Balanced Scorecard and key performance indicator


BSC เป็นเครื่องมืองทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการวัดหรือประเมิน ที่จะช่วยให้องค์กรเกิดความสอดคล้อง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

                     จากการที่สำนักหอสมุด ประชุมระดมความคิดในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ โดยนำแนวทาง Balance Scorecard มาเป็นเครื่องมืองในการวางแผนกลยุทธ์ โดยเชิญ อ.ดนัย เทียนพุทธ มาเป็นวิทยากร

                  จากแนวคิดดังกล่าวพบว่า BSC เป็นเครื่องมืองทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการวัดหรือประเมิน ที่จะช่วยให้องค์กรเกิดความสอดคล้อง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ซึ่งแนวคิดดังกล่าว มาจากความคิดของ เคปแลนด์และนอตัน ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

                   ซึ่งกระบวนการที่สำคัญในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ขององค์กรให้เป็นผลสำเร็จ ก็คือวิสัยทัศน์และ แผนที่กลยุทธ์ขององค์กร ดังนั้นสิ่งแรกที่เราชาวห้องสมุดทบทวนและดำเนินการกันก็คือ การวางวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด ซึ่ง อ.ดนัน ที่มีมุมมองทางด้านธุรกิจได้ช่วยชี้ให้เห็นความสำคัญของคำพูดสั้นๆ ของวิสัยทัศน์ว่ามีความสำคัญมาก เพราะถ้าวิสัยทัศน์ไม่ชัดเจน และไม่สามารถชีวัดได้ (KPI) ก็จะทำให้ระดับปฏิบัติไม่สามารถนำไปสู่การจัดทำแผนที่กลยุทธ์ และโครงการได้อย่างชัดเจน

                  ซึ่งจากความคิดดังกล่าวสำนักหอสมุด ได้วางกรอบแนวคิดขององค์ ในวิสัยทัศน์ไว้ว่า

                สำนักหอสมุด

    1. เป็นศูนย์บริการทรัพยาการสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
    2. สนับสนุนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย
    3. สนับสนุนการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
    4. โดยจะเป็นสำนักหอสมุดชั้นนำ 1 ใน 5 ของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคในปี พ.ศ.2552

        และจากกรอบความคิดในวิสัยทัศน์ 3 ประการเราก็ได้มาแตกเป็นแผนที่กลยุทธ์ 7 ข้อด้วยกันคือ

    1. พัฒนาโครงสร้างการบริหารและดำเนินงานสำนักหอสมุด
    2. เป็นศูนย์รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ รวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถ่นในภาคเหนือตอนล่าง
    3. ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่นิสิต บุคลากร อาจารย์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
    4. สนับสนุนให้นิสิตบุคลากรของมหาวิทยาลัย ใฝ่รู้ใฝ่เรียน และสามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
    5. พัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญ และภาวะผู้นำในวิชาชีพ
    6. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
    7. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนาธรรม

           ซึ่งแนวทางของแผนที่กลยุทธ์ ก็คือพันธกิจ หรือภารกิจหลักของห้องสมุดนั่นเอง

           จากภารกิจหลักทั้ง 7  เราก็มีการประชุมฝ่ายงานต่างๆ ทั้ง 5 ฝ่ายของสำนักหอสมุด เราก็ได้นำกรอบความคิดของวิสัยทัศน์ และ แผนกลยุทธ์มาวางแผนเป็นโครงการ และแผนปฏิบัติการประจำปีของสำนักหอสมุด โดยแผนต่างๆ ของทุกฝ่าย เรามีแนวคิดว่าไม่จำเป็นที่แผนของแต่ละฝ่ายงานจะต้องเป็นแผนที่ปฏิบัติเฉพาะของฝ่ายนั้นเท่านั้น แต่แต่ละฝ่ายสามารถร่วมมือและวางแผนร่วมกันกับฝ่ายอื่นๆ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร โดยใช้ วิสัยทัศน์ขององค์กรเป็นตัวชี้วัด ว่าแต่ละแผน หรือโครงการทำให้สำนักหอสมุดสามารถบรรลุวิสัยทัศน์หรือไม่เพียงใด

คำสำคัญ (Tags): #scorecard#balanced#key#performance#indicator
หมายเลขบันทึก: 34192เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 07:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
           ขอบคุณที่คอย ๆ ลำดับความให้สามารถเข้าใจง่ายเพราะทราบเรื่องนี้มานานแต่ยังไม่มีเวลาศึกษาได้อ่านแล้วเข้าใจดีทำให้สามารถนำมาปรับกับการทำงานของตัวเองได้

เป็นบทความที่ให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่หน้าใหม่ได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาองค์กร  ขอบคุณนะคะ..

เป็นบทความที่ให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่หน้าใหม่ได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาองค์กร  ขอบคุณนะคะ..

  • ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นที่ดีๆ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท