วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practices )


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practices )

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best  Practices )

โครงการออมทรัพย์เพื่อการศึกษา

วิทยาลัยเทคนิคยโสธร   สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 

1.             สภาพปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคยโสธร

1.1           ประวัติการจัดตั้ง  ที่ตั้ง  เนื้อที่

          วิทยาลัยเทคนิคยโสธร  จัดตั้งขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 2516  บนเนื้อที่ 175 ไร่  3  งาน  49  ตารางวาในนาม  โรงเรียนเทคนิคยโสธร  ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 41  ล้านบาท  ได้รับการพัฒนาปรับปรุงและยกฐานะเป็น วิทยาลัยเทคนิคยโสธร  เมื่อปี  พ.ศ. 2523  ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษา  เร่งรัดพัฒนาดีเด่น  ปี พ.ศ. 2528  ได้รับคัดเลือกเป็น  สถานศึกษาดีเด่น  ของกรมอาชีวศึกษา  เมื่อปี  พ.ศ. 2536  และได้รับคัดเลือกเป็น สถานศึกษารับรางวัลพระราชทาน  ระดับอุดมศึกษาประเภทต่ำกว่าปริญญาตรี  ในปี พ.ศ. 2545 

          ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคยโสธร  ตั้งอยู่เลขที่ 96 หมู่ที่ 1  ตำบลสำราญ  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร มีเนื้อที่รวม  175 ไร่  3  งาน  49  ตารางวา  มีบุคลากรทั้งสิ้น  จำนวน  245 คน  และมีนักศึกษา ประมาณ 4,735 คน

การดำเนินงานในปัจจุบัน  วิทยาลัยเทคนิคยโสธร  เปิดทำการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.) ประเภทวิชาที่ทำการสอนประกอบด้วย  ช่างอุตสาหกรรม  พาณิชยกรรม  และคหกรรม รวม  24  สาขาวิชา ดังนี้

  1. สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์
  2. สาขาวิชาช่างเทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม
  3. สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ
  4. สาขาช่างเทคนิคโลหะ
  5. สาขาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
  6. สาขาวิชาเครื่องมือกล
  7. สาขาวิชาแม่พิมพ์โลหะ
  8. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
  9. สาขาวิชาช่างเทคนิคก่อสร้าง
  10. สาขาวิชาโยธา
  11. สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม
  12. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
  13. สาขาวิชาเครื่องกลไฟฟ้า
  14. สาขาวิชาช่างติดตั้งและควบคุม
  15. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
  16. สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์
  17. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
  18. สาขาวิชาการบัญชี
  19. สาขาวิชาการขายและการตลาด
  20. สาขาวิชาการเลขานุการ
  21. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  22. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  23. สาขาวิชาการโรงแรม
  24. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ

1.2            วัตถุประสงค์ของสถานศึกษา

  1. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  2. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวปฏิรูปการศึกษาและบัญญัติ  10  ประการ
  3. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดยโสธร  และแผนพัฒนาการศึกษา  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม
  4. จัดการศึกษาเพื่อมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้  ความสามารถ  เข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งในภาครัฐและเอกชน  มีความเชื่อมั่นตนเองในวิชาชีพและมีพื้นฐานความรู้พอเพียงสำหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
  5. มุ่งขยายการศึกษาวิชาชีพ  ไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง
  6. ร่วมมือกับท้องถิ่นในการพัฒนาอาชีพใหม่ๆ  ให้กว้างยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อสังคม  เพื่อจะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป
  7. พัฒนาบุคลากรในวิทยาลัยเทคนิคยโสธร  ให้มีคุณธรรมจริยธรรม  มีคุณภาพประสิทธิภาพ  บังเกิดผลดีในการปฏิบัติงานทุกๆด้าน

1.3            วัตถุประสงค์ของหลักสูตรระดับ  ปวช.

  1. เพื่อให้มีความรู้  มีฝีมือ  มีความชำนาญ  และประสบการณ์  สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพด้วยความมั่นใจ
  2. เพื่อให้รู้จักค้นคว้าแก้ปัญหาและติดตามความเจริญก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเองอยู่เสมอ  มีนิสัยรักการทำงาน  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  และมีเจตคติที่ดีต่อสัมมาอาชีพ
  3. เพื่อให้มีความรู้  ความสามารถในเรื่องภาษาไทย  วิทยาศาสตร์  และสังคมศึกษา  ที่จำเป็นแก่การศึกษา  และประกอบอาชีพ
  4. เพื่อให้มีบุคลิกภาพดี  มีความซื่อสัตย์สุจริตและยุติธรรม  มีระเบียบวินัย  และน้ำใจเป็นนักกีฬา  มีความอดทน  ขยันหมั่นเพียร  ประหยัด  มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีความเคารพในสิทธิ  และหน้าที่ของตนเอง  และของผู้อื่น  เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยรู้จักดำรงชีวิตบน  พื้นฐานแห่งคุณธรรม  และกฎหมาย
  5. เพื่อให้มีความเข้าใจในปัญหาเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมืองของประเทศ  และของโลกปัจจุบัน  มีความสำนึกในการเป็นไทยดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

1.4            วัตถุประสงค์ของหลักสูตรระดับ  ปวส.

  1. เพื่อให้มีความรู้  ประสบการณ์  สามารถปฏิบัติงานในระดับช่างเทคนิค  หรืระดับวิชาการได้
  2. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อสัมมาชีพ  มีความภูมิใจและมั่นใจในวิชาชีพที่เรียน
  3. เพื่อพัฒนาทางด้านวินัยในการทำงาน  มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ  มีความซื่อสัตย์สุจริต  ความขยันหมั่นเพียร  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ความรับผิดชอบในการทำงาน  ความสัมพันธ์ที่ดีและความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

1.5            ปรัชญาของสถานศึกษา

                       “มีวินัย  ใฝ่คุณธรรม  ล้ำเลิศวิชา  พลานามัยสมบูรณ์”

1.6            วิสัยทัศน์วิทยาลัยเทคนิคยโสธร

วิทยาลัยเทคนิคยโสธร  เป็นศูนย์กลางการพัฒนาคน และเทคโนโลยีสู่ชุมชน

1.7            พันธกิจ

  1. เพิ่มปริมาณการรับนักเรียน / นักศึกษา
  2. พัฒนาคุณภาพนักเรียน / นักศึกษา
  3. บริการสังคม
  4. สร้างผู้ประกอบการรายใหม่

 

2.  การบริหารงาน

                2.1 แนวทางที่ใช้ในการบริหาร

                     วิทยาลัยเทคนิคยโสธร ได้ใช้หลักการบริหารโดยยึดหลัก “การบริหารแบบมีส่วนร่วม”  ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความผูกพัน  เอื้ออาทร  ช่วยเหลือ  เอาใจใส่ ในทุกข์สุขของเพื่อนร่วมงาน

                2.2  ความเชื่อมโยงกับความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง

                         จากกระบวนการพัฒนางานในด้านต่างๆทำให้วิทยาลัยเทคนิคยโสธรมีองค์ประกอบและปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา คือ  มีคณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข้ง  ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษา มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย    มีแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา  และได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาจากสถานประกอบการ ชุมชน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจัดในการการศึกษา ซึ่งสรุปได้ว่า บริบทโดยรวมเอื้อต่อการจัดการศึกษา   จึงเน้นการทำงานความคาดหวังจาก  ผู้ปกครอง  ชุมชน  ในด้านต่อไปนี้

  1. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ที่ดี  มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการจริง ฝึกปฏิบัติจริง ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
  2. ครู เป็นแบบอย่างที่ดี  เป็นผู้นำทางวิชาการที่สามารถให้การสนับสนุนแก่ชุมชนในด้านวิชาการได้
  3. วิทยาลัย เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชน  ชุมชน  มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้  มีสภาพและบรรยากาศเหมาะสม  สะอาด  ร่มรื่น  สวยงาม  เป็นที่พอใจของชุมชน 

2.3  กระบวนการปฏิบัติงานของวิทยาลัย

                  การบริหารการบริหารงานของวิทยาลัยจะเป็นการบริหารงานโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมและดำเนินงานควบคู่กับหลักธรรมาภิบาล  คือ นิติธรรม  คุณธรรม  ความโปร่งใส  การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า   มีขั้นตอนการบริหาร  ดังนี้

  1. การบริหารการเปลี่ยนแปลง: ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ  ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  กล้าพัฒนา  กล้านำ  กล้าตัดสินใจ  กล้าเปลี่ยนแปลง โดยมีวิสัยทัศน์ในการทำงานคือ “พัฒนาครูสู่การพัฒนาผู้เรียน”
    1. แบ่งงานกันทำ: มีการมอบหมายงานตามความเหมาะสม  (Put the right man on the right job) และทุกงานจะทีมงานประกอบด้วย

-         ทีมอำนวยการ  

-          ทีมประสานงาน  

-          และทีมดำเนินงาน

 

  1. นำพาสู่ความชำนาญ: ผู้รับมอบหมายงานคือ ผู้ปฏิบัติ ได้มีการพัฒนาตนเองเข้ารับการอบรมและศึกษารายละเอียดในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพจนเกิดความชำนาญ ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอและรอบด้าน
  2. ประสานสู่ความสำเร็จ : การปฏิบัติงานแบบผู้ชำนาญจะนำผลมาสู่ความสำเร็จของผู้เรียน ด้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นที่พอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  3. ร่วมชื่นชม: โดยให้ขวัญและกำลังใจ   ชมเชย   และแสดงความยินดี  ชื่นชมในความสำเร็จ

3.วิธีการบริหารที่เป็นเลิศ (Best Practices)

                            3.1  สิ่งที่ทำหรือดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของสถานศึกษา ได้แก่ โครงการออมทรัพย์เพื่อการศึกษาในสถานศึกษา

                       โครงการออมทรัพย์เพื่อการศึกษา เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักออมและให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอนของแผนกวิชาการบัญชี ซึ่งเป็นที่รู้จักทั้งบุคคลภายในและบุคคลภายนอกเป็นจำนวนมาก  มีความประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน เป็นที่หน้าภาคภูมิใจของวิทยาลัย ฯ และระดับอาชีวศึกษามีผู้มาศึกษาดูงานจากสถานศึกษาอื่นๆและได้รับคำชมเชยจากผู้บริหารระดับสูง  อันได้แก่  ผู้อำนวยการกองคลัง  กรมสามัญศึกษา เมื่อปี ๒๕๔๐  ผู้ตรวจราชการ กรมอาชีวศึกษา เมื่อปี ๒๕๓๘ , ๒๕๔๒ และ ๒๕๔๕ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปี ๒๕๔๗  ผู้ว่าจังหวัดยโสธร ปี ๒๕๔๐ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ นายพรหมสวัสดิการ ทิพย์คงคา ปี ๒๕๕๑

                            จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ โครงการออมทรัพย์เพื่อการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคยโสธรมีฐานะทางการเงิน ณ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒  มีสินทรัพย์หมุนเวียน  ๒๕๘,๒๗๘.๒๖  บาท มีผู้ฝากออมทรัพย์ จำนวน ๗๓๘ บัญชี เป็นเงิน ๑,๑๐๓,๖๖๐.๑๗  บาท  เงินฝากประจำจำนวน ๖ บัญชี เป็นเงิน ๒๐๘,๗๐๙.๗๕ บาท เงินลงทุน ๓๗ ราย คิดเป็นเงิน ๓๗,๐๐๐ บาท กำไรสะสมจนถึงปัจจุบัน ๕๐๓,๙๓๑.๘๘ บาท

3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑.        ส่งเสริมการพัฒนาบุคคลในด้าน การศึกษาและประสบการณ์ ทางร่างกายและจิตใจให้เป็นบุคคลที่เก็บออมและลงทุน

๒.      ส่งเสริมให้กลุ่มบุคคลมีความรู้ในเรื่องการจัดองค์การ การพัฒนาองค์การและการประกอบการ

๓.       ดำเนินการรับฝากเงินโดยให้ผลตอบแทน เป็นดอกเบี้ยเงินฝากตามอัตราของธนาคารพาณิชย์ แห่งประเทศไทย

๔.       ให้กู้ยืมโดยมีบุคคลค้ำประกันและต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับโครงการฯ ซึ่งถือเป็นรายได้ของโครงการฯ

๕.       ทำธุรกิจด้านการเงินสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่กฎหมายรับรอง

๖.        ดำเนินการอย่างอื่น  บรรดาที่เกี่ยวกับ หรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการออมทรัพย์เพื่อการศึกษา

3.2 วิธีการดำเนินงาน

๑.        ดำเนินงานให้บริการโดยนักศึกษาฝึกงาน แผนกวิชาการบัญชี โดยมีน างเรืองอุไร สว่างพล ครูสอนประจำแผนกวิชาการบัญชีร่วมกับคณะกรรมการ เป็นผู้ควบคุมดูแลการดำเนินงาน ของนักศึกษา ผู้ที่ประสงค์จะฝากเงินกับโครงการฯ ให้ยื่นคำขอเปิดบัญชีเป็นลูกค้าของโครงการฯ โดยเปิดบัญชีเงินฝากกับโครงการฯครั้งแรก 50 บาทขึ้นไป ครั้งต่อไปฝากเงินครั้งละไม่ต่ำกว่า 10 บาท โครงการฯ จะบันทึกการฝากเงินและถอนเงิน ของลูกค้าด้วยระบบคอมพิวเตอร์

๒.      ในกรณี ที่สมุดคู่ฝากของลูกค้าชำรุด โครงการจะทำการเปลี่ยนสมุดคู่ฝากให้กับลูกค้าใหม่โดยจะคิดค่าบริการกับลูกค้า เล่มละ 2 บาท

๓.       ผู้ฝากเงินจะได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินเป็นดอกเบี้ย ในอัตราที่เท่ากับอัตราของดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์หรือสูงกว่าขึ้นอยู่กับผลกำไรที่ได้   โดยคิดเป็นดอกเบี้ยให้กับลูกค้าด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้าปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม   ของทุกปี

 

                3.3 ประโยชน์ที่ได้รับ

๑.        นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี ซึ่งเป็นการเรียนการสอนโดยการฝึกปฏิบัติจริงทำให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีธนาคาร

๒.       ส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเรื่อง การเก็บออม อย่างต่อเนื่อง

๓.       แสดงให้เห็นถึงคุณธรรม เกี่ยวกับ ความอดทน ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบ ของนักศึกษาและผู้รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง

๔.       จากการประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ รายการประเมินเกี่ยวกับประโยชน์ของผู้ใช้บริการ  มีค่าเฉลี่ย ปี ๒๕๔๙  ๓.๖๑  ปี ๒๕๕๑  ค่าเฉลี่ย  ๓.๖๖

                            วิทยาลัยเทคนิคยโสธร โดยแผนกวิชาการบัญชี ได้จัดตั้งโครงการออมทรัพย์เพื่อการศึกษา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๔  เพื่อส่งเสริมการศึกษา ครู – อาจารย์ นักการภารโรงในวิทยาลัยเทคนิคยโสธร มีการเก็บออมโดยให้บริการรับ ฝากเงิน – ถอนเงิน เพื่ออำนวยสะดวกโดยไม่ต้องเสียเวลาไปใช้บริการของธนาคาร นอกสถานศึกษา ดำเนินงานเช่น ธนาคารทั่วไป นอกจากนี้โครงการ ฯ ก็ยังให้บริการเกี่ยวกับการให้กู้ยืม แก่ ครู – อาจารย์  และยังเป็นผลผลิตของหลักสูตรการเรียนการสอนหลายรายวิชา เช่น วิชาการบัญชีเบื้องต้น  , ระบบบัญชี , การตรวจสอบภายใน

3.4  ความสำเร็จ

  1. ส่งเสริมให้นักศึกษา ได้เก็บออม จำนวน 642 คน คิดเป็น 13.46 % จากจำนวนนักศึกษา ทั้งวิทยาลัย ฯ 4,770 และคิดเป็น 29.05 % ของนักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ จำนวน 513 คน จากจำนวน 1,828   คน
  2. ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดโครงการภายใต้การนิเทศ (การออมทรัพย์) ในการประชุมทางวิชาการระดับภาคครั้งที่   1   ระหว่างวันที่  29 – 31  มกราคม  2535  จัดโดยองค์การช่างเทคนิคในอนาคตแห่งประเทศไทย
  3. เป็นต้นแบบในการดำเนินการให้กับสถานศึกษาอื่นๆ ที่มาศึกษาดูงาน
  4. เป็นวิธีปฏิบัติใช้เป็น (Best Practices) ในการประเมินสถานศึกษาจาก  สมศ  ซึ่งวิทยาลัยผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนน  4.25
หมายเลขบันทึก: 342999เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท