อนาคต "30 บาท" จะยั่งยืนถ้าปลอดการเมือง


หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ซึ่งล่าสุดได้เปลี่ยนสโลแกนโครงการมาเป็น   "30 บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรค" ได้ดำเนินการมา ไม่มีใครปฏิเสธว่าโครงการนี้สร้างความพึงพอใจของประชาชน ที่ได้ใช้บริการอย่างมาก แต่ก็ยังมีปัญหาหลายอย่างที่รอการปรับปรุง เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงจัดงานสัมมนาเรื่อง "มองหลายมุมอนาคตหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมองหาอนาคตของโครงการนี้ร่วมกันนพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า กล่าวว่า ปัญหาหลักของโครงการนี้ นอกจากเงินน้อย งานหนัก ฟ้องร้อง สมองไหลแล้ว ความไม่แน่นอนในอนาคตของโครงการเป็นอีกหนึ่งความทุกข์ของผู้ให้บริการ เพราะทุกคนไม่รู้ว่าปีหน้า ปีโน้นจะเป็นอย่างไร และเป้าหมายสุดท้ายของโครงการคืออะไร ถามใครก็ไม่มีใครรู้ ทิศทางข้างหน้าของระบบ เมื่อมีปัญหาสมองไหล งบประมาณไม่เพียงพอ และงบฯ ที่ต้องเฉลี่ยปีละ 10% โดยเฉพาะในปี 2549 เพิ่มขึ้นถึง 18.8% ทำให้เป็นภาระงบประมาณมากขึ้น   "การแก้ไขเราจะต้องปฏิรูประบบใหม่ และจะต้องให้ประชาชนมีการร่วมจ่ายในการรักษาพยาบาล ถ้าหากไม่ทำวันนี้วันหน้าจะต้องทำ เพราะคงสู้กับค่าใช้จ่ายและค่ายาและวัสดุทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นตามระบบตลาดไม่ได้" นพ.เจตน์ สะท้อนมุมของ ผู้ให้บริการนางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ใช้บริการ ระบุว่า ถึงตอนนี้ประชาชนต้องเลิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล 30 บาท เพราะเงินที่ได้จากส่วนนี้มีไม่มาก และให้ใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทองจะได้ไม่ต้องทำบัตร 48 ล้านใบทุกปี และต้องแก้ไขปัญหาสิทธิประโยชน์ที่ไม่เท่ากันระหว่าง 3 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคม กองทุน 30 บาท และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ เพื่อให้ทุกคนได้รับบริการอย่างเท่าเทียม เมื่อกระจายงบประมาณดีแล้ว แต่ยังไม่พอประชาชนยินดีที่จะร่วมจ่ายแต่ไม่จำเป็นต้องร่วมจ่ายที่หน่วยบริการ เป็นการร่วมจ่ายด้วยระบบภาษี เช่น ระบบภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ภาษีที่ดิน ภาษีบาป ภาษีสุขภาพ  "ทราบมาว่ากรมบัญชีกลางจะออกระเบียบให้โรงพยาบาลเก็บค่ายาเพิ่มเติมได้ไม่เกิน 10% ซึ่งระเบียบนี้ไม่ดี เพราะทำให้โรงพยาบาลพยายามใช้ยาจากต่างประเทศที่มีราคาแพง" นางสาวสารีกล่าว และเสนอว่า ควรยุบ พ.ร.บ.ประกันภัยบุคคลที่ 3 เพราะทำให้เกิดปัญหาในการรักษาพยาบาลในส่วนของมุมมองสื่อ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ รองบรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์มติชน   ข้อเสนอแนะว่า ปัญหาหลักของโครงการ คืองบประมาณ และความไม่มั่นคงในนโยบาย ทำให้เกิดคำถามตลอดเวลาว่ารัฐบาลจะเอาอย่างไรกับโครงการนี้ และจากตัวเลขจะเห็นได้ว่ามีประชาชนที่เข้าไม่ถึงระบบ 30 บาท ประมาณ 3-4 ล้านคน จะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้เข้าถึงบริการได้ และ สปสช. วรใช้สื่อวิทยุชุมชน เพื่อการ   ผลิตรายการให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงบริการมากขึ้น    นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่า โครงการ 30 บาท เป็นโครงการที่ให้ผลที่ดีกับประชาชน สังเกตได้จากทั้งผู้ที่ชอบรัฐบาลและไม่ชอบรัฐบาลต่างก็เห็นความสำคัญของโครงการนี้ ซึ่งต้องมีการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริการประชาชนดียิ่งขึ้น แก้ไขสภาพความแออัดของผู้ป่วยนอก เพราะขณะนี้แพทย์ 1 คน ใช้เวลาตรวจคนไข้เฉลี่ยเพียง 3 นาทีต่อคน และจะตัดบทคนไข้ทันทีที่คนไข้พูดได้ประมาณ 12 วินาที ต่อไปจะให้สถานพยาบาลรุกใกล้บ้าน โรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องมีแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) เพื่อให้โรงพยาบาลเป็นสถานที่รับส่งต่อ ปีนี้ได้เริ่มทำไปแล้ว 13 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เช่น พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา แพร่ เชื่อว่า 2-3 ปีต่อจากนี้โรงพยาบาลอื่น ๆ จะทำตาม  และ ทาง สปสช.     จะขยายสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งมีอัตราตายอันดับ 4 รองจากอุบัติเหตุ โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง

ไม่ว่าอนาคตของโครงการ 30 บาท นั้นจะเป็นอย่างไร สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ โครงการนี้จะต้องดำเนินต่อไป และเป็นโครงการที่ต้องปลอดการเมือง ไม่ว่าพรรคใดเข้ามาบริหารประเทศก็ต้องสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน ภายใต้แนวคิดว่า หลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของปวงชนชาวไทย

 

มติชน  16  มิ.ย.  49

หมายเลขบันทึก: 34319เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2006 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมมีมุมมองที่ต่างจากนโยบาย  30 บาท รักษาทุกโรค  หรือจะห่างไกลโรคก็ตาม

ที่เห็นด้วยกับนโยบาย 30 บาท เพราะ

ช่วยให้คนเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ง่ายขึ้น  แต่คุณภาพไม่เกี่ยวนะครับ

ส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับระบบ 30 บาท เพราะ

 ผมเชื่อว่านโยบายที่ดีนั้น  ประชาชนต้องได้ และรัฐก็ต้องไม่แบกภาระมากจนเกินไป     ขอขยายความครับ  การที่รัฐแบกรับภาระในระยะสั้น ก็พอได้   แต่ถ้าคำนึงถึงระยะยาวหละ?    คนที่มีมากก็จ่าย 30 บาท  คนที่ไม่มีตังค์ก็จ่าย 30 บาท    หมอ พยาบาล ก็ต้องมาปวดหัวกับการคิดว่าจะบริหารการดูแลรักษาพยาบาลอย่างไรให้สอดคล้องกับนโยบายนี้   ตรงนี้กระทบต่อคุณภาพแน่นอน

เรื่องเล่าจากประสบการณ์ที่ผมประทับใจ

ผมประทับระบบประกันสุขภาพมากกว่า   เพราะสะดวกและเปี่ยมด้วยคุณภาพ   

2 ปี ในเยอรมันผมรู้สึกประทับใจกับเรื่องนี้มาก      ท่านอย่าเพิ่งด่วนสรุปนะครับว่า เยอรมันเขารวยก็ทำได้ซิ!       ประชากรทุกคนนเยอรมันที่เข้าไปอยู่อย่างถูกต้องก็ต้องทำ    ประกันสุขภาพ     ประกันที่ว่านั้นครอบคลุมทั้ง ผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน     เป็นกฎหมายบังคับ    หากใครไม่มีรายได้  ไม่สามารถที่จะจ่ายได้  ก็ให้ไปยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือเป็นรายๆไป   จนท.รัฐ(เมืองใคร เมืองมัน)  ก็จะตามไปดูที่บ้านว่าจนจริงหรือเปล่า     หากจนจริง  หรืออยู่ในระหว่างตกงาน    เขาก็จะให้การช่วยเหลือจ่ายเงินประกันในระหว่างนั้นให้แทน

การใช้บริการสถาพยาบาลก็สะดวกมาก  คนไม่ต้องแห่ไปโรงพยาบาล  กรณีป่วยไข้เล็กๆน้อยๆ      เวลาที่ผมเป็นหวัด  ผมก็ไปหาคลีนิกหมอที่ใกล้บ้าน  (ปกติจะเป็นทีบ้านอาศัยของหมอนั่นแหละ)      ไปถึงผมแสดงบัตรประกัน   เมื่อหมอตรวจเสร็จก็ให้ใบสั่งยา   ให้ไปซื้อยาเอง   เพราะที่นั่นเขาไม่ให้หมอสั่งยา  ต้องเอาใบสั่งยาจากหมอไปซื้อที่ร้านขายยาอีกต่างหาก    ทั้งหมอและร้านขายยาก็ไม่เรียกเก็บเงินสดจากผู้ป่วย   แต่จะไปเรียกจากบริษัทประกันที่ผู้ป่วยแสดงไว้

ตรงนี้ถ้ามาปรับใช้กับบ้านเราน่าจะได้   เพราะรัฐก็ไม่ต้องแบกภาระแต่ผู้เดียว   แต่ต้องหาจุดคุ้มทุนของเงินงวดประกันที่ไม่ให้สูงเกินไป  เพราะเราไม่มีเจตนาจะเอากำไร    แต่เน้นเป็นสวัสดิการให้ประชาชนเข้าถึงระบบการบริการสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น    รัฐเตรียมสนับสนุนคนจะเข้ามาร้องขอกรณีไม่สามารถจ่ายได้ตามจำนวนที่รัฐกำหนด   โดยพิจารณาเป็นรายๆไป   น่าจะจ่ายน้อยกว่าโครง 30 บาทที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้เสียด้วยซ้ำ     

30 บาท จะรักษาทุกโรค  หรือห่างไกลโรค   ไม่ว่าจะเปลี่ยนชื่ออย่างไรก็ตาม    ผมยังเชื่อว่า อย่างนี้มันหมิ่นเหม่กับพฤติกรรมสร้างนโยบายหาเสียง  โดยอ้างสวัสดิการคนจน  แต่ไปถลุงเงินรัฐ เงินประเทศ 

การเมืองมันเข้ามาตั้งแต่ปฏิสนธินโยบายแล้วครับ    ห้ามไม่ให้การมืองเข้าไปเกี่ยวตอนนี้  ก็ดูเหมือนจะพูดเพื่อให้ดูสวยงามเพียงเท่านั้นกระมังครับ

ธวัช

ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท