การพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการ


การพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

 

 

               

               บันทึกนี้ ผู้เขียนขอใช้ชื่อว่า "การพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการ" โดย สรุป ได้ ดังนี้ค่ะ...

                เมื่อวันศุกร์ที่  26  กุมภาพันธ์  2553 เวลา 13.00 - 15.00 น. ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ์  สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี    ผู้เขียนมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในกอง ได้เข้าร่วมประชุมกับสำนักงาน ก.พ.  แทนผู้เขียนซึ่งติดประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล (ก.บ.ม.) ของมหาวิทยาลัย ได้สรุปผลการประชุมการพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการ โดยให้ส่วนราชการแต่ละส่วนดำเนินการตามแผนดำเนินการ ฯ ...ดังนี้...ค่ะ...

 

แผนดำเนินการปรับระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำเข้าสู่ระบบใหม่

(กำหนดให้มีผลใช้บังคับ ณ วันที่ 1 เมษายน 2553)

 

12 กุมภาพันธ์ 2553   - สำนักงาน ก.พ. ออกหนังสือเวียน

                                      ส่วนราชการ (ว4/2553 ลงวันที่ 12

                                      กุมภาพันธ์ 2553) ให้หยุดดำเนินการใด ๆ

                                      เกี่ยวกับการปรับระดับตำแหน่ง การเปลี่ยน

                                      ตำแหน่งและการตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้าง

                                      ประจำ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553

26 กุมภาพันธ์ 2553     - จัดประชุมส่วนราชการเรื่องการพัฒนา

                                       ระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำ

1 มีนาคม 2553            - ส่วนราชการหยุดดำเนินการบริหารอัตรา

                                       กำลัง (ปรับระดับ/เปลี่ยนตำแหน่ง/ตัดโอน

                                       อัตรากำลัง) ลูกจ้างประจำ

1 - 30 มีนาคม 2553    - ส่วนราชการจัดทำข้อมูลการปรับตำแหน่ง

                                      ลูกจ้างประจำจากระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่

                                      ตามตารางที่กำหนด รวมทั้งประสานกับ

                                      สำนักงาน ก.พ. เพื่อตรวจสอบข้อมูล

                                      ตามบัญชีจัดตำแหน่งดังกล่าวและแก้ไข

                                      ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2553

                                       เพื่อให้ทันกำหนดใช้บังคับ

                                      ในวันที่ 1 เมษายน 2553

                                       - กรณีมีปัญหา เช่น ชื่อตำแหน่งเดิมที่มี

                                       ผู้ครองตำแหน่งอยู่ ไม่ปรากฎในรายการ

                                       เปรียบเทียบชื่อตำแหน่งในระบบเดิมกับ

                                      ระบบใหม่ หรือหน้าที่โดยย่อของตำแหน่ง

                                      ไม่ครอบคลุมหน้าที่งานในตำแหน่งใดของ

                                       ส่วนราชการ ให้แจ้งสำนักงาน ก.พ. ภายใน

                                      วันที่ 18 มีนาคม 2553 เพื่อปรับปรุง

                                       ก่อนออกเป็นหนังสือเวียน เรื่อง การจัด

                                       ระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำใหม่ต่อไป

30 มีนาคม 2553          - สำนักงาน ก.พ. ออกหนังสือเวียน

                                       ส่วนราชการเรื่องการจัดระบบตำแหน่ง

                                      ลูกจ้างประจำใหม่ โดยกำหนดให้มีผล

                                     ใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน 2553

                                      - ส่วนราชการส่งบัญชีการจัดตำแหน่ง

                                      ตามระบบใหม่ที่ผ่านการตรวจสอบ

                                      ความถูกต้องแล้วให้สำนักงาน ก.พ.

                                      จำนวน 2 ชุด

1 เมษายน 2553           - ประกาศใช้ระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำ

                                      ใหม่ทุกส่วนราชการ

พฤษภาคม 2553          - สำนักงาน ก.พ. ออกหนังสือเวียน

                                      ส่วนราชการเรื่องการบริหารอัตรากำลัง

                                      ลูกจ้างประจำตามระบบใหม่

 

                  ซึ่งมหาวิทยาลัย กำลังอยู่ในขั้นการดำเนินการปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำเดิมเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ให้ค่ะ... 

                        สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ ผู้เขียนจะนำขึ้นเว็บไซต์ให้อีกครั้งหนึ่งค่ะ...

 

...ท่านสามารถอ่าน...

 การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำตามเว็บไซต์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/348990

 

หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0428/ว 38

ลงวันที่ 1 เมษายน 2553  เรื่อง  บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ

ตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ 

ตามเว็บไซต์ด้านล่างนี้ค่ะ...

 http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 340335เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (297)

การเปลี่ยนแปลง หากหมายถึงการพัฒนา หรือความก้าวหน้าเป็นเรื่องที่ดีมากครับ  ปีนี้ ผมมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ลุกจ้างได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรทางวิชาชีพเหมือนบุคลากรสายหัวหน้าฝ่าย  ซึ่งกำลังผลักดัน  ถ้าไม่พลิกอะไรมาก ก็คงเกิดขึ้นได้ตามที่ใจคาดหวังไว้  ซึ่งตอนนี้ลูกจ้างก็ลุ้นๆ เหมือนกับผมนั่นแหละ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ...คุณแผ่นดิน...

ใช่แล้วค่ะ การเปลี่ยนแปลง ก็หมายถึง การพัฒนาหรือความก้าวหน้าในอาชีพของตน เนื่องจากแต่ก่อนรัฐไม่ค่อยให้ลูกจ้างประจำได้รับการพัฒนามากสักเท่าไร แต่ในยุคปัจจุบัน รัฐเล็งเห็นเรื่องการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหมั่นให้พวกเขาได้รับการพัฒนา เพื่อนำความรู้ ความสามารถที่เขามีอยู่มาพัฒนาหน่วยงานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งรัฐก็ควรดูแลเรื่องความก้าวหน้าในอาชีพของตนเองด้วย เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้คนที่อยู่ในหน่วยงานและหน่วยงานได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้นค่ะ...ตั้งแต่เรียนด้านการจัดการมา เพิ่งจะยุคนี้เองมังค่ะที่รัฐเห็นความสำคัญเรื่อง M ที่เกี่ยวกับ คนก็คราวนี้เองค่ะ...สมัยก่อนเห็นแต่ความสำคัญด้านเงิน งบประมาณ และการจัดการ ไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องคนสักเท่าไร...ขอบคุณค่ะ...และก็ยินดีกับลูกจ้างประจำทุกท่านด้วยค่ะ...และขอฝากลูกจ้างประจำด้วยนะค่ะ ควรได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพให้มากค่ะ สร้างความชำนาญในงานอาชีพให้มาก ๆ  เพราะจะเกี่ยวกับความก้าวหน้าในอาชีพของท่านเองค่ะ...

สวัสดีค่ะ พี่บุษยมาศ วันหยุดยาวไม่ไปไหนรึค่ะ..สบายดีปล่าวค่ะ..

 

สวัสดีค่ะ...ครูบันเทิง...

เสาร์ + อาทิตย์ ไม่ได้หยุดค่ะ ทำงานที่ ม. อยู่ค่ะ คงได้หยุดวันที่ 1 มีค. วันเดียวค่ะ เก็บตังค์ไว้ให้ลูกค่ะ...สบายดีค่ะ...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ...ท่านสบายดีนะค่ะ...

 

กราบเรียนท่าน ผอ. น่าจะเปลี่ยนคำว่า "ลูกจ้าง"นิ ฟังแล้ว บางที ไม่สบายใจ แต่หากเรา ดูแล takecare แบบ "ลูก" ก็ แล้วไปครับ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ jj...

ขอบคุณค่ะ...นั่นสิค่ะ...ทำไมถึงต้องใช้คำว่า "ลูกจ้าง" แต่คำ ๆ...นั้น หาสำคัญไม่...สำคัญอยู่ที่การให้เกียรติซึ่งกันและกัน การดูแล การรักษา การให้เขาได้รับการพัฒนา การเข้าใจความรู้สึกของเขา...มากกว่าค่ะ...

สวัสดีค่ะ

แวะมาเรียนรู้

ขอบคุณค่ะ^__^

สวัสดีค่ะ...น้องต้นเฟิร์น...

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...โลกใบนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้อีกมากมายค่ะ...

สวัสดีค่ะ...ครูจิ๋ว...

ขอบคุณค่ะ...สบายดีนะค่ะ...เช่นกันค่ะ...

จากการศึกษาทางเวปของ อ.บุษยมาศ แล้ว ผม.ใคร่ขอเรียนแจ้งและรับคำปรึกษาจากท่านว่างานที่ปฏิบัติจริงและตรวจสอบได้ ดังนี้

1.งานสารบรรณกลางของหน่วยงาน(รวมทั้ง E-OFFICE ระหว่างโรงเรียนกับ สพท.และศูนย์มัธยม

2.งานการเงิน .

3.งานภาษีเงินได้ของบุคลากรของหน่วยงาน .

4.งานระบบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง

5.งานประสานงานระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง .

6.งานการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำ .

7.งานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) จังหวัดตรัง ประจำปี ทุกปี

8.งานข้อมูลโครงการจ่ายตรง

9.งานการเจ้าหน้าที่ส่วนของบัญชีลงเวลา

10.งานวันลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

11.ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยงานเลขานุการกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในหน่วยงาน

12.งานเวรยามรักษาสถานที่ราชการ .

งานข้างต้นนี้ เป็นขอบข่ายงานของตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น3 หรือตำแหน่งอื่นใด ขอได้โปรดให้คำแนะนำ หากไม่เหมาะสมควรดำเนินการอย่างไรก่อนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2553

ด้วยความขอบพระคุณอย่างสูงยิ่ง

เรียน คุณบุษยมาศ ที่เคารพ

ณ ปัจจุบันนี้ ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 ขั้น 16150.-บาท ของ ม.ราชภัฏลำปาง (ลูกน้อง ผอ.ปรีชา) กลางปีแล้ว คุณบุษมาศ มาเป็นวิทยากร ที่ ม.ราชภัฏลำปาง อยากทราบในเรื่องการปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำ ตามระบบใหม่ ทราบว่า อยู่ในกลุ่มงานสนับสนุน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มาได้ร่วมสิบกว่าปีแล้ว อยากทราบว่า ถ้าปรับตำแหน่งใหม่ ถ้าไม่อยากดำรงตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ (รหัส 2113 ) แต่ถ้าไม่เอา สำนักงานอธิการบดี ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ จะเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ เป็นพนักงานธุรการ ชั้น 4 (รหัสใหม่ ตำแหน่งเลขที่ 2108 ) ได้หรือไม่ ชื่อพนักงานพิมพ์ ดูแล้วชื่อไม่ค่อยดี ไม่ค่อยเพราะเลย จะขอเรียนถามว่า สามารถเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง พนักงานธุรการ เลื่อนเป็นชั้น 4 ได้หรือไม่ (เพราะโครงสร้างเก่า เห็นบอกว่า จะปรับเป็นพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 4 ได้ตั้ง มีเงินเดือนสูงสุดของระดับ 3 เต็มขั้น(16,610)

เห็น ทาง กจ.ที่นี่ บอกว่า โครงสร้างใหม่ ต้องปรับใหม่หมด ให้แจ้ง กพ.ภายใน 18 มี.ค.53 นี้ กรุณาช่วยตอบด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง

จาก ....pachaporn keawprasert .......e-mail- [email protected] โทร 081-2892569.....5 มี.ค. 53

ตอบ...หมายเลข 11

สำหรับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 (ลูกจ้างประจำ) นั้น ขอให้สอบถามได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด หรือกรมบัญชีกลางโดยตรงนะค่ะ...ถ้าไม่สะดวก ผู้เขียนจะนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ฯ มาลงให้ในเวปนี้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ตอบ...คุณ pachaporn...

ณ 1 มีนาคม 2553 ไม่สามารถปรับระดับตำแหน่งลูกจ้างประจำได้แล้วค่ะ เนื่องจากมีหนังสือจากสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 แจ้งว่าให้ส่วนราชการหยุดดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการปรับระดับตำแหน่งลูกจ้างประจำ กรณีการปรับระดับชั้นของตำแหน่งลูกจ้างประจำจากชั้น 3 เป็นชั้น 4 ส่วนราชการต้องขอทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. ก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ค่ะ...คงต้องรอให้ปรับเข้ากลุ่มงานให้เรียบร้อยก่อนมังค่ะ...เพราะถ้าปรับเปลี่ยนตอนนี้คงไม่ได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

 

ระลึกถึงค่ะอาจารย์

สวัสดีค่ะ...ครูอี๊ด...

ขอบคุณค่ะ...ระลึกถึงเช่นกันค่ะ...

ผมเกิดความสงสัยอยู่ว่า สำนักงาน กพ.แจ้งหน่วยงานตาม น.ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว4 ลว.18 ก.พ.53 แจ้งว่า

ในวันที่ 1 - 30 มีนาคม 2553

- ส่วนราชการจัดทำข้อมูลการปรับตำแหน่ง ลูกจ้างประจำจากระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่ ตามตารางที่กำหนด รวมทั้งประสาน

กับสำนักงาน ก.พ. เพื่อตรวจสอบข้อมูล ตามบัญชีจัดตำแหน่งดังกล่าวและแก้ไข ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มีนาคม

2553 เพื่อให้ทันกำหนดใช้บังคับ ในวันที่ 1 เมษายน 2553

- กรณีมีปัญหา เช่น ชื่อตำแหน่งเดิมที่มีผู้ครองตำแหน่งอยู่ ไม่ปรากฎในรายการเปรียบเทียบชื่อตำแหน่งในระบบเดิมกับ

ระบบใหม่ หรือหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งไม่ครอบคลุมหน้าที่งานในตำแหน่งใดของส่วนราชการ ให้แจ้งสำนักงาน ก.พ.

ภายในวันที่ 18 มีนาคม 2553 เพื่อปรับปรุงก่อนออกเป็นหนังสือเวียน เรื่อง การจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำใหม่ต่อไป

แต่หนังสือที่อ้างถึงแจ้งให้ส่วนราชการหยุดดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการปรับระดับตำแหน่ง การเปลี่ยนตำแหน่งและการตัด

โอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำ เนื่องจากว่าตำแหน่งที่ผมปฏิบัติอยู่กับงานที่ได้รับมอบหมายดูแล้วจะมากเกินตำแหน่งลูกจ้างประจำ แล้วจะดำเนินการได้อย่างไร เพราะบอกว่าหากหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งไม่ครอบคลุมหน้าที่งานในตำแหน่งใดให้แจ้ง กพ.ภายใน 18 มีค.53 ด้วยความขอบพระคุณครับ

ก่อนอื่น ต้องขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะครับ ที่ได้กรุณาเข้ามาให้ข้อมูลและแจ้งกำหนดการดำเนินการเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ตามโครงสร้างตำแหน่งใหม่ ในเว็บบล็อค นี้ของผม

กำหนดการดำเนินการดังกล่าว ลูกจ้างฯได้ทราบกันบ้างแล้ว สำหรับทำเนียบตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกนำเสนอบนเว็บต่างๆ พวกเราเห็นแล้ว ก็รู้สึกผิดหวังไปตามๆกันเลยครับ การพัฒนาระบบตำแหน่งดังกล่าว พวกเราลงความเห็นว่า ไม่น่าจะพัฒนาอะไร มากนัก ไม่ได้ส่งเสริมให้ลูกจ้างได้ก้าวหน้าตามที่สมควรเลยครับ

สำหรับภาระงานต่างๆ ของลูกจ้างฯ คาดว่า ทาง กพ. คงสำรวจได้ครบถ้วน ครอบคลุมหมดแล้ว

ไม่ทราบท่านผู้กรุณามาลงกระทู้นี้ เป็นผู้บริหารคนหนึ่งใน กพ. หรือไม่ ผมขอฝากความคิดเห็นดังนี้ครับ

1. ควรเพิ่มระดับชั้นของแต่ละตำแหน่งให้มากขึ้น (3 – 5 ชั้น )

2. ควรให้มีช่องทางให้สามารถเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้สำหรับผู้ที่เหมาะสม (โดยใช้วุฒิการศึกษา +ประสบการณ์) โดยพิจารณาจากงานที่รับผิดชอบอยู่

3. กลุ่มลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเช่นเดียวกับข้าราชการ(รวมทั้งลูกจ้างสายครู ที่เป็นผู้สอนด้วย) สมควรแยกกลุ่มออกอีก 1 กลุ่ม และมีระบบส่งเสริมความก้าวหน้าให้เท่าเทียมกับข้าราชการ อาจทำเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล

ทราบดีครับว่า ข้อเสนอเหล่านี้ยังเป็นประเด็นใหม่ ผู้บริหารยังไม่ทราบปัญหา คงต้องใช้เวลาผลักดัน การกำหนดตำแหน่งล่าสุดของลูกจ้างฯพวกเรามีส่วนร่วมน้อยมาก กพ.ไม่เห็นภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติงานของเรามากนัก

บางหน่วยงาน หาก กพ . มาสำรวจภาระงาน โดยไม่เปิดเผยตำแหน่ง และกลุ่มการจ้างของผู้ปฏิบัติ ท่านจะแยกไม่ออกเลยว่า ใครเป็นข้าราชการ ใครเป็นลูกจ้าง ปัจจุบันลูกจ้างไม่ใช่มีเฉพาะ แรงงาน – ช่าง – เท่านั้นนะครับ ปัจจุบันใช้ความรู้ – ความ

สามารถ ในวิชาชีพต่างๆ โดยตรงเลย ก็มีอยู่มาก

ความรู้ของลูกจ้างฯปัจจุบัน ก็ไม่ใช่ ป.4 , ป.7, ม.3 เท่านั้นนะครับ มีทั้ง ปวช,ปวส,ปริญญญาตรี,ปริญญาโท และก็ได้ใช้ความรู้นั้นมาปฏิบัติงานด้วยแล้ว

ขณะนี้ลูกจ้างฯ มีความรู้สึกว่า กพ.ให้ความสำคัญกับพวกเราน้อยเกินไป ประเมินความรู้ ความสามารถและคุณค่าของพวกเราต่ำเกินไป

หากท่านได้มีโอกาส ขอให้ท่านนำเสนอในที่ประชุมต่างๆด้วยนะครับ และหากไม่ขัดข้องผมขอปรึกษาท่านในโอกาสต่อไปด้วยนะครับ

(หากไม่ขัดข้องขอ E-mail address ด้วยครับ ) ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

………………………………ม2ท / ม. มหิดล / กทม.

ตอบ...หมายเลข 11...

ผู้เขียนได้ศึกษาเอกสารที่ สำนักงาน ก.พ. แจกให้ในวันประชุม เกี่ยวกับชื่อตำแหน่งและหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งลูกจ้างประจำตามระบบใหม่ โดยแยกออกเป็นตำแหน่งและกลุ่มงานแล้วตามที่คุณได้สอบถามเกี่ยวกับหน้าที่ของลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 (เดิม) ถ้าปรับใหม่ ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน คือ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ รหัส 2113 ระดับ 3 มีหน้าที่ (โดยย่อ) ดังนี้ค่ะ...

1. ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะ ประสบการณ์และความชำนาญสูงในการพิมพ์หนังสือที่เป็นภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ พร้อมตรวจทานความถูกต้องของหนังสือ

2. ดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และ/หรือเครื่องใช้อย่างอื่นที่มีไว้เพื่อปฏิบัติงานและเกี่ยวกับพิมพ์ดีด เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องประมวลผลคำ เป็นต้น ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ในการพิมพ์

3. ควบคุมตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่พนักงานพิมพ์ดีดในระดับรองลงมา

4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

               จากที่คุณสอบถามมานั้น ตามหน้าที่ของตำแหน่งพนักงานพิมพ์ คุณจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 1 - 3 สำหรับหน้าที่ที่คุณแจ้งให้ทราบในกระทู้นั้น เป็นหน้าที่ในข้อ 4 ของหน้าที่(โดยย่อ) ค่ะ คือ เป็นหน้าที่ที่คุณต้องปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 17...

ตามที่คุณสอบถามเกี่ยวกับกรณีมีปัญหา เช่น ชื่อตำแหน่งเดิมที่มีผู้ครองตำแหน่งอยู่ ไม่ปรากฎในรายการเปรียบเทียบชื่อตำแหน่งในระบบเดิมกับ

ระบบใหม่ หรือหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งไม่ครอบคลุมหน้าที่งานในตำแหน่งใดของส่วนราชการ ให้แจ้งสำนักงาน ก.พ.

ภายในวันที่ 18 มีนาคม 2553 เพื่อปรับปรุงก่อนออกเป็นหนังสือเวียน เรื่อง การจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำใหม่ต่อไป นั้น

             ขอเรียนให้ทราบว่า ส่วนใหญ่จะเป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏได้มีการปรับเปลี่ยนให้กับลูกจ้างประจำ เมื่อช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมาว่า บางตำแหน่งทางมหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนแต่ไม่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำ จึงต้องทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏบางมหาวิทยาลัย ได้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำ เพราะไม่เช่นนั้นตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยนแรกจะมีตำแหน่งไม่ตรงกับตำแหน่งใหม่ที่สำนักงาน ก.พ. แจ้งให้ทราบค่ะ... สำหรับการปรับเปลี่ยนให้ตำแหน่งสูงขึ้นนั้น ก็เป็นไปตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 4 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ ค่ะ คือ ในวันที่ 1 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำได้ค่ะ...สำหรับท่านใดที่มีตำแหน่งเดิมที่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิม ก็ให้เทียบกับตำแหน่งใหม่ได้เลยค่ะ... สำหรับท่านใดที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ให้สูงขึ้นอีก ต้องรอให้ปรับเข้ากลุ่มงานให้เรียบร้อยก่อนค่ะ จึงจะทำต่อไปได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 18...

ตามที่คุณแจ้งมานั้น...ขอเรียนให้ทราบว่าตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำนั้น ก.พ. กำหนดหน้าที่การปฏิบัติงานและคุณวุฒิในการรับสมัครอย่างชัดเจน โดยกำหนดหน้าที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและกำหนดค่าจ้างรายเดือน + ค่าสวัสดิการอื่น ๆ แล้ว เพื่อให้ลูกจ้างประจำได้ปฏิบัติตามกรอบหน้าที่ที่ ก.พ. กำหนด สำหรับหน้าที่อื่นที่คุณได้ปฏิบัตินอกเหนือจากการที่ ก.พ.กำหนด ถือว่าเป็นความสามารถ ทักษะ เฉพาะตัวของลูกจ้าง นั้น ๆ แต่ ก.พ. ยังไม่ได้เพิ่มค่าตอบแทนหรือความก้าวหน้าในส่วนที่ลูกจ้างประจำคนนั้นมีความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติ เนื่องจากเป็นผลที่รัฐต้องรับภาระในด้านงบประมาณในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นผลงานที่เกิดนอกกรอบหน้าที่ที่ ก.พ.กำหนด (ถ้ามองถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ลูกจ้างประจำได้ปฏิบัติ ถือว่าเป็นผลดี ประโยชน์ต่อสังคม และทางราชการเป็นอย่างมาก) สำหรับผลในเรื่องค่าตอบแทนในส่วนนี้ รัฐยังดูแลไม่ทั่วถึง...แต่ถ้าผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับ ก.พ. จะนำเรื่องนี้ แจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบเพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับลูกจ้างประจำต่อไป...ขอบคุณค่ะ...

ศูนย์ประสานงานลูกจ้างส่วนราชการศรีสะเกา

เรียนเชิญลูกจ้างประจำส่วนราชการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หรือผู้สนใจ) เข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่ ในวันที่ 20 มีนาคม 2553 ณ โรงแรมปทุมรัตน์ จังหวัดอุบลราชธานี ค่าลงทะเบียน 500 บาท (ให้เบิกต้นสังกัดได้) แล้วท่านจะได้รับรู้ทุกเรื่องที่อยากรู้ และถามทุกเรื่องที่อยากถาม โดยวิทยากรจาก สพฐ จะไปให้ความรู้กับท่าน โดยลงทะเบียนกับประธานศูนย์แต่ละเขตพื้นที่ของจังหวัด หรือติดต่อที่ 0862523894 (บุญเลี้ยง สว่างภพ เลขาฯ ศูนย์ภาคฯ) 0884662144 (ผู้ช่วยเลขาฯ) หรือ [email protected]

ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะครับ ที่ได้กรุณาได้เสียสละเวลา เข้ามาทำความเข้าใจกัน

ประเด็นที่ท่านได้ยกมา ก็ทราบดีครับ ว่า กพ.ได้ดำเนินตามมาตรฐานที่กำหนด ผมไม่ได้โต้แย้งเรื่องนี้

ผมเองก็ได้พยายามทำความเข้าใจเพื่อนๆกับลูกจ้างในทุกๆเว็บที่มีโอกาสเข้าไป ให้ลูกจ้างมีความเข้าใจถึงที่มา - ที่ไปของลูกจ้างประจำ ว่ามันมีที่มา - ที่ไปและจุดมุ่งหมายที่ต่างกับข้าราชการตั้งแต่ต้น

ในอดีต งานการบริหารบุคคลภาครัฐ ไม่ได้นำหลักหลักธรรมาภิบาลมาประกอบการบริหาร จึงมองผ่านเรื่องความเป็นธรรมของลูกจ้างไป รวมทั้งพันธกิจด้านต่างๆของภาครัฐ ก็ยังไม่ได้มีขอบเขตกว้างขวางขึ้นเช่นปัจจุบัน

ในอดีตลูกจ้างทำงานตรงตามหลักการจ้างจริง แต่ปัจจุบัมันไม่ใช่แล้ว บริบทต่างๆเปลี่ยนไปมากแล้ว

พวกเราลูกจ้างส่วนมาก ไม่ได้มุ่งหวังหรือเรียกร้องที่จะขอเป็นข้าราชการ หรือมีสิทธิเทียบเท่าข้าราชการทุกประการ

แต่เราขอให้ได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ยุติธรรม มีความก้าวหน้าตามความรู้ ความสามารถ เท่านั้น

หาก กพ.ยังยึดแนวคิดในกรอบเดิม อิงข้อกำหนดเดิม ก็เป็นที่น่าเสียใจ

ถูกต้องแล้วครับ การที่ลูกจ้างมีความสามารถสูงกว่าภาระหน้าที่ นับเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคม และพวกเราก็ยังยินดีที่จะเสียสละต่อไป

แต่รัฐควรให้ประโยชน์กับลูกจ้างกลุ่มนี้บ้าง การใช้งานเกินความรู้ - ความสามารถของตำแหน่งและเงินเดือน กฏหมายแรงงานยังไม่ยินยอมให้นายจ้างทำได้เลย รัฐก็ควรให้ความเป็นธรรมกับพวกเราบ้าง

ท่านมีโอกาส ผมขอความกรุณา เสนอให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้พิจารณากลุ่มลูกจ้าง ที่มีความรู้ - ความสามารถ กลุ่มปฏิบัติงานเช่นเดียวกับครูผู้สอน, กลุ่มที่ปฏิบัติงานเช่นเดียวกับข้าราชการ ได้รับค่าตอบแทนและความก้าวหน้าที่เป็นธรรม

ส่วนกลุ่มแรงงาน - กึ่งฝีมือ - ฝีมือ ในอนาคตก็ควรขยับขยายให้ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิมบ้าง

พวกเรายินดีเข้าสู่ระบบการประเมิน ตามมาตรฐาน อย่างเป็นธรรม หากเกรงว่าตำแหน่งของพวกเราจะไปทับซ้อนกับข้าราชการและพนักงานข้าราชการ ก็ขอให้เป็นความก้าวหน้าเฉพาะตัว ขอให้พิจารณาเป็นรายบุคคลไป ไม่ให้ต้องติดกับตำแหน่ง

ผมมั่นใจว่า ถ้าท่านได้ทราบถึง ภาระงานที่ลูกจ้างบางส่วนรับผิดชอบอยู่ และได้ทราบถึงความรู้- ความสามารถของลูกจ้างประจำบางส่วน ท่านคงเห็นใจ-เข้าใจ-พากภูมิใจแทนพวกเราและเต็มใจที่จะช่วยเหลือพวกราแน่นอน

ตัวอย่างผู้เขียน ปัจจุบันปฏิบัติงานเป็นหัวหน้างาน มีผู้ใต้บังคับบัญชา 100 คนเศษ มีหน่วยงานที่ต้องกำกับดูแล 5 หน่วยงานย่อย กรอบอัตราของหัวหน้างานที่ครองอยู่เดิม เป็น ซี 7-8 (ภาระงานปัจจุบันเทียบเท่า ภาระงานของ ซี 7-8)

เมื่อครั้งได้รัการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้างานก็เป็นลูกจ้างประจำ เงินเดือนยังไม่ถึง 20,000 บาท เลย (หัวหน้างานคนเดิมซึ่งเป็นข้าราชการ เกษียณอายุราชการ)

ก่อนหน้านั้นประมาณ 7 ปี ปฏิบัติงานเป็นรองหัวหน้างาน ปฏิบัติงานเคียงบ่า-เคียงไหล่ กับข้าราชการ ซี 5 -6 ในหน่วยงานตลอดมา

แล้วเข้ามาให้ข้อมูลบ้างนะครับ....ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงอีกครั้งครับ

................................ม2ท / มหิดล / กทม

สวัสดีครับ

เป้นครั้งแรกที่ผมเข้ามาในเว็บบอร์ดนี้ รู้สึกชอบมาก ครับ ผมมีปัญหาอยากถามครับ คือผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ และได้รับค่าจ้างเต็มขั้น มา 10 ปีแล้ว ครับ ปัจจุบันอายุ 53 ปีครับ กำลังเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชึ่งจะจบ กลางเดือนมีนาคม 2553 นี้แหละครับ ผมอยากเปลี่ยนตำแหน่งเป้นพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 จะได้ไหมครับ (ส่วนราชการที่ทำงานคือหน่วงงานของกรมปศุสัตว์)

ตอบ...หมายเลข 23...

ค่ะ ก็น่าเห็นใจลูกจ้างประจำ บางท่านที่อุทิศตน ทำงานที่เป็นหน้าที่ของข้าราชการ แต่ผลตอบแทนกลับได้ไม่เท่ากับข้าราชการที่ได้รับ...ค่ะ มาตรฐานกำหนดกำหนดตำแหน่งเดิม ดูแล้วจะไม่ Suppot สักเท่าไร แต่ลองดูมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่นะค่ะ น่าจะโอเค ในเรื่องความก้าวหน้าของงานนะค่ะ...แต่ก็อยู่ที่หน่วยงานของแต่ละหน่วยว่าจะมองที่บุคคล หรือมองที่ตำแหน่งในการแต่งตั้ง...แต่ในปัจจุบันน่าจะมองที่ภาระงานของแต่ละบุคคลมากกว่า เพราะบางคนก็รับภาระงานเกินตำแหน่งจริง ๆ ค่ะ...เหมือนกับที่ท่านพูดนั่นแหละค่ะ...แต่ถ้าศึกษาในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ น่าจะพอที่จะทำให้มีความก้าวหน้าขึ้นบ้างนะค่ะ...อยู่ที่งานบุคคลแล้วละค่ะ ว่าจะทำวิธีไหนให้ลูกจ้างประจำเกิดความก้าวหน้าในหน้าที่ของตนเองได้บ้าง...ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

 

ตอบ...หมายเลข 24...

สำหรับตอนนี้ คงเปลี่ยนตำแหน่งไม่ได้หรอกค่ะ เพราะ ก.พ. แจ้งว่า ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2553 เป็นต้นไป ไม่ให้เปลี่ยนตำแหน่ง เพราะ 1 เม.ย. 2553 จะต้องจัดลูกจ้างประจำให้เข้าสู่กลุ่มงานใหม่ก่อน หลังจากนั้น คงทำได้นะค่ะ... สำหรับคุณเป็นพนักงานขับรถยนต์ ต้องการเปลี่ยนมาเป็นพนักงานพิมพ์ (มาตรฐาน ฯ ใหม่) คุณต้องสามารถพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์ดีด หรือ พิมพ์คอม ฯ ได้นะค่ะ เพราะไม่งั้นแล้ว คุณไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ค่ะ เพราะ ก.พ. มีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งลูกจ้างประจำไว้ค่ะ ต้องศึกษาด้วยว่า ถ้าเปลี่ยนเป็นชั้น 2 แล้ว ต้องเป็นชั้น 1 มาก่อนหรือไม่ เพราะบางครั้ง ก็เปลี่ยนแล้ว เสียเวลาและเสียผลประโยชน์สำหรับตัวคุณเองอีก ต้องดูภาระงานของคุณด้วยว่า หน่วยงานให้คุณทำงานอะไรได้บ้าง คือ ต้องเคลียร์ลูกจ้างประจำ ทุกคน ว่าท่านใดสามารถปรับตำแหน่ง และมีภาระงานที่ให้ทำคือลักษณะงานเป็นแบบใด เพราะมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ น่าจะมีความก้าวหน้ากว่าแบบเดิมนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

 

วันนี้ต้องขอรบกวนท่าน อ.บุษยมาศ ในระบบงานอีกครั้ง สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ส่วนงานการเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ดังนี้

1.การที่บุคลากรของหน่วยงานทางการศึกษามาอบรมหรือประชุม ณ ที่ตั้งหน่วยงานปกติในเวลาทำการปกติ ถือว่าบุคลากรผู้นั้นไม่ได้ไปราชการนอกสถานที่และหน่วยงานก็ไม่ได้ออกคำสั่งให้ไปราชการ จะต้องลงเวลาปฏิบัติราชการเหมือนวันทำการปกติใช่หรือไม่ (ขอรับทราบกฎ/ระเบียบที่สามารถอ้างได้)

2.ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งลูกจ้างประจำแต่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารของหน่วยงานด้วยความไว้วางใจในการตรวจนับบุคลากรทุกวันทำการ จะมีความผิดหรือไม่หากบุคลากรผู้มาประชุมอบรมไม่ลงเวลาปฏิบัติราชการประจำวันตามปกติเพื่อจะได้สรุปประจำวัน แต่เขาได้ลงชื่อเฉพาะในการเข้าร่วมประชุมเท่านั้น

ด้วยความขอบพระคุณท่าน อ.บุษยมาศ เป็นอย่างสูง

ตอบ...คุณ Wijit...

เป็นเรื่องของกระบวนการดำเนินการภายในหน่วยงานค่ะ...แต่ถ้าจะยึดตามหลักเกณฑ์จริง ๆ คือ ต้องเซ็นต์ชื่อเหมือนปกติ (แต่ปัจจุบันผู้บังคับบัญชา นำเรื่องการยืดหยุ่นมาใช้ในการทำงาน) จึงทำการปฏิบัติจริง ๆ ไม่ค่อยจะได้ทำกันค่ะ เพื่ออำนวยความสะดวก และการลดขั้นตอนไงค่ะ...ซึ่งมีการปฏิบัติได้ 2 วิธี ไม่ผิดค่ะ...

กรณีที่ 1  อาจให้ลงชื่อในรายชื่อประชุม ณ ที่ตั้ง โดยไม่ต้องลงเวลาเหมือนวันปกติ แต่ผู้รับผิดชอบต้องประสานกับที่ประชุมเพื่อเก็บรายชื่อมาไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่ 2 เซ็นต์ชื่อการปฏิบัติราชการในการลงเวลาทำการตามปกติ ค่ะ (เป็นเรื่องของการบริหารจัดการภายในหน่วยงานค่ะ) ขอให้มีหลักฐานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ค่ะ...

2. บอกแล้วไงค่ะ ว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบต้องนำรายชื่อที่บุคลากรเซ็นต์มาเพื่อสรุปประจำวันให้ได้ ตามที่ชี้แจงในข้างต้นค่ะ...(วิธีแก้ไข ประสานกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ขอ Copy รายชื่อ เพื่อนำมาใช้ในการสรุปประจำวันค่ะ)...เป็นกระบวนการของการบริหารจัดการภายในนะค่ะ...ยืดหยุ่นกันได้...

เพราะปัจจุบัน ถ้ายึดหลักเกณฑ์มากไป ในทางปฏิบัติก็จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายค่ะ...

 

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์บุษยมาศ ในการให้คำตอบด้วยความกระจ่างชัดทุกคำถาม

เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป

ได้เห็นแท่งใหม่การปรับหมวดช่างแล้วพวกกระผมในฐานะลูกจ้างประจำของมหาวิทยาล้ย ตำแหน่งช่างไม้ อยู่ในหมวดกึ่งฝีมือ ชึ่งพวกกระผมทำงานด้านช่างไม้มานานประมาณ 20 ปีขึ้นไป ทำงานเกี่ยวกับ งานไม้เฟอรนิเจอร์ งานไม้ก่อสร้าง ทั้งการสร้าง ซ่อมแซม ดัดแปลง ออกแบบ ประมาณราคา สามารถปรับขึ้นไปเป็นช่างไม้หมวดฝีมือและเลื่อนระดับชั้นได้หรือไม่ เพราะเคยถามทาง งานเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ตอบพวกกระผมว่า ทาง กพ. กำหนดให้ทางช่างไม้ของมหาวิทยาลัยเป็นแค่หมวดกึ่งฝีมือไม่สามารถปรับขึ้นได้ และ ได้เห็นแนวทางแท่งใหม่แล้ว พวกกระผมคิดว่าไม่สามารถปรับขึ้นได้อีก จึงขอความกรุณาท่านชี้แจงให้พวกกระผมทราบด้วย เพราะตำแหน่งนี้ในมหาวิทยาล้ยของพวกกระผมมีทั้งหมดประมาณ 10 กว่าตำแหน่งแต่ละคนเงินเดือนเต็มขั้นกันมาประมาณ 5-10 กว่าปี บางคนจบทางช่างมา ทั้งวุฒิ ปวช ปวส

จึงกราบเรียนท่านโปรดชี้แนะแนวทางให้พวกกระผมด้วยครับ

จากลูกจ้างประจำของมหาวิทยาลัย(มช)ผู้รอคอยความหวัง

ตอบ...หมายเลข 31... การปรับเข้าสู่ตำแหน่งตามระบบใหม่ของลูกจ้างประจำ ณ 1 เม.ย.2553 นั้น ให้เทียบตามงานเดิมก่อน เช่น ตำแหน่งช่างไม้ อยู่ในหมวดกึ่งฝีมือ (ตามระบบเดิม) ถ้าเทียบเข้าสู่ตำแหน่งตามระบบใหม่ จะเป็นตำแหน่งช่างไม้ กลุ่มช่าง ระดับ 1 รหัส 3305 ณ ปัจจุบัน ณ 1 เม.ย. 2553 ยังไม่สามารถปรับขึ้นเป็นตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ (ให้เข้าสู่ตำแหน่งตามระบบใหม่ให้เรียบร้อยก่อน) ถ้าจะเป็นระดับ 2,3,4 ต้องผ่านกระบวนทดสอบของมหาวิทยาลัย และเป็นไปตามหน้าที่ที่ ก.พ. ได้กำหนดใหม่ โดยศึกษาตามหน้าที่ที่ ก.พ. กำหนด ตามเว็บไซด์ด้านล่างค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/technic_job_4.pdf

สงสัยว่าในแนวทางปฏิบัติการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้กับลูกจ้างแต่ละหน่วยงานทางการศึกษา ว่ามีแนวทาง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ที่เหมือนกันหรือไม่ เพราะจะเห็นว่าบางรายได้ปรับตำแหน่งจากนักการภารโรงเป็นช่าง....ระดับ 2 หรือ 3 ไปเลย และอยากให้มีการตรวจสอบตำแหน่งงานกับตัวผู้ได้รับตำแหน่งนั้น ๆ ว่าตรงกับความสามารถจากกรรมการส่วนกลางด้วย ขอรบกวนฝากผ่าน อ.บุษยมาศ เพื่อทราบแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนของแต่ละ สพท.ด้วย

ตอบ...คุณหมายเลข 33...

ณ ปัจจุบัน ส่วนกลางมอบหมายให้ส่วนราชการแต่ละหน่วยเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการแต่งตั้งและตรวจสอบคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำเองค่ะ (เป็นกระจายอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการค่ะ) ก็ขึ้นอยู่กับส่วนราชการจะดำเนินการให้หรือไม่...แต่ทั้งนี้ ต้องดูด้วยว่าบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งมีคุณสมบัติตรงตามที่ได้รับแต่งตั้งหรือไม่ด้วยค่ะ + ตรวจสอบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งค่ะ...แต่ถ้าบุคคลคนนั้นมีความสามารถจริง และทำหน้าที่ได้ตามตำแหน่งที่ได้แต่งตั้ง + องค์ประกอบที่ไม่ขัดกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งลูกจ้างประจำ  ก็สามารถทำได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

นายสุพัฒน์ พริกเบ็ญจะ

เรียน ท่านบุษมาศที่นับถือ

ก่อนอื่นผมขอขอบพระคุณท่านก่อน ผมได้ปรึกษาท่าน ท่านก็ตอบให้คำแน่ะนำผมมา ผมได้ทำหนังสือถึง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา (ผ่านหัวหน้าทะเบียน)ที่ผมทำหน้าที่พนักงานเก็บโฉนดที่ดินอยู่ปัจจุบัน ข้อเท็จตำแหน่งเดิมนักการภารโรงสังกัดฝ่ายอำนวยการ ปัจจุบันผมทำอยู่ที่ฝ่ายทะเบียน อยู่ในขั้นตอนเสนอเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา เพื่อทำหนังสือไปที่กองการเจ้าหน้าที่ กรมที่ดิน ถ้าผมได้เปลี่ยนตำแหน่งสำเร็จ ผมได้รับบำเหน็จรายเดือน เงินเดือนสุงขึ้นตามความเป็น ครอบครัวผมมีความสุข ขอให้ครอบครัวของท่านมีความสุขด้วยที่ท่านได้นำทางแสงสว่างมาให้กับผม

ขอแสดงความนับถือ

นายสุพัฒน์ พริกเบ็ญจะ

พนักงานสถานที่

สวัสดีค่ะ...คุณสุพัฒน์...

ขอบคุณค่ะ...และขอแสดงความยินดีล่วงหน้าด้วยค่ะ...

 

ได้ปรับตำแหน่ง ลูกจ้างประจำ ตามโครงสร้างใหม่ จากพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 เป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ขั้นหมื่นหกเศษๆ อยากทราบว่า เวลาไปราชการ จะเบิกเบี้ยเลี้ยงไปราชการ ได้เท่าข้าราชการ ระดับ 3 หรือไม่ ที่ผ่านมา ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 เวลาไปราชการที่ไหน ทำไมถึงเบิกเบี้ยเลี้ยงการเดินทางไปเท่าระดับ 2 ช่วยตอบให้สบายใจ ด้วยนะคะ เพราะเวลาไปราชการที่ไหน ที่ผ่านมา เวลาไปราชการกับลูกน้อง ซึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว(พนักงานมหาวิทยาลัย) ตำแหน่งนักวิชาการ.... ระดับ 3 จะเบิกเบี้ยเลี้ยงได้น้อยกว่าลูกน้อง ทำให้หมดกำลังใจ ในระบบราชการจริง ๆ กรุณาตอบให้สบายใจ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งเทียบเท่าผู้บริหาร ระดับหัวหน้า ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...หมายเลข 37...

คุณ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 (เดิม) อยู่ในหมวดฝีมือพิเศษระดับต้น การเทียบตำแหน่งลูกจ้างประจำโดยตรงตามการแบ่งหมวดตำแหน่งของลูกจ้างที่กระทรวงการคลังกำหนดกับระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน ได้แก่

- ลูกจ้างประจำซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในกลุ่มตำแหน่งที่กำหนดไว้ในหมวดแรงงานและหมวดกึ่งฝีมือ ให้เทียบเท่าข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 1

- ลูกจ้างประจำซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในกลุ่มตำแหน่งที่กำหนดไว้ในหมวดฝีมือและหมวดฝีมือพิเศษระดับต้น ให้เทียบเท่าข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 2

- ลูกจ้างประจำซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในกลุ่มตำแหน่งที่กำหนดไว้ในหมวดฝีมือพิเศษระดับกลาง ฝีมือพิเศษระดับสูงและฝีมือพิเศษเฉพาะ ให้เทียบเท่าข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3

(ข้อมูลข้างต้น ได้มาจากคู่มือ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้าง : ส่วนบริหารงานบุคคลลูกจ้าง สำนักบริหารการเบิกจ่ายเงิน  กรมบัญชีกลาง ค่ะ)

ฉะนั้น อัตราเบี้ยเลี้ยงการเดินทางในประเทศ ที่คุณควรได้รับ คืออยู่ในระดับ 2 ค่ะ...คุณอย่าเอาตัวคุณไปเปรียบเทียบกับพนักงานมหาวิทยาลัยนะค่ะ เพราะเขาจะถูกกำหนดด้วยกฎหมายจากสภามหาวิทยาลัยค่ะ... สำหรับตัวคุณต้องใช้กฎหมายของลูกจ้างประจำค่ะ...ซึ่งกำหนดโดยกฎหมายของกระทรวงการคลังค่ะ...เราทำงานด้วยกัน แต่ถูกกำหนดด้วยกฎหมายกลุ่มบุคลากร คนละประเภทกันค่ะ...จึงทำให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับมีความแตกต่างกันค่ะ...

พนังานสุขภาพชุมชน

เรียนคุณบุษยมาศ ที่นับถือ

ผมทำงานตำแหน่ง พนักงานสุขภาพชุมชน ประจำสถานีอนามัย มาเกือบ 30 ปีแล้ว เงินค่าจ้างตันแล้วอยู่ที่ 15,260 บาท เห็นเรื่องการจัดระบบใหม่ ผมอยู่รหัส 2422 อยู่ในกลุ่มงานสนับสนุน เห็นบอกว่า

ระดับ 1 กลุ่มบัญชีค่าจ้าง กลุ่มที่ 1 ขั้นต่ำ 5,080 บาท ขั้นสูง 18,190 บาท

และระดับ 2 กลุ่มบัญชีค่าจ้าง กลุ่มที่ 1-2 ขั้นต่ำ 5,840 บาท และขั้นสูง 22,220 บาท

ผมอยากทราบว่า ผมจะเข้าระดับ 1 ไปตันที่ 18,190 บาท หรือว่าจะได้ ระดับ 2 ไปตันที่ 22,220 บาท อ่านดูแล้วไม่เข้าใจ กรุณาให้ความอนุเคราะห์ตอบให้ผมด้วยเพื่อความกระจ่าง ผมขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ขอบคุณครับ

ตอบ...หมายเลข 39...

คุณจะต้องอยู่ที่ระดับ 1 ก่อนค่ะ แต่ในอนาคตถ้าคุณมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไปถึงระดับ 2 ได้ และประกอบหน้าที่ที่ได้ปฏิบัติด้วยนะค่ะ  ก็สามารถแต่งตั้งเป็นตำแหน่งพนักงานสุขภาพชุมชน  ระดับ 2 ได้ค่ะ...ปัจจุบันค่าจ้างตันแล้วก็สามารถนำมาเทียบกับระดับ 1 แล้วทำให้เพดานเปิด เราก็จะได้เลื่อนขั้นค่าจ้าง ไปจนถึง 18,190 บาท ก่อนค่ะ แล้วค่อยดูว่าสามารถไปถึงระดับ 2 ได้อีกหรือไม่ค่ะ...

ภารโรงที่ทำการปกครองประจำอำเภอ

เรียนคุณบุษยมาศ ที่นับถือ ผมขอทราบหน่อยครับนักการภารโรงที่ทำการปกครองประจำอำเภอนั้นจะได้ปรับตำแหน่งเหมือนกับ

กระทรวงอื่นๆหรือไม ถ้าปรับแล้วจะอยู่ในกลุ่มใด เพราะตอนนี้เงินค่าจ้างตันที่(12440) ทำไมภารโรงประจำกรมการปกครอง

จึงไม่เห็นทางกรมแจ้งให้ทราบเลย กระทั่งกระทรวงอื่นๆเขาได้ปรับตำแหน่งมาหลายปีแล้ว(ขอทราบคำตอบหน่อยครับขอบคุณ

ครับ)

ตอบ...หมายเลข 41...

การปรับตำแหน่งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับภาระงานที่คุณทำด้วยนะค่ะ ว่าทำงานในหน้าที่อะไร ถ้าต่างจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิมที่กำหนดให้ คือ หมายถึง ทำงานในหน้าที่สูงกว่าตำแหน่งที่เราได้รับแต่งตั้ง เช่น ตำแหน่งนักการภารโรง แล้วมีหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่ง คือ ถ่ายเอกสาร พิมพ์ดีด ฯลฯ หน่วยงานก็สามารถปรับคุณเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานอัดสำเนา พนักงานพิมพ์ แทนก็ได้ ซึ่งหมวด เดิมจะสูงกว่านักการภารโรง ก็ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของคุณ หรืองานการเจ้าหน้าที่เขาจะดูและคุณมากน้อยแค่ไหนค่ะ...สำหรับหน่วยงานอื่นที่ยังไม่ได้ปรับ เท่าที่ทราบข่าวมาก็ยังมีอีกมากค่ะ...เพราะสมัยก่อน พวกเขาจะดูแลกับพวกข้าราชการเป็นหลัก แต่ความจริง ต้องดูแลบุคลากรทุกกลุ่มค่ะ บุคลากรทุกกลุ่มมีความสำคัญทุกกลุ่มค่ะ...แต่ปัจจุบัน ก.พ. มอบอำนาจให้หน่วยงานเป็นผู้ดูแล และตรวจสอบภาระงานกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด แต่ต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาตนของคุณด้วยนะค่ะ...เพราะถ้าคุณไม่มีภาระงานเพิ่มหรือใหม่ขึ้น เจ้าหน้าที่หรือหัวหน้าจะไม่สามารถปรับตำแหน่งให้คุณได้หรอกค่ะ...เพราะการปรับตำแหน่ง นั่นต้องแสดงว่า คุณมีภาระงานเกินกว่าตำแหน่งปัจจุบัน และควรได้แต่งตั้งเป็นตำแหน่งใหม่และตำแหน่งใหม่นั้นต้องเป็นงานที่เราทำอยู่ด้วยนะค่ะ...อย่าลืมว่า การเป็นข้าราชการที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคคลนั้น การที่จะแต่งตั้งใครนั้น ต้องผ่านกระบวนการสอบคัดเลือก และเขาก็ต้องตรวจสอบดูแล้วว่า ถ้าแต่งตั้งแล้ว ส่วนราชการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ เรียกว่า ต้องมองหลาย ๆ ด้านค่ะ คือ ต้องรักษาผลประโยชน์ให้รัฐเป็นหลักค่ะ...แต่ถ้าภาระงานของคุณมากจริง และควรปรับเปลี่ยนได้ ต้องสอบถามที่หัวหน้าของคุณแล้วค่ะ...อย่างเช่น ที่ มหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนได้ทำงานอยู่ ก็จะดูว่าพวกลูกจ้างประจำที่มีอยู่ มีภาระงานเกินตำแหน่งที่เป็นอยู่ไหม ถ้าเกิน เราก็จะจัดกระบวนการสอบคัดเลือกโดยมีคณะกรรมการคัดเลือกขึ้นค่ะ แต่ถ้าลูกจ้างประจำท่านใดมีภาระงานเท่าเดิม เราก็จะไม่ปรับเปลี่ยนให้นะค่ะ เพราะก่อนที่คุณจะได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น คุณต้องทำงานและพัฒนาตนให้สูงขึ้นก่อนค่ะ...เรียกว่า ต้องอุทิศเวลา แรงกายให้กับการทำงานให้ก่อน รัฐจึงมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นค่ะ...พร้อมกับเงินค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นตามมาค่ะ...

               สำหรับการปรับเปลี่ยนเข้าสู่กลุ่มงานทางหัวหน้าของคุณคงทำให้แล้วค่ะ อยู่ในช่วงรอทางสำนักงาน ก.พ. แจ้งกลับมาค่ะว่า รับทราบแล้ว และถูกต้องหรือไม่ค่ะ...ใจเย็นสักนิด คงได้เห็นตำแหน่งใหม่ค่ะ...

              การทำงานภาครัฐ ปัจจุบันคุณต้องเข้าใจด้วยนะค่ะ ว่า แต่ละกรมการทำงานไม่เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของคุณว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลคุณมากน้อยแค่ไหน เพราะปัจจุบันการดำเนินการทั้งหมดจะเป็นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์) คือ ข้าราชการก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีการพัฒนามากขึ้น ยิ่งระบบ IT ก็ต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้น ถ้ายังทำแบบเดิม ๆ ก็คือ รอเข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนดได้เลยค่ะ...แต่ระยะนี้เป็นระยะเริ่มแรกค่ะ...คงต้องรอดูอีกสักระยะค่ะ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่มากกว่านี้ค่ะ...อย่างไรแล้ว ลองศึกษามาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้แล้วและนำไฟล์มาลงไว้ให้แล้วอีก Blog หนึ่งค่ะ ว่าคุณสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้หรือไม่...ถ้าได้ ปรึกษาหัวหน้างานของคุณดูนะค่ะ...

 

เรียนถาม การนำลูกจ้างประจำเข้าระบบใหม่นั้นเฉพาะลูกจ้างประจำในงบ หรือรวมทั้งลูกจ้างประจำนอกงบด้วยช่วยตอบด้วยครับ

ตอบ...หมายเลข 43...

ลูกจ้างประจำที่เข้าระบบใหม่นี้เป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการซึ่งเป็นงบประมาณแผ่นดินในหมวดค่าจ้างค่ะ...เป็นกรอบอัตรากำลังของสำนักงาน ก.พ. ค่ะ...ไม่เกี่ยวกับลูกจ้างประจำนอกงบประมาณค่ะ...

นายสุพัฒน์ พริกเบ็ญจะ

ขอแสดงความนับถือท่านอาจารย์บุษยามาศที่เคารพนับถืออย่างสูง

ย้อนหลัง ผมบรรจุนักการภารโรง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2522 วุฒิ ม.ศ.3 สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองสงขลา ย้ายไปหลายที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 มาทำหน้าที่ใหม่ในตำแหน่งพนักงานเก็บเอกสารโฉนดที่ดิน โดยคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา กระผมได้ปรึกษาอาจารย์และปฎิบิติตามท่านมาตลอด ต่อมาได้เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์กับอาจารย์ด้วยคำแนะนำของท่าน

ท่านเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา และหัวหน้าฝ่ายทะเบียนที่กระผมทำงานในปัจจุบันเขาก็เห็นด้วย เพราะกระผมจบปริญญาตรีแล้วในปี พ.ศ.2532 ทั้งความรู้ทั้งความสามารถถึงอายุมาก เหลือเวลาราชการ 4 ปี ด้วยการแน่ะนำของท่าน ทางผู้บังคับบัญชากระผม คืิอ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ(หัวหน้าตำแหน่งนักการภารโรง )หัวหน้าทะเบียน(หัวหน้าที่กระผมทำงานมาเมื่อ ปี พ.ศ.2546 จนปัจจุบัน ได้ส่งหนังสืิอรับรองไปให้กรมที่ดิน เมือ วันที่ 7 พฤษภาคม 2553 เพื่อให้กองการเจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้ว ทั้งนี้ หรือทั้งนั้นผู้ที่ให้แสงสว่างปลายอุโมงค์ที่มืดมาหลายปี คือท่านอาจารย์บุษยมาศ ถึงท่านกับกระผมอยู่กันคนละหน่วยงาน แต่ท่านยังให้ทานอันประเสริฐและเห็นท่านตอบคำถามที่ 41 ยิ่งชื่นใจมาก ชวิตคือมีหวัง ขออำนาจพระศรีรัตนตรัย และสิ่วศักดิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือจงดลบรรดาลให้ท่านและครอบครัวมีสิ่งที่ดีตลอดไปเทอญ

ตอบ...คุณสุพัฒน์...

ขอบคุณค่ะ...พรใดที่ผู้เขียนได้รับ ขอให้ย้อนกับไปที่คุณและครอบครัวด้วยนะค่ะ...นี่คือ หน้าที่ของข้าราชการค่ะ ถ้าเรารู้ เราทราบ ไม่ว่าจะอยู่หน่วยไหน กรมไหน ถ้าระเบียบใช้ได้เหมือนกัน เราสามารถบอกหรือแนะนำ ให้คำปรึกษากันได้ค่ะ...แสดงความยินดีล่วงหน้าด้วยนะค่ะ...

เรียนคุณบุษยมาศ ที่นับถือ

ตามที่คุณบุษยมาศให้คำแนะนำชี้แนะแก่ลูกจ้างประจำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนอัตรากำลังของลูกจ้างประจำ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างประจำเป็นอย่างยิ่ง

ผมอยากถามว่าเมื่อลูกจ้างประจำเปลี่ยนตำแหน่งแล้ว การปรับเพิ่มขึ้นของเงินเดือนของแต่ละตำแหน่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 เลยหรือไม่ และผลการดำเนินการของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งคาดว่าจะแล้วเสร้จประมาณเมื่อไร (ขอทราบคำตอบหน่อยครับขอบคุณครับ)

ตอบ...คุณสวิท...

สำหรับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำตามหนังสือ ว 14 และ ว 38 นั้น เมื่อส่วนราชการทำเรื่องส่งไปยังสำนักงาน ก.พ. แล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคมทางสำนักงาน ก.พ. จะทำหนังสือแจ้งเวียนให้กับส่วนราชการทราบและแจ้งให้ลูกจ้างประจำทราบต่อไปค่ะ...ใจเย็นนิดหนึ่งนะค่ะ...สำหรับของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทางลูกจ้างประจำได้รับทราบกันแล้วค่ะ...มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 ค่ะ...สำหรับของคุณต้องรอหนังสือตอบรับจากสำนักงาน ก.พ. ก่อนนะค่ะ เพราะขณะนี้ สำนักงาน ก.พ. กำลังทำหนังสือแจ้งเวียนให้ทราบค่ะ...ลูกจ้างทุกคนก็ปรับเข้าสู่ตำแหน่งใหม่เลยค่ะ...สำหรับลูกจ้างที่เงินค่าจ้างเต็มขั้นมาแล้ว และได้รับ 2 % หรือ 4 % นั้น ทางหน่วยงานสั่งให้เลยก็ได้ หรือบางหน่วยงานยังไม่สั่งให้ แต่เมื่อได้รับหนังสือจากสำนักงาน ก.พ. อนุมัติแล้ว ก็สามารถปรับให้กับลูกจ้างประจำได้ค่ะ (และรอหนังสือจากกรมบัญชีกลางก่อนค่ะ) เพราะเพดานขั้นค่าจ้างเปิดแล้ว... สำหรับหน่วยงานไหนที่เลื่อนให้ลูกจ้างประจำได้ 2 % หรือ 4 % ก็ให้รอหนังสือจากกรมบัญชีกลางแจ้งมาก่อนค่ะว่า ให้ยกเลิกการได้ 2 % หรือ 4 % แล้วทำการเลื่อนขั้นค่าจ้างให้ โดย 2 % เทียบได้เท่ากับ 0.5 ขั้น และ 4 % เทียบได้เท่ากับ 1 ขั้น ค่ะ...ยินดีกับลูกจ้างประจำทุกคนด้วยนะค่ะ...อย่างไรก็ขอฝากให้พัฒนางานและพัฒนาตัวเองให้เต็มกำลังความสามารถนะค่ะ...ยิ่งทำงานมากเท่าไร ความมั่นคงของคุณและครอบครัวก็มีความมั่นคงมากขึ้นค่ะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

 

เรียนคุณบุษยมาศ ที่นับถือ

ตามที่หนังสือสพท.ให้ทำปรับตำแหน่งเมื่อปี 52ได้ทำปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำ (นักการภารโรง) ในสังกัดสพท ส่งเรื่องมายัง สพฐ. ตอนนี้ยังคอยคำตอบอยู่เกือบปี ไม่ได้รับคำตอบเลย มีความหวังไหมครับ เงินเดือนน้อย อยากรู้คำตอบเร็ว สอบถามได้ที่ไหนครับ

ด้วยความเคารพ

คนต่างจังหวัด

ตอบ...หมายเลข 49...

ผู้เขียนไม่สามารถตอบแทน สพฐ. ได้นะค่ะ...อย่างไรแล้วขอให้คุณติดตามเรื่องที่ สพท.ของคุณดูนะค่ะ ว่าได้รับเรื่องจาก สพฐ. อนุมัติแล้วหรือยัง...และปัจจุบัน สำนักงาน ก.พ. ก็กำลังแจ้งเวียนอัตราใหม่ให้กับลูกจ้างประจำทราบภายในเดือนพฤษภาคม 2553 นี้อยู่ค่ะ...ใจเย็นนิดนะค่ะ เพราะ สพฐ. จำนวนลูกจ้างประจำค่อนข้างมากด้วยค่ะ...ถ้าทำไม่ได้ในครั้งนี้ เมื่อปรับเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ตามหนังสือ ก.พ.แล้ว ก็ยังสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้อยู่ค่ะ...

ผมเป็นลูกจ้างประจำ สังกัด กรมอนามัย ตำแหน่งคนงาน วุฒิ อนุปริญญา รับราชการและครองตำแหน่งคนงานมา 13 ปี และปฏิบัติงานการเงิน เบิก-จ่าย เงินงบประมาณผ่านระบบ GFMIS มา 13 ปี เช่นกัน ผมมาช่วยราชการที่ รพ.ชุมชน สำนักปลัดกระทรวง ขอเรียนถาม อาจารย์บุษยมาศว่า ผู้ที่มาช่วยราชการสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งในหมวดที่สูงขึ้นได้หรือไม่ ขอบคุณล้วงหน้าครับ

ตอบ...คุณยงยุทธ...

ในกรณีของคุณมาช่วยราชการที่ รพ.ชุมชน แต่ต้นสังกัดคุณอยู่ที่กรมอนามัย

ขอให้คุณติดต่อไปที่ต้นสังกัดของคุณนะค่ะ ว่าจะทำให้หรือไม่...เพราะกรอบอัตราตำแหน่งของคุณอยู่ที่กรมอนามัยค่ะ...แต่ผลงานมาช่วยราชการที่ รพ.ชุมชน...เนื่องจากผลงานกับหน่วยงานที่สังกัดเป็นคนละแห่งกันค่ะ...

รบกวนสอบถามว่า : ค่าตอบแทนนอกเวลาของลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 ค่ะ ว่าเบิกจ่ายได้เท่าไร (ปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ.อำเภอ) ขอบคุณค่ะ

ตอบ...หมายเลข 53...

ขอให้สอบถามที่งานการเงินของหน่วยงานต้นสังกัดคุณดีกว่าไหมค่ะ...เพราะว่า ค่าตอบแทนนอกเวลาในแต่ละสถานที่จะเหมือนกันไหม...ถ้าเป็นเกณฑ์ที่ของกระทรวงการคลัง คงเหมือนกัน(งบที่รัฐจัดให้)...แต่บางที่ก็จะเป็นเกี่ยวกับเงินรายได้...ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายของส่วนราชการในแต่ละแห่ง...จึงไม่ขอนำมาบอกค่ะ...

สวัสดีคะ อาจารย์บุษยมาศ หนูเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกใหม่ หนูมีปัญหาอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ขณะนี้หนูทำงานตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 ขั้นเงินเดือน 15,850 บาท ถ้าเข้าแท่งเงินเดือนใหม่หนูจะได้รับเงินเดือนขั้นใหนคะ และจะได้รับเงินเดือนในกลุ่มบัญชี1 หรือบัญชี 2 คะ ขอบพระคุณล่วงหน้าคะ

ตอบ...หมายเลข 55...

คุณเข้าสู่ตำแหน่งใหม่เป็น ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ค่ะ รหัส 2113 ระดับ 3 กลุ่มที่ 1-2 ค่าจ้างระดับต่ำ 7,100 - 22,220 บาท ค่ะ ปัจจุบันคุณได้รับเงินค่าจ้าง 15,850 บาท เมื่อเข้าสู่กลุ่มงานใหม่ ยังคงได้รับค่าจ้างเท่าเดิมค่ะ รัฐเพียงแต่ปรับฐานเงินค่าจ้างให้สูงขึ้น (คือขยายเพดานค่าจ้างไงค่ะ) ถ้าจะได้รับสูงขึ้น ต้องมีเงื่อนไขว่าด้วยเวลา + ผลการปฏิบัติงาน ในการเลื่อนขั้นค่าจ้างทุก 6 เดือนค่ะ...

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากคะที่ให้คำตอบแก่หนู แต่ ณ 1 เมษายน 2553 หนูยังไม่ได้รับเงินเดือนใหม่เลยคะเห็นบอกว่าต้องรอหนังสือจาก กพ. ก่อนคะ

ตอบ...หมายเลข 57...

ค่ะ ถ้าเงินเดือนยังไม่เปลี่ยน ก็รับเท่าเดิมไปก่อนค่ะ เพียงแต่รอหนังสือของ ก.พ. ว่าเราอยู่ตำแหน่งไหนเท่านั้นเองค่ะ...

นายสมมิตร ศิริขันธ์

สวัสดีครับ อ.บุษยมาศ กระผมตำแหน่ง พนักงานบำรุงทาง เงินเดือนตันหลายปี ( 15,260 ) สังกัดแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 กรมทางหลวง อยากทราบเป็นข้อมูลว่า หน่วยงานจะปรับให้เลยหรือไม่ หรือจะมีวิธีสอบ หรือเลือกสรร และ ถ้าหน่วยงานไม่ยอมทำเรื่องให้จะถูกต้องหรือไม่

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณสมมิตร...

ตำแหน่งเดิมของคุณ คือ ตำแหน่งพนักงานบำรุงทาง หมวดกึ่งฝีมือ เมื่อเทียบกับตำแหน่งใหม่ คุณตำแหน่งพนักงานบำรุงทาง รหัส 3313 กลุ่มงานช่าง ระดับ 1 ซึ่งตำแหน่งคุณจะอยู่ในกลุ่มช่าง 1 - 2 ซึ่งปัจจุบันเงินค่าจ้างของคุณได้รับ 15,260 บาท และเงินเดือนเต็มขั้นมาหลายปีแล้ว แสดงว่าเมื่อ 1 เมษายน 2553 คุณได้ 2 % หรือ 4 % ก็แสดงว่าเงินค่าจ้างของคุณอาจได้ 0.5 ขั้น หรือ 1 ขั้น ถ้ายังไม่ได้เลื่อนขั้น ก็ขอให้รอหนังสือจากกรมบัญชีกลาง จะแจ้งมาทางส่วนราชการจะทำการเลื่อนขั้นค่าจ้างให้ค่ะ เพราะในกลุ่มช่าง คุณสามารถเลื่อนเป็น กลุ่มงานช่าง 1 - 2 ซึ่งเงินค่าจ้างของคุณ เมื่อเทียบกับตารางตำแหน่งใหม่สามารถไปถึงระดับ 2 ทางส่วนราชการจะทำการเลื่อนขั้นให้ค่ะ...เป็นการเปิดเพดานให้สูงขึ้นค่ะ...เพราะคำว่า 1-2 แสดงว่าเงินค่าจ้างจะไหลไปได้เลย ยกเว้น ถ้าจะไประดับ 3 หรือ 4  ทางส่วนราชการจะดำเนินการสอบ หรือเลือกสรรค่ะ...แต่ขณะนี้ ต้องรอหนังสือสั่งการจากกรมบัญชีกลางก่อนนะค่ะ...เพราะผู้เขียนได้ประสานกับกรมบัญชีกลางแล้ว แจ้งว่าให้รอหนังสือสั่งการก่อนค่ะ ทางส่วนราชการถึงจะดำเนินการให้กับลูกจ้างประจำค่ะ...รอนิดหนึ่งนะค่ะ...

เรียน อ. บุษยมาศ

ผมทำงานตำแหน่งพนักงานตรวจทานข้อมูล 5 ปี ผมมีสิทธิปรับเป็นพนักงานธุรการ 1 ได้เลยหรือไม่และผมเรียนจบระดับวิชาชีพ(ปวส.)แต่จบด้านไฟฟ้ากำลังไม่ทราบว่าวุฒิการศึกษาของผมใช้เปรียบเทียบได้หรือไม่ ส่วนการทำงานของผมทางหน่วยงานแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าพัสดุมาแล้วไม่ตำกว่า 10 ปีไม่ทราบจะเกื้อกูลกับตำแหน่งพนักงานธุรการการ 1 ไม่ ผมยากทราบ อ. ช่วยตอบปัญหาของผมด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

นายสมมิตร ศิริขันธ์

สวัสดีครับ อ.บุษยมาศ

เพื่อนที่ทำงานผม ฝากสอบถามว่า กันยา นี้จะปลดเกษียน อยากทราบว่า เงิืนเดือนใหม่ปรับตั้งแต่เดือนเมษา

จะเอาเงินเดือนใหม่คูณ เป็นเงินบำเหน็จ ถูกต้องหรือไม่ ( ตำแหน่ง พนักงานขับเครื่องจักรขนาดเบา เงินเดือนตัน 15,260.- บาท

อ.ช่วยตอบด้วย ขอขอบพระคุณอย่างสูง

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณสวิท...

อ่านแล้ว งง ๆ กับคำถามของคุณ ไม่ทราบว่าคุณตำแหน่งพนักงานตรวจทานข้อมูล  หรือ ตำแหน่งพนักงานพัสดุ ค่ะ ในปัจจุบัน ถ้าเดิมคุณตำแหน่งพนักงานตรวจทานข้อมูล เมื่อปรับใหม่ ก็ได้ เป็นพนักงานธุรการ ได้แล้วนี่ค่ะ  แต่ถ้าไม่ใช่ ตำแหน่งเดิมเป็นพนักงานพัสดุ (แม้วุฒิจะจบปวช. ช่างไฟฟ้า) ก็แสดงว่า ตำแหน่งใหม่ คือ พนักงานพัสดุ  ตำแหน่งก็คล้าย ๆ กับพนักงานธุรการ เหมือนกันนี่ค่ะ การเป็นพนักงานธุรการ ก็ต้องดูด้วยว่าคุณทำงานเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานเก็บเอกสาร งานรับ - ส่ง หนังสือ การโต้ตอบหนังสือราชการ ฯลฯ หรือไม่ ถ้าเกี่ยว ต้องไปดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (แต่ว่าถ้าเคยทำงานตรวจทานข้อมูล) ก็น่าจะปรับให้เป็นพนักงานธุรการได้ค่ะ แต่สำคัญตรงที่วุฒิของคุณ จบไฟฟ้า ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งว่า เป็นวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการหรือไม่ ถ้าให้แน่ใจ โทรสอบถามเพื่อปรึกษาไปที่กรมบัญชีกลาง อีกครั้งนะค่ะ ว่าได้หรือไม่ เพราะไม่แน่ใจในวุฒิของคุณค่ะ...

ตอบ...คุณสมมิตร...

ถูกต้องค่ะ ต้องเอาเงินค่าจ้างใหม่ค่ะ... ความจริงแล้วจะเปลี่ยนเงินค่าจ้างใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน 2553 นี้ด้วยค่ะ เพราะตำแหน่งใหม่ของคุณสั่ง มีผล ณ 1 เมษายน 2553 ก็ไม่ทราบว่า ณ 1 เมษายน 2553 เงินเดือนเต็มขั้นแล้ว และได้รับ 2 % หรือ 4 % ค่ะ สำหรับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ในกรณีที่เงินค่าจ้างเต็มขั้น ไม่ว่าข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ จะได้รับอยู่แล้วค่ะ แต่ถ้าส่วนราชการของคุณยังไม่ได้คิดให้ ...ก็ขอให้รอหนังสือจากกรมบัญชีกลาง จะสั่งการมาว่าให้ยกเลิกค่าตอบแทนพิเศษ 2 % หรือ 4 % ก่อนค่ะ แล้วเจ้าหน้าที่จะทำการเลื่อนขั้นค่าจ้างให้กับคุณในอัตราค่าจ้างใหม่ค่ะ ถ้าคุณได้ 2 % หรือ 0.5 ขั้น คุณก็จะได้รับเงินค่าจ้าง = 15,560 บาท ถ้าได้ 4 % หรือ 1 ขั้น คุณก็จะได้รับเงินค่าจ้าง = 15,850 บาท ค่ะ (ณ 1 เมษายน 2553 นะค่ะ) แต่ถ้าได้ 2 % หรือ 4 % ไปแล้ว คุณจะต้องเอาเงินที่คุณได้รับไปแล้ว หักลบกับเงินค่าจ้างใหม่ นั่นคือส่วนตกเบิกที่คุณจะได้รับค่ะ แต่ถ้ายังไม่ได้รับ 2 % หรือ 4 % คุณจะได้รับตกเบิก เป็นจำนวนเต็มค่ะ...ส่วน ณ 1 ตุลาคม 2553 (วันที่คุณเกษียณอายุราชการ)  คุณก็จะได้รับเงินค่าจ้าง เพิ่มอีก อาจได้ 0.5 ขั้น หรือ 1 ขั้น ก็แล้วแต่หน่วยงานของคุณเป็นผู้ให้ความดีความชอบค่ะ ถึงจะเอาเงินค่าจ้างของคุณไปคิดเป็นบำเหน็จค่ะ...อย่างน้อย ๆ คุณอาจได้รับเงินค่าจ้าง = 15,850 บาท (1 ขั้น ต่อ ปี), 16,150 บาท (1.5 ขั้น ต่อปี) หรือ 16,440 บาท (2 ขั้น ต่อปี) ประมาณนี้ค่ะ...(คุณอาจดูบัญชีโครงสร้างค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ในกลุ่มที่ 1 ของอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำในอัตราใหม่นะค่ะ...

นายสมมิตร ศิริขันธ์

สวัสดีครับ อ.บุษยมาศ ที่นับถือ

ต้องกราบขอบพระคุณอย่างสูง ที่ตอบคำถามที่กระผมสอบถามมา ทำให้คนที่ทำงาน มีกำลังใจทำงานมากยิ่งขึ้น กระผมทำงานตั้แต่อายุไม่ถึง 17 ความรู้น้อย ก็เลยได้แค่เป็นลูกจ้างชั่วคราว ได้บรรจุเป็นลูกจ้างประจำ เมือปี 2534 ขณะนี้อายุ 41 ปี อายุราชการ 19 ปี มีข้อหนึ่งที่ผมสงสัยและสอบถามเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับความกระจ่าง คือ เครื่องราชฯ ทำใมผมไม่ได้รับ รุ่นน้องที่ำทำงานบรรจุทีหลังผม ยังได้เลย ผมไม่เข้าใจเหตุใด ผมถึงยังไม่ได้ สอบถามเจ้าหน้าที่สารบรรณ ก็ไม่ได้ความกระจ่าง กระผมอยากทราบว่า เอาหลักเกณฑ์อย่างไร มาประกอบพิจารณา ขอเครื่องราชฯ ครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณสมมิตร...

ต้องถามไปที่หน่วยงานการเจ้าหน้าที่แล้วมังค่ะ...ว่าได้ทำการขอพระราชทานให้หรือเปล่า?...เพราะบางครั้งทางเจ้าหน้าที่ทำให้เรา แล้วไม่ได้แจ้งให้เรารับทราบค่ะ...ถ้ายังไม่ได้ขอ  ต้องถามเจ้าหน้าที่ว่า ทำอย่างไรบ้าง ให้แนะนำเรามาค่ะ...แต่ถ้าเป็นที่ ม. ของผู้เขียน ทางผู้เขียนจะเป็นผู้ดำเนินการให้เลย แล้วให้เจ้าตัวรับทราบ เพื่อเซ็นต์ชื่อเพื่อเสนอขอพระราชทานค่ะ...เร็วดี...เพราะลำพังถ้าให้ลูกจ้างประจำทำเอง  เขาคงทำไม่ถูก...เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้รู้ต้องให้คำชี้แจงเขาค่ะ...สิ่งใดที่อำนวยความสะดวกให้  และทำแล้วไม่ขัดต่อระเบียบ...เราจะยินดีทำให้ค่ะ...นี่คืองานด้านการให้บริการของกองเราค่ะ...ให้คุณลองศึกษาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของลูกจ้างประจำตามเว็บไซต์ด้านล่างนะค่ะ (ซึ่งจะสามารถคลิกเข้าไปอ่านอีกชั้นหนึ่งนะค่ะ  ด้านล่างค่ะ)...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/363502

เรียนถามอ.จ.ด้วยขณะนี้มีการพัฒนาและบริหารตำแหน่งลูกจ้างประจำงบฯทั่วประเทศและมีการปรับขยายเพดานเงินเดือนสำหรับคนที่เงินเดือนเต็มขั้นผมก็เป็นผู้หนึ่ง เต็มขั้นมา3ปีและเดือนนี้ยังได้รับเป็น%อยู่ ผมจึงขอเรียนถามอ.จ. ว่ากรณีนี้ทางหน่วยงานเขาจักต้องตกเบิกให้ภายหลังหรือไม่ คำถามนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ลูกจ้างที่หัวอกเดียวกัน กระผมขอขอบพระคุณอ.จ.แทนลูกจ้างทุกคนที่อ.จ.เสียสละเวลาอันมีค่า ขอขอบพระคุณอย่างสูง

ตอบ...หมายเลข 67...

ค่าจ้างของคุณเต็มขั้นแล้ว 3 ปี  สำหรับเมษายน 2553  คุณก็ยังได้เป็น % อยู่ค่ะ ว่าแต่จะได้ 2 % หรือ 4 % เท่านั้นแหล่ะค่ะ...ที่บอกว่ายังไม่ได้เป็น % นั้น ทางเจ้าหน้าที่การเงินอาจทำเรื่องตกเบิกให้ต่อไปค่ะ...แต่การได้ 2 % หรือ 4 % นั้น...เมื่อสำนักงาน ก.พ. เปิดเพดานขั้นค่าจ้างโดยขยายเพดานออกไปอีกนั้น...สำหรับผู้ที่เงินค่าจ้างเต็มขั้น...ทางงานการเจ้าหน้าที่หรืองานบุคคลจะดำเนินการแก้ไขคำสั่งให้ใหม่ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่แจ้งมาค่ะว่า...ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขคำสั่งจาก ที่คุณได้รับเป็น % ให้นำมาเทียบกับค่าจ้างของกลุ่มงานใหม่ คือ ถ้า 2 % คุณก็จะได้รับขั้นค่าจ้างในกลุ่มงานใหม่เพิ่มเป็น 0.5 ขั้น และถ้าได้ 4 % คุณก็จะได้รับขั้นค่าจ้างในกลุ่มงานใหม่เพิ่มเป็น 1 ขั้นค่ะ...(ถ้าคุณยังไม่ได้รับเป็น % ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553  คุณก็จะได้รับเงินค่าจ้างตกเบิกตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 เป็นต้นมาค่ะ)...สำหรับของมหาวิทยาลัยของผู้เขียนก็ได้ดำเนินการให้กับลูกจ้างประจำในสังกัดแล้วค่ะ...และส่วนราชการของคุณเจ้าหน้าที่ก็คงกำลังดำเนินการให้อยู่เหมือนกันค่ะ...

เรียน อ.บุษยมาศ ที่นับถือ

ด้วยผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น3 เดิม (พนักงานพิมพ์ ระดับ 3) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ คือ1.งานสารบรรณ(ร่าง-พิมพ์โต้ตอบ-ลงทะเบียนรับ-ส่ง รับ-ส่งและติดต่อราชการทั้งทางโทรศัพท์ E-Mail และE-Office)

2.งานสวัสดิการ (เบิกสวัสดิการศึกษาบุตร/รักษาพยาบาล) 3.งานเงินเดือน(คอปปี้ข้อมูลจาก สพท.มาวางลิ้งค์ลงบัตรจ่ายเงินเดือน) พร้อมออกหนังสือรับรองเงินเดือนเมื่อบุคลากรร้องขอ 4.งานภาษีเงินได้ (ภงด.1ก),และออกหนังสือรับรองภาษีด้วยระบบลิ้งค์ทั้งหมดให้กับบุคลากรทั้งโรงเรียนทุกปีพ.ศ. 5.งานพัสดุ จัดทำระบบลิ้งค์ข้อมูลลงในไมโครซอฟเอ็กเซล แจกจ่ายไปให้ฝ่ายงานตามโครงการสายงานบริหาร 6.งานบัญชีลงเวลา (ตรวจและสรุปจำนวนบุคลากรทุกวันทำการ) 7.งานวันลา (ตรวจสอบวันลาก่อนนำเสนอผู้บริหารและสรุปผลก่อนพิจารณาเงินเดือน/ค่าจ้าง)และยังได้รับมอบหมายเพิ่มเอกสารสอบราคาจ้างก่อสร้างทำถนน และก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ของหน่วยงานฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่ปฏิบัติอยู่จนปัจจุบัน โดยผมได้ทำหนังสือขอรับคำปรึกษาเพื่อขอเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานธุรการให้ตรงกับลักษณะงานที่ปฏิบัติอยู่ไปยังหน่วยงานระดับบนแต่ก็ยังไม่ได้รับทราบคำตอบ ซึ่งไม่ทราบว่าจะขัดกับระเบียบหรือไม่ หากไม่ขัดต่อระเบียบจะต้องดำเนินการอย่างไร ต้องกราบเรียนอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง ที่ท่านได้กรุณาให้คำตอบทุกครั้งที่ได้ขอปรึกษาปัญหา

ดิฉันเป็นลูกจ้างชั่วคราว ทำงานพัสดุ มา 3 ปีกว่าแล้ว ตอนนี้หน่วยงานแต่งตั้งให้เป็นนักวิชาการพัสดุ ไม่ทราบว่าพอจะมีสิทธิเป็นลูกจ้างประจำกับเขาไหมค่ะ (ชนันนา ทรัพย์สำรวย)

ตอบ...คุณวิจิตร...

ขอให้คุณศึกษาว่า ถ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานธุรการ แล้วให้ดูเพดานว่าค่าจ้างที่จะเปลี่ยนเป็นพนักงานธุรการ กับพนักงานพิมพ์ ระดับ 4 ต่างกันมากน้อยแค่ไหน ถ้าเปลี่ยนแล้วเรามีความก้าวหน้าในตำแหน่ง ก็ควรเปลี่ยนค่ะ...ต้องดูภาระงานของเราด้วยนะค่ะว่าเอื้อกับพนักงานธุรการหรือไม่...ขอให้คุณสอบถามต้นสังกัดของคุณคือ ส่วนราชการที่สังกัดว่าจะทำการเปลี่ยนโดยส่วนราชการจัดทำให้หรือว่าจะให้คุณทำอย่างไรค่ะ...ความจริงแล้ว ต้นสังกัดจะเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการที่จะปรับเปลี่ยนให้ค่ะ...ลองสอบถามผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ก่อนว่าจะดำเนินการให้อย่างไรค่ะ...คงต้องทำ Job Description (บรรยายลักษณะงานที่ปฏิบัติก่อนมังค่ะ)...แล้วรายงานให้ สำนักงาน ก.พ.ทราบ...ทางที่ดีต้องสอบถามไปที่ ก.พ. ว่าจะให้ส่วนราชการดำเนินการให้หรือยังในเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งค่ะ...ถ้าสำนักงาน ก.พ.แจ้งว่าให้ดำเนินการได้...ส่วนราชการนั้น ควรทำกระบวนการในการสอบเพื่อปรับเปลี่ยนค่ะ...(ต้องดูคุณสมบัติในการเป็นพนักงานธุรการก่อนนะค่ะ...ว่าควรเป็นอย่างไร...)

ตอบ...คุณ chananna...

การสอบบรรจุเป็นลูกจ้างประจำนั้น  ปัจจุบันยังไม่ทราบข่าวว่าจะมีการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำนะค่ะ...เพราะผู้เขียนได้แต่ทราบมาว่ามีแต่เมื่อลูกจ้างประจำเกษียณ ตำแหน่งที่เกษียณจะได้มาเป็น "พนักงานราชการ" แทนตำแหน่งลูกจ้างประจำค่ะ...ถ้าจะบรรจุต้องเป็นเรื่องของสำนักงาน ก.พ. จะมีการบรรจุค่ะ...แต่ผู้เขียนคิดว่าไม่น่าจะมีลูกจ้างประจำที่มีการสอบบรรจุแล้วนะค่ะ...ไม่ทราบว่าคุณทำงานของมหาวิทยาลัยหรือเปล่า...ถ้าทำงานของมหาวิทยาลัย ก็มีอีกอย่างคือคุณสอบเปลี่ยนไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยค่ะ (ถ้าคุณสมบัติได้ตามเกณฑ์ประกาศนะค่ะ)...หรือไม่ก็ต้องดูว่าหน่วยงานมีตำแหน่งของพนักงานราชการหรือไม่ค่ะ...เพราะลูกจ้างประจำคงไม่มีการบรรจุแล้วค่ะ...

เรียนถามข้อมูลอ.จ.ผมเงินเต็มขั้น ที่ 14,140และได้รับ 2% .5 ขั้นตั้งแต่ เม.ย.-ก.ค.53 อยู่ๆได้รับหนังสือแจ้งเรียกเงินคืน 282x4=1,128บาท และตามเพดานเงินเดือนของตำแหน่งใหม่แล้วจะเป็น 14,410บาท.5 ขั้น=270x4=1,080บาทแล้วยังงี้ผมจะต้องได้รับเงินจาก.5 ของเงินเดือนใหม่หรือไม่เพราะได้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะมีตกเบิกขั้นให้อีกหรือเปล่ากับได้รับคำตอบว่าไม่มีเลยทำให้ผมงง เป็นเพราะเจ้าหน้าไม่รู้เรื่องรายละเอียดหรือเปล่าหรือเพราะหน่วยงานหลักได้ออกนอกระบบราชการไปแล้วแต่ตำแหน่งของผมออกไม่ได้ ขอความกรุณาท่านอ.จ.ช่วยตอบเป็นอย่างไรจะต้องได้ตกเบิกตามขั้นเงินเดือนใหม่หรือไม่ปรการใด สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอ.จ.เป็นอย่างสูง

ตอบ...หมายเลข 73...

ถ้า 1 เม.ย.53 เงินเดือนของคุณเต็มขั้นแล้วและได้ 2 %  การนำไปคิดเทียบกลุ่มงานใหม่ จนท.ต้องเพิ่มให้อีก 0.5 ขั้น จากเงินเดือนที่เต็มขั้น (ขยายเพดาน)...การคิดในกรณีนี้ที่เรียกเงินคือน จนท.การเงิน อาจจ่ายคืนให้ไปก่อนแล้ว และการได้ขั้นก็นำจำนวน 0.5 ขั้น คูณด้วยจำนวนเดือน แล้วนำไปหักกับจำนวนที่จนท.การเงินได้จ่ายไปแล้ว 2 % ส่วนมากก็จะโดนเรียกเงินคืน บางคนก็ 10 บาท 60 บาท 90 บาท ต่อเดือนค่ะ...เนื่องจากการเงินจ่ายไปให้ก่อนแล้ว 2 % ค่ะ...ที่แจ้งมาไม่ทราบตำแหน่งและกลุ่มงานที่ชัดเจน จึงตอบให้ไม่ได้ค่ะ...ถ้าสงสัยสอบถามมาใหม่นะค่ะ...

เรียน ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

สำหรับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างประจำในตอนนี้...เช่นการเปลี่ยตำแหน่ง เปลี่ยนระดับชั้นให้สูงขึ้น นั้น...เมื่อวานผู้เขียนได้คุยทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง  ท่านแจ้งมาว่า ตามที่สำนักงาน ก.พ. ให้เปลี่ยนตำแหน่งได้นั้น...ขอให้ทุกท่านรอหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องวิธีการ หลักเกณฑ์ การเข้าสู่ตำแหน่งของลูกจ้างประจำก่อนนะค่ะ...ส่วนราชการต้องชะลอไปก่อน จนกว่าจะมีหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

หมายเหตุ  :  ถ้ามีหนังสือจากกระทรวงการคลังแจ้งมา  ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

เรียนอ.บุษยมาศที่เคารพและนับถือดิฉันติดตามคำตอบของอาจารย์ที่เพื่อนๆลูกจ้างประจำถามมาเป็นประจำทำให้ได้รับความกระจ่างและมีขวัญกำลังใจในการทำงานมากขึ้นดิฉันขอเรียนถามข้อสงสัยดังนี้นะคะ คือปัจจุบันเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานบริการอัดสำเนา เงินเดือนตันเมื่อตุลาคม2552ที่14140บาทและได้2%รับตกเบิกแล้วเมื่อครบ6เดือนต่อมาเมื่อเมษายน2553ได้2%ยังไม่รับตกเบิกเมื่อมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งและระดับใหม่ได้เป็นพนักงานบริการเอกสารทั่วไปคุณสมบัติทั้งคุณวุฒิและอายุงานได้ครบถึงระดับ2กลุ่มที่1-2ตันที่22220บาทใช่ไหมคะขอเรียนถามอาจารย์ว่าเมื่อปรับระดับใหม่และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่1เมษายน2553นั้นสมมุติตุลาคมนี้ดิฉันได้0.5ขั้นเงินเดือนจะอยู่ที่เท่าไรคะและจะมีการเรียกตกเบิกที่ได้รับไปคืนไหมคะ ขอบพระคุณอาจารย์มากที่เป็นกุญแจให้กับบรรดาลูกจ้างเพราะเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงาน จ.ของหน่วยงานที่ดิฉันทำอยูก็ได้ข้อมูลจากอาจารย์ไปบอกและปรับเปลี่ยนระดับให้ลูกจ้างค่ะ

ตอบ...หมายเลข 76...

คุณตำแหน่งพนักงานบริการเอกสารทั่วไป รหัส 1409  กลุ่ม 1 - 2 ค่าจ้างขั้นต่ำ = 7,100 บาท ค่าจ้างขั้นสูง = 22,220 บาท ค่ะ...ถ้าปรับระดับใหม่ จะได้ค่าจ้าง = 14,410 บาทค่ะ ถ้ายังไม่ได้รับ 2 % หรือ 4 % ตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 ก็ไม่ต้องหักเงินคืนการเงินค่ะ เพราะเรายังไม่ได้รับเงินค่าจ้างนี่ค่ะ...แต่ถ้าหน่วยงานใดได้รับ 2 % หรือ 4 % ไปแล้ว เช่น ที่ ม.ของที่พี่อยู่ การเงินเขาจะนำเงินที่รับไปแล้วมาหักลบกันค่ะ...ส่วนใหญ่ลูกจ้างจะต้องหักเงินคืนให้การเงินค่ะ  เพราะจำนวนเงินที่เลื่อนขั้น ต่ำกว่า เงิน 2 % หรือ 4 % ค่ะ แต่ก็ไม่มากเท่าไรค่ะ...อยู่ที่ค่าจ้างใครจะมากจะน้อยค่ะ...

       สำหรับตุลาคม ถ้าได้ 0.5 ขั้น จะได้ =  14,700   บาท

                           ถ้าได้ 1 ขั้น   จะได้ =  14,970   บาท

       ดูได้จากบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

       http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

 

ขอเรียนถามอ.บุษยมาศดังนี้ ปัจจุบันตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดระดับ3เงินเดือน12670ถ้ามีการปรับเปลี่ยนระดับแล้วเงินเดือนจะขึ้นตามบล๊อกไปหรือว่าสามารถข้ามระดับได้เพราะว่าขณะนี้เงินเดือนอยู่ที่ระดับ1กลุ่มที่1แต่ตำแหน่งอยู่ที่ระดับ3กลุ่มที่1-2และขอเรียนถามว่าจะปรับตำแหน่งเป็นนวก.การเงินได้หรือไม่เพราะคุณสมบัติและลักษณะงานที่ทำอยู่ตรงตามที่กำหนด

ตอบ...หมายเลข 78...

ตำแหน่งใหม่ของคุณ คือ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ รหัส 2113 ระดับ 3 บัญชีค่าจ้างอยู่ในกลุ่มที่ 1 - 2 ขั้นต่ำของค่าจ้าง = 7,100  บาท ...ขั้นสูงของค่าจ้าง = 22,220 บาท ค่ะ...สำหรับขั้นวิ่งค่าจ้างของคุณ ต้องเลื่อนไปตามกลุ่ม 1 ก่อนค่ะ เมื่อเต็มขั้น 1 แล้ว ค่อยปรับเข้าสู่กลุ่มที่ 2 ค่ะ...(เนื่องจากสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางให้แล้วค่ะ)...การปรับเข้าสู่ตำแหน่ง การเงิน ก็อยู่ที่คุณพิจารณาว่า อยู่เดิม กับไปตำแหน่งใหม่ แบบไหนที่มีความมั่นคงกว่ากันค่ะ...ถ้าตำแหน่งไหนก้าวหน้ากว่า ก็ไปตำแหน่งนั้นค่ะ...แต่งานที่เราทำต้องเป็นงานนั้นด้วยนะค่ะ...ถ้าไม่ก้าวหน้า คือ เหมือนกัน ก็ไม่ควรเปลี่ยนค่ะ...เพราะเงินค่าจ้างก็เท่าเดิม...(ให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของการเงินและพนักงานพิมพ์ เปรียบเทียบกันค่ะ)...

เรียน  ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เรื่อง "การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่" ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/390373

เรียน อาจารย์บุษยมาศ ที่เคารพ

ดิฉันขอเรียนถามอาจารย์ว่า ขณะนี้ดิฉันดำรงตำแหน่งลูกจ้างประจำ ตำแหน่งคนงาน จบ ม.ศ.3 เดิม ค่ะ ตอนนี้กำลังเรียน ก.ศ.น และกำลังเรียนต่อระดับปริญญาตรีด้วยแต่ยังไม่จบ ดิฉันบรรจุมา 24 ปีแล้ว เงินเดือนตันมาหลายปีแล้วค่ะ หากดิฉันจะทำเรื่องขอปรับระดับเป็นพนักงานพิมพ์ จะได้หรือเปล่าคะ เพราะดิฉันทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์มาตลอด ทั้ง ภาษาไทย และอังกฤษค่ะ

ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้าค่ะ

วนิดา

ตอบ...คุณวนิดา...

ได้ค่ะ...ให้ศึกษาคุณสมบัติของตำแหน่งพนักงานพิมพ์ และหน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่พิมพ์ดีด...โดยให้ศึกษาในบล็อกด้านล่างให้ละเอียดนะค่ะ...สามารถทำได้ค่ะ...ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้กำหนดแนวปฏิบัติให้แล้วค่ะ...ลองศึกษาในแต่ละบล็อกนะค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

สวัสดีครับ คุณบุษยมาศครับผมเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานบริการมาเป็นพนักงานพิมพ์ดีด แต่ยังต้องมาตัดหญ้ามันถูกต้องไหมครับ ผมลองคุยกับ ผอ. แล้วท่านว่าโรงเรียนเรามันเล็กคุณก็ต้องทำหน้าที่ภารโรงไปด้วย ผมจะทำยังงัยดีครับ ผมอยากถามว่าถ้าจะย้ายตัดโอนตำแหน่งไปโรงเรียนอื่น ทำได้ไหมครับ

ตอบ...คุณ tawin...

เมื่อคุณเปลี่ยนเป็นพนักงานพิมพ์แล้ว สิ่งที่คุณทำ คือ งานอะไรค่ะ ใช่พิมพ์หนังสือราชการหรือไม่ ถ้าว่ากันด้วยมาตรฐานกำหนดตำแหน่งจริง ๆ คุณสมบัติของคุณก็คือ พนักงานพิมพ์ ตามที่ กระทรวงการคลัง  กำหนด...และต้องทำงานธุรการประกอบด้วย...ถ้าหากเป็น ร.ร.ขนาดเล็ก คือ เด็กประมาณกี่คนค่ะ...คุณอาจต้องทนไปนิดหนึ่งนะค่ะ...เพราะความจริง โรงเรียนก็ใช้ระเบียบการจ้างเหมาเพื่อจ้างคนงานมาทำงานด้านนี้ได้ โดยต้องศึกษาระเบียบการจ้างเหมาคนงาน ทาง ผอ. ต้องตั้งงบประมาณขอจ้างเหมาคนงาน ทำความสะอาด หรือ รปภ. เพราะมีหนังสือของกระทรวงการคลังแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินการได้ตามหนังสือดังกล่าว...เมื่อเร็ว ๆ นี้แหล่ะค่ะ...ถ้าของบประมาณได้ คุณก็คงไม่ต้องโดนตัดหญ้า...แต่คุณก็ต้องทำงานในตำแหน่งพนักงานพิมพ์ให้สมบูรณ์ให้ได้...สำหรับการที่ปัจจุบันคุณต้องมาตัดหญ้า...นั่นเป็นเพราะ ผอ. ขอความเห็นใจให้คุณปฏิบัติไปก่อน เนื่องจากไม่มีงบประมาณ หรือ คนที่สามารถมาทำงานทดแทนนี้ได้...ไปอยู่ที่ไหน ๆ ก็มีสภาพคล้าย ๆ กัน ไม่ต้องการเห็นการหนีปัญหา  เราควรหันหน้าสู้ปัญหา...และบอก ผอ. ว่าควรจะดำเนินการของบประมาณในการจัดจ้างบริษัททำความสะอาดได้แล้วค่ะ...ลองเสนอดูนะค่ะ...เพราะมีหลายหน่วยงานแล้วที่ปฏิบัติตามที่บอกข้างต้น...

ขอบคุณครับ คืองานที่ทำก็มีทั้งงานเอกพิมพ์เอกสารสื่อการเรียนการสอนช่วยครู หนังสือราชการ แบบฟอร์มต่าง กรอกข้อมูลช่วยครู ทั้งดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน โรงเรียนของผมมีนักเรียน 103 คน ครับ ที่ผมถามเรื่องขอย้ายตัดโอนไม่ใช่หนีปัญหาครับ จริงๆอยากย้ายไปอยู่ใกล้ๆบ้านครับ ขอบคุณมากครับ

ตอบ...หมายเลข 85...

การย้ายก็ขึ้นอยู่กับโรงเรียนต้นสังกัด และโรงเรียนที่จะรับย้ายด้วยค่ะ ว่าเขาจะให้ไปหรือไม่ เพราะอัตรากำลัง + เงินค่าจ้างของลูกจ้างประจำโรงเรียนเดิมจะหายไปตั้งไว้ที่โรงเรียนแห่งใหม่ค่ะ บางครั้ง ผอ.ร.ร. ก็จะไม่ยอมหรอกค่ะ ต้องเข้าใจผู้บริหารด้วย (สำหรับการบริหารเขาเรียกว่าเสียอัตรา + เงินเดือน)ไปค่ะ...อีกอย่างถ้าขึ้นกับเขตพื้นที่ ก็อยู่ที่ ผอ.เขตด้วยนะค่ะ ว่าจะให้หรือไม่...ก็ลองปรึกษาผอ.ร.ร. ดูสิค่ะ ว่าได้หรือไม่...อ้างเหตุผลว่าอยู่ใกล้บ้านคงจะไม่ได้หรอกค่ะ...อาจฟังไม่ขึ้น...ควร จะ อ้างเหตุผลที่ฟังดูน่าเห็นใจ เช่น ดูแลบิดามารดา (ถ้าป่วยหนัก)...เป็นต้นค่ะ...

ขอคุณหลายๆครับอาจารย์บุษยมาศครับที่มาตอบคำถาม ผมจะลองดูครับ

ผมเป็นตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ทำงานมา 20 กว่าปีในกรมป่าไม้ แต่ปฏิบัติงานจริงผมทำหน้าที่ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่า มาตลอด

ตามความสามารถและย้ายเปลี่ยนหน่วยมามากเป็น 10 หน่วยแล้ว มีลูกน้องในหน่วยแต่ละหน่วยประมาณ 8-15 คนที่เป็นพนักงานของรัฐ (ลูกจ้างชั่วคราว) ผมอยากทราบว่าจะสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้หรือไม่เพื่อให้ตรงกับลักษณะของงาน และบทบาทหน้าที่

กรุณาตอบให้ความกระจ่างด้วย ขอขอบคุณล่วงหน้า

ตอบ...คุณ tawin...

ค่ะ ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 88...

ถ้าปัจจุบันไม่ได้เป็นพนักงานขับรถยนต์แล้ว แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่า (มีคำสั่งให้ปฏิบัติ)...คุณลองดูมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของตำแหน่งที่คุณต้องการเปลี่ยนไปสิค่ะ...ว่าจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งใด และให้ดูหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งนั้นที่คุณต้องการเปลี่ยนว่าได้หรือไม่...ถ้าได้ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการของคุณค่ะ...แต่ต้องดูองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านด้วยนะค่ะ ว่าเปลี่ยนไปแล้วดีขึ้นกว่าเดิมไหม ค่าจ้างสูงกว่าเดิมไหม...หน้าที่ที่คุณปฏิบัติตรงกับตำแหน่งหรือไม่...ถ้าตรงก็สามารถทำได้ค่ะ แต่ต้องปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการด้วยนะค่ะ...อธิบายเหตุผลให้เขาเข้าใจด้วยนะค่ะ...ว่าเพราะเหตุใด...ถ้าสงสัยก็ถามมาใหม่นะค่ะ เพราะตำแหน่งมากจริง ๆ ผู้เขียนก็เลยไม่ทราบว่าคุณทำหน้าที่เรื่องใด และต้องการไปอยู่ตำแหน่งใดค่ะ...จึงไม่สามารถตอบได้ละเอียดมากนัก...ลองศึกษาตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนในบล็อกที่ผู้เขียนนี้ก็ได้ค่ะ จะมีหลายบล็อกค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 88...

ลองศึกษาได้จากบล็อกด้านล่างนี้ก็ได้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

.......ท่านบุษบมาศ.......ครับ... ได้ศึกษาข้อมูลอะไรต่อมิอะไรหลาย ๆ อย่าง ก็นับว่าท่านได้ให้ข้อมูลที่แจ่มแจ้ง สามารถเข้าถึงข้อมูลน่าเชื่อถือได้ทุกเรื่องตลอดถึงมีเรื่องอ้างอิงอยู่เสมอ......แต่มีอีกอย่างที่พวกเรายังมิทราบ...นั่นคือ แท่งเงินเดือนของพวกเรา (ลปจ.) หาดูที่ใหนไม่ได้เลย ท่านพอจะอนุเคราะห์นะครับ.....ว่ามีขั้นมีตอนกันอย่างไร ...พวกผม ตีบตันที่ 15,260.. จะได้อยู่ขั้นไหน อะไรทำนองนี้ ก็ขอขอพระคุณล่วงหน้านะครับ......... โอกาสหน้าจะมาเยี่ยมเยือนใหม่ นะครับ...สวัสดี...

ตอบ...หมายเลข 92...

สำหรับแท่งเงินเดือนของลูกจ้างประจำ ผู้เขียนได้นำมาลงให้แล้วในบล็อกค่ะ ศึกษาได้ตามบล็อกด้านล่างนี้ก็ได้ค่ะ... ความจริงผู้เขียนได้เขียนไว้หลายเรื่อง คลิกที่คำว่าบล็อกด้านบน แล้วคลิกที่สารบัญด้านขวา ก็จะมีเรื่องที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ 400 กว่าเรื่องแล้วค่ะ...ถ้าสะดวกในเรื่องของลูกจ้างประจำ (เฉพาะ) คลิกตามบล็อกด้านล่างนี้เลยค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

ต้องศึกษาดูหลาย ๆ บล็อกนะค่ะ เพราะเรื่องจะมีความเชื่อมโยงกันค่ะ...

....................ก็นานวันครับที่ได้เข้ามาเยี่ยม...เหตุภาระกิจอยู่ในภาคสนามเสียส่วนใหญ่.....ครับ....คนกรมป่าฯ ....ก็ขอขอบพระคุณในความกรุณาในการตอบที่รวดเร็วทันใจ ของท่านเป็นอย่างมาก ในการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องแท่งของ ลปจ. แต่ในบล๊อกที่ท่านได้ให้ไว้ศึกษานั้น ผมก็พอได้เข้าดู...และอ่านในหนังสือเวียนจากหน่วยงานมาบ้างแล้ว แต่คำตอบก็ยังไม่เป็นที่พอใจอย่างหนึ่งครับ คือแท่งและขั้นวิ่งของอัตราค่าจ้างของพวกเรานั้นยังไม่มีครับ ผมได้เข้าดเยี่ยมในบล๊อกของ "สมาคมลูกจ้างประจำเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่" ดู ได้เห็นเป็นขั้นๆ มีขี้นวิ่งที่ชัดเจน โดยแยกเป็นกล่ม 1 , 2 อะไรอย่างนี้ ก็ไม่แน่ใจ ไม่ทราบว่าจะเป็นหลักการที่จะใช้กับพวกเราในขณะนี้หรือไม่ ? ....ก็ขออนุเคราะห์คลิ๊ก....เข้าที่ตามที่ผมได้เข้าดังนี้นะครับ...แล้วจะคอยคำวิเคราะห์อีกครั้งนะครับ โดยเข้าไปที่ ...."มุมเสวนาลูกจ้างประจำของส่วนราขชการ"....และดูที่หน้าต่างที่ 3 ชื่อ " "สมาคมลูกจ้างเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่" " ครับ ...ซึ่งทั้งหมดก็จะมีหลายๆ....เรื่องและเลื่อนลงไปก็จะพบกรอบ...."ข่าวประกาศและเอกสารดาวน์โหลด"......และคลิ๊กเรื่อง...."บัญชีอัตราค่าจ้างตามกลุ่มงาน "ในเรื่องที่ 2

...................ปล.ถ้าเราเข้าหน้ากลูเกิ้ลโดยตรงที่....สมาคมลูกจ้างเขตฯ.....ก๊จะไม่พบมีแต่....มีลิงปิดตาเฝ้าหน้าเว๊ปอยู๋..555..ไม่ทรามว่าเป็นอย่างไร.........ขอบพระคุณ........

...........แก้ไข.......94...ที่ว่า....โดยเข้าไปที่......"มุมเสวนาลูกจ้างประจำของส่วนราชชการ" ไขเป็น....."มุมเสวนาลูกจ้างของส่วนราชการ"..ครับผม เหตุต้องรีบทำกับข้าวลูกๆ.........ขอบคุณ..

ตอบ...หมายเลข 94-95...

บัญชีขั้นวิ่งของกลุ่มลูกจ้างประจำ ผู้เขียนก็ได้นำลงไว้แล้วนี่ค่ะ...ลองศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...เหมือนของสมาคมลูกจ้างเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

http://gotoknow.org/file/bussayamas/group1.pdf

 

เรียนถามอ.บุษยมาศ

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลของรัฐ ตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ ทำหน้าที่รับผิดชอบการเงิน บรรจุมา 10 ปีอายุ 36 ปี เงินเดือน 10,850 บาท มีวุฒิการศึกษา ปวส.(สาขาคอม ฯ ) ไปสอบเข้ารับราชการได้ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน แต่ยังไม่ได้เรียกตัว แต่ถ้าเรียกตัวมาดิฉันขอถามอ.บุษยมาศ ว่าสมควรลาออกไปเป็นข้าราชการหรือไม่ มันจะคุ้มกันไหม เพราะคำนวนไม่เป็นว่าเงินเดือนก็เยอะแล้ว และก็อายุก็เยอะด้วย

ตอบ...หมายเลข 97...

ก็อีก 24 ปี เกษียณใช่ไหมค่ะ...ถ้าใช้บรรจุวุฒิ ปวส. เงินเดือนจะเท่ากับ 7,100 บาท สำหรับกระบวนการภายในถ้าเป็นข้าราชการ อาจมีการพอกขั้นขึ้น (ระบบเก่า) แต่ระบบใหม่ ไม่ทราบว่ามีหรือไม่นะค่ะ...ก็เรียกว่า อายุราชการก็อีกนานนะค่ะ...ถ้าจะไปบรรจุก็ได้ค่ะ...เราออกจากลูกจ้างประจำของรัฐ เราก็ได้บำเหน็จไปก้อนหนึ่ง...แล้วไปบรรจุเป็นข้าราชการ เงินเดือนลดมานิดหนึ่ง แต่เราก็ยังมีเงินบำเหน็จ คือ เงินค่าจ้าง 10,850 X 10 ปี ค่ะ = 108,500 บาท แล้ว กสจ. ไม่ทราบว่าเป็นหรือไม่ ถ้าเป็นคงได้มาอีกนิดหนึ่งนะค่ะ...สำหรับเวลาเหลือ อีก 24 ปี ก็น่าจะได้อยู่นะค่ะ ลองคำนวณดูก็ได้ ข้าราชการจะได้สิทธิในการเบิกค่าสวัสดิการ + สิทธิประโยชน์ อื่น ๆ ที่ข้าราชการพึงได้รับ อาจมีค่าเช่าบ้าน ถ้าเราโดนสั่งย้าย แล้วได้สิทธิ กบข. ถ้าเราสมัคร สิทธิในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ต่าง ๆ สิทธิในการกู้เงินเพื่อสร้างบ้าน ฯลฯ แล้วแต่เราค่ะ...ถ้าคำนวณเงินตอนเราเกษียณ น่าจะได้ประมาณ 18,000 กว่า (นี่ยกตัวอย่างไปตามขั้นธรรมดานะค่ะ ไม่รวมที่เราต้องทำผลงานเป็นชำนาญการ ชำนาญพิเศษ นะค่ะ) ถ้าเรารับบำเหน็จก็จะได้ 18,000 X 24 ปี = 432,000 บาท แต่ถ้าเรารับบำนาญ (จะมีกระบวนการคิด 60 เดือนสุดท้ายของการรับราชการ คือ นำเงินเดือน สมมุติได้ ปัจจุบัน 18,000 (ณ วันเกษียณ) พี่ประมาณให้นะค่ะ...ประมาณจากยอดที่ต่ำสุดแล้วค่ะ...จะได้รับบำนาญ ประมาณ 12,600 บาท) แต่ในความจริง อาจได้รับเงินเดือนสุดท้ายมากกว่านี้ค่ะ...อยู่ที่ตัวเราต้องอัพเดทตัวเราเองให้มีผลงานค่ะ...ลองตัดสินใจก่อนก็ได้ค่ะ กับที่เราเป็นลูกจ้างประจำอยู่ แล้วอีก 24 ปี เราจะได้รับบำเหน็จเท่าไหร่ หรือรับบำเหน็จรายเดือนเท่าไร คุ้มหรือไม่ (คือ นำเงินค่าจ้างที่ตัน X ระยะเวลาที่รับราชการทั้งหมดค่ะ...สำหรับบำเหน็จรายเดือนจะได้น้อยมา คิดเป็นก็ประมาณ 70 % ของเงินค่าจ้างเดือนสุดท้ายก่อนเกษียณค่ะ...) ดูด้วยว่าที่ทำงานเดิม เราอยู่แล้วเป็นสุขใหม่ ถ้ามีความสุข แล้วพอไปเป็นข้าราชการ เราบรรจุที่ไหน ไกลบ้าน ห่างครอบครัวหรือไม่ เพราะการเป็นข้าราชการ ต้องมีการลงทุนสูงค่ะ ในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง...คุ้มหรือไม่ ก็แล้วจะคิดค่ะ...ถ้าไปเป็นข้าราชการ แล้วมีปัญหาในเรื่องครอบครัว ควรอยู่ใกล้ครอบครัวของเราดีกว่าค่ะ...ถ้าปัจจุบันเรามีความสุขดีอยู่แล้ว...ลองดูนะค่ะ...

จากหมายเลข 97 ขอขอบพระคุณอาจารย์บุษยมาศมากที่ให้ขอแนะนำดิฉัน อ่านแล้วรู้สึกดีมากมีกำลังใจในการทำงานถึงจะเป็นแค่ลูกจ้างประจำที่ใครดูถูกแต่ดีกว่าอีกหลายคนที่เป็นไม่ได้เท่าเรา ดิฉันตัดสินใจแล้วค่ะว่าถ้าโดนเรียกไปบรรจุข้าราชการจะไม่ไป และจะตั้งใจทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในตำแหน่งการเงิน และขอถามอาจารย์สัก 2 ข้อได้ใหม่ค่ะ

1. ถ้าจะเรียนต่อปริญญาตรีจะเรียนสาขาอะไรระหว่าง การจัดการทั่วไป 2 ปี หรือ สาขาบัญชี 4 ปี (เพราะดิฉันจบปวช.สายบัญชีและปวส.สายคอมซึ่งสายคอมต่อบัญชีไม่ ต้องใช้วุฒิปวช.สมัครเรียน ถ้าเรียนสายบัญชีก็ใช้สำหรับงานที่ทำ แต่เรียนสายการจัดการก็จบไว

2. ดิฉันบรรจุเป็นลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 1 พ.ย.2542 สามารถเลือกบำนาญได้ไหม

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างมากที่ให้คำปรึกษาแก่ดิฉัน

ตอบ...หมายเลข 99...

ค่ะ...ความจริงแล้ว ไม่ว่าข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ เราก็ทำงานให้กับรัฐเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกันตรงสวัสดิการที่จะได้รับเท่านั้นเอง...แต่คนเราชอบมาแบ่งชั้นกันเอง...เพราะเนื่องมาจากแต่เดิมระบบราชการเป็นระบบศักดินาไงค่ะ...พอมาปัจจุบันรัฐพยายามปรับเปลี่ยนระบบให้เป็นที่ผลงาน การทำงานเป็นทีม ไม่แบ่งชั้นค่ะ แต่ภาพเก่า ๆ ยังฝังอยู่ในข้าราชการที่ไม่เข้าใจความเป็นข้าราชการอย่างแท้จริงไงค่ะ...จึงทำให้ลูกจ้างประจำเกิดการดูถูกจากข้าราชการค่ะ...แต่ถ้าเราทำงานในหน้าที่ของเราดีแล้ว และเรียกว่า ดีกว่าข้าราชการบางคนอีก...ทำไปเถอะค่ะ...เราจงภูมิใจที่เราก็รับใช้ประเทศชาติเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกันที่ประเภทบุคลากรเท่านั้นเอง...

สำหรับคำถามที่ถาม...1. ถ้าเราทำงานตำแหน่งการเงิน ควรแนะนำให้เรียนทางบัญชีจะดีกว่าไหมค่ะ...ทราบค่ะว่ายากนิดหนึ่ง แต่ถ้าเรามีพื้นฐานอยู่แล้ว น่าจะเข้าใจมากขึ้นนะค่ะ...แต่ถ้าเรียนด้านการจัดการทั่วไป ก็ได้...เขาก็เรียนบัญชีเหมือนกัน แต่เป็นบัญชีพื้นฐานที่คนทั่วไปต้องทราบค่ะ...แต่จบ ปวส.มาแล้ว ทำไมไม่เรียนการจัดการละค่ะ แค่ 2 - 2 ปีครึ่งเองมังค่ะ ...ลดเวลามาอีกตั้งครึ่งหนึ่ง แทนที่จะเรียน 4 ปีไงค่ะ...เพราะเราเรียนเพื่อเพิ่มวุฒิการศึกษาเองนี่ค่ะ...ถ้าจะใช้ในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่อีก ลองศึกษาตำแหน่งที่เราเล็งว่าจะเปลี่ยนไป (แต่ต้องดูว่าเราทำงานนั้นอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน)...ว่าเขาต้องการวุฒิใดด้วยนะค่ะ...เพื่อในการตัดสินใจที่จะเรียนค่ะ...

2. ปัจจุบันเลือกรับบำเหน็จรายเดือนได้แล้วค่ะ...กฎ ระเบียบมีผลบังคับใช้แล้วนี่ค่ะ กว่าจะเกษียณ อีกตั้ง 24 ปี รวมปัจจุบัน อายุราชการก็ตั้ง 34 ปี ได้อยู่แล้วค่ะ... ถ้าต้องการให้มั่นคงอีก...ควรหารายได้อื่นเสริมก็ได้นะค่ะ ...แต่ถ้าไม่เดือดร้อนอะไร...ก็ทำงานแบบนี้ ไปเรื่อย ๆ ค่ะ...มีทางให้เลือกมากมายค่ะ อยู่ที่เราเลือกที่จะทำให้อนาคตและตัวเราดีขึ้นได้ค่ะ...

เรียน คุณบุษยมาศ

ดิฉันตำแหน่งพนักงานพิม ระดับ ส3 จะเปลี่ยนตำแหน่ง ธุรการการ ได้หรือเปล่า จบ ปวท.บัญชี มา

ปัจจุบันทำบัญชีเกณฑ์คงค้างของวิทยาลัย ทำบัญชี วิทยาลัยมา 14 ปีแล้วค่ะ ลูกจ้างประจำสามารถย้ายกลับภูมิลำเนาได้หรือเปล่า

ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

ตอบ...คุณน้ำฝน...

การเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานพิมพ์ระดับ ส3 เป็นธุรการ ลองดูคุณสมบัติของตำแหน่งธุรการด้วยนะค่ะว่า ถ้าเปลี่ยนไปแล้ว ตำแหน่งธุรการ ค่าจ้างสูงเท่ากับพนักงานพิมพ์หรือเปล่า ถ้าได้ต่ำกว่า ก็ไม่ควรไป เป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ ส3 แล้วค่อยเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ ส4 ไม่ดีหรือค่ะ เพราะค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นไงค่ะ...การเปลี่ยนตำแหน่งก็ต้องดูด้วยว่า เราทำงานด้านธุรการ งานสารบรรณด้วยหรือไม่ค่ะ (ให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งธุรการนะค่ะ)...ถ้าค่าจ้างเพิ่มขึ้น งานก็เคยทำ ก็สามารถเปลี่ยนได้ แต่อยู่ที่ส่วนราชการด้วยนะค่ะ ว่าจะอนุญาตหรือไม่ค่ะ)...

เท่าที่เคยเห็น จะเป็นการย้ายกันภายในสังกัดเดียวกันค่ะ แต่การย้ายกลับภูมิลำเนา นี่ ต้องถามหัวหน้าส่วนราชการของคุณ กับส่วนราชการปลายทางว่าจะรับย้ายหรือไม่...แต่ที่ทราบมา หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดเขาจะไม่ค่อยปล่อยตัวไปหรอกค่ะ  เป็นเพราะส่วนราชการจะต้องเสียอัตราของคุณไปที่ที่คุณจะย้ายไปค่ะ...แต่ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการที่คุณสังกัด และส่วนราชการที่คุณจะไปดูสิค่ะ ว่าได้หรือไม่...เป็นการยากอยู่เหมือนกันค่ะ...ยิ่งถ้าตัดตำแหน่งไปด้วยแล้ว จะไม่ค่อยปล่อยไปหรอกค่ะ...

สวัสดีครับ ท่าน ผอ. บุษยมาศ

ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณท่าน ผอ. มากที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่านมาให้ความรู้แก่พวกเราชาวลูกจ้างประจำทุกคน

ผมได้ติดตามความเคลื่อนไหวของลูกจ้างฯ มาตลอด แต่ไม่มีเวปไหนที่ให้ความรู้และความกระจ่างเท่า blog ของท่าน และความรู้นี้สามารถนำไปอ้างอิงกับผู้บังคับบัญชาได้ดีเป็นยิ่งครับ

ผมขอเรียนถามท่านดังนี้ครับ

ปัจจุบันผมปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 2 สังกัด สพม.เขต 1 กทม. เงินเดือน 13360 ซึ่งผมได้ดูจาก blog ของท่านแล้ว เงินเดือนของผมจะไปอยู่ที่กลุ่ม 1 ใช่หรือไม่ครับและจะสามารถเปลี่ยนกลุ่มเป็น 2 และ 3 ได้ไหมครับ

ผมจบปริญาตรี 2 ใบ คือ บริหารธุรกิจ (ทรัพยากรมนุษย์) และ วทบ. เทคโนโลยีสารสนเทศ (เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสาร) มีใบประกอบวิชาชีพครู

1. ในเมษานี้ ผมจะใช้วุฒิ วทบ. เทคโนโลยีสารสนเทศ ไปสมัครสอบครูคอมพิวเตอร์ ผมเคยโทรไปถามทางเจ้าหน้าที่แล้ว

เขาบอกว่าวุฒินี้ไม่ใช่วุฒิเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ครับ ทั้ง ๆ ที่ก็มีหน่วยกิตคอมพิวเตอร์ตรงคุณสมบัติที่กำหนด ท่าน ผอ. โปรดให้คำแนะนำแก่ผมด้วยครับ

2. การให้สิทธิครูอัตราจ้าง พนักงานราชการ ที่ทำงานครบ 3 ปีสอบบรรจุเป็นการภายใน อยากทราบว่าลูกจ้างประจำจะสามารถใช้สิทธิตรงนี้สอบได้หรือไม่ครับ

ท้ายนี้ผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านนับถือ โปรดดลบันดาลให้ท่าน พร้อมบุคคลในครอบครัวมีความสุขและความเจริญนะครับ

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

นายชัยยศ

ตอบ...คุณชัยยศ...

พนักงานพิมพ์ ระดับ 2 จะอยู่กลุ่มค่าจ้างที่ 1 ค่ะ ค่าจ้างขั้นต่ำ 5,840 ขั้นสูง 18,190 บาทค่ะ...สามารถเลื่อนระดับได้ค่ะ เป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ค่าจ้างอยู่กลุ่มที่ 1-2 เป็นเลื่อนระดับได้เป็นระดับ 4  แต่ส่วนราชการต้องดำเนินการสอบเลื่อนให้นะค่ะ...แต่คุณต้องได้รับค่าจ้างเต็มขั้นกลุ่มที่ 1 ก่อนค่ะ...หรือไม่ก็คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ค่ะ ตามบล็อกและไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...ลองศึกษาดูค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/support.pdf

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

ใจเย็น ๆ นะค่ะ ความก้าวหน้าของตำแหน่งพนักงานพิมพ์ จะสามารถทำได้ถึงระดับ 4 ค่ะ เพราะที่ ม. ก็มีลูกจ้างประจำเป็นระดับ 3 พวกเขารอให้คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งได้ ม. จะดำเนินการให้เขาสอบพิมพ์ดีดได้ตามมาตรฐานที่ กระทรวงการคลังกำหนดค่ะ...ขึ้นอยู่กับความสามารถของพวกเขาด้วยค่ะ...ถ้าพิมพ์ได้ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นระดับ 3 ค่ะ แล้วพอคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งครบก็สามารถเลื่อนเป็นระดับ 4 ได้ค่ะ...เห็นไหมค่ะ ว่าความก้าวหน้าในตำแหน่งนี้มีค่ะ...แต่ต้องพิมพ์ดีดได้ตามเกณฑ์นะค่ะ...

1. การที่จะรับเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ หรืออาจารย์ที่สอนคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่เขาจะรับสาขาที่จบ คือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ค่ะ...เหตุที่เจ้าหน้าที่ไม่รับสาขาวิชาที่คุณจบ ต้องดูหน่วยกิตที่คุณเรียน เปรียบเทียบกับ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ดูนะค่ะ ว่าวิชาเรียน + หน่วยกิตเทียบกันได้หรือไม่...แต่ถ้ามาสมัครที่ ม. โดยเปิดรับเจ้าหน้าที่หรืออาจารย์สอนคอม ฯ เราก็จะรับผู้ที่จบสาขาวิทยาการคอม ฯ เพียงอย่างเดียวค่ะ เพราะถือว่าเนื้อหาจะเข้มข้นและลึกกว่า...เพราะต้องดูแล และซ่อมบำรุงเครื่องได้ด้วยค่ะ  ไม่ใช่เพียงแต่รู้เรื่องการใช้โปรแกรมอย่างเดียว...แต่ก็ลองดูรายวิชา + หน่วยกิตที่ให้เปรียบเทียบก่อนก็ได้นะค่ะ ว่าเทียบกันได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ก็ขึ้นอยู่ที่คณะกรรมการว่าจะให้สมัครหรือไม่ค่ะ...(ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของส่วนราชการว่าต้องการรับไปเพื่อทำอะไรด้วยค่ะ...ถ้านำไปเพื่อซ่อมบำรุงด้วยละก็ คงสมัครไม่ได้หรอกค่ะ...)...ลองศึกษาอย่างที่บอกก่อนนะค่ะ...

2. การให้สิทธิครูอัตราจ้าง พนักงานราชการที่ทำงานครบ 3 ปี สอบบรรจุเป็นการภายใน ลูกจ้างประจำไม่มีสิทธิ์ไปสอบหรอกค่ะ เพราะเป็นนโยบายของรัฐต้องการเปลี่ยนถ่ายให้พนักงานราชการบางส่วน โดยแบ่งให้เป็น % ให้สามารถสอบเปลี่ยนจากพนักงานราชการเป็นลูกจ้างประจำค่ะ...

การที่เราได้รับปริญญาบัตร หลาย ๆ ใบ ก็เป็นการดีค่ะ เป็นการพัฒนาตนเองไปในตัวไงค่ะ...แต่ให้คำนึงถึงว่า เราเป็นลูกจ้างประจำในตอนแรกเราใช้วุฒิใดสมัครในการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ  ส่วนราชการจะยึดวุฒิแรกของเราเป็นมาตรฐานในการรับเราเข้าทำงานค่ะ สำหรับวุฒิที่เราได้ในภายหลัง จะเป็นวุฒิจากการพัฒนาตัวเราเองค่ะ ส่วนราชการจะทำการเพิ่มวุฒิให้...แต่ไม่สามารถนำวุฒินั้นมาเรียกร้องสิทธิที่จะทำให้มีเกิดขึ้นได้ค่ะ...เพียงแต่เพิ่มวุฒิ แสดงว่าคุณจบ ป.ตรี วุฒิใดให้เท่านั้นเองค่ะ...

ค่ะ ต้องขอขอบคุณนะค่ะ สำหรับคำพร เช่นเดียวกันค่ะ คำพรที่ให้มาก็ขอให้ย้อนกลับคืนคุณและครอบครัวเช่นเดียวกันนะค่ะ...สิ่งใดที่ผู้เขียนสามารถบอกและแนะนำให้ได้  นั่นคือ หน้าที่ของการเป็นข้าราชการค่ะ...ไม่ว่าจะสังกัดไหน ถ้าเราใช้ระเบียบเดียวกันสามารถชี้แจงและแนะนำกันได้ เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรและประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

เรื่อง ขอขอบคุณ

เรียน ผู้อำนวยการ บุษยมาศ

ตามที่ท่านได้กรุณาสละเวลามาให้ความรู้นั้น ทำให้ผมและลูกจ้างประจำในสังกัดเดียวกัน มีความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาตัวเองมากขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ เป็นกำลังใจในการทำงานได้เป็นอย่างดีครับ เพราะยังเชื่อว่ายังมีบุคคลอีกหลายท่านยังห่วงใยและคอยดูแลพวกเราชาวลูกจ้างประจำอยู่ ผมจะพัฒนาตัวเองต่อไปและพยายามสอบเข้ารับราชการให้ได้ครับ

ผมขออนุญาตนำความรู้ที่ได้จาก blog ของท่านนำไปขยายความรู้ให้ลูกจ้างประจำในสังกัดเดียวกันเข้าใจต่อไปนะครับ

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

ชัยยศ มานะดี

ตอบ...คุณชัยยศ...

ใช่เลยค่ะ...ยังมีข้าราชการอีกหลายคนที่คอยห่วงใย...แต่ท่านเหล่านั้นอาจมีเหตุผลหลายประการที่ไม่สามารถมาชี้แจงให้ทราบได้...(สำหรับข้าราชการไทย สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาในการทำงานในปัจจุบัน ถ้าสำหรับผู้สูงอายุ จะเกี่ยวกับเรื่องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ค่ะ...ยิ่งโปรแกรมที่มีลูกเล่นเยอะมาก ๆ ท่านเหล่านี้จะไม่เป็นกันหรอกค่ะ...ต้องคนที่มีพื้นฐานในเรื่องการปฏิบัติงานด้านการใช้คอมฯ มาก่อนถึงจะทำได้ค่ะ  ต้องเข้าใจว่าสมัยก่อนไม่มีเครื่องคอมฯ และเครื่องคอมฯ ก็พัฒนาตัวของมันเองเร็วมาก...มาปัจจุบันเป็นยุคของการสื่อสารกันทางเว็บไซต์ไงค่ะ...ถ้าข้าราชการทุกท่านทำได้ ผู้เขียนเชื่อว่าประเทศไทยเราจะพัฒนาไปได้มากกว่านี้นะค่ะ...เพราะองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวของข้าราชการในแต่ละคนที่เป็นคนรุ่นเก่า ๆ ผู้เขียนมีความเชื่อว่า  มีมากจริง ๆ ค่ะ  แต่ไม่สามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาได้  ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นไงค่ะ  แต่ก็ได้แต่หวังไว้ว่าข้างหน้า  เมื่อข้าราชการทุกคนเป็นแล้ว  การพัฒนาเรื่องการให้ความรู้แก่บุคลากรภาครัฐคงจะมากขึ้นนะค่ะ)... ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย ตลอดรวมทั้งบุคลากรที่ทำงานภาครัฐทุกคนค่ะ...สำหรับการทำงานภาครัฐแนวใหม่  จะเน้นที่ผลงาน + การพัฒนาตนเองของข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ + พนักงานราชการ และทุก ๆ คนที่ทำงานภาครัฐค่ะ...

ค่ะ ยินดีล่วงหน้าด้วยนะค่ะ สำหรับการพัฒนาตนเอง  ถ้าทำได้ ก็ลองสอบบรรจุเป็นข้าราชการดูนะค่ะ...เพราะสิทธิ สวัสดิการจะดีต่อตัวเราเองและครอบครัวด้วยค่ะ...อีกอย่าง  นั่นคือ  ภูมิใจในศักดิ์ศรีของการเป็นข้าราชการด้วยค่ะ...แต่การกระทำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นด้วยนะค่ะ ถึงจะเรียกว่ามีศักดิ์ศรีค่ะ...

ครับผม ขอขอบคุณท่าน ผอ. อีกครั้งครับ

ในโอกาสต่อไปถ้าพวกผม (ลูกจ้างประจำ) มีอะไรที่ไม่เข้าใจ คงต้องขอคำแนะนำจากท่านอีกนะครับ

นายชัยยศ มานะดี

พนักงานพิมพ์ ระดับ 2

สพท.กทม.1

ตอบ...คุณชัยยศ...

  • ขอบคุณค่ะ
  • ยินดีค่ะ...

สวัสดีครับ บุษยมาศ

ยินดีและรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งนะครับ ที่(อดีต) ลูกจ้างฯอย่างพวกเราที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพแล้วยังมีความปราถนาดีต่อกันและไม่ลืมกัน คงไม่มีใครรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกเท่ากับพวกเราชาว ลูกจ้างฯ

ได้อ่านประวัติของคุณบุศยมาศแล้ว ต้องขอคาราวะและชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง คุณบุศยมาศเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราชาวลูกจ้าง ฯ เป็นอย่างยิ่ง

ผมเองก็เช่นเดียวกันกับ คุณบุศยมาศเป็นอดีตลูกจ้างประจำคนหนึ่ง ที่ยังรู้สึกปรารถนาดีและผูกพัน(ทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันเป็นส่วนตัว)พวกเราชาวลูกจ้าง พวกเราชาวลูกจ้างยังต้องการผู้นำและที่ปรึกษาที่มีความเข้าใจกัน คงไม่มีใครทำหน้าที่นี้ดีเท่าพวกเรากันเอง

ว่างๆ เข้าไปช่วยตอบคำถามสมาชิกและร่วมพูดคุยกันบ้างใบเว็บบล็อคของ ม2ท. นะครับ

จาก Google > มุมเสวนาลูกจ้างส่วนราชการ

อดีตลูกจ้างประจำ.....

พงษ์ศักดิ์........ (ม2ท.)

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

หัวหน้างานผู้ป่วยสัมพันธ์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

สวัสดีอีกครั้งครับ ท่าน ผอ.บุษยมาศ

แฮะๆๆ ....แค่คำว่า " คุณ " ก็ยังรีบจนลืมพิมพ์ ที่จริงก็ผ่านเข้ามาในเว็บนี้หลายครั้งแล้วและก็แอบชื่นชมท่าน ผอ.อยู่เงียบๆ เนื่องจากมีเพื่อนสมาชิก Copy ความคิดเห็นของ ม2ท. มาวางไว้ในเว็บนี้ จึงต้องตามมาดูสักหน่อย

และจะขออนุญาตเอาเว็บของท่าน ผอ.ไปวางลิ้งก์ไว้บนเว็บบล็อคของ ม2ท. ด้วย เพื่อเพื่อนๆจะได้มีข้อมูลกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะท่าน ผอ. เป็นผู้บริหารงานด้านบุคลากรโดยตรง ย่อมรอบรู้ เข้าถึงและได้รับข้อมูลต่างๆ ของลูกจ้างได้ที่ถูกต้อง รวดเร็ว

และในโอกาสหน้าผมคงต้องขอความรู้เกี่ยวกับการบริหาร การพัฒนาบุคลากร และระเบียบต่างๆเกี่ยวกับ ข้าราชการและลูกจ้าง จากท่าน ผอ.บ้าง เพราะมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ต้องดูแล ให้ความเป็นธรรมถึง 118 คน มีหลากหลายตำแหน่งและหลายกลุ่มการจ้าง การมอบหมายงาน การทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ค่อนข้างหลากหลาย ในฐานะศษย์เก่าลูกจ้างด้วยกัน คงได้รับความเมตตาบ้างนะครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ.

......................................................................................................................................ม2ท.

สวัสดีค่ะ...คุณพงษ์ศักดิ์ (หมายเลข 109 - 110)...

  • ค่ะ ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณค่ะ...
  • ด้วยความยินดีและอนุญาตให้ Link บล็อกนี้ไปไว้บนเว็บได้ค่ะ
  • สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการหรือบุคลากรอื่น ๆ ที่ทำงานให้กับภาครัฐ ผู้เขียนมีความยินดีที่จะให้บริการวิชาการในสิ่งที่ตนเองมีความรู้ + ประสบการณ์ค่ะ...
  • และผู้เขียนก็จะพยายามนำความรู้ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรภาครัฐมาบอกกล่าวให้รับทราบค่ะ
  • ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ  ก็มีความสำคัญต่อการทำงานภาครัฐด้วยกันทุกฝ่าย...แตกต่างกันตรงหน้าที่ภาระงาน ความรับผิดชอบเท่านั้นเอง
  • สำหรับความก้าวหน้าในอาชีพ รัฐได้ดำเนินการให้แล้วตามระบบของแต่ละระบบ
  • จึงทำให้แต่ละระบบ (ข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ + พนักงานราชการ) นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้  ขึ้นอยู่กับที่เราเป็นบุคลากรประเภทไหนนั่นเอง
  • ปัจจุบัน  ผู้เขียนเห็นว่า การมีบล็อกนี้ มีประโยชน์ต่อการสื่อสาร  ติดต่อ  แจ้งให้ทราบ ดีมาก ๆ  เพราะทำให้ข่าวสาร ข้อมูลไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงมากนัก
  • และเป็นการทำงานตามระบบของภาครัฐที่มีความประสงค์ต้องการให้เป็นเช่นนั้นค่ะ
  • ข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถในส่วนราชการต่าง ๆ ยังมีมากนะค่ะ  แต่ขอบอกว่า  "ความคิด" และความสามารถของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป เช่น มีภารกิจส่วนตัวที่ต้องทำ  ไม่ชำนาญการเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์  ฯลฯ  จึงทำให้แต่ละส่วนได้รับข้อมูล ข่าวสาร ที่ไม่ทันต่อเหตุการณ์ไงค่ะ...
  • ยิ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น  เราก็ต้องตามให้ทันโลกเทคโนโลยี  สังเกตได้ถ้าเราตามไม่ทัน เราจะรู้สึกอึดอัด  แต่ถ้าเราตามทัน เราจะรู้สึกมีความสุข และสุขใจที่ได้เข้ามาเรียนรู้เพื่อเติมเต็มความรู้ของเราให้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไงค่ะ...
  • ซึ่งในอนาคต รัฐก็ต้องการให้เป็นเช่นนั้นด้วยค่ะ...
  • ยินดีที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำในสิ่งที่รู้ + ประสบการณ์ที่ตนเองพอรู้มานะค่ะ (ความจริงอยู่ที่ตัวเราบูรณาการในสิ่งที่เป็นประสบการณ์ + หลักการหรือแนวปฏิบัติที่เราได้ยึดปฏิบัติมาเท่านั้นเองค่ะ)...
  • ต้องขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ...

(เพิ่มเติม)...หมายเลข 111...

  • ค่ะ เคยเข้าไปอ่านใน "มุมเสวนาลูกจ้างในส่วนราชการ" แล้วค่ะ
  • ก็ โอ.เค นะค่ะ...
  • แล้วจะเข้าไปเยี่ยมอีกค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

เรียน คุณ ม2ท.

  • เข้าไปเยี่ยมที่เว็บไซต์แล้วนะค่ะ
  • แต่ทำไมแสดงความคิดเห็นแล้วไม่ขึ้นละค่ะ
  • หรือว่าเขียนแล้ว ต้องรอให้เจ้าหน้าที่นำไปขึ้นให้ค่ะ
  • เขียนไป 2 รอบ ค่ะ
  • ถ้าเป็นอย่างที่ว่าข้างต้น...ลบออกให้ 1 ความคิดเห็นนะค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีครับท่าน ผอ.บุษยมาศ

เผอิญเว็บ มุมเสวนาลูกจ้าง ยังมีปัญหาเรื่องของกระดานสนทนาอยู่เล็กน้อย ให้WM ตรวจสอบอยู่ แต่ก็ยังหาปัญหาไม่พบ

ปรกติ Post ขึ้น Web ได้เลยครับไม่ต้องให้ จนท. นำขึ้นให้ ผมเองก็เจอปัญหาบ่อยๆ เวลาจะขึ้นเว็บหากจะตอบยาวๆ

จะเขียนลงใน Word ก่อนแล้วค่อยนำไปวาง ไม่เช่นนั้นจะเสีบอารมณ์บ้าง

ผมขอเรียนถามเรื่องของการพิจารณาเลื่อนขั้นนิดนึงครับ อยากทราบว่ากรณีลูกจ้าง ฯ ขาดงาน (และเราลงโทษด้วยการสั่งตัดค่าจ้างในวันที่ขาดงานนั้น ) จะใช้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นในรอบ 6 เดือนนั้นได้หรือไม่ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ตอบ...คุณ ม2ท.

  • ต้องขอโทษด้วยนะค่ะ ที่ตอบช้า เพราะอบรม เรื่อง PART 2 วันเต็ม และช่วงนี้ net ก็ล่มบ่อยด้วยค่ะ เหมือนจะเข้ามาใน gotoknow ไม่ได้ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด
  • การสั่งตัดค่าจ้าง ผู้เขียนก็ไม่ทราบว่าสาเหตุใด เป็นโทษทางวินัยใช่หรือไม่
  • สำหรับการไม่เลื่อนขั้นในรอบ 6 เดือน ต้องดูเกณฑ์การพิจารณาด้วยนะค่ะว่า เข้าข่ายใน case ใด
  • ก็เพิ่งจะทราบเหมือนกันว่ามีกรณีขาดงานด้วย เท่าที่เคยเห็นว่า หัวหน้าส่วนราชการจะเรียกมาพบแล้วก็ว่ากล่าวกัน ถ้าไม่เกิน 15 วัน ตามเกณฑ์ค่ะ
  • ลองศึกษาในไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ ว่าเข้าข่ายหรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องเลื่อน การเลื่อนก็คือว่าขาดนานติดต่อกันกี่วันด้วยค่ะ
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussaya11112.PDF
  • ลองศึกษาดูนะค่ะ ถ้าสงสัยค่อยถามมาใหม่ แต่ต้องมีรายละเอียดให้มากกว่านี้นะค่ะ...

สวัสดีครับ ท่าน ผอ.บุษยมาศ

เน็ตคงมีปัญหาจริงๆครับ ได้เข้ามาเมื่อหลายวันก่อน แต่ปรากฏว่กระทู้ของผมหายไป (แสดงแค่ หน้าที่3 หน้าที่ 4 หายไปทั้งหมด)

ขออบพระคุณมากครับสำหรับไฟล์ที่แนะนำ เป็นประโยชน์สำหรับผมมากเชียวครับ กรณีของผมนั้น เจ้าหน้าที่ขาดงานไป 1 วัน(ก่อนหน้านี้ก็มีพฤติกรรมเช่นนี้ 1-2 ครั้ง ได้เตือนด้วยวาจาและหนังสือ และอนุญาตให้เขียนใบลาป่วย)

เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริการประชาชน (อยู่เวรกันหลายคน....ทำงานกันเป็นทีมครับ) การขาดงานมีผลกระทบ ต่อผู้รับบริการมากพอสมควร(แต่ไม่กระทบทางตรงซะทีเดียว) เพราะจะทำให้งานบริการโดยรวมล่าช้า (งานโรงพยาบาลนะครับ)

คำจำกัดความของ การขาดงาน ที่ชัดเจนไม่ทราบว่ามีว่าอย่างไรครับ (เป็นสิ่งที่ผมยังกังวลอยู่เรื่องการตีความ ของการขาดงาน ตามความเข้าใจและตามการกำหนดเงื่อนไขของผม กลัวว่าความเข้าใจของผม จะทำให้ จนท.ไม่ได้รับความเป็นธรรม)

แต่ที่ผมได้ทำข้อตกลง(เป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะต้องจัดให้มีการทำข้อตกลงฯ ระหว่างผู้บังคับบัญบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน ทุกระดับ ตั้งแต่คณบดี-ผอ.-หัวหน้าฝ่าย-หัวหน้างาน จนถึงคนงาน) ในการปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ผมได้ให้คำจำกัดความของการขาดงานไว้ว่า.....

การหยุดงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้าโดยไม่มีเหตุผลจำเป็น ( ผมกำหนดไว้ว่าต้องแจ้งการลาป่วย/กิจกรณีจำเป็นยิ่ง ต้องก่อนถึงเวลาเข้างานไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ....งานที่ผมดูแล มีบางหน่วยย่อย ต้องหมุนเวียนทำงานกันเป็น ผลัด คือเช้า - บ่าย-ดึก การไม่มาโดยไม่แจ้งลวงหน้า ทำให้ไม่สามารถจัดอัตรากำลังเข้าทดแทนได้ทันกาล โดยเฉพาะผลัดนอกเวลาราชการ ซึงทำให้การบริการผู้ป่วยมีปัญหา)

การลาป่วย...จะยินยอมให้ลาป่วยย้อนหลังได้ ...กรณีมีใบรับรองแพทย์มาแสดงประกอบการลา จึงจะยอมให้ลาป่วยตามปรกติ (หรือโทรฯมาลาป่วยล่วงหน้าตามข้อตกลง ก็ให้นับเป็นการลาป่วยตามปรกติ )

กรณีจะขอลากิจย้อนหลังหรือลาก่อนถึงเวลาเข้างาน 2 ชั่วโมง จะไม่อนุมัติให้ลา ยกเว้นมีเหตุจำเป็นยิ่ง ซึ่งจะต้องมีพยานหลักฐานหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งหัวหน้างานจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะให้ลากิจกรณีฉุกเฉินได้หรือไม่

....... สรุปว่า ถึงเวลาไม่มาทำงานและเงียบไปเฉยๆ....เมื่อมาทำงานในวันต่อมา จะแจ้งขอลาป่วย/กิจ กรณีนี้จะไม่ให้ ให้นับเป็นการขาดงาน (ยกเว้นเป็นไปตามข้อตกลงด้านบน จึงจะให้เป็นการลาป่วย/กิจ ตามปรกติ)

เหตุผลผมต้องทำข้อตกลงนี้ เพราะมีเจ้าหน้าที่หลายๆคน หยุดงานไปเฉยๆโดยไม่แจ้ง วันรุ่งขึ้นหรือวันที่ทำงานจึงแจ้งว่า ขอลาป่วย/กิจ ซึ่งทำให้งานเสียหาย

ปรกติการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาขั้น ผมก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับตามที่ท่าน ผอ.แนะนำมาในไฟล์นั่นแหละ

แต่ของกระทรวงศึกษา เท่าที่อ่านดู จะมีการออกเงื่อนไขเพิ่มเติมจากระเบียบของส่วนราชการทั่วไปคือ.....................

...............(1.7.2) มาทำงานสายเนื่องๆ (มากกว่า 9 วัน)

................(1.7.1) วงเล็บ 1.การลาบ่อยครั้ง (เกิน 8 ครั้ง)

เงื่อนไขของการไม่เลื่อนขั้นที่ผมทำอยู่ ก็ยึดตามระเบียบคือ....

...............ข้อ.1.4 ต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

...............ข้อ 7.2.1. ผู้ที่ถูกตัดเงินเดือน(ขาดงานแล้วตัดค่าจ้างในวันที่ขาดนั้น)

ไม่ทราบว่า หากผมจะนำแนวทงปฏิบัติของกระทรวงศึกษา ข้อ (1.7.2)มาทำงานสายเนื่องๆ (มากกว่า 9 วัน)

................(1.7.1)วงเล็บ 1.การลาบ่อยครั้ง (เกิน 8 ครั้ง)นำมาใช้กับบุคลากรของผมบ้างจะได้หรือไม่

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

แก้ไข....บันทัดที่16 นับจากด้านล่าง แก้ไขเป็นกรณีจะขอลากิจย้อนหลังหรือไม่ลาก่อนถึงเวลาเข้างานอย่างน้อย 2 ชั่วโมง จะไม่อนุมัติให้ลา ...

ตอบ...คุณ ม2ท.

  • จากที่อ่านมาข้างต้น...ถ้าเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการ...อันดับแรกควรยึดเกณฑ์ที่มาจากสำนักงาน ก.พ. ก่อนค่ะ
  • สำหรับระเบียบที่เป็นของมหาวิทยาลัยทำขึ้นไว้ในกรณีที่คุณบอกนั้น  เป็นการบริหารงานภายในของส่วนราชการ
  • ถ้าเราได้หักเงินเขาไว้แล้ว นั่นคือ เราได้ดำเนินการโทษเขาแล้ว
  • สำหรับการเลื่อนขั้นค่าจ้าง น่าจะใช้เกณฑ์กลางที่ สำนักงาน ก.พ. กำหนดนะค่ะ
  • คือ ถ้ามาสายเกิน 9 วัน หรือลาบ่อยครั้ง เกิน 8 ครั้ง (แต่ต้องมีข้อมูลหรือหลักฐานในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้นะค่ะ เช่น มาสายเกิน ที่ ก.พ.กำหนด)
  • อย่าใช้ระเบียบที่ว่าขาดราชการ 1 วันค่ะ เพราะการขาดราชการของลูกจ้างประจำก็ใช้เกณฑ์เดียวกับข้าราชการ คือ ขาดงานต้องไม่เกิน 15 วันค่ะ...ก็แสดงว่าเขาขาดได้ 1 วัน แต่เราก็ได้ลงโทษเขาไปแล้ว คือ หักเงิน
  • ลองใช้เรื่องมาสาย หรือลาบ่อยครั้งได้ไหมค่ะ ศึกษาให้ดีว่าได้ครึ่งขั้นหรือไม่ได้รับการเลื่อนขั้น...ลองดูนะค่ะ...

สวัสดีครับ ท่าน ผอ.บุษยมาศ

ขอบคุณมากนะครับ ปรกติการลงโทษ - การพิจารณาเลื่อนขั้น ผมก็จะยึดตามระเบียบและวินัยของลูกจ้างฯ ของ กพ.โดยเคร่งครัด การบริหารงานก็ไม่เคยคิดว่าเราเป็นเจ้านาย เขาเป็นลูกน้อง บอกผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอว่า พี่/ผม ก็เป็นเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ซึ่งมีภาระหน้าที่ กำกับดูแลงานให้บรรลุผลตามพันธกิจ มีหน้าที่เป็นผู้นำในการพัฒนาและแก้ปัญหา

แต่เมื่อเจอผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งมาเกาะระบบอยู่ ก็เหนื่อยใจเหมือนกัน คนที่ทำงานร่วมด้วยจะหมดกำลังใจและท้อถอยกันมาก (ดังที่ทราบแหละครับ วินัยและระเบียบการบริหารงานบุคคล ของราชการไทย ตามที่ กพ.กำหนด มันยืดหยุ่นมาก ไม่แย่มากจริงๆ เราทำอะไรไม่ค่อยได้เลย จนทำให้คนเห็นแก่ตัว แฝงตัวอยู่มาก )

ขอถามข้อสงสัยอีกข้อนึงครับ...............

อยากทราบว่าลูกจ้าง ฯ สามารถให้ผู้อื่นทำงานแทน(จ้าง)ได้หรือไม่ (เป็นวันราชการหรือวันทำงานปรกติ ซึ่งไม่ใช่OT)

ผมคลับคล้าย คลับคลาว่า ...เคยได้อ่านพบในประกาศสำนักนายก หรืออะไรสักอย่างเนี่ยละ แต่นานหลายปีมาแล้ว (ตั้งแต่ยังเป็นลูกน้องเค๊าอยู่) สรุปได้ทำนองว่า ลูกจ้าง / ข้าราชการไม่สามารถให้ผู้อื่นทำงานแทนได้ เพราะภาระหน้าที่ ที่ทางราชการมอบหมายเป็นหน้าที่เฉพาะตน ไม่ทราบว่า ท่าน ผอ. มีข้อมูลนี้บ้างไหมครับ

PART คืออะไรครับ / ที่จริงผมก็จบด้านการบริหารภาครัฐมา (รัฐศาสตร์ - บริหารรัฐกิจ) แต่นานมากแล้ว เคยอบรมหลักการบริหารมาหลายหลักสูตรเหมือนกัน ยังไม่เคยได้รู้จัก PART เลย

ปัจจุบันมีเครื่องมือทางการบริหารใหม่เกิดขึ้นมากมาย จนตามไม่ค่อยทันเหมือนกันโดยเฉพาะในภาคเอกชน

(ปัจจุบันผมเรียนหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงอยู่ (ใกล้จบแล้ว...ที่จริงโดยตำแหน่งผมเป็นผู้บริหารระดับกลาง) มีการเชิญผู้บริหารองค์กรภาครัฐวิสาหกิจ/เอกชน มาเป็นวิทยากร บอกตรงๆครับ ประสิทธิภาพของการบริหารภาครัฐของเรายังตามหลังรัฐวิสาหกิจและเอกชนอยู่มาก แต่อย่างว่าแหละครับพันธกิจและบริบท มันต่างกัน )

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีค่ะ...คุณ ม2ท.

  • ค่ะ...ตามที่บอกข้างต้นนั้น เป็นห่วง เพราะถ้าเรานำระเบียบของมหาวิทยาลัยมาเป็นตัวกระทำต่อเขา จะทำให้เป็นช่องว่างให้เขากลับนำมาเป็นข้อมูลเล่นแง่กับส่วนราชการได้ (ถ้าเขาทราบกฎหมาย)
  • แต่ความจริง ลูกจ้างประจำเช่นที่คุณบอก ก็ยังมีแฝงอยู่ในระบบราชการไทยอีกมากค่ะ  น่าสงสารประเทศชาตินะค่ะ ที่ทำให้คนที่เขาทำงานกันอย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องมาปะปนกับคนที่ไม่ค่อยทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดินได้อย่างเต็มกำลังให้คุ้มค่ากับค่าจ้างค่ะ
  • รัฐจึงต้องปรับระบบการบริหารจัดการใหม่ไงค่ะ...ก็ดูว่า ถ้าเขาไม่มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะเปลี่ยนให้สูงขึ้นได้ ส่วนราชการมีสิทธิ์ที่จะไม่ต้องทำให้เขาหรอกค่ะ แต่เราต้องมีเหตุผลอธิบายให้ได้นะค่ะ
  • การจ้างคนอื่นทำงานแทนไม่ได้หรอกค่ะ...ให้ศึกษาระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 สิค่ะ ว่า ลูกจ้างประจำที่ทำงานให้กับรัฐคือใคร + คำสั่งบรรจุ +คำสั่งมอบหมายงาน  ถ้าเป็นชื่อลูกจ้างประจำคนนั้น ก็หมายถึงรัฐจ้างคนนั้นทำงานไม่ใช่มอบหรือจ้างผู้อื่นทำงานแทนได้หรอกค่ะ...ถ้าเขาจ้างแสดงว่าเขากระทำผิดการว่าด้วยระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 + คำสั่งบรรจุ + คำสั่งมอบหมายงานแล้วละค่ะ...
  • เรื่อง PART พอดี ท่านอธิการบดีของ มรพส. เคยเป็น ผอ.สำนักงบประมาณ ท่านจะรู้จักคนในสำนักงบประมาณ ท่านได้เชิญ ผอ.ส่วนพัฒนาระบบงบประมาณและการจัดการ 5 สำนักพัฒนาระบบงบประมาณ สำนักงบประมาณ เป็นวิทยากรให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ มรพส.เมื่อเดือนที่แล้วนี้เองค่ะ
  • ก็พอมีเอกสาร ครั้งแรกว่าจะเขียนใน blog เรื่อง PART  เหมือนกัน แต่ยังมีมีเวลา เพราะช่วงนี้งานเข้ามากจริง ๆ ค่ะ เอาไว้สักวัน สองวันนี้ พอว่าง ๆ จะนำมาเขียนให้ทราบก็แล้วกันนะค่ะ
  • เอาเป็นพออธิบายในเบื้องต้นก็แล้วกันนะค่ะว่า PART คืออะไร?...
  • PART เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามผลและการประเมินผลของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ เนื่องจากเป็นการปรับระบบการเงินและการงบประมาณ ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับระบบงบประมาณ SPBB โดยเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ ผลผลิต กิจกรรม
  • PART ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ โดยต้องตรวจ 3 ระบบ ได้แก่  วางยุทธศาสตร์  Action Plan การติดตามประเมินผล(ดูจาก Report) ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ค่ะ
  • PART จะใช้ในการติดตามประเมินผลงบประมาณจาก Input Process Output Outcome Impact  คือ  จะใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลเป็นจุด ๆ โดยจะทำให้ทราบว่ามีจุดใดผิดพลาด
  • PART เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ  อีกประมาณ 5 ปี ถ้าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายสมดุล จะต้องนำ เครื่องมือ PART เข้ามาใช้กับส่วนราชการค่ะ...บอกได้เลยว่าในอนาคตส่วนราชการทุกส่วนจะเริ่มเข้มข้นมากขึ้นค่ะ  ในการได้รับงบประมาณจากรัฐที่จัดสรรให้ PART จะเป็นตัวมาวัดว่า ส่วนราชการเขียนโครงการถูกต้องหรือไม่ ไล่ตั้งแต่การจัดทำยุทธศาสตร์ของกระทรวง แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี  แผนกลยุทธ์  แผนปฏิบัติ  กิจกรรม  โดย PART จะวัดทุกจุดค่ะ  โดยจะวัดว่าที่ส่วนราชการได้รับจัดสรรงบประมาณไปนั้น  นำไปปฏิบัติอย่างคุ้มค่ากับเงินที่ได้รับจัดสรรไปหรือไม่  เรียกว่า  เพื่อความโปร่งใสของระบบและคุ้มค่าหรือไม่  ถ้าเป็นบริษัท เช่น รถยนต์ที่ผลิดมาขาย เขาจะมีกระบวนการผลิดในการประกอบรถยนต์ที่แต่ละขั้นโดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบแต่ละจุดมีหน้าที่ทำอย่างไร เป็นกระบวนการ ถ้ามีส่วนใดผิดพลาด เช่น รถยนต์ Honda CRV ที่โดนทุบนั้น บริษัทก็พยายามหาจุดที่ลูกค้าทุบเพราะว่าขับไปแล้วมีน้ำมันหยดไปตลอดทาง  เมื่อแจ้งบริษัทแล้วไม่รับทราบ ลูกค้าเลยโมโหเลยต้องทุบ บริษัทเลยต้องเข้าไปตรวจสอบ และก็พบว่าเหตุที่น้ำมันหยดเป็นเพราะหัวหน้าในการขันน๊อตให้เด็กฝึกงานที่ยังขาดประสบการณ์ไปขันน๊อต  แทนที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์หรือความชำนาญการในการขันน๊อตได้กระทำการเอง นี่คือ เหตุที่ทำให้ทราบว่าบริษัทมีข้อผิดพลาดที่จุดใด
  • PART ก็เช่นกัน เป็นเรื่องคล้าย ๆ กับที่ผู้เขียนเล่ามาให้ฟังค่ะ  เพราะต่อไปจะเป็นการวัดที่เป็นระบบมากขึ้น
  • เหตุที่ต้องนำเครื่องมือ PART ซึ่งมาจาก USA. มาใช้ เพราะเมื่อปี 2546 ได้ทดสอบกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม + กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มาแล้ว
  • และในปี 2547 ก็ทดสอบใช้กับ 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมสุขภาพจิน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมชลประทาน กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงบประมาณ แล้วค่ะ
  • และก็เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ว่าหน่วยงานที่ของบประมาณแผ่นดินต้องส่งผลงานประเมิน PART ค่ะ
  • สำหรับรายละเอียดอื่น ขอนำไปเขียนใน blog เรื่องการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จการใช้จ่ายงบประมาณด้วยเครื่องมือ PART ก็แล้วกันนะค่ะ...
  • ปัจจุบันรัฐจึงพยายามการทำงานของภาครัฐให้ใกล้เคียงภาคเอกชนค่ะ...ก็ไม่ทราบว่าจะได้มากน้อยเพียงใด เพราะระบบราชการติดด้วยหลายอย่างในการบริหารจัดการ  โดยเฉพาะความยืดหยุ่นจะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าภาคเอกชนค่ะ  แต่รัฐคงใช้เครื่องมือบางตัวเท่าที่พอจะทำได้กระมังค่ะ เพราะเงินเดือนข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. ก็แจ้งหนังสือออกมาใช้แล้วว่าข้าราชการที่บรรจุใหม่ 1 ต.ค.53 ได้รับเท่าไร และ 1 เม.ย.54 เท่าไร 1 ต.ค. 54 และ 1 เม.ย. 55 ออกมาใช้เป็นระยะ ๆ เลยนะค่ะ  แต่การทำงานก็ต้องได้ผลงานตามที่รัฐต้องการค่ะ
  • เพื่อเป็นการเทียบเคียงเงินเดือนกับของภาคเอกชนไงค่ะ  แต่ก็ต้องคอยติดตามต่อไปว่าจะไปได้กันมากน้อยเพียงใด  ขึ้นอยู่กับข้าราชการและบุคลากรที่ทำงานภาครัฐต้องตามให้ทันค่ะ เพราะปัจจุบันเป็นเรื่องการบริหารภาครัฐแนวใหม่ด้วยสิค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีอีกครั้งครับ ท่าน ผอ.

น่าสนใจมากครับ แล้วจะติดตามอ่านครับ ที่องค์กรของผม ปีที่ผ่านมา ก็เริ่มนำระบบคล้ายๆกับ PART ที่ท่าน ผอ.กรุณาเล่าให้ฟังมาใช้บ้างแล้ว คือจะวัดความสำเร็จของหน่วยงานต่างๆจากความสำเร็จของงานเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ

(ที่องค์กรของผมนำเอาระบบSAP มาใช่ได้ 2 ปีแล้ว ทำให้ระบบสามารถเก็บ-คำนวณต้นทุนด้านต่างๆ ของหน่วยงานได้ ชัดเจน รวดเร็วและวิเคราะห์ได้ลึกถึงระดับบุคคลเลยเชียว)

โดยผอ.จะทำข้อตกลงกับหัวหน้าฝ่าย / หัวหน้างาน ถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนซึ่งจะเป็นประเด็นหลัก ประเด็นหนึ่งการพิจารณาความดี ความชอบของหัวหน้าฝ่าย / หัวหน้างาน

ขอบคุณนะครับ

สวัสดีค่ะ...คุณ ม2ท...

  • PART จังหวัดทดลองใช้เมื่อปี 2552 และปี 2553 เริ่มใช้แล้วค่ะ
  • น่าสนใจเรื่อง SAP นะค่ะ...ถ้าอย่างไรแล้วขอความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนกันบ้างนะค่ะ  เพราะ มรพส. เป็น ม. น้องใหม่ การจะทำสิ่งใดให้สมบูรณ์เหมือน ม.เดิม คงไม่เท่าหรอกค่ะ...
  • ที่สนใจ เพื่อนำมาปรับใช้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัยค่ะ
  • พยายามจะทำให้ เป็น  "ม.ที่จิ๋วแต่แจ๋วค่ะ"...
  • ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ...

สวัสดีครับผอ ผมติดตามอ่านข้อมูลอาจารย์ของอาจารย์มาตลอด ผมขอรบกวนอาจารย์สักนิดคงไม่ว่านะครับ

1 เดิม ผมเป็นนักการภารโรง เปลี่ยนเป็นพนักงานบริการ ตอนนี้เงินเดือนเต็มขั้นแล้ว ผมรอว่าเขตเมื่อใหร่จะมีคำสั่งปรับตำแหน่งใหม่ หรือว่าต้องรอจาก กระทรวงการคลัง สั่งมา อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ ผมได้แต่ รอแล้วรอ เมษาก็แล้ว ตุลาก็แล้ว ก็ยังไม่มีว่าจะมีคำสั่งใดเลย ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะเดินไปทิศทางใด ผู้บังคับบัญชาก็ยังตอบไม่ได้

ท้ายนี้ขอให้อาจารย์มีแต่ความสุขความเจริญในการงานหน้าที่และเป็นที่พึ่งพวกเราชาวลูกจ้างผู้น้อยๆ ขอขอบพระคุณยิ่ง

จากลูกจ้างสพฐ สระบุรี

ตอบ...หมายเลข 123...

  • ตอนนี้ เห็นว่า สพฐ. แจ้งมาให้รอหนังสือสั่งการกระมังค่ะ ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งต่าง ๆ ค่ะ
  • จนกว่า สพฐ.จะมีหนังสือแจ้งมาว่าให้ปฏิบัติได้ค่ะ
  • เหตุที่ทราบเพราะมี จนท.ของ สพท.นนทบุรี หรือ กทม. นี่แหล่ะค่ะ บอกกับผู้เขียนมาว่า สพฐ.ให้สพท.รอการสั่งการค่ะ
  • ในระหว่างที่รอ คุณก็ลองศึกษาเรื่องในบล็อกที่ผู้เขียนเขียนไว้ก็ได้นะค่ะ
  • การศึกษาให้อ่านจากบล็อกด้านล่างขึ้นไป บล็อกบนสุดจะเป็นข้อมูลล่าสุดค่ะ
  • การที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั้น กรณีที่คุณค่าจ้างเต็มขั้นแล้ว ให้ดูคำสั่งที่ได้รับมอบหมายให้คุณปฏิบัติงาน ว่าเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง + ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่คุณต้องการไปค่ะว่ามีคุณสมบัติที่จะไปตำแหน่งใหม่ได้หรือไม่ เช่น ตำแหน่งครุภัณฑ์ พนักงานธุรการ พนักงานการเงินและบัญชี ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ แล้วต้องดูงานด้วยว่าที่เราได้ปฏิบัติตรงกับตำแหน่งใหม่หรือไม่
  • ถ้าได้ก็ลองปรึกษาทางผู้บริหาร + จนท.ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป
  • แต่ต้องศึกษาเรื่องให้ละเอียดนะค่ะ เพราะปัจจุบันเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเองค่ะ
  • อย่าหวังพึ่งแต่เจ้าหน้าที่ เพราะถ้าเจ้าหน้าที่ไม่เก่งจริง จะทำให้เราเสียโอกาสในการปรับตำแหน่งไป
  • แต่การปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถ  การพัฒนาตนเองของเราด้วยนะค่ะ ถ้าความสามารถคุณมีมากกว่าตำแหน่งที่ได้รับในปัจจุบัน ก็ควรปรับค่ะ
  • แต่ถ้าความสามารถไม่ถึงตำแหน่งใหม่ก็ไม่ควรปรับเปลี่ยนค่ะ ควรพัฒนาตนเองให้ได้ก่อนค่ะ เพราะรัฐทำตำแหน่งใหม่นี้ไว้เพื่อรองรับกับความก้าวหน้าในงานอาชีพสำหรับลูกจ้างประจำที่มีการพัฒนาตนเองค่ะ
  • ลองศึกษาดูให้ละเอียดก่อนนะค่ะ ถ้าสงสัยค่อยถามมาใหม่ค่ะ...
  • อีกอย่างผู้เขียนก็ไม่ทราบเกี่ยวกับหน้าที่ที่คุณรับผิดชอบในปัจจุบัน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าควรเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็นตำแหน่งใดค่ะ

ผมบรรจุครั้งแรกตำแหน่งยาม อุตสามานะเรียนจนจบปริญญาตรี ได้ปรับเปลี่ยนเป็น ร.ป.ภ. ผมจะมีหวังเปลี่ยนเป็นตำแหน่งได้อีกหรือไม่ครับอาจารย์ ช่วยบอกวิธีหน่อยครับ ผมรู้สึกน้อยใจมาก

ตอบ...หมายเลข 125...

  • การเป็นลูกจ้างประจำ รัฐจ้างในอัตราการจ้างตามวุฒิเริ่มแรกค่ะ
  • ไม่มีการนำวุฒิเมื่อจบแล้ว สามารถมาปรับได้ เช่นเดียวกับข้าราชการค่ะ
  • การที่ปัจจุบันจะสามารถปรับเปลี่ยนได้นั้น ต้องดูภาระหน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติอยู่ด้วยค่ะว่า ส่วนราชการให้เราทำนั้น มีงานใดบ้าง
  • จริง ๆ แล้ว การเป็นตำแหน่งยาม รัฐให้ส่วนราชการใช้การจ้างเหมากันแล้วค่ะ และสามารถเบิกเงินในส่วนของการจ้างเหมาได้
  • ถ้าคุณทำงานที่นอกเหนือจากการเป็นยาม ต้องดูด้วยว่าทำงานด้านใด เกี่ยวกับตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยนให้สูงขึ้นได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบค่ะ ว่าเขาจะทำให้หรือไม่
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งไม่ใช่ว่าจะต้องปรับได้กันทุกคน อยู่ที่การพัฒนาตนเองของเรา + งานที่เราได้ปฏิบัติในปัจจุบันด้วยว่า สามารถทำได้เป็นคุณประโยชน์ต่อภาครัฐได้มากน้อยเพียงใดค่ะ
  • ถ้าเรามีความสามารถ และภาระที่หนักมาก ก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้
  • แต่ถ้าเรายังทำงานเหมือนเดิม ไม่มีการพัฒนามากขึ้น รัฐก็คงจะไม่สามารถปรับให้ได้ค่ะ ไม่เกี่ยวกับที่เราได้จบ ป.ตรีมาหรอกนะค่ะ

เรียนอาจารย์บุษยมาศ หนูอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ขณะนี้หนูทำงานในตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 แต่ปฏิบัติงานด้านพัสดุมาแล้ว 8 ปี อยากถามว่าจะเปลี่ยนเป็นพนักพัสดุดีหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานพัสดุ ระดับ 3 ได้เลยหรือไม่คะ หรือว่าหนูต้องเปลี่ยนเป็นพนักงานพัสดุ ระดับ 2 ก่อนคะ

ขอบคุณมากคะ

ตอบ...หมายเลข 127...

  • การที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ขึ้นอยู่กับคุณตัดสินใจนะค่ะ
  • เพราะให้ดูตำแหน่งเส้นทางความก้าวหน้าว่าเงินค่าจ้างในกลุ่มไหนได้มากกว่ากัน
  • เนื่องจากคุณได้เปรียบตรงที่คุณทำงานพัสดุ
  • แต่ให้ดูในตำแหน่งพัสดุ ว่าเงินค่าจ้างสูงกว่าพนักงานพิมพ์หรือไม่ ถ้ามากก็ควรเปลี่ยนเพราะคุณมีคำสั่งให้ทำงานด้านนี้
  • แต่ถ้าเงินค่าจ้างเท่าเดิม ก็ไม่ควรเปลี่ยนค่ะ
  • การปรับเปลี่ยนเป็นพัสดุ นั้น เดิมคุณอยู่พนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานพัสดุ ระดับ 3 ในข้อ 1 (ในส่วนแรก)... ซึ่งคุณมีหน้าที่ทำงานพัสดุอยู่แล้ว ก็สามารถเปลี่ยนเป็นพนักงานพัสดุ ระดับ 3 ได้ค่ะ...
  • ซึ่งค่าจ้างจากเดิมอยู่ในกลุ่มบัญชี ที่ 1-2 ของพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 จะปรับไปเป็นกลุ่มบัญชีที่ 2 -3 ค่ะ...
  • ลองศึกษาดูในบล็อกนี้นะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428

หนูขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งคะที่ให้ความกระจ่างแก่หนู แต่ที่หน่วยงานของหนู มีกรอบให้เปลี่ยนเป็นพนักงานพัสดุได้แค่ระดับ 1-2 เท่านั่นคะ หนุเลยตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเปลี่ยนดีหรือไม่

ตอบ...คุณ tum101...

  • ถ้าเช่นนั้น เราควรอยู่พนักงานพิมพ์ ระดับ 3 แล้วค่อยปรับเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 4 ดีกว่ามังค่ะ
  • แต่ก็ยังสงสัยอยู่ดีว่า กรอบของใครค่ะ กำหนดพนักงานพัสดุระดับ 1-2
  • ที่พี่ตอบนี่หมายถึง เราทำงานพัสดุ เราก็สามารถเปลี่ยนและโตไปเป็นพนักงานพัสดุระดับ 3 ได้นี่ค่ะ เนื่องจากเรามีความรู้ในด้านพัสดุ คือ ได้ทำงานพัสดุมาแล้ว เราสามารถพัฒนาตนเองในด้านมีความรู้เรื่องพัสดุ เราก็สามารถเติบโตในสายงานพัสดุได้  พี่ยังงง ๆ ที่คุณบอกมานะค่ะ...กรอบ 1-2 ของใครค่ะ
  • พี่หมายถึงว่า ถ้าคุณปรับจากพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 เป็น พนักงานพัสดุ ระดับ 3 ได้ ...ได้ด้วยตัวของคนเองนะค่ะ...ไม่ใช่ไปเข้าสู่ตำแหน่งของกรอบอื่นค่ะ
  • ก็อยู่ที่คุณตัดสินใจเองค่ะ...เป็นพนักงานพิมพ์ ก็ได้ เพราะไปถึง ระดับ 4 ค่ะ...

ผมเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย(ตำแหน่งใหม่) วุฒิปริญญาตรี จะสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้อีกหรือเปล่าครับท่านอาจารย์

ตอบ...หมายเลข 131...

  • การที่จะเปลี่ยนตำแหน่ง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการที่ได้รับวุฒิปริญญาตรี
  • เพราะรัฐจะถือเอาวุฒิที่คุณได้สมัครเข้ารับราชการในวุฒิที่คุณบรรจุเป็นลูกจ้างประจำค่ะ
  • สำหรับวุฒิการศึกษาที่จบ ป.ตรี เป็นการพัฒนาตัวคนให้สูงขึ้นและได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ไม่เกี่ยวกับการพัฒนางานค่ะ
  • การจะเปลี่ยนตำแหน่งได้นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่คุณได้ปฏิบัติอยู่ค่ะว่า ปัจจุบันส่วนราชการมอบหมายงานด้านใดให้กับคุณ ถ้าเป็นงาน รปภ.อย่างเดียว คุณคงปรับไม่ได้หรอกค่ะ
  • แต่ถ้าส่วนราชการมอบหมายให้คุณทำงานอย่างอื่นด้วย เช่น ทำงานธุรการ สารบรรณ ถ่ายเอกสาร อัดสำเนา พิมพ์หนังสือ ฯ ประชาสัมพันธ์ ช่างไฟฟ้า ช่างปูน ช่างไม้ คุณก็สามารถนำคำสั่งที่ได้รับมอบหมายงานนั้น เพื่อปรับเปลี่ยนให้คุณตรงกับลักษณะงาน หรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้ค่ะ
  • สำหรับวุฒิ ป.ตรี ที่ได้รับนั้น เป็นการเพิ่มวุฒิลงในทะเบียนประวัติของคุณอย่างเดียวนะค่ะ ว่าประวัติของคุณได้จบการศึกษา ป.ตรี ค่ะ
  • แต่ในบางตำแหน่งอาจมีเรื่องของวุฒิเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ก็สามารถนำวุฒิที่ได้รับมาประกอบได้นะค่ะ
  • ลองศึกษาดูนะค่ะ เพราะคุณบอกข้อมูลมาให้น้อยค่ะ เลยไม่ทราบเกี่ยวกับงานในหน้าที่ว่าส่วนราชการมอบหมายงานใดให้ทำค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์

ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า ช่างครุภัณฑ์ มีความกว้าหน้าอย่างไร มีความรู้ทางคอมฯ บางวันก็สอนแทน สอนคอมฯ มันแปลกดีนะครับ อ่านบทความหลายที่ ไม่ตรงกันสภาพของผม ทำงานหลายหน้าที่ ครับ

ตอบ...หมายเลข 133...

  • ไม่ทราบว่า คุณอยู่ระดับใดละค่ะ เพราะตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ นั้น สูงสุดที่ระดับ 3 ค่ะ...
  • คุณมีความรู้ ความสามารถเรื่องคอม ฯ  สามารถสอนแทนได้ ก็แสดงว่า คุณมีความชำนาญในเรื่องคอมพิวเตอร์ แสดงว่าคุณเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพ จึงเป็นที่ไว้วางใจของอาจารย์ไงค่ะ...แต่อย่าลืม!...ว่าหน้าที่โดยตรงของคุณ คืออะไร ต้องดูที่คำสั่งมอบหมายงานด้วยค่ะ...แล้วงานที่สอนเป็นงานหลักหรืองานรองค่ะ...เพราะปัจจุบันรัฐดูด้วยนะค่ะว่า งานใดเป็นงานหลัก คือ งานในหน้าที่ที่คุณได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของคุณค่ะ...
  • ให้คุณลองศึกษาในตำแหน่งอื่น พร้อมกับดูภาระงานของคุณที่ส่วนราชการมอบให้ปฏิบัติดูนะค่ะ ว่าสามารถปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่นได้หรือไม่ ถ้าได้ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบดูค่ะ ว่าสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น เพื่อความก้าวหน้าหรือไม่...

เรียน อาจารย์บุษมาศ

จากข้อความ 133 - 134 ผมขอบคุณมากครับ ตอนนี้ผมเป็นช่างครุภัณฑ์ระดับ 3 อายุราชการ 19 ปีครับ อาจารย์พอจะมีเกณฑ์

หรือวิธีการ การจัดทำผลงาน เพื่อขอค่าวิชาชีพไหมครับ ผมรู้แต่ว่า เงินเดือนเต็มขั้นกลุ่มที่ 1 จะเลื่อนไปกลุ่มที่ 2 ถ้าได้ค่าวิชาชีพ

ก็คงจะทำให้การดำเนินการงานเป็นไปอยางมีความสุขทุกทั่วหน้ากัน ( เหตุผลเงินเดือนก็น้อย ค่าครองก็แพง ) ทำงานก็หนัก

ก็เป็นธรรมดา เพราะเป็นหน้าที่ และเป็นความไว้วางใจของผู้บริหาร ผมก็ขอขอบคุณที่กรุณาผมที่ให้ความสุขในการทำงาน

ตอบ...หมายเลข 135...

  • เอ...เคยสอบถามทางกรมบัญชีกลางแล้วนะค่ะ...ว่า ลูกจ้างประจำ ไม่มีได้ค่าอะไรเลยนะค่ะ นอกจากค่าจ้าง...
  • สำหรับค่าวิชาชีพนั้น น่าจะเป็นระเบียบของส่วนราชการทำให้ ซึ่งเป็นเงินรายได้หรือเปล่าค่ะ...ถ้าเป็นเงินรายได้ต้องถามที่ส่วนราชการ นั้น ๆ แล้วละค่ะ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะส่วนราชการค่ะ...ส่วนราชการอื่น ๆ จะไม่เหมือนกันค่ะ...
  • ซึ่งเงินรายได้ ในการบริหารการจัดการ จะไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดินนะค่ะ และเหตุที่กรมบัญชีกลางแจ้งนั้น ก็หมายความว่า การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับข้าราชการ หรือ ลูกจ้างประจำ จะมีเรื่องเงินเดือน ค่าจ้าง ที่เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดินและสามารถทำได้เพียงเท่านี้ แต่สำหรับเรื่องอื่น ถ้าเป็นเงินรายได้ เช่น ค่าวิชาชีพ ต้องขึ้นอยู่กับส่วนราชการนั้น ๆ เป็นผู้ดำเนินการค่ะ ไม่เกี่ยวกับทางส่วนราชการกลางค่ะ...
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

อยากถามอาจารย์บุษยมาศว่า ลูกจ้างประจำได้บำนาญตกทอด 15 เท่าแล้วหรือเปล่าค่ะ และได้ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะ

ตัวเองใช่ไหมค่ะ

ตอบ...หมายเลข 137...

  • ตอนนี้ เป็นเพียง "ร่าง" ค่ะ...ศึกษาได้ตามนี้ค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/408190
  • ยังไม่ออกเป็นระเบียบให้ปฏิบัติค่ะ  ถ้าออกมาเมื่อไหร่จะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ
  • สำหรับค่ารักษาพยาบาลก็เช่นเดียวกันค่ะ...

เรียนคุณบุษยมาศ

ดิฉันบรรจุรับราชการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 บรรจุครั้งแรกที่ จังหวัดหนองคาย จากนั้นดิฉันได้โอนย้ายไปที่จังหวัดมุกดาหารนับเวลาแล้วก็เป็นเวลา5 ปีกว่า ซึ่งจากระยะเวลาของการทำงาน 5 ปี สามารถดำเนินการเพื่อขอรับพระราชทานเครื่องราชย์ได้แล้ว และเพื่อนที่ทำงานอยู่ที่จังหวัดหนองคายทางต้นสังกัดได้ดำเนินการให้ แต่ที่มุกดาหารต้นสังกัดที่ไม่ได้ดำเนินการให้ และครูที่โรงเรียนก็บอกดิฉันว่าครูในโรงเรียนไม่เคยมีใครได้รับหรือ เขียนเรื่องขอพระราชทานเครื่องราชย์เลย หากจะขอต้องดำเนินการเอง ซึ่งดิฉันก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆ(ถึงแม้อยากจะดำเนินการก็ตาม) แต่ปัจจุบันนี้ดิฉันได้ย้ายติดตามคู่สมรสมาอยู่ที่สมุทรปราการ ซึ่งจากที่ทราบมา ทางหน่วยงานต้นสังกัดเขาจะดำเนินการขอพระราชทานฯ ให้ ทำให้ดิฉันมีความหวังบ้าง แต่ก้อยังข้องใจอยู่ว่า

ดิฉันพลาดโอกาสในครั้งแรกของการขอพระราชทาน ดิฉันจะยังมีโอกาสในการขอหรือไม่ (ซึ่งก้อหวังว่าทางหน่วยงานที่สมุทรปราการจะดำเนินการให้) และถ้าสามารถขอได้จะดำเนินการในช่วงใด จะได้รับเครื่องราชย์ชั้นใด

จึงเรียนมาเพื่อขอคำชี้แนะจากท่าน และรบกวนท่านช่วยตอบกลับทาง email ของดิฉันด้วยค่ะขอบพระคุณเป็นอย่างสูง [email protected]

ตอบ...ครูเทศบาล...

  • เอ...สงสัยเหมือนกันนะค่ะ...ความจริงแล้ว งานการเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นผู้ดูแลในเรื่องการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นะค่ะ...
  • ถึงแม้ว่าเป็นสิทธิ์ของตัวเราเองเป็นผู้ยื่นคำขอ  แต่งานการเจ้าหน้าที่ ต้องแจ้งให้เราทราบค่ะ ว่าช่วงใดที่จะดำเนินการขอค่ะ...
  • ช่วงนี้ บางส่วนราชการก็เริ่มดำเนินการแจ้งให้ข้าราชการขอกันแล้วค่ะ
  • แต่ที่ ม. คงประมาณ กลางเดือนมกราคม 2554 ค่ะ
  • สงสัยนะค่ะ ว่า ทำไม งานการเจ้าหน้าที่ ไม่แจ้งให้ท่านทราบ
  • ถ้าเป็นที่ ม. ผู้เขียนจะบอกให้น้อง ๆ เจ้าหน้าที่ ทำบัญชีคุมของข้าราชการที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุกคนเลยค่ะ...แล้วก็มี ปี พ.ศ. ที่แต่ละคน จะมีสิทธิ์ขอพระราชทานเครื่องราชฯ ให้ด้วยค่ะ เพื่อสะดวกในการดำเนินการในแต่ละปีค่ะ...
  • เป็นกระบวนการของแต่ละคนในการทำงานนะค่ะ อาจจะไม่เหมือนกัน
  • ขอให้คุณลองถาม งานการเจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ...
  • ลองศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้ก็ได้ค่ะ เพื่อเป็นประโยชน์ ผู้เขียนนำมาให้ศึกษา ทั้งที่มีซี (เก่า) กับไม่มีซี นะค่ะ...ไม่ทราบว่าของคุณ เป็นแบบใด...
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/law_1.pdf
  • http://gotoknow.org/blog/bussaya14/409503
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/psru1.ppt#278,1,ภาพนิ่ง 1

  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/psru2.ppt
พนักงานพิทักษ์ป่าจนจน

ลูกจ้าง ทุกคน กรมอุทยาน กรมป่าไม้ เงินเดือนแค่นี้เลี้ยงลูกเมียได้ไม้เบี้ยเลี้ยงก็ไม่ได้ข้าราชการบริหารกินคนเดียวหมดออกตรวจก็ไม่ได้เงินเบี้ยเลี้ยง และไม่กล้าจะสร้างศัตรูกับชาวบ้านและนายทุนปล่อยให้บุกรุกทำลายป่าทั้งประเทศที่มีจุดล่อแหลม.........ใจก็รักป่าอยู่แต่มันท้อแท้หมดกำลังใจไม่มีขวัญไม่คุ้มค่าชีวิตเสี่ยงอันตราย ตายฟรีไปหลายนายทั้งออกข่าวและไม่ออกข่าว ...............พวกกระผม อยู่ทนหรือทนอยู่ อยู่แบบชีวิตไม่ก้าวหน้า ไม่มีอนาคต ไม่มีการบรรจุ ข้าราชการไม่สนใจสนใจแต่ตัวเองว่าจะวิ่งขึ้นให้ตัวเองมีตำแหน่งโตขึ้น ควรดูแลพวกกระผมบ้าง ถ้าไม่เชื่อถามความเป็นอยู่พนักงานทุกคนได้

ตอบ...หมายเลข 141...

  • จากที่ทราบข่าวมา เป็นบางกรมนะค่ะ...บางกรมก็ให้ความสำคัญกับลูกจ้างประจำเช่นเดียวกับข้าราชการ แต่บางกรมข้าราชการก็กดขี่ ไม่สนใจลูกจ้างว่าจะมีความเป็นอยู่เช่นไร...ซึ่งคงเกี่ยวเนื่องมาจากระบบศักดินาแบบเดิม ๆ...คาดว่าต่อไปในอนาคตคงจะดีขึ้น คงต้องอาศัยเวลาช่วยกระมังค่ะ...
  • แบบนี้น่าจะมีข่าวถึงผู้ที่อยู่ระดับสูงนะค่ะ...ท่านจะได้รับทราบข่าวสาร ข้อมูลบ้าง เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศไงค่ะ...
  • ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ...

เรียนรบกวนอาจารย์อีกครั้ง

เรื่องแบบฟรอมการประเมืนปรับเปลี่ยนตำแหน่งสายงานใช้แบบฟรอมตันใหนครับ

อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับทางเขตยังไม่ส่งมาให้

ตอบ...หมายเลข 143...

  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับส่วนราชการกำหนดนะค่ะ...
  • ให้สอบถามไปที่ สพป.หรือ สพฐ. ค่ะ...
  • เพราะบางตำแหน่งต้องมีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการ อาจเปิดสอบเพื่อคัดเลือก
  • บางตำแหน่งก็ต้องดำเนินการสอบเป็นผลงานให้คณะกรรมการได้ตัดสิน
  • เราไม่สามารถเปลี่ยนเองได้นะค่ะ ต้องถามหัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบ เขาต้องศึกษาระเบียบต่าง ๆ ด้วยค่ะ ไม่ใช่เรามาเปลี่ยนเองได้ค่ะ...
  • บางตำแหน่งต้องใช้คำสั่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานมาประกอบค่ะ...

เรียนรบกวนท่าน ผอ.

ลูกจ้างประจำที่ทำหน้าที่ไม่ตรงกับตำแหน่งสามารถร้องขอให้กลับมาทำหน้าที่ตามตำแหน่งเดิมได้หรือไม่ เช่น

ตำแหน่งนายท้ายเรือ ทำหน้าที่ นายเรือ ซึ่งตำแหน่งและหน้าที่ไม่ตรงกัน นายท้ายเรือมีหน้าที่ถือท้ายเรือและทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา(นายเรือ) ส่วนนายเรือมีหน้าที่ควบคุมเรือและสั่งการ ความรับผิดชอบต่างกันมาก ถ้าเป็นไปได้อยากจะทำหน้าที่ตรงตามตำแหน่งเดิม จึงขอเรียนปรึกษาด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ

ตอบ...หมายเลข 145...

  • ความจริงแล้ว ตำแหน่งกับหน้าที่ต้องตรงกันค่ะ เช่น พนักงานขับรถยนต์ ก็ต้องมีหน้าที่ขับรถยนต์ แต่ก่อน มีบางส่วนราชการเปลี่ยนตำแหน่งให้พนักงานขับรถยนต์ไปเป็นตำแหน่งพนักงานพิมพ์ แต่ไม่สามารถพิมพ์หนังสือได้ จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ให้ตรงกับหน้าที่ที่ได้ปฏิบัติจริงค่ะ...เพราะการเป็นพนักงานพิมพ์นั้น ต้องพิมพ์หนังสือ ถ้าวันหนึ่งวันใดขับรถไปแล้วเกิดอุบัติเหตุจะเกิดปัญหา ซึ่งผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบค่ะ...ทาง ก.พ. จึงไม่ให้ค่ะ...
  • เช่นของกรณีของคุณ ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดูนะค่ะ...แต่เขาอาจคิดว่าคุณมีความสามารถจึงให้ทำหน้าที่ได้หลายอย่างก็ได้ค่ะ...การจะให้เราทำอะไร หัวหน้าส่วนราชการควรมีคำสั่งให้เราปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยค่ะ...
  • คุณลองโทรถามที่สำนักงาน ก.พ. อีกครั้งนะค่ะ...ว่าจะให้ทำอย่างไร?...

เรียนรบกวนอาจารย์อีครั้งยังไม่เข้าใจในระบบการดำนินการเปลี่ยนตำแหน่งสายงาน จากพนักงานบริการไปดำรงตำแหน่งช่างไม้ช่างปูน

ในขั้นตอนในการร้องขอดูเหมือนจะไม่ราบรื่นไม่สดวก เหมือนว่าเกณฑ์มากมายเหลือเกิน ตามความพอใจของเจ้านาย ทั้งที่ผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาฝึมือแรงงานมาแล้ว บางคนเรียนจบปวส สายงานโยธาก็มี ผมยังไม่เข้าใจ อาจารย์ช่วยอธิบายกระชับอีกครั้งเถอะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยครับ

ตอบ...หมายเลข 147...

  • ความจริงแล้ว เป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องลูกจ้างประจำ + หัวหน้าส่วนราชการ ต้องสำรวจว่าลูกจ้างประจำในสังกัดของตนเอง มีการพัฒนาตนเองหรือไม่  อาจมีการวิเคราะห์คำสั่งที่มอบหมายงาน Job ของลูกจ้างประจำ ว่าตรงตามตำแหน่งหรือไม่...โดยอาจเป็นกระบวนการเปิดสอบแข่งขัน ปฏิบัติเพื่อส่งผลงาน แล้วตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบ ฯ... นี่คือ กระบวนการจริง ๆ...
  • แต่เท่าที่ทราบ ก็เป็นแบบที่คุณบอก หัวหน้าส่วนไม่ทราบ ไม่รู้ ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่บ้าง...ถือว่าตนเองไม่ได้ประโยชน์...เลยทำให้เป็นปัญหาในทุกวันนี้ไงค่ะ...
  • คุณลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ต้องการจะปรับเปลี่ยน ถ้าเรามีคุณสมบัติครบ มีผลงาน มีคำสั่งที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ ลองทำบันทึกถึงผู้บังคับบัญชาดูสิค่ะ...ว่าจะมีแนวทางที่จะดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับตัวเราที่จะได้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถมากยิ่งขึ้นค่ะ...
  • แต่ก็อย่างที่บอกว่า ต้องขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ ด้วยนี่สิค่ะ...ถ้าเขาไม่ทำ ก็อย่าหวังเลยว่าเขาจะทำให้ แต่ถ้าไปพบหัวหน้าส่วนราชการที่มีหลักธรรมาภิบาลแบบเต็มตัว รู้ว่าเราทำงานหนัก + มีการพัฒนาตนเอง + มีความรู้ในอาชีพของตัวเราเอง เพื่อขวัญ กำลังใจ เขาก็จะดูแลให้เราค่ะ...ลองดูนะค่ะ...ว่าแต่ว่า เราอย่ามีข้อที่ให้เขาตำหนิเด็ดขาด เช่น เขาเห็นว่าเราไม่ค่อยทำงาน เกเร เช่นนี้เป็นต้นนะค่ะ...ถ้าเป็นแบบที่ว่า สงสัยหัวหน้าส่วนราชการเขาคงไม่ทำให้เราหรอกค่ะ...
ตัวแทนลูกจ้างชั่วคราว

อยากเรียนถามว่า ที่มีประกาศขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 5 % เม.ย.54 ที่จะถึงนี้ ไม่ทราบว่าลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการจะได้ขึ้นเงินเดือน 5 % ตามข้าราชการหรือไม่ (เงินเดือนลูกจ้างไม่ขึ้นมา 3 ปีแล้ว ขึ้นต่ำ ป.ตรี ยังอยู่ที่ 7,940 บาทอยู่เลย) ถ้าขึ้นตามอยากให้ครม.ประกาศบังคับให้ชัดเจน สงสารลูกจ้างที่ทำงานหนักบ้างเถอะ ไม่มีกำลังใจในการทำงานเลย ทำให้มีปัญหาลูกจ้างเข้าๆออกๆงาน รู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่เลยค่ะ

ตอบ...หมายเลข 149...

  • ต้องขึ้นอยู่กับมติ ครม. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องค่ะ ว่าขึ้นให้กับใครบ้าง อยู่ที่ระดับนโยบายเบื้องบนค่ะ...คอยติดตามผลสั่งการจริง ๆ ค่ะ...เพราะปัจจุบันก็มีแต่ข่าวเท่านั้น...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ได้อ่านคำถามและคำตอบที่มีคนสงสัยเรียนถามอาจารย์แล้ว ได้ความรู้จากอาจารย์บุษยมาศ เป็นอย่างดี แต่ตัวเองก็มีข้อสงสัย

อยากเรียนถามอาจารย์บ้างว่า สิทธิของลูกจ้างประจำในการเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้างที่ออกจากราชการ ยังมีสิทธิเบิกได้หรือเปล่า เพราะมีลูกจ้างประจำที่ลาออกจากราชการ เกิดป่วยได้เข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ใช้สิทธิ์จ่ายตรงไม่ได้ เลยสงสัยว่าขณะนี้จะมีสิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่

ตอบ...หมายเลข 151...

  • ค่ะ ตอนนี้ระเบียบเรื่องค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างประจำ ยังไม่ออกนี่ค่ะ...
  • และตอนนี้ลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ ก็จะเข้าใช้สิทธิ์จ่ายตรงไม่ได้แล้วค่ะ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553...จนกว่าระเบียบจะออกมาบังคับใช้ นายทะเบียนผู้ใช้สิทธิ์ในการควบคุมเขาถึงจะเปิดระบบให้ใช้สิทธิ์จ่ายตรงให้ได้ค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ขอบคุณคะ ที่ได้ให้คำแนะนำ และหวังว่า ถ้าระเบียบเรื่องค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างประจำ ได้เปิดระบบ

ให้ใช้สิทธิ์จ่ายตรงได้ ขอความกรุณาอาจารย์บุษยมาศ ช่วยลงให้ลูกจ้างประจำรู้ด้วยนะคะ

ตอบ...คุณวันทิพา...

  • ได้ค่ะ ถ้าระเบียบประกาศออกมาใช้ จะนำมาลงให้ทราบกันค่ะ...

เรียนถามอาจารย์

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำ ดิฉันสงสัยเรื่องบำเหน็จ บำนาญของลูกจ้างประจำ ว่าถ้าดิฉันทำงานมาครบ 25 ปี แต่ยังอายุไม่ถึงอายุ 60 ปี สามารถลาออกจากราชการ โดยถ้าจะรับบำเหน็จรายเดือนได้หรือไม่ (บำนาญรายเดือนของข้าราชการ แต่ลูกจ้างประจำเรียกว่าบำเหน็จรายเดือนใช่หรือไม่) ขอขอบคุณ อาจารย์มากค่ะ

ตอบ...หมายเลข 155...

  • ถูกต้องค่ะ...ถ้าเป็นลูกจ้างประจำ จะเรียกว่า "บำเหน็จรายเดือน" ค่ะ แต่ถ้าเป็นข้าราชการจะเรียกว่า "บำนาญ" ค่ะ...เพราะระเบียบไม่เหมือนกันค่ะ...ขอให้คุณศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบล็อกและไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussaya3/313176
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/011052.pdf

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

อยากทราบว่าตอนนี้เรื่องลูกจ้างประจำ สังกัดกระทรวงกลาโหม เป็นอย่างไรบ้าง ไม่ทราบว่าจะได้รับเงินเดือนใหม่เมื่อใด และจะได้รับตกเบิกตั้งแต่เดือน เม.ย.53 มาจนถึงปัจจุบันนี้หรือไม่ ช่วยตอบให้ทราบด้วยนคะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...หมายเลข 157...

  • ถ้าคุณใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 ละก็...รัฐขึ้นให้ค่ะ...เพราะตอนนี้ ผู้เขียนก็งง เหมือนกัน ว่า ใช่หรือไม่ เนื่องจากมีลูกจ้างประจำของ อบต. ของหน่วยงานอื่นที่รัฐแบ่งส่วนราชการไป ทำให้กฎหมายเริ่มจะใช้ไม่เหมือนกัน จะทำให้ตอบผิด...
  • เอาเป็นว่า ขอให้คุณสอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของคุณ ที่คุณได้สังกัดอยู่ว่าไปถึงไหนแล้ว เพราะส่วนราชการอื่น ส่วนมากเขาได้รับกันหมดแล้ว สำหรับลูกจ้างประจำที่เกษียณไปเมื่อ 1 ต.ค.53 ก็ได้รับเงินบำเหน็จรายเดือน + เงินบำเหน็จเรียบร้อยแล้วนี่ค่ะ...

ลูกจ้างประจำ บรรจุราชการ 1ตค.2516 ถ้าจะลาออก วันที่ 20 เมษายน 2554 เงินเดือนปัจจุบัน 22,680 บาท อายุราชการ37ปี 6เดือน (อีก1ปี 6เดือน จะครบเกษียนราชการ) อยากทราบว่าจะได้รับบำเหน็จรายเดือน เดือนละเท่าไรและถ้าจะลาออกวันที่ 20มกราคม 2554 จะได้รับบำเหน็จรายเดือน เดือนละเท่าไร ขอขอบคุณค่ะ

ตอบ...คุณมล...

เรียนถาม ผอ. การพิมพ์ตำแหน่ง ของพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 ที่เปลี่ยนใหม่ เป็นพนักงานพิมพ์ อย่างเดียวหรือว่า ต้องใส่ พนักงานพิมพ์ ส.3ด้วยค่ะ เพราะที่ทำงานเขา พิมพ์ตำแหน่งเป็น"พนักงานพิมพ์ " ไม่มี ส.3

ตอบ...ลูกจ้าง...

  • คำว่า  "พนักงานพิมพ์"  นั้น  คือ  ตำแหน่งค่ะ...สำหรับ ส 3  นั่นคือ ระดับค่ะ...
  • ผู้เขียนคิดว่า ควรใส่ เพราะจะได้รู้ว่าเราตำแหน่งใดและระดับใดค่ะ...เพราะแต่ละคน ระดับจะไม่เหมือนกัน เกี่ยวกับสิทธิ ต่าง ๆ ด้วยค่ะ...แต่ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานเกี่ยวกับเรื่องใดด้วยนะค่ะ...เพราะบางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องใส่ เพราะพูดถึงตำแหน่งอย่างเดียว  แต่ถ้าเกี่ยวกับเรื่องเงิน สิทธิประโยชน์ ควรใส่ค่ะ...
  • ลองดูตัวอย่างคำสั่งของกรมบัญชีกลางให้มาก็ได้ ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/571/406/original_bb113.pdf?1285779381
ลูกจ้าง กองทัพอากาศ

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

อยาทราบว่าตอนนี้เรื่องของลูกจ้างประจำส่วนราชการกองทัพอากาศ นั้น ไม่ทราบว่าดำเนินการไปถึงไหนแล้วอาจารย์พอจะทราบบ้างไหมคะ เพราะมีพี่ ๆ จะเกษียณในเดือน ก.ย.๕๔ นี้ค่ะ กลัวจะไม่ได้รับเงินเดือนใหม่ ขอตอบให้ทราบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...ลูกจ้าง กองทัพอากาศ...

  • ไม่ทราบเลยจริง ๆ ค่ะ...เอ แต่ส่วนราชการอื่น เขาได้รับกันไปแล้วนี่ค่ะ...
  • สำหรับเดือนเมษายน 2554 ต้องรอ มติ ครม.การให้ปรับเลื่อนขั้นค่าจ้างก่อนค่ะ...
  • ลองสอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศเองนะค่ะ จะได้คำตอบที่ชัดเจนกว่าค่ะ...

ผมอยู่กรมเจ้าท่าตำแหน่งกะลาสีแต่ผมปรับตำแหน่งเป็นนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้น2 ก่อนที่ ก.พ. จะให้ปรับตำแหน่งใหม่ผมอยู่ในส่วนได่ครับ

ตอบ...คุณแท่น...

  • ขอให้คุณศึกษาจากบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...เพราะผู้เขียนไม่ทราบรายละเอียดว่าเดิมคุณอยู่หมวดใด เพราะมีตำแหน่งมากจริง ๆ ค่ะ ลองดูนะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/348990
  • ถ้าสงสัยก็สอบถามมาใหม่นะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีครับ ผมเป็นลูกจ้างประจำกระทรวงศึกษาฯ จังหวัดนครสวรรค์ มาเป็นเวลา 20 ปี ท่าน ผอ.ออกคำสั่งให้ผมปฎิบัติหน้าที่ยามกลางคืน(18.00-06.00 น.) ในระยะ 20 ปี จะมี ผอ.มาดำรงตำแหน่งฯ หลายท่าน ผอ.บางคนให้ผมมีวันหยุดสัปดาห์ละ 2 วัน บางคนก็ใ้ห้สัปดาห์ละ 1 วัน แต่วันหยุดทางราชการและเทศกาลไม่มี แต่นักการภารโรงซึ้งเป็นลูกจ้างประจำเช่นเดียวกับผมมีวันหยุดประจำสัปดาห์ละ 2 วันและมีวันหยุดเทศกาลด้วย ส่วนผมต้องยื่นใบลาขอหยุดราชการจึงจะได้หยุดถ้าอนุมัติ และใน 1 ปีกว่า ๆ มานี้หรือ 2 ปีไม่แน่ใจ ได้มี ผอ.คนใหม่มาดำรงตำแหน่งฯ ปีแรกไม่ให้ผมมีวันหยุดเลยเว้นแต่ยืนใบลา 3-4 เดือนหลังมานี้ ท่านผู้ช่วยฯ ได้ขอร้องกับ ผอ.ว่าขอให้ผมได้มีวันหยุดบ้าง ผอ.จึงยอมให้ผมได้มีวันหยุดได้เดือนละ 1 วัน ผมมีความรู้สึกว่าวันหยุดของผมไม่เป็นทางการหรือมีมาตราฐานและไม่เป็นธรรมกับผม ทำให้ผมไม่มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ช่วยแนะนำหรือให้ข้อชี้แนะว่าผมจะทำเช่นไรดี เพราะผมเคยพูดและขอให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์กับตัว ผอ.แล้ว แต่ ผอ.ไม่ยอม ขอขอบคุณครับ

ตอบ...คุณเมธี...

  • คุณทำงานมาเป็นเวลา 20 ปี สิ่งแรกที่ต้องการทราบว่างานที่คุณทำ งานหลักคือเรื่องอะไรค่ะ? เพราะลูกจ้างประจำบางท่านจะทำงาน เช่น ถ่ายเอกสาร  ทำงานสารบรรณ งานธุรการ  งานการเงิน หรือปฏิบัติเรื่องอื่น ๆ เป็นหลักกว่าการทำหน้าที่ปิด - เปิดสำนักงาน
  • เหตุที่ถาม เพราะความจริงตำแหน่งการอยู่เวรยามประจำสำนักงาน มีหนังสือจากกระทรวงการคลังหรือกรมบัญชีกลาง แจ้งเวียนให้ทุกส่วนราชการสามารถดำเนินการจ้างเหมาและเบิกงบประมาณได้ด้วยค่ะ...
  • อีกกรณีหนึ่งถ้าคนทำงานตามภาระงานข้างต้น จะสามารถเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ได้แล้วค่ะเพื่อให้ตรงกับภาระงานที่ได้ปฏิบัติจริง ๆ ค่ะ...
  • แต่ทั้งนี้ ต้องปรึกษา ผอ. + เจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ ...เพราะของ มร.พส. แต่ก่อนมีตำแหน่งคนงานเยอะมากค่ะ แต่ปัจจุบันไม่มีแล้วค่ะ เราก็จะจ้างยามเข้ามาดูแล  สำหรับลูกจ้างประจำ ก็อาจมีเดือนละ 1 ครั้งเองค่ะ...ลองดูนะค่ะ ถ้าสงสัยก็สอบถามมาใหม่ได้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

อิชั้นจะเกษียณ ปี 2556 อยากลาออกก่อนเกษียณมากๆ แต่ตอนนี้ รออยู่ว่าเมื่อไรจะได้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย เอ๊ย หลังเกษียณ ได้เมื่อไรออกเมื่อนั้น จะเข้ามาเยี่ยมหน้าเว็บนี้บ่อยๆ นะคะ มีเมื่อไร กรุณานำเสนอด้วย

ตอบ...คุณ ryo...

  • สำหรับเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล เห็นแต่ข่าวว่าจะทำให้ แต่ก็ต้องรอค่ะ ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไรรัฐจะจัดหามาให้ เพราะการที่จะทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ สวัสดิการ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ แล้วอีกอย่างรัฐต้องหาเงินมาสนับสนุนในด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลนี้มากเลย สำหรับปัจจุบันรัฐก็มีปัญหาในเรื่องเงินงบประมาณไม่เพียงพออยู่แล้ว...ผู้เขียนก็ได้แต่ลุ้น รอการฟังข่าวแบบเป็นทางการเช่นกัน แต่ถ้าระเบียบออกมาให้ปฏิบัติ ก็จะรีบมาแจ้งให้ทราบท้นทีค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

ลูกจ้างประจำ  ทำงานมาตั้งแต่ ปี2538  ประสงค์จะลาออกจากงาน  มีสิทธิอะไรบ้างครับ

ตอบ...คุณสม...

ประสาท ขำสูงเนิน ประธานศูนย์ ลปจ.พังงา

เรียนเพื่่อนลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภท สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ) แถวบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ใกล้ๆกับจ.ขอนแก่น ) ด้วยในวันเสาร์ที่19ก.พ.54ได้มีการจัดประชุมสัมนาเชิงวิชาการ การรพัฒนาศักยภาพประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการขี้นที่ โรงเเรมแก่นอินทร์
อ.เมืองจ.ขอนแก่นหากต้องการแบบฟรอม์ ให้ดาวโหลดได้ที่ เวปไซร์ ศูนย์ประสานงานลูกจ้างประจำส่วนราชการ จ.พังงา แล้วแจ้งความจำนงใด้ตามที่อยู่ /รายชื่อท้ายแบบ    ฟรอม์ นะครั (ประชาสัมพันธ์ ในสถานะกรรมการสมาคมฯ สพฐ.นะครับ)

เรียน ผอ.บุษยมาศ

         ขอเรียนถาม ผอ.บุษยมาศ ว่าลูกจ้างประจำ สามารถทำงานล่วงเวลาได้หรือเปล่าคะ

 

 

ตอบ...หมายเลข 2351573...

  • ได้ค่ะ...ว่าด้วย ระเบียบการทำงานล่วงเวลาค่ะ...

ขอบคุณ ผอ.บุษยมาศ มากนะคะ แต่บอกเจ้าหน้าที่แล้วก็ยังหาไม่พบ บอกว่าพนักงานราชการทำล่วงเวลาได้ แต่ลูกจ้างประจำ เบิกล่วงเวลาไม่ได้

ขอบคุณ ผอ.บุษยมาศ มากนะคะ แต่บอกเจ้าหน้าที่แล้วก็ยังหาไม่พบ บอกว่าพนักงานราชการทำล่วงเวลาได้ แต่ลูกจ้างประจำ เบิกล่วงเวลาไม่ได้

ตอบ...ลูกจ้างประจำ...

  • ให้ดูในระเบียบของกระทรวงการคลัง ซึ่งกำหนดเรื่องการเบิกค่าล่วงเวลานะค่ะ...
  • เข้าไป search ใน กระทรวงการคลัง เกี่ยวกับหนังสือเวียนก็ได้ค่ะ ลองดูนะค่ะ...

สวัสดีครับ อาจารย์ บุษยมาศ ตอนนี้เห้นคำสั่งจากกระทรวงกลาโหมเรื่องให้ปรับตำแหน่งลูกจ้้างประจำแล้ว แต่ผมมีข้อไม่สบายใจอยู่ก็คือตรง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง น่ะครับเหตุผลก็เพราะว่า ผมได้สอบเปลี่ยนสายงานจาก ช่างโลหะแผ่นชั้น 2 มาเป็น ช่างต่อเรือเหล็ก ชั้น 2 ได้ประมาณ 1 ปีกว่า ๆ แต่สายงานเดิมก็จะอยู่กองเดียวกันคือ โรงงานต่อเรือเหล็ก แต่ผมอ่านตรงคุณสมบัติแล้วก็เลย งง ว่าผมต้องรอ 3-8 ปีเลยหรือครับถึงจะได้เงินที่ปรับใหม่ แต่ผมก็บรรจุทำงานมา 21 ปีแล้วแล้วสอบช่างชั้น 2 สิบกว่าปีแล้ว ตกลงว่าผมควรทำอย่างไรดีครับ ถ้าไง อาจารย์ ช่วยผมหน่อยเถอะครับ อ่านแล้วช่วยตีความให้ผมด้วย ตอนนี้ไม่สบายใจเอามาก ๆ ครับ ขอบคุณมากครับ

ตอบ...คุณลูกน้ำเค็ม...

  • ไม่ทราบว่า คุณใช่คน ๆ เดียวกับบล็อกด้านล่างนี้หรือไม่ ถ้าใช่ ผู้เขียนตอบให้แล้วนะค่ะ ลองศึกษาดูค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussaya3/313190?page=1#2353090
  • คุณเข้าใจผิดแล้วค่ะ...เอาเป็นว่าที่ปรับมาแล้ว ก็แล้วไป เพราะมีคำสั่งออกมาแล้ว...และก็เป็นระดับ 2 เช่นเดียวกัน...
  • เพียงแต่ว่า ตำแหน่งใหม่ที่คุณได้ปฏิบัติอยู่นี้ คุณได้ทำหน้าที่ตามตำแหน่งใหม่หรือไม่...แล้วมีคำสั่งจากส่วนราชการให้คุณทำหน้าที่ตามตำแหน่งใหม่ ที่มีหน้าที่โดยย่อนั้นหรือไม่ ถ้าไม่มี ต้องรีบให้ส่วนราชการมอบหมายงานในหน้าที่ให้ทำตรงตามตำแหน่งใหม่ก็แล้วกันค่ะ...ลองศึกษาในบล็อกด้านบนที่ผู้เขียน Link มาให้ดูนะค่ะ...
  • ค่อย ๆ ศึกษาไปค่ะ...เพราะปัจจุบันเราต้องเรียนรู้ด้วย ทำงานไปด้วยค่ะ...ลองดูนะค่ะ...ถ้าสงสัยค่อยถามมาใหม่ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

       ขอเรียนถามอาจารย์ว่า ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส 3 สามารถเปลี่ยนเป็นพนักงานธุรการ

ได้หรือเปล่าคะ

ขอบคุณครับอาจารย์ บุษยมาศ ค่อยโล่งใจหน่อยผมก็คิดว่าตรงรอให้ได้ปีตาม คุณสมบัติซะอีก ขอบคุณอีกครั้งครับ

ตอบ...คุณลูกจ้างประจำ...

  • เดิมคุณตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส 3 ถ้าจะปรับเป็นพนักงานธุรการ รหัส 2108 ระดับ 3 นั้น ให้คุณดูลักษณะงานที่คุณปฎิบัติในปัจจุบันว่าทำเกี่ยวกับงานธุรการหรือไม่และให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานธุรการ ระดับ 3 ดังนี้
  • 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 2

ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี  หรือ

  • 2. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและความชำนาญงานในหน้าที่ และ

เคยปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า10 ปี หรือ

  • 3. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะ

งานในหน้าที่

  • ให้ดูว่าคุณเข้าในข้อใดข้อหนึ่ง ใน 3 ข้อ หรือไม่ เพราะมีคำว่า "หรือ" จึงไม่ต้องทุกข้อค่ะ...ส่วนราชการอาจจัดให้มีการสอบ เพื่อกระบวนการในการดำเนินการก็ได้ค่ะ...
  • ให้ศึกษาจากไฟล์ด้านล่างนี้ด้วยค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428

ตอบ...คุณลูกน้ำเค็ม...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศคะ  ดิฉันทำงานปัจจุบันในตำแหน่ง พนักงานพิมพ์  3 ปฏิบัติงานด้านพัสดุมาเป็นเวลา 10 ปี ถ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็น พนักงานพัสดุ 3 ได้เลยหรือไม่ เนื่องจากดิฉันสอบถามท่ีงานการเจ้าหน้าท่ีของหน่วยงานดิฉัน บอกว่ากรอบมีเปลี่ยนได้เพียงแค่ พนักงานพัสดุ 2 ดิฉันอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ถ้าดิฉันควรท่ีจะเปลี่ยนเป็นพนักพัสดุ 2  หรือไม่ หรือสมควรอยู่ในตำแหน่งเดิม ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งคะ

ตอบ...คุณ tum...

  • สงสัยว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานคุณจึงบอกว่ากรอบเปลี่ยนได้เพียงแค่พนักงานพัสดุ 2 ละค่ะ...ไม่เข้าใจ ความจริงในกรอบมาตรฐานกำหนดตำแหน่งกำหนดให้เป็นได้ถึงพนักงานพัสดุ ระดับ 4 นี่ค่ะ...
  • ถ้าคุณมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในตำแหน่งพนักงานพัสดุ ระดับ 3 ดังนี้...
  • 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งพนักงานพัสดุ ระดับ 2 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
  • 2. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและความชำนาญงานในหน้าที่ และเคยปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า10 ปี หรือ
  • 3. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานในหน้าที่
  • ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งค่ะ เพราะมีคำว่า "หรือ" ถ้าคุณทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ตามคุณสมบัติข้อ 2 คุณก็สามารถปรับเปลี่ยนเป็นระดับ 3 ได้นี่ค่ะ...
  • ศึกษารายละเอียดได้จากไฟล์ด้านล่าง รหัส 2106 ตำแหน่งพนักงานพัสดุ ดังนี้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428

สวัสดีค่ะ...ทุกท่าน...

  • สำหรับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวัน Valentine "วันแห่งความรัก"...
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ...
  • "รักและหวังดีต่อทุกคนค่ะ"...
  • สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการมอบให้ พวกเราทุกคนค่ะ เลยมาชวนไปดูค่ะ...
  • อย่าลืมเข้าไปดูในค่ำคืนนี้นะค่ะ...แล้วจะตกตะลึงในความมหัศจรรย์ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas2554/425785

ถึงวันนี้ คิดว่า ลูกจ้างประจำน่าจะได้รับการดูแลเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหรอก เพราะแม้แต่ข้าราชการ เขาก็เริ่มตัดสิทธิไปเรื่อยๆ จะได้ออกก่อนเกษียณมั๊ยน้า

ตอบ...คุณ ryo...

  • ค่ะ...ผู้เขียนก็เอาใจช่วยนะค่ะ...แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสำนักงบประมาณ ต้องดูภาระค่าใช้จ่ายด้วยค่ะ...
  • ถ้ามีระเบียบ ออกมาบังคับใช้ ผู้เขียนจะรีบนำมาแจ้งให้ทราบก็แล้วกันค่ะ...

เรียนท่านอาจารย์บุษยมาศครับ

ผมทำงานตำแหน่งช่างเครื่องจักรกล ช 3 อยู่  แต่ได้แต่งตั้งให้ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่พัสดุมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 แล้ว  ผมอยากทราบว่าถ้าผมเปลี่ยนตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุได้หรือเปล่าครับ

ตอบ...คุณ nyna...

  • ขอให้คุณศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

  • การเป็นตำแหน่งพนักงานพัสดุ รหัส 2106 ระดับ 3 กลุ่มบัญชีค่าจ้าง กลุ่มที่ 2-3 อัตราค่าจ้าง 7,940 บาท และขั้นสูง 29,320 บาท นั้น ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ดังนี้ค่ะ...

  • 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งพนักงานพัสดุ ระดับ 2 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ

  • 2. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและความชำนาญงานในหน้าที่และเคยปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ

  • 3. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานในหน้าที่

  • กรณีของคุณ...ถ้าเคยปฏิบัติหน้าที่พนักงานพัสดุมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งเข้าในข้อที่ 1 คือ แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม ครบตามเวลาที่ปฏิบัติก็สามารถเปลี่ยนได้ค่ะ ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยนะค่ะ...เปลี่ยนเป็น "พนักงานพัสดุ ระดับ 3" ค่ะ เพราะคุณเป็น ช 3 อยู่ค่ะ...

  • การใช้คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งค่ะ เพราะใช้คำว่า "หรือ"...

ตอบ...คุณ nyna...(เพิ่มเติม)

  • ต้องมีคำสั่งมอบหมายงานที่ให้ทำงานพัสดุด้วยนะค่ะ...

สวัสดีครับ  อ.บุษยมาศ

ขณะนี้ผม ตำแหน่ง ช1 รหัส 3103 ค่าจ้าง 14970 บาท จะตันระดับ 1 ที่ 15260 บาท

การประเมินผลงานงวดแรกนี้ จะประเมินให้ทะลุไประดับ 2 ได้หรือไม่(ระดับ 2 ขั้นสูง

18190 คุณสมบัติครบ)

 

 

ตอบ...คุณพัท...

  • ก็สามารถทำได้ 2 กรณี
  • กรณีแรก ให้เต็มขั้นระดับ 1 ก่อน
  • กรณีที่ 2 ถ้าคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสามารถให้ทำได้แล้วตัวเราเข้าคุณสมบัติก็สามารถทำได้ค่ะ
  • สำหรับเรื่องค่าจ้างนั้น เมื่อประเมินในระดับ 2 ได้แล้ว ค่าจ้างที่จะได้รับสำหรับตัวเราก็ได้เท่าเดิมไปก่อน ไต่ระดับ 1 ไปจนเต็มเพดานระดับ 1 แล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปเป็นค่าจ้างในระดับ 2 ค่ะ...การปรับเปลี่ยนระดับ 2 นั้น เป็นการเปิดเพดานของขั้นค่าจ้างให้เท่านั้นนะค่ะ...
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ดูที่คำสั่งในการทำงานในปัจจุบันเป็นหลัก ถ้าไม่มีในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในระดับ 2 หัวหน้าส่วนราชการต้องมอบหมายงานให้ได้ตามระดับ 2 จึงจะทำการประเมินได้ หรืออาจมีการสอบเพื่อคัดเลือกก็ได้ค่ะ...
  • และให้ยึดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในระดับ 2 เป็นหลักด้วยค่ะ...
ไม่ประสงค์ออกนาม

อาจารย์บุษยมาศค่ะ ขอรบกวนถามอาจารย์ดังนี้

1.อยากถามว่าบำเหน็จรายเดือน 15 เท่าของลูกจ้างออกหรือยังค่ะ

2.ค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างออกหรือยัง

ตอบ...คุณไม่ประสงค์ออกนาม...

  • ถ้าหมายถึงบำเหน็จตกทอด 15 เท่าของลูกจ้างให้ศึกษาตามบล็อกนี้นะค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/408190
  • ส่วนค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้าง (ถ้าเป็นหลังเกษียณ ปัจจุบันยังไม่มีระเบียบออกบังคับใช้ แต่ให้ใช้บัตรทองไปก่อนนะค่ะ)
  • ถ้ามีความเคลื่อนไหว ด้านระเบียบ ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบต่อไปค่ะ...

กราบเรียน ท่านอาจารย์บุษยมาศ

ผมตะวัน ผมเปิดอ่านข้อความของท่านอาจารย์เป็นประจำ เว็บไซต์ของท่านอาจารย์มีประโยชย์กับลูกจ้างประจำเป็นอย่างมาก

ทั้งการให้คำปรึกษาคำแนะนำและข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างประจำ ผมเองมีข้อสงสัยไม่เข้าใจอยากจะถาม

พอผมเปิดมาอ่านผมก็หายสงสัย เลยไม่ได้เข้ามาคุยกับท่านอาจารย์ วันนี้ผมขออนุญาตเข้ามาเป็นกำลังใจให้กับท่านอาจารย์

ที่ได้เมตตาให้ความรู้และเป็นการเปิดโอกาสกับลูกจ้างประจำ ที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่เพื่อความก้าวหน้า เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ

ในการปฏิบัติงาน ผมต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงและขอให้ท่านอาจารย์อยู่คู่กับเว็บไซต์นี้ตลอดไป

สุดท้ายนี้ผมขอให้ท่านอาจารย์มีความสุข สุขภาพแข็งแรง อายุยืนเป็นหมื่นๆปีเลยนะครับ

ตอบ...คุณตะวัน...

  • ค่ะ...ก็ต้องขอขอบคุณนะค่ะ...ที่ยังคิดว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ต่อบุคลากรประเภทลูกจ้างประจำ...สิ่งใดที่ผู้เขียนสามารถทำให้ลูกจ้างประจำมีกำลังใจและมีความก้าวหน้าในอาชีพตนเอง ผู้เขียนก็จะขอนำมาแจ้งให้ทราบก็แล้วกันนะค่ะ...
  • อีกอย่าง ปัจจุบันยุคนี้เป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ตัวเราเป็นข้าราชการ ถ้ามีความรู้ ความสามารถทั้งด้านวิชาการ + เทคโนโลยี ก็ไม่ควรที่เก็บไว้ให้หายไปกับตัวเอง ควรนำมาแนะแนะ ชี้แจง ให้บุคลากรภาครัฐได้รับทราบ และจะได้ปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันอย่างถูกต้อง
  • ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับลูกจ้างประจำทุกท่านนะค่ะ ที่ได้ทำงานในหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ในโลคยุคปัจจุบันรัฐต้องการให้บุคลากรภาครัฐทุกประเภท เกิดการพัฒนาตนเองให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ของผลสัมฤทธิ์ของการทำงานภาครัฐไงค่ะ
  • ค่ะ ผู้เขียนก็มีปณิธานในใจว่า จะทำให้จนกว่าผู้เขียนจะเกษียณอายุราชการค่ะ...สิ่งใดดีมีประโยชน์ก็นำไปปฏิบัติได้ค่ะ สิ่งใดไม่ดีไม่มีประโยชน์ ควรทิ้งไว้ที่บล็อกแห่งนี้นะค่ะ...เราสามารถนำสิ่งที่ดีไปบูรณาการให้กับหน่วยงานของเราให้ดีขึ้นได้ค่ะ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...สำหรับคำอวยพรที่ให้มาก็ขอให้ย้อนกลับคืนไปยังท่านด้วยนะค่ะ...(ขอเพียง การไม่มีโรคภัยต่อร่างกายเท่านั้นก็สุขใจแล้วค่ะ)...

พนักงานรักษาความปลอดภัยสามารถออกพิ้นที่ได้หรือไม่ครับ เบิกเบี้ยเลี้ยงได้ไหม

 

ตอบ...คุณ [IP: 125.26.56.221] ...

  • ได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้สั่งการ และก็สามารถเบิกเบี้ยเลี้ยงได้ค่ะ เหมือนกับตำแหน่งทั่ว ๆ ไปค่ะ...ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเหมาะสมค่ะ...
  • 

สวัสดีครับอาจารย์  ผมเพิ่งเข้ามาเป็นครั้งแรกครับ  มีข้อสงสัยมาฝากครับ  ผมทำงานเป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้  ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ  ตั้งแต่ปี 2546  ขณะนี้เงินเดือน 13870  วุฒิการศึกษา ป.ตรี ครับ  ผมจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานพัสดุ  จะอยู่ในระดับใด?   ครับ  ของกระทรวงสาธารณสุข  ในขณะนี้ได้มีหนังสือแจ้งเวียนมาทั้งกระทรวงระดับสูงสุดได้ระดับ 2  หรือ 2/หน. เท่านั้น  คนที่จะเป็นหัวหน้าได้จะต้องมีลูกน้องอย่างน้อย 5 หรือ 7 คนขึ้นไป  ผมเหลืออายุราชการอีก 21 ปี ผมดูอย่างไรแล้ว อาจทะลุไปถึงระดับ 3หรือ 4 ได้  ถ้า กสธ. กำหนดแค่นั้น  ผมจะขั้นระดับ 3 หรือ 4 ได้หรือไม่ ? อาจารย์ครับผมไม่รู้ว่าจะแนบไฟล์ให้อาจารย์ช่วยดูหนังสือที่กล่าวข้างต้นได้อย่างไร  เพราะมีตั้ง 11 หน้า  อาจารย์ช่วยตอบผมด้วยนะครับ ผมถาม 2 ข้อ ขอพระคุณครับ

 

ตอบ...คุณ pichet panyoyoi...

  • ให้ Fax ได้ไหมค่ะ 055 - 267093...ขอเป็นวันที่ 25 มีนาคม 2554 นี้ นะค่ะ เพราะช่วงนี้ ที่ มรพส. ไม่มีใครอยู่ที่ห้องค่ะ มัวไปทำงานกันที่หอประชุมศรีวชิรโชติ เพราะเป็นเจ้าภาพในการรับปริญญาบัตรกันค่ะ...ถ้าไม่สะดวก ให้ EMS. มาถึงผู้เขียนโดยตรงเลยค่ะ...ส่งมาที่ นางบุษยมาศ  แสงเงิน ผู้อำนวยการกองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
  • ขอบคุณค่ะ...

เรียน อ. บุษยมาศ

             ผมขอเรียนถามอาจารย์ต่ำแหน่งพนักงานธุรการกับตำแหน่งพนักงานพัสดุ  ตำแหน่งไหนมีความก้าวหน้ามากกว่ากัน  ตอนนี้ผมดำรงต่ำแหน่งพนักงานธุรการ  ส1  แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของผมที่ทำงานมอบหมายให้ทำต่ำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ  ซึ่งผมได้ทำงานในต่ำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุมาแล้วมากกว่า 10 ปี 

ตอบ...คุณสวิท...

  • ตำแหน่งพนักงานพัสดุ อยู่รหัสที่ 2106 ตำแหน่งพนักงานธุรการ อยู่รหัสที่ 2108 สำหรับขั้นค่าจ้าง ก็สามารถเติบโตได้พอ ๆ กันค่ะ ว่าแต่ปัจจุบันท่านปฏิบัติงานด้านใด และอะไรคืองานที่ท่านได้รับมอบหมายให้ทำอยู่
  • จากที่คุณบอกว่าทำงานพัสดุมามากกว่า 10 ปี นั่นคือ คุณมีความชำนาญในหน้าที่ด้านพัสดุมากกว่า แต่คุณดำรงตำแหน่งพนักงานธุรการ ส 1 ซึ่งส่วนราชการควรปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ใหม่ได้แล้วค่ะ การปรับเปลี่ยนก็ขึ้นอยู่กับส่วนราชการ ให้คุณปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ+ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูนะค่ะ...เพราะในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของคุณนั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ ถ้าเงินค่าจ้างเต็มขั้นแล้ว...เรียกว่า เส้นทางความก้าวหน้าในการทำงานสามารถทำได้ รวมทั้งก็ต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาตัวคุณเองด้วยนะค่ะ...
  • ให้ศึกษาเพิ่มเติมจากบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428

1.สวัสดีครับอาจารย์   ผมขอส่งทาง mail ไดไหมครับ ขอให้อาจารย์ส่ง mail ของอาจารย์มาให้ผมด้วยครับ  ส่งมาที่ [email protected] แล้วผมจะจัดส่งให้ด่วนครับ  เนื่องจาก Fax ใช้งานไม่ได้ครับ  แต่ถ่าจะดูอีกที่ เป็นเว็บของสมาคมลูกจ้างประจำแห่งประเทศไทยผมได้ขึ้นภาพไว้ให้สมาชิกของสมาคมได้อ่านและถกกันครับ

ขอบพระคุณครับ

ตอบ...คุณ pichet...

  • ส่ง mail มาให้แล้วนะค่ะ ตอบด้วยค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

อาจารย์ครับผมเปิดดู E-mail ของผมแล้วไม่พบ E-mail ของอาจารย์เลยครับ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยส่งมาให้อีกครั้งนะครับ

ตอบ...คุณ pichet...

  • ได้ส่ง mail ให้แล้วค่ะ 2 ครั้ง ถ้าไม่ได้ คุณลองคลิกที่ด้านบนบล็อกนี้ คือ อีเมล์ติดต่อแล้วก็ลองส่งข้อความมาดูนะค่ะ...เพราะเป็นเมล์ของผู้เขียนเองค่ะ...ลองดูนะค่ะ ว่าได้หรือไม่...
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค๋ะ อาจารย์ ดิฉันจะถามว่า พ่อของดิฉัน เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการภารโรง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ) เกษียณอายุ 1 ต.ค. 53 หลังจากนั้นพ่อดิฉันจะได้รับสวัสดิการอะไรบ้างค่ะ

เรียน อ.บุษยมาศ ที่นับถือ

         1.ด้วยความเกรงใจอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่ต้องรบกวนอีกครั้ง เพราะจากการพบสภาพปัญหาของลูกจ้างประจำส่วนราชการก็มีความหนักใจพอๆกัน อย่างผมเองได้สอบถามการเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานพิมพ์ ระดับ3 เป็นพนักงานธุรการและไดเรบการยืนยันทางโทรศัพท์เป็นที่เรียบร้อย ผมก็ดำเนินการต่อด้วยการทำเรื่องขอเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้ตรงกับลักษณะงานที่ปฏิบัติจริง (ยังสามารถตรวจสอบข้อมูลและการทำงานได้) โดยส่งเรื่องไปยัง สพม.ครั้งที่ 1 กันยายน 2553 ครั้งที่ 2 มกราคม 2554 เห็นเรื่องเงียบจึงสอบถามเจ้าหน้าที่และแจ้งว่ากำลังรอดำเนินการให้อยู่  เป็นไปได้หรือไม่ว่าเรื่องถูกเก็บ แต่ผมมีสำเนาเอกสารราชการยืนยัน

2.ข้าราชการอื่นมีวันสำคัญเช่น วันตำรวจ วันครู ส่วนลูกจ้างประจำนั้นจะให้อิงกับส่วนราชการใดครับ

    ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง

ตอบ...คุณนุชจรี...

  • ตอนนี้รอระเบียบก่อนนะค่ะ ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ค่ะ ถ้าประกาศออกมาแล้วจะนำมาแจ้งค่ะ...ต้องรอค่ะ...

ตอบ...คุณ WIJIT...

  • คงไม่ใช่เรื่องถูกเก็บหรอกค่ะ เจ้าหน้าที่คงจะทำให้ แต่ต้องรอกระบวนการอะไรบางอย่าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ได้บอกค่ะ...ใจเย็น ๆ นะค่ะ จะทำอะไรให้ตามใจเรานั้นคงยากค่ะ เพราะนี่คือ การทำงาน ถ้าเขายืนยันก็คงได้หรอกค่ะ...บางครั้งเราก็ต้องรอนะค่ะ ถ้าสงสัยก็ลองถามเจ้าหน้าที่ก็ได้ว่าช้าเพราะเหตุใด?...
  • เนื่องมาจากสมัยก่อน มีจำนวนข้าราชการมากไงค่ะ แล้วอีกอย่างการเป็นลูกจ้างประจำ สมัยก่อนก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญเช่นข้าราชการ อาจเนื่องมาจากการทำงานหลัก ทำงานสนับสนุนไงค่ะ แต่ที่ปัจจุบันมีการจัดประเภทบุคลากรภาครัฐใหม่นั้น เป็นเพราะการทำงานในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงของภาครัฐต้องการให้เกิดผลงานมากกว่า เพราะสมัยก่อนวัดผลงานเป็นรูปธรรมไม่ได้ รัฐจึงหาวิธีในการบริหารงานภาครัฐแบบใหม่ ซึ่งจะเน้นเรื่องการทำงานเป็นทีมมากกว่า
  • สมัยก่อนเป็นการทำงานตามสายบังคับบัญชา ข้าราชการแต่ละคนจึงมีอำนาจตามตำแหน่ง แต่มา ณ ปัจจุบันรัฐได้ปรับเปลี่ยนการทำงานโดยมุ่งเน้นผลงาน จึงเป็นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จมากกว่าการทำงานตามอำนาจบังคับบัญชา อำนาจของส่วนราชการโดยเฉพาะข้าราชการนั้น ปัจจุบันจะเป็นไปตามโครงสร้างค่ะ ซึ่งสมัยก่อนอำนาจเป็นไปตามตำแหน่งผู้บังคับบัญชา เมื่อรัฐลดอำนาจตรงจุดนี้ จะหันไปเน้นการทำงานเพื่อให้บรรลุผลงานมากกว่า จึงทำให้การทำงานปัจจุบันกับสมัยก่อนแตกต่างกัน
  • จากเหตุผลข้างต้น สมัยก่อนจึงไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญของลูกจ้างประจำไงค่ะ ไม่ว่าเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง...แต่มาปัจจุบันงานบางอย่างข้าราชการก็ไม่สามารถทำได้ต้องให้ลูกจ้างประจำทำ จึงเป็นการทำงานที่มุ่งเน้นผลงานมากกว่า ซึ่งลูกจ้างประจำก็ต้องมีเส้นทางความก้าวหน้าเช่นเดียวกับข้าราชการ เรียกว่า "รัฐได้ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่" ไงค่ะ...
  • จะวันครู หรือวันไหน ๆ ก็อย่าไปสนใจเลยค่ะ...ขอเพียงเราก็คือบุคลากรของรัฐประเภทหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการที่รัฐได้ดูแลให้เรามีงานทำก็น่าจะพอแล้วค่ะ...จำได้ไหมค่ะว่า ทุก ๆ คน ที่เข้ามาในวงเวียนของการรับราชการไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ พออายุครบ 60 ปี ทุก ๆ คน ก็ต้องหมดวาระการทำงาน ต้องกลับไปถิ่นเดิมของตนเอง...ขอเพียงว่าปัจจุบันให้เรามีงานทำพอเลี้ยงชีวิต + ครอบครัวให้มีความสุขก็เพียงพอแล้วค่ะ...สิ่งใด ๆ ที่มันอยู่เหนืออำนาจของเรา ก็ควรละทิ้งไปบ้างค่ะ...เพราะเรียกร้องอะไรไปบางครั้งก็ไกลเกินเอื้อมค่ะ...สุดท้ายเราก็ต้องอยู่กับครอบครัวของเราเท่านั้นเองค่ะ...และก็จงภูมิใจว่าเราได้รับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ จนครบอายุเกษียณ...นี่น่าจะเป็นความภาคภูมิใจของเรากับครอบครัวเรามากกว่านะค่ะ...
  • ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ...

     ต้องขอกราบขอบพระคุณ อ.บุษยมาศ อีกครั้งที่เห็นความสำคัญและให้กำลังใจต่อการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำส่วนราชการมาโดยตลอด อย่างวันนี้(6เม.ย.)เป็นวันหยุด ผมเป็นบุคคลหนึ่งของหน่วยงานได้รับมอบหมายงานการเลื่อนขั้นครึ่งปีแรก(ทำมาโดยตลอด) ซึ่งต้องจัดทำ/นำส่งข้อมูลประกอบการเลื่อนขั้นให้กับ ขรก.96 รายและลูกจ้างประจำของหน่วยงาน 9 ราย ได้นำส่งหน่วยบังคับบัญชาเรียบร้อยแล้ว

ตอบ...คุณ WIJIT...

  • ดีค่ะ...ขอชื่นชมนะค่ะ ทำไปเถอะค่ะ เพื่อประเทศชาติ
  • หลาย ๆ แรงช่วยกันประเทศชาติจะได้ดีขึ้นกว่านี้ไงค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

ขอนำเอาคำพูดของท่าน ผอ. บุษยมาศ มาเป็นกำลังใจนะครับ

      "จะวันครู หรือวันไหน ๆ ก็อย่าไปสนใจเลยค่ะ...ขอเพียงเราก็คือบุคลากรของรัฐประเภทหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการที่รัฐได้ดูแลให้เรามีงานทำก็น่าจะพอแล้วค่ะ...จำได้ไหมค่ะว่า ทุก ๆ คน ที่เข้ามาในวงเวียนของการรับราชการไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ พออายุครบ 60 ปี ทุก ๆ คน ก็ต้องหมดวาระการทำงาน ต้องกลับไปถิ่นเดิมของตนเอง...ขอเพียงว่าปัจจุบันให้เรามีงานทำพอเลี้ยงชีวิต + ครอบครัวให้มีความสุขก็เพียงพอแล้วค่ะ...สิ่งใด ๆ ที่มันอยู่เหนืออำนาจของเรา ก็ควรละทิ้งไปบ้างค่ะ...เพราะเรียกร้องอะไรไปบางครั้งก็ไกลเกินเอื้อมค่ะ...สุดท้ายเราก็ต้องอยู่กับครอบครัวของเราเท่านั้นเองค่ะ...และก็จงภูมิใจว่าเราได้รับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ"

เมื่อได้อ่านข้อความของ ผอ. แล้วทำให้ผมมีกำลังเป็นอย่างมาก บางทีเราคิดว่าเราจะได้อย่างนี้ได้อย่างนั้น  บางครั้งมันก็เกินกำลังของเราและเราไม่มีอำนาจจะไปตัดสินใจได้  จริงอยู่เราเป็นลูกจ้างประจำเติบโตและก้าวหน้าไปตามสายงานของเรา (ลูกจ้างประจำ) พอเห็นข้าราชการปรับเปลี่ยนและก้าวหน้าเราก็อยากได้อย่างนั้นบ้าง แต่ในบางครั้งมันก็เป็นเรื่องยากและเกินอำนาจของเราไป ผมขอขอบคุณท่าน ผอ. เป็นอย่างสูงที่กรุณาสละเวลาของท่านมาตอบและให้ความรู้แก่ชาวลูกจ้างประจำ

ผมขอเป็นกำลังใจให้ชาวลูกจ้างทุกท่านนะครับ ถ้ามีโอกาสก็สอบเปลี่ยนตำแหน่ง จะได้เป็นข้าราชการเต็มตัวซะที (ซึ่งตัวข้าพเจ้าเองก็พยายามสอบมาโดยตลอด บางทีก็ติด บางทีก็ไม่ติด หรือติดแต่เรียกไม่ถึงบ้าง) ก็จะพยายามต่อไป

สุดท้ายนี้ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งที่ท่านเคารพนับถือ

โปรดช่วยดลบันดาลให้ท่าน ผอ. บุษยมาศ และชาวลูกจ้างประจำ จงมีความสุขความเจริญตลอดไปนะครับ

 

 

ตอบ...คุณลูกจ้าง C11...

  • ค่ะ ข้อความข้างต้น นั่นคือ "สัจธรรมของชีวิต" = ความจริงของชีวิตคนเราไงค่ะ...บางครั้งเห็นคนเราดิ้นรนไปก็เท่านั้น...เรียกว่า "เหนื่อยเปล่า เหนื่อยกายไม่พอ แถมยังเหนื่อยใจแล้วไม่มีความสุขอีก" คนเราเกิดมาเพื่อความสุขมากกว่านะค่ะ...มีทุกข์ก็พยายามละให้ทุกข์ลดลงสิค่ะ...สู้ให้รัฐดำเนินการปรับปรุงให้ระบบดีขึ้นเองดีกว่าค่ะ...
  • ในวงการของการทำงานรับราชการ ก็ขอให้รู้ว่า ผู้เขียนหวังดีและเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ทำงานให้กับภาครัฐ...มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวก็จะนำมาแจ้งให้ทราบก็แล้วกันนะค่ะ...
  • สังเกตเห็นหรือไม่ว่าคนเราไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานของรัฐประเภทอื่น เมื่อครบ 60 ปี (ยกเว้นผู้ที่ขอต่อเวลาราชการ 65 ปี) พวกนี้ เวลาเกษียณไปแล้ว อำนาจก็หมด สุดท้ายก็อยู่กับครอบครัว กลับถิ่นเดิมของตนเอง เพราะหมดบทบาทในวงราชการแล้ว...คนเราจะมียศ มีตำแหน่ง มีอำนาจ ก็แค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นเอง...แต่ทั้งชีวิต คนที่อยู่กับตัวเราตลอดเวลา นั่นคือ ครอบครัวของเราเองค่ะ...
  • พรใดที่คุณให้มาก็ขอให้ย้อนคืนกับไปยังคุณและครอบครัวด้วยนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค่ะ ผอ.คนเก่ง

  • แอบมาชื่นชมในความรู้ความสามารถของ ผอ.บุศย์ ค่ะ
  • ดูการตอบเม้นท์  ของอาจารย์แล้ว ชื่นชมด้วยใจจริงค่ะ
  • คนเราก็แปลกนะคะ แทนที่จะมองเห็นในความดี ความเก่ง ความสามารถของคนอื่น
  • กลับไปเก็บสิ่งเล็ก ๆมาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาคนเสียนี่
  • ชื่นชมด้วยความจริงใจค่ะ 

สวัสดีค่ะ...ครูอิงจันทร์...Ico48...

  • ค่ะ...ไม่เป็นไรหรอกค่ะ...คนเราถ้าทำงานแล้ว มีอะไรที่จะให้ทำอีกเยอะค่ะ
  • ขอบคุณนะค่ะ...
ภารโรง (โรงเรียนกทม)

อยากรู้ว่าภารโรงโรงเรียของ กทม ถ้าเรียนจบป.ตรี แล้วจะมีการบรรจุในต่ำแหน่งอื่นได้หรื่อเปล่าครับ อีกข้อจะมีการปรับฐานเงินเดือนหรื่อเปล่าครับปัจจุบันอยู่ที่12000ก่วาบาทเองมีโอกาสจะปรับได้ถึง15000-18000 หรือเปล่าครับท่าน ผอ และเมื่อไหร่ ปีไหนครับผม

ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข

ทำงานหน่วยงานเวชระเบียนตำแหน่งพนักงานช่วยเหลือคนไข้กระทรวงสาธารณสุขไม่เปิดตำแหน่งที่ตรงกับห้องเวชระเบียนแต่หน่วยงานอื่นๆลงตำแหน่งได้หมดยกเว้นดิฉันที่กระทรวงสาธารณสุขไม่เปิดตำแหน่ง พนักงานสถิติ และตำแหน่งพนักงานบัตรรายงานโรค เครียดมากเลยค่ะ อยากได้ความยุติธรรม เพราะในหนังสือ ว 61 ในคำชี้แจงเพิ่มเติม ข้อ2 บอกว่า ถ้าหน่วยราชการใดต้องการขอตำแหน่งเพิ่มเติม ให้ทำความตกลงกับสำนักงานปลัดกระทรวงโดยประเมินค่าของงาน และผลงานย้อนหลัง 3 ปี รบกวน อ.บุษยมาศ ช่วยด้วยค่ะ

ตอบ...คุณภารโรง (โรงเรียน กทม.)...

  • ถ้ามีก็คือ มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งค่ะ ตามที่ผู้เขียนนำมาลงในบล็อก ให้คลิกอ่านที่สารบัญ ด้านขวามือนะค่ะ จะมีรายชื่อ ให้อ่านจากด้านล่างไปสู่ด้านบน เพราะด้านบนจะเป็นปัจจุบันค่ะ...
  • การปรับเปลี่ยนสามารถทำได้ ถ้าส่วนราชการทำให้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับภาระงานที่คุณได้ปฏิบัติอยู่ด้วยค่ะ ว่าทำได้หรือเปล่า เช่น ปัจจุบัน ตำแหน่งเป็นภารโรง แต่ได้รับคำสั่งให้ทำงานธุรการ ก็สามารถปรับเป็นพนักงานธุรการได้ค่ะ ขอให้ศึกษาตามที่บอกในข้างต้นนะค่ะ...เมื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งจะทำให้ขั้นค่าจ้างสูงขึ้นไงค่ะ...
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งก็ต้องดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งด้วยนะค่ะ...

ตอบ...คุณลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข...

  • ถ้าอย่างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับส่วนราชการที่คุณสังกัดแล้วนะค่ะ ต้องทำการประเมินค่างาน โดยมีผลงานย้อนหลัง 3 ปี เข้าไปก่อนค่ะ...
  • ให้ปรึกษากับหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่เขารับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงนะค่ะ ถามถึงเหตุผล ความเป็นไปได้ที่จะปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ หรือหาวิธีใดที่จะทำให้คุณปรับเปลี่ยนให้สูงขึ้นได้บ้าง...ลองดูนะค่ะ เพราะส่วนราชการอื่น ไม่สามารถช่วยคุณได้ นอกจากส่วนราชการที่คุณสังกัดอยู่นะค่ะ เพราะรัฐกระจายอำนาจมาให้แต่ละส่วนราชการในการดำเนินการแล้วค่ะ...
ลูกจ้างกระทรวงสาณารณสุข

รบกวนถามอาจารย์บุษยมาศในกรณีที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้กำหนด เกณฑ์ตำแหน่งมาให้ ทางโรงพยาบาลสามารถขอเพิ่มตำแหน่งได้หรือไม่ค่ะ และต้องมีขั้นตอน วิธีการทำอย่างไรบ้าง ขอบคุณค่ะ

ตอบ...ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข...

  • ให้ส่วนราชการปรึกษากับหน่วยงานตามหนังสือที่คุณแจ้ง คือ ว 61 ซึ่งการวิเคราห์ค่างานหรือการประเมินค่างาน ก็เป็นไปตามภาระงานในส่วนราชการนั้น ถ้าภาระงานมากก็คงจะทำการขอได้ แต่ถ้าภาระงานน้อย ก็คงทำการประเมินค่างานไม่ได้ ให้เจ้าหน้าที่ลองปรึกษาก่อนก็ได้ค่ะ...แต่ก็มีทางออก คือ ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องดูว่าหน้าที่ที่คุณปฏิบัติปัจจุบันนี้เกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง เช่น หน่วยงานเวชระเบียนตำแหน่งพนักงานช่วยเหลือคนไข้กระทรวงสาธารณสุข และอาจทำงานหน้าที่อื่น ๆ อีกหรือไม่ ที่เข้าค่ายที่เราสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยไม่ได้กำหนดในหนังสือ ว 61  เช่น ทำงานธุรการ หรือ งานพัสดุ งานการเงิน ฯลฯ ลองดู ถ้าภาระงานสามารถเอื้อกันได้ก็ควรไปปรับตำแหน่งดังกล่าวนี้ก่อนค่ะ แล้วงานที่ทำหน่วยงานเวชระเบียนก็เป็นงานที่ทำอยู่เป็นงานรองไปไงค่ะ ลองดูนะค่ะ...

-รบกวนสอบถามเรี่องการพิจารณาเงืนเดือนใหม่ลูกจ้างประจำ (-1เม.ย.54)นะค่ะ

-พอเห็นแบบเสนอใหม่รู้สึกจะเหมือนรุ่นเดืม(หัวหน้างานเสนอเอง)/ผู้ถูกพิจารณาไม่มีสิทธิ์รับทราบ

-ประเมินเป็นขั้นไม่ดูผลงาน/ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานเป็นตัวกำหนด/อยู่มานานมีสิทธิ์ก่อน/ผลงานมาทีหลัง

(อ้างเหตุเนื่องจากอยู่มา20ปีไม่เคยได้รับ2ขั้นขอให้เขาก่อน)

-จะมีโอกาสได้ขึ้นเงินเดือนใช้เกณฑ์เป็นเปอร์เช็นต์กับเขาบ้างมั๊ยลูกจ้างประจำส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุ

ตอบ...คุณเข็มทอง...

ข่าวการขึ้นเงินเดือนของลูกจ้างประจำ  ตามหนังสือของกรมบัญชีกลาง ว.36  ลงวันที่  18  เมษายน  2554  โดยปรับร้อยละ 5  มีผลตั้งแต่วันที่ 1  เมษายน  2554 เป็นต้นไป  หรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บของกรมบัญชีกลาง

ตอบ...คุณ pichet...

อยากทราบว่า พนักงานราชการ กับ ข้าราชการเหมือนกันหรือไม่ และลูกจ้างประจำที่มีวุฒิ ตำแหน่ง พ.ธุรการ ระดับ สนับสนุน 4 พนักงานราชการ ตำแหน่ง พ.ธุรการ เหมือนกันหรือไม่ และแตกต่างกันหรือไม่

ตอบ...คุณอารายา...

  • ให้คุณศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas/306519
  • คำว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย แตกต่างกันตรงที่เป็นประเภทของบุคลากรภาครัฐค่ะ...แยกเป็นแต่ละประเภท ต่างกันตรงที่สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ได้รับค่ะ...
  • สำหรับเงินเดือนเรียกเฉพาะข้าราชการ พนักงานราชการจะเรียกว่า ค่าตอบแทน ลูกจ้างประจำและพนักงานมหาวิทยาลัย จะเรียกว่า ค่าจ้าง ค่ะ เป็นคำนิยามที่ใช้ในการเรียกจากเงินที่ได้รับเมื่อสิ้นเดือนค่ะ...
  • ข้าราชการเป็นการปฏิบัติงานตามสายงานหลัก ส่วนลูกจ้างประจำ พนักงานราชการจะเป็นลักษณะงานสนับสนุนหรืองานรอง แต่มาในปัจจุบัน ข้าราชการก็เริ่มลดอัตราลง ทำให้มีกลุ่มพนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้นมาแทนที่ข้าราชการแล้วค่ะ โดยภาระงานก็ทำคล้าย ๆ กับข้าราชการ แต่ต่างที่การทำสัญญาจ้างไม่เหมือนข้าราชการที่เมื่อบรรจุแล้วจะทำงานจนถึงอายุครบ 60 ปี ลูกจ้างประจำก็เช่นกัน ปฏิบัติเหมือนข้าราชการแต่แตกต่างกันตรงวุฒิที่รับบรรจุ ภาระงานที่ปฏิบัติ ส่วนพนักงานราชการเป็นการทำสัญญาจ้าง 4 ปี ต่อ 1 ครั้งค่ะ ส่วนพนักงานมหาวิทยาลัยก็เป็นการทำสัญญาจ้าง ขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัยจะกำหนดว่าจะจ้างกี่ปี เช่น 1 ปี 3 ปี 5 ปี 6 ปี แล้วแต่สภามหาวิทยาลัยกำหนดค่ะ...
  • ตำแหน่งไม่เหมือนกันจะแตกต่างกันตรงที่ภาระหน้าที่ที่ส่วนราชการมอบหมายให้ลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการปฏิบัติค่ะ...

ขอบพระคุณท่านผอ. มากครับที่กรุณาให้คำชี้แนะ ผมความรู้น้อยและก็ไม่เคยได้ศึกษาถึงสิทธิหน้าที่ของตนเองเลยครับ ดีใจมากครับที่มีโอกาสได้เข้ามาหาความรู้จากบลีอกของท่านผอ. ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

ตอบ...คุณ tt...

  • ไม่เป็นไรค่ะ ความรู้น้อย เราก็หาเพิ่มเติมได้ค่ะ แต่สิ่งที่ควรทราบก่อนอื่น ถ้าเราเป็นบุคลากรของภาครัฐประเภทใด เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงาราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ฯลฯ  เราควรศึกษาเรื่องสิทธิประโยชน์ หน้าที่ ความรับผิดชอบของเราก่อน เพราะเราต้องทราบว่าเราคือใคร สิ่งใดที่เราควรกระทำค่ะ เพราะเราจะได้รู้เท่าทันกับคนอื่นไงค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

ขอทราบบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการหลังปรับขึ้น 5%

ตอบ...คุณสม...

  • ให้คุณศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้นะคะ
  • http://www.gotoknow.org/blog/bussayamas46/436348
  • ส่วนใหญ่ ถ้ามีเรื่องความคืบหน้าของลูกจ้างประจำ ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบตามบล็อกต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ
  • http://www.gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ ตอนนี้ผมรับค่าจ้างรายเดือนอยู่ที่ 16,340(เพิ่ม5%แล้ว)ผมอยากทราบว่าหากตุลาคม 54นี้ผมได้ 1ขั้นผมจะได้เงินเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ครับ(ขั้นละกี่ร้อยครับ)เพราะผมได้เข้าไปดูตามที่ท่านอาจารย์แนะนำก็ไม่เห็นมีครับจะมีแต่บัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ปรับหลังเพิ่ม 5%แล้วเท่านั้นขอความอนุเคราะห์จากท่านอาจารย์หาข้อมูลให้ด้วยนะครับเพราะอาจารย์เป็นที่พึ่งของลูกจ้าง คราวหน้าถ้ามีโอกาสท่านอาจารย์ลงสมัคร สส.นะครับรับรองว่าท่านอาจารย์ต้องได้คะแนนถล่มทลายแน่ๆเลยครับขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ

ตอบ...คุณสม...

  • คุณไม่ได้ให้รายละเอียดว่าคุณอยู่ตำแหน่งใด กลุ่มบัญชีค่าจ้างที่เท่าใด เลยไม่สามารถบอกได้ค่ะ ความจริงที่ผู้เขียนบอกนั้น จะอยู่ในไฟล์ตามหนังสือ ว 36 ไงค่ะ ต้องคลิกดูในแต่ละไฟล์ด้านล่างของบล็อกแต่ละไฟล์ค่ะ เพราะไฟล์มาก ไม่สามารถนำขึ้นทีเดียว ต้องแบ่งไฟล์ขึ้นค่ะ... ลองอีกครั้งนะคะ ถ้าไม่ได้ ให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมตามข้างต้นนะคะผู้เขียนจะแจ้งให้ทราบค่ะ...เพราะมีบัญชีค่าจ้าง 4 กลุ่มไงค่ะ...เลยไม่สามารถแจ้งให้ทราบได้
  • ขอบคุณค่ะ สำหรับคำแนะนำ การลงเล่นการเมืองคงไม่ลงเล่นหรอกค่ะ ขอทำหน้าที่รับราชการและเป็นข้าราชการที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตนี้ก็พอแล้วค่ะ...และยินดีให้คำแนะนำค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

พนักงานราชการมีความคืบหน้าหรือเปล่าครับ

ด้วยความเคารพและนับถือ

ตอบ...คุณอำนาจ...

  • ปัจจุบันยังไม่มีอะไรคืบหน้าเลยค่ะ...

เรียนท่านอาจารย์ ตามที่ท่านอาจารย์แนะนำผมหาเจอแล้วครับขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ลืมบอกท่านอาจารย์ไปครับผมตำแหน่งพนักงานโสตทัศนศึกษารหัส 1505 กลุ่มงานบริการพื้นฐาน บัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการกลุ่มที่ 1 ครับอีก 2 ปีจะเกษียณ(กันยายน 56)จะมีโอกาสไปถึงกลุ่ม 2 ไหมครับ

ตอบ...คุณสม...

  • ขอโทษด้วยค่ะ ที่ตอบช้าไปหน่อย เพราะมีภาระงานในหน้าที่ต้องไปราชการหลายวันหน่อยค่ะ...
  • คุณตำแหน่งพนักงานโสตทัศนศึกษา อยู่ระดับ 1 ซึ่งคุณไม่ได้แจ้งค่าจ้างมา เลยไม่สามารถตอบตรงเป้าหมายหรือไม่
  • เอาเป็นว่า ระดับ 1 อัตราค่าจ้างขั้นสูงจะอยู่ที่ 18,190 บาท ค่ะ ถ้าปัจจุบันคุณได้รับแล้วหรือยังไม่ได้รับ แต่ถ้าคุณเข้าคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในระดับ 2 คือ เข้าข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อ ตามที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งบอก คุณก็สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ค่ะ
  • แต่ถ้าขั้นค่าจ้างยังได้ไม่ถึง 18,190 บาท ก็ต้องรอให้ถึงก่อนนะคะ ถึงจะปรับเงินค่าจ้างไประดับ 2 ได้ค่ะ...(แต่สามารถปรับตำแหน่งไประดับ 2 ก่อนได้ เพียงแต่ขั้นค่าจ้างต้องให้ได้รับขั้นสูงของระดับ 1 ก่อนค่ะ)
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก่อนค่ะว่าควรจะดำเนินการอย่างไร...

เรียนถามอาจารย์ ว่าดิฉันเป็นลูกจ้างประจำถามอาจารย์ว่า

1. ดิฉันจะลาออกจากลูกจ้างประจำเพราะได้ไปบรรจุเป็นข้าราชการในวันที่ 22 ก.ค 2554 ให้ไปรายงานตัวแล้ววันที่ 1 ส.ค.2554 เริ่มไปทำงานแล้วดิฉันพึ่งได้รับจดหมายเมื่อวันที่ 11 ก.ค.2554 นี้เอง ดิฉันจะลาออกทันไหม เพราะเท่าที่รู้มาว่าการลาออกต้องลาออกอย่างน้อย 30 วัน แล้วหน่วยงานจะให้ดิฉันลาออกไหม

2. ดิฉันทำงานในตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส3 เงินเดือนปรับใหม่5% สิ้นเดือน กรกฎาคม 2554 จะได้รับ 12,330 บาท แต่ที่ได้ไปบรรจุเป็นเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงานเงินเดือนประมาณ 7000 กว่าบาท ดิฉันควรไปหรือไม่ เพราะตอนนี้ดิฉันกำลังศึกษาอยู่ ปริญญาตรีภาคพิเศษถ้าจบมาจะปรับจากเจ้าพนักงานเป็นนักวิชาการไหม สรุปแล้วจะตัดสินใจอย่างดีอาจารย์ช่วยด้วย ตอนนี้สับสน (ดิฉันบรรจุลูกจ้าง เดือน พ.ย.2542 คิดแล้วประมาณ 11 ปี แล้วถ้าไปบรรจุใหม่ ดิฉันเหลือเวลาอีกประมาณ 24 ปี ดิฉันเกิดวันที่ 18 ธ.ค.2517) อาจารย์ช่วยตอบด้วยค่ะ ดิฉันไม่รู้จะปรึกษาใคร

ตอบ...คุณลูกจ้างตัวน้อย...

1. การลาออกถ้ามีเหตุผลจำเป็นจริง ๆ แบบที่คุณกล่าวนั้น ก็สามารถทำได้ค่ะ...ระเบียบก็คือระเบียบ มีการยืดหยุ่นกันได้ ถ้ามันจำเป็นจริง ๆ ตอนนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณนะคะ...

2. ผู้เขียนไม่สามารถบอกให้คุณเลือกว่าจะบรรจุเป็นข้าราชการได้หรือไม่ ตามที่คุณบอกคือ ได้รับเงินเดือน 7,000 บาท แสดงว่าได้บรรจุต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี จึงทำให้เงินเดือนน้อย...แต่ข้อดีของการเป็นข้าราชการก็จะได้เรื่อง สิทธิประโยชน์ + สวัสดิการ แต่ข้อเสียก็คือ บรรจุแล้วไกลบ้านที่เคยอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ เมื่อบรรจุแล้วจะสามารถย้ายไปอยู่ใกล้ ๆ ที่เดิมได้หรือไม่ เพราะบางครั้ง นี่คือ ปัญหาของการเป็นข้าราชการ ยิ่งอยู่ไกลบ้านก็เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น...ถ้าเป็นลูกจ้างประจำ เมื่อจบการศึกษาจะไม่มีการปรับวุฒิปริญญาตรีให้หรอกค่ะ เพียงแต่ขอเพิ่มวุฒิให้สูงขึ้นเท่านั้นเอง ไม่เหมือนกับข้าราชการค่ะ...อายุราชการเหลืออีก 24 ปี ก็น่าจะลองดูนะคะ เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้น สิทธิ สวัสดิการของการเป็นข้าราชการจะมั่นคงกว่าลูกจ้างประจำ...ขึ้นอยู่กับคุณจะตัดสินใจค่ะ ว่าควรไปหรือไม่...ถ้าลาออกจากลูกจ้างประจำ ก็คงได้รับบำเหน็จในส่วน 11 ปี ไงค่ะ...แต่ขอบอกว่าถ้าได้บรรจุไกลบ้าน ค่าใช้จ่ายก็จะตามมาค่ะ ถ้าพูดถึงความมั่นคง ข้าราชการมั่นคงกว่าแน่นอนค่ะ...อยู่ที่คุณจะตัดสินใจเองนะคะ...

..............ท่านอาจารย์บุษยมาศ......... ครับ,,, นานแล้วไม่มีโอกาสเข้ามา แต่ก็เข้าอ่านตลอดทุกหน้าต่าง วันนี้มีเรื่องที่คับข้องใจอยู่ อยากสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ว่า

.............1.การที่หน่วยงานของผม กรอบอัตรากำลังมีไม่เพียงพอ และจะมีการคืนอัตรากำลังข้าราชการที่เกษียณให้ โดยได้รับความยินยอมของ ก.พ. ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของ" พนักงานราชการ " ให้เป้นตำแหน่งข้าราชการระดับปฏิบัติงาน อะไรทำนองนั้นประมาณว่า จะมีความเป้นไปได้มากน้อยเพียงใด?

,,,,,,,,,,,,,2 ถ้าเป็นไปได้ ตามข้อ 1. พวกเราที่เป้นลูกจ้างประจำทำงานในหน่วยงานมาช้านาน ความรู้ ความสามารถ ครบ จะมีโอกาสกับเขาบ้างใหม? อย่างไร?หรือเป็นไปตามนั้น ถ้าพวกเรามีโอกาส อายุราชการของพวกเราจะเป้นอย่างไร?

............3. สำหรับรายละเอียดขออนุเคราะห์เข้าไปดู กูเกิ้ล + กรมป่าไม้+รายงานการประชุมผู้บริหารกรมป่าไม้ ครั้งที่ 5/2554 หน้าที่ 11

,,,,,,,,,,,,, จึงเรียมมายังท่านในหัวอกเดียวกัน ช้วยวิเคราะหื หรือ เสนอแนะให้พวกเราได้รับความกระจ่าง เพื่อจะได้เตรียมความพร้อม / ไมพร้อม มา ณ โอกาสนี้

,,,,,,,,,,,,, ขอขอบพระคุณ...สวัสดีครับ...........

ตอบ...คุณคนกรมป่าไม้...

1. ขึ้นอยู่กับนโยบายค่ะ

2. ต้องดูที่คุณสมบัติที่รัฐกำหนดค่ะ การบรรจุต้องแยกจากความเข้าใจว่า เดิมเราเป็นบุคลากรประเภทใด จะไม่สามารถนำมานับต่อกันได้ค่ะ ยกเว้นการเป็นบุคลากรประเภทเดียวกัน

3. ให้รอดูประกาศที่รัฐจะประกาศรับดีกว่านะคะว่าจะมีคุณสมบัติเช่นใดบ้างค่ะ...

 

สวัสดีครับอาจารย์ ผมอยากทราบข้อมูลเรื่อง ตำแหน่ง 4กลุ่มงานที่วุ่นวายอยู่นี้ เป็นตำแหน่งให้กับโรงเรียนหรือให้กับลูกจ้างครับ

บางเขตพื้นที่ก็คั้งกำแพงกั้นเอาจนลูกจ้างไปไม่ได้เลยกำแพงที่ลูกจ้างที่มีโอกาศน้อย ก็คือ การขอกำหนดตำแหน่ง สำหรับโรงเรียนที่มีเด็กน้อยๆก็คงจะหมดสิทธฺ์ ผมไม่เข้าใจ อาจารย์ช่วยอธิบายได้ใหมครับ ทั้งๆคุณสมบัติของลูกจ้างก็มีครบ แต่ต้องมาติดที่ การกำหนดตำแหน่งว่า โรงเรียนขนาดนี้ เด็กขนาดนี้สมควรที่จะมีตำแหน่งนี้ไม๊ ท่านก็ตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเป็นชั้นๆเลย ทำให้

ลูกจ้างที่จะขอเปลี่ยนตำแหน่งเดินทางได้ยาก ทั้งที่เงินเดือนบางคนตันแล้วตันอีก อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ ผมสับสนจริงๆ

ตอบ...คุณ ลูกจ้าง สพป.

  • ให้คุณสอบถามไปยัง สำนักงาน ก.พ. หรือ กรมบัญชีกลาง ดีกว่ามังค่ะ
  • เพราะในหนังสือดังกล่าว นั้น ก็ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นไปตามที่การขอกำหนดตำแหน่ง ว่าโรงเรียนควรมีตำแหน่งใด แต่เพียงให้ดูว่า ส่วนราชการใดควรมีตำแหน่งใดได้บ้างและสามารถทำให้ลูกจ้างประจำเติบโตไปได้ถึงระดับใด
  • ในการกำหนดตำแหน่งก็ต้องดูด้วยว่า ตำแหน่งนั้น สามารถทำให้ลูกจ้างประจำเติบโตในตำแหน่งเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ และก็ต้องดูที่ตัวลูกจ้างประจำด้วยว่าได้มีการพัฒนางานในตำแหน่งนั้นดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ เรียกว่า ให้ดูความเหมาะสมทั้งสองฝ่ายและเพื่อความเป็นธรรมของทั้งคู่ค่ะ
  • การที่เงินค่าจ้างตันนั้น ถ้าลูกจ้างประจำยังทำงานเหมือนเดิม ไม่พัฒนาตนเอง ไม่พัฒนางาน ก็ยังไม่สมควรที่จะได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น แต่ถ้าลูกจ้างประจำ ทำงานในหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ผลงานที่ส่วนราชการได้รับนั้น เกินอำนาจหน้าที่ของตนเอง ก็ควรที่จะได้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นค่ะ
  • เป็นเรื่องที่ยากที่ส่วนราชการแต่ละส่วนราชการจะต้องอธิบายให้ลูกจ้างประจำได้รับทราบ นอกจากเรียกประชุมหรือปรึกษาหารือกันค่ะ 

เรียน อ. บุษยมาศ ที่นับถือ

ผมเป็นลูกจ้างประจำ สังกัด สพป. มีความสับสนและไม่เข้าใจเกี่ยวกับระเบียบหรือแนวปฏิบัติในการอยู่เวรยามของลูกจ้างประจำ เพราะในแต่ละโรงเรียนจะมีคำสั่งไม่เหมือนกันเลย อย่างที่ทำงานของผมตามคำสั่งต้องอยู่เวรตลอด 24 ชั่วโมงเลย แต่บางโรงเรียน 4- 5 วันค่อยอยู่เวรที่หนึ่ง อาจารย์พอมีระเบียบหรือแนวปฏิบัติในเรื่องนี้หรือเปล่า ถ้ามีผมขอความกรุณาด้วย ขอบคุณครับ

ตอบ...คนไทภู...

  • ปัจจุบันการอยู่เวรยามของลูกจ้างประจำ ถ้าเป็นตำแหน่งยาม ส่วนมากส่วนราชการจะปรับเปลี่ยนให้เป็นตำแหน่งอื่นแล้วค่ะ เพื่อเป็นการพัฒนาลูกจ้างประจำและต้องดูความรู้ ความสามารถของลูกจ้างประจำที่มีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของตน สำหรับเวรยาม ส่วนราชการจะใช้ระบบการจ้างเหมา ฯ ซึ่งสามารถเบิกงบประมาณได้จากกระทรวงการคลังแทนค่ะ คือ จ้างเหมาบริษัท นำคนมาเฝ้ายามแทนลูกจ้างประจำไงค่ะ
  • การอยู่เวรยามตลอด 24 ชั่วโมง ในหลักความจริงก็คงไม่มีใครเขาทำกันหรอกค่ะ ถ้ามีก็จะอยู่เวรกันประมาณไม่เกิน 12 ชั่วโมง แล้วก็ผลัดเปลี่ยนให้อีกคนมาอยู่แทนกันค่ะ...สำหรับหน้าที่ของยามจริง ๆ ลองสอบถามไปที่กรมบัญชีกลางนะคะ ซึ่งในระเบียบเก่าจะมีการกำหนดหน้าที่ให้อยู่ค่ะ...
  • ถ้าปัจจุบันเป็นพนักงานพัสดุ ต้องคุยกับหัวหน้าส่วนราชการแล้วละค่ะ หน้าที่ของเราจริง ๆ คือ พนักงานพัสดุ แต่ถ้าจะให้อยู่เวรยามตลอด 24 ชั่วโมง คงไม่ถูกต้องนัก ให้ ผอ.ร.ร. จ้างเหมาการอยู่เวรแทนสิค่ะ เพราะเป็นหน้าที่ของผู้บริหารค่ะ ยิ่งเป็นตำแหน่งพนักงานพัสดุ เรายิ่งพูดได้ค่ะ เพราะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงในเรื่องการอยู่เวร ถ้าไม่งั้นก็ทำบันทึกถึง ผอ.ร.ร. ว่าด้วยคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานพัสดุ ว่าไม่มีหน้าที่ที่จะอยู่เวรยาม แต่ถ้าจะให้อยู่ นั่นคือ เป็นภาระกิจรอง ไม่ใช่ภาระกิจหลัก ต้องให้ ผอ.ร.ร. หาคนมาแทนแล้วค่ะ...
  • ผอ.ร.ร. อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจระเบียบมังค่ะ เห็นเราเคยเป็นลูกจ้างประจำมาก่อน ก็เลยให้อยู่เวรไปตลอด...ผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจุบันต้องศึกษาระเบียบใหม่ด้วยค่ะ ไม่เช่นนั้น ลูกจ้างประจำ ก็ต้องจำยอมให้นายจ้างใช้งานนอกเหนือหน้าที่ค่ะ...อยู่เวรได้ แต่คงไม่ใช่ตลอด 24 ชั่วโมงหรอกค่ะ มันผิดเรื่องการทำงานของนายจ้าง - ลูกจ้าง และสิทธิความเป็นมนุษย์ หรือคุณค่าของความเป็นคนค่ะ...

เรียนถามอาจารย์บุษยมาศครับ เดิมผมเป็นนักการภารโรงและตอนนี้ผมปรับเปลี่ยนตำแหน่งมาเป็นพนักงานพิมพ์ แล้วทางโรงเรียนสามารถจ้างเหมาคนทำความสะอาดแทนนักการภารโรงที่เปลี่ยนตำแหน่งไปแล้วได้ไหมครับ ถ้าได้จะใช้งบประมาณส่วนไหนมาจ้างครับ และถ้าโรงเรียนไม่มีงบประมาณจะดำเนินการอย่างไรครับ เพราะโรงเรียนผมเป็นโรงเรียนขนาดเล็กครับ มีนักเรียน 102 คนครับ

ตอบ...คุณถวิล...

  • การจ้างเหมาคนทำความสะอาดแทนนักการภารโรง สามารถทำได้  การดำเนินการให้โรงเรียนปรึกษาทางเขตพื้นที่ (เจ้าหน้าที่การเงิน) เพราะมีระเบียบในเรื่องของการให้ส่วนราชการดำเนินการจ้างได้และดำเนินการเบิกจ่ายจากรัฐ (ขึ้นอยู่ที่ระเบียบด้วยว่า ต้องดำเนินการขอตั้งงบประมาณก่อนหรือไม่ ถ้าไม่ก็สามารถทำได้เลย แต่ถ้าต้องขอ เมื่อถึงปีงบประมาณแต่ละปีงบประมาณ โรงเรียนควรทำเรื่องขอขึ้นไป เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้มีต้นเรื่องและดำเนินการตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้ให้ค่ะ)...ให้ ผอ.โรงเรียนปรึกษาเจ้าหน้าที่การเงินของเขตพื้นที่ดูนะคะ...มีหนังสือจากกระทรวงการคลังแจ้งมาให้ถือปฏิบัติประมาณเมื่อต้นปีที่แล้วค่ะ...

ขอบคุณอาจารย์มากครับที่ให้คำปรึกษาให้แก่พวกเราลูกจ้างประจำำ ไม่ว่าเรื่องอะไร ขอขอบพระคุณอีกครั้งครับ

เรียนท่านอาจารย์ ครับ กระผมอยากทราบว่าตำแหน่งของกระผมปัจจุบันคือ พนักงานช่วยเหลือคนไข้ แต่กระผมอยากมีความก้าวหน้าในที่การงานจึงเลยอยากก้าวขั้นเป็น( ผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งคือ แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและมีความชำนาญในหน้าที่และเคยปฎิบัติงานด้านนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี) จากคุณสมบัติดังกล่าวอาจารย์คิดว่ากระผมสามารถเปลี่ยนมาตำแหน่ง ผู้ช่วยพยาบาลได้หรือไม่ครับ ซึ่งเขาไม่ได้ระบุว่าวุฒิการศึกษา

ตอบ...คุณ NA 2011...

  • ตำแหน่งปัจจุบันเป็นพนักงานช่วยเหลือคนไข้ต้องการจะเปลี่ยนไปเป็นผู้ช่วยพยาบาล ให้คุณศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของผู้ช่วยพยาบาลด้วยค่ะ ว่า รัฐกำหนดว่าต้องเป็นอะไรบ้าง แล้วให้ดูตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาลว่า ต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง เป็นไปตามที่คุณเคยได้ปฏิบัติอยู่หรือไม่ ถ้ายัง ก็ให้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานการเจ้าหน้าที่ + หัวหน้าส่วนราชการที่ควบคุมคุณอยู่ว่าจะกระทำได้หรือไม่ ถ้าได้ ก็ต้องผ่านกระบวนการของส่วนราชการที่คุณสังกัดอยู่ เช่น ดำเนินการสอบ ตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบ ฯลฯ เพราะปัจจุบันรัฐมอบอำนาจให้กับส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการเองค่ะ...

ลูกตอบด้วยจ้างประจำในต่ำแหน่งพนักงานสถานที(นักการภารโรง) ตอนรับปริญาตรีมีสิทธิ์แต่งชุดขาวรับปริญา ได้หรือเปล่าคับอาจารย์ กรุณาตอบให้ผมเข้าใจหน่อยคับเพราะใก้ลจะรับปริญาแล้วคับผม

ตอบ...คุณตู่...

  • ถ้าเป็นลูกจ้างประจำที่ใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 ก็สามารถใส่ชุดปกติขาวรับปริญญาบัตรได้ค่ะ ศึกษาได้ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://www.gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

ต้องขอโทษคับอาจารย์ ผมยังไม่เขาใจอีกว่าต้องเป็นลูกจ้างประจำทีใช้ระเบียบ พ ศ 2537 ผมบรรจุเมื่อวันที่ 16 มินาคม พ ศ 2547 แล้วยังนี้จะแต่งได้หรือเปล่าคับ อีกอย่างหนึ่งถ้าผมจบ ป ตรีแล้วพนักงานสถานที(หรือนักการภารโรง)จะได้เงินเป็น 15000จากเดิมทีได้รับเงินเดือนอยู่ที 8970 บาท กรุณาตอบผมหน่อยนะคับขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงขอบคุณครับผม

ตอบ  คุณตู่...

  • ให้ศึกษาระเบียบตามบล็อกด้านล่างนี้ เพราะปัจจุบันลูกจ้างประจำมีมากมายซึ่งผู้เขียนไม่สามารถบอกได้ นอกจากตัวคุณต้องรู้ตัวเองว่าเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการหรือไม่ ถ้าไม่เช่นนั้นให้สอบถามหัวหน้าส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ดูค่ะ เพราะถ้าไม่ใช่แล้ว ระเบียบนี้ก็จะใช้ไม่ได้ค่ะ...
  • http://www.gotoknow.org/blog/bussayamas46/409887

เรียนถามอาจารย์ว่า...เงินเพิ่มรายได้รายได้สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรี ให้ได้ 15,000 บาทนั้น ลูกจ้างประจำที่จบปริญญาตรีและเงินเดือนยังไม่ถึง 15,000 บาท มีสิทธิได้รับเงินค่าครองชีพเพิ่มไหมค่ะ

ผมเป็นลูกจ้างประซึ่งปัจจุบันตำแหน่ง ช่างครุภัณฑ์ 3 จบ ปวส.เกษตรครับ ไม่ทราบว่าจะสามารถปรับไปตำแหน่งที่สูงขึ้นได้หรือไม่โดยใช้วุฒิการศึกษาที่มีอยู่ ผมสังกัด สพม เขต 27ร้อยเอ็ดครับ

ตอบ คุณ สพม.

  • สำหรับเรื่องเงินค่าครองชีพ ฯ ต้องรอให้มีหนังสือรับรองจากกระทรวงการคลังมาก่อนค่ะ จึงจะทราบว่ารวมถึงลูกจ้างประจำด้วยหรือไม่

ตอบ คุณตุ่ย ร้อยเอ็ด

  • การปรับตำแหน่งนั้น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษานะคะ ขึ้นอยู่กับงานที่ตัวเราได้ปฏิบัติ เป็นงานที่เราทำอยู่ในปัจจุบันแล้วสามารถเทียบเคียงกับตำแหน่งที่เราจะเปลี่ยนที่สูงขึ้นได้ แล้วมีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติอยู่
  • ไม่ใช่ว่านำวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้นนั้นมาปรับ แต่ก็มีบางตำแหน่งที่เมื่อเราจะปรับเปลี่ยนแล้วสามารถใช้วุฒิที่เราได้จบมานั้นนำมาปรับด้วยค่ะ...

เรียนถามอาจารย์ ลูกจ้างประจำของสถานศึกษาทำงานช่วงปิดเทอมไม่ได้หยุด ตั้งแต่ทำงานมา10กว่าปี ตามระเบียบมีสิทธลาพักร้อนไม่

ตอบ คุณอาบัส

  • ถ้าเป็นลูกจ้างประจำของสถานศึกษา และใช้ระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2537 แล้ว ก็ถือว่าเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการ สิทธิต่าง ๆ เกี่ยวกับ การลาพักผ่อน ลาป่วย ลากิจ มีสิทธิได้เหมือนกับลูกจ้างประจำทุกคนค่ะ
  • สำหรับการทำงานในช่วงปิดเทอม ลูกจ้างประจำ + ข้าราชการที่ทำงานบนเขตพื้นที่จะไม่มีการหยุดเหมือนกับข้าราชการครู คือ ปิดเทอมนะคะ เพราะระเบียบ ฯ คนละฉบับ ครูมีการหยุดเทอมได้ แต่ลูกจ้างประจำ + ข้าราชการที่ทำงานบนเขต จะใช้ระเบียบที่มีสิทธิในเรื่องการลา ฯ ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่หรืองานบุคคลของเขตพื้นที่เป็นหลักค่ะ เพราะจะมีสิทธิลาได้ไม่เกินกับสิทธิที่ได้รับค่ะ

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ ส 1 เงินเดือน 15,710 บาท แต่ทำงานห้องสมุด อาจารย์เห็นด้วยไหมค่ะที่จะเปลี่ยนเป็น ตำแหน่งพนักงานห้องสมุด ขอบคุณค่ะ

ตอบ คุณ wawa...

ถ้าเราทำงานอะไรก็ควรเป็นตำแหน่งนั้น แต่ให้ดูดีดีว่า ตำแหน่งพนักงานห้องสมุดไปถึงระดับ 4 หรือไม่ เพราะจะเกี่ยวกับความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน เนื่องจากตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ค่าจ้างจะสูงแล้วมีทางให้เราสามารถก้าวหน้าไปได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับความสามารถ การพัฒนาตัวเราด้วยค่ะ

เรียนอาจารย์ บุษยมาศ ที่เคารพ

ปัจจุบันผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขันรถยนต์ ส 1 (กำลังจะเปลี่ยนเป็น ส 2 ) ผมอยากจะเรียนถามอาจารย์ว่า

ถ้าผมจะเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ไปเป็นตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ จะได้ไหมครับ ปัจจุบันนี้ ผมมีวุฒิการศึกษา ระดับ ปวส .ช่างก่อสร้าง และกำลังเรียนชั้น ป.ตรี รัฐประศาสนศาสตร์ จะสามารถไปเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอะไรได้บ้างครับ และมีวิธีการอย่างไรบ้างครับ ปัจจุบันผมทำงานอยู่กรมสรรพากร ครับ ขอขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้า..

เรียนอาจารย์ บุษยมาศ

ปัจจุบันหนูทำงานเป็นพนักงานจัดเก็บภาษี(พนักงานจ้างตามภารกิจ) ของ องค์การบริหารส่วนตำบล เริ่มทำงานตั้งแต่ ปี 2545เริ่มแรกเข้าทำงานหนูจบเพียวง ม.3 และได้เรียนเพิ่มเติมมาตลอดจนจบ ปริญญาตรี(ปี 2553) แตไม่ได้เงินเดือนตามวุฒิเลยเพราะก่อนที่จะเรียน ป.ตรี หนูเรียนอนุปริญญา 3 ปี อยากสอบถามว่า ทำไมจึงตัดตำแหน่งลูกจ้างประจำออกจากส่วนราชการคะ

ตอบ คุณกันต์...

  • เนื่องจากปัจจุบันรัฐจะกระจายอำนาจให้ส่วนราชการต่าง ๆ ได้ปฏิบัติ สำหรับ อบต. เกี่ยวกับลูกจ้างประจำจะขึ้นอยู่กับส่วนท้องถิ่นค่ะ ให้สอบถามที่ส่วนท้องถิ่นดูเพราะจะไม่ใช่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการเดิมไงค่ะ
  • ขึ้นอยู่กับส่วนท้องถิ่น ต้องดูแลในเรื่องของความก้าวหน้าของลูกจ้างประจำเองค่ะ ถ้าศึกษาให้ลึก ๆ น่าจะมีกฎหมายที่เป็นเส้นทางความหน้าเฉพาะลูกจ้างประจำนะคะ ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ของ อบถ. ดูค่ะ

ตอบ คุณพ.ขับรถยนต์

การที่คุณจะเปลี่ยนจากพนักงานขับรถยนต์ไปเป็นตำแหน่งอื่นนั้น ให้คุณดูที่ลักษณะงานที่ส่วนราชการมอบให้คุณปฏิบัติอยู่ก่อน และคุณวุฒิที่คุณจบ ว่าคุณมีความชำนาญการในการทำงานด้านใด ถ้าทำเรื่องช่างปูน หรือช่างไม้ได้ ก็ให้ศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยนว่าสูงขึ้นหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนไปตำแหน่งใหม่แล้วก็ต้องทำงานในตำแหน่งใหม่นะคะ ยังทำงานแบบเดิมไม่ได้แล้ว

ส่วนจะปรับเปลี่ยนไปตำแหน่งใดนั้น ขึ้นอยู่ที่คุณและหัวหน้าส่วนราชการปรึกษาหารือกันว่า คุณสามารถทำงานในตำแหน่งใดได้ด้วยค่ะ ผู้เขียนจะไม่สามารถไปแนะนำให้ว่าคุณควรไปอยู่ในตำแหน่งใดค่ะ

อาจารย์ครับ ผมเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ ๓ มาได้เกือบ ๒ ปีแล้ว อยู่ๆ ผอ.บอกว่าจะให้ผมไปทำหน้าที่นักการภารโรง โดยอ่านหน้าที่โดยย่อของพนักงานพิมพ์ ในข้อ ๔ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์ว่ามันถูกต้องไหมครับ ด้วยความเคารพครับอาจารย์

ตอบ คุณพนักงานพิมพ์...

หน้าที่แรกที่คุณต้องปฏิบัตินั่นคือ งานในหน้าที่ของพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ส่วนข้อที่ 4 นั้น ก็ขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการว่า มีคนปฏิบัติแล้วหรือไม่ ถ้าไม่มี เขาอาจร้องขอให้คุณได้ช่วยในงานที่เกี่ยวกับนักการภารโรง แต่ไม่ใช่ว่าทั้งหมด เพราะหน้าที่หลักเราก็ปฏิบัติอยู่แล้ว ส่วนการทำหน้าที่นักการภารโรง ส่วนราชการอาจจ้างคนอื่นมาปฏิบัติแทนก็ได้ เพราะในระเบียบของกระทรวงการคลังก็มีระบุไว้ เป็นการจ้างตำแหน่งแม่บ้าน ซึ่งของบประมาณจากกระทรวงการคลังได้ เพราะตามที่คุณบอกมานั้น ดูเหมือนจะงานที่ส่วนราชการให้ปฏิบัติอยู่ 2 ลักษณะ ซ้อนกันอยู่ แต่ถ้าไม่มากก็ทำได้ แต่ถ้ามาก เราควรเน้นที่งานในหน้าที่หลักก่อนค่ะ ควรพูดกับหัวหน้าส่วนราชการให้เข้าใจว่าเราทำงานหลักเต็มที่แล้วหรือไม่ และควรหาทางออกให้กับตัวคุณอย่างไรค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากครับที่ให้คำปรึกษากับลูกจ้าง ไม่ว่าเรื่องอะไรอาจารย์เป็นที่พึ่งของพวกเราครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ

อาจารย์ครับ ผมพนักงานพิมพ์ ส.3 ตอนนี้ ผอ.ออกคำสั่งโรงเรียน ให้ทำหน้าที่นักการภารด้วย ครับเมื่อก่อนผมเคยปรึกษาท่านในเรื่องของบประมาณจ้างเหมาคนทำความสะอาด แต่ท่านไม่สนใจเลยครับ แล้วผมจะทำไงดีครับ ขอบคุณครับ

ตอบ คุณพนักงานพิมพ์...

  • เป็นเรื่องที่พูดยากเหมือนกันนะคะ ถ้าเป็นผู้บริหาร ก็คือ ต้องการคนให้ทำงานให้ แต่ถ้าเป็นลูกน้องก็ไม่ต้องการทำงานในหน้าที่ที่ไม่ใช่ภารงานของตน
  • ผู้บริหารคงคิดแบบเดิม ๆ คือ มีลูกจ้างประจำไว้เพื่อที่จะต้องทำงานเพื่อสนองความต้องการของตนเองให้ได้เท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงภาระงานจริง ๆ ของในแต่ละตำแหน่งหรอกค่ะ
  • เรื่องแบบนี้มีมานานมากสำหรับระบบราชการไทยค่ะ
  • ผู้เขียนคิดว่า คงยังหรอกค่ะ ที่ผู้บริหารรุ่นใหม่จะเปิดใจยอมรับภาระงานของตำแหน่งนั้น ๆ อย่างจริงจัง
  • ก็คงต้องทำใจแล้วกระมังค่ะ ถ้าเราไม่เซ็นต์รับทราบคำสั่ง ก็หาว่า "ขัดคำสั่ง" แต่ไม่ได้ดูว่าคำสั่งที่สั่งให้ทำนั้นเป็นอย่างไร
  • พูดยากจริง ๆ ค่ะ

อาจารย์ครับ เอกสารการย้ายตัดโอนตำแหน่งลูกจ้างประจำมีอะไรบ้างครับ ขอบคุณครับ

ตอบ คุณถวิล...

ถ้าทั่ว ๆ ไป ก็จะมี

1. แฟ้มประวัติ (ก.พ.7)

2. บันทึกข้อความ + เหตุผลการขอโอนย้าย ฯ

3. สำเนาทะเบียนบ้าน + สำเนาทะเบียนสมรส

4. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)

5. ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)

และเอกสารอื่น ๆ เท่าที่จะแนบได้ตามเหตุผลการโอนย้ายค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากคร้ับ

อาจารย์ครับ ถ้าลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานพิมพ์ย้ายตัดโอนไปโรงเรียนที่มีลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักการภารโรง จะมีผลอะไรกับนักการฯไหมครับ เช่น เขาจะตัดตำแหน่งนักการฯออกมั๊ยครับ ขอบคุณครับ

ตอบ คุณถวิล...

  • ขึ้นอยู่กับผู้บริหารค่ะ เพราะเขาอาจจะใช้ลูกจ้างประจำทำแทนก็ได้ หรือไม่เขาก็ไม่ให้ลูกจ้างประจำ และก็จ้างลูกจ้างชั่วคราวเหมือนเดิม อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการนั้นค่ะ ถ้าเป็นเรื่องของการใช้คนให้คุ้มค่า เขาอาจไม่จ้างก็ได้
  • ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการนั้นนะคะ

 

  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ พี่กานดา Ico24

ลูกจ้างชั่วคราวที่ผมพูดถึงเป็นนักการฯที่จ้างจากเงินงบประมาณของโครงการ คืนครูให้นักเรียน หรือเปล่าผมไม่แน่ใจครับอาจารย์ ไม่ใช่ทางโรงเรียนจ้างเองครับ แล้วอย่างนี้จะถูกตัดงบประมาณหรือเปล่าครับ

สวัสดีครับ..เห็นช่วงนี้ข้าราชการได้เงินเพิ่มตามวุฒิกับ พวกเราลูกจ้างประจำ มีโอกาสได้ส่วนนี้ด้วยหรือเปล่าครับ ..ของคุณครับ

ตอบ คุณถวิล

      ให้สอบถาม ผอ.เขตพื้นที่ดูนะคะ

ตอบ คุณสมชาย

      ระเบียบที่คุณพูดถึง เป็นระเบียบของข้าราชการค่ะ ในเรื่องการปรับเงินเดือนตามวุฒิ

เรียนถามอ. บุษยมาศ

         ดิฉันลูกจ้างประจำ  ตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ มีความประสงค์ขอย้ายไปช่วยราชการที่ต่างจังหวัด  เพื่อดูแลมารดาซึ่งมีโรคประจำตัวต้องพบแพทย์ตามนัดเป็นการประจำอยู่เสมอ ๆ  จึงได้ปรึกษากับทางหัวหน้าถึงเหตุผลความจำเป็นตั้งแต่ ปี  2554 แต่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้าหรือหาทางแก้ปัญหาให้ เพียงแต่ให้เหตุผลว่าไม่สามารถไปได้ ถ้ามีปัญหามากให้ย้ายครอบครัวของแม่มาอยู่ด้วยกัน หรือไม่ก็ให้มารดาเดินทางไปพบแพทย์เองทางเราจะได้ไม่ต้องย้ายไป  เนื่องจากไม่มีคนทำงาน เวลาเขียน ขอลากิจ ก็ถามว่าทำไมไม่ลาพักผ่อนเพราะมีวันลา  พอจะลาพักผ่อนก็ถามว่าทำไมไม่ลากิจ ด่วนขนาดนี้

           ต่อมาต้นปี 2555  ดิฉันจึงได้ทำบันทึกเสนอขึ้นไปอีกเรื่อยมาจน ณ ปัจจุบัน  ประมาณ  2 ครั้ง ก็ได้รับคำตอบเดิมคือไม่มีคนทำงาน แต่จ้างลูกจ้างชั่วคราวและ พนง.ราชการ อีกหลายตำแหน่ง  ดิฉันจึงไปยื่นเรื่องดำเนินการเองแบบตาสีตาสาส่งให้กับส่วนกลางเพราะเนื่องจากดำเนินการทางต้นสังกัดแล้วเก็บเรื่องและไม่ได้ให้คำชี้แนะที่ดีของการเป็นผู้นำองค์กร  

          ต่อมาได้รับคำสั่งจากส่วนกลางให้ปฏิบัติงาน ณ จังหวัดนั้น โดยมีเนื้อความว่า ตามที่นาง ... ขอไปปฏิบัติราชการเพื่อดูแลมารดา คำสั่งให้ไปไปปฏิบัติ ณ ที่ปลายทางได้ ณ  ตั้งแต่บัดนี้ สมมติ(สั่ง 30 เมย 55) เป็นต้นไป ตัวจริงส่งจังหวัดและตัวสำเนาได้ส่งมาถึงที่หน่วยงานวันที่  6 พค  แต่ให้เซ็นรับคำสั่งวันที่  17 พค  เพื่อจะให้ไปรายงานตัววันที่  5  มิย ระหว่างที่รอเพื่อไปรายงานตัวจึงเขียนขอลา วันที่ 3-4 มิย  เพื่อเดินทางและไปดูโรงเรียนของลูก  ทางหัวหน้าไม่ให้ลาเนื่องจากต้องเคลียรงานก่อน   2 อาทิตย์ก่อนหน้าจะไปรายงานตัวนั้นก็ไม่ให้ลาอีก  ไม่รู้จะให้ทำงานกันจนวันสุดท้ายเลยหรือไม่  ธุระที่ต้องติดต่อก็ไม่ได้ไปลาก็ไม่ให้ลา    และข้าพเจ้าได้ทราบบันทึกหนังสือส่งตัวว่าให้ไปปฏิบัติราชการได้  แต่มีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาปฏิบัติงานดังหน้าที่เดิม ถ้าหน่วยงานขาดบุคคลากรตามระเบียบราชการ   (แต่ย้ำให้กับคนพิมพ์หนังสือว่าห้ามให้ข้าพเจ้ารู้)  และหัวหน้าบอกว่าถ้าอยากไปก็จะให้ไปแต่ไปได้แค่ 3 เดือน  แล้วจะเรียกกลับ (โดยที่ไม่มีความเห็นใจจากหน่วยงานเลย เพราะต้องย้าย รร.ลูกตามด้วย) ในเมื่อเนื้อความหนังสือไม่ได้เต็มใจที่จะให้ไป และสามารถเรียกกลับได้ทุกเมื่อ   ถ้าปลายทางเห็นหนังสือแบบนี้แล้วจะยินดีรับอีกเหรอ หัวหน้าพูด (แต่ไม่ได้บอกกับข้าพเจ้ามีคนสงสารข้าพเจ้าเค้าบอกให้ฟัง) ข้าพเจ้ามีเรื่องขอเรียน ถาม อ. ดังนี้

          1. ตามปกติ ลจป. มีสิทธิ์ที่จะยื่นคำร้องขอไปช่วยราชการ ตามความเดือดร้อน เพื่อเป็นการบรรเทาใช่หรือไม่ ในกรณีที่ได้ไปช่วยราชการแล้วไม่ทราบว่า ตามปกติ ของระเบียบการไปช่วยราชการ มีระยะเวลากี่ปี หรือถ้าให้ไปแล้วนึกอยากจะเรียกกลับ ณ เวลาใด ก็ได้หรือไม่

          2. ทางต้นสังกัดมีสิทธิ์เก็บเรื่องในกรณีที่เราขอยื่นคำร้องที่ส่งไปตามลำดับชั้นเพื่อไม่ให้เราไปดำเนินการต่อได้หรือไม่

          3. ในกรณีที่คำสั่ง ๆ  มาจากส่วนกลางแล้วทางต้นสังกัดคัดค้านไม่ให้ไป ขัดคำสั่ง  ยื้อเรื่องไว้ ไม่ให้เราเซ็นรับทราบคำสั่งเพื่อที่จะให้ไป  ทางต้นสังกัดมีความผิดหรือไม่  หรือเก็บเรื่องไว้เกือบ ครึ่งเดือนแต่ไม่แจ้งให้เราทราบ ณ ที่หนังสือคำสั่งมา

         4. ในตำแหน่ง ลจป. สามารถตัดโอนตำแหน่งไปยังหน่วยงานปลายทางที่เป็นคนละหน่วยงานได้หรือไม่

         5. ข้อตกลงใด ๆ ที่ทางหน่วยงานต้องทำความตกลงก่อนที่จะทำหนังสือส่งตัวให้ไปปฏิบัติงาน ต้องแจ้งให้เจ้าตัวทราบด้วยหรือไม่  หรือต้องแล้วแต่ทางหน่วยงานจะระบุตามความพอใจ

          6.และในกรณีนี้ที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า ๆ จะมีปากมีเสียง หรือทำอะไรได้หรือไม่  ในเมื่อทางต้นสังกัดเองเป็นซะแบบนี้ ส่งเรื่องยื่นเรื่องไปก็เงียบ   ถึงมีคำสั่งก็ให้ไปเหมือนแกล้งกัน  และข้าพเจ้าคิดว่า ลปจ. หลายท่านคงจะโดนเหมือนข้าพเจ้า

             ในกรณีของข้าพเจ้า ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เพราะว่าได้ยื่นเรื่องขอย้าย รร.ของลูก และถ้ากลับมาก็ต้องหาบ้านเช่าอยู่อีก  เนื่องจากว่าไม่มีบ้านเป็นของตนเอง แล้วถ้าในเมื่อต้นสังกัดพยายามที่จะเหมือนแกล้งกัน ให้ไปได้แต่เรียกกลับ  ลปจ. ตาดำ ๆ อย่างเราๆ  จะมีหน่วยงานไหนให้ความช่วยเหลือ หรือพึ่งพาได้  ในเมื่อความเดือดร้อนใครก็ไม่อยากมี  อยากเจอ  หรือชีวิตของคนจะมีค่าน้อยกว่าการที่หน่วยงานไม่มีคนทำงาน แต่จ้างลูกจ้างชั่วคราวและ พนง.ราชการ เพิ่ม     

          ข้าพเจ้าคิดว่า ลปจ. หรือ ลูกจ้างไหน ๆ ก็มีสิทธิ์มีเสียงได้เหมือนข้าราชการ เพราะถ้าเจอแบบนี้ใคร ๆ คงไม่คิดที่จะเลือกเป็นลูกจ้างที่รับแต่คำสั่ง  ไม่ได้เป็นผู้ออกคำสั่ง คงเลือกที่จะเป็น ขรก. กันหมด เพราะ ทุก ๆ วันนี้ งาน ขรก. แต่ ลปจ. ทำแทนเกือบทั้งสิ้น เผลอ ๆ รู้มากกว่า ขรก. ที่ ชี้นิ้วสั่งอีก   ขอบพระคุณ อ.มากค่ะ

  

ตอบ คุณ ลจป.

         ในการให้ไปช่วยราชการได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการเดิมค่ะว่าจะให้ไปหรือไม่ ถ้าไม่ให้ก็ต้องแจ้งให้เราทราบค่ะ ว่าเพราะเหตุใด สำหรับการย้ายนั้น ลูกจ้างประจำไม่สามารถทำได้แล้วค่ะ เพราะได้รับแจ้งจากสำนักงาน ก.พ. ว่า ให้คงอัตราอยู่ ณ ที่เดิมกันค่ะ เพราะสำนักงาน ก.พ. คุมอัตรากำลังอยู่

         ระเบียบของลูกจ้างประจำ ไม่เหมือนกับของข้าราชการนะคะ

ล่ามภาษาต่างประเทศนราธิวาส

อยากทราบว่าทำไมเงินเดือนของล่ามภาษาต่างประเทศตามบัญชีแก้ไขใหม่ ส.2 เต็มที่อัตรา 23,000 บาท แต่ของจังหวัดนราธิวาส  เต็มที่อัตรา 19,100 บาท

ขอบคุณครับ

เรียนถาม อ.บุษยมาศ ที่เคารพ

ผมมีข้อสงสัยอยู่ 2 ตำแหน่งคือตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าหน้ที่สาธารณสุข รหัส 2412 และตำแหน่งพนักงานสุขภาพชุมชน รหัส 2422 ตามที่กำหนดไว้มีในหมวดสนับสนุน ให้มี ส.1-ส.2 แต่เพื่อนๆทุกคนในตำแหน่งนี้ปฏิบัติงานมาแล้ว 30 ปีขึ้นไปแต่วุฒิการศึกษาเท่าเดิมและมีบางคนค่าจ้างตันแล้ว อยู่ที่ 19,100 บาท(สูงสุดของ ส.1)ทางจังหวัดคิดให้ 2% หรือ 4% ในช่วงพิจารณาความดีความชอบ ผมสงสัยว่าทำไมทางจังหวัดเขาไม่ให้ปรับเป็น ส.2 ทั้งๆที่พวกกระผมเคยเข้าไปนำเรียนสอบถามแล้วและสุดท้าย เคยทำ ลปจ.2 ส่งไปแล้วแต่จนถึงปัจจุบันก็ยังได้รับ 19,100 บาท+2% หรือ 4%เท่านั้น จึงอยากจะขอความกรุณาอาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างด้วยและถ้าพวกกระผมยังมีสิทธิ์ได้ปรับเป็น ส.2 ขอความกรุณาแนะนำด้วยว่าจะต้องทำอย่างไร อีกไม่นานพวกกระก็จะเกษียณกันแล้ว ขอขอบพระคุณอาจารย์ไว้ล่วงหน้า ครับ

ตอบ คุณล่ามภาษาต่างประเทศนราธิวาส

        ขึ้นอยู่ที่คุณอยู่ในระดับใด ถ้าระดับ ๑ ค่าจ้างจะเต็มขั้นที่ ๑๙,๑๐๐ บาท แต่ถ้าคุณอยู่ในระดับ ๒ ค่าจ้างจะเต็มที่ที่ ๒๓,๓๓๐ ค่ะ ให้สอบถามเจ้าหน้าที่งานการเจ้าหน้าที่ดูนะคะ เพราะกระทรวงการคลังแจ้งเป็นหนังสือมาให้ปฏิบัติแล้วค่ะ

ตอบ คุณวิเศษสิทธิ์

        ให้คุณศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามนี้นะคะ...

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1352818791

ตำแหน่งรหัส 2412 อยู่ที่หน้า 71 ตำแหน่งรหัส 2422 อยู่ที่หน้า 78 ค่ะ ให้คุณปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดู เท่าที่ผู้เขียนอ่าน สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการจะทำให้หรือไม่...ถ้าทำให้อ้างหนังสือกระทรวงการคลัง ว 22 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2554 เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระดับตำแหน่งค่ะ ผู้เขียนก็นำขึ้นไว้บนเว็บแล้วเช่นกัน...แต่การปรับเปลี่ยน ตัวเราต้องแสดงผลงานที่แสดงว่า เราได้มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางานในหน้าที่ของเราว่า เราทำให้งานดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ เราได้ปฏิบัติแล้วตามภาระงานของตำแหน่งที่ตัวเราเป็นอยู่แล้ว (มีคำสั่งมอบหมายงานแล้ว) ให้คุณศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ส 2 ให้ดี เมื่อใช้คำว่า หรือ หมายถึงว่า ข้อใดข้อหนึ่ง ถ้า คำว่า และ ก็คือ ทุกข้อ แล้วให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดูนะคะ ของที่ ม. เราก็ทำให้ต่อเนื่องมาตลอด แต่ขึ้นอยู่กับการพัฒนาตัวของผู้เปลี่ยนระดับด้วยค่ะ ว่าเขามีศักยภาพ ทาง ม. ก็จะทำให้ค่ะ ลองปรึกษาดูนะคะ

เรียน  ท่าน ผอ.บุษยมาศ ที่นับถือ

                  เป็นเวลานานแล้วที่ผมไม่ได้เรียนรบกวนท่าน ผอ. ขอเรียนว่าหลังจากที่ผมได้เรียนถามท่าน ผอ.อยู่เรื่อยๆและขณะนี้ได้เปลี่ยนตำแหน่งสุดท้ายเป็นพนักงานธุรการ ส.4 แล้วครับ แต่เงินค่าจ้างติดอยู่ที่ 15,260 บาทตั้งหลายปี ส่วนเรื่องงานยังได้รับมอบหมายมากเช่นเดิม ได้แก่ 1.ปฏิบัติหน้าที่ หน.งานสารบรรณ(รวมถึงระบบ My-office) 2.รับผิดชอบงานบัญชีลงเวลา  3.งันวันลา 4.งานเลื่อนขั้นงด.คจ.(ขณะนี้รายงาน ขรก.มีตัวไปแล้ว)  ซึ่งแต่ละงานคงไม่ต้องอธิบาย เพียงท่านผอ.เห็นชื่องานก็เห็นรายละเอียดทั้งหมดแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าหน่วยงานจ้าง ลจ.ชค.ให้ช่วยเหลือ 2คน ผมเองอยู่ในตำแหน่งของลปจ.จึงรู้สึกลำบากใจในการขอความร่วมมือจาก ลจ.ชค.เหล่านั้น นี่เพราะเราเป็นลูกจ้างนั่นเอง  และใคร่ขอเรียนถามเพื่อขอความรู้จากอาจารย์ดังนี้ 1.การที่จะยืนยันความถูกต้องเรื่องรูปแบบหนังสือราชการและสำนวนความ จะเรียนไปยังหน่วยงานใดที่รวดเร็วที่สุด  2.เพราะเหตุใดหน่วยงานจึงมอบหมายให้ ลปจ.มาก โดยไม่คำนึงถึงเงินเดือนที่ได้รับ 

                  ด้วยความขอบพระคุณอย่างสูง

ตอบ คุณวิจิตร

             ยินดีด้วยค่ะ ค่ะ ทำไงได้กับภาระงานที่เราต้องปฏิบัติ ค่อย ๆ ทำไปค่ะ คิดว่า ทำเพื่อบ้านเมืองก็แล้วกันนะคะเพราะปัจจุบันข้าราชการลดลง แต่ภาระงานที่เราต้องปฏิบัตินั้นยังมีเท่าเดิมหรืออาจมีเพิ่มขึ้นเพราะปัจจุบันมีเรื่องที่สมัยก่อนไม่มีให้ปฏิบัติอีก...ตามที่คุณถามเกี่ยวกับหนังสือราชการ คือ สำนักนายกรัฐมนตรี เพราะงานสารบรรณ ต้นเรื่องมาจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ค่ะ

             อย่างที่บอกไปแล้ว อาจขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่มองถึงความสามารถของคุณเองว่า สามารถทำได้ เป็นคนมีความสามารถ จึงมอบหมายงานให้ปฏิบัติไงค่ะ อย่าคิดมาก...การกระทำที่คุณทำให้กับหน่วยงานนั้นจะส่งผลให้กับประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วยค่ะ จะเป็นกุศลที่คุณได้ปฏิบัติ คือ คิดดี และก็ทำดีต่อบ้านเมืองไงค่ะ ชาตินี้เราไม่ได้รับผลตอบแทน แต่ขอให้เชื่อว่า ความดีในการปฏิบัติงานนี้จะติดตามตัวคุณไปในภพหน้าเองค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

เรียน ท่าน ผอ.บุศยมาศ

                 ปัจจุบันเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ ส4 อัตราเงินเดือน 25,970 บาท วุฒิปริญญาตรี

ปฏิบัติงานด้านพัสดุมาเป็นเวลาเกินกว่า 15 ปี ทำด้าน GFMIS และ จัดซื้อ/จัดจ้างในระบบ e-Gp และเงินเดือนใกล้จะเต็มขั้น รบกวนเรียนถามดังนี้ค่ะ

                  1. จะขอปรับเป็น พนักงานพัสดุ 4/หัวหน้า ได้หรือไม่  
                   2. ขั้นตอนการขอปรับ
                   3. การประเมิน หรือทดสอบความรู้ความสามารถ

ด้วยความกรุณาจากท่าน ผอ.บุษยมาศ เป็นอย่างสูงยิ่ง ที่ได้ชี้แนะ ให้ข้อคิดโดยเฉพาะแนวทางในการปฏิบัติงาน พบปัญหาคราวใดผมก็ได้รบกวนเรียนถามท่านและก็ได้รับคำตอบทุกครั้งเสมอตลอดไป ต้องกราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านกรุณาเป็นที่พึ่งพิงให้กับผู้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้กับรัฐตลอดมา

เรียน ท่าน ผอ.บุษยมาศ ที่นับถือ

          เมื่อพบปัญหาก็จะต้องรบกวนท่าน ผอ.อีกครั้งครับ อยากจะได้รับความรู้ในเรื่องการเทียบตำแหน่งและการรับรองบุคคลอื่นว่า ลูกจ้างประจำ ระดับ ส.4 สามารถรับรองบุคคลอื่นในการขอให้ออกเอกสารรับรอง หรือสามารถเทียบเป็ระดับได้หรือไม่
          ด้วยความขอบพระคุณอย่างสูง
คุณครูในร่างของภารโรงผู้อ่อนน้อม

ภารโรงชาตินักการผู้เป็นมากกว่าภารโรง ชาติเป็นภารโรงตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 โรงเรียนวัดร้องอ้อ จ.เชียงใหม่ : เขต 1 ช่วงแรกที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำ ในตำแหน่งนักการภารโรง เมื่อ 20 ปีก่อน “ภารโรงชาติ” ยังมีความเชื่อเหมือนๆกับคนทั่วไป ชายร่างพอดีหล่อนิดนิดคิดว่าการเป็นภารโรงคืองานที่ต้อยต่ำ ไม่มีอะไรดี และหากชีวิตมีทางเลือกมากกว่านี้ภารโรงชาติคงไม่มีวันที่จะมาจับไม้กวาด ล้างส้วม ถูพื้นตามอาคาร หรือทำงานเยี่ยงกุลีให้เหนื่อยยาก จนถึงปัจจุบัน แรก ๆ ภารโรงชาติคิดว่ามันเป็นงานที่ต่ำต้อย ไม่มีเกียรติ ไม่มีคุณค่า เพื่อน ๆ ภารโรงชาติที่เรียนมาด้วยกัน แต่ละคนเขาเติบโตไปเป็นหมอเป็นครูกันหมด บางคนเป็นถึง ผอ. เป็นนายทหารนายตำรวจ อัยการ แต่ภารโรงชาติบ้านยากจนเลยไม่ได้เรียนต่อ ต้องมาตระเวนทำงานก่อสร้างอยู่ในตัวจังหวัดเชียงใหม่ รายได้มัน ก็ไม่ค่อยแน่นอน สุดท้ายเห็นเขาเปิดรับนักการภารโรงที่ สปอ.เมืองเชียงใหม่ ก็เลยมาสอบดูคิดว่าอย่างน้อยถ้าเราทำงานราชการมันก็น่าจะมั่นคงกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน(เวลาในขณะนั้น) ภารโรงชาติเป็นภารโรงเพียงคนเดียวของโรงเรียนวัดร้องอ้อ อ. เมือง จ.เชียงใหม่ บนพื้นที่ 7 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา พร้อมด้วยอาคารเรียนอีก 7 หลัง ชายวัย 43 ปี ต้องทำงานทุกอย่างตั้งแต่งานเล็กงานน้อยอย่างเปิด-ปิดประตูโรงเรียน กวาดขยะ ตัดหญ้า ยกของแบกหามของ ล้างส้วม ไปจนถึงงานใช้ฝีมืออย่างการเป็นช่าง เดินสายไฟฟ้า ซ่อมก๊อกน้ำ ซ่อมคอมพิวเตอร์เครื่องปริ้นเตอร์ ซ่อมติดตั้งสัญญาณดาวเทียมสัญญาณอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เรียกได้ว่าหากทางโรงเรียนมีปัญหาอะไร คนแรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ ภารโรงชาติ ทุก ๆ วันภารโรงชาติจะตื่นนอนเปิดโรงเรียนในตอนตีสี่ครึ่งหรือตีห้าของทุกวัน เขาจะมาทำงานเป็นคนแรกและกลับบ้านเป็นคนสุดท้ายเช่นนี้เสมอการใช้เวลากว่าครึ่งค่อนชีวิตอยู่กับการทำงานเพียงลำพัง ทำให้ภารโรงชาติเริ่มเกิดความคุ้นเคยชิน และรู้สึกว่าโรงเรียนคือบ้านหลังที่สองของเขา นักการร่างหล่อพอประมาณต้องการให้บ้านหลังใหม่ของตัวเองสวย สะอาด งดงามน่าอยู่ เขาค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงปรับทัศนคติที่มีต่อการงานจากที่เคยคิดว่าการเป็นภารโรงคืออาชีพที่ไร้เกียรติไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่มีสิทธิ ไม่มีเสรีภาพ ไม่มีความเสมอภาค ภารโรงชาติกลับค้นพบความสุข และมองเห็นคุณค่าว่ามันคืองานที่มีความสำคัญเช่นกัน หากตั้งใจจะทำให้ดีเหมือนภารโรงชาติเป็นเฟื่องตัวเล็กๆที่ช่วยขับเคลื่อนนาฬิกาให้เดินได้ฉันใดก็เหมือนการขับเคลื่อนการพัฒนาหน่วยงานฉันนั้น “เราว่างานทุกงานทุกอาชีพมันมีคุณค่าในตัวของมันนะ ถ้าเราตั้งใจทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่มันมีประโยชน์ทั้งหมดแหละ อย่างงานภารโรงนี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราทำแบบเช้าชามเย็นชาม โรงเรียนมันก็คงไม่เป็นโรงเรียนมีแต่ความสกปรก แต่หากเราเอาใจใส่ทำให้มันเป็นเหมือนกับบ้านของเรา ทุกอย่างมันก็จะดีทุกวันนี้เวลามีงานอะไรที่เกี่ยวกับโรงเรียนอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ช่วยเหลือคุณครูหรือเด็ก ๆ ได้บริการทำให้หมดไม่มีเกี่ยง” ภารโรงอย่างชาติไม่ได้สนใจแค่เรื่องราวของความสะอาดหรือการชำรุดทรุดโทรมของอุปกรณ์ภายในโรงเรียนหากแต่ยังก้าวไปไกลกว่านั้นด้วยการนำนักเรียนมาทำกิจกรรมในด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ นอกเหนือไปจากเป็นช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ประจำสถาบัน พ่วงด้วยหน้าที่ดูแลเด็ก ๆ ในกรณีที่ครูยังมาไม่ถึงโรงเรียนทุกวันนี้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนวัดร้องอ้อ ตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ป. 6 จะมีคาบเรียนวิชาคอมพิวเตอร์บรรจุอยู่ในตารางเรียนทุก ๆ สัปดาห์ ไม่ต่างอะไร จากวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ โดยครูผู้สอนก็คือคนคนเดียวกับที่เดินถูพื้นตามอาคาร ล้างส้วม กวาดขยะในตอนเช้า ตัดหญ้าในสนามเวลากลางวัน ฯลฯทุก ๆ วัน คุณครูในร่างของภารโรงผู้อ่อนน้อมจะทำการสอนเด็ก ๆ ให้รู้จักกับการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้นเปิดปิดการใช้เม้าล์แป้นพิมพ์กระทั้งเข้าสู่การใช้โปรแกรม Microsoft Office ทั้ง MS word,powerpoint,Excel Anti-virus ติดเครื่องเพื่อป้องกันไวรัสที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆได้ เช่น Eset Nod32,Avira Antivir,Kerparsky,AVG,McAfee,Norton และอื่นๆอีกมากมาย โปรแกรมดูหนัง ฟังเพลง เพื่อความบันเทิงต่างๆ เช่น PowerDVD Winamp โปรแกรมดูรูปภาพ ตกแต่งรูปภาพ ถ้าใครเป็นนักแต่งภาพต้องมีโปรแกรมชนิดนี้ เช่น ACD See,Photoshop,Photoscape โปรแกรมช่วยดาวน์โหลด สำหรับนักดาวน์โหลด เช่น Flashget,Orbit,Internet download manager,Utorrent โปรแกรมเสริมหรือช่วยจัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ของเรา เช่น CCleaner,TuneUp Utilities โปรแกรมอ่านไฟล์หรือแตกไฟล์ต่างๆ เช่น Adobe Acrobat,Foxit Reader,Winzip.7-Zip โปรแกรม write CD หรือจัดการกับ CD ต่างๆ เช่น Nero,Ashampoo โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ วีชีดี ทำเว็บไซร์ ภารโรงชาติทำงานเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งบทบาทนอกเหนือไปจากภาระหน้าที่เดิมซึ่งหนักหน่วงอยู่แล้วนั้นยิ่งทำให้ภารโรงชาติมีเวลาส่วนตัวน้อยลงกว่าเก่า หลายครั้งหลายคราที่ลูกสาวและภรรยาของเขาต้องมาช่วยทำงานในโรงเรียนเมื่อว่างจากการทำงานอย่างไรก็ตามแม้จะมีหน้าที่การงานให้ต้องเหนื่อยหนักกันมากขึ้น แต่ภารโรงชาติและครอบครัวก็ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ในทางกลับกันเขายังขันอาสาที่จะสละทรัพย์สินและความสุขส่วนตัวร่วมกับเพื่อน ๆ ในวิชาชีพเดียวกันเพื่อตอบแทนโรงเรียนอีกหลาย ๆ แห่งใน จ. เชียงใหม่อีกด้วย “เรารวมตัวกับเพื่อน ๆ ภารโรง ตั้งกลุ่มชมรมสมาคมนักการขึ้น ซึ่งถ้าแต่ละโรงเรียนเดือดร้อนหรือมีงานอะไรที่ต้องทำต้องใช้กำลังคน เราก็จะไปช่วยกันอย่างที่ผ่านมา ในฐานะภารโรงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง สิ่งที่ภารโรงชาติสร้างขึ้นได้ก่อประโยชน์ยิ่งกว่าตำแหน่งหน้าที่ของเขามากมายนัก ไม่น่าเชื่อว่าคนคนหนึ่งที่เคยดูแคลนอาชีพตัวเองว่าไร้ค่าไร้ความหมาย มาวันนี้ชายวัย 43 จะเป็นลูกจ้างประจำที่ใครหลายคนยากที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเขาภารโรงชาติทำงานทุกอย่างด้วยความรัก และแม้ว่าจะเหนื่อย ดูเหมือนตลอดเวลา 20 กว่า ปี ภารโรงชาติได้เอาหัวใจของตัวเองฝังรากไว้บนผืนดินของโรงเรียนวัดร้องอ้อและใช้ตอบแทนพระคุณแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว.................... ภารโรงชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท