชายฝั่งที่ทำด้วยหิน เพื่อป้องกันถนนบ้านนาทับ พังทลายลงเป็นแนวยาว พร้อมระบุด้วยว่า สุสานชาวมุสลิม ก็ถูกกัดเซาะไปด้วย
      สำหรับผู้ที่ติดตามข้อมูลจาก BWN ก็จะทราบดีว่า อดีตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ถนนและสุสานฯอยู่ห่างทะเลมากกว่า 70 เมตร หลังจากมีการสร้างเขื่อนริมทะเล ปากคลองนาทับ โดยกรมเจ้าท่า ชายหาดและฝั่งก็ถูกกัดเซาะพังทลายอย่างรุนแรงและไม่สิ้นสุด จนสุดท้ายถึงถนนหมู่บ้าน ทางหลวงชนบทจึงมาทำกำแพงป้องกันถนนนี้ตลอดแนวกว่า 10 กม. ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อประมาณตุลาคม 2550 นี้เอง และกรมเจ้าท่าก็กำลังสร้างเขื่อนริมทะเลยาว 5 กม. ด้วยงบกว่า 230 ล้านบาท และปีต่อๆไปก็สร้างอีก ด้วยงบอีกหลายร้อยล้าน  ปรากฏว่าต้นปีนี้ กำแพงชายฝั่งนั้นก็พังเสียหายทันที สูญเสียงบฯจากภาษีประชาชนไม่จบสิ้น ยิ่งพังก็มีคนบางกลุ่มยิ่งรวยขึ้นอีก แต่ไม่มีใครรับผิด เพราะโยนความผิดให้คลื่นลม
    แล้วสักวันหนึ่งความจริงต้องปรากฏ คนผิดต้องได้รับโทษที่เขาก่อขึ้น ดังคำที่เราต่างเคยได้ยินกันมาแล้วว่า "บ้านเมืองเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดคิดมาทำลายจะต้องได้รับความวิบัติ" แล้ววันนั้นก็จะมาถึงในเร็วๆนี้ ขอเพื่อนๆ BWN โปรดติดตามต่อไปในเร็วๆนี้
 
Save our beaches
===========
9/11/50 Newsletter#56 (Wake up mass media)

สวัสดี BWN
     ตามที่เป็นข่าวว่า เรือของทีมนักวิจัยที่ไปดู การกัดเซาะชายฝั่ง บ้านขุนสมุทรจีน ชนกับเสาที่ปักจมอยู่ใต้น้ำ จนมีนักวิชาการจมน้ำตาย 3  คนและบาดเจ็บหลายรายนั้น เรื่องนี้น่าจะเป็นอุทาหรณ์ได้ดีว่า การสร้างวัตถุไว้ใต้น้ำ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตได้ตลอดเวลา
    ดังนั้นการสร้างเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ ที่ชายหาดสมิหลา จ.สงขลา ของกรมทรัพยากรธรณีนั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ล่อแหลมเช่นกัน BWN เราจึงต้องขอแจ้งเตือนไว้ล่วงหน้า
    ในฤดูฝนของภาคใต้นี้ เราก็จะได้ยินข่าวซ้ำๆว่า คลื่นใหญ่กัดเซาะชายฝั่ง ทั้งๆที่ความจริงแล้ว คลื่นก็เหมือนๆกันทุกปี เพียงแต่ชายหาดทราย ที่เคยทำหน้าที่ป้องกันคลื่น ได้ถูกทำลายหมดไปแล้ว จากการสร้างเขื่อนริมทะเลทั้งหลาย คลื่นจึงเข้าถึงฝั่งทันที ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งนับแต่นี้ชายฝั่งของไทย ก็จะมีแต่คำว่าคลื่นใหญ่ไปตลอดกาล  
    การกล่าวโทษธรรมชาตินั้นง่าย แต่นั้นคือความคิดที่ผิดพลาด มีแต่จะแก้ไขแบบผิดๆต่อไป เสียทั้งเงิน เสียทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ดี BWN ขอย้ำอีกครั้งว่า มนุษย์ที่เห็นแก่ตัวบางกลุมเท่านั้น ที่สร้างปัญหาเหล่านี้ขึ้นมา แล้วแก้กันไม่จบสิ้น
     ดังนั้นจึงต้องหวังแต่สื่อสารมวลชนว่า จะให้ข่าวสารที่ถูกต้องแก่สังคม เพื่อให้สังคมไทยได้หลุดพ้นจาก ความหลงผิดเสียที เราต้องการหาดทรายที่สวยงามกลับคืนมา  ไม่ใช่หาดหินดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  
Please Save Our Beautiful Beaches
=============
=============
26/10/50 Newsletter#55 (Poor education)

สวัสดี BWN ทุกท่าน
     กรมทรัพยากรธรณี ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ออกแบบเขื่อนกันคลื่นแบบใต้น้ำ ที่บ้านเก้าเส้ง จ.สงขลา ซึ่งถือว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่จะส่งผลเสียหายต่อชายหาดชลาทัศน์-สมิหลา อย่างรุนแรง
    ส่วนกรมเจ้าท่า ก็ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษา ออกแบบสร้างเขื่อนกันคลื่นขนาดใหญ่ ตลอดแนวชายฝั่งสงขลา จากบ้านบ่ออิฐ-เก้าเส้ง ซึ่งคงจะก่อสร้างในปี 2551-52
    สังเกตว่าทุกส่วนราชการขณะนี้ เร่งสร้างเขื่อนแข่งกัน คำถามก็คือ ทั้งๆที่รู้ว่า เขื่อนริมทะเลทุกชนิด ล้วนทำลายชายหาด แล้วทำไมจึงยังทำกันไม่หยุด ทั้งหมดนี้สะท้อนภาพการศึกษาไทย ที่เล่าเรียนกันแบบท่องจำ แบบผิดๆ การพังทลายของชายหาดสะท้อนภาพเหล่านั้น ได้ดีที่สุด
      คำตอบคงอยู่ที่ฝ่ายกฎหมาย เมื่อศาลตัดสิน เราจะได้คำตอบว่า เมืองไทยจะยังคงมีหาดทรายที่สวยงาม อยู่อีกหรือไม่
  
Help Protecting Songkhla Beach
=============

คำสำคัญ (Tags): #bwn newsletters 51-60
หมายเลขบันทึก: 345606เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท