ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาการศึกษา


ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาการศึกษา

ภูมิปัญญากับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

................................................

                                         เสนอโดย......... นางมาลา  แก้วแสงใส

                                                                   เลขประจำตัว  52718101019        

1. ภูมิปัญญาหมายความว่าอย่างไร ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะอย่างไร ภูมิปัญญามีคุณค่าและ   

     ความสำคัญต่อการศึกษาของไทยอย่างไร

            ภูมิปัญญา(wisdom) หมายความว่า สติปัญญา ความรู้ความสามารถ อันเกิดจากประสบการณ์ของตนเองโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งได้จากอดีตที่สั่งสอนไว้ด้วยความสามารถของตนเอง ที่ตนเองสามารถรับไว้ได้

            ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาไทย  จากเอกลักษณะที่สำคัญของภูมิปัญญาไทย มีลักษณะที่เด่นชัด เหมาะกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศแบบสังคมไทย ซึ่งที่สำคัญมีดังนี้

  1. มีเอกลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น รำไทย การแต่งกายพื้นบ้านแบบไทย ลวดลาย

แบบไทย ศิลปะมวยไทย

  1. มีลักษณะการแก้ปัญหาหรือการเรียนรู้เพื่อดำรงชีวิต เช่น การสร้างเครื่องมือต่างๆ เกี่ยวกับ

การจับสัตว์น้ำ แหลันดักปลาไหล เครื่องมือจับสัตว์ป่า การสร้างบ้านไทยใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันสัตว์ร้าย

และน้ำท่วม การทำรหัดวิดน้ำ

  1. มีลักษณะของความเชื่อเพื่อให้เกิดสิริมงคล เช่น การทำดีได้ดี ชาวนากับความเชื่อเรื่อง

แม่โพสพ พรานเชื่อเรื่องผีป่า ศิลปินและนักมวยที่มีความเชื่อว่าก่อนทำการแสดงต้องทำพิธีไหว้ครู

  1. มีลักษณะที่มีความเชื่อความสัมพันธ์เหนือธรรมชาติ เช่นการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์

การปัดรังควาน การขึ้นศาลพระภูมิเจ้าที่ ฤกษ์ยามต่าง  การรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยวิถีทางไสยศาสตร์

เวทมนต์คาถา ความเชื่อเรื่องโชคลางต่าง ๆ

ความสำคัญและคุณค่าของภูมิปัญญาไทย 

ภูมิปัญญาไทยเป็นสติปัญญาหรือความรอบรู้ ที่คนไทยสั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนานด้วยการ

เชื่อมโยงและบูรณาการวิทยาการด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน ใช้ในการแก้ปัญหา การดำรงชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คลอดจนเพื่อความบันเทิงและสุนทรียภาพ เป็นเอกลักษณะประจำชาติไทย สืบทอดประเพณีไทยและวัฒนธรรมต่าง ๆ  บางอย่างถือเป็นมรดกโลกไปแล้ว  บ่งบอกถึงศักดิ์ศรีและแกลักษณ์ประจำชาติ คนไทยทุกคนควรภูมิใจในความเป็นไทย และควรดำรงไว้ซึ่งคุณค่าที่ควรหวงแหน ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้

                1. สร้างชื่อเสียง เกียรติยศและศักดิ์ศรีให้แก่ชาติไทย ผลงานที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยเป็นศักดิ์ศรีแห่งความเป็นไทย เช่น ผ้าไหมไทย มวยไทย ศิลปะไทย ด้านประติมากรรม จิตกรรม สถาปัตยกรรม   ศิลปะคนตรีไทย รำไทย การแสดงละครไทย และนอกจากนี้ยังมีอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณะไทย เช่น แกงส้ม แกงเขียวหวาน  ส้มตำไทย ขนมไทย

             2. สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  ผลงานหลายๆสิ่งหลายอย่างเช่น เครื่องเรือหางยาว เครื่องไถนา พืชสมุนไพร  เป็นต้น

            3.  ช่วยสร้างประเทศชาติให้มั่นคง จากภูมิปัญญาไทยในอดีตที่สามารถใช้เป็นกลอุบายกลยุทธิ์ในการทำสงครามกับชาติต่างๆ  โดยใช้อาวุธ และกลวิธีอุบายต่างๆ จนรบกับข้าศึกได้รับชัยชนะ เช่นศึกเมืองถลาง ศึกบางระจัน วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์

            4.  ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ โดยอาศัยฝีมือภูมิปัญญาไทย เช่น ผ้าไหมไทย ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ศิลปะการแสดงประจำชาติ เช่นมโนราห์ หนังตะลุง รำไทย และประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มรายได้ให้กับประชาชาติ เช่น  ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ แห่เทียนพรรษา ชักพระ แห่บุญบ้องไฟ

 

2.  ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมายความว่าอย่างไร จำแนกเป็นกี่สาขา  สถานศึกษาจะมี  

     แนวทางในการถ่ายทอดหรือส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างไร

                2.1 ภูมิปัญญาท้องถิ่น(Local  wisdom) หมายความว่า  ผลงานอันเกิดจากภูมิปัญญาของตนในท้องถิ่นที่ดำเนินงาน ซึ่งอาจเป็นในลักษณะกลุ่มตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป เช่นกลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มทอผ้า กลุ่มหมอนไหม กลุ่มจักสาน เป็นต้น

             2.2 สาขาของภูมิปัญญาท้องถิ่น  แบ่งเป็น 10 สาขา(กุศล  อสดุล,2547)  ได้แก่

                       2.2.1  สาขาเกษตรกรรม หมายถึงความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะ

และเทนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม เช่น เกษตรกรรมแบบผสมผสาน วนเกษตร ไร่นาสวนผสม การใช้ปุ๋ยชีวภาพ การป้องกันโรคและแมลงโดยไม่ใช้สารเคมี

      2.2.2  สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม  หมายถึง  การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิต  เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด  เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย  ประหยัด และเป็นธรรม  อันเป็นกระบวนการใช้ชุมชนท้องถิ่น  สามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้  เช่น  การทอผ้า  แกะสลักไม้  ทำเครื่องปั้นดินเผา  เจียระไนเพชรพลอย

2.2.3  สาขาการแพทย์ไทย  หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน  โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้  เช่น  การนวดแผนโบราณ  การรักษาโรคด้วยสมุนไพร

2.2.4  สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทั้งการอนุรักษ์  พัฒนาและใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การอนุรักษ์ป่าชายเลน   การทำแนวปะการังเทียม   การปลูกป่าชุมชน

2.2.5  สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน  หมายถึง  ความสามารถในด้านบริหารจัดการด้านการสะสมและบริหารกองทุนและธุรกิจในชุมชน  ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์  เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน  เช่น ธนาคารโคกระบือ  กองทุนหมู่บ้านการจัดกองทุนชุมชนในรูปของกลุ่มหรือสหกรณ์ต่าง ๆ

2.2.6  สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุรภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  เช่น  สำนักสงฆ์ที่รับรักษาโรคเอดส์  หรือหมู่บ้านประชาสงเคราะห์

2.2.7  สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  วรรณกรรม  ทัศนศิลป์  ดนตรีไทย  ศิลปะมวยไทย  เป็นต้น

2.2.8  สาขาการจัดองค์กร  หมายถึง  ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินการด้านต่าง ๆ ทั้งขององค์กร  ชุมชน  องค์กรศาสนา  องค์กรการศึกษา ตลอดทั้งองค์กรทางสังคมอื่น ๆ  เช่น  องค์กรครูและบุคลากรทางการศึกษา  องค์กรของกลุ่มสตรี  แม่บ้าน  กลุ่มประมง  กลุ่มออมทรัพย์  องค์กรที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเรียนรู้นับว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ   เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ที่ดี หมายถึง กระบวนการเรียนรู้พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล

 2.2.9  สาขาภาษาและวัฒนธรรม  หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา  ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท  เช่น  ภาษาท้องถิ่น  สารานุกรมภาษาถิ่น

2.2.10 สาขาศาสนาและประเพณี  หมายถึง ความสามารถในการประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนของสาสนา  ความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีในการดำรงชีวิต  เช่น  พิธีตั้งขวัญข้าว งานลอยกระทง  งานบุญบั้งไฟ  งานแห่เทียนพรรษา  ฯลฯ

2.3 สถานศึกษาจะมีแนวทางในการถ่ายทอดหรือส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างไร

                โรงเรียนบ้านหน่อมฟ้าเลื่อมวิทยา เป็นโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2544 และยึดหลักการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552  และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เป็นการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน มีสาระการเรียนรู้ 8  สาระและ 1 กิจกรรม ส่วนของความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นได้จัดไว้ในสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระต่างๆ ได้หลายวิธี จึงเป็นที่มาของแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียนรู้สภาพเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่น ตลอดจนแก้ปัญหาพัฒนาตนเอง ครอบครัวและสังคม

                ฉะนั้นโรงเรียนบ้านหน่อมฟ้าเลื่อมวิทยาจึงมีแนวคิดที่จะนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน ซึ่งวิธีการถ่ายทอดมีแนวคิดหลายวิธี  ได้แก่

  1. วิธีการสาธิต  โดยการเชิญวิทยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้ ด้วยวิธีการสาธิต

ให้นักเรียนดู  หรือพานักเรียนไปเรียนรู้ในแหล่งที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามสาระที่นักเรียนต้องการเรียนรู้ เช่น การทำข้าวหลามสมุนไพร  การทำน้ำพริกเผากุ้งก้ามกราม  การทอเสื่อกกลายขิด การทำกระเป๋า

ลายขิดจากเสื่อกก การทอผ้าไหมลายสาเกตนคร

  1. การพาไปฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ ด้วยวิธีการจัดกลุ่มสนใจในสาขาวิชาการต่างๆ

พานักเรียนไปฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ซึ่งวิธีการนำไปสู่การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

  1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการ

-          ศึกษาสภาพปัจจุบันว่าในแหล่งชุมชนต่างๆ ที่อยู่รอบโรงเรียนนั้น มีแหล่งเรียนรู้

ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาไทยที่ใดบ้าง เรื่องอะไรบ้าง เพื่อนำมาจัดเป็นหมวดหมู่และบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระใดบ้าง

-          ศึกษาตวามต้องการว่าในกลุ่มสาระต่างๆ ครูมีความต้องการให้นักเรียนเรียนรู้สิ่งใด

ที่นอกเหนือจากหลักสูตร ซึ่งมีความสัมพันธ์และเกี่ยวโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆ

-          ศึกษาความต้องการของนักเรียนว่าต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งใดเป็นพิเศษ ได้ประโยชน์

อะไรบ้าง

-          ศึกษาให้รู้ว่าชุมชนมีความคาดหวังให้บุตรหลานได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งใดอยากให้

มีประสบการณ์ใดเป็นพิเศษ

  1. วางแผนและกำหนดทางเลือก

วางแผนในการจัดทำแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับกลุ่มสาระต่างๆ

-          การให้นักเรียนได้เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านั้น ว่าใช้วิธีการสาธิตหรือ

ฝึกปฏิบัติ ฝึกอบรม

-          การกำหนดการเดินทางไปเรียนรู้หรือจะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้   

-          กำหนดขอบเขตว่าจะให้นักเรียนได้เรียนรู้แค่ไหน  อย่างไร

-          กำหนดงบประมาณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

  1. ดำเนินการตามแผน

เมื่อได้กำหนดกรอบงาน ภารกิจงานระยะเวลา  งบประมาณแล้วก็ดำเนินการตามวิธีการ

ที่วางแผนไว้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามวิธีการเหล่านั้น

4.  การติดตามผลและประเมินผล

หลังจากดำเนินการเสร็จแล้วมีการประเมินผลในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย

4.1    ด้านงบประมาณ ว่าเพียงพอหรือไม่ คุ้มทุน คุ้มค่า คุ้มเวลาหรือไม่ อย่างไร

4.2    ด้านสาระการเรียนรู้ ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนได้รับความรู้

มากน้อยแค่ไหน ควรดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่อย่างไร ตรงกับความต้องการของ นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียนหรือๆไม่

 

หมายเลขบันทึก: 340980เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2010 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นางสาวน้ำฝน ลี้กุล

สุดยอดจริงๆค่ะ

ขอบใจจ้า คนเก่งของครู

คิดถึงอ.จ.มาลาจังเลยค่ะ น.ส.พรปวีณ์  สุขสวัสดิ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท