แบบทดสอบ 3 ข้อ


ระบบสารสนเทศกับการพัฒนาสถานศึกษา

 

ข้อที่ 1  ระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

              สถานศึกษา มีการจัดการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย เหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นรายวัน โดยบันทึก ข้อมูลลงแบบฟอร์มต่าง ๆ และเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม ในแต่ละเดือนหรือแต่ละภาคการศึกษาจะมีการสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศ เพื่อสร้างรายงาน เช่น รายงานผลการเรียนของนักเรียนในสมุดรายงานผลการเรียน การดำเนินการเช่นนี้จัดทำอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนการดำเนินการ การดำเนินงานสารสนเทศจึงเป็นระบบที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศ การจัดทำระบบสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะช่วยในการตัดสินใจ หรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

               สารสนเทศที่สถานศึกษาทำประจำ เป็นสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการสม่ำเสมอ เช่น การทำรายงานสรุป จำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียน ในแต่ละวัน ทำรายงานเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน การทำรายงานเกี่ยวกับผู้มาติดต่อ หรือตรวจเยี่ยมโรงเรียนในแต่ละเดือน

                  ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ

ข้อที่ 2 บทบาทของเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อการจัดการศึกษา 
            เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้

             เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพราะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้

              เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

              การจัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ เช่น สื่อมวลชนทุกแขนง เครื่องคอมพิวเตอร์ ทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และหน่วยงานต่าง ๆ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง

              การจัดการศึกษายุคของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ใหม่ และเปลี่ยนแปลงความต้องการในการศึกษาในอนาคต สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศแบบใหม่เข้ามาแทนที่สื่อแบบเก่า แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาแบบใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นปรับปรุงโครงสร้างทั้งระบบใหม่โดยเฉพาะการบริหารการบริการการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา ซึ่งจากเดิมสถาบันการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบมาเป็นสังคมและชุมชนร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น

 

ข้อที่ 3 รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา 

         การปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ โดยการ   เปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมของผู้บริหาร ครู และบุคลากรให้เป็นผู้ยึดแนวการทำงานที่เปิดรับ และพร้อมจะสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ พร้อมเป็นผู้แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน  มีสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีมุมมองผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาในเชิงบวก ผู้บริหารต้องกล้านำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ ร่วมกัน หาทางออกหากขัดต่อระเบียบข้อบังคับ และสร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และให้โอกาสทีมงานด้วยความสมัครใจ

              กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้  เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ถ้าเป็นการจัดการความรู้ประเภทชัดแจ้ง มักจะใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ประเภทฝังลึก มักจะเป็นกระบวนการที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปัน เผยแพร่ความรู้ กิจกรรมนี้ นำการจัดการที่เป็นระบบแล้วเผยแพร่แก่นักปฏิบัติที่มีความต้องการจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Use) เป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีการจัดการความรู้แล้วไม่นำไปใช้ประโยชน์ก็ไม่บังเกิดผลใด ๆ ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการจัดการความรู้นำความรู้ที่ได้มา และผ่านการนำไปใช้แล้วว่าเกิดประโยชน์จริง มาเก็บไว้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ไว้เป็นแหล่งความรู้ (Knowledge Assets) เพื่อให้เกิดพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                ตัวอย่าง การจัดการความรู้ในสถานศึกษา  มีวิสัยทัศน์ มุ่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ประสานชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ  มีความรู้คู่คุณธรรม  สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  และพัฒนาวิชาชีพให้นักเรียนสามารถประกอบสัมมาชีพได้  เป็นคนคุณภาพของสังคมและประเทศชาติการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาวิชาชีพครู มุ่งให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา  ได้แก่                             

                การส่งเสริมให้ครู   ได้แสดงความรู้ ความสามารถให้มากยิ่งขึ้น โดยการจัดทำศูนย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหาร ครูต้นแบบ ครูดีในดวงใจ ครูดีเขตพื้นที่   จัดให้ครูทุกคนได้มีโอกาส  เข้ารับการอบรม  ประชุมสัมมนา  ศึกษาดูงานในเรื่องที่สนใจ เผยแพร่  ผลงานของผู้บริหาร  ครู นักการ  ลูกจ้าง  ในเอกสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน    กระตุ้นให้ครู ผู้บริหารร่วมกันคิดและสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้ทีประสบผลสำเร็จในการคิดปรับปรุง หรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอน  ส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดความร่วมมือกันทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย     ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย ระหว่างบุคคลและเครือข่ายระหว่างหน่วยงานกับสถานศึกษา   ดังนั้นในการจัดการความรู้ของโรงเรียน จึงกำหนด   “เป้าหมายในการจัดการความรู้”  เพื่อให้วิสัยทัศน์ บรรลุผล โดยเลือกกำหนดให้สอนคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ในแผน    

 

หมายเลขบันทึก: 341669เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2010 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท