เส้นทางเดินเมื่อเริ่มต้น


สรุปประชุมทีมงานครั้งที่ 1

สรุปการเรียนรู้จากการประชุมทีมงานครั้งที่๑

 

วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๘

การประชุมในวันนี้ได้มีแนะนำตัวอย่างเป็นทางการของสมาชิกโครงการวิจัย มีการเสนอความคิดเห็นในเรื่องการจัดเวทีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคมที่ผ่านมาและมีการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเตรียมการจัดทำเวทีแสดงความคิดเห็นในวันที่ ๕ มิถุนายน

 

เริ่มด้วยกิจกรรมการแนะนำตัว

๑.คุณตุ๊กตา ตะเพียนทอง ผู้นำองค์กรชุมชนตำบลในคลองบางปลากด

ประสบการณ์การทำงานกองทุนหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ โดยได้รับงบประมาณจาก สทบ.ให้มาประเมินกองทุน แต่ทำได้ไม่เต็มพื้นที่ ส่งรายงานแล้วก็จบกันไป

วิเคราะห์เวทีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคมที่ผ่านมา มีความเห็นว่างานวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นงานที่ท้าทาย ยินดีที่จะเข้าร่วมเป็นคนทำงาน (ในฐานะคุณครูกระบวนการ)

๒.คุณปทุมมาศ ศรีษะเกษ นักพัฒนาชุมชน ๕ ดูแลตำบลในคลองบางปลากด

ในเรื่องของกองทุนหมู่บ้านได้เริ่มทำงานตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๔๒ ซึ่งตอนนั้นปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ ขณะนั้นทำงานอยู่ที่อำเภอเมืองทำด้านการเงิน เพิ่งย้ายมาที่นี่ได้ ๖ เดือน

ในเรื่องของปัญหากองทุนหมู่บ้านที่อยู่ในเครือข่ายตำบลในคลองบางปลากดจะมีหมู่ที่เป็นปัญหาคือ หมู่ที่ ๔ มีปัญหาเรื่องเงินหายประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งติดตามไม่ได้ ส่วนปัญหาของหมู่อื่นค่อนข้างน้อยแต่ปัญหาที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ ประธานมีความร่วมมือน้อยในการให้ข้อมูล เมื่อขอข้อมูลไปแล้วไม่มีการส่งกลับ คงต้องเริ่มปฏิบัติการใหม่จากการทำวิจัย ความสามารถของคุณปทุมมาศ คือการประสานงานกับกองทุนต่างๆ

๓. คุณศศิธร วุฒิปัญโญ ครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

๔. คุณอภิชา ก๋งเทมิน ครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

ประสบการณ์เคยทำวิจัยอยู่แล้ว แต่ไม่เคยลงลึกถึงระดับตำบล และมีส่วนช่วยในกระบวนการเรียนรู้จัดเวทีประชาชน สามารถคุมเวทีได้ดี การดำเนินงานส่วนใหญ่จะเข้าร่วมการประชุมและการเขียนแผนชุมชน

๖.อาจารย์นิสา พักตร์วิไล อาจารย์โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

๕.อาจารย์อัจจิมา มั่นทน อาจารย์โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

๖.อาจารย์ดวงมณี บัวฉุน อาจารย์โปรแกรมวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

๗.คุณจันลอง ภาคน้อย ผู้นำชุมชนตำบลในคลองบางปลากด

๘.คุณเทพพิทักษ์ ทนทาน ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลในคลองบางปลากด

ได้มีการสะท้อนความรู้สึกจากเวทีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคมที่ผ่านมา

นักวิจัยเมื่อเริ่มดำเนินการอธิบายเรื่องกรอบของการทำวิจัย งานวิจัยนี้เป็นงานพัฒนาและวิจัย โดยมีกรอบการพัฒนาอยู่ ๓ วงหลักคือ วงของเครือข่ายกองทุนระดับตำบล วงของกองทุนหมู่บ้านซึ่งในตำบลมี ๑๓ กองทุน และวงของสมาชิก โดยเริ่มแรกผู้วิจัยได้กระตุ้นคำถามเรื่องของเป้าหมายของทีมงานวิจัยซึ่งได้ความคิดดังนี้

๑.เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่าย กองทุน และสมาชิกในกองทุน

๒.เครือข่ายมีการตั้งวิสัยทัศน์ของตนเอง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

๓.กองทุนและเครือข่ายปฏิบัติหรือไม่ ถอดบทเรียนออกมา

๔.การพัฒนาเครือข่ายแบบยั่งยืน โดยไม่ต้องมีใครไปบังคับ จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีผู้นำช่วยในการดำเนินการ

๕.อยากให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การทำงานใหม่ๆ สามารถถ่ายทอดกันได้ ทุกหมู่เรียนรู้ร่วมกัน รับรู้ร่วมกัน

สรุปในเรื่องของเป้าหมายใช้คำใหญ่ของทีมวิจัยคือ การพัฒนาเครือข่ายแบบยั่งยืน” โดยให้เป้าหมายอื่นที่ร่วมคิดกันไว้เป็นแนวทางการดำเนินการให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งมีการตั้งวิสัยทัศน์ของกองทุน วิธีการดำเนินงานของกองทุน มีการทำงานใหม่ๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องมีการบังคับ จากนั้นถ่ายทอดสู่กันและกัน สุดท้ายมีการถอดบทเรียนออกมา โดยให้เป้าหมายอื่นที่ร่วมคิดกันไว้เป็นแนวทางการดำเนินการให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งมีการตั้งวิสัยทัศน์ของกองทุน วิธีการดำเนินงานของกองทุน มีการทำงานใหม่ๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องมีการบังคับ จากนั้นถ่ายทอดสู่กันและกัน สุดท้ายมีการถอดบทเรียนออกมา

จากนั้นก็ได้มีการพูดถึงเรื่องของระยะเวลาการปฏิบัติการ กำหนดไว้ว่าโครงการวิจัยมีระยะเวลาทั้งหมด ๑๒ เดือน ได้ลงความเห็นว่า ๓ เดือนแรกจะเป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการกองทุนที่ผ่านมา ในช่วง ๖ เดือนถัดมาเป็นระยะของการพัฒนาเครือข่าย กองทุนและสมาชิกกองทุน และอีก ๓ เดือนจะใช้ในการสรุปงานทั้งหมดที่ได้ดำเนินการ พร้อมทั้งประเมินโครงการที่ได้ดำเนินการด้วย

สุดท้ายมีการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเตรียมการจัดทำเวทีแสดงความคิดเห็นในวันที่ ๕ มิถุนายน

หมายเลขบันทึก: 3424เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท