สุนทร เตียวัฒนาตระกูล
สุนทร เตียวัฒนาตระกูล กิตติ์ เตียวัฒนาตระกูล

บทบาทและความสำคัญของผู้นำ


ผู้นำตลอดการณ์หรือผู้นำตามสถานการณ์

บทบาทและความสำคัญของผู้นำ

             ทฤษฎีภาวะผู้นำ ตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา บุคคลในวงการบริหารได้เข้าร่วมกันทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแบบภาวะผู้นำที่ดีที่สุด ผลการวิจัยได้ปรากฏเป็นหลักฐานอย่างชัดเจนว่าไม่มีแบบภาวะผู้นำในลักษณะที่มีความมุ่งหมายแบบครอบจักรวาล ผู้นำที่ประสบความสำเร็จคือผู้นำที่สามารถปรับพฤติกรรมของเขาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ซ้ำแบบกัน
         ทฤษฎีภาวะผู้นำสถานการณ์ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 3 ประการ คือ
              1. จำนวนปริมาณของการออกคำสั่ง คำแนะนำ (พฤติกรรมด้านงาน) ของผู้นำที่แสดงออกในแต่ละสถานการณ์
             2. จำนวนปริมาณของการสนับสนุนทางอารมณ์สังคม (พฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์) ของผู้นำที่แสดงออกในแต่ละสถานการณ์
             3. ระดับความพร้อม (วุฒิภาวะ) ที่ผู้ตามหรือกลุ่มผู้ตามแสดงออกมาในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ หรือวัตถุประสงค์ซึ่งผู้นำพยายามให้ผู้ตามกระทำได้สำเร็จ
ระดับความพร้อมหรือระดับวุฒิภาวะในทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์นี้ หมายถึง ความสามารถและความเต็มใจของบุคคลที่จะรับผิดชอบสำหรับนำพฤติกรรมของเขาเอง ตัวแปรวุฒิภาวะเหล่านี้ควรจะได้รับการพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่าในความรู้สึกทั่วไปนั้น มิได้หมายความว่าบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ได้บรรลุนิติภาวะ ทุกคนมีแนวโน้มด้านวุฒิภาวะที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับงาน ภาระหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ที่ผู้นำพยายามกระทำให้สำเร็จโดยอาศัยบุคคลเหล่านั้น การกำหนดระดับวุฒิภาวะอาจกำหนดได้ในลักษณะเฉพาะของบุคคลหรือกำหนดระดับวุฒิภาวะของคณะบุคคลในฐานะกลุ่มก็ได้ เช่น กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันในงานประเภทเดียวกัน

   มโนทัศน์พื้นฐานของภาวะผู้นำตามสถานการณ์

                   จากจุดยืนของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ไม่มีทางที่ดีที่สุดเพียงอย่างเดียวที่จะใช้อิทธิพลต่อบุคคล แบบภาวะผู้นำแบบใดที่ผู้นำควรใช้กับบุคคลหรือคณะบุคคลหรือกลุ่มนั้น ขึ้นอยู่กับระดับวุฒิภาวะหรือควาามพร้อมของบุคคลหรือคณะบุคคลหรือกลุ่มที่ผู้นำพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อพวกเขา

- พฤติกรรมด้านงาน (Task Behavior) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการสื่อความหมายทางเดียว โดยการอธิบายว่า อะไรบ้างที่ผู้ตามแต่ละคนจะต้องทำ ทำเมื่อไร ที่ไหน และทำอะไร เพื่อให้งานในหน้าที่ได้รับผลสำเร็จ
- พฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Relationship Behavior ) เป็นขั้นที่พฤติกรรมที่ผู้นำเข้าไม่เกี่ยวข้องด้วยการสื่อความหมายสองทาง โดยการให้การสนับสนุนด้านอารมณ์สังคม การให้กำลังใจ และพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ขณะที่ระดับวุฒิภาวะของผู้ตามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในแง่ของการทำงานในหน้าที่ให้สำเร็จนั้น ผู้นำควรลดพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์ เรื่องนี้แล้วแต่กรณีจนกว่าแต่ละกรณีจนกว่าแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบรรลุระดับวุฒิภาวะปานกลาง ขณะที่ผู้ตามเริ่มเคลื่อนไปสู่ระดับสูงกว่าระดับวุฒิภาวะปานกลางก็เป็น (ยังมีต่อ)

ที่มา:

หมายเลขบันทึก: 343375เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท