สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว : การค้นหาใจความสำคัญ


            ใจความอาจไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน  นักเรียนซึ่งเป็นผู้อ่านต้องอาศัยการสังเกตจึงจะสามารถจับใจความเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง  การสังเกตดังกล่าวต้องอาศัยหลักการคิดขั้นเข้าใจ  เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาใจความของเรื่องได้ดังที่  สุนันทา  มั่นเศรษฐวิทย์  (๒๕๔๗)  ได้กล่าวถึงวิธีค้นหาใจความไว้ดังนี้

 

       ๑)      อ่านชื่อเรื่องทุกถ้อยคำ  ทำความเข้าใจความหมายก่อนที่จะอ่านเนื้อเรื่อง  โดยทั่วไปชื่อเรื่องจะให้แนวทางเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง  แต่อาจมีบางเรื่องที่ชื่อเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องเลย  ชื่อเรื่องที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ  ควรใช้พจนานุกรม  เปิดหาความหมายให้เข้าใจก่อนอ่านเนื้อเรื่อง

 

      ๒)    อ่านละเอียดทีละย่อหน้า  เมื่ออ่านจบแต่ละย่อหน้าให้หาประโยคสำคัญของย่อหน้า ซึ่งอาจปรากฏอยู่ในตอนต้น  ตอนกลางและตอนท้ายของย่อหน้าตอนใดตอนหนึ่ง  อาจเป็นประโยคสามัญ  ประโยครวมและประโยคซ้อน  อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน  ประโยคที่เหลือของย่อหน้าจะเป็นประโยคพลความ

 

      ๓)    จดบันทึกประโยคสำคัญของแต่ละย่อหน้าลงสมุด  ส่วนที่เป็นพลความไม่ต้องบันทึก

 

       ๔)    อ่านละเอียดประโยคสำคัญที่บันทึกไว้โดยเทียบเคียงกับเนื้อเรื่องที่อ่านทั้งหมดเพื่อความ แน่ใจว่าประโยคต่างๆ  ที่บันทึกไว้  เป็นประโยคสำคัญของแต่ละย่อหน้าอย่างแท้จริง

 

      ๕)    นำประโยคสำคัญทั้งหมดที่บันทึกไว้มาเขียนเรียงลำดับให้เป็นใจความโดยปรับภาษาให้สละสลวย  และให้มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน

 

       ๖)     อ่านละเอียด  ใจความที่ปรับภาษาเพื่อความถูกต้องชัดเจนพร้อมทั้งตรวจทานความถูกต้องของการสะกดคำ  การเว้นวรรคและหลักภาษา

 

 

ที่มา : คู่มือการสอนภาษาไทย สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่งอ่านเร็ว ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทย

 

หมายเลขบันทึก: 343276เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท