เพลี้ยแป้งอยากเลี้ยงก็เลี้ยงยาก


เลี้ยงเพลี้ยแป้ง มันที่โคราช ลพบุรี

อยู่ที่ทำงานเลี้ยงเพลี้ยแป้งอยู่ 2-3 รุ่นแล้ว สังเกตพฤติกรรมจะเลี้ยงอย่างไรให้อ้วน ที่ต้องเลื้ยงเพราะเลี้ยงไว้เป็นอาหารให้แตนเบียน อยากได้ประชากรเป็นตัวเมียมาก ๆ ก็ต้องเลี่ยงด้วยเพลี้ยตัวใหญ่ ๆ อ้วน ๆ ถ้าตัวเล็ก ๆ แตนเบียนก็จะเป็นตัวผู้มาก ต้องทำให้ตันมันเป็นอย่าไรกันแน่ ถ้างานไปก้ไม่เป็นที่โปรดของเพลี้ย สังเกตได้จากธรรมชาติต้นที่อ่อนแอจะถูกทำลายก่อน ก็ต้องเลี้ยงให้มันแกรน ๆไว้ กะว่าปลูกรอบต่อไปจะทดลองดูว่าตามสภาพคาดหวังนี้เป็นจริงหรือไม่

เดินทางอีกครั้งปลายกุมภาพันธ์ 25-26 กพ. 53 ที่โคราบ แถบอ. สีคิ้ว มีการระบาดของเพลี้ยแป้งรุนแรง เริ่มตั้งแต่ต้นเล็ก ๆ เกษตรกรเน้นการฉีดยาหลังที่มีการทำลาย ทั้ง ๆ ที่ควรให้มีการแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีฆ่าเมลงก่อนนำไปปลูก ได้มีโอกาสพบเกษตรกรซึ่งกำลังเก็บเกี่ยวมันพอดี เขาบอกว่าผลผลิตหายไปมากจากที่เคนได้ 3-4 ตัน ลดลงเหลือ 1.5 ตัน/ไร่  ในใจก็นึกถึงแตนเบียนรุนแรงที่มาปล่อยในสีคิ้ว น่าจะมาการกระจายมาถึงแปลงเกษตรกรทันฤดูปลูกที่จะถึงนี้ เนื่องจากจะไปที่ศูนย์ฯสีคิ้วพอดี ไม่ได้ต้องใจไปสำรวจเพลี้ยแป้งโดยตรง แล้วเดินทางต่อไปติตั้งเครื่องตรวจอากาศอัตโนมัติที่ศวร. เพชรบูรณ์ ระหว่างทางกลับก็พบแปลงที่มีการทำลายรุนแรง แต่อุปสรรคสำคัญคือการจ้างแรงงานปลูกที่ทำให้เกษตรกรไม่ค่อยยอมรับการแช่ท่อนพันธุ์ แต่ต้องขอย้ำว่าถ้าเกษตรกรไม่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีฆ่าเมลงก่อนนำไปปลูก จะไม่รอดพ้นจากการทำลายของเพลี้ยแป้งได้ แต่การตรวจแปลงยังจำเป็น สารเคมีถ้าใช้ซ้ำ ๆ กันก็โอกาสดื้อยาได้ การใช้แตนเบียนสามารถควบคุมได้แต่เกษตรกรต้องช่วยในเรื่องที่ช่วงการปล่อยต้องไม่ใช้สารเคมีฆ่าแมลง

หมายเลขบันทึก: 341214เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2010 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เลี้ยงเพลี้ยแป้งจะว่ายากก็ยากนะ แต่พอเริ่มได้มั่งแล้วมันขยายเร็วมาก

จริงๆแล้วน่าจะอยู่ที่ความเอาใจใส่นะคะ โชคดีที่ สวพ.4 มีนักวิชาการที่เคยเลี้ยงแตนเบียนหนอนกออ้อยมาก่อน

และยังเป็นคนที่เอาใจใส่ต่องานมาก อยู่กับกรงเลี้ยงทั้งวันจนสามารถชักนำให้เรามองเห็นเพลี้ยแป้งสีชมพูสวยงาม น่ารักได้

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ก่อนเข้าทำงานทุกวันต้องไปชมเพลี้ยแป้งว่ามันอ้วนขึ้นไหมทุกวัน

กลายเป็นสนุกกับการที่เห็นมันโต งานทุกอย่างถ้ามีเวลาให้มันมันก็สนุกได้ทั้งนั้น

ก้าวต่อไปเราก็เริ่มคิดว่าทำอย่างไรจะสามารถเลี้ยงเพลี้ยแป้งในฟักทองเพราะเรายังไม่เคยลอง

เผื่อแตนเบียนจะได้เพลี้ยแป้งอ้วนๆ น่าหม่ำ

ที่สวพ.4 เริ่มเลี้ยงเพลี้ยแป้งในฟักทองแล้ว ดูท่าน่าจะขยายได้เร็วขึ้น

เราปล่อยแตนเบียนเพื่อขยายจำนวนในกรงไป 400 คู่

กำลังรอดูผลผลิตอย่างใจจดจ่อ

ในไม่นาน อุบลราชธานีหรือจังหวัดใกล้เคียงก็มีแหล่งให้เกษตรกรมาขอแตนเบียนไปปล่อยในแปลงของตนได้ วันก่อนไประยองยังพบเพลี้ยสีชมพูอยู่เลย อยากให้เกษตรกรงดการใช้สารเคมีฉีดพ่น การเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งในระยะหลัง 6 เดือนหรือใกล้เก็ยเกี่ยวผลผลิตจะลดลองไม่มาก หากปล่อยไว้ ศัตรูธรรมชาติจะช่วยควบคุมและคืนความสมดุลอีกครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท