กระบวนการ บริหารงานบุคคล


การบริหารงานบุคคล

 การบริหารงานบุคคล  (STAFFING)

                   การบริหารงานบุคคล  Staffing  หรือ  Personel  Administration  หรือ  Personel  Management   หมายถึง  การดำเนินงานเกี่ยวกับบุคคลในการทำงานในหน่วยงานหรือ  องค์การเพื่อให้บุคคลมาปฏิบัติงานตามที่ต้องการ  และให้บุคคลได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งมีกระบวนการสำคัญ ดังนี้

  1. การกำหนดนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  เพื่อเป็นกรอบในการบริหาร  นโยบายจะเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  นโยบายรัฐบาล  นโยบายในแผนพัฒนาระดับกระทรวง  มติคณะรัฐมนตรี  ส่วนภาคธุรกิจเอกชน  เน้นที่นโยบายและระเบียบที่จำเป็นแก่การดำเนินงาน
  2. การวางแผนกำลังคน  Man  Power  Planning   เป็นกระบวนการวางแผนว่าหน่วยงานมีกำลังคนกี่คน  แต่ละคนปฏิบัติหน้าที่อย่างไร  ความรู้ความสามารถด้านใดบ้าง  เพื่อความเหมาะสมกับงาน  ซึ่งเริ่มตั้งแต่แผนความต้องการ  แผนการให้ได้มาของกำลังคนและแผนการใช้กำลังคน
  3. การจัดบุคคลและการสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง Placement  & Recruitment

-                   การสรรหาบุคลา เป็นกระบวนการที่จะประชาสัมพันธ์หน่วยงานเพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมสำหรับองค์กร  ให้มาสมัคร เพื่อคัดเลือก Selection  คนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมที่สุดเข้าร่วมปฏิบัติงานในองค์กร

-                   การจัดบุคคล Placement  หมายถึงการจัดบุคคลที่ผ่านการคัดเลือก ให้ดำรงตำแหน่งที่หน่วยงานวางแผนไว้แล้ว  เพื่อให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่เกิดประโยชน์ต่อองค์กรสูงสุด

  1. การพัฒนาบุคลากร Human  Resource  Development  เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของบุคลากรที่จะปฏิบัติงานในองค์กร  การพัฒนาบุคลากรสามารถพัฒนาโดยองค์เอง  หรือ ให้หน่วยงาน อื่นช่วยพัฒนาก็ได้  ทั้งนี้ ยึดความรู้ความสามารถที่บุคลาที่ได้รับ เป็นประโยชน์ต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงแก่องค์กร
  2. การให้เงินเดือนและค่าตอบแทน Salary  Or  Compensation  ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ผู้บริหารเจ้าของกิจการ  ต้องจ่ายให้ข้าราชการ หรือลูกจ้าง  เพื่อเป็นค่ายังชีพ ทดแดนการทำงาน ถือเป็นรางวัลสำหรับการทำงาน  การให้ค่าตอบแทน เงินเดือน โดยยึดถือระบบคุณธรรม  ดังต่อไปนี้

-                   หลักความสามารถ Competence ยึดผลงานตามความสามารถเหมาะกับเงินค่าตอบแทน

-                   หลักความเสมอภาค Equality  ให้โอกาสคนเสมอกันไม่เลือกชั้นวรรณะ

-                   หลักความมั่นคง Security ถือว่าการเข้าทำงานในองค์เป็นอาชีพอาชีพหนึ่ง  การกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือน ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต  การเข้า ออก จากงาน มีกฎหมาย กฎเกณฑ์รอบรับที่ชัดเจน  เป็นธรรม

-                   ความเป็นกลางทางการเมือง  Political  neutrality  คือ การทำงานไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หรือการเปลี่ยนรัฐบาล

-                   หลักสำคัญในการให้เงินเดือน คือ งานมาก งานยาก รับผิดชอบสูงให้เงินเดือนสูง  งานน้อย งานไม่ยาก รับผิดชอบน้อย เงินเดือนน้อย

  1. งานทะเบียนประวัติหรือข้อมูลบุคลากร  เป็นงานธุรการของบุคคล  ข้อมูลการเข้ามาทำงานของบุคลากร  ตั้งแต่ข้อมูลส่วนตัว  การศึกษา  การทำงาน การเลื่อนตำแหน่ง  การพัฒนาศึกษาอบรม  เงินเดือน  งานข้อมูลทะเบียนประวัติมีความสำคัญมาก  คนที่ออกจากงานเพื่อไปทำงานหน้าที่ตำแหน่งใหม่หากได้รับคำรับรองหรือหลักฐานการผ่านงานเดิมมาด้วย มัดได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้มีประสบการ  มีความชำนาญต่างๆ  ตามที่หน่วยงานต้องการ
  2. งานประเมินผลการปฏิบัติงานหรือการพิจารณาความดีความชอบ  การประเมินความดีความชอบของบุคคลเป็นวิธีการสำคัญที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ  ธรรมชาติของคนเมื่อทำงานไปย่อมเกิดความเฉื่อย  เมื่อได้รับการประเมินผลเป็นระยะ และได้ขวัญกำลังใจย่อมทำให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  3. งานวินัย และการดำเนินงานทางวินัย  เป็นกิจกรรมสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลไม่ให้ทำความผิด  แบบแผน  ธรรมเนียมปฏิบัติขององค์กร   เป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารในการสอดส่อง ดูและ ความประพฤติ  การรักษาวินัยของบุคลากรในองค์กร  ให้ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์  เป้าหมายขององค์กรที่วางไว้  ถ้ามีบุคคลละเมิดต้องดำเนินการตามแบบแผนตามสมควร
  4. สวัสดิการ  ประโยชน์เกื้อกูล  และสิทธิประโยชน์
  5. การให้ออกจากราชการ และการรับบำเหน็จบำนาญ   ข้าราชการ พนักงานองค์กรเอกชน  มีข้อตกลง  ข้อกำหนด อายุในการทำงาน  เป็นข้อกำหนดข้อตกลงก่อนการทำงาน หรือการจ้างงาน  การออกจากงานเป็นบทสุดท้ายของการบริหารงานบุคคล  การออกจากงานมี 2  กรณีที่สำคัญ

-                   ออกตามประสงค์พนักงาน เช่น ลาออก

-                   ออกเพราะความต้องการของหน่วยงาน  เช่น เกษียณอายุ  ยุบเลิกตำแหน่ง  ออกเพราะทำผิด  ซึ่งองค์กรต้องให้ออกตามข้อตกลง

หมายเลขบันทึก: 343045เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท