ฟ้องศาลโลกไม่ได้นะครับ


อยู่ในโลกปัจจุบันต้องตามเกมส์ให้ทัน ต้องคิดให้รอบด้าน

อ่านข่าวทางเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์มติชน (กดเพื่ออ่าน)  เรื่องการแก้ไขปัญหาแม่น้ำโขงแห้ง  ที่มีข้อเสนอจากบางฝ่ายให้ทำการฟ้องศาลโลกแล้วตกใจ  ต้องรีบทำเขียนความเข้าใจกันไว้ก่อน ว่าเรื่องนี้ไทยฟ้องศาลโลกไม่ได้เด็ดขาดนะครับ เพราะนอกจากจะไม่ชนะแล้ว ยังอาจเสียดินแดนให้กับประเทศข้างเคียงอีกด้วย*************************

ศาลโลกซึ่งมีชื่ทางการภาษาไทยว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ International court of justice:ICJ เป็นศาลตามกฎหมายระหว่างประเทศตั้งขึ้นพร้อมๆกับการจัดตั้งสหประชาชาติ จุดต่างกับศาลภายในประเทศ คือ ผู้ที่จะมีสิทธิ์ฟ้องร้องต้องบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือเป็นรัฐ เท่านั้น ปัจเจกบุคคลไม่มีสิทธิ์ฟ้องได้ นอกจากนี้แล้วจุดต่างที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ศาลจะมีอำนาจพิจารณาคดี ก็ต่อเมื่อรัฐนั้นๆ ยอมรับเขตอำนาจ(Jurisdiction)ของศาลเท่านั้น หากรัฐที่ยื่นฟ้องยอมรับเขตอำนาจศาล แต่รัฐที่ถูกฟ้อง ไม่ยอมรับเขตอำนาจศาล ศาลก็ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้   จุดนี้เองเป็นเรื่องสำคัญครับ เพราะปัจจุบันนับแต่คดีเขาพระวิหารหนึ่งที่ประเทศไทยเราแพ้คดีให้กับกัมพูชาแล้ว มีข่าวว่าประเทศไทย ไม่รับเขตอำนาจศาลโลกอีกต่อไป (แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการต่างประเทศ)  หากข้อมูลเรื่องการไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลเป็นจริงก็จะส่งผลในทางกลับกันคือ

๑. ไม่มีรัฐใดในโลกสามารถฟ้องร้องประเทศไทยต่อศาลโลกได้อีกต่อไป การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศต้องไปใช้กระบวนการอื่นๆ แทน

๒. หากไทยหันไปฟ้องศาลโลกในกรณีเรื่องจีนสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำทำให้น้ำในแม่น้ำโขงแห้ง อันเป็นการนี้เป็นการละเมิดพันธกรณีตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศเรื่อง การไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับรัฐอื่นแล้ว ก็เท่ากับประเทศไทยหันกลับไปรับเขตอำนาจศาลโลก และจะทำให้เกิดผล คือ ประเทศกัมพูชามีสิทธิ์ยื่นร้องขอต่อศาลโลกให้ศาลโลกพิจารณาข้อเรียกร้องของกัมพูชา เหนือพื้นที่ ๔.๖ตารางกิโลเมตรบริเวณรอบปราสาทเขาพระวิหาร และหากเป็นเช่นนั้นจริง ประเทศไทย มีสิทธิ์แพ้มากกว่าชนะ เพราะศาลโลกน่าจะพิพากษายืนตามเหตุผลที่ศาลโลกในอดีตเคยตัดสินไว้ ในคดีเขาพระวิหาร เท่ากับว่า ประเทศไทย ไม่มีสิทธิ์ เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาพิพาทชายแดนด้วยตัวเองอีกแล้ว

๓.ส่วนการประเมินท่าทีของประเทศจีนผมไม่มีข้อมูลชัดว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนรับเขตอำนาจศาลโลกหรือไม่ เพราะหากประเทศจีน ไม่รับเขตอำนาจศาลโลก ประเทศไทย ก็ฟ้องไม่ได้ แต่ อาจจะถูกประเทศอื่นๆ ฟ้องเป็นจำเลยแทนได้ หรือ

๔. แม้ว่าประเทศจีนรับเขตอำนาจศาลโลก และคดีนี้ หากได้ทนายนำสืบจารีตประเพณีระหว่างประเทศเก่งๆ จนประเทศไทยมีสิทธิ์ชนะ แล้ว แต่ ก็ไม่สามารถบังคับคดีได้อยู่ดี เพราะ แม้ตามกฎบัตรสหประชาชาติข้อ ๙๔ จะระบุไว้ว่า หากมีประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลกแล้ว ให้รัฐที่ชนะคดียื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติออกข้อแนะนำ หรือคำตัดสิน เพื่อให้คำพิพากษาศาลโลกเกิดผลในทางปฏิบัติหรือรัฐ ก็ตาม แต่ฐานะของประเทศจีนในปัจจุบันอยู่ในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจคัดค้าน(Veto) ในการออกข้อมติใดๆ ก็ตามของคณะมนตรีความมั่นคง พูดง่ายๆ คือ ถึงไทยฟ้องคดีชนะ (ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ยาก)  ประเทศไทยก็ไม่สามารถบังคับตามคำพิพากษาศาลโลกได้ เพราะหากประเทศจีนไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลก และประเทศไทยทำตัวเป็นเด็กดีของสหประชาชาติ โดยการยื่นเรื่องไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแล้ว ประเทศจีนในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงก็มีสิทธิคัดค้านการออกข้อมติ ทำให้คำตัดสินของศาลโลกเป็นหมันได้

๕. ยิ่งกว่านั้น หาก กัมพูชาอาศัยช่วงไทยรับเขตอำนาจศาลโลกฟ้องประเทศไทยขึ้นมาจริงๆ คราวนี้  เมื่อไทยแพ้คดี มั่นใจได้ว่า หากไทยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลก และกัมพูชาส่งเรื่องไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแล้ว คณะมนตรีความมั่นคงคงไม่รั้งรอที่จะออกคำสั่งบังคับคดีให้ไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลกทันที เสียทั้งขึ้นทั้งร่อง มิตรไมตรีที่เคยมีกันระหว่างไทยกับจีนก็เสียไป คดีก็อาจจะแพ้กัมพูชา เสียหน้าอีก งานนี้ไม่ว่าหากรัฐบาลไหนทำไปตามแรงยุให้ฟ้องศาลโลก แล้วเกิดผลอย่างนี้ขึ้นมา คงไม่มีหน้าไหน กล้ายืดอกรับผิดชอบมั้งครับ

ข้อเสนอแนะ

๑.ในระยะสั้น ประเทศไทยควรใช้มาตรการการเจรจา โดยอาศัยช่องทางทางการทูต และการรวมตัวกันกับประเทศท้ายน้ำ Lower riparian State อื่นๆ ต่อรองกับประเทศจีน ซึ่ง ปัจจุบัน เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการเจรจาไปแล้วนะครับ  ทำงานเร็วใช้ได้ทีเดียวต้องให้เครดิตไว้

๒. มาตรการระยะยาว ประเทศไทยจะต้องจัดทำยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงของประเทศไทยให้ชัดพร้อมๆ ไปกับการวางแผนจัดการน้ำในแม่น้ำโขงในระดับภายในประเทศให้ชัดเจน ใช้ได้จริง และมีการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรมและเคร่งครัด ซึ่งการบริหารจัดการต้องรวมเอาภาคประชาสังคมของผู้ใช้น้ำในแม่น้ำโขงในประเทศไทยมาร่วมแสดงความเห็นในการดำเนินการต่างๆด้วย นอกจากนี้ประเทศไทยควรถือโอกาสใช้วิกฤ๖ครั้งนี้ร่วมกับรัฐท้ายน้ำอื่นๆ จัดทำแผนการบริหารจัดการแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนขึ้นด้วย

๓ ในมาตรการระยะยาวที่ประเทศไทยต้องมีนั้นประเทศไทยต้องมีการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องมีกลไกสะท้อนความเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการต่างๆ อันเนื่องมาจากการใช้น้ำจากแม่น้ำโขงเข้าร่วมในการตัดสินใจด้วยเพื่อให้ การตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาของประชาชนที่เดือดร้อนได้จริง ยิ่งกว่านั้นประเทศไทยจะต้อง ดำเนินการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงให้ได้มากที่สุด และขยายพื้นที่ป่าต้นน้ำออกไปเท่าที่ไม่ทำให้ประชาชนผู้ที่สุจริตเดือดร้อน โดยอาศัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และภาคประชาสังคมมาช่วยในการอนุรักษ์

๔ มาตรการระยะยาวที่สำคัญมากและต้องทำอย่างต่อเนื่องคือการจัดหลักสูตรการศึกษาให้เยาวชนตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม และช่วยกันรักษาสภาพแล้วล้อม อย่างเต็มกำลังความสามารถ พร้อมๆ ไปกับการรักษาระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการรักษาต้นทุนทางสังคม และการรักษาสังคมวัฒนธรรมอื่นๆ ไปด้วยในตัว

 

 

หมายเลขบันทึก: 343436เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ฟ้องแล้วมีแต่ตาเสียครับ หาตาได้ไม่เจอเลย

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ

ยึดทรัพย์สินผู้ที่มีรายชื่อ 15อันดับกษัตริย์รวยที่สุดในโลก 10 อันดับคนที่รวยที่สุดในโลก ทั้งหมด คำสั่งคุณ.ยุทธนา แสงสิทธิ์อภิมหาอำนาจเจ้าของโลก จักรวาลและประเทศไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท