การพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการ


การเปลี่ยนแปลง หากหมายถึงการพัฒนา หรือความก้าวหน้าเป็นเรื่องที่ดีมากครับ  ปีนี้ ผมมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ลุกจ้างได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรทางวิชาชีพเหมือนบุคลากรสายหัวหน้าฝ่าย  ซึ่งกำลังผลักดัน  ถ้าไม่พลิกอะไรมาก ก็คงเกิดขึ้นได้ตามที่ใจคาดหวังไว้  ซึ่งตอนนี้ลูกจ้างก็ลุ้นๆ เหมือนกับผมนั่นแหละ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ...คุณแผ่นดิน...

ใช่แล้วค่ะ การเปลี่ยนแปลง ก็หมายถึง การพัฒนาหรือความก้าวหน้าในอาชีพของตน เนื่องจากแต่ก่อนรัฐไม่ค่อยให้ลูกจ้างประจำได้รับการพัฒนามากสักเท่าไร แต่ในยุคปัจจุบัน รัฐเล็งเห็นเรื่องการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหมั่นให้พวกเขาได้รับการพัฒนา เพื่อนำความรู้ ความสามารถที่เขามีอยู่มาพัฒนาหน่วยงานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งรัฐก็ควรดูแลเรื่องความก้าวหน้าในอาชีพของตนเองด้วย เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้คนที่อยู่ในหน่วยงานและหน่วยงานได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้นค่ะ...ตั้งแต่เรียนด้านการจัดการมา เพิ่งจะยุคนี้เองมังค่ะที่รัฐเห็นความสำคัญเรื่อง M ที่เกี่ยวกับ คนก็คราวนี้เองค่ะ...สมัยก่อนเห็นแต่ความสำคัญด้านเงิน งบประมาณ และการจัดการ ไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องคนสักเท่าไร...ขอบคุณค่ะ...และก็ยินดีกับลูกจ้างประจำทุกท่านด้วยค่ะ...และขอฝากลูกจ้างประจำด้วยนะค่ะ ควรได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพให้มากค่ะ สร้างความชำนาญในงานอาชีพให้มาก ๆ  เพราะจะเกี่ยวกับความก้าวหน้าในอาชีพของท่านเองค่ะ...

สวัสดีค่ะ พี่บุษยมาศ วันหยุดยาวไม่ไปไหนรึค่ะ..สบายดีปล่าวค่ะ..

 

สวัสดีค่ะ...ครูบันเทิง...

เสาร์ + อาทิตย์ ไม่ได้หยุดค่ะ ทำงานที่ ม. อยู่ค่ะ คงได้หยุดวันที่ 1 มีค. วันเดียวค่ะ เก็บตังค์ไว้ให้ลูกค่ะ...สบายดีค่ะ...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ...ท่านสบายดีนะค่ะ...

 

กราบเรียนท่าน ผอ. น่าจะเปลี่ยนคำว่า "ลูกจ้าง"นิ ฟังแล้ว บางที ไม่สบายใจ แต่หากเรา ดูแล takecare แบบ "ลูก" ก็ แล้วไปครับ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ jj...

ขอบคุณค่ะ...นั่นสิค่ะ...ทำไมถึงต้องใช้คำว่า "ลูกจ้าง" แต่คำ ๆ...นั้น หาสำคัญไม่...สำคัญอยู่ที่การให้เกียรติซึ่งกันและกัน การดูแล การรักษา การให้เขาได้รับการพัฒนา การเข้าใจความรู้สึกของเขา...มากกว่าค่ะ...

สวัสดีค่ะ

แวะมาเรียนรู้

ขอบคุณค่ะ^__^

สวัสดีค่ะ...น้องต้นเฟิร์น...

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...โลกใบนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้อีกมากมายค่ะ...

สวัสดีค่ะ...ครูจิ๋ว...

ขอบคุณค่ะ...สบายดีนะค่ะ...เช่นกันค่ะ...

จากการศึกษาทางเวปของ อ.บุษยมาศ แล้ว ผม.ใคร่ขอเรียนแจ้งและรับคำปรึกษาจากท่านว่างานที่ปฏิบัติจริงและตรวจสอบได้ ดังนี้

1.งานสารบรรณกลางของหน่วยงาน(รวมทั้ง E-OFFICE ระหว่างโรงเรียนกับ สพท.และศูนย์มัธยม

2.งานการเงิน .

3.งานภาษีเงินได้ของบุคลากรของหน่วยงาน .

4.งานระบบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง

5.งานประสานงานระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง .

6.งานการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำ .

7.งานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) จังหวัดตรัง ประจำปี ทุกปี

8.งานข้อมูลโครงการจ่ายตรง

9.งานการเจ้าหน้าที่ส่วนของบัญชีลงเวลา

10.งานวันลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

11.ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยงานเลขานุการกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในหน่วยงาน

12.งานเวรยามรักษาสถานที่ราชการ .

งานข้างต้นนี้ เป็นขอบข่ายงานของตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น3 หรือตำแหน่งอื่นใด ขอได้โปรดให้คำแนะนำ หากไม่เหมาะสมควรดำเนินการอย่างไรก่อนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2553

ด้วยความขอบพระคุณอย่างสูงยิ่ง

เรียน คุณบุษยมาศ ที่เคารพ

ณ ปัจจุบันนี้ ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 ขั้น 16150.-บาท ของ ม.ราชภัฏลำปาง (ลูกน้อง ผอ.ปรีชา) กลางปีแล้ว คุณบุษมาศ มาเป็นวิทยากร ที่ ม.ราชภัฏลำปาง อยากทราบในเรื่องการปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำ ตามระบบใหม่ ทราบว่า อยู่ในกลุ่มงานสนับสนุน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มาได้ร่วมสิบกว่าปีแล้ว อยากทราบว่า ถ้าปรับตำแหน่งใหม่ ถ้าไม่อยากดำรงตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ (รหัส 2113 ) แต่ถ้าไม่เอา สำนักงานอธิการบดี ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ จะเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ เป็นพนักงานธุรการ ชั้น 4 (รหัสใหม่ ตำแหน่งเลขที่ 2108 ) ได้หรือไม่ ชื่อพนักงานพิมพ์ ดูแล้วชื่อไม่ค่อยดี ไม่ค่อยเพราะเลย จะขอเรียนถามว่า สามารถเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง พนักงานธุรการ เลื่อนเป็นชั้น 4 ได้หรือไม่ (เพราะโครงสร้างเก่า เห็นบอกว่า จะปรับเป็นพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 4 ได้ตั้ง มีเงินเดือนสูงสุดของระดับ 3 เต็มขั้น(16,610)

เห็น ทาง กจ.ที่นี่ บอกว่า โครงสร้างใหม่ ต้องปรับใหม่หมด ให้แจ้ง กพ.ภายใน 18 มี.ค.53 นี้ กรุณาช่วยตอบด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง

จาก ....pachaporn keawprasert .......e-mail- [email protected] โทร 081-2892569.....5 มี.ค. 53

ตอบ...หมายเลข 11

สำหรับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 (ลูกจ้างประจำ) นั้น ขอให้สอบถามได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด หรือกรมบัญชีกลางโดยตรงนะค่ะ...ถ้าไม่สะดวก ผู้เขียนจะนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ฯ มาลงให้ในเวปนี้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ตอบ...คุณ pachaporn...

ณ 1 มีนาคม 2553 ไม่สามารถปรับระดับตำแหน่งลูกจ้างประจำได้แล้วค่ะ เนื่องจากมีหนังสือจากสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 แจ้งว่าให้ส่วนราชการหยุดดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการปรับระดับตำแหน่งลูกจ้างประจำ กรณีการปรับระดับชั้นของตำแหน่งลูกจ้างประจำจากชั้น 3 เป็นชั้น 4 ส่วนราชการต้องขอทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. ก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ค่ะ...คงต้องรอให้ปรับเข้ากลุ่มงานให้เรียบร้อยก่อนมังค่ะ...เพราะถ้าปรับเปลี่ยนตอนนี้คงไม่ได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

 

ระลึกถึงค่ะอาจารย์

สวัสดีค่ะ...ครูอี๊ด...

ขอบคุณค่ะ...ระลึกถึงเช่นกันค่ะ...

ผมเกิดความสงสัยอยู่ว่า สำนักงาน กพ.แจ้งหน่วยงานตาม น.ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว4 ลว.18 ก.พ.53 แจ้งว่า

ในวันที่ 1 - 30 มีนาคม 2553

- ส่วนราชการจัดทำข้อมูลการปรับตำแหน่ง ลูกจ้างประจำจากระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่ ตามตารางที่กำหนด รวมทั้งประสาน

กับสำนักงาน ก.พ. เพื่อตรวจสอบข้อมูล ตามบัญชีจัดตำแหน่งดังกล่าวและแก้ไข ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มีนาคม

2553 เพื่อให้ทันกำหนดใช้บังคับ ในวันที่ 1 เมษายน 2553

- กรณีมีปัญหา เช่น ชื่อตำแหน่งเดิมที่มีผู้ครองตำแหน่งอยู่ ไม่ปรากฎในรายการเปรียบเทียบชื่อตำแหน่งในระบบเดิมกับ

ระบบใหม่ หรือหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งไม่ครอบคลุมหน้าที่งานในตำแหน่งใดของส่วนราชการ ให้แจ้งสำนักงาน ก.พ.

ภายในวันที่ 18 มีนาคม 2553 เพื่อปรับปรุงก่อนออกเป็นหนังสือเวียน เรื่อง การจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำใหม่ต่อไป

แต่หนังสือที่อ้างถึงแจ้งให้ส่วนราชการหยุดดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการปรับระดับตำแหน่ง การเปลี่ยนตำแหน่งและการตัด

โอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำ เนื่องจากว่าตำแหน่งที่ผมปฏิบัติอยู่กับงานที่ได้รับมอบหมายดูแล้วจะมากเกินตำแหน่งลูกจ้างประจำ แล้วจะดำเนินการได้อย่างไร เพราะบอกว่าหากหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งไม่ครอบคลุมหน้าที่งานในตำแหน่งใดให้แจ้ง กพ.ภายใน 18 มีค.53 ด้วยความขอบพระคุณครับ

ก่อนอื่น ต้องขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะครับ ที่ได้กรุณาเข้ามาให้ข้อมูลและแจ้งกำหนดการดำเนินการเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ตามโครงสร้างตำแหน่งใหม่ ในเว็บบล็อค นี้ของผม

กำหนดการดำเนินการดังกล่าว ลูกจ้างฯได้ทราบกันบ้างแล้ว สำหรับทำเนียบตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกนำเสนอบนเว็บต่างๆ พวกเราเห็นแล้ว ก็รู้สึกผิดหวังไปตามๆกันเลยครับ การพัฒนาระบบตำแหน่งดังกล่าว พวกเราลงความเห็นว่า ไม่น่าจะพัฒนาอะไร มากนัก ไม่ได้ส่งเสริมให้ลูกจ้างได้ก้าวหน้าตามที่สมควรเลยครับ

สำหรับภาระงานต่างๆ ของลูกจ้างฯ คาดว่า ทาง กพ. คงสำรวจได้ครบถ้วน ครอบคลุมหมดแล้ว

ไม่ทราบท่านผู้กรุณามาลงกระทู้นี้ เป็นผู้บริหารคนหนึ่งใน กพ. หรือไม่ ผมขอฝากความคิดเห็นดังนี้ครับ

1. ควรเพิ่มระดับชั้นของแต่ละตำแหน่งให้มากขึ้น (3 – 5 ชั้น )

2. ควรให้มีช่องทางให้สามารถเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้สำหรับผู้ที่เหมาะสม (โดยใช้วุฒิการศึกษา +ประสบการณ์) โดยพิจารณาจากงานที่รับผิดชอบอยู่

3. กลุ่มลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเช่นเดียวกับข้าราชการ(รวมทั้งลูกจ้างสายครู ที่เป็นผู้สอนด้วย) สมควรแยกกลุ่มออกอีก 1 กลุ่ม และมีระบบส่งเสริมความก้าวหน้าให้เท่าเทียมกับข้าราชการ อาจทำเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล

ทราบดีครับว่า ข้อเสนอเหล่านี้ยังเป็นประเด็นใหม่ ผู้บริหารยังไม่ทราบปัญหา คงต้องใช้เวลาผลักดัน การกำหนดตำแหน่งล่าสุดของลูกจ้างฯพวกเรามีส่วนร่วมน้อยมาก กพ.ไม่เห็นภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติงานของเรามากนัก

บางหน่วยงาน หาก กพ . มาสำรวจภาระงาน โดยไม่เปิดเผยตำแหน่ง และกลุ่มการจ้างของผู้ปฏิบัติ ท่านจะแยกไม่ออกเลยว่า ใครเป็นข้าราชการ ใครเป็นลูกจ้าง ปัจจุบันลูกจ้างไม่ใช่มีเฉพาะ แรงงาน – ช่าง – เท่านั้นนะครับ ปัจจุบันใช้ความรู้ – ความ

สามารถ ในวิชาชีพต่างๆ โดยตรงเลย ก็มีอยู่มาก

ความรู้ของลูกจ้างฯปัจจุบัน ก็ไม่ใช่ ป.4 , ป.7, ม.3 เท่านั้นนะครับ มีทั้ง ปวช,ปวส,ปริญญญาตรี,ปริญญาโท และก็ได้ใช้ความรู้นั้นมาปฏิบัติงานด้วยแล้ว

ขณะนี้ลูกจ้างฯ มีความรู้สึกว่า กพ.ให้ความสำคัญกับพวกเราน้อยเกินไป ประเมินความรู้ ความสามารถและคุณค่าของพวกเราต่ำเกินไป

หากท่านได้มีโอกาส ขอให้ท่านนำเสนอในที่ประชุมต่างๆด้วยนะครับ และหากไม่ขัดข้องผมขอปรึกษาท่านในโอกาสต่อไปด้วยนะครับ

(หากไม่ขัดข้องขอ E-mail address ด้วยครับ ) ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

………………………………ม2ท / ม. มหิดล / กทม.

ตอบ...หมายเลข 11...

ผู้เขียนได้ศึกษาเอกสารที่ สำนักงาน ก.พ. แจกให้ในวันประชุม เกี่ยวกับชื่อตำแหน่งและหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งลูกจ้างประจำตามระบบใหม่ โดยแยกออกเป็นตำแหน่งและกลุ่มงานแล้วตามที่คุณได้สอบถามเกี่ยวกับหน้าที่ของลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 (เดิม) ถ้าปรับใหม่ ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน คือ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ รหัส 2113 ระดับ 3 มีหน้าที่ (โดยย่อ) ดังนี้ค่ะ...

1. ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะ ประสบการณ์และความชำนาญสูงในการพิมพ์หนังสือที่เป็นภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ พร้อมตรวจทานความถูกต้องของหนังสือ

2. ดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และ/หรือเครื่องใช้อย่างอื่นที่มีไว้เพื่อปฏิบัติงานและเกี่ยวกับพิมพ์ดีด เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องประมวลผลคำ เป็นต้น ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ในการพิมพ์

3. ควบคุมตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่พนักงานพิมพ์ดีดในระดับรองลงมา

4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

               จากที่คุณสอบถามมานั้น ตามหน้าที่ของตำแหน่งพนักงานพิมพ์ คุณจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 1 - 3 สำหรับหน้าที่ที่คุณแจ้งให้ทราบในกระทู้นั้น เป็นหน้าที่ในข้อ 4 ของหน้าที่(โดยย่อ) ค่ะ คือ เป็นหน้าที่ที่คุณต้องปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 17...

ตามที่คุณสอบถามเกี่ยวกับกรณีมีปัญหา เช่น ชื่อตำแหน่งเดิมที่มีผู้ครองตำแหน่งอยู่ ไม่ปรากฎในรายการเปรียบเทียบชื่อตำแหน่งในระบบเดิมกับ

ระบบใหม่ หรือหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งไม่ครอบคลุมหน้าที่งานในตำแหน่งใดของส่วนราชการ ให้แจ้งสำนักงาน ก.พ.

ภายในวันที่ 18 มีนาคม 2553 เพื่อปรับปรุงก่อนออกเป็นหนังสือเวียน เรื่อง การจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำใหม่ต่อไป นั้น

             ขอเรียนให้ทราบว่า ส่วนใหญ่จะเป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏได้มีการปรับเปลี่ยนให้กับลูกจ้างประจำ เมื่อช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมาว่า บางตำแหน่งทางมหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนแต่ไม่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำ จึงต้องทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏบางมหาวิทยาลัย ได้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำ เพราะไม่เช่นนั้นตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยนแรกจะมีตำแหน่งไม่ตรงกับตำแหน่งใหม่ที่สำนักงาน ก.พ. แจ้งให้ทราบค่ะ... สำหรับการปรับเปลี่ยนให้ตำแหน่งสูงขึ้นนั้น ก็เป็นไปตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ ค่ะ คือ ในวันที่ 1 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำได้ค่ะ...สำหรับท่านใดที่มีตำแหน่งเดิมที่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิม ก็ให้เทียบกับตำแหน่งใหม่ได้เลยค่ะ... สำหรับท่านใดที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ให้สูงขึ้นอีก ต้องรอให้ปรับเข้ากลุ่มงานให้เรียบร้อยก่อนค่ะ จึงจะทำต่อไปได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 18...

ตามที่คุณแจ้งมานั้น...ขอเรียนให้ทราบว่าตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำนั้น ก.พ. กำหนดหน้าที่การปฏิบัติงานและคุณวุฒิในการรับสมัครอย่างชัดเจน โดยกำหนดหน้าที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและกำหนดค่าจ้างรายเดือน + ค่าสวัสดิการอื่น ๆ แล้ว เพื่อให้ลูกจ้างประจำได้ปฏิบัติตามกรอบหน้าที่ที่ ก.พ. กำหนด สำหรับหน้าที่อื่นที่คุณได้ปฏิบัตินอกเหนือจากการที่ ก.พ.กำหนด ถือว่าเป็นความสามารถ ทักษะ เฉพาะตัวของลูกจ้าง นั้น ๆ แต่ ก.พ. ยังไม่ได้เพิ่มค่าตอบแทนหรือความก้าวหน้าในส่วนที่ลูกจ้างประจำคนนั้นมีความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติ เนื่องจากเป็นผลที่รัฐต้องรับภาระในด้านงบประมาณในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นผลงานที่เกิดนอกกรอบหน้าที่ที่ ก.พ.กำหนด (ถ้ามองถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ลูกจ้างประจำได้ปฏิบัติ ถือว่าเป็นผลดี ประโยชน์ต่อสังคม และทางราชการเป็นอย่างมาก) สำหรับผลในเรื่องค่าตอบแทนในส่วนนี้ รัฐยังดูแลไม่ทั่วถึง...แต่ถ้าผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับ ก.พ. จะนำเรื่องนี้ แจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบเพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับลูกจ้างประจำต่อไป...ขอบคุณค่ะ...

ศูนย์ประสานงานลูกจ้างส่วนราชการศรีสะเกา

เรียนเชิญลูกจ้างประจำส่วนราชการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หรือผู้สนใจ) เข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่ ในวันที่ 20 มีนาคม 2553 ณ โรงแรมปทุมรัตน์ จังหวัดอุบลราชธานี ค่าลงทะเบียน 500 บาท (ให้เบิกต้นสังกัดได้) แล้วท่านจะได้รับรู้ทุกเรื่องที่อยากรู้ และถามทุกเรื่องที่อยากถาม โดยวิทยากรจาก สพฐ จะไปให้ความรู้กับท่าน โดยลงทะเบียนกับประธานศูนย์แต่ละเขตพื้นที่ของจังหวัด หรือติดต่อที่ 0862523894 (บุญเลี้ยง สว่างภพ เลขาฯ ศูนย์ภาคฯ) 0884662144 (ผู้ช่วยเลขาฯ) หรือ [email protected]

ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะครับ ที่ได้กรุณาได้เสียสละเวลา เข้ามาทำความเข้าใจกัน

ประเด็นที่ท่านได้ยกมา ก็ทราบดีครับ ว่า กพ.ได้ดำเนินตามมาตรฐานที่กำหนด ผมไม่ได้โต้แย้งเรื่องนี้

ผมเองก็ได้พยายามทำความเข้าใจเพื่อนๆกับลูกจ้างในทุกๆเว็บที่มีโอกาสเข้าไป ให้ลูกจ้างมีความเข้าใจถึงที่มา - ที่ไปของลูกจ้างประจำ ว่ามันมีที่มา - ที่ไปและจุดมุ่งหมายที่ต่างกับข้าราชการตั้งแต่ต้น

ในอดีต งานการบริหารบุคคลภาครัฐ ไม่ได้นำหลักหลักธรรมาภิบาลมาประกอบการบริหาร จึงมองผ่านเรื่องความเป็นธรรมของลูกจ้างไป รวมทั้งพันธกิจด้านต่างๆของภาครัฐ ก็ยังไม่ได้มีขอบเขตกว้างขวางขึ้นเช่นปัจจุบัน

ในอดีตลูกจ้างทำงานตรงตามหลักการจ้างจริง แต่ปัจจุบัมันไม่ใช่แล้ว บริบทต่างๆเปลี่ยนไปมากแล้ว

พวกเราลูกจ้างส่วนมาก ไม่ได้มุ่งหวังหรือเรียกร้องที่จะขอเป็นข้าราชการ หรือมีสิทธิเทียบเท่าข้าราชการทุกประการ

แต่เราขอให้ได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ยุติธรรม มีความก้าวหน้าตามความรู้ ความสามารถ เท่านั้น

หาก กพ.ยังยึดแนวคิดในกรอบเดิม อิงข้อกำหนดเดิม ก็เป็นที่น่าเสียใจ

ถูกต้องแล้วครับ การที่ลูกจ้างมีความสามารถสูงกว่าภาระหน้าที่ นับเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคม และพวกเราก็ยังยินดีที่จะเสียสละต่อไป

แต่รัฐควรให้ประโยชน์กับลูกจ้างกลุ่มนี้บ้าง การใช้งานเกินความรู้ - ความสามารถของตำแหน่งและเงินเดือน กฏหมายแรงงานยังไม่ยินยอมให้นายจ้างทำได้เลย รัฐก็ควรให้ความเป็นธรรมกับพวกเราบ้าง

ท่านมีโอกาส ผมขอความกรุณา เสนอให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้พิจารณากลุ่มลูกจ้าง ที่มีความรู้ - ความสามารถ กลุ่มปฏิบัติงานเช่นเดียวกับครูผู้สอน, กลุ่มที่ปฏิบัติงานเช่นเดียวกับข้าราชการ ได้รับค่าตอบแทนและความก้าวหน้าที่เป็นธรรม

ส่วนกลุ่มแรงงาน - กึ่งฝีมือ - ฝีมือ ในอนาคตก็ควรขยับขยายให้ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิมบ้าง

พวกเรายินดีเข้าสู่ระบบการประเมิน ตามมาตรฐาน อย่างเป็นธรรม หากเกรงว่าตำแหน่งของพวกเราจะไปทับซ้อนกับข้าราชการและพนักงานข้าราชการ ก็ขอให้เป็นความก้าวหน้าเฉพาะตัว ขอให้พิจารณาเป็นรายบุคคลไป ไม่ให้ต้องติดกับตำแหน่ง

ผมมั่นใจว่า ถ้าท่านได้ทราบถึง ภาระงานที่ลูกจ้างบางส่วนรับผิดชอบอยู่ และได้ทราบถึงความรู้- ความสามารถของลูกจ้างประจำบางส่วน ท่านคงเห็นใจ-เข้าใจ-พากภูมิใจแทนพวกเราและเต็มใจที่จะช่วยเหลือพวกราแน่นอน

ตัวอย่างผู้เขียน ปัจจุบันปฏิบัติงานเป็นหัวหน้างาน มีผู้ใต้บังคับบัญชา 100 คนเศษ มีหน่วยงานที่ต้องกำกับดูแล 5 หน่วยงานย่อย กรอบอัตราของหัวหน้างานที่ครองอยู่เดิม เป็น ซี 7-8 (ภาระงานปัจจุบันเทียบเท่า ภาระงานของ ซี 7-8)

เมื่อครั้งได้รัการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้างานก็เป็นลูกจ้างประจำ เงินเดือนยังไม่ถึง 20,000 บาท เลย (หัวหน้างานคนเดิมซึ่งเป็นข้าราชการ เกษียณอายุราชการ)

ก่อนหน้านั้นประมาณ 7 ปี ปฏิบัติงานเป็นรองหัวหน้างาน ปฏิบัติงานเคียงบ่า-เคียงไหล่ กับข้าราชการ ซี 5 -6 ในหน่วยงานตลอดมา

แล้วเข้ามาให้ข้อมูลบ้างนะครับ....ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงอีกครั้งครับ

................................ม2ท / มหิดล / กทม

สวัสดีครับ

เป้นครั้งแรกที่ผมเข้ามาในเว็บบอร์ดนี้ รู้สึกชอบมาก ครับ ผมมีปัญหาอยากถามครับ คือผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ และได้รับค่าจ้างเต็มขั้น มา 10 ปีแล้ว ครับ ปัจจุบันอายุ 53 ปีครับ กำลังเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชึ่งจะจบ กลางเดือนมีนาคม 2553 นี้แหละครับ ผมอยากเปลี่ยนตำแหน่งเป้นพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 จะได้ไหมครับ (ส่วนราชการที่ทำงานคือหน่วงงานของกรมปศุสัตว์)

ตอบ...หมายเลข 23...

ค่ะ ก็น่าเห็นใจลูกจ้างประจำ บางท่านที่อุทิศตน ทำงานที่เป็นหน้าที่ของข้าราชการ แต่ผลตอบแทนกลับได้ไม่เท่ากับข้าราชการที่ได้รับ...ค่ะ มาตรฐานกำหนดกำหนดตำแหน่งเดิม ดูแล้วจะไม่ Suppot สักเท่าไร แต่ลองดูมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่นะค่ะ น่าจะโอเค ในเรื่องความก้าวหน้าของงานนะค่ะ...แต่ก็อยู่ที่หน่วยงานของแต่ละหน่วยว่าจะมองที่บุคคล หรือมองที่ตำแหน่งในการแต่งตั้ง...แต่ในปัจจุบันน่าจะมองที่ภาระงานของแต่ละบุคคลมากกว่า เพราะบางคนก็รับภาระงานเกินตำแหน่งจริง ๆ ค่ะ...เหมือนกับที่ท่านพูดนั่นแหละค่ะ...แต่ถ้าศึกษาในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ น่าจะพอที่จะทำให้มีความก้าวหน้าขึ้นบ้างนะค่ะ...อยู่ที่งานบุคคลแล้วละค่ะ ว่าจะทำวิธีไหนให้ลูกจ้างประจำเกิดความก้าวหน้าในหน้าที่ของตนเองได้บ้าง...ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

 

ตอบ...หมายเลข 24...

สำหรับตอนนี้ คงเปลี่ยนตำแหน่งไม่ได้หรอกค่ะ เพราะ ก.พ. แจ้งว่า ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2553 เป็นต้นไป ไม่ให้เปลี่ยนตำแหน่ง เพราะ 1 เม.ย. 2553 จะต้องจัดลูกจ้างประจำให้เข้าสู่กลุ่มงานใหม่ก่อน หลังจากนั้น คงทำได้นะค่ะ... สำหรับคุณเป็นพนักงานขับรถยนต์ ต้องการเปลี่ยนมาเป็นพนักงานพิมพ์ (มาตรฐาน ฯ ใหม่) คุณต้องสามารถพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์ดีด หรือ พิมพ์คอม ฯ ได้นะค่ะ เพราะไม่งั้นแล้ว คุณไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ค่ะ เพราะ ก.พ. มีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งลูกจ้างประจำไว้ค่ะ ต้องศึกษาด้วยว่า ถ้าเปลี่ยนเป็นชั้น 2 แล้ว ต้องเป็นชั้น 1 มาก่อนหรือไม่ เพราะบางครั้ง ก็เปลี่ยนแล้ว เสียเวลาและเสียผลประโยชน์สำหรับตัวคุณเองอีก ต้องดูภาระงานของคุณด้วยว่า หน่วยงานให้คุณทำงานอะไรได้บ้าง คือ ต้องเคลียร์ลูกจ้างประจำ ทุกคน ว่าท่านใดสามารถปรับตำแหน่ง และมีภาระงานที่ให้ทำคือลักษณะงานเป็นแบบใด เพราะมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ น่าจะมีความก้าวหน้ากว่าแบบเดิมนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

 

วันนี้ต้องขอรบกวนท่าน อ.บุษยมาศ ในระบบงานอีกครั้ง สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ส่วนงานการเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ดังนี้

1.การที่บุคลากรของหน่วยงานทางการศึกษามาอบรมหรือประชุม ณ ที่ตั้งหน่วยงานปกติในเวลาทำการปกติ ถือว่าบุคลากรผู้นั้นไม่ได้ไปราชการนอกสถานที่และหน่วยงานก็ไม่ได้ออกคำสั่งให้ไปราชการ จะต้องลงเวลาปฏิบัติราชการเหมือนวันทำการปกติใช่หรือไม่ (ขอรับทราบกฎ/ระเบียบที่สามารถอ้างได้)

2.ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งลูกจ้างประจำแต่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารของหน่วยงานด้วยความไว้วางใจในการตรวจนับบุคลากรทุกวันทำการ จะมีความผิดหรือไม่หากบุคลากรผู้มาประชุมอบรมไม่ลงเวลาปฏิบัติราชการประจำวันตามปกติเพื่อจะได้สรุปประจำวัน แต่เขาได้ลงชื่อเฉพาะในการเข้าร่วมประชุมเท่านั้น

ด้วยความขอบพระคุณท่าน อ.บุษยมาศ เป็นอย่างสูง

ตอบ...คุณ Wijit...

เป็นเรื่องของกระบวนการดำเนินการภายในหน่วยงานค่ะ...แต่ถ้าจะยึดตามหลักเกณฑ์จริง ๆ คือ ต้องเซ็นต์ชื่อเหมือนปกติ (แต่ปัจจุบันผู้บังคับบัญชา นำเรื่องการยืดหยุ่นมาใช้ในการทำงาน) จึงทำการปฏิบัติจริง ๆ ไม่ค่อยจะได้ทำกันค่ะ เพื่ออำนวยความสะดวก และการลดขั้นตอนไงค่ะ...ซึ่งมีการปฏิบัติได้ 2 วิธี ไม่ผิดค่ะ...

กรณีที่ 1  อาจให้ลงชื่อในรายชื่อประชุม ณ ที่ตั้ง โดยไม่ต้องลงเวลาเหมือนวันปกติ แต่ผู้รับผิดชอบต้องประสานกับที่ประชุมเพื่อเก็บรายชื่อมาไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่ 2 เซ็นต์ชื่อการปฏิบัติราชการในการลงเวลาทำการตามปกติ ค่ะ (เป็นเรื่องของการบริหารจัดการภายในหน่วยงานค่ะ) ขอให้มีหลักฐานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ค่ะ...

2. บอกแล้วไงค่ะ ว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบต้องนำรายชื่อที่บุคลากรเซ็นต์มาเพื่อสรุปประจำวันให้ได้ ตามที่ชี้แจงในข้างต้นค่ะ...(วิธีแก้ไข ประสานกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ขอ Copy รายชื่อ เพื่อนำมาใช้ในการสรุปประจำวันค่ะ)...เป็นกระบวนการของการบริหารจัดการภายในนะค่ะ...ยืดหยุ่นกันได้...

เพราะปัจจุบัน ถ้ายึดหลักเกณฑ์มากไป ในทางปฏิบัติก็จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายค่ะ...

 

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์บุษยมาศ ในการให้คำตอบด้วยความกระจ่างชัดทุกคำถาม

เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป

ได้เห็นแท่งใหม่การปรับหมวดช่างแล้วพวกกระผมในฐานะลูกจ้างประจำของมหาวิทยาล้ย ตำแหน่งช่างไม้ อยู่ในหมวดกึ่งฝีมือ ชึ่งพวกกระผมทำงานด้านช่างไม้มานานประมาณ 20 ปีขึ้นไป ทำงานเกี่ยวกับ งานไม้เฟอรนิเจอร์ งานไม้ก่อสร้าง ทั้งการสร้าง ซ่อมแซม ดัดแปลง ออกแบบ ประมาณราคา สามารถปรับขึ้นไปเป็นช่างไม้หมวดฝีมือและเลื่อนระดับชั้นได้หรือไม่ เพราะเคยถามทาง งานเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ตอบพวกกระผมว่า ทาง กพ. กำหนดให้ทางช่างไม้ของมหาวิทยาลัยเป็นแค่หมวดกึ่งฝีมือไม่สามารถปรับขึ้นได้ และ ได้เห็นแนวทางแท่งใหม่แล้ว พวกกระผมคิดว่าไม่สามารถปรับขึ้นได้อีก จึงขอความกรุณาท่านชี้แจงให้พวกกระผมทราบด้วย เพราะตำแหน่งนี้ในมหาวิทยาล้ยของพวกกระผมมีทั้งหมดประมาณ 10 กว่าตำแหน่งแต่ละคนเงินเดือนเต็มขั้นกันมาประมาณ 5-10 กว่าปี บางคนจบทางช่างมา ทั้งวุฒิ ปวช ปวส

จึงกราบเรียนท่านโปรดชี้แนะแนวทางให้พวกกระผมด้วยครับ

จากลูกจ้างประจำของมหาวิทยาลัย(มช)ผู้รอคอยความหวัง

ตอบ...หมายเลข 31... การปรับเข้าสู่ตำแหน่งตามระบบใหม่ของลูกจ้างประจำ ณ 1 เม.ย.2553 นั้น ให้เทียบตามงานเดิมก่อน เช่น ตำแหน่งช่างไม้ อยู่ในหมวดกึ่งฝีมือ (ตามระบบเดิม) ถ้าเทียบเข้าสู่ตำแหน่งตามระบบใหม่ จะเป็นตำแหน่งช่างไม้ กลุ่มช่าง ระดับ 1 รหัส 3305 ณ ปัจจุบัน ณ 1 เม.ย. 2553 ยังไม่สามารถปรับขึ้นเป็นตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ (ให้เข้าสู่ตำแหน่งตามระบบใหม่ให้เรียบร้อยก่อน) ถ้าจะเป็นระดับ 2,3,4 ต้องผ่านกระบวนทดสอบของมหาวิทยาลัย และเป็นไปตามหน้าที่ที่ ก.พ. ได้กำหนดใหม่ โดยศึกษาตามหน้าที่ที่ ก.พ. กำหนด ตามเว็บไซด์ด้านล่างค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/technic_job_4.pdf

สงสัยว่าในแนวทางปฏิบัติการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้กับลูกจ้างแต่ละหน่วยงานทางการศึกษา ว่ามีแนวทาง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ที่เหมือนกันหรือไม่ เพราะจะเห็นว่าบางรายได้ปรับตำแหน่งจากนักการภารโรงเป็นช่าง....ระดับ 2 หรือ 3 ไปเลย และอยากให้มีการตรวจสอบตำแหน่งงานกับตัวผู้ได้รับตำแหน่งนั้น ๆ ว่าตรงกับความสามารถจากกรรมการส่วนกลางด้วย ขอรบกวนฝากผ่าน อ.บุษยมาศ เพื่อทราบแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนของแต่ละ สพท.ด้วย

ตอบ...คุณหมายเลข 33...

ณ ปัจจุบัน ส่วนกลางมอบหมายให้ส่วนราชการแต่ละหน่วยเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการแต่งตั้งและตรวจสอบคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำเองค่ะ (เป็นกระจายอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการค่ะ) ก็ขึ้นอยู่กับส่วนราชการจะดำเนินการให้หรือไม่...แต่ทั้งนี้ ต้องดูด้วยว่าบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งมีคุณสมบัติตรงตามที่ได้รับแต่งตั้งหรือไม่ด้วยค่ะ + ตรวจสอบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งค่ะ...แต่ถ้าบุคคลคนนั้นมีความสามารถจริง และทำหน้าที่ได้ตามตำแหน่งที่ได้แต่งตั้ง + องค์ประกอบที่ไม่ขัดกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งลูกจ้างประจำ  ก็สามารถทำได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

นายสุพัฒน์ พริกเบ็ญจะ

เรียน ท่านบุษมาศที่นับถือ

ก่อนอื่นผมขอขอบพระคุณท่านก่อน ผมได้ปรึกษาท่าน ท่านก็ตอบให้คำแน่ะนำผมมา ผมได้ทำหนังสือถึง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา (ผ่านหัวหน้าทะเบียน)ที่ผมทำหน้าที่พนักงานเก็บโฉนดที่ดินอยู่ปัจจุบัน ข้อเท็จตำแหน่งเดิมนักการภารโรงสังกัดฝ่ายอำนวยการ ปัจจุบันผมทำอยู่ที่ฝ่ายทะเบียน อยู่ในขั้นตอนเสนอเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา เพื่อทำหนังสือไปที่กองการเจ้าหน้าที่ กรมที่ดิน ถ้าผมได้เปลี่ยนตำแหน่งสำเร็จ ผมได้รับบำเหน็จรายเดือน เงินเดือนสุงขึ้นตามความเป็น ครอบครัวผมมีความสุข ขอให้ครอบครัวของท่านมีความสุขด้วยที่ท่านได้นำทางแสงสว่างมาให้กับผม

ขอแสดงความนับถือ

นายสุพัฒน์ พริกเบ็ญจะ

พนักงานสถานที่

สวัสดีค่ะ...คุณสุพัฒน์...

ขอบคุณค่ะ...และขอแสดงความยินดีล่วงหน้าด้วยค่ะ...

 

ได้ปรับตำแหน่ง ลูกจ้างประจำ ตามโครงสร้างใหม่ จากพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 เป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ขั้นหมื่นหกเศษๆ อยากทราบว่า เวลาไปราชการ จะเบิกเบี้ยเลี้ยงไปราชการ ได้เท่าข้าราชการ ระดับ 3 หรือไม่ ที่ผ่านมา ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 เวลาไปราชการที่ไหน ทำไมถึงเบิกเบี้ยเลี้ยงการเดินทางไปเท่าระดับ 2 ช่วยตอบให้สบายใจ ด้วยนะคะ เพราะเวลาไปราชการที่ไหน ที่ผ่านมา เวลาไปราชการกับลูกน้อง ซึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว(พนักงานมหาวิทยาลัย) ตำแหน่งนักวิชาการ.... ระดับ 3 จะเบิกเบี้ยเลี้ยงได้น้อยกว่าลูกน้อง ทำให้หมดกำลังใจ ในระบบราชการจริง ๆ กรุณาตอบให้สบายใจ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งเทียบเท่าผู้บริหาร ระดับหัวหน้า ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...หมายเลข 37...

คุณ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 (เดิม) อยู่ในหมวดฝีมือพิเศษระดับต้น การเทียบตำแหน่งลูกจ้างประจำโดยตรงตามการแบ่งหมวดตำแหน่งของลูกจ้างที่กระทรวงการคลังกำหนดกับระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน ได้แก่

- ลูกจ้างประจำซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในกลุ่มตำแหน่งที่กำหนดไว้ในหมวดแรงงานและหมวดกึ่งฝีมือ ให้เทียบเท่าข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 1

- ลูกจ้างประจำซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในกลุ่มตำแหน่งที่กำหนดไว้ในหมวดฝีมือและหมวดฝีมือพิเศษระดับต้น ให้เทียบเท่าข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 2

- ลูกจ้างประจำซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในกลุ่มตำแหน่งที่กำหนดไว้ในหมวดฝีมือพิเศษระดับกลาง ฝีมือพิเศษระดับสูงและฝีมือพิเศษเฉพาะ ให้เทียบเท่าข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3

(ข้อมูลข้างต้น ได้มาจากคู่มือ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้าง : ส่วนบริหารงานบุคคลลูกจ้าง สำนักบริหารการเบิกจ่ายเงิน  กรมบัญชีกลาง ค่ะ)

ฉะนั้น อัตราเบี้ยเลี้ยงการเดินทางในประเทศ ที่คุณควรได้รับ คืออยู่ในระดับ 2 ค่ะ...คุณอย่าเอาตัวคุณไปเปรียบเทียบกับพนักงานมหาวิทยาลัยนะค่ะ เพราะเขาจะถูกกำหนดด้วยกฎหมายจากสภามหาวิทยาลัยค่ะ... สำหรับตัวคุณต้องใช้กฎหมายของลูกจ้างประจำค่ะ...ซึ่งกำหนดโดยกฎหมายของกระทรวงการคลังค่ะ...เราทำงานด้วยกัน แต่ถูกกำหนดด้วยกฎหมายกลุ่มบุคลากร คนละประเภทกันค่ะ...จึงทำให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับมีความแตกต่างกันค่ะ...

พนังานสุขภาพชุมชน

เรียนคุณบุษยมาศ ที่นับถือ

ผมทำงานตำแหน่ง พนักงานสุขภาพชุมชน ประจำสถานีอนามัย มาเกือบ 30 ปีแล้ว เงินค่าจ้างตันแล้วอยู่ที่ 15,260 บาท เห็นเรื่องการจัดระบบใหม่ ผมอยู่รหัส 2422 อยู่ในกลุ่มงานสนับสนุน เห็นบอกว่า

ระดับ 1 กลุ่มบัญชีค่าจ้าง กลุ่มที่ 1 ขั้นต่ำ 5,080 บาท ขั้นสูง 18,190 บาท

และระดับ 2 กลุ่มบัญชีค่าจ้าง กลุ่มที่ 1-2 ขั้นต่ำ 5,840 บาท และขั้นสูง 22,220 บาท

ผมอยากทราบว่า ผมจะเข้าระดับ 1 ไปตันที่ 18,190 บาท หรือว่าจะได้ ระดับ 2 ไปตันที่ 22,220 บาท อ่านดูแล้วไม่เข้าใจ กรุณาให้ความอนุเคราะห์ตอบให้ผมด้วยเพื่อความกระจ่าง ผมขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ขอบคุณครับ

ตอบ...หมายเลข 39...

คุณจะต้องอยู่ที่ระดับ 1 ก่อนค่ะ แต่ในอนาคตถ้าคุณมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไปถึงระดับ 2 ได้ และประกอบหน้าที่ที่ได้ปฏิบัติด้วยนะค่ะ  ก็สามารถแต่งตั้งเป็นตำแหน่งพนักงานสุขภาพชุมชน  ระดับ 2 ได้ค่ะ...ปัจจุบันค่าจ้างตันแล้วก็สามารถนำมาเทียบกับระดับ 1 แล้วทำให้เพดานเปิด เราก็จะได้เลื่อนขั้นค่าจ้าง ไปจนถึง 18,190 บาท ก่อนค่ะ แล้วค่อยดูว่าสามารถไปถึงระดับ 2 ได้อีกหรือไม่ค่ะ...

ภารโรงที่ทำการปกครองประจำอำเภอ

เรียนคุณบุษยมาศ ที่นับถือ ผมขอทราบหน่อยครับนักการภารโรงที่ทำการปกครองประจำอำเภอนั้นจะได้ปรับตำแหน่งเหมือนกับ

กระทรวงอื่นๆหรือไม ถ้าปรับแล้วจะอยู่ในกลุ่มใด เพราะตอนนี้เงินค่าจ้างตันที่(12440) ทำไมภารโรงประจำกรมการปกครอง

จึงไม่เห็นทางกรมแจ้งให้ทราบเลย กระทั่งกระทรวงอื่นๆเขาได้ปรับตำแหน่งมาหลายปีแล้ว(ขอทราบคำตอบหน่อยครับขอบคุณ

ครับ)

ตอบ...หมายเลข 41...

การปรับตำแหน่งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับภาระงานที่คุณทำด้วยนะค่ะ ว่าทำงานในหน้าที่อะไร ถ้าต่างจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิมที่กำหนดให้ คือ หมายถึง ทำงานในหน้าที่สูงกว่าตำแหน่งที่เราได้รับแต่งตั้ง เช่น ตำแหน่งนักการภารโรง แล้วมีหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่ง คือ ถ่ายเอกสาร พิมพ์ดีด ฯลฯ หน่วยงานก็สามารถปรับคุณเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานอัดสำเนา พนักงานพิมพ์ แทนก็ได้ ซึ่งหมวด เดิมจะสูงกว่านักการภารโรง ก็ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของคุณ หรืองานการเจ้าหน้าที่เขาจะดูและคุณมากน้อยแค่ไหนค่ะ...สำหรับหน่วยงานอื่นที่ยังไม่ได้ปรับ เท่าที่ทราบข่าวมาก็ยังมีอีกมากค่ะ...เพราะสมัยก่อน พวกเขาจะดูแลกับพวกข้าราชการเป็นหลัก แต่ความจริง ต้องดูแลบุคลากรทุกกลุ่มค่ะ บุคลากรทุกกลุ่มมีความสำคัญทุกกลุ่มค่ะ...แต่ปัจจุบัน ก.พ. มอบอำนาจให้หน่วยงานเป็นผู้ดูแล และตรวจสอบภาระงานกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด แต่ต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาตนของคุณด้วยนะค่ะ...เพราะถ้าคุณไม่มีภาระงานเพิ่มหรือใหม่ขึ้น เจ้าหน้าที่หรือหัวหน้าจะไม่สามารถปรับตำแหน่งให้คุณได้หรอกค่ะ...เพราะการปรับตำแหน่ง นั่นต้องแสดงว่า คุณมีภาระงานเกินกว่าตำแหน่งปัจจุบัน และควรได้แต่งตั้งเป็นตำแหน่งใหม่และตำแหน่งใหม่นั้นต้องเป็นงานที่เราทำอยู่ด้วยนะค่ะ...อย่าลืมว่า การเป็นข้าราชการที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคคลนั้น การที่จะแต่งตั้งใครนั้น ต้องผ่านกระบวนการสอบคัดเลือก และเขาก็ต้องตรวจสอบดูแล้วว่า ถ้าแต่งตั้งแล้ว ส่วนราชการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ เรียกว่า ต้องมองหลาย ๆ ด้านค่ะ คือ ต้องรักษาผลประโยชน์ให้รัฐเป็นหลักค่ะ...แต่ถ้าภาระงานของคุณมากจริง และควรปรับเปลี่ยนได้ ต้องสอบถามที่หัวหน้าของคุณแล้วค่ะ...อย่างเช่น ที่ มหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนได้ทำงานอยู่ ก็จะดูว่าพวกลูกจ้างประจำที่มีอยู่ มีภาระงานเกินตำแหน่งที่เป็นอยู่ไหม ถ้าเกิน เราก็จะจัดกระบวนการสอบคัดเลือกโดยมีคณะกรรมการคัดเลือกขึ้นค่ะ แต่ถ้าลูกจ้างประจำท่านใดมีภาระงานเท่าเดิม เราก็จะไม่ปรับเปลี่ยนให้นะค่ะ เพราะก่อนที่คุณจะได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น คุณต้องทำงานและพัฒนาตนให้สูงขึ้นก่อนค่ะ...เรียกว่า ต้องอุทิศเวลา แรงกายให้กับการทำงานให้ก่อน รัฐจึงมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นค่ะ...พร้อมกับเงินค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นตามมาค่ะ...

               สำหรับการปรับเปลี่ยนเข้าสู่กลุ่มงานทางหัวหน้าของคุณคงทำให้แล้วค่ะ อยู่ในช่วงรอทางสำนักงาน ก.พ. แจ้งกลับมาค่ะว่า รับทราบแล้ว และถูกต้องหรือไม่ค่ะ...ใจเย็นสักนิด คงได้เห็นตำแหน่งใหม่ค่ะ...

              การทำงานภาครัฐ ปัจจุบันคุณต้องเข้าใจด้วยนะค่ะ ว่า แต่ละกรมการทำงานไม่เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของคุณว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลคุณมากน้อยแค่ไหน เพราะปัจจุบันการดำเนินการทั้งหมดจะเป็นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์) คือ ข้าราชการก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีการพัฒนามากขึ้น ยิ่งระบบ IT ก็ต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้น ถ้ายังทำแบบเดิม ๆ ก็คือ รอเข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนดได้เลยค่ะ...แต่ระยะนี้เป็นระยะเริ่มแรกค่ะ...คงต้องรอดูอีกสักระยะค่ะ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่มากกว่านี้ค่ะ...อย่างไรแล้ว ลองศึกษามาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้แล้วและนำไฟล์มาลงไว้ให้แล้วอีก Blog หนึ่งค่ะ ว่าคุณสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้หรือไม่...ถ้าได้ ปรึกษาหัวหน้างานของคุณดูนะค่ะ...

 

เรียนถาม การนำลูกจ้างประจำเข้าระบบใหม่นั้นเฉพาะลูกจ้างประจำในงบ หรือรวมทั้งลูกจ้างประจำนอกงบด้วยช่วยตอบด้วยครับ

ตอบ...หมายเลข 43...

ลูกจ้างประจำที่เข้าระบบใหม่นี้เป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการซึ่งเป็นงบประมาณแผ่นดินในหมวดค่าจ้างค่ะ...เป็นกรอบอัตรากำลังของสำนักงาน ก.พ. ค่ะ...ไม่เกี่ยวกับลูกจ้างประจำนอกงบประมาณค่ะ...

นายสุพัฒน์ พริกเบ็ญจะ

ขอแสดงความนับถือท่านอาจารย์บุษยามาศที่เคารพนับถืออย่างสูง

ย้อนหลัง ผมบรรจุนักการภารโรง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2522 วุฒิ ม.ศ.3 สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองสงขลา ย้ายไปหลายที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 มาทำหน้าที่ใหม่ในตำแหน่งพนักงานเก็บเอกสารโฉนดที่ดิน โดยคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา กระผมได้ปรึกษาอาจารย์และปฎิบิติตามท่านมาตลอด ต่อมาได้เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์กับอาจารย์ด้วยคำแนะนำของท่าน

ท่านเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา และหัวหน้าฝ่ายทะเบียนที่กระผมทำงานในปัจจุบันเขาก็เห็นด้วย เพราะกระผมจบปริญญาตรีแล้วในปี พ.ศ.2532 ทั้งความรู้ทั้งความสามารถถึงอายุมาก เหลือเวลาราชการ 4 ปี ด้วยการแน่ะนำของท่าน ทางผู้บังคับบัญชากระผม คืิอ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ(หัวหน้าตำแหน่งนักการภารโรง )หัวหน้าทะเบียน(หัวหน้าที่กระผมทำงานมาเมื่อ ปี พ.ศ.2546 จนปัจจุบัน ได้ส่งหนังสืิอรับรองไปให้กรมที่ดิน เมือ วันที่ 7 พฤษภาคม 2553 เพื่อให้กองการเจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้ว ทั้งนี้ หรือทั้งนั้นผู้ที่ให้แสงสว่างปลายอุโมงค์ที่มืดมาหลายปี คือท่านอาจารย์บุษยมาศ ถึงท่านกับกระผมอยู่กันคนละหน่วยงาน แต่ท่านยังให้ทานอันประเสริฐและเห็นท่านตอบคำถามที่ 41 ยิ่งชื่นใจมาก ชวิตคือมีหวัง ขออำนาจพระศรีรัตนตรัย และสิ่วศักดิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือจงดลบรรดาลให้ท่านและครอบครัวมีสิ่งที่ดีตลอดไปเทอญ

ตอบ...คุณสุพัฒน์...

ขอบคุณค่ะ...พรใดที่ผู้เขียนได้รับ ขอให้ย้อนกับไปที่คุณและครอบครัวด้วยนะค่ะ...นี่คือ หน้าที่ของข้าราชการค่ะ ถ้าเรารู้ เราทราบ ไม่ว่าจะอยู่หน่วยไหน กรมไหน ถ้าระเบียบใช้ได้เหมือนกัน เราสามารถบอกหรือแนะนำ ให้คำปรึกษากันได้ค่ะ...แสดงความยินดีล่วงหน้าด้วยนะค่ะ...

เรียนคุณบุษยมาศ ที่นับถือ

ตามที่คุณบุษยมาศให้คำแนะนำชี้แนะแก่ลูกจ้างประจำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนอัตรากำลังของลูกจ้างประจำ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างประจำเป็นอย่างยิ่ง

ผมอยากถามว่าเมื่อลูกจ้างประจำเปลี่ยนตำแหน่งแล้ว การปรับเพิ่มขึ้นของเงินเดือนของแต่ละตำแหน่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 เลยหรือไม่ และผลการดำเนินการของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งคาดว่าจะแล้วเสร้จประมาณเมื่อไร (ขอทราบคำตอบหน่อยครับขอบคุณครับ)

ตอบ...คุณสวิท...

สำหรับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำตามหนังสือ ว 14 และ ว 38 นั้น เมื่อส่วนราชการทำเรื่องส่งไปยังสำนักงาน ก.พ. แล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคมทางสำนักงาน ก.พ. จะทำหนังสือแจ้งเวียนให้กับส่วนราชการทราบและแจ้งให้ลูกจ้างประจำทราบต่อไปค่ะ...ใจเย็นนิดหนึ่งนะค่ะ...สำหรับของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทางลูกจ้างประจำได้รับทราบกันแล้วค่ะ...มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 ค่ะ...สำหรับของคุณต้องรอหนังสือตอบรับจากสำนักงาน ก.พ. ก่อนนะค่ะ เพราะขณะนี้ สำนักงาน ก.พ. กำลังทำหนังสือแจ้งเวียนให้ทราบค่ะ...ลูกจ้างทุกคนก็ปรับเข้าสู่ตำแหน่งใหม่เลยค่ะ...สำหรับลูกจ้างที่เงินค่าจ้างเต็มขั้นมาแล้ว และได้รับ 2 % หรือ 4 % นั้น ทางหน่วยงานสั่งให้เลยก็ได้ หรือบางหน่วยงานยังไม่สั่งให้ แต่เมื่อได้รับหนังสือจากสำนักงาน ก.พ. อนุมัติแล้ว ก็สามารถปรับให้กับลูกจ้างประจำได้ค่ะ (และรอหนังสือจากกรมบัญชีกลางก่อนค่ะ) เพราะเพดานขั้นค่าจ้างเปิดแล้ว... สำหรับหน่วยงานไหนที่เลื่อนให้ลูกจ้างประจำได้ 2 % หรือ 4 % ก็ให้รอหนังสือจากกรมบัญชีกลางแจ้งมาก่อนค่ะว่า ให้ยกเลิกการได้ 2 % หรือ 4 % แล้วทำการเลื่อนขั้นค่าจ้างให้ โดย 2 % เทียบได้เท่ากับ 0.5 ขั้น และ 4 % เทียบได้เท่ากับ 1 ขั้น ค่ะ...ยินดีกับลูกจ้างประจำทุกคนด้วยนะค่ะ...อย่างไรก็ขอฝากให้พัฒนางานและพัฒนาตัวเองให้เต็มกำลังความสามารถนะค่ะ...ยิ่งทำงานมากเท่าไร ความมั่นคงของคุณและครอบครัวก็มีความมั่นคงมากขึ้นค่ะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

 

เรียนคุณบุษยมาศ ที่นับถือ

ตามที่หนังสือสพท.ให้ทำปรับตำแหน่งเมื่อปี 52ได้ทำปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำ (นักการภารโรง) ในสังกัดสพท ส่งเรื่องมายัง สพฐ. ตอนนี้ยังคอยคำตอบอยู่เกือบปี ไม่ได้รับคำตอบเลย มีความหวังไหมครับ เงินเดือนน้อย อยากรู้คำตอบเร็ว สอบถามได้ที่ไหนครับ

ด้วยความเคารพ

คนต่างจังหวัด

ตอบ...หมายเลข 49...

ผู้เขียนไม่สามารถตอบแทน สพฐ. ได้นะค่ะ...อย่างไรแล้วขอให้คุณติดตามเรื่องที่ สพท.ของคุณดูนะค่ะ ว่าได้รับเรื่องจาก สพฐ. อนุมัติแล้วหรือยัง...และปัจจุบัน สำนักงาน ก.พ. ก็กำลังแจ้งเวียนอัตราใหม่ให้กับลูกจ้างประจำทราบภายในเดือนพฤษภาคม 2553 นี้อยู่ค่ะ...ใจเย็นนิดนะค่ะ เพราะ สพฐ. จำนวนลูกจ้างประจำค่อนข้างมากด้วยค่ะ...ถ้าทำไม่ได้ในครั้งนี้ เมื่อปรับเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ตามหนังสือ ก.พ.แล้ว ก็ยังสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้อยู่ค่ะ...

ผมเป็นลูกจ้างประจำ สังกัด กรมอนามัย ตำแหน่งคนงาน วุฒิ อนุปริญญา รับราชการและครองตำแหน่งคนงานมา 13 ปี และปฏิบัติงานการเงิน เบิก-จ่าย เงินงบประมาณผ่านระบบ GFMIS มา 13 ปี เช่นกัน ผมมาช่วยราชการที่ รพ.ชุมชน สำนักปลัดกระทรวง ขอเรียนถาม อาจารย์บุษยมาศว่า ผู้ที่มาช่วยราชการสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งในหมวดที่สูงขึ้นได้หรือไม่ ขอบคุณล้วงหน้าครับ

ตอบ...คุณยงยุทธ...

ในกรณีของคุณมาช่วยราชการที่ รพ.ชุมชน แต่ต้นสังกัดคุณอยู่ที่กรมอนามัย

ขอให้คุณติดต่อไปที่ต้นสังกัดของคุณนะค่ะ ว่าจะทำให้หรือไม่...เพราะกรอบอัตราตำแหน่งของคุณอยู่ที่กรมอนามัยค่ะ...แต่ผลงานมาช่วยราชการที่ รพ.ชุมชน...เนื่องจากผลงานกับหน่วยงานที่สังกัดเป็นคนละแห่งกันค่ะ...

รบกวนสอบถามว่า : ค่าตอบแทนนอกเวลาของลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 ค่ะ ว่าเบิกจ่ายได้เท่าไร (ปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ.อำเภอ) ขอบคุณค่ะ

ตอบ...หมายเลข 53...

ขอให้สอบถามที่งานการเงินของหน่วยงานต้นสังกัดคุณดีกว่าไหมค่ะ...เพราะว่า ค่าตอบแทนนอกเวลาในแต่ละสถานที่จะเหมือนกันไหม...ถ้าเป็นเกณฑ์ที่ของกระทรวงการคลัง คงเหมือนกัน(งบที่รัฐจัดให้)...แต่บางที่ก็จะเป็นเกี่ยวกับเงินรายได้...ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายของส่วนราชการในแต่ละแห่ง...จึงไม่ขอนำมาบอกค่ะ...

สวัสดีคะ อาจารย์บุษยมาศ หนูเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกใหม่ หนูมีปัญหาอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ขณะนี้หนูทำงานตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 ขั้นเงินเดือน 15,850 บาท ถ้าเข้าแท่งเงินเดือนใหม่หนูจะได้รับเงินเดือนขั้นใหนคะ และจะได้รับเงินเดือนในกลุ่มบัญชี1 หรือบัญชี 2 คะ ขอบพระคุณล่วงหน้าคะ

ตอบ...หมายเลข 55...

คุณเข้าสู่ตำแหน่งใหม่เป็น ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ค่ะ รหัส 2113 ระดับ 3 กลุ่มที่ 1-2 ค่าจ้างระดับต่ำ 7,100 - 22,220 บาท ค่ะ ปัจจุบันคุณได้รับเงินค่าจ้าง 15,850 บาท เมื่อเข้าสู่กลุ่มงานใหม่ ยังคงได้รับค่าจ้างเท่าเดิมค่ะ รัฐเพียงแต่ปรับฐานเงินค่าจ้างให้สูงขึ้น (คือขยายเพดานค่าจ้างไงค่ะ) ถ้าจะได้รับสูงขึ้น ต้องมีเงื่อนไขว่าด้วยเวลา + ผลการปฏิบัติงาน ในการเลื่อนขั้นค่าจ้างทุก 6 เดือนค่ะ...

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากคะที่ให้คำตอบแก่หนู แต่ ณ 1 เมษายน 2553 หนูยังไม่ได้รับเงินเดือนใหม่เลยคะเห็นบอกว่าต้องรอหนังสือจาก กพ. ก่อนคะ

ตอบ...หมายเลข 57...

ค่ะ ถ้าเงินเดือนยังไม่เปลี่ยน ก็รับเท่าเดิมไปก่อนค่ะ เพียงแต่รอหนังสือของ ก.พ. ว่าเราอยู่ตำแหน่งไหนเท่านั้นเองค่ะ...

นายสมมิตร ศิริขันธ์

สวัสดีครับ อ.บุษยมาศ กระผมตำแหน่ง พนักงานบำรุงทาง เงินเดือนตันหลายปี ( 15,260 ) สังกัดแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 กรมทางหลวง อยากทราบเป็นข้อมูลว่า หน่วยงานจะปรับให้เลยหรือไม่ หรือจะมีวิธีสอบ หรือเลือกสรร และ ถ้าหน่วยงานไม่ยอมทำเรื่องให้จะถูกต้องหรือไม่

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณสมมิตร...

ตำแหน่งเดิมของคุณ คือ ตำแหน่งพนักงานบำรุงทาง หมวดกึ่งฝีมือ เมื่อเทียบกับตำแหน่งใหม่ คุณตำแหน่งพนักงานบำรุงทาง รหัส 3313 กลุ่มงานช่าง ระดับ 1 ซึ่งตำแหน่งคุณจะอยู่ในกลุ่มช่าง 1 - 2 ซึ่งปัจจุบันเงินค่าจ้างของคุณได้รับ 15,260 บาท และเงินเดือนเต็มขั้นมาหลายปีแล้ว แสดงว่าเมื่อ 1 เมษายน 2553 คุณได้ 2 % หรือ 4 % ก็แสดงว่าเงินค่าจ้างของคุณอาจได้ 0.5 ขั้น หรือ 1 ขั้น ถ้ายังไม่ได้เลื่อนขั้น ก็ขอให้รอหนังสือจากกรมบัญชีกลาง จะแจ้งมาทางส่วนราชการจะทำการเลื่อนขั้นค่าจ้างให้ค่ะ เพราะในกลุ่มช่าง คุณสามารถเลื่อนเป็น กลุ่มงานช่าง 1 - 2 ซึ่งเงินค่าจ้างของคุณ เมื่อเทียบกับตารางตำแหน่งใหม่สามารถไปถึงระดับ 2 ทางส่วนราชการจะทำการเลื่อนขั้นให้ค่ะ...เป็นการเปิดเพดานให้สูงขึ้นค่ะ...เพราะคำว่า 1-2 แสดงว่าเงินค่าจ้างจะไหลไปได้เลย ยกเว้น ถ้าจะไประดับ 3 หรือ 4  ทางส่วนราชการจะดำเนินการสอบ หรือเลือกสรรค่ะ...แต่ขณะนี้ ต้องรอหนังสือสั่งการจากกรมบัญชีกลางก่อนนะค่ะ...เพราะผู้เขียนได้ประสานกับกรมบัญชีกลางแล้ว แจ้งว่าให้รอหนังสือสั่งการก่อนค่ะ ทางส่วนราชการถึงจะดำเนินการให้กับลูกจ้างประจำค่ะ...รอนิดหนึ่งนะค่ะ...

เรียน อ. บุษยมาศ

ผมทำงานตำแหน่งพนักงานตรวจทานข้อมูล 5 ปี ผมมีสิทธิปรับเป็นพนักงานธุรการ 1 ได้เลยหรือไม่และผมเรียนจบระดับวิชาชีพ(ปวส.)แต่จบด้านไฟฟ้ากำลังไม่ทราบว่าวุฒิการศึกษาของผมใช้เปรียบเทียบได้หรือไม่ ส่วนการทำงานของผมทางหน่วยงานแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าพัสดุมาแล้วไม่ตำกว่า 10 ปีไม่ทราบจะเกื้อกูลกับตำแหน่งพนักงานธุรการการ 1 ไม่ ผมยากทราบ อ. ช่วยตอบปัญหาของผมด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

นายสมมิตร ศิริขันธ์

สวัสดีครับ อ.บุษยมาศ

เพื่อนที่ทำงานผม ฝากสอบถามว่า กันยา นี้จะปลดเกษียน อยากทราบว่า เงิืนเดือนใหม่ปรับตั้งแต่เดือนเมษา

จะเอาเงินเดือนใหม่คูณ เป็นเงินบำเหน็จ ถูกต้องหรือไม่ ( ตำแหน่ง พนักงานขับเครื่องจักรขนาดเบา เงินเดือนตัน 15,260.- บาท

อ.ช่วยตอบด้วย ขอขอบพระคุณอย่างสูง

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณสวิท...

อ่านแล้ว งง ๆ กับคำถามของคุณ ไม่ทราบว่าคุณตำแหน่งพนักงานตรวจทานข้อมูล  หรือ ตำแหน่งพนักงานพัสดุ ค่ะ ในปัจจุบัน ถ้าเดิมคุณตำแหน่งพนักงานตรวจทานข้อมูล เมื่อปรับใหม่ ก็ได้ เป็นพนักงานธุรการ ได้แล้วนี่ค่ะ  แต่ถ้าไม่ใช่ ตำแหน่งเดิมเป็นพนักงานพัสดุ (แม้วุฒิจะจบปวช. ช่างไฟฟ้า) ก็แสดงว่า ตำแหน่งใหม่ คือ พนักงานพัสดุ  ตำแหน่งก็คล้าย ๆ กับพนักงานธุรการ เหมือนกันนี่ค่ะ การเป็นพนักงานธุรการ ก็ต้องดูด้วยว่าคุณทำงานเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานเก็บเอกสาร งานรับ - ส่ง หนังสือ การโต้ตอบหนังสือราชการ ฯลฯ หรือไม่ ถ้าเกี่ยว ต้องไปดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (แต่ว่าถ้าเคยทำงานตรวจทานข้อมูล) ก็น่าจะปรับให้เป็นพนักงานธุรการได้ค่ะ แต่สำคัญตรงที่วุฒิของคุณ จบไฟฟ้า ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งว่า เป็นวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการหรือไม่ ถ้าให้แน่ใจ โทรสอบถามเพื่อปรึกษาไปที่กรมบัญชีกลาง อีกครั้งนะค่ะ ว่าได้หรือไม่ เพราะไม่แน่ใจในวุฒิของคุณค่ะ...

ตอบ...คุณสมมิตร...

ถูกต้องค่ะ ต้องเอาเงินค่าจ้างใหม่ค่ะ... ความจริงแล้วจะเปลี่ยนเงินค่าจ้างใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน 2553 นี้ด้วยค่ะ เพราะตำแหน่งใหม่ของคุณสั่ง มีผล ณ 1 เมษายน 2553 ก็ไม่ทราบว่า ณ 1 เมษายน 2553 เงินเดือนเต็มขั้นแล้ว และได้รับ 2 % หรือ 4 % ค่ะ สำหรับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ในกรณีที่เงินค่าจ้างเต็มขั้น ไม่ว่าข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ จะได้รับอยู่แล้วค่ะ แต่ถ้าส่วนราชการของคุณยังไม่ได้คิดให้ ...ก็ขอให้รอหนังสือจากกรมบัญชีกลาง จะสั่งการมาว่าให้ยกเลิกค่าตอบแทนพิเศษ 2 % หรือ 4 % ก่อนค่ะ แล้วเจ้าหน้าที่จะทำการเลื่อนขั้นค่าจ้างให้กับคุณในอัตราค่าจ้างใหม่ค่ะ ถ้าคุณได้ 2 % หรือ 0.5 ขั้น คุณก็จะได้รับเงินค่าจ้าง = 15,560 บาท ถ้าได้ 4 % หรือ 1 ขั้น คุณก็จะได้รับเงินค่าจ้าง = 15,850 บาท ค่ะ (ณ 1 เมษายน 2553 นะค่ะ) แต่ถ้าได้ 2 % หรือ 4 % ไปแล้ว คุณจะต้องเอาเงินที่คุณได้รับไปแล้ว หักลบกับเงินค่าจ้างใหม่ นั่นคือส่วนตกเบิกที่คุณจะได้รับค่ะ แต่ถ้ายังไม่ได้รับ 2 % หรือ 4 % คุณจะได้รับตกเบิก เป็นจำนวนเต็มค่ะ...ส่วน ณ 1 ตุลาคม 2553 (วันที่คุณเกษียณอายุราชการ)  คุณก็จะได้รับเงินค่าจ้าง เพิ่มอีก อาจได้ 0.5 ขั้น หรือ 1 ขั้น ก็แล้วแต่หน่วยงานของคุณเป็นผู้ให้ความดีความชอบค่ะ ถึงจะเอาเงินค่าจ้างของคุณไปคิดเป็นบำเหน็จค่ะ...อย่างน้อย ๆ คุณอาจได้รับเงินค่าจ้าง = 15,850 บาท (1 ขั้น ต่อ ปี), 16,150 บาท (1.5 ขั้น ต่อปี) หรือ 16,440 บาท (2 ขั้น ต่อปี) ประมาณนี้ค่ะ...(คุณอาจดูบัญชีโครงสร้างค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ในกลุ่มที่ 1 ของอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำในอัตราใหม่นะค่ะ...

นายสมมิตร ศิริขันธ์

สวัสดีครับ อ.บุษยมาศ ที่นับถือ

ต้องกราบขอบพระคุณอย่างสูง ที่ตอบคำถามที่กระผมสอบถามมา ทำให้คนที่ทำงาน มีกำลังใจทำงานมากยิ่งขึ้น กระผมทำงานตั้แต่อายุไม่ถึง 17 ความรู้น้อย ก็เลยได้แค่เป็นลูกจ้างชั่วคราว ได้บรรจุเป็นลูกจ้างประจำ เมือปี 2534 ขณะนี้อายุ 41 ปี อายุราชการ 19 ปี มีข้อหนึ่งที่ผมสงสัยและสอบถามเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับความกระจ่าง คือ เครื่องราชฯ ทำใมผมไม่ได้รับ รุ่นน้องที่ำทำงานบรรจุทีหลังผม ยังได้เลย ผมไม่เข้าใจเหตุใด ผมถึงยังไม่ได้ สอบถามเจ้าหน้าที่สารบรรณ ก็ไม่ได้ความกระจ่าง กระผมอยากทราบว่า เอาหลักเกณฑ์อย่างไร มาประกอบพิจารณา ขอเครื่องราชฯ ครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณสมมิตร...

ต้องถามไปที่หน่วยงานการเจ้าหน้าที่แล้วมังค่ะ...ว่าได้ทำการขอพระราชทานให้หรือเปล่า?...เพราะบางครั้งทางเจ้าหน้าที่ทำให้เรา แล้วไม่ได้แจ้งให้เรารับทราบค่ะ...ถ้ายังไม่ได้ขอ  ต้องถามเจ้าหน้าที่ว่า ทำอย่างไรบ้าง ให้แนะนำเรามาค่ะ...แต่ถ้าเป็นที่ ม. ของผู้เขียน ทางผู้เขียนจะเป็นผู้ดำเนินการให้เลย แล้วให้เจ้าตัวรับทราบ เพื่อเซ็นต์ชื่อเพื่อเสนอขอพระราชทานค่ะ...เร็วดี...เพราะลำพังถ้าให้ลูกจ้างประจำทำเอง  เขาคงทำไม่ถูก...เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้รู้ต้องให้คำชี้แจงเขาค่ะ...สิ่งใดที่อำนวยความสะดวกให้  และทำแล้วไม่ขัดต่อระเบียบ...เราจะยินดีทำให้ค่ะ...นี่คืองานด้านการให้บริการของกองเราค่ะ...ให้คุณลองศึกษาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของลูกจ้างประจำตามเว็บไซต์ด้านล่างนะค่ะ (ซึ่งจะสามารถคลิกเข้าไปอ่านอีกชั้นหนึ่งนะค่ะ  ด้านล่างค่ะ)...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/363502

เรียนถามอ.จ.ด้วยขณะนี้มีการพัฒนาและบริหารตำแหน่งลูกจ้างประจำงบฯทั่วประเทศและมีการปรับขยายเพดานเงินเดือนสำหรับคนที่เงินเดือนเต็มขั้นผมก็เป็นผู้หนึ่ง เต็มขั้นมา3ปีและเดือนนี้ยังได้รับเป็น%อยู่ ผมจึงขอเรียนถามอ.จ. ว่ากรณีนี้ทางหน่วยงานเขาจักต้องตกเบิกให้ภายหลังหรือไม่ คำถามนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ลูกจ้างที่หัวอกเดียวกัน กระผมขอขอบพระคุณอ.จ.แทนลูกจ้างทุกคนที่อ.จ.เสียสละเวลาอันมีค่า ขอขอบพระคุณอย่างสูง

ตอบ...หมายเลข 67...

ค่าจ้างของคุณเต็มขั้นแล้ว 3 ปี  สำหรับเมษายน 2553  คุณก็ยังได้เป็น % อยู่ค่ะ ว่าแต่จะได้ 2 % หรือ 4 % เท่านั้นแหล่ะค่ะ...ที่บอกว่ายังไม่ได้เป็น % นั้น ทางเจ้าหน้าที่การเงินอาจทำเรื่องตกเบิกให้ต่อไปค่ะ...แต่การได้ 2 % หรือ 4 % นั้น...เมื่อสำนักงาน ก.พ. เปิดเพดานขั้นค่าจ้างโดยขยายเพดานออกไปอีกนั้น...สำหรับผู้ที่เงินค่าจ้างเต็มขั้น...ทางงานการเจ้าหน้าที่หรืองานบุคคลจะดำเนินการแก้ไขคำสั่งให้ใหม่ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่แจ้งมาค่ะว่า...ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขคำสั่งจาก ที่คุณได้รับเป็น % ให้นำมาเทียบกับค่าจ้างของกลุ่มงานใหม่ คือ ถ้า 2 % คุณก็จะได้รับขั้นค่าจ้างในกลุ่มงานใหม่เพิ่มเป็น 0.5 ขั้น และถ้าได้ 4 % คุณก็จะได้รับขั้นค่าจ้างในกลุ่มงานใหม่เพิ่มเป็น 1 ขั้นค่ะ...(ถ้าคุณยังไม่ได้รับเป็น % ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553  คุณก็จะได้รับเงินค่าจ้างตกเบิกตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 เป็นต้นมาค่ะ)...สำหรับของมหาวิทยาลัยของผู้เขียนก็ได้ดำเนินการให้กับลูกจ้างประจำในสังกัดแล้วค่ะ...และส่วนราชการของคุณเจ้าหน้าที่ก็คงกำลังดำเนินการให้อยู่เหมือนกันค่ะ...

เรียน อ.บุษยมาศ ที่นับถือ

ด้วยผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น3 เดิม (พนักงานพิมพ์ ระดับ 3) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ คือ1.งานสารบรรณ(ร่าง-พิมพ์โต้ตอบ-ลงทะเบียนรับ-ส่ง รับ-ส่งและติดต่อราชการทั้งทางโทรศัพท์ E-Mail และE-Office)

2.งานสวัสดิการ (เบิกสวัสดิการศึกษาบุตร/รักษาพยาบาล) 3.งานเงินเดือน(คอปปี้ข้อมูลจาก สพท.มาวางลิ้งค์ลงบัตรจ่ายเงินเดือน) พร้อมออกหนังสือรับรองเงินเดือนเมื่อบุคลากรร้องขอ 4.งานภาษีเงินได้ (ภงด.1ก),และออกหนังสือรับรองภาษีด้วยระบบลิ้งค์ทั้งหมดให้กับบุคลากรทั้งโรงเรียนทุกปีพ.ศ. 5.งานพัสดุ จัดทำระบบลิ้งค์ข้อมูลลงในไมโครซอฟเอ็กเซล แจกจ่ายไปให้ฝ่ายงานตามโครงการสายงานบริหาร 6.งานบัญชีลงเวลา (ตรวจและสรุปจำนวนบุคลากรทุกวันทำการ) 7.งานวันลา (ตรวจสอบวันลาก่อนนำเสนอผู้บริหารและสรุปผลก่อนพิจารณาเงินเดือน/ค่าจ้าง)และยังได้รับมอบหมายเพิ่มเอกสารสอบราคาจ้างก่อสร้างทำถนน และก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ของหน่วยงานฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่ปฏิบัติอยู่จนปัจจุบัน โดยผมได้ทำหนังสือขอรับคำปรึกษาเพื่อขอเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานธุรการให้ตรงกับลักษณะงานที่ปฏิบัติอยู่ไปยังหน่วยงานระดับบนแต่ก็ยังไม่ได้รับทราบคำตอบ ซึ่งไม่ทราบว่าจะขัดกับระเบียบหรือไม่ หากไม่ขัดต่อระเบียบจะต้องดำเนินการอย่างไร ต้องกราบเรียนอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง ที่ท่านได้กรุณาให้คำตอบทุกครั้งที่ได้ขอปรึกษาปัญหา

ดิฉันเป็นลูกจ้างชั่วคราว ทำงานพัสดุ มา 3 ปีกว่าแล้ว ตอนนี้หน่วยงานแต่งตั้งให้เป็นนักวิชาการพัสดุ ไม่ทราบว่าพอจะมีสิทธิเป็นลูกจ้างประจำกับเขาไหมค่ะ (ชนันนา ทรัพย์สำรวย)

ตอบ...คุณวิจิตร...

ขอให้คุณศึกษาว่า ถ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานธุรการ แล้วให้ดูเพดานว่าค่าจ้างที่จะเปลี่ยนเป็นพนักงานธุรการ กับพนักงานพิมพ์ ระดับ 4 ต่างกันมากน้อยแค่ไหน ถ้าเปลี่ยนแล้วเรามีความก้าวหน้าในตำแหน่ง ก็ควรเปลี่ยนค่ะ...ต้องดูภาระงานของเราด้วยนะค่ะว่าเอื้อกับพนักงานธุรการหรือไม่...ขอให้คุณสอบถามต้นสังกัดของคุณคือ ส่วนราชการที่สังกัดว่าจะทำการเปลี่ยนโดยส่วนราชการจัดทำให้หรือว่าจะให้คุณทำอย่างไรค่ะ...ความจริงแล้ว ต้นสังกัดจะเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการที่จะปรับเปลี่ยนให้ค่ะ...ลองสอบถามผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ก่อนว่าจะดำเนินการให้อย่างไรค่ะ...คงต้องทำ Job Description (บรรยายลักษณะงานที่ปฏิบัติก่อนมังค่ะ)...แล้วรายงานให้ สำนักงาน ก.พ.ทราบ...ทางที่ดีต้องสอบถามไปที่ ก.พ. ว่าจะให้ส่วนราชการดำเนินการให้หรือยังในเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งค่ะ...ถ้าสำนักงาน ก.พ.แจ้งว่าให้ดำเนินการได้...ส่วนราชการนั้น ควรทำกระบวนการในการสอบเพื่อปรับเปลี่ยนค่ะ...(ต้องดูคุณสมบัติในการเป็นพนักงานธุรการก่อนนะค่ะ...ว่าควรเป็นอย่างไร...)

ตอบ...คุณ chananna...

การสอบบรรจุเป็นลูกจ้างประจำนั้น  ปัจจุบันยังไม่ทราบข่าวว่าจะมีการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำนะค่ะ...เพราะผู้เขียนได้แต่ทราบมาว่ามีแต่เมื่อลูกจ้างประจำเกษียณ ตำแหน่งที่เกษียณจะได้มาเป็น "พนักงานราชการ" แทนตำแหน่งลูกจ้างประจำค่ะ...ถ้าจะบรรจุต้องเป็นเรื่องของสำนักงาน ก.พ. จะมีการบรรจุค่ะ...แต่ผู้เขียนคิดว่าไม่น่าจะมีลูกจ้างประจำที่มีการสอบบรรจุแล้วนะค่ะ...ไม่ทราบว่าคุณทำงานของมหาวิทยาลัยหรือเปล่า...ถ้าทำงานของมหาวิทยาลัย ก็มีอีกอย่างคือคุณสอบเปลี่ยนไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยค่ะ (ถ้าคุณสมบัติได้ตามเกณฑ์ประกาศนะค่ะ)...หรือไม่ก็ต้องดูว่าหน่วยงานมีตำแหน่งของพนักงานราชการหรือไม่ค่ะ...เพราะลูกจ้างประจำคงไม่มีการบรรจุแล้วค่ะ...

เรียนถามข้อมูลอ.จ.ผมเงินเต็มขั้น ที่ 14,140และได้รับ 2% .5 ขั้นตั้งแต่ เม.ย.-ก.ค.53 อยู่ๆได้รับหนังสือแจ้งเรียกเงินคืน 282x4=1,128บาท และตามเพดานเงินเดือนของตำแหน่งใหม่แล้วจะเป็น 14,410บาท.5 ขั้น=270x4=1,080บาทแล้วยังงี้ผมจะต้องได้รับเงินจาก.5 ของเงินเดือนใหม่หรือไม่เพราะได้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะมีตกเบิกขั้นให้อีกหรือเปล่ากับได้รับคำตอบว่าไม่มีเลยทำให้ผมงง เป็นเพราะเจ้าหน้าไม่รู้เรื่องรายละเอียดหรือเปล่าหรือเพราะหน่วยงานหลักได้ออกนอกระบบราชการไปแล้วแต่ตำแหน่งของผมออกไม่ได้ ขอความกรุณาท่านอ.จ.ช่วยตอบเป็นอย่างไรจะต้องได้ตกเบิกตามขั้นเงินเดือนใหม่หรือไม่ปรการใด สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอ.จ.เป็นอย่างสูง

ตอบ...หมายเลข 73...

ถ้า 1 เม.ย.53 เงินเดือนของคุณเต็มขั้นแล้วและได้ 2 %  การนำไปคิดเทียบกลุ่มงานใหม่ จนท.ต้องเพิ่มให้อีก 0.5 ขั้น จากเงินเดือนที่เต็มขั้น (ขยายเพดาน)...การคิดในกรณีนี้ที่เรียกเงินคือน จนท.การเงิน อาจจ่ายคืนให้ไปก่อนแล้ว และการได้ขั้นก็นำจำนวน 0.5 ขั้น คูณด้วยจำนวนเดือน แล้วนำไปหักกับจำนวนที่จนท.การเงินได้จ่ายไปแล้ว 2 % ส่วนมากก็จะโดนเรียกเงินคืน บางคนก็ 10 บาท 60 บาท 90 บาท ต่อเดือนค่ะ...เนื่องจากการเงินจ่ายไปให้ก่อนแล้ว 2 % ค่ะ...ที่แจ้งมาไม่ทราบตำแหน่งและกลุ่มงานที่ชัดเจน จึงตอบให้ไม่ได้ค่ะ...ถ้าสงสัยสอบถามมาใหม่นะค่ะ...

เรียน ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

สำหรับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างประจำในตอนนี้...เช่นการเปลี่ยตำแหน่ง เปลี่ยนระดับชั้นให้สูงขึ้น นั้น...เมื่อวานผู้เขียนได้คุยทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง  ท่านแจ้งมาว่า ตามที่สำนักงาน ก.พ. ให้เปลี่ยนตำแหน่งได้นั้น...ขอให้ทุกท่านรอหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องวิธีการ หลักเกณฑ์ การเข้าสู่ตำแหน่งของลูกจ้างประจำก่อนนะค่ะ...ส่วนราชการต้องชะลอไปก่อน จนกว่าจะมีหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

หมายเหตุ  :  ถ้ามีหนังสือจากกระทรวงการคลังแจ้งมา  ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

เรียนอ.บุษยมาศที่เคารพและนับถือดิฉันติดตามคำตอบของอาจารย์ที่เพื่อนๆลูกจ้างประจำถามมาเป็นประจำทำให้ได้รับความกระจ่างและมีขวัญกำลังใจในการทำงานมากขึ้นดิฉันขอเรียนถามข้อสงสัยดังนี้นะคะ คือปัจจุบันเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานบริการอัดสำเนา เงินเดือนตันเมื่อตุลาคม2552ที่14140บาทและได้2%รับตกเบิกแล้วเมื่อครบ6เดือนต่อมาเมื่อเมษายน2553ได้2%ยังไม่รับตกเบิกเมื่อมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งและระดับใหม่ได้เป็นพนักงานบริการเอกสารทั่วไปคุณสมบัติทั้งคุณวุฒิและอายุงานได้ครบถึงระดับ2กลุ่มที่1-2ตันที่22220บาทใช่ไหมคะขอเรียนถามอาจารย์ว่าเมื่อปรับระดับใหม่และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่1เมษายน2553นั้นสมมุติตุลาคมนี้ดิฉันได้0.5ขั้นเงินเดือนจะอยู่ที่เท่าไรคะและจะมีการเรียกตกเบิกที่ได้รับไปคืนไหมคะ ขอบพระคุณอาจารย์มากที่เป็นกุญแจให้กับบรรดาลูกจ้างเพราะเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงาน จ.ของหน่วยงานที่ดิฉันทำอยูก็ได้ข้อมูลจากอาจารย์ไปบอกและปรับเปลี่ยนระดับให้ลูกจ้างค่ะ

ตอบ...หมายเลข 76...

คุณตำแหน่งพนักงานบริการเอกสารทั่วไป รหัส 1409  กลุ่ม 1 - 2 ค่าจ้างขั้นต่ำ = 7,100 บาท ค่าจ้างขั้นสูง = 22,220 บาท ค่ะ...ถ้าปรับระดับใหม่ จะได้ค่าจ้าง = 14,410 บาทค่ะ ถ้ายังไม่ได้รับ 2 % หรือ 4 % ตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 ก็ไม่ต้องหักเงินคืนการเงินค่ะ เพราะเรายังไม่ได้รับเงินค่าจ้างนี่ค่ะ...แต่ถ้าหน่วยงานใดได้รับ 2 % หรือ 4 % ไปแล้ว เช่น ที่ ม.ของที่พี่อยู่ การเงินเขาจะนำเงินที่รับไปแล้วมาหักลบกันค่ะ...ส่วนใหญ่ลูกจ้างจะต้องหักเงินคืนให้การเงินค่ะ  เพราะจำนวนเงินที่เลื่อนขั้น ต่ำกว่า เงิน 2 % หรือ 4 % ค่ะ แต่ก็ไม่มากเท่าไรค่ะ...อยู่ที่ค่าจ้างใครจะมากจะน้อยค่ะ...

       สำหรับตุลาคม ถ้าได้ 0.5 ขั้น จะได้ =  14,700   บาท

                           ถ้าได้ 1 ขั้น   จะได้ =  14,970   บาท

       ดูได้จากบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

       http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

 

ขอเรียนถามอ.บุษยมาศดังนี้ ปัจจุบันตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดระดับ3เงินเดือน12670ถ้ามีการปรับเปลี่ยนระดับแล้วเงินเดือนจะขึ้นตามบล๊อกไปหรือว่าสามารถข้ามระดับได้เพราะว่าขณะนี้เงินเดือนอยู่ที่ระดับ1กลุ่มที่1แต่ตำแหน่งอยู่ที่ระดับ3กลุ่มที่1-2และขอเรียนถามว่าจะปรับตำแหน่งเป็นนวก.การเงินได้หรือไม่เพราะคุณสมบัติและลักษณะงานที่ทำอยู่ตรงตามที่กำหนด

ตอบ...หมายเลข 78...

ตำแหน่งใหม่ของคุณ คือ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ รหัส 2113 ระดับ 3 บัญชีค่าจ้างอยู่ในกลุ่มที่ 1 - 2 ขั้นต่ำของค่าจ้าง = 7,100  บาท ...ขั้นสูงของค่าจ้าง = 22,220 บาท ค่ะ...สำหรับขั้นวิ่งค่าจ้างของคุณ ต้องเลื่อนไปตามกลุ่ม 1 ก่อนค่ะ เมื่อเต็มขั้น 1 แล้ว ค่อยปรับเข้าสู่กลุ่มที่ 2 ค่ะ...(เนื่องจากสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางให้แล้วค่ะ)...การปรับเข้าสู่ตำแหน่ง การเงิน ก็อยู่ที่คุณพิจารณาว่า อยู่เดิม กับไปตำแหน่งใหม่ แบบไหนที่มีความมั่นคงกว่ากันค่ะ...ถ้าตำแหน่งไหนก้าวหน้ากว่า ก็ไปตำแหน่งนั้นค่ะ...แต่งานที่เราทำต้องเป็นงานนั้นด้วยนะค่ะ...ถ้าไม่ก้าวหน้า คือ เหมือนกัน ก็ไม่ควรเปลี่ยนค่ะ...เพราะเงินค่าจ้างก็เท่าเดิม...(ให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของการเงินและพนักงานพิมพ์ เปรียบเทียบกันค่ะ)...

เรียน  ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เรื่อง "การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่" ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/390373

เรียน อาจารย์บุษยมาศ ที่เคารพ

ดิฉันขอเรียนถามอาจารย์ว่า ขณะนี้ดิฉันดำรงตำแหน่งลูกจ้างประจำ ตำแหน่งคนงาน จบ ม.ศ.3 เดิม ค่ะ ตอนนี้กำลังเรียน ก.ศ.น และกำลังเรียนต่อระดับปริญญาตรีด้วยแต่ยังไม่จบ ดิฉันบรรจุมา 24 ปีแล้ว เงินเดือนตันมาหลายปีแล้วค่ะ หากดิฉันจะทำเรื่องขอปรับระดับเป็นพนักงานพิมพ์ จะได้หรือเปล่าคะ เพราะดิฉันทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์มาตลอด ทั้ง ภาษาไทย และอังกฤษค่ะ

ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้าค่ะ

วนิดา

ตอบ...คุณวนิดา...

ได้ค่ะ...ให้ศึกษาคุณสมบัติของตำแหน่งพนักงานพิมพ์ และหน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่พิมพ์ดีด...โดยให้ศึกษาในบล็อกด้านล่างให้ละเอียดนะค่ะ...สามารถทำได้ค่ะ...ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้กำหนดแนวปฏิบัติให้แล้วค่ะ...ลองศึกษาในแต่ละบล็อกนะค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

สวัสดีครับ คุณบุษยมาศครับผมเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานบริการมาเป็นพนักงานพิมพ์ดีด แต่ยังต้องมาตัดหญ้ามันถูกต้องไหมครับ ผมลองคุยกับ ผอ. แล้วท่านว่าโรงเรียนเรามันเล็กคุณก็ต้องทำหน้าที่ภารโรงไปด้วย ผมจะทำยังงัยดีครับ ผมอยากถามว่าถ้าจะย้ายตัดโอนตำแหน่งไปโรงเรียนอื่น ทำได้ไหมครับ

ตอบ...คุณ tawin...

เมื่อคุณเปลี่ยนเป็นพนักงานพิมพ์แล้ว สิ่งที่คุณทำ คือ งานอะไรค่ะ ใช่พิมพ์หนังสือราชการหรือไม่ ถ้าว่ากันด้วยมาตรฐานกำหนดตำแหน่งจริง ๆ คุณสมบัติของคุณก็คือ พนักงานพิมพ์ ตามที่ กระทรวงการคลัง  กำหนด...และต้องทำงานธุรการประกอบด้วย...ถ้าหากเป็น ร.ร.ขนาดเล็ก คือ เด็กประมาณกี่คนค่ะ...คุณอาจต้องทนไปนิดหนึ่งนะค่ะ...เพราะความจริง โรงเรียนก็ใช้ระเบียบการจ้างเหมาเพื่อจ้างคนงานมาทำงานด้านนี้ได้ โดยต้องศึกษาระเบียบการจ้างเหมาคนงาน ทาง ผอ. ต้องตั้งงบประมาณขอจ้างเหมาคนงาน ทำความสะอาด หรือ รปภ. เพราะมีหนังสือของกระทรวงการคลังแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินการได้ตามหนังสือดังกล่าว...เมื่อเร็ว ๆ นี้แหล่ะค่ะ...ถ้าของบประมาณได้ คุณก็คงไม่ต้องโดนตัดหญ้า...แต่คุณก็ต้องทำงานในตำแหน่งพนักงานพิมพ์ให้สมบูรณ์ให้ได้...สำหรับการที่ปัจจุบันคุณต้องมาตัดหญ้า...นั่นเป็นเพราะ ผอ. ขอความเห็นใจให้คุณปฏิบัติไปก่อน เนื่องจากไม่มีงบประมาณ หรือ คนที่สามารถมาทำงานทดแทนนี้ได้...ไปอยู่ที่ไหน ๆ ก็มีสภาพคล้าย ๆ กัน ไม่ต้องการเห็นการหนีปัญหา  เราควรหันหน้าสู้ปัญหา...และบอก ผอ. ว่าควรจะดำเนินการของบประมาณในการจัดจ้างบริษัททำความสะอาดได้แล้วค่ะ...ลองเสนอดูนะค่ะ...เพราะมีหลายหน่วยงานแล้วที่ปฏิบัติตามที่บอกข้างต้น...

ขอบคุณครับ คืองานที่ทำก็มีทั้งงานเอกพิมพ์เอกสารสื่อการเรียนการสอนช่วยครู หนังสือราชการ แบบฟอร์มต่าง กรอกข้อมูลช่วยครู ทั้งดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน โรงเรียนของผมมีนักเรียน 103 คน ครับ ที่ผมถามเรื่องขอย้ายตัดโอนไม่ใช่หนีปัญหาครับ จริงๆอยากย้ายไปอยู่ใกล้ๆบ้านครับ ขอบคุณมากครับ

ตอบ...หมายเลข 85...

การย้ายก็ขึ้นอยู่กับโรงเรียนต้นสังกัด และโรงเรียนที่จะรับย้ายด้วยค่ะ ว่าเขาจะให้ไปหรือไม่ เพราะอัตรากำลัง + เงินค่าจ้างของลูกจ้างประจำโรงเรียนเดิมจะหายไปตั้งไว้ที่โรงเรียนแห่งใหม่ค่ะ บางครั้ง ผอ.ร.ร. ก็จะไม่ยอมหรอกค่ะ ต้องเข้าใจผู้บริหารด้วย (สำหรับการบริหารเขาเรียกว่าเสียอัตรา + เงินเดือน)ไปค่ะ...อีกอย่างถ้าขึ้นกับเขตพื้นที่ ก็อยู่ที่ ผอ.เขตด้วยนะค่ะ ว่าจะให้หรือไม่...ก็ลองปรึกษาผอ.ร.ร. ดูสิค่ะ ว่าได้หรือไม่...อ้างเหตุผลว่าอยู่ใกล้บ้านคงจะไม่ได้หรอกค่ะ...อาจฟังไม่ขึ้น...ควร จะ อ้างเหตุผลที่ฟังดูน่าเห็นใจ เช่น ดูแลบิดามารดา (ถ้าป่วยหนัก)...เป็นต้นค่ะ...

ขอคุณหลายๆครับอาจารย์บุษยมาศครับที่มาตอบคำถาม ผมจะลองดูครับ

ผมเป็นตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ทำงานมา 20 กว่าปีในกรมป่าไม้ แต่ปฏิบัติงานจริงผมทำหน้าที่ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่า มาตลอด

ตามความสามารถและย้ายเปลี่ยนหน่วยมามากเป็น 10 หน่วยแล้ว มีลูกน้องในหน่วยแต่ละหน่วยประมาณ 8-15 คนที่เป็นพนักงานของรัฐ (ลูกจ้างชั่วคราว) ผมอยากทราบว่าจะสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้หรือไม่เพื่อให้ตรงกับลักษณะของงาน และบทบาทหน้าที่

กรุณาตอบให้ความกระจ่างด้วย ขอขอบคุณล่วงหน้า

ตอบ...คุณ tawin...

ค่ะ ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 88...

ถ้าปัจจุบันไม่ได้เป็นพนักงานขับรถยนต์แล้ว แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่า (มีคำสั่งให้ปฏิบัติ)...คุณลองดูมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของตำแหน่งที่คุณต้องการเปลี่ยนไปสิค่ะ...ว่าจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งใด และให้ดูหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งนั้นที่คุณต้องการเปลี่ยนว่าได้หรือไม่...ถ้าได้ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการของคุณค่ะ...แต่ต้องดูองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านด้วยนะค่ะ ว่าเปลี่ยนไปแล้วดีขึ้นกว่าเดิมไหม ค่าจ้างสูงกว่าเดิมไหม...หน้าที่ที่คุณปฏิบัติตรงกับตำแหน่งหรือไม่...ถ้าตรงก็สามารถทำได้ค่ะ แต่ต้องปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการด้วยนะค่ะ...อธิบายเหตุผลให้เขาเข้าใจด้วยนะค่ะ...ว่าเพราะเหตุใด...ถ้าสงสัยก็ถามมาใหม่นะค่ะ เพราะตำแหน่งมากจริง ๆ ผู้เขียนก็เลยไม่ทราบว่าคุณทำหน้าที่เรื่องใด และต้องการไปอยู่ตำแหน่งใดค่ะ...จึงไม่สามารถตอบได้ละเอียดมากนัก...ลองศึกษาตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนในบล็อกที่ผู้เขียนนี้ก็ได้ค่ะ จะมีหลายบล็อกค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 88...

ลองศึกษาได้จากบล็อกด้านล่างนี้ก็ได้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

.......ท่านบุษบมาศ.......ครับ... ได้ศึกษาข้อมูลอะไรต่อมิอะไรหลาย ๆ อย่าง ก็นับว่าท่านได้ให้ข้อมูลที่แจ่มแจ้ง สามารถเข้าถึงข้อมูลน่าเชื่อถือได้ทุกเรื่องตลอดถึงมีเรื่องอ้างอิงอยู่เสมอ......แต่มีอีกอย่างที่พวกเรายังมิทราบ...นั่นคือ แท่งเงินเดือนของพวกเรา (ลปจ.) หาดูที่ใหนไม่ได้เลย ท่านพอจะอนุเคราะห์นะครับ.....ว่ามีขั้นมีตอนกันอย่างไร ...พวกผม ตีบตันที่ 15,260.. จะได้อยู่ขั้นไหน อะไรทำนองนี้ ก็ขอขอพระคุณล่วงหน้านะครับ......... โอกาสหน้าจะมาเยี่ยมเยือนใหม่ นะครับ...สวัสดี...

ตอบ...หมายเลข 92...

สำหรับแท่งเงินเดือนของลูกจ้างประจำ ผู้เขียนได้นำมาลงให้แล้วในบล็อกค่ะ ศึกษาได้ตามบล็อกด้านล่างนี้ก็ได้ค่ะ... ความจริงผู้เขียนได้เขียนไว้หลายเรื่อง คลิกที่คำว่าบล็อกด้านบน แล้วคลิกที่สารบัญด้านขวา ก็จะมีเรื่องที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ 400 กว่าเรื่องแล้วค่ะ...ถ้าสะดวกในเรื่องของลูกจ้างประจำ (เฉพาะ) คลิกตามบล็อกด้านล่างนี้เลยค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

ต้องศึกษาดูหลาย ๆ บล็อกนะค่ะ เพราะเรื่องจะมีความเชื่อมโยงกันค่ะ...

....................ก็นานวันครับที่ได้เข้ามาเยี่ยม...เหตุภาระกิจอยู่ในภาคสนามเสียส่วนใหญ่.....ครับ....คนกรมป่าฯ ....ก็ขอขอบพระคุณในความกรุณาในการตอบที่รวดเร็วทันใจ ของท่านเป็นอย่างมาก ในการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องแท่งของ ลปจ. แต่ในบล๊อกที่ท่านได้ให้ไว้ศึกษานั้น ผมก็พอได้เข้าดู...และอ่านในหนังสือเวียนจากหน่วยงานมาบ้างแล้ว แต่คำตอบก็ยังไม่เป็นที่พอใจอย่างหนึ่งครับ คือแท่งและขั้นวิ่งของอัตราค่าจ้างของพวกเรานั้นยังไม่มีครับ ผมได้เข้าดเยี่ยมในบล๊อกของ "สมาคมลูกจ้างประจำเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่" ดู ได้เห็นเป็นขั้นๆ มีขี้นวิ่งที่ชัดเจน โดยแยกเป็นกล่ม 1 , 2 อะไรอย่างนี้ ก็ไม่แน่ใจ ไม่ทราบว่าจะเป็นหลักการที่จะใช้กับพวกเราในขณะนี้หรือไม่ ? ....ก็ขออนุเคราะห์คลิ๊ก....เข้าที่ตามที่ผมได้เข้าดังนี้นะครับ...แล้วจะคอยคำวิเคราะห์อีกครั้งนะครับ โดยเข้าไปที่ ...."มุมเสวนาลูกจ้างประจำของส่วนราขชการ"....และดูที่หน้าต่างที่ 3 ชื่อ " "สมาคมลูกจ้างเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่" " ครับ ...ซึ่งทั้งหมดก็จะมีหลายๆ....เรื่องและเลื่อนลงไปก็จะพบกรอบ...."ข่าวประกาศและเอกสารดาวน์โหลด"......และคลิ๊กเรื่อง...."บัญชีอัตราค่าจ้างตามกลุ่มงาน "ในเรื่องที่ 2

...................ปล.ถ้าเราเข้าหน้ากลูเกิ้ลโดยตรงที่....สมาคมลูกจ้างเขตฯ.....ก๊จะไม่พบมีแต่....มีลิงปิดตาเฝ้าหน้าเว๊ปอยู๋..555..ไม่ทรามว่าเป็นอย่างไร.........ขอบพระคุณ........

...........แก้ไข.......94...ที่ว่า....โดยเข้าไปที่......"มุมเสวนาลูกจ้างประจำของส่วนราชชการ" ไขเป็น....."มุมเสวนาลูกจ้างของส่วนราชการ"..ครับผม เหตุต้องรีบทำกับข้าวลูกๆ.........ขอบคุณ..

ตอบ...หมายเลข 94-95...

บัญชีขั้นวิ่งของกลุ่มลูกจ้างประจำ ผู้เขียนก็ได้นำลงไว้แล้วนี่ค่ะ...ลองศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...เหมือนของสมาคมลูกจ้างเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

http://gotoknow.org/file/bussayamas/group1.pdf

 

เรียนถามอ.บุษยมาศ

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลของรัฐ ตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ ทำหน้าที่รับผิดชอบการเงิน บรรจุมา 10 ปีอายุ 36 ปี เงินเดือน 10,850 บาท มีวุฒิการศึกษา ปวส.(สาขาคอม ฯ ) ไปสอบเข้ารับราชการได้ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน แต่ยังไม่ได้เรียกตัว แต่ถ้าเรียกตัวมาดิฉันขอถามอ.บุษยมาศ ว่าสมควรลาออกไปเป็นข้าราชการหรือไม่ มันจะคุ้มกันไหม เพราะคำนวนไม่เป็นว่าเงินเดือนก็เยอะแล้ว และก็อายุก็เยอะด้วย

ตอบ...หมายเลข 97...

ก็อีก 24 ปี เกษียณใช่ไหมค่ะ...ถ้าใช้บรรจุวุฒิ ปวส. เงินเดือนจะเท่ากับ 7,100 บาท สำหรับกระบวนการภายในถ้าเป็นข้าราชการ อาจมีการพอกขั้นขึ้น (ระบบเก่า) แต่ระบบใหม่ ไม่ทราบว่ามีหรือไม่นะค่ะ...ก็เรียกว่า อายุราชการก็อีกนานนะค่ะ...ถ้าจะไปบรรจุก็ได้ค่ะ...เราออกจากลูกจ้างประจำของรัฐ เราก็ได้บำเหน็จไปก้อนหนึ่ง...แล้วไปบรรจุเป็นข้าราชการ เงินเดือนลดมานิดหนึ่ง แต่เราก็ยังมีเงินบำเหน็จ คือ เงินค่าจ้าง 10,850 X 10 ปี ค่ะ = 108,500 บาท แล้ว กสจ. ไม่ทราบว่าเป็นหรือไม่ ถ้าเป็นคงได้มาอีกนิดหนึ่งนะค่ะ...สำหรับเวลาเหลือ อีก 24 ปี ก็น่าจะได้อยู่นะค่ะ ลองคำนวณดูก็ได้ ข้าราชการจะได้สิทธิในการเบิกค่าสวัสดิการ + สิทธิประโยชน์ อื่น ๆ ที่ข้าราชการพึงได้รับ อาจมีค่าเช่าบ้าน ถ้าเราโดนสั่งย้าย แล้วได้สิทธิ กบข. ถ้าเราสมัคร สิทธิในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ต่าง ๆ สิทธิในการกู้เงินเพื่อสร้างบ้าน ฯลฯ แล้วแต่เราค่ะ...ถ้าคำนวณเงินตอนเราเกษียณ น่าจะได้ประมาณ 18,000 กว่า (นี่ยกตัวอย่างไปตามขั้นธรรมดานะค่ะ ไม่รวมที่เราต้องทำผลงานเป็นชำนาญการ ชำนาญพิเศษ นะค่ะ) ถ้าเรารับบำเหน็จก็จะได้ 18,000 X 24 ปี = 432,000 บาท แต่ถ้าเรารับบำนาญ (จะมีกระบวนการคิด 60 เดือนสุดท้ายของการรับราชการ คือ นำเงินเดือน สมมุติได้ ปัจจุบัน 18,000 (ณ วันเกษียณ) พี่ประมาณให้นะค่ะ...ประมาณจากยอดที่ต่ำสุดแล้วค่ะ...จะได้รับบำนาญ ประมาณ 12,600 บาท) แต่ในความจริง อาจได้รับเงินเดือนสุดท้ายมากกว่านี้ค่ะ...อยู่ที่ตัวเราต้องอัพเดทตัวเราเองให้มีผลงานค่ะ...ลองตัดสินใจก่อนก็ได้ค่ะ กับที่เราเป็นลูกจ้างประจำอยู่ แล้วอีก 24 ปี เราจะได้รับบำเหน็จเท่าไหร่ หรือรับบำเหน็จรายเดือนเท่าไร คุ้มหรือไม่ (คือ นำเงินค่าจ้างที่ตัน X ระยะเวลาที่รับราชการทั้งหมดค่ะ...สำหรับบำเหน็จรายเดือนจะได้น้อยมา คิดเป็นก็ประมาณ 70 % ของเงินค่าจ้างเดือนสุดท้ายก่อนเกษียณค่ะ...) ดูด้วยว่าที่ทำงานเดิม เราอยู่แล้วเป็นสุขใหม่ ถ้ามีความสุข แล้วพอไปเป็นข้าราชการ เราบรรจุที่ไหน ไกลบ้าน ห่างครอบครัวหรือไม่ เพราะการเป็นข้าราชการ ต้องมีการลงทุนสูงค่ะ ในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง...คุ้มหรือไม่ ก็แล้วจะคิดค่ะ...ถ้าไปเป็นข้าราชการ แล้วมีปัญหาในเรื่องครอบครัว ควรอยู่ใกล้ครอบครัวของเราดีกว่าค่ะ...ถ้าปัจจุบันเรามีความสุขดีอยู่แล้ว...ลองดูนะค่ะ...

จากหมายเลข 97 ขอขอบพระคุณอาจารย์บุษยมาศมากที่ให้ขอแนะนำดิฉัน อ่านแล้วรู้สึกดีมากมีกำลังใจในการทำงานถึงจะเป็นแค่ลูกจ้างประจำที่ใครดูถูกแต่ดีกว่าอีกหลายคนที่เป็นไม่ได้เท่าเรา ดิฉันตัดสินใจแล้วค่ะว่าถ้าโดนเรียกไปบรรจุข้าราชการจะไม่ไป และจะตั้งใจทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในตำแหน่งการเงิน และขอถามอาจารย์สัก 2 ข้อได้ใหม่ค่ะ

1. ถ้าจะเรียนต่อปริญญาตรีจะเรียนสาขาอะไรระหว่าง การจัดการทั่วไป 2 ปี หรือ สาขาบัญชี 4 ปี (เพราะดิฉันจบปวช.สายบัญชีและปวส.สายคอมซึ่งสายคอมต่อบัญชีไม่ ต้องใช้วุฒิปวช.สมัครเรียน ถ้าเรียนสายบัญชีก็ใช้สำหรับงานที่ทำ แต่เรียนสายการจัดการก็จบไว

2. ดิฉันบรรจุเป็นลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 1 พ.ย.2542 สามารถเลือกบำนาญได้ไหม

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างมากที่ให้คำปรึกษาแก่ดิฉัน

ตอบ...หมายเลข 99...

ค่ะ...ความจริงแล้ว ไม่ว่าข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ เราก็ทำงานให้กับรัฐเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกันตรงสวัสดิการที่จะได้รับเท่านั้นเอง...แต่คนเราชอบมาแบ่งชั้นกันเอง...เพราะเนื่องมาจากแต่เดิมระบบราชการเป็นระบบศักดินาไงค่ะ...พอมาปัจจุบันรัฐพยายามปรับเปลี่ยนระบบให้เป็นที่ผลงาน การทำงานเป็นทีม ไม่แบ่งชั้นค่ะ แต่ภาพเก่า ๆ ยังฝังอยู่ในข้าราชการที่ไม่เข้าใจความเป็นข้าราชการอย่างแท้จริงไงค่ะ...จึงทำให้ลูกจ้างประจำเกิดการดูถูกจากข้าราชการค่ะ...แต่ถ้าเราทำงานในหน้าที่ของเราดีแล้ว และเรียกว่า ดีกว่าข้าราชการบางคนอีก...ทำไปเถอะค่ะ...เราจงภูมิใจที่เราก็รับใช้ประเทศชาติเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกันที่ประเภทบุคลากรเท่านั้นเอง...

สำหรับคำถามที่ถาม...1. ถ้าเราทำงานตำแหน่งการเงิน ควรแนะนำให้เรียนทางบัญชีจะดีกว่าไหมค่ะ...ทราบค่ะว่ายากนิดหนึ่ง แต่ถ้าเรามีพื้นฐานอยู่แล้ว น่าจะเข้าใจมากขึ้นนะค่ะ...แต่ถ้าเรียนด้านการจัดการทั่วไป ก็ได้...เขาก็เรียนบัญชีเหมือนกัน แต่เป็นบัญชีพื้นฐานที่คนทั่วไปต้องทราบค่ะ...แต่จบ ปวส.มาแล้ว ทำไมไม่เรียนการจัดการละค่ะ แค่ 2 - 2 ปีครึ่งเองมังค่ะ ...ลดเวลามาอีกตั้งครึ่งหนึ่ง แทนที่จะเรียน 4 ปีไงค่ะ...เพราะเราเรียนเพื่อเพิ่มวุฒิการศึกษาเองนี่ค่ะ...ถ้าจะใช้ในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่อีก ลองศึกษาตำแหน่งที่เราเล็งว่าจะเปลี่ยนไป (แต่ต้องดูว่าเราทำงานนั้นอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน)...ว่าเขาต้องการวุฒิใดด้วยนะค่ะ...เพื่อในการตัดสินใจที่จะเรียนค่ะ...

2. ปัจจุบันเลือกรับบำเหน็จรายเดือนได้แล้วค่ะ...กฎ ระเบียบมีผลบังคับใช้แล้วนี่ค่ะ กว่าจะเกษียณ อีกตั้ง 24 ปี รวมปัจจุบัน อายุราชการก็ตั้ง 34 ปี ได้อยู่แล้วค่ะ... ถ้าต้องการให้มั่นคงอีก...ควรหารายได้อื่นเสริมก็ได้นะค่ะ ...แต่ถ้าไม่เดือดร้อนอะไร...ก็ทำงานแบบนี้ ไปเรื่อย ๆ ค่ะ...มีทางให้เลือกมากมายค่ะ อยู่ที่เราเลือกที่จะทำให้อนาคตและตัวเราดีขึ้นได้ค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท