เทียนขาว
นาง เพ็ญทิวา เพ็ญทิวา สารบุตร

ชมรมจริยธรรมตำบลโคกเพชร


แบบสรุปผลการดำเนินงานด้านจริยธรรม  ปีงบประมาณ   2552

ชมรมฯ ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

ข้อมูล  ณ วันที่  30  กันยายน  2552

  1.     ข้อมูลการจัดตั้งชมรม 

1. ชื่อชมรม....................ชมรมจริยธรรมตำบลโคกเพชร..............................

2. ที่ตั้ง.........สถานีอนามัยบ้านโคกเพชร  ตำบลโคกเพชร  อำเภอขุขันธ์................

3. สังกัด.........................สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.......................

4. โทรศัพท์/โทรสาร..โทรศัพท์ 0864603657   โทรสาร  0864603657.................

5. ตราชมรม        ( /) มี  ระบุลักษณะ  ....ดอกบัวสีชมพู....................................

                        (  )  ไม่มี

6.  จำนวนสมาชิก ..................60.........คน โดย   ( /  )สมัครใจ  ( / ) ทั้งหน่วยงาน

     จำนวนบุคลากรทั้งหมด......5............คน

2.   คณะกรรมการ  จำนวน ........5........คน  โปรดระบุข้อมูลในตำแหน่งต่อไปนี้ 

  1. ประธานชมรม.............นายเคลียม  ไชยพงษ์ .......โทร...0864603657...........
  2. รองประธานชมรม.......นางเสวย   ดวงใจ       ........โทร...0856378320..........
  3. เลขานุการ......นางมลิวรรณ  จันสมุด..................โทร....0895826806............
  4. ผู้ประสานงาน.....นางเพ็ญทิวา  สารบุตร..............โทร....0879617951............

3.  ระยะเวลาการจัดตั้ง เมื่อ.....1  มกราคม  2550.................

4.  มีการจดทะเบียนจัดตั้งชมรมจากกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่

                               (    )   มี   ลำดับที่........................

                               (  /  )  ไม่มี

5.  สถานภาพปัจจุบัน    ( /  )  ยังคงดำเนินการต่อเนื่อง          (    )  ยุบหรือล้มเลิก

เรื่อง การเป็นผู้ให้ย่อมเป็นสุขกว่าการรับ

ผู้ศึกษา/ร่วมกิจกรรม นางเพ็ญทิวา สารบุตร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

นางลมเย็น ศรีผุย เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส

นางสาวสุภาวดี ดวงใจ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

นางมลิวรรณ จันสมุด ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย

หน่วยงาน สถานีอนามัยบ้านโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การทำงานโดยเอาหัวใจเป็นเดิมพัน แม้ว่าร่างกายจะอ่อนล้าเพียงใด ทุกคนต่างพยายามสู้ไม่ถอย เพราะมีความมุ่งหวังเดียวกัน คือ “การเป็นสถานบริการสาธารณสุขที่เป็นที่พึ่งสำหรับประชาชน” ทุกๆวัน หัวหน้า สอ.จะเข้ามาสั่งงาน “ลูกน้อง” ก่อนจะไปทำอย่างอื่นเสมอ บางที พวกเรายังมาไม่ถึงท่านจะเขียนสั่งงานไว้ในกระดาษอย่างยาวเหยียด ก่อนที่ท่านจะไปทำภารกิจอื่นๆ ทุกอย่างดูเหมือนว่าจะเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

สถานีอนามัยบ้านโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ เป็นหน่วยงานให้การรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพที่พึ่งแห่งเดียวของประชาชนในตำบลโคกเพชร มีเจ้าหน้าที่เพียง 2 ท่าน คือ หัวหน้าสถานีอนามัยกับลูกน้อง มีผู้ช่วยเจ้าหน้าที่อีก 2 คน ทำงานร่วมกันทั้งหมด 4 คน (ปัจจุบัน จ้างคนงานมาช่วยรายวันอีก 2 คน เพราะทำงานไม่ไหว มีผู้ป่วยจิตเวชมาช่วยทำความสะอาดสถานีอนามัยทุกวันอีก 1 คน ) พวกเราทำงานคนละ 6 วัน ได้หยุด 1 วัน เลือกได้ระหว่างวันเสาร์ก็วันอาทิตย์ ให้สิทธิ์ในการเลือก 1 วัน ทำไมพวกเราทำงานมากเหลือเกิน ถ้าตอบง่ายๆ แบบกำปั้นทุบดิน คือ คนเรามีน้อย พวกเราก็ต้องเหนื่อยมากกว่าคนอื่น แต่พวกเราก็มีความสุขในการทำงาน การทำงานที่มีเงื่อนไขและมาตรฐานต่างๆมากมาย เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี บางทีก็ทำให้เจ้าหน้าที่และทีมงานเครียด พวกเราจึงมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันเสมอๆ

จากหนังสือเข็มทิศชีวิต หนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทำงานสาธารณสุขอย่างข้าพเจ้า ให้มีพลังในการต่อสู้ชีวิต กล่าวว่า “ เพียงแค่เราเข้มแข็งสักนิด ยอมฝึกฝนตัวเองสักหน่อย ไม่มีอะไรในชีวิตที่ได้มาง่าย ปริญญาทางโลก เราใช้เวลาเกือบยี่สิบปี ปริญญาทางจิตใจที่มีความสำคัญที่สุด เรากลับไม่มีเวลาให้ ไม่เคยมีเวลาศึกษา กลับทุ่มเทให้คนอื่น ของอื่นทั้งชีวิต ไม่มีเวลาเพียง 3 วัน 7 วัน เพื่อเริ่มต้นฝึกให้เข้าใจรู้จักตนเองอย่างแท้จริง ” (ฐิตินาถ ณ พัทลุง,เข็มทิศชีวิต,2552 หน้า 73.)

ทุกวันนี้เราทำงานด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ งานสาธารณะ เพื่อสร้างสุขภาวะ แก่ประชาชน เป็นการให้ที่ไม่เคยหวังผลตอบแทนมาเป็นการส่วนตัว แต่เป็นการให้ที่หวังเพื่อให้คนที่เราให้นั้น สามารถคิดเป็น เข้าใจชีวิต สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องและดีงาม ซึ่งสิ่งนั้น น่าจะสามารถสร้างความสุขให้กับพวกเรามากกว่าสิ่งอื่นใดในชีวิตของการทำงาน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อบ่มเพาะนิสัยการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ในกลุ่มบุคลากรด้านสาธารณสุข

2. เพื่อสร้างบริการที่ดีประชาชนมีความพึงพอใจ

วิธีการศึกษา

เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) โดยผู้ศึกษาได้วางกรอบแนวคิดไว้ ดังนี้

วิเคราะห์ผลการศึกษา

เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) การเข้าไปจัดกิจกรรมให้บริการในชุมชนทุกหมู่บ้านในตำบลโคกเพชร ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆก็ตาม ประชาชนจะให้ความสนใจร้อยละ 30 โดยประมาณ(เว้นแต่จะมีการระบุหรือคัดเลือกจึงจะเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า ร้อยละ 90 ) แต่ถ้าไปให้บริการถึงบ้าน ประชาชนจะยินดีเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่

สำหรับกิจกรรมการให้บริการนวดแผนไทยและประคบสมุนไพรในชุมชน พบว่า ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 90 อยู่ร่วมกิจกรรมจนครบ ร้อยละ 100 มีความพึงพอใจ ร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่า บริการแพทย์ทางเลือกแบบนี้ สามารถสร้างความสุขใจ ความเพลิดเพลิน ก่อให้เกิดความผ่อนคลาย ในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเป็นอย่างมาก สังเกตได้จาก รอบต่อมา เจ้าหน้าที่และพนักงานทดลองเข้าชุมชนอีกครั้ง ผู้สูงอายุซักถามถึงกิจกรรมนวดและประคบสมุนไพร ครั้งก่อน ให้นำเข้ามาในชุมชนอีก คิดเป็นร้อยละ 100

ข้อเสนอแนะ ความสบายทางกายและทางใจเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหา ไม่เลือกว่าจะมีอายุเท่าไหร่ เป็นผู้ป่วยเรื้อรังหรือเป็นผู้พิการ การได้รับการแสดงออกซึ่งความเอาใจใส่ โดยการนวด คลึง ประคบ โดยใช้มือสัมผัส สามารถสร้างพลังในการต่อสู้กับความอ่อนล้าของสภาพร่างกายและจิตใจ ได้อีกในระดับหนึ่ง

 

 

 

 

 


หมายเลขบันทึก: 343534เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท