ระบบสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา


ปัจจุบันการบริหารในวงการต่าง ๆ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กันมากขึ้นโดยเฉพาะในการบริหารธุรกิจ   ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงต่างก็พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารเพื่ออำนวย            ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้า  ทำให้ลูกค้าพึงพอใจให้มากที่สุดเป็นการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการในธุรกิจของตน  และเป็นที่น่ายินดีที่วงการศึกษาทั้งในระดับชาติและระดับสถาบันการศึกษา            ก็มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในสถานศึกษามากขึ้น  โดยเฉพาะในยุคของการปฏิรูปการศึกษาโดยมุ่งหวังให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จ  ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

      ระบบสารสนเทศ (information)  หมายถึง  กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และการจัดเก็บรักษาอย่างมีระบบเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้  และในการจัดทำระบบสารสนเทศนั้น  (กรมวิชาการ 2545:9)  การจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในสถานศึกษามีความจำเป็นและเป็นประโยชน์มากสำหรับบุคลากรทุกคนในองค์การ  ทำให้มีข้อมูลประกอบการพัฒนางาน  สร้างทางเลือกใหม่ ๆ ในการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารทั้งในระดับสูงและระดับรองลงมา  มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศประกอบการตัดสินใจวางแผนดำเนินการต่าง ๆ

      สุริยะพร  ฮ่องช่วน, (2550:1)  กล่าวไว้ว่า  สารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีดังนี้

      1.  ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  ประกอบด้วย  ข้อมูลและสารสนเทศ           ที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา  สภาพเศรษฐกิจ   การเมือง  สังคม  ความต้องการของชุมชน  สภาพการบริหารจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ  เช่น ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา  เป็นต้น

      2.  ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน  เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด  สารสนเทศส่วนนี้เกิดจากผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่  เช่น  ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน  ผลงานของผู้เรียน  เป็นต้น

      3.  ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ  เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผล  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เช่น  การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและการเรียนการสอน  บรรยากาศการเรียนการสอน  เป็นต้น

     4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  สารสนเทศประเภทนี้ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัย  จึงจะมีความหมายต่อการจัดการและ การบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  เช่น  งานธุรการ  งานการเงิน  งานบุคลากร  งานพัฒนา                  แหล่งการเรียนรู้  เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 341893เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท