การพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการ


เรียน คุณบุษยมาศ

ดิฉันตำแหน่งพนักงานพิม ระดับ ส3 จะเปลี่ยนตำแหน่ง ธุรการการ ได้หรือเปล่า จบ ปวท.บัญชี มา

ปัจจุบันทำบัญชีเกณฑ์คงค้างของวิทยาลัย ทำบัญชี วิทยาลัยมา 14 ปีแล้วค่ะ ลูกจ้างประจำสามารถย้ายกลับภูมิลำเนาได้หรือเปล่า

ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

ตอบ...คุณน้ำฝน...

การเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานพิมพ์ระดับ ส3 เป็นธุรการ ลองดูคุณสมบัติของตำแหน่งธุรการด้วยนะค่ะว่า ถ้าเปลี่ยนไปแล้ว ตำแหน่งธุรการ ค่าจ้างสูงเท่ากับพนักงานพิมพ์หรือเปล่า ถ้าได้ต่ำกว่า ก็ไม่ควรไป เป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ ส3 แล้วค่อยเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ ส4 ไม่ดีหรือค่ะ เพราะค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นไงค่ะ...การเปลี่ยนตำแหน่งก็ต้องดูด้วยว่า เราทำงานด้านธุรการ งานสารบรรณด้วยหรือไม่ค่ะ (ให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งธุรการนะค่ะ)...ถ้าค่าจ้างเพิ่มขึ้น งานก็เคยทำ ก็สามารถเปลี่ยนได้ แต่อยู่ที่ส่วนราชการด้วยนะค่ะ ว่าจะอนุญาตหรือไม่ค่ะ)...

เท่าที่เคยเห็น จะเป็นการย้ายกันภายในสังกัดเดียวกันค่ะ แต่การย้ายกลับภูมิลำเนา นี่ ต้องถามหัวหน้าส่วนราชการของคุณ กับส่วนราชการปลายทางว่าจะรับย้ายหรือไม่...แต่ที่ทราบมา หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดเขาจะไม่ค่อยปล่อยตัวไปหรอกค่ะ  เป็นเพราะส่วนราชการจะต้องเสียอัตราของคุณไปที่ที่คุณจะย้ายไปค่ะ...แต่ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการที่คุณสังกัด และส่วนราชการที่คุณจะไปดูสิค่ะ ว่าได้หรือไม่...เป็นการยากอยู่เหมือนกันค่ะ...ยิ่งถ้าตัดตำแหน่งไปด้วยแล้ว จะไม่ค่อยปล่อยไปหรอกค่ะ...

สวัสดีครับ ท่าน ผอ. บุษยมาศ

ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณท่าน ผอ. มากที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่านมาให้ความรู้แก่พวกเราชาวลูกจ้างประจำทุกคน

ผมได้ติดตามความเคลื่อนไหวของลูกจ้างฯ มาตลอด แต่ไม่มีเวปไหนที่ให้ความรู้และความกระจ่างเท่า blog ของท่าน และความรู้นี้สามารถนำไปอ้างอิงกับผู้บังคับบัญชาได้ดีเป็นยิ่งครับ

ผมขอเรียนถามท่านดังนี้ครับ

ปัจจุบันผมปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 2 สังกัด สพม.เขต 1 กทม. เงินเดือน 13360 ซึ่งผมได้ดูจาก blog ของท่านแล้ว เงินเดือนของผมจะไปอยู่ที่กลุ่ม 1 ใช่หรือไม่ครับและจะสามารถเปลี่ยนกลุ่มเป็น 2 และ 3 ได้ไหมครับ

ผมจบปริญาตรี 2 ใบ คือ บริหารธุรกิจ (ทรัพยากรมนุษย์) และ วทบ. เทคโนโลยีสารสนเทศ (เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสาร) มีใบประกอบวิชาชีพครู

1. ในเมษานี้ ผมจะใช้วุฒิ วทบ. เทคโนโลยีสารสนเทศ ไปสมัครสอบครูคอมพิวเตอร์ ผมเคยโทรไปถามทางเจ้าหน้าที่แล้ว

เขาบอกว่าวุฒินี้ไม่ใช่วุฒิเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ครับ ทั้ง ๆ ที่ก็มีหน่วยกิตคอมพิวเตอร์ตรงคุณสมบัติที่กำหนด ท่าน ผอ. โปรดให้คำแนะนำแก่ผมด้วยครับ

2. การให้สิทธิครูอัตราจ้าง พนักงานราชการ ที่ทำงานครบ 3 ปีสอบบรรจุเป็นการภายใน อยากทราบว่าลูกจ้างประจำจะสามารถใช้สิทธิตรงนี้สอบได้หรือไม่ครับ

ท้ายนี้ผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านนับถือ โปรดดลบันดาลให้ท่าน พร้อมบุคคลในครอบครัวมีความสุขและความเจริญนะครับ

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

นายชัยยศ

ตอบ...คุณชัยยศ...

พนักงานพิมพ์ ระดับ 2 จะอยู่กลุ่มค่าจ้างที่ 1 ค่ะ ค่าจ้างขั้นต่ำ 5,840 ขั้นสูง 18,190 บาทค่ะ...สามารถเลื่อนระดับได้ค่ะ เป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ค่าจ้างอยู่กลุ่มที่ 1-2 เป็นเลื่อนระดับได้เป็นระดับ 4  แต่ส่วนราชการต้องดำเนินการสอบเลื่อนให้นะค่ะ...แต่คุณต้องได้รับค่าจ้างเต็มขั้นกลุ่มที่ 1 ก่อนค่ะ...หรือไม่ก็คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ค่ะ ตามบล็อกและไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...ลองศึกษาดูค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/support.pdf

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

ใจเย็น ๆ นะค่ะ ความก้าวหน้าของตำแหน่งพนักงานพิมพ์ จะสามารถทำได้ถึงระดับ 4 ค่ะ เพราะที่ ม. ก็มีลูกจ้างประจำเป็นระดับ 3 พวกเขารอให้คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งได้ ม. จะดำเนินการให้เขาสอบพิมพ์ดีดได้ตามมาตรฐานที่ กระทรวงการคลังกำหนดค่ะ...ขึ้นอยู่กับความสามารถของพวกเขาด้วยค่ะ...ถ้าพิมพ์ได้ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นระดับ 3 ค่ะ แล้วพอคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งครบก็สามารถเลื่อนเป็นระดับ 4 ได้ค่ะ...เห็นไหมค่ะ ว่าความก้าวหน้าในตำแหน่งนี้มีค่ะ...แต่ต้องพิมพ์ดีดได้ตามเกณฑ์นะค่ะ...

1. การที่จะรับเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ หรืออาจารย์ที่สอนคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่เขาจะรับสาขาที่จบ คือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ค่ะ...เหตุที่เจ้าหน้าที่ไม่รับสาขาวิชาที่คุณจบ ต้องดูหน่วยกิตที่คุณเรียน เปรียบเทียบกับ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ดูนะค่ะ ว่าวิชาเรียน + หน่วยกิตเทียบกันได้หรือไม่...แต่ถ้ามาสมัครที่ ม. โดยเปิดรับเจ้าหน้าที่หรืออาจารย์สอนคอม ฯ เราก็จะรับผู้ที่จบสาขาวิทยาการคอม ฯ เพียงอย่างเดียวค่ะ เพราะถือว่าเนื้อหาจะเข้มข้นและลึกกว่า...เพราะต้องดูแล และซ่อมบำรุงเครื่องได้ด้วยค่ะ  ไม่ใช่เพียงแต่รู้เรื่องการใช้โปรแกรมอย่างเดียว...แต่ก็ลองดูรายวิชา + หน่วยกิตที่ให้เปรียบเทียบก่อนก็ได้นะค่ะ ว่าเทียบกันได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ก็ขึ้นอยู่ที่คณะกรรมการว่าจะให้สมัครหรือไม่ค่ะ...(ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของส่วนราชการว่าต้องการรับไปเพื่อทำอะไรด้วยค่ะ...ถ้านำไปเพื่อซ่อมบำรุงด้วยละก็ คงสมัครไม่ได้หรอกค่ะ...)...ลองศึกษาอย่างที่บอกก่อนนะค่ะ...

2. การให้สิทธิครูอัตราจ้าง พนักงานราชการที่ทำงานครบ 3 ปี สอบบรรจุเป็นการภายใน ลูกจ้างประจำไม่มีสิทธิ์ไปสอบหรอกค่ะ เพราะเป็นนโยบายของรัฐต้องการเปลี่ยนถ่ายให้พนักงานราชการบางส่วน โดยแบ่งให้เป็น % ให้สามารถสอบเปลี่ยนจากพนักงานราชการเป็นลูกจ้างประจำค่ะ...

การที่เราได้รับปริญญาบัตร หลาย ๆ ใบ ก็เป็นการดีค่ะ เป็นการพัฒนาตนเองไปในตัวไงค่ะ...แต่ให้คำนึงถึงว่า เราเป็นลูกจ้างประจำในตอนแรกเราใช้วุฒิใดสมัครในการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ  ส่วนราชการจะยึดวุฒิแรกของเราเป็นมาตรฐานในการรับเราเข้าทำงานค่ะ สำหรับวุฒิที่เราได้ในภายหลัง จะเป็นวุฒิจากการพัฒนาตัวเราเองค่ะ ส่วนราชการจะทำการเพิ่มวุฒิให้...แต่ไม่สามารถนำวุฒินั้นมาเรียกร้องสิทธิที่จะทำให้มีเกิดขึ้นได้ค่ะ...เพียงแต่เพิ่มวุฒิ แสดงว่าคุณจบ ป.ตรี วุฒิใดให้เท่านั้นเองค่ะ...

ค่ะ ต้องขอขอบคุณนะค่ะ สำหรับคำพร เช่นเดียวกันค่ะ คำพรที่ให้มาก็ขอให้ย้อนกลับคืนคุณและครอบครัวเช่นเดียวกันนะค่ะ...สิ่งใดที่ผู้เขียนสามารถบอกและแนะนำให้ได้  นั่นคือ หน้าที่ของการเป็นข้าราชการค่ะ...ไม่ว่าจะสังกัดไหน ถ้าเราใช้ระเบียบเดียวกันสามารถชี้แจงและแนะนำกันได้ เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรและประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

เรื่อง ขอขอบคุณ

เรียน ผู้อำนวยการ บุษยมาศ

ตามที่ท่านได้กรุณาสละเวลามาให้ความรู้นั้น ทำให้ผมและลูกจ้างประจำในสังกัดเดียวกัน มีความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาตัวเองมากขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ เป็นกำลังใจในการทำงานได้เป็นอย่างดีครับ เพราะยังเชื่อว่ายังมีบุคคลอีกหลายท่านยังห่วงใยและคอยดูแลพวกเราชาวลูกจ้างประจำอยู่ ผมจะพัฒนาตัวเองต่อไปและพยายามสอบเข้ารับราชการให้ได้ครับ

ผมขออนุญาตนำความรู้ที่ได้จาก blog ของท่านนำไปขยายความรู้ให้ลูกจ้างประจำในสังกัดเดียวกันเข้าใจต่อไปนะครับ

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

ชัยยศ มานะดี

ตอบ...คุณชัยยศ...

ใช่เลยค่ะ...ยังมีข้าราชการอีกหลายคนที่คอยห่วงใย...แต่ท่านเหล่านั้นอาจมีเหตุผลหลายประการที่ไม่สามารถมาชี้แจงให้ทราบได้...(สำหรับข้าราชการไทย สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาในการทำงานในปัจจุบัน ถ้าสำหรับผู้สูงอายุ จะเกี่ยวกับเรื่องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ค่ะ...ยิ่งโปรแกรมที่มีลูกเล่นเยอะมาก ๆ ท่านเหล่านี้จะไม่เป็นกันหรอกค่ะ...ต้องคนที่มีพื้นฐานในเรื่องการปฏิบัติงานด้านการใช้คอมฯ มาก่อนถึงจะทำได้ค่ะ  ต้องเข้าใจว่าสมัยก่อนไม่มีเครื่องคอมฯ และเครื่องคอมฯ ก็พัฒนาตัวของมันเองเร็วมาก...มาปัจจุบันเป็นยุคของการสื่อสารกันทางเว็บไซต์ไงค่ะ...ถ้าข้าราชการทุกท่านทำได้ ผู้เขียนเชื่อว่าประเทศไทยเราจะพัฒนาไปได้มากกว่านี้นะค่ะ...เพราะองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวของข้าราชการในแต่ละคนที่เป็นคนรุ่นเก่า ๆ ผู้เขียนมีความเชื่อว่า  มีมากจริง ๆ ค่ะ  แต่ไม่สามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาได้  ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นไงค่ะ  แต่ก็ได้แต่หวังไว้ว่าข้างหน้า  เมื่อข้าราชการทุกคนเป็นแล้ว  การพัฒนาเรื่องการให้ความรู้แก่บุคลากรภาครัฐคงจะมากขึ้นนะค่ะ)... ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย ตลอดรวมทั้งบุคลากรที่ทำงานภาครัฐทุกคนค่ะ...สำหรับการทำงานภาครัฐแนวใหม่  จะเน้นที่ผลงาน + การพัฒนาตนเองของข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ + พนักงานราชการ และทุก ๆ คนที่ทำงานภาครัฐค่ะ...

ค่ะ ยินดีล่วงหน้าด้วยนะค่ะ สำหรับการพัฒนาตนเอง  ถ้าทำได้ ก็ลองสอบบรรจุเป็นข้าราชการดูนะค่ะ...เพราะสิทธิ สวัสดิการจะดีต่อตัวเราเองและครอบครัวด้วยค่ะ...อีกอย่าง  นั่นคือ  ภูมิใจในศักดิ์ศรีของการเป็นข้าราชการด้วยค่ะ...แต่การกระทำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นด้วยนะค่ะ ถึงจะเรียกว่ามีศักดิ์ศรีค่ะ...

ครับผม ขอขอบคุณท่าน ผอ. อีกครั้งครับ

ในโอกาสต่อไปถ้าพวกผม (ลูกจ้างประจำ) มีอะไรที่ไม่เข้าใจ คงต้องขอคำแนะนำจากท่านอีกนะครับ

นายชัยยศ มานะดี

พนักงานพิมพ์ ระดับ 2

สพท.กทม.1

ตอบ...คุณชัยยศ...

  • ขอบคุณค่ะ
  • ยินดีค่ะ...

สวัสดีครับ บุษยมาศ

ยินดีและรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งนะครับ ที่(อดีต) ลูกจ้างฯอย่างพวกเราที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพแล้วยังมีความปราถนาดีต่อกันและไม่ลืมกัน คงไม่มีใครรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกเท่ากับพวกเราชาว ลูกจ้างฯ

ได้อ่านประวัติของคุณบุศยมาศแล้ว ต้องขอคาราวะและชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง คุณบุศยมาศเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราชาวลูกจ้าง ฯ เป็นอย่างยิ่ง

ผมเองก็เช่นเดียวกันกับ คุณบุศยมาศเป็นอดีตลูกจ้างประจำคนหนึ่ง ที่ยังรู้สึกปรารถนาดีและผูกพัน(ทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันเป็นส่วนตัว)พวกเราชาวลูกจ้าง พวกเราชาวลูกจ้างยังต้องการผู้นำและที่ปรึกษาที่มีความเข้าใจกัน คงไม่มีใครทำหน้าที่นี้ดีเท่าพวกเรากันเอง

ว่างๆ เข้าไปช่วยตอบคำถามสมาชิกและร่วมพูดคุยกันบ้างใบเว็บบล็อคของ ม2ท. นะครับ

จาก Google > มุมเสวนาลูกจ้างส่วนราชการ

อดีตลูกจ้างประจำ.....

พงษ์ศักดิ์........ (ม2ท.)

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

หัวหน้างานผู้ป่วยสัมพันธ์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

สวัสดีอีกครั้งครับ ท่าน ผอ.บุษยมาศ

แฮะๆๆ ....แค่คำว่า " คุณ " ก็ยังรีบจนลืมพิมพ์ ที่จริงก็ผ่านเข้ามาในเว็บนี้หลายครั้งแล้วและก็แอบชื่นชมท่าน ผอ.อยู่เงียบๆ เนื่องจากมีเพื่อนสมาชิก Copy ความคิดเห็นของ ม2ท. มาวางไว้ในเว็บนี้ จึงต้องตามมาดูสักหน่อย

และจะขออนุญาตเอาเว็บของท่าน ผอ.ไปวางลิ้งก์ไว้บนเว็บบล็อคของ ม2ท. ด้วย เพื่อเพื่อนๆจะได้มีข้อมูลกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะท่าน ผอ. เป็นผู้บริหารงานด้านบุคลากรโดยตรง ย่อมรอบรู้ เข้าถึงและได้รับข้อมูลต่างๆ ของลูกจ้างได้ที่ถูกต้อง รวดเร็ว

และในโอกาสหน้าผมคงต้องขอความรู้เกี่ยวกับการบริหาร การพัฒนาบุคลากร และระเบียบต่างๆเกี่ยวกับ ข้าราชการและลูกจ้าง จากท่าน ผอ.บ้าง เพราะมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ต้องดูแล ให้ความเป็นธรรมถึง 118 คน มีหลากหลายตำแหน่งและหลายกลุ่มการจ้าง การมอบหมายงาน การทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ค่อนข้างหลากหลาย ในฐานะศษย์เก่าลูกจ้างด้วยกัน คงได้รับความเมตตาบ้างนะครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ.

......................................................................................................................................ม2ท.

สวัสดีค่ะ...คุณพงษ์ศักดิ์ (หมายเลข 109 - 110)...

  • ค่ะ ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณค่ะ...
  • ด้วยความยินดีและอนุญาตให้ Link บล็อกนี้ไปไว้บนเว็บได้ค่ะ
  • สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการหรือบุคลากรอื่น ๆ ที่ทำงานให้กับภาครัฐ ผู้เขียนมีความยินดีที่จะให้บริการวิชาการในสิ่งที่ตนเองมีความรู้ + ประสบการณ์ค่ะ...
  • และผู้เขียนก็จะพยายามนำความรู้ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรภาครัฐมาบอกกล่าวให้รับทราบค่ะ
  • ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ  ก็มีความสำคัญต่อการทำงานภาครัฐด้วยกันทุกฝ่าย...แตกต่างกันตรงหน้าที่ภาระงาน ความรับผิดชอบเท่านั้นเอง
  • สำหรับความก้าวหน้าในอาชีพ รัฐได้ดำเนินการให้แล้วตามระบบของแต่ละระบบ
  • จึงทำให้แต่ละระบบ (ข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ + พนักงานราชการ) นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้  ขึ้นอยู่กับที่เราเป็นบุคลากรประเภทไหนนั่นเอง
  • ปัจจุบัน  ผู้เขียนเห็นว่า การมีบล็อกนี้ มีประโยชน์ต่อการสื่อสาร  ติดต่อ  แจ้งให้ทราบ ดีมาก ๆ  เพราะทำให้ข่าวสาร ข้อมูลไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงมากนัก
  • และเป็นการทำงานตามระบบของภาครัฐที่มีความประสงค์ต้องการให้เป็นเช่นนั้นค่ะ
  • ข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถในส่วนราชการต่าง ๆ ยังมีมากนะค่ะ  แต่ขอบอกว่า  "ความคิด" และความสามารถของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป เช่น มีภารกิจส่วนตัวที่ต้องทำ  ไม่ชำนาญการเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์  ฯลฯ  จึงทำให้แต่ละส่วนได้รับข้อมูล ข่าวสาร ที่ไม่ทันต่อเหตุการณ์ไงค่ะ...
  • ยิ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น  เราก็ต้องตามให้ทันโลกเทคโนโลยี  สังเกตได้ถ้าเราตามไม่ทัน เราจะรู้สึกอึดอัด  แต่ถ้าเราตามทัน เราจะรู้สึกมีความสุข และสุขใจที่ได้เข้ามาเรียนรู้เพื่อเติมเต็มความรู้ของเราให้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไงค่ะ...
  • ซึ่งในอนาคต รัฐก็ต้องการให้เป็นเช่นนั้นด้วยค่ะ...
  • ยินดีที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำในสิ่งที่รู้ + ประสบการณ์ที่ตนเองพอรู้มานะค่ะ (ความจริงอยู่ที่ตัวเราบูรณาการในสิ่งที่เป็นประสบการณ์ + หลักการหรือแนวปฏิบัติที่เราได้ยึดปฏิบัติมาเท่านั้นเองค่ะ)...
  • ต้องขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ...

(เพิ่มเติม)...หมายเลข 111...

  • ค่ะ เคยเข้าไปอ่านใน "มุมเสวนาลูกจ้างในส่วนราชการ" แล้วค่ะ
  • ก็ โอ.เค นะค่ะ...
  • แล้วจะเข้าไปเยี่ยมอีกค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

เรียน คุณ ม2ท.

  • เข้าไปเยี่ยมที่เว็บไซต์แล้วนะค่ะ
  • แต่ทำไมแสดงความคิดเห็นแล้วไม่ขึ้นละค่ะ
  • หรือว่าเขียนแล้ว ต้องรอให้เจ้าหน้าที่นำไปขึ้นให้ค่ะ
  • เขียนไป 2 รอบ ค่ะ
  • ถ้าเป็นอย่างที่ว่าข้างต้น...ลบออกให้ 1 ความคิดเห็นนะค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีครับท่าน ผอ.บุษยมาศ

เผอิญเว็บ มุมเสวนาลูกจ้าง ยังมีปัญหาเรื่องของกระดานสนทนาอยู่เล็กน้อย ให้WM ตรวจสอบอยู่ แต่ก็ยังหาปัญหาไม่พบ

ปรกติ Post ขึ้น Web ได้เลยครับไม่ต้องให้ จนท. นำขึ้นให้ ผมเองก็เจอปัญหาบ่อยๆ เวลาจะขึ้นเว็บหากจะตอบยาวๆ

จะเขียนลงใน Word ก่อนแล้วค่อยนำไปวาง ไม่เช่นนั้นจะเสีบอารมณ์บ้าง

ผมขอเรียนถามเรื่องของการพิจารณาเลื่อนขั้นนิดนึงครับ อยากทราบว่ากรณีลูกจ้าง ฯ ขาดงาน (และเราลงโทษด้วยการสั่งตัดค่าจ้างในวันที่ขาดงานนั้น ) จะใช้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นในรอบ 6 เดือนนั้นได้หรือไม่ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ตอบ...คุณ ม2ท.

  • ต้องขอโทษด้วยนะค่ะ ที่ตอบช้า เพราะอบรม เรื่อง PART 2 วันเต็ม และช่วงนี้ net ก็ล่มบ่อยด้วยค่ะ เหมือนจะเข้ามาใน gotoknow ไม่ได้ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด
  • การสั่งตัดค่าจ้าง ผู้เขียนก็ไม่ทราบว่าสาเหตุใด เป็นโทษทางวินัยใช่หรือไม่
  • สำหรับการไม่เลื่อนขั้นในรอบ 6 เดือน ต้องดูเกณฑ์การพิจารณาด้วยนะค่ะว่า เข้าข่ายใน case ใด
  • ก็เพิ่งจะทราบเหมือนกันว่ามีกรณีขาดงานด้วย เท่าที่เคยเห็นว่า หัวหน้าส่วนราชการจะเรียกมาพบแล้วก็ว่ากล่าวกัน ถ้าไม่เกิน 15 วัน ตามเกณฑ์ค่ะ
  • ลองศึกษาในไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ ว่าเข้าข่ายหรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องเลื่อน การเลื่อนก็คือว่าขาดนานติดต่อกันกี่วันด้วยค่ะ
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussaya11112.PDF
  • ลองศึกษาดูนะค่ะ ถ้าสงสัยค่อยถามมาใหม่ แต่ต้องมีรายละเอียดให้มากกว่านี้นะค่ะ...

สวัสดีครับ ท่าน ผอ.บุษยมาศ

เน็ตคงมีปัญหาจริงๆครับ ได้เข้ามาเมื่อหลายวันก่อน แต่ปรากฏว่กระทู้ของผมหายไป (แสดงแค่ หน้าที่3 หน้าที่ 4 หายไปทั้งหมด)

ขออบพระคุณมากครับสำหรับไฟล์ที่แนะนำ เป็นประโยชน์สำหรับผมมากเชียวครับ กรณีของผมนั้น เจ้าหน้าที่ขาดงานไป 1 วัน(ก่อนหน้านี้ก็มีพฤติกรรมเช่นนี้ 1-2 ครั้ง ได้เตือนด้วยวาจาและหนังสือ และอนุญาตให้เขียนใบลาป่วย)

เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริการประชาชน (อยู่เวรกันหลายคน....ทำงานกันเป็นทีมครับ) การขาดงานมีผลกระทบ ต่อผู้รับบริการมากพอสมควร(แต่ไม่กระทบทางตรงซะทีเดียว) เพราะจะทำให้งานบริการโดยรวมล่าช้า (งานโรงพยาบาลนะครับ)

คำจำกัดความของ การขาดงาน ที่ชัดเจนไม่ทราบว่ามีว่าอย่างไรครับ (เป็นสิ่งที่ผมยังกังวลอยู่เรื่องการตีความ ของการขาดงาน ตามความเข้าใจและตามการกำหนดเงื่อนไขของผม กลัวว่าความเข้าใจของผม จะทำให้ จนท.ไม่ได้รับความเป็นธรรม)

แต่ที่ผมได้ทำข้อตกลง(เป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะต้องจัดให้มีการทำข้อตกลงฯ ระหว่างผู้บังคับบัญบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน ทุกระดับ ตั้งแต่คณบดี-ผอ.-หัวหน้าฝ่าย-หัวหน้างาน จนถึงคนงาน) ในการปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ผมได้ให้คำจำกัดความของการขาดงานไว้ว่า.....

การหยุดงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้าโดยไม่มีเหตุผลจำเป็น ( ผมกำหนดไว้ว่าต้องแจ้งการลาป่วย/กิจกรณีจำเป็นยิ่ง ต้องก่อนถึงเวลาเข้างานไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ....งานที่ผมดูแล มีบางหน่วยย่อย ต้องหมุนเวียนทำงานกันเป็น ผลัด คือเช้า - บ่าย-ดึก การไม่มาโดยไม่แจ้งลวงหน้า ทำให้ไม่สามารถจัดอัตรากำลังเข้าทดแทนได้ทันกาล โดยเฉพาะผลัดนอกเวลาราชการ ซึงทำให้การบริการผู้ป่วยมีปัญหา)

การลาป่วย...จะยินยอมให้ลาป่วยย้อนหลังได้ ...กรณีมีใบรับรองแพทย์มาแสดงประกอบการลา จึงจะยอมให้ลาป่วยตามปรกติ (หรือโทรฯมาลาป่วยล่วงหน้าตามข้อตกลง ก็ให้นับเป็นการลาป่วยตามปรกติ )

กรณีจะขอลากิจย้อนหลังหรือลาก่อนถึงเวลาเข้างาน 2 ชั่วโมง จะไม่อนุมัติให้ลา ยกเว้นมีเหตุจำเป็นยิ่ง ซึ่งจะต้องมีพยานหลักฐานหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งหัวหน้างานจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะให้ลากิจกรณีฉุกเฉินได้หรือไม่

....... สรุปว่า ถึงเวลาไม่มาทำงานและเงียบไปเฉยๆ....เมื่อมาทำงานในวันต่อมา จะแจ้งขอลาป่วย/กิจ กรณีนี้จะไม่ให้ ให้นับเป็นการขาดงาน (ยกเว้นเป็นไปตามข้อตกลงด้านบน จึงจะให้เป็นการลาป่วย/กิจ ตามปรกติ)

เหตุผลผมต้องทำข้อตกลงนี้ เพราะมีเจ้าหน้าที่หลายๆคน หยุดงานไปเฉยๆโดยไม่แจ้ง วันรุ่งขึ้นหรือวันที่ทำงานจึงแจ้งว่า ขอลาป่วย/กิจ ซึ่งทำให้งานเสียหาย

ปรกติการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาขั้น ผมก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับตามที่ท่าน ผอ.แนะนำมาในไฟล์นั่นแหละ

แต่ของกระทรวงศึกษา เท่าที่อ่านดู จะมีการออกเงื่อนไขเพิ่มเติมจากระเบียบของส่วนราชการทั่วไปคือ.....................

...............(1.7.2) มาทำงานสายเนื่องๆ (มากกว่า 9 วัน)

................(1.7.1) วงเล็บ 1.การลาบ่อยครั้ง (เกิน 8 ครั้ง)

เงื่อนไขของการไม่เลื่อนขั้นที่ผมทำอยู่ ก็ยึดตามระเบียบคือ....

...............ข้อ.1.4 ต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

...............ข้อ 7.2.1. ผู้ที่ถูกตัดเงินเดือน(ขาดงานแล้วตัดค่าจ้างในวันที่ขาดนั้น)

ไม่ทราบว่า หากผมจะนำแนวทงปฏิบัติของกระทรวงศึกษา ข้อ (1.7.2)มาทำงานสายเนื่องๆ (มากกว่า 9 วัน)

................(1.7.1)วงเล็บ 1.การลาบ่อยครั้ง (เกิน 8 ครั้ง)นำมาใช้กับบุคลากรของผมบ้างจะได้หรือไม่

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

แก้ไข....บันทัดที่16 นับจากด้านล่าง แก้ไขเป็นกรณีจะขอลากิจย้อนหลังหรือไม่ลาก่อนถึงเวลาเข้างานอย่างน้อย 2 ชั่วโมง จะไม่อนุมัติให้ลา ...

ตอบ...คุณ ม2ท.

  • จากที่อ่านมาข้างต้น...ถ้าเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการ...อันดับแรกควรยึดเกณฑ์ที่มาจากสำนักงาน ก.พ. ก่อนค่ะ
  • สำหรับระเบียบที่เป็นของมหาวิทยาลัยทำขึ้นไว้ในกรณีที่คุณบอกนั้น  เป็นการบริหารงานภายในของส่วนราชการ
  • ถ้าเราได้หักเงินเขาไว้แล้ว นั่นคือ เราได้ดำเนินการโทษเขาแล้ว
  • สำหรับการเลื่อนขั้นค่าจ้าง น่าจะใช้เกณฑ์กลางที่ สำนักงาน ก.พ. กำหนดนะค่ะ
  • คือ ถ้ามาสายเกิน 9 วัน หรือลาบ่อยครั้ง เกิน 8 ครั้ง (แต่ต้องมีข้อมูลหรือหลักฐานในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้นะค่ะ เช่น มาสายเกิน ที่ ก.พ.กำหนด)
  • อย่าใช้ระเบียบที่ว่าขาดราชการ 1 วันค่ะ เพราะการขาดราชการของลูกจ้างประจำก็ใช้เกณฑ์เดียวกับข้าราชการ คือ ขาดงานต้องไม่เกิน 15 วันค่ะ...ก็แสดงว่าเขาขาดได้ 1 วัน แต่เราก็ได้ลงโทษเขาไปแล้ว คือ หักเงิน
  • ลองใช้เรื่องมาสาย หรือลาบ่อยครั้งได้ไหมค่ะ ศึกษาให้ดีว่าได้ครึ่งขั้นหรือไม่ได้รับการเลื่อนขั้น...ลองดูนะค่ะ...

สวัสดีครับ ท่าน ผอ.บุษยมาศ

ขอบคุณมากนะครับ ปรกติการลงโทษ - การพิจารณาเลื่อนขั้น ผมก็จะยึดตามระเบียบและวินัยของลูกจ้างฯ ของ กพ.โดยเคร่งครัด การบริหารงานก็ไม่เคยคิดว่าเราเป็นเจ้านาย เขาเป็นลูกน้อง บอกผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอว่า พี่/ผม ก็เป็นเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ซึ่งมีภาระหน้าที่ กำกับดูแลงานให้บรรลุผลตามพันธกิจ มีหน้าที่เป็นผู้นำในการพัฒนาและแก้ปัญหา

แต่เมื่อเจอผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งมาเกาะระบบอยู่ ก็เหนื่อยใจเหมือนกัน คนที่ทำงานร่วมด้วยจะหมดกำลังใจและท้อถอยกันมาก (ดังที่ทราบแหละครับ วินัยและระเบียบการบริหารงานบุคคล ของราชการไทย ตามที่ กพ.กำหนด มันยืดหยุ่นมาก ไม่แย่มากจริงๆ เราทำอะไรไม่ค่อยได้เลย จนทำให้คนเห็นแก่ตัว แฝงตัวอยู่มาก )

ขอถามข้อสงสัยอีกข้อนึงครับ...............

อยากทราบว่าลูกจ้าง ฯ สามารถให้ผู้อื่นทำงานแทน(จ้าง)ได้หรือไม่ (เป็นวันราชการหรือวันทำงานปรกติ ซึ่งไม่ใช่OT)

ผมคลับคล้าย คลับคลาว่า ...เคยได้อ่านพบในประกาศสำนักนายก หรืออะไรสักอย่างเนี่ยละ แต่นานหลายปีมาแล้ว (ตั้งแต่ยังเป็นลูกน้องเค๊าอยู่) สรุปได้ทำนองว่า ลูกจ้าง / ข้าราชการไม่สามารถให้ผู้อื่นทำงานแทนได้ เพราะภาระหน้าที่ ที่ทางราชการมอบหมายเป็นหน้าที่เฉพาะตน ไม่ทราบว่า ท่าน ผอ. มีข้อมูลนี้บ้างไหมครับ

PART คืออะไรครับ / ที่จริงผมก็จบด้านการบริหารภาครัฐมา (รัฐศาสตร์ - บริหารรัฐกิจ) แต่นานมากแล้ว เคยอบรมหลักการบริหารมาหลายหลักสูตรเหมือนกัน ยังไม่เคยได้รู้จัก PART เลย

ปัจจุบันมีเครื่องมือทางการบริหารใหม่เกิดขึ้นมากมาย จนตามไม่ค่อยทันเหมือนกันโดยเฉพาะในภาคเอกชน

(ปัจจุบันผมเรียนหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงอยู่ (ใกล้จบแล้ว...ที่จริงโดยตำแหน่งผมเป็นผู้บริหารระดับกลาง) มีการเชิญผู้บริหารองค์กรภาครัฐวิสาหกิจ/เอกชน มาเป็นวิทยากร บอกตรงๆครับ ประสิทธิภาพของการบริหารภาครัฐของเรายังตามหลังรัฐวิสาหกิจและเอกชนอยู่มาก แต่อย่างว่าแหละครับพันธกิจและบริบท มันต่างกัน )

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีค่ะ...คุณ ม2ท.

  • ค่ะ...ตามที่บอกข้างต้นนั้น เป็นห่วง เพราะถ้าเรานำระเบียบของมหาวิทยาลัยมาเป็นตัวกระทำต่อเขา จะทำให้เป็นช่องว่างให้เขากลับนำมาเป็นข้อมูลเล่นแง่กับส่วนราชการได้ (ถ้าเขาทราบกฎหมาย)
  • แต่ความจริง ลูกจ้างประจำเช่นที่คุณบอก ก็ยังมีแฝงอยู่ในระบบราชการไทยอีกมากค่ะ  น่าสงสารประเทศชาตินะค่ะ ที่ทำให้คนที่เขาทำงานกันอย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องมาปะปนกับคนที่ไม่ค่อยทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดินได้อย่างเต็มกำลังให้คุ้มค่ากับค่าจ้างค่ะ
  • รัฐจึงต้องปรับระบบการบริหารจัดการใหม่ไงค่ะ...ก็ดูว่า ถ้าเขาไม่มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะเปลี่ยนให้สูงขึ้นได้ ส่วนราชการมีสิทธิ์ที่จะไม่ต้องทำให้เขาหรอกค่ะ แต่เราต้องมีเหตุผลอธิบายให้ได้นะค่ะ
  • การจ้างคนอื่นทำงานแทนไม่ได้หรอกค่ะ...ให้ศึกษาระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 สิค่ะ ว่า ลูกจ้างประจำที่ทำงานให้กับรัฐคือใคร + คำสั่งบรรจุ +คำสั่งมอบหมายงาน  ถ้าเป็นชื่อลูกจ้างประจำคนนั้น ก็หมายถึงรัฐจ้างคนนั้นทำงานไม่ใช่มอบหรือจ้างผู้อื่นทำงานแทนได้หรอกค่ะ...ถ้าเขาจ้างแสดงว่าเขากระทำผิดการว่าด้วยระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 + คำสั่งบรรจุ + คำสั่งมอบหมายงานแล้วละค่ะ...
  • เรื่อง PART พอดี ท่านอธิการบดีของ มรพส. เคยเป็น ผอ.สำนักงบประมาณ ท่านจะรู้จักคนในสำนักงบประมาณ ท่านได้เชิญ ผอ.ส่วนพัฒนาระบบงบประมาณและการจัดการ 5 สำนักพัฒนาระบบงบประมาณ สำนักงบประมาณ เป็นวิทยากรให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ มรพส.เมื่อเดือนที่แล้วนี้เองค่ะ
  • ก็พอมีเอกสาร ครั้งแรกว่าจะเขียนใน blog เรื่อง PART  เหมือนกัน แต่ยังมีมีเวลา เพราะช่วงนี้งานเข้ามากจริง ๆ ค่ะ เอาไว้สักวัน สองวันนี้ พอว่าง ๆ จะนำมาเขียนให้ทราบก็แล้วกันนะค่ะ
  • เอาเป็นพออธิบายในเบื้องต้นก็แล้วกันนะค่ะว่า PART คืออะไร?...
  • PART เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามผลและการประเมินผลของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ เนื่องจากเป็นการปรับระบบการเงินและการงบประมาณ ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับระบบงบประมาณ SPBB โดยเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ ผลผลิต กิจกรรม
  • PART ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ โดยต้องตรวจ 3 ระบบ ได้แก่  วางยุทธศาสตร์  Action Plan การติดตามประเมินผล(ดูจาก Report) ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ค่ะ
  • PART จะใช้ในการติดตามประเมินผลงบประมาณจาก Input Process Output Outcome Impact  คือ  จะใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลเป็นจุด ๆ โดยจะทำให้ทราบว่ามีจุดใดผิดพลาด
  • PART เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ  อีกประมาณ 5 ปี ถ้าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายสมดุล จะต้องนำ เครื่องมือ PART เข้ามาใช้กับส่วนราชการค่ะ...บอกได้เลยว่าในอนาคตส่วนราชการทุกส่วนจะเริ่มเข้มข้นมากขึ้นค่ะ  ในการได้รับงบประมาณจากรัฐที่จัดสรรให้ PART จะเป็นตัวมาวัดว่า ส่วนราชการเขียนโครงการถูกต้องหรือไม่ ไล่ตั้งแต่การจัดทำยุทธศาสตร์ของกระทรวง แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี  แผนกลยุทธ์  แผนปฏิบัติ  กิจกรรม  โดย PART จะวัดทุกจุดค่ะ  โดยจะวัดว่าที่ส่วนราชการได้รับจัดสรรงบประมาณไปนั้น  นำไปปฏิบัติอย่างคุ้มค่ากับเงินที่ได้รับจัดสรรไปหรือไม่  เรียกว่า  เพื่อความโปร่งใสของระบบและคุ้มค่าหรือไม่  ถ้าเป็นบริษัท เช่น รถยนต์ที่ผลิดมาขาย เขาจะมีกระบวนการผลิดในการประกอบรถยนต์ที่แต่ละขั้นโดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบแต่ละจุดมีหน้าที่ทำอย่างไร เป็นกระบวนการ ถ้ามีส่วนใดผิดพลาด เช่น รถยนต์ Honda CRV ที่โดนทุบนั้น บริษัทก็พยายามหาจุดที่ลูกค้าทุบเพราะว่าขับไปแล้วมีน้ำมันหยดไปตลอดทาง  เมื่อแจ้งบริษัทแล้วไม่รับทราบ ลูกค้าเลยโมโหเลยต้องทุบ บริษัทเลยต้องเข้าไปตรวจสอบ และก็พบว่าเหตุที่น้ำมันหยดเป็นเพราะหัวหน้าในการขันน๊อตให้เด็กฝึกงานที่ยังขาดประสบการณ์ไปขันน๊อต  แทนที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์หรือความชำนาญการในการขันน๊อตได้กระทำการเอง นี่คือ เหตุที่ทำให้ทราบว่าบริษัทมีข้อผิดพลาดที่จุดใด
  • PART ก็เช่นกัน เป็นเรื่องคล้าย ๆ กับที่ผู้เขียนเล่ามาให้ฟังค่ะ  เพราะต่อไปจะเป็นการวัดที่เป็นระบบมากขึ้น
  • เหตุที่ต้องนำเครื่องมือ PART ซึ่งมาจาก USA. มาใช้ เพราะเมื่อปี 2546 ได้ทดสอบกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม + กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มาแล้ว
  • และในปี 2547 ก็ทดสอบใช้กับ 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมสุขภาพจิน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมชลประทาน กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงบประมาณ แล้วค่ะ
  • และก็เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ว่าหน่วยงานที่ของบประมาณแผ่นดินต้องส่งผลงานประเมิน PART ค่ะ
  • สำหรับรายละเอียดอื่น ขอนำไปเขียนใน blog เรื่องการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จการใช้จ่ายงบประมาณด้วยเครื่องมือ PART ก็แล้วกันนะค่ะ...
  • ปัจจุบันรัฐจึงพยายามการทำงานของภาครัฐให้ใกล้เคียงภาคเอกชนค่ะ...ก็ไม่ทราบว่าจะได้มากน้อยเพียงใด เพราะระบบราชการติดด้วยหลายอย่างในการบริหารจัดการ  โดยเฉพาะความยืดหยุ่นจะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าภาคเอกชนค่ะ  แต่รัฐคงใช้เครื่องมือบางตัวเท่าที่พอจะทำได้กระมังค่ะ เพราะเงินเดือนข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. ก็แจ้งหนังสือออกมาใช้แล้วว่าข้าราชการที่บรรจุใหม่ 1 ต.ค.53 ได้รับเท่าไร และ 1 เม.ย.54 เท่าไร 1 ต.ค. 54 และ 1 เม.ย. 55 ออกมาใช้เป็นระยะ ๆ เลยนะค่ะ  แต่การทำงานก็ต้องได้ผลงานตามที่รัฐต้องการค่ะ
  • เพื่อเป็นการเทียบเคียงเงินเดือนกับของภาคเอกชนไงค่ะ  แต่ก็ต้องคอยติดตามต่อไปว่าจะไปได้กันมากน้อยเพียงใด  ขึ้นอยู่กับข้าราชการและบุคลากรที่ทำงานภาครัฐต้องตามให้ทันค่ะ เพราะปัจจุบันเป็นเรื่องการบริหารภาครัฐแนวใหม่ด้วยสิค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีอีกครั้งครับ ท่าน ผอ.

น่าสนใจมากครับ แล้วจะติดตามอ่านครับ ที่องค์กรของผม ปีที่ผ่านมา ก็เริ่มนำระบบคล้ายๆกับ PART ที่ท่าน ผอ.กรุณาเล่าให้ฟังมาใช้บ้างแล้ว คือจะวัดความสำเร็จของหน่วยงานต่างๆจากความสำเร็จของงานเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ

(ที่องค์กรของผมนำเอาระบบSAP มาใช่ได้ 2 ปีแล้ว ทำให้ระบบสามารถเก็บ-คำนวณต้นทุนด้านต่างๆ ของหน่วยงานได้ ชัดเจน รวดเร็วและวิเคราะห์ได้ลึกถึงระดับบุคคลเลยเชียว)

โดยผอ.จะทำข้อตกลงกับหัวหน้าฝ่าย / หัวหน้างาน ถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนซึ่งจะเป็นประเด็นหลัก ประเด็นหนึ่งการพิจารณาความดี ความชอบของหัวหน้าฝ่าย / หัวหน้างาน

ขอบคุณนะครับ

สวัสดีค่ะ...คุณ ม2ท...

  • PART จังหวัดทดลองใช้เมื่อปี 2552 และปี 2553 เริ่มใช้แล้วค่ะ
  • น่าสนใจเรื่อง SAP นะค่ะ...ถ้าอย่างไรแล้วขอความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนกันบ้างนะค่ะ  เพราะ มรพส. เป็น ม. น้องใหม่ การจะทำสิ่งใดให้สมบูรณ์เหมือน ม.เดิม คงไม่เท่าหรอกค่ะ...
  • ที่สนใจ เพื่อนำมาปรับใช้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัยค่ะ
  • พยายามจะทำให้ เป็น  "ม.ที่จิ๋วแต่แจ๋วค่ะ"...
  • ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ...

สวัสดีครับผอ ผมติดตามอ่านข้อมูลอาจารย์ของอาจารย์มาตลอด ผมขอรบกวนอาจารย์สักนิดคงไม่ว่านะครับ

1 เดิม ผมเป็นนักการภารโรง เปลี่ยนเป็นพนักงานบริการ ตอนนี้เงินเดือนเต็มขั้นแล้ว ผมรอว่าเขตเมื่อใหร่จะมีคำสั่งปรับตำแหน่งใหม่ หรือว่าต้องรอจาก กระทรวงการคลัง สั่งมา อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ ผมได้แต่ รอแล้วรอ เมษาก็แล้ว ตุลาก็แล้ว ก็ยังไม่มีว่าจะมีคำสั่งใดเลย ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะเดินไปทิศทางใด ผู้บังคับบัญชาก็ยังตอบไม่ได้

ท้ายนี้ขอให้อาจารย์มีแต่ความสุขความเจริญในการงานหน้าที่และเป็นที่พึ่งพวกเราชาวลูกจ้างผู้น้อยๆ ขอขอบพระคุณยิ่ง

จากลูกจ้างสพฐ สระบุรี

ตอบ...หมายเลข 123...

  • ตอนนี้ เห็นว่า สพฐ. แจ้งมาให้รอหนังสือสั่งการกระมังค่ะ ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งต่าง ๆ ค่ะ
  • จนกว่า สพฐ.จะมีหนังสือแจ้งมาว่าให้ปฏิบัติได้ค่ะ
  • เหตุที่ทราบเพราะมี จนท.ของ สพท.นนทบุรี หรือ กทม. นี่แหล่ะค่ะ บอกกับผู้เขียนมาว่า สพฐ.ให้สพท.รอการสั่งการค่ะ
  • ในระหว่างที่รอ คุณก็ลองศึกษาเรื่องในบล็อกที่ผู้เขียนเขียนไว้ก็ได้นะค่ะ
  • การศึกษาให้อ่านจากบล็อกด้านล่างขึ้นไป บล็อกบนสุดจะเป็นข้อมูลล่าสุดค่ะ
  • การที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั้น กรณีที่คุณค่าจ้างเต็มขั้นแล้ว ให้ดูคำสั่งที่ได้รับมอบหมายให้คุณปฏิบัติงาน ว่าเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง + ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่คุณต้องการไปค่ะว่ามีคุณสมบัติที่จะไปตำแหน่งใหม่ได้หรือไม่ เช่น ตำแหน่งครุภัณฑ์ พนักงานธุรการ พนักงานการเงินและบัญชี ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ แล้วต้องดูงานด้วยว่าที่เราได้ปฏิบัติตรงกับตำแหน่งใหม่หรือไม่
  • ถ้าได้ก็ลองปรึกษาทางผู้บริหาร + จนท.ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป
  • แต่ต้องศึกษาเรื่องให้ละเอียดนะค่ะ เพราะปัจจุบันเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเองค่ะ
  • อย่าหวังพึ่งแต่เจ้าหน้าที่ เพราะถ้าเจ้าหน้าที่ไม่เก่งจริง จะทำให้เราเสียโอกาสในการปรับตำแหน่งไป
  • แต่การปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถ  การพัฒนาตนเองของเราด้วยนะค่ะ ถ้าความสามารถคุณมีมากกว่าตำแหน่งที่ได้รับในปัจจุบัน ก็ควรปรับค่ะ
  • แต่ถ้าความสามารถไม่ถึงตำแหน่งใหม่ก็ไม่ควรปรับเปลี่ยนค่ะ ควรพัฒนาตนเองให้ได้ก่อนค่ะ เพราะรัฐทำตำแหน่งใหม่นี้ไว้เพื่อรองรับกับความก้าวหน้าในงานอาชีพสำหรับลูกจ้างประจำที่มีการพัฒนาตนเองค่ะ
  • ลองศึกษาดูให้ละเอียดก่อนนะค่ะ ถ้าสงสัยค่อยถามมาใหม่ค่ะ...
  • อีกอย่างผู้เขียนก็ไม่ทราบเกี่ยวกับหน้าที่ที่คุณรับผิดชอบในปัจจุบัน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าควรเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็นตำแหน่งใดค่ะ

ผมบรรจุครั้งแรกตำแหน่งยาม อุตสามานะเรียนจนจบปริญญาตรี ได้ปรับเปลี่ยนเป็น ร.ป.ภ. ผมจะมีหวังเปลี่ยนเป็นตำแหน่งได้อีกหรือไม่ครับอาจารย์ ช่วยบอกวิธีหน่อยครับ ผมรู้สึกน้อยใจมาก

ตอบ...หมายเลข 125...

  • การเป็นลูกจ้างประจำ รัฐจ้างในอัตราการจ้างตามวุฒิเริ่มแรกค่ะ
  • ไม่มีการนำวุฒิเมื่อจบแล้ว สามารถมาปรับได้ เช่นเดียวกับข้าราชการค่ะ
  • การที่ปัจจุบันจะสามารถปรับเปลี่ยนได้นั้น ต้องดูภาระหน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติอยู่ด้วยค่ะว่า ส่วนราชการให้เราทำนั้น มีงานใดบ้าง
  • จริง ๆ แล้ว การเป็นตำแหน่งยาม รัฐให้ส่วนราชการใช้การจ้างเหมากันแล้วค่ะ และสามารถเบิกเงินในส่วนของการจ้างเหมาได้
  • ถ้าคุณทำงานที่นอกเหนือจากการเป็นยาม ต้องดูด้วยว่าทำงานด้านใด เกี่ยวกับตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยนให้สูงขึ้นได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบค่ะ ว่าเขาจะทำให้หรือไม่
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งไม่ใช่ว่าจะต้องปรับได้กันทุกคน อยู่ที่การพัฒนาตนเองของเรา + งานที่เราได้ปฏิบัติในปัจจุบันด้วยว่า สามารถทำได้เป็นคุณประโยชน์ต่อภาครัฐได้มากน้อยเพียงใดค่ะ
  • ถ้าเรามีความสามารถ และภาระที่หนักมาก ก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้
  • แต่ถ้าเรายังทำงานเหมือนเดิม ไม่มีการพัฒนามากขึ้น รัฐก็คงจะไม่สามารถปรับให้ได้ค่ะ ไม่เกี่ยวกับที่เราได้จบ ป.ตรีมาหรอกนะค่ะ

เรียนอาจารย์บุษยมาศ หนูอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ขณะนี้หนูทำงานในตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 แต่ปฏิบัติงานด้านพัสดุมาแล้ว 8 ปี อยากถามว่าจะเปลี่ยนเป็นพนักพัสดุดีหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานพัสดุ ระดับ 3 ได้เลยหรือไม่คะ หรือว่าหนูต้องเปลี่ยนเป็นพนักงานพัสดุ ระดับ 2 ก่อนคะ

ขอบคุณมากคะ

ตอบ...หมายเลข 127...

  • การที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ขึ้นอยู่กับคุณตัดสินใจนะค่ะ
  • เพราะให้ดูตำแหน่งเส้นทางความก้าวหน้าว่าเงินค่าจ้างในกลุ่มไหนได้มากกว่ากัน
  • เนื่องจากคุณได้เปรียบตรงที่คุณทำงานพัสดุ
  • แต่ให้ดูในตำแหน่งพัสดุ ว่าเงินค่าจ้างสูงกว่าพนักงานพิมพ์หรือไม่ ถ้ามากก็ควรเปลี่ยนเพราะคุณมีคำสั่งให้ทำงานด้านนี้
  • แต่ถ้าเงินค่าจ้างเท่าเดิม ก็ไม่ควรเปลี่ยนค่ะ
  • การปรับเปลี่ยนเป็นพัสดุ นั้น เดิมคุณอยู่พนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานพัสดุ ระดับ 3 ในข้อ 1 (ในส่วนแรก)... ซึ่งคุณมีหน้าที่ทำงานพัสดุอยู่แล้ว ก็สามารถเปลี่ยนเป็นพนักงานพัสดุ ระดับ 3 ได้ค่ะ...
  • ซึ่งค่าจ้างจากเดิมอยู่ในกลุ่มบัญชี ที่ 1-2 ของพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 จะปรับไปเป็นกลุ่มบัญชีที่ 2 -3 ค่ะ...
  • ลองศึกษาดูในบล็อกนี้นะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428

หนูขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งคะที่ให้ความกระจ่างแก่หนู แต่ที่หน่วยงานของหนู มีกรอบให้เปลี่ยนเป็นพนักงานพัสดุได้แค่ระดับ 1-2 เท่านั่นคะ หนุเลยตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเปลี่ยนดีหรือไม่

ตอบ...คุณ tum101...

  • ถ้าเช่นนั้น เราควรอยู่พนักงานพิมพ์ ระดับ 3 แล้วค่อยปรับเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 4 ดีกว่ามังค่ะ
  • แต่ก็ยังสงสัยอยู่ดีว่า กรอบของใครค่ะ กำหนดพนักงานพัสดุระดับ 1-2
  • ที่พี่ตอบนี่หมายถึง เราทำงานพัสดุ เราก็สามารถเปลี่ยนและโตไปเป็นพนักงานพัสดุระดับ 3 ได้นี่ค่ะ เนื่องจากเรามีความรู้ในด้านพัสดุ คือ ได้ทำงานพัสดุมาแล้ว เราสามารถพัฒนาตนเองในด้านมีความรู้เรื่องพัสดุ เราก็สามารถเติบโตในสายงานพัสดุได้  พี่ยังงง ๆ ที่คุณบอกมานะค่ะ...กรอบ 1-2 ของใครค่ะ
  • พี่หมายถึงว่า ถ้าคุณปรับจากพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 เป็น พนักงานพัสดุ ระดับ 3 ได้ ...ได้ด้วยตัวของคนเองนะค่ะ...ไม่ใช่ไปเข้าสู่ตำแหน่งของกรอบอื่นค่ะ
  • ก็อยู่ที่คุณตัดสินใจเองค่ะ...เป็นพนักงานพิมพ์ ก็ได้ เพราะไปถึง ระดับ 4 ค่ะ...

ผมเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย(ตำแหน่งใหม่) วุฒิปริญญาตรี จะสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้อีกหรือเปล่าครับท่านอาจารย์

ตอบ...หมายเลข 131...

  • การที่จะเปลี่ยนตำแหน่ง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการที่ได้รับวุฒิปริญญาตรี
  • เพราะรัฐจะถือเอาวุฒิที่คุณได้สมัครเข้ารับราชการในวุฒิที่คุณบรรจุเป็นลูกจ้างประจำค่ะ
  • สำหรับวุฒิการศึกษาที่จบ ป.ตรี เป็นการพัฒนาตัวคนให้สูงขึ้นและได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ไม่เกี่ยวกับการพัฒนางานค่ะ
  • การจะเปลี่ยนตำแหน่งได้นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่คุณได้ปฏิบัติอยู่ค่ะว่า ปัจจุบันส่วนราชการมอบหมายงานด้านใดให้กับคุณ ถ้าเป็นงาน รปภ.อย่างเดียว คุณคงปรับไม่ได้หรอกค่ะ
  • แต่ถ้าส่วนราชการมอบหมายให้คุณทำงานอย่างอื่นด้วย เช่น ทำงานธุรการ สารบรรณ ถ่ายเอกสาร อัดสำเนา พิมพ์หนังสือ ฯ ประชาสัมพันธ์ ช่างไฟฟ้า ช่างปูน ช่างไม้ คุณก็สามารถนำคำสั่งที่ได้รับมอบหมายงานนั้น เพื่อปรับเปลี่ยนให้คุณตรงกับลักษณะงาน หรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้ค่ะ
  • สำหรับวุฒิ ป.ตรี ที่ได้รับนั้น เป็นการเพิ่มวุฒิลงในทะเบียนประวัติของคุณอย่างเดียวนะค่ะ ว่าประวัติของคุณได้จบการศึกษา ป.ตรี ค่ะ
  • แต่ในบางตำแหน่งอาจมีเรื่องของวุฒิเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ก็สามารถนำวุฒิที่ได้รับมาประกอบได้นะค่ะ
  • ลองศึกษาดูนะค่ะ เพราะคุณบอกข้อมูลมาให้น้อยค่ะ เลยไม่ทราบเกี่ยวกับงานในหน้าที่ว่าส่วนราชการมอบหมายงานใดให้ทำค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์

ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า ช่างครุภัณฑ์ มีความกว้าหน้าอย่างไร มีความรู้ทางคอมฯ บางวันก็สอนแทน สอนคอมฯ มันแปลกดีนะครับ อ่านบทความหลายที่ ไม่ตรงกันสภาพของผม ทำงานหลายหน้าที่ ครับ

ตอบ...หมายเลข 133...

  • ไม่ทราบว่า คุณอยู่ระดับใดละค่ะ เพราะตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ นั้น สูงสุดที่ระดับ 3 ค่ะ...
  • คุณมีความรู้ ความสามารถเรื่องคอม ฯ  สามารถสอนแทนได้ ก็แสดงว่า คุณมีความชำนาญในเรื่องคอมพิวเตอร์ แสดงว่าคุณเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพ จึงเป็นที่ไว้วางใจของอาจารย์ไงค่ะ...แต่อย่าลืม!...ว่าหน้าที่โดยตรงของคุณ คืออะไร ต้องดูที่คำสั่งมอบหมายงานด้วยค่ะ...แล้วงานที่สอนเป็นงานหลักหรืองานรองค่ะ...เพราะปัจจุบันรัฐดูด้วยนะค่ะว่า งานใดเป็นงานหลัก คือ งานในหน้าที่ที่คุณได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของคุณค่ะ...
  • ให้คุณลองศึกษาในตำแหน่งอื่น พร้อมกับดูภาระงานของคุณที่ส่วนราชการมอบให้ปฏิบัติดูนะค่ะ ว่าสามารถปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่นได้หรือไม่ ถ้าได้ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบดูค่ะ ว่าสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น เพื่อความก้าวหน้าหรือไม่...

เรียน อาจารย์บุษมาศ

จากข้อความ 133 - 134 ผมขอบคุณมากครับ ตอนนี้ผมเป็นช่างครุภัณฑ์ระดับ 3 อายุราชการ 19 ปีครับ อาจารย์พอจะมีเกณฑ์

หรือวิธีการ การจัดทำผลงาน เพื่อขอค่าวิชาชีพไหมครับ ผมรู้แต่ว่า เงินเดือนเต็มขั้นกลุ่มที่ 1 จะเลื่อนไปกลุ่มที่ 2 ถ้าได้ค่าวิชาชีพ

ก็คงจะทำให้การดำเนินการงานเป็นไปอยางมีความสุขทุกทั่วหน้ากัน ( เหตุผลเงินเดือนก็น้อย ค่าครองก็แพง ) ทำงานก็หนัก

ก็เป็นธรรมดา เพราะเป็นหน้าที่ และเป็นความไว้วางใจของผู้บริหาร ผมก็ขอขอบคุณที่กรุณาผมที่ให้ความสุขในการทำงาน

ตอบ...หมายเลข 135...

  • เอ...เคยสอบถามทางกรมบัญชีกลางแล้วนะค่ะ...ว่า ลูกจ้างประจำ ไม่มีได้ค่าอะไรเลยนะค่ะ นอกจากค่าจ้าง...
  • สำหรับค่าวิชาชีพนั้น น่าจะเป็นระเบียบของส่วนราชการทำให้ ซึ่งเป็นเงินรายได้หรือเปล่าค่ะ...ถ้าเป็นเงินรายได้ต้องถามที่ส่วนราชการ นั้น ๆ แล้วละค่ะ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะส่วนราชการค่ะ...ส่วนราชการอื่น ๆ จะไม่เหมือนกันค่ะ...
  • ซึ่งเงินรายได้ ในการบริหารการจัดการ จะไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดินนะค่ะ และเหตุที่กรมบัญชีกลางแจ้งนั้น ก็หมายความว่า การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับข้าราชการ หรือ ลูกจ้างประจำ จะมีเรื่องเงินเดือน ค่าจ้าง ที่เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดินและสามารถทำได้เพียงเท่านี้ แต่สำหรับเรื่องอื่น ถ้าเป็นเงินรายได้ เช่น ค่าวิชาชีพ ต้องขึ้นอยู่กับส่วนราชการนั้น ๆ เป็นผู้ดำเนินการค่ะ ไม่เกี่ยวกับทางส่วนราชการกลางค่ะ...
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

อยากถามอาจารย์บุษยมาศว่า ลูกจ้างประจำได้บำนาญตกทอด 15 เท่าแล้วหรือเปล่าค่ะ และได้ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะ

ตัวเองใช่ไหมค่ะ

ตอบ...หมายเลข 137...

  • ตอนนี้ เป็นเพียง "ร่าง" ค่ะ...ศึกษาได้ตามนี้ค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/408190
  • ยังไม่ออกเป็นระเบียบให้ปฏิบัติค่ะ  ถ้าออกมาเมื่อไหร่จะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ
  • สำหรับค่ารักษาพยาบาลก็เช่นเดียวกันค่ะ...

เรียนคุณบุษยมาศ

ดิฉันบรรจุรับราชการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 บรรจุครั้งแรกที่ จังหวัดหนองคาย จากนั้นดิฉันได้โอนย้ายไปที่จังหวัดมุกดาหารนับเวลาแล้วก็เป็นเวลา5 ปีกว่า ซึ่งจากระยะเวลาของการทำงาน 5 ปี สามารถดำเนินการเพื่อขอรับพระราชทานเครื่องราชย์ได้แล้ว และเพื่อนที่ทำงานอยู่ที่จังหวัดหนองคายทางต้นสังกัดได้ดำเนินการให้ แต่ที่มุกดาหารต้นสังกัดที่ไม่ได้ดำเนินการให้ และครูที่โรงเรียนก็บอกดิฉันว่าครูในโรงเรียนไม่เคยมีใครได้รับหรือ เขียนเรื่องขอพระราชทานเครื่องราชย์เลย หากจะขอต้องดำเนินการเอง ซึ่งดิฉันก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆ(ถึงแม้อยากจะดำเนินการก็ตาม) แต่ปัจจุบันนี้ดิฉันได้ย้ายติดตามคู่สมรสมาอยู่ที่สมุทรปราการ ซึ่งจากที่ทราบมา ทางหน่วยงานต้นสังกัดเขาจะดำเนินการขอพระราชทานฯ ให้ ทำให้ดิฉันมีความหวังบ้าง แต่ก้อยังข้องใจอยู่ว่า

ดิฉันพลาดโอกาสในครั้งแรกของการขอพระราชทาน ดิฉันจะยังมีโอกาสในการขอหรือไม่ (ซึ่งก้อหวังว่าทางหน่วยงานที่สมุทรปราการจะดำเนินการให้) และถ้าสามารถขอได้จะดำเนินการในช่วงใด จะได้รับเครื่องราชย์ชั้นใด

จึงเรียนมาเพื่อขอคำชี้แนะจากท่าน และรบกวนท่านช่วยตอบกลับทาง email ของดิฉันด้วยค่ะขอบพระคุณเป็นอย่างสูง [email protected]

ตอบ...ครูเทศบาล...

  • เอ...สงสัยเหมือนกันนะค่ะ...ความจริงแล้ว งานการเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นผู้ดูแลในเรื่องการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นะค่ะ...
  • ถึงแม้ว่าเป็นสิทธิ์ของตัวเราเองเป็นผู้ยื่นคำขอ  แต่งานการเจ้าหน้าที่ ต้องแจ้งให้เราทราบค่ะ ว่าช่วงใดที่จะดำเนินการขอค่ะ...
  • ช่วงนี้ บางส่วนราชการก็เริ่มดำเนินการแจ้งให้ข้าราชการขอกันแล้วค่ะ
  • แต่ที่ ม. คงประมาณ กลางเดือนมกราคม 2554 ค่ะ
  • สงสัยนะค่ะ ว่า ทำไม งานการเจ้าหน้าที่ ไม่แจ้งให้ท่านทราบ
  • ถ้าเป็นที่ ม. ผู้เขียนจะบอกให้น้อง ๆ เจ้าหน้าที่ ทำบัญชีคุมของข้าราชการที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุกคนเลยค่ะ...แล้วก็มี ปี พ.ศ. ที่แต่ละคน จะมีสิทธิ์ขอพระราชทานเครื่องราชฯ ให้ด้วยค่ะ เพื่อสะดวกในการดำเนินการในแต่ละปีค่ะ...
  • เป็นกระบวนการของแต่ละคนในการทำงานนะค่ะ อาจจะไม่เหมือนกัน
  • ขอให้คุณลองถาม งานการเจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ...
  • ลองศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้ก็ได้ค่ะ เพื่อเป็นประโยชน์ ผู้เขียนนำมาให้ศึกษา ทั้งที่มีซี (เก่า) กับไม่มีซี นะค่ะ...ไม่ทราบว่าของคุณ เป็นแบบใด...
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/law_1.pdf
  • http://gotoknow.org/blog/bussaya14/409503
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/psru1.ppt#278,1,ภาพนิ่ง 1

  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/psru2.ppt
พนักงานพิทักษ์ป่าจนจน

ลูกจ้าง ทุกคน กรมอุทยาน กรมป่าไม้ เงินเดือนแค่นี้เลี้ยงลูกเมียได้ไม้เบี้ยเลี้ยงก็ไม่ได้ข้าราชการบริหารกินคนเดียวหมดออกตรวจก็ไม่ได้เงินเบี้ยเลี้ยง และไม่กล้าจะสร้างศัตรูกับชาวบ้านและนายทุนปล่อยให้บุกรุกทำลายป่าทั้งประเทศที่มีจุดล่อแหลม.........ใจก็รักป่าอยู่แต่มันท้อแท้หมดกำลังใจไม่มีขวัญไม่คุ้มค่าชีวิตเสี่ยงอันตราย ตายฟรีไปหลายนายทั้งออกข่าวและไม่ออกข่าว ...............พวกกระผม อยู่ทนหรือทนอยู่ อยู่แบบชีวิตไม่ก้าวหน้า ไม่มีอนาคต ไม่มีการบรรจุ ข้าราชการไม่สนใจสนใจแต่ตัวเองว่าจะวิ่งขึ้นให้ตัวเองมีตำแหน่งโตขึ้น ควรดูแลพวกกระผมบ้าง ถ้าไม่เชื่อถามความเป็นอยู่พนักงานทุกคนได้

ตอบ...หมายเลข 141...

  • จากที่ทราบข่าวมา เป็นบางกรมนะค่ะ...บางกรมก็ให้ความสำคัญกับลูกจ้างประจำเช่นเดียวกับข้าราชการ แต่บางกรมข้าราชการก็กดขี่ ไม่สนใจลูกจ้างว่าจะมีความเป็นอยู่เช่นไร...ซึ่งคงเกี่ยวเนื่องมาจากระบบศักดินาแบบเดิม ๆ...คาดว่าต่อไปในอนาคตคงจะดีขึ้น คงต้องอาศัยเวลาช่วยกระมังค่ะ...
  • แบบนี้น่าจะมีข่าวถึงผู้ที่อยู่ระดับสูงนะค่ะ...ท่านจะได้รับทราบข่าวสาร ข้อมูลบ้าง เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศไงค่ะ...
  • ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ...

เรียนรบกวนอาจารย์อีกครั้ง

เรื่องแบบฟรอมการประเมืนปรับเปลี่ยนตำแหน่งสายงานใช้แบบฟรอมตันใหนครับ

อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับทางเขตยังไม่ส่งมาให้

ตอบ...หมายเลข 143...

  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับส่วนราชการกำหนดนะค่ะ...
  • ให้สอบถามไปที่ สพป.หรือ สพฐ. ค่ะ...
  • เพราะบางตำแหน่งต้องมีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการ อาจเปิดสอบเพื่อคัดเลือก
  • บางตำแหน่งก็ต้องดำเนินการสอบเป็นผลงานให้คณะกรรมการได้ตัดสิน
  • เราไม่สามารถเปลี่ยนเองได้นะค่ะ ต้องถามหัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบ เขาต้องศึกษาระเบียบต่าง ๆ ด้วยค่ะ ไม่ใช่เรามาเปลี่ยนเองได้ค่ะ...
  • บางตำแหน่งต้องใช้คำสั่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานมาประกอบค่ะ...

เรียนรบกวนท่าน ผอ.

ลูกจ้างประจำที่ทำหน้าที่ไม่ตรงกับตำแหน่งสามารถร้องขอให้กลับมาทำหน้าที่ตามตำแหน่งเดิมได้หรือไม่ เช่น

ตำแหน่งนายท้ายเรือ ทำหน้าที่ นายเรือ ซึ่งตำแหน่งและหน้าที่ไม่ตรงกัน นายท้ายเรือมีหน้าที่ถือท้ายเรือและทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา(นายเรือ) ส่วนนายเรือมีหน้าที่ควบคุมเรือและสั่งการ ความรับผิดชอบต่างกันมาก ถ้าเป็นไปได้อยากจะทำหน้าที่ตรงตามตำแหน่งเดิม จึงขอเรียนปรึกษาด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ

ตอบ...หมายเลข 145...

  • ความจริงแล้ว ตำแหน่งกับหน้าที่ต้องตรงกันค่ะ เช่น พนักงานขับรถยนต์ ก็ต้องมีหน้าที่ขับรถยนต์ แต่ก่อน มีบางส่วนราชการเปลี่ยนตำแหน่งให้พนักงานขับรถยนต์ไปเป็นตำแหน่งพนักงานพิมพ์ แต่ไม่สามารถพิมพ์หนังสือได้ จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ให้ตรงกับหน้าที่ที่ได้ปฏิบัติจริงค่ะ...เพราะการเป็นพนักงานพิมพ์นั้น ต้องพิมพ์หนังสือ ถ้าวันหนึ่งวันใดขับรถไปแล้วเกิดอุบัติเหตุจะเกิดปัญหา ซึ่งผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบค่ะ...ทาง ก.พ. จึงไม่ให้ค่ะ...
  • เช่นของกรณีของคุณ ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดูนะค่ะ...แต่เขาอาจคิดว่าคุณมีความสามารถจึงให้ทำหน้าที่ได้หลายอย่างก็ได้ค่ะ...การจะให้เราทำอะไร หัวหน้าส่วนราชการควรมีคำสั่งให้เราปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยค่ะ...
  • คุณลองโทรถามที่สำนักงาน ก.พ. อีกครั้งนะค่ะ...ว่าจะให้ทำอย่างไร?...

เรียนรบกวนอาจารย์อีครั้งยังไม่เข้าใจในระบบการดำนินการเปลี่ยนตำแหน่งสายงาน จากพนักงานบริการไปดำรงตำแหน่งช่างไม้ช่างปูน

ในขั้นตอนในการร้องขอดูเหมือนจะไม่ราบรื่นไม่สดวก เหมือนว่าเกณฑ์มากมายเหลือเกิน ตามความพอใจของเจ้านาย ทั้งที่ผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาฝึมือแรงงานมาแล้ว บางคนเรียนจบปวส สายงานโยธาก็มี ผมยังไม่เข้าใจ อาจารย์ช่วยอธิบายกระชับอีกครั้งเถอะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยครับ

ตอบ...หมายเลข 147...

  • ความจริงแล้ว เป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องลูกจ้างประจำ + หัวหน้าส่วนราชการ ต้องสำรวจว่าลูกจ้างประจำในสังกัดของตนเอง มีการพัฒนาตนเองหรือไม่  อาจมีการวิเคราะห์คำสั่งที่มอบหมายงาน Job ของลูกจ้างประจำ ว่าตรงตามตำแหน่งหรือไม่...โดยอาจเป็นกระบวนการเปิดสอบแข่งขัน ปฏิบัติเพื่อส่งผลงาน แล้วตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบ ฯ... นี่คือ กระบวนการจริง ๆ...
  • แต่เท่าที่ทราบ ก็เป็นแบบที่คุณบอก หัวหน้าส่วนไม่ทราบ ไม่รู้ ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่บ้าง...ถือว่าตนเองไม่ได้ประโยชน์...เลยทำให้เป็นปัญหาในทุกวันนี้ไงค่ะ...
  • คุณลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ต้องการจะปรับเปลี่ยน ถ้าเรามีคุณสมบัติครบ มีผลงาน มีคำสั่งที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ ลองทำบันทึกถึงผู้บังคับบัญชาดูสิค่ะ...ว่าจะมีแนวทางที่จะดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับตัวเราที่จะได้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถมากยิ่งขึ้นค่ะ...
  • แต่ก็อย่างที่บอกว่า ต้องขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ ด้วยนี่สิค่ะ...ถ้าเขาไม่ทำ ก็อย่าหวังเลยว่าเขาจะทำให้ แต่ถ้าไปพบหัวหน้าส่วนราชการที่มีหลักธรรมาภิบาลแบบเต็มตัว รู้ว่าเราทำงานหนัก + มีการพัฒนาตนเอง + มีความรู้ในอาชีพของตัวเราเอง เพื่อขวัญ กำลังใจ เขาก็จะดูแลให้เราค่ะ...ลองดูนะค่ะ...ว่าแต่ว่า เราอย่ามีข้อที่ให้เขาตำหนิเด็ดขาด เช่น เขาเห็นว่าเราไม่ค่อยทำงาน เกเร เช่นนี้เป็นต้นนะค่ะ...ถ้าเป็นแบบที่ว่า สงสัยหัวหน้าส่วนราชการเขาคงไม่ทำให้เราหรอกค่ะ...
ตัวแทนลูกจ้างชั่วคราว

อยากเรียนถามว่า ที่มีประกาศขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 5 % เม.ย.54 ที่จะถึงนี้ ไม่ทราบว่าลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการจะได้ขึ้นเงินเดือน 5 % ตามข้าราชการหรือไม่ (เงินเดือนลูกจ้างไม่ขึ้นมา 3 ปีแล้ว ขึ้นต่ำ ป.ตรี ยังอยู่ที่ 7,940 บาทอยู่เลย) ถ้าขึ้นตามอยากให้ครม.ประกาศบังคับให้ชัดเจน สงสารลูกจ้างที่ทำงานหนักบ้างเถอะ ไม่มีกำลังใจในการทำงานเลย ทำให้มีปัญหาลูกจ้างเข้าๆออกๆงาน รู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่เลยค่ะ

ตอบ...หมายเลข 149...

  • ต้องขึ้นอยู่กับมติ ครม. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องค่ะ ว่าขึ้นให้กับใครบ้าง อยู่ที่ระดับนโยบายเบื้องบนค่ะ...คอยติดตามผลสั่งการจริง ๆ ค่ะ...เพราะปัจจุบันก็มีแต่ข่าวเท่านั้น...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ได้อ่านคำถามและคำตอบที่มีคนสงสัยเรียนถามอาจารย์แล้ว ได้ความรู้จากอาจารย์บุษยมาศ เป็นอย่างดี แต่ตัวเองก็มีข้อสงสัย

อยากเรียนถามอาจารย์บ้างว่า สิทธิของลูกจ้างประจำในการเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้างที่ออกจากราชการ ยังมีสิทธิเบิกได้หรือเปล่า เพราะมีลูกจ้างประจำที่ลาออกจากราชการ เกิดป่วยได้เข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ใช้สิทธิ์จ่ายตรงไม่ได้ เลยสงสัยว่าขณะนี้จะมีสิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่

ตอบ...หมายเลข 151...

  • ค่ะ ตอนนี้ระเบียบเรื่องค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างประจำ ยังไม่ออกนี่ค่ะ...
  • และตอนนี้ลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ ก็จะเข้าใช้สิทธิ์จ่ายตรงไม่ได้แล้วค่ะ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553...จนกว่าระเบียบจะออกมาบังคับใช้ นายทะเบียนผู้ใช้สิทธิ์ในการควบคุมเขาถึงจะเปิดระบบให้ใช้สิทธิ์จ่ายตรงให้ได้ค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ขอบคุณคะ ที่ได้ให้คำแนะนำ และหวังว่า ถ้าระเบียบเรื่องค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างประจำ ได้เปิดระบบ

ให้ใช้สิทธิ์จ่ายตรงได้ ขอความกรุณาอาจารย์บุษยมาศ ช่วยลงให้ลูกจ้างประจำรู้ด้วยนะคะ

ตอบ...คุณวันทิพา...

  • ได้ค่ะ ถ้าระเบียบประกาศออกมาใช้ จะนำมาลงให้ทราบกันค่ะ...

เรียนถามอาจารย์

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำ ดิฉันสงสัยเรื่องบำเหน็จ บำนาญของลูกจ้างประจำ ว่าถ้าดิฉันทำงานมาครบ 25 ปี แต่ยังอายุไม่ถึงอายุ 60 ปี สามารถลาออกจากราชการ โดยถ้าจะรับบำเหน็จรายเดือนได้หรือไม่ (บำนาญรายเดือนของข้าราชการ แต่ลูกจ้างประจำเรียกว่าบำเหน็จรายเดือนใช่หรือไม่) ขอขอบคุณ อาจารย์มากค่ะ

ตอบ...หมายเลข 155...

  • ถูกต้องค่ะ...ถ้าเป็นลูกจ้างประจำ จะเรียกว่า "บำเหน็จรายเดือน" ค่ะ แต่ถ้าเป็นข้าราชการจะเรียกว่า "บำนาญ" ค่ะ...เพราะระเบียบไม่เหมือนกันค่ะ...ขอให้คุณศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบล็อกและไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussaya3/313176
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/011052.pdf

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

อยากทราบว่าตอนนี้เรื่องลูกจ้างประจำ สังกัดกระทรวงกลาโหม เป็นอย่างไรบ้าง ไม่ทราบว่าจะได้รับเงินเดือนใหม่เมื่อใด และจะได้รับตกเบิกตั้งแต่เดือน เม.ย.53 มาจนถึงปัจจุบันนี้หรือไม่ ช่วยตอบให้ทราบด้วยนคะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...หมายเลข 157...

  • ถ้าคุณใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 ละก็...รัฐขึ้นให้ค่ะ...เพราะตอนนี้ ผู้เขียนก็งง เหมือนกัน ว่า ใช่หรือไม่ เนื่องจากมีลูกจ้างประจำของ อบต. ของหน่วยงานอื่นที่รัฐแบ่งส่วนราชการไป ทำให้กฎหมายเริ่มจะใช้ไม่เหมือนกัน จะทำให้ตอบผิด...
  • เอาเป็นว่า ขอให้คุณสอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของคุณ ที่คุณได้สังกัดอยู่ว่าไปถึงไหนแล้ว เพราะส่วนราชการอื่น ส่วนมากเขาได้รับกันหมดแล้ว สำหรับลูกจ้างประจำที่เกษียณไปเมื่อ 1 ต.ค.53 ก็ได้รับเงินบำเหน็จรายเดือน + เงินบำเหน็จเรียบร้อยแล้วนี่ค่ะ...

ลูกจ้างประจำ บรรจุราชการ 1ตค.2516 ถ้าจะลาออก วันที่ 20 เมษายน 2554 เงินเดือนปัจจุบัน 22,680 บาท อายุราชการ37ปี 6เดือน (อีก1ปี 6เดือน จะครบเกษียนราชการ) อยากทราบว่าจะได้รับบำเหน็จรายเดือน เดือนละเท่าไรและถ้าจะลาออกวันที่ 20มกราคม 2554 จะได้รับบำเหน็จรายเดือน เดือนละเท่าไร ขอขอบคุณค่ะ

ตอบ...คุณมล...

เรียนถาม ผอ. การพิมพ์ตำแหน่ง ของพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 ที่เปลี่ยนใหม่ เป็นพนักงานพิมพ์ อย่างเดียวหรือว่า ต้องใส่ พนักงานพิมพ์ ส.3ด้วยค่ะ เพราะที่ทำงานเขา พิมพ์ตำแหน่งเป็น"พนักงานพิมพ์ " ไม่มี ส.3

ตอบ...ลูกจ้าง...

  • คำว่า  "พนักงานพิมพ์"  นั้น  คือ  ตำแหน่งค่ะ...สำหรับ ส 3  นั่นคือ ระดับค่ะ...
  • ผู้เขียนคิดว่า ควรใส่ เพราะจะได้รู้ว่าเราตำแหน่งใดและระดับใดค่ะ...เพราะแต่ละคน ระดับจะไม่เหมือนกัน เกี่ยวกับสิทธิ ต่าง ๆ ด้วยค่ะ...แต่ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานเกี่ยวกับเรื่องใดด้วยนะค่ะ...เพราะบางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องใส่ เพราะพูดถึงตำแหน่งอย่างเดียว  แต่ถ้าเกี่ยวกับเรื่องเงิน สิทธิประโยชน์ ควรใส่ค่ะ...
  • ลองดูตัวอย่างคำสั่งของกรมบัญชีกลางให้มาก็ได้ ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/571/406/original_bb113.pdf?1285779381
ลูกจ้าง กองทัพอากาศ

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

อยาทราบว่าตอนนี้เรื่องของลูกจ้างประจำส่วนราชการกองทัพอากาศ นั้น ไม่ทราบว่าดำเนินการไปถึงไหนแล้วอาจารย์พอจะทราบบ้างไหมคะ เพราะมีพี่ ๆ จะเกษียณในเดือน ก.ย.๕๔ นี้ค่ะ กลัวจะไม่ได้รับเงินเดือนใหม่ ขอตอบให้ทราบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...ลูกจ้าง กองทัพอากาศ...

  • ไม่ทราบเลยจริง ๆ ค่ะ...เอ แต่ส่วนราชการอื่น เขาได้รับกันไปแล้วนี่ค่ะ...
  • สำหรับเดือนเมษายน 2554 ต้องรอ มติ ครม.การให้ปรับเลื่อนขั้นค่าจ้างก่อนค่ะ...
  • ลองสอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศเองนะค่ะ จะได้คำตอบที่ชัดเจนกว่าค่ะ...

ผมอยู่กรมเจ้าท่าตำแหน่งกะลาสีแต่ผมปรับตำแหน่งเป็นนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้น2 ก่อนที่ ก.พ. จะให้ปรับตำแหน่งใหม่ผมอยู่ในส่วนได่ครับ

ตอบ...คุณแท่น...

  • ขอให้คุณศึกษาจากบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...เพราะผู้เขียนไม่ทราบรายละเอียดว่าเดิมคุณอยู่หมวดใด เพราะมีตำแหน่งมากจริง ๆ ค่ะ ลองดูนะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/348990
  • ถ้าสงสัยก็สอบถามมาใหม่นะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีครับ ผมเป็นลูกจ้างประจำกระทรวงศึกษาฯ จังหวัดนครสวรรค์ มาเป็นเวลา 20 ปี ท่าน ผอ.ออกคำสั่งให้ผมปฎิบัติหน้าที่ยามกลางคืน(18.00-06.00 น.) ในระยะ 20 ปี จะมี ผอ.มาดำรงตำแหน่งฯ หลายท่าน ผอ.บางคนให้ผมมีวันหยุดสัปดาห์ละ 2 วัน บางคนก็ใ้ห้สัปดาห์ละ 1 วัน แต่วันหยุดทางราชการและเทศกาลไม่มี แต่นักการภารโรงซึ้งเป็นลูกจ้างประจำเช่นเดียวกับผมมีวันหยุดประจำสัปดาห์ละ 2 วันและมีวันหยุดเทศกาลด้วย ส่วนผมต้องยื่นใบลาขอหยุดราชการจึงจะได้หยุดถ้าอนุมัติ และใน 1 ปีกว่า ๆ มานี้หรือ 2 ปีไม่แน่ใจ ได้มี ผอ.คนใหม่มาดำรงตำแหน่งฯ ปีแรกไม่ให้ผมมีวันหยุดเลยเว้นแต่ยืนใบลา 3-4 เดือนหลังมานี้ ท่านผู้ช่วยฯ ได้ขอร้องกับ ผอ.ว่าขอให้ผมได้มีวันหยุดบ้าง ผอ.จึงยอมให้ผมได้มีวันหยุดได้เดือนละ 1 วัน ผมมีความรู้สึกว่าวันหยุดของผมไม่เป็นทางการหรือมีมาตราฐานและไม่เป็นธรรมกับผม ทำให้ผมไม่มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ช่วยแนะนำหรือให้ข้อชี้แนะว่าผมจะทำเช่นไรดี เพราะผมเคยพูดและขอให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์กับตัว ผอ.แล้ว แต่ ผอ.ไม่ยอม ขอขอบคุณครับ

ตอบ...คุณเมธี...

  • คุณทำงานมาเป็นเวลา 20 ปี สิ่งแรกที่ต้องการทราบว่างานที่คุณทำ งานหลักคือเรื่องอะไรค่ะ? เพราะลูกจ้างประจำบางท่านจะทำงาน เช่น ถ่ายเอกสาร  ทำงานสารบรรณ งานธุรการ  งานการเงิน หรือปฏิบัติเรื่องอื่น ๆ เป็นหลักกว่าการทำหน้าที่ปิด - เปิดสำนักงาน
  • เหตุที่ถาม เพราะความจริงตำแหน่งการอยู่เวรยามประจำสำนักงาน มีหนังสือจากกระทรวงการคลังหรือกรมบัญชีกลาง แจ้งเวียนให้ทุกส่วนราชการสามารถดำเนินการจ้างเหมาและเบิกงบประมาณได้ด้วยค่ะ...
  • อีกกรณีหนึ่งถ้าคนทำงานตามภาระงานข้างต้น จะสามารถเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ได้แล้วค่ะเพื่อให้ตรงกับภาระงานที่ได้ปฏิบัติจริง ๆ ค่ะ...
  • แต่ทั้งนี้ ต้องปรึกษา ผอ. + เจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ ...เพราะของ มร.พส. แต่ก่อนมีตำแหน่งคนงานเยอะมากค่ะ แต่ปัจจุบันไม่มีแล้วค่ะ เราก็จะจ้างยามเข้ามาดูแล  สำหรับลูกจ้างประจำ ก็อาจมีเดือนละ 1 ครั้งเองค่ะ...ลองดูนะค่ะ ถ้าสงสัยก็สอบถามมาใหม่ได้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

อิชั้นจะเกษียณ ปี 2556 อยากลาออกก่อนเกษียณมากๆ แต่ตอนนี้ รออยู่ว่าเมื่อไรจะได้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย เอ๊ย หลังเกษียณ ได้เมื่อไรออกเมื่อนั้น จะเข้ามาเยี่ยมหน้าเว็บนี้บ่อยๆ นะคะ มีเมื่อไร กรุณานำเสนอด้วย

ตอบ...คุณ ryo...

  • สำหรับเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล เห็นแต่ข่าวว่าจะทำให้ แต่ก็ต้องรอค่ะ ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไรรัฐจะจัดหามาให้ เพราะการที่จะทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ สวัสดิการ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ แล้วอีกอย่างรัฐต้องหาเงินมาสนับสนุนในด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลนี้มากเลย สำหรับปัจจุบันรัฐก็มีปัญหาในเรื่องเงินงบประมาณไม่เพียงพออยู่แล้ว...ผู้เขียนก็ได้แต่ลุ้น รอการฟังข่าวแบบเป็นทางการเช่นกัน แต่ถ้าระเบียบออกมาให้ปฏิบัติ ก็จะรีบมาแจ้งให้ทราบท้นทีค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

ลูกจ้างประจำ  ทำงานมาตั้งแต่ ปี2538  ประสงค์จะลาออกจากงาน  มีสิทธิอะไรบ้างครับ

ตอบ...คุณสม...

ประสาท ขำสูงเนิน ประธานศูนย์ ลปจ.พังงา

เรียนเพื่่อนลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภท สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ) แถวบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ใกล้ๆกับจ.ขอนแก่น ) ด้วยในวันเสาร์ที่19ก.พ.54ได้มีการจัดประชุมสัมนาเชิงวิชาการ การรพัฒนาศักยภาพประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการขี้นที่ โรงเเรมแก่นอินทร์
อ.เมืองจ.ขอนแก่นหากต้องการแบบฟรอม์ ให้ดาวโหลดได้ที่ เวปไซร์ ศูนย์ประสานงานลูกจ้างประจำส่วนราชการ จ.พังงา แล้วแจ้งความจำนงใด้ตามที่อยู่ /รายชื่อท้ายแบบ    ฟรอม์ นะครั (ประชาสัมพันธ์ ในสถานะกรรมการสมาคมฯ สพฐ.นะครับ)

เรียน ผอ.บุษยมาศ

         ขอเรียนถาม ผอ.บุษยมาศ ว่าลูกจ้างประจำ สามารถทำงานล่วงเวลาได้หรือเปล่าคะ

 

 

ตอบ...หมายเลข 2351573...

  • ได้ค่ะ...ว่าด้วย ระเบียบการทำงานล่วงเวลาค่ะ...

ขอบคุณ ผอ.บุษยมาศ มากนะคะ แต่บอกเจ้าหน้าที่แล้วก็ยังหาไม่พบ บอกว่าพนักงานราชการทำล่วงเวลาได้ แต่ลูกจ้างประจำ เบิกล่วงเวลาไม่ได้

ขอบคุณ ผอ.บุษยมาศ มากนะคะ แต่บอกเจ้าหน้าที่แล้วก็ยังหาไม่พบ บอกว่าพนักงานราชการทำล่วงเวลาได้ แต่ลูกจ้างประจำ เบิกล่วงเวลาไม่ได้

ตอบ...ลูกจ้างประจำ...

  • ให้ดูในระเบียบของกระทรวงการคลัง ซึ่งกำหนดเรื่องการเบิกค่าล่วงเวลานะค่ะ...
  • เข้าไป search ใน กระทรวงการคลัง เกี่ยวกับหนังสือเวียนก็ได้ค่ะ ลองดูนะค่ะ...

สวัสดีครับ อาจารย์ บุษยมาศ ตอนนี้เห้นคำสั่งจากกระทรวงกลาโหมเรื่องให้ปรับตำแหน่งลูกจ้้างประจำแล้ว แต่ผมมีข้อไม่สบายใจอยู่ก็คือตรง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง น่ะครับเหตุผลก็เพราะว่า ผมได้สอบเปลี่ยนสายงานจาก ช่างโลหะแผ่นชั้น 2 มาเป็น ช่างต่อเรือเหล็ก ชั้น 2 ได้ประมาณ 1 ปีกว่า ๆ แต่สายงานเดิมก็จะอยู่กองเดียวกันคือ โรงงานต่อเรือเหล็ก แต่ผมอ่านตรงคุณสมบัติแล้วก็เลย งง ว่าผมต้องรอ 3-8 ปีเลยหรือครับถึงจะได้เงินที่ปรับใหม่ แต่ผมก็บรรจุทำงานมา 21 ปีแล้วแล้วสอบช่างชั้น 2 สิบกว่าปีแล้ว ตกลงว่าผมควรทำอย่างไรดีครับ ถ้าไง อาจารย์ ช่วยผมหน่อยเถอะครับ อ่านแล้วช่วยตีความให้ผมด้วย ตอนนี้ไม่สบายใจเอามาก ๆ ครับ ขอบคุณมากครับ

ตอบ...คุณลูกน้ำเค็ม...

  • ไม่ทราบว่า คุณใช่คน ๆ เดียวกับบล็อกด้านล่างนี้หรือไม่ ถ้าใช่ ผู้เขียนตอบให้แล้วนะค่ะ ลองศึกษาดูค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussaya3/313190?page=1#2353090
  • คุณเข้าใจผิดแล้วค่ะ...เอาเป็นว่าที่ปรับมาแล้ว ก็แล้วไป เพราะมีคำสั่งออกมาแล้ว...และก็เป็นระดับ 2 เช่นเดียวกัน...
  • เพียงแต่ว่า ตำแหน่งใหม่ที่คุณได้ปฏิบัติอยู่นี้ คุณได้ทำหน้าที่ตามตำแหน่งใหม่หรือไม่...แล้วมีคำสั่งจากส่วนราชการให้คุณทำหน้าที่ตามตำแหน่งใหม่ ที่มีหน้าที่โดยย่อนั้นหรือไม่ ถ้าไม่มี ต้องรีบให้ส่วนราชการมอบหมายงานในหน้าที่ให้ทำตรงตามตำแหน่งใหม่ก็แล้วกันค่ะ...ลองศึกษาในบล็อกด้านบนที่ผู้เขียน Link มาให้ดูนะค่ะ...
  • ค่อย ๆ ศึกษาไปค่ะ...เพราะปัจจุบันเราต้องเรียนรู้ด้วย ทำงานไปด้วยค่ะ...ลองดูนะค่ะ...ถ้าสงสัยค่อยถามมาใหม่ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

       ขอเรียนถามอาจารย์ว่า ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส 3 สามารถเปลี่ยนเป็นพนักงานธุรการ

ได้หรือเปล่าคะ

ขอบคุณครับอาจารย์ บุษยมาศ ค่อยโล่งใจหน่อยผมก็คิดว่าตรงรอให้ได้ปีตาม คุณสมบัติซะอีก ขอบคุณอีกครั้งครับ

ตอบ...คุณลูกจ้างประจำ...

  • เดิมคุณตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส 3 ถ้าจะปรับเป็นพนักงานธุรการ รหัส 2108 ระดับ 3 นั้น ให้คุณดูลักษณะงานที่คุณปฎิบัติในปัจจุบันว่าทำเกี่ยวกับงานธุรการหรือไม่และให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานธุรการ ระดับ 3 ดังนี้
  • 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 2

ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี  หรือ

  • 2. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและความชำนาญงานในหน้าที่ และ

เคยปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า10 ปี หรือ

  • 3. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะ

งานในหน้าที่

  • ให้ดูว่าคุณเข้าในข้อใดข้อหนึ่ง ใน 3 ข้อ หรือไม่ เพราะมีคำว่า "หรือ" จึงไม่ต้องทุกข้อค่ะ...ส่วนราชการอาจจัดให้มีการสอบ เพื่อกระบวนการในการดำเนินการก็ได้ค่ะ...
  • ให้ศึกษาจากไฟล์ด้านล่างนี้ด้วยค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428

ตอบ...คุณลูกน้ำเค็ม...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศคะ  ดิฉันทำงานปัจจุบันในตำแหน่ง พนักงานพิมพ์  3 ปฏิบัติงานด้านพัสดุมาเป็นเวลา 10 ปี ถ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็น พนักงานพัสดุ 3 ได้เลยหรือไม่ เนื่องจากดิฉันสอบถามท่ีงานการเจ้าหน้าท่ีของหน่วยงานดิฉัน บอกว่ากรอบมีเปลี่ยนได้เพียงแค่ พนักงานพัสดุ 2 ดิฉันอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ถ้าดิฉันควรท่ีจะเปลี่ยนเป็นพนักพัสดุ 2  หรือไม่ หรือสมควรอยู่ในตำแหน่งเดิม ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งคะ

ตอบ...คุณ tum...

  • สงสัยว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานคุณจึงบอกว่ากรอบเปลี่ยนได้เพียงแค่พนักงานพัสดุ 2 ละค่ะ...ไม่เข้าใจ ความจริงในกรอบมาตรฐานกำหนดตำแหน่งกำหนดให้เป็นได้ถึงพนักงานพัสดุ ระดับ 4 นี่ค่ะ...
  • ถ้าคุณมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในตำแหน่งพนักงานพัสดุ ระดับ 3 ดังนี้...
  • 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งพนักงานพัสดุ ระดับ 2 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
  • 2. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและความชำนาญงานในหน้าที่ และเคยปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า10 ปี หรือ
  • 3. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานในหน้าที่
  • ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งค่ะ เพราะมีคำว่า "หรือ" ถ้าคุณทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ตามคุณสมบัติข้อ 2 คุณก็สามารถปรับเปลี่ยนเป็นระดับ 3 ได้นี่ค่ะ...
  • ศึกษารายละเอียดได้จากไฟล์ด้านล่าง รหัส 2106 ตำแหน่งพนักงานพัสดุ ดังนี้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428

สวัสดีค่ะ...ทุกท่าน...

  • สำหรับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวัน Valentine "วันแห่งความรัก"...
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ...
  • "รักและหวังดีต่อทุกคนค่ะ"...
  • สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการมอบให้ พวกเราทุกคนค่ะ เลยมาชวนไปดูค่ะ...
  • อย่าลืมเข้าไปดูในค่ำคืนนี้นะค่ะ...แล้วจะตกตะลึงในความมหัศจรรย์ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas2554/425785

ถึงวันนี้ คิดว่า ลูกจ้างประจำน่าจะได้รับการดูแลเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหรอก เพราะแม้แต่ข้าราชการ เขาก็เริ่มตัดสิทธิไปเรื่อยๆ จะได้ออกก่อนเกษียณมั๊ยน้า

ตอบ...คุณ ryo...

  • ค่ะ...ผู้เขียนก็เอาใจช่วยนะค่ะ...แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสำนักงบประมาณ ต้องดูภาระค่าใช้จ่ายด้วยค่ะ...
  • ถ้ามีระเบียบ ออกมาบังคับใช้ ผู้เขียนจะรีบนำมาแจ้งให้ทราบก็แล้วกันค่ะ...

เรียนท่านอาจารย์บุษยมาศครับ

ผมทำงานตำแหน่งช่างเครื่องจักรกล ช 3 อยู่  แต่ได้แต่งตั้งให้ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่พัสดุมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 แล้ว  ผมอยากทราบว่าถ้าผมเปลี่ยนตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุได้หรือเปล่าครับ

ตอบ...คุณ nyna...

  • ขอให้คุณศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

  • การเป็นตำแหน่งพนักงานพัสดุ รหัส 2106 ระดับ 3 กลุ่มบัญชีค่าจ้าง กลุ่มที่ 2-3 อัตราค่าจ้าง 7,940 บาท และขั้นสูง 29,320 บาท นั้น ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ดังนี้ค่ะ...

  • 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งพนักงานพัสดุ ระดับ 2 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ

  • 2. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและความชำนาญงานในหน้าที่และเคยปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ

  • 3. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานในหน้าที่

  • กรณีของคุณ...ถ้าเคยปฏิบัติหน้าที่พนักงานพัสดุมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งเข้าในข้อที่ 1 คือ แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม ครบตามเวลาที่ปฏิบัติก็สามารถเปลี่ยนได้ค่ะ ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยนะค่ะ...เปลี่ยนเป็น "พนักงานพัสดุ ระดับ 3" ค่ะ เพราะคุณเป็น ช 3 อยู่ค่ะ...

  • การใช้คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งค่ะ เพราะใช้คำว่า "หรือ"...

ตอบ...คุณ nyna...(เพิ่มเติม)

  • ต้องมีคำสั่งมอบหมายงานที่ให้ทำงานพัสดุด้วยนะค่ะ...

สวัสดีครับ  อ.บุษยมาศ

ขณะนี้ผม ตำแหน่ง ช1 รหัส 3103 ค่าจ้าง 14970 บาท จะตันระดับ 1 ที่ 15260 บาท

การประเมินผลงานงวดแรกนี้ จะประเมินให้ทะลุไประดับ 2 ได้หรือไม่(ระดับ 2 ขั้นสูง

18190 คุณสมบัติครบ)

 

 

ตอบ...คุณพัท...

  • ก็สามารถทำได้ 2 กรณี
  • กรณีแรก ให้เต็มขั้นระดับ 1 ก่อน
  • กรณีที่ 2 ถ้าคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสามารถให้ทำได้แล้วตัวเราเข้าคุณสมบัติก็สามารถทำได้ค่ะ
  • สำหรับเรื่องค่าจ้างนั้น เมื่อประเมินในระดับ 2 ได้แล้ว ค่าจ้างที่จะได้รับสำหรับตัวเราก็ได้เท่าเดิมไปก่อน ไต่ระดับ 1 ไปจนเต็มเพดานระดับ 1 แล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปเป็นค่าจ้างในระดับ 2 ค่ะ...การปรับเปลี่ยนระดับ 2 นั้น เป็นการเปิดเพดานของขั้นค่าจ้างให้เท่านั้นนะค่ะ...
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ดูที่คำสั่งในการทำงานในปัจจุบันเป็นหลัก ถ้าไม่มีในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในระดับ 2 หัวหน้าส่วนราชการต้องมอบหมายงานให้ได้ตามระดับ 2 จึงจะทำการประเมินได้ หรืออาจมีการสอบเพื่อคัดเลือกก็ได้ค่ะ...
  • และให้ยึดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในระดับ 2 เป็นหลักด้วยค่ะ...
ไม่ประสงค์ออกนาม

อาจารย์บุษยมาศค่ะ ขอรบกวนถามอาจารย์ดังนี้

1.อยากถามว่าบำเหน็จรายเดือน 15 เท่าของลูกจ้างออกหรือยังค่ะ

2.ค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างออกหรือยัง

ตอบ...คุณไม่ประสงค์ออกนาม...

  • ถ้าหมายถึงบำเหน็จตกทอด 15 เท่าของลูกจ้างให้ศึกษาตามบล็อกนี้นะค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/408190
  • ส่วนค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้าง (ถ้าเป็นหลังเกษียณ ปัจจุบันยังไม่มีระเบียบออกบังคับใช้ แต่ให้ใช้บัตรทองไปก่อนนะค่ะ)
  • ถ้ามีความเคลื่อนไหว ด้านระเบียบ ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบต่อไปค่ะ...

กราบเรียน ท่านอาจารย์บุษยมาศ

ผมตะวัน ผมเปิดอ่านข้อความของท่านอาจารย์เป็นประจำ เว็บไซต์ของท่านอาจารย์มีประโยชย์กับลูกจ้างประจำเป็นอย่างมาก

ทั้งการให้คำปรึกษาคำแนะนำและข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างประจำ ผมเองมีข้อสงสัยไม่เข้าใจอยากจะถาม

พอผมเปิดมาอ่านผมก็หายสงสัย เลยไม่ได้เข้ามาคุยกับท่านอาจารย์ วันนี้ผมขออนุญาตเข้ามาเป็นกำลังใจให้กับท่านอาจารย์

ที่ได้เมตตาให้ความรู้และเป็นการเปิดโอกาสกับลูกจ้างประจำ ที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่เพื่อความก้าวหน้า เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ

ในการปฏิบัติงาน ผมต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงและขอให้ท่านอาจารย์อยู่คู่กับเว็บไซต์นี้ตลอดไป

สุดท้ายนี้ผมขอให้ท่านอาจารย์มีความสุข สุขภาพแข็งแรง อายุยืนเป็นหมื่นๆปีเลยนะครับ

ตอบ...คุณตะวัน...

  • ค่ะ...ก็ต้องขอขอบคุณนะค่ะ...ที่ยังคิดว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ต่อบุคลากรประเภทลูกจ้างประจำ...สิ่งใดที่ผู้เขียนสามารถทำให้ลูกจ้างประจำมีกำลังใจและมีความก้าวหน้าในอาชีพตนเอง ผู้เขียนก็จะขอนำมาแจ้งให้ทราบก็แล้วกันนะค่ะ...
  • อีกอย่าง ปัจจุบันยุคนี้เป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ตัวเราเป็นข้าราชการ ถ้ามีความรู้ ความสามารถทั้งด้านวิชาการ + เทคโนโลยี ก็ไม่ควรที่เก็บไว้ให้หายไปกับตัวเอง ควรนำมาแนะแนะ ชี้แจง ให้บุคลากรภาครัฐได้รับทราบ และจะได้ปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันอย่างถูกต้อง
  • ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับลูกจ้างประจำทุกท่านนะค่ะ ที่ได้ทำงานในหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ในโลคยุคปัจจุบันรัฐต้องการให้บุคลากรภาครัฐทุกประเภท เกิดการพัฒนาตนเองให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ของผลสัมฤทธิ์ของการทำงานภาครัฐไงค่ะ
  • ค่ะ ผู้เขียนก็มีปณิธานในใจว่า จะทำให้จนกว่าผู้เขียนจะเกษียณอายุราชการค่ะ...สิ่งใดดีมีประโยชน์ก็นำไปปฏิบัติได้ค่ะ สิ่งใดไม่ดีไม่มีประโยชน์ ควรทิ้งไว้ที่บล็อกแห่งนี้นะค่ะ...เราสามารถนำสิ่งที่ดีไปบูรณาการให้กับหน่วยงานของเราให้ดีขึ้นได้ค่ะ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...สำหรับคำอวยพรที่ให้มาก็ขอให้ย้อนกลับคืนไปยังท่านด้วยนะค่ะ...(ขอเพียง การไม่มีโรคภัยต่อร่างกายเท่านั้นก็สุขใจแล้วค่ะ)...

พนักงานรักษาความปลอดภัยสามารถออกพิ้นที่ได้หรือไม่ครับ เบิกเบี้ยเลี้ยงได้ไหม

 

ตอบ...คุณ [IP: 125.26.56.221] ...

  • ได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้สั่งการ และก็สามารถเบิกเบี้ยเลี้ยงได้ค่ะ เหมือนกับตำแหน่งทั่ว ๆ ไปค่ะ...ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเหมาะสมค่ะ...
  • 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท