The Progressive Era


The Progressive Era

ยุคปฏิรูปประเทศ และปัญหากรรมกร (The Progressive Era)

1.ภูมิหลัง
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
     ก่อนสงครามกลางเมืองจะเกิดขึ้น  ธุรกิจการค้าในสหรัฐอเมริกามักจะกระทำกันโดยมีคนๆ เดียวหรือสองคนเท่านั้น  แต่ภายหลังสงครามกลางเมืองแล้ว  การพิชิตตะวันตกได้ส่งทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม  จนเกิดความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเสียใหม่  ให้ผลิตได้มากขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ  ขนาดของบริษัทอุตสาหกรรมจึงต้องเปลี่ยนรูปตามความเจริญของเทคโนโลยี  คือ  ขยายให้ใหญ่ขึ้นโดยมีประชาชนจำนวนเป็นหมื่นหรือแสนคนเข้าร่วมลงทุนถือหุ้นในบริษัทหนึ่ง ๆ แต่ก็มีอยู่เสมอในยุคนั้นที่ผู้บริหารของบริษัทมหึมาเหล่านั้น  มักจะยักยอกผลประโยชน์จากการบริหารกิจการของบริษัทให้กับตนเองเสียบ้าง  ประชาชนผู้ถือหุ้นไม่มีโอกาสที่จะควบคุมหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบริษัทของตนเท่าใดนัก  การผูกขาดหรือการรวมบริษัทผลิตสินค้าชนิดเดียวกันทำนองปลาใหญ่กินปลาเล็ก  มักจะกระทำโดยอ้างว่าเพื่อลดความสิ้นเปลืองในการผลิตและลงทุน  ทั้งจะได้เป็นการยกระดับคุณภาพและปริมาณการผลิตเพื่อสาธารณชนจะได้กินดีอยู่ดีมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม  ประชาชนก็มองเห็นภัยของการผูกขาดและการแข่งขันแบบเชือดเฉือนกันในวงการธุรกิจว่า เป็นการทำลายอุดมการณ์ของระบอบประชาธิปไตย  โดนลิดรอนโอกาสของปัจเจกชนผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มิให้ได้ก่อสร่างตนเองตามแนวความคิดของตน  เพราะขาดเงินทุนที่จะตั้งตัวขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย
     ธุรกิจทรัสต์ (Trust) เกิดในระหว่างครึ่งหลังคริสตศตวรรษที่ 19  แนวโน้มธุรกิจของสหรัฐอเมริกามุ่งสู้การรวมตัว  โดยธุรกิจลักษณะเดียวกันมารวมตัวกัน  ทำให้เกิดธุรกิจขนาดใหญ่  เพื่อให้เกิดการผลิตที่ได้ผลดี ปริมาณมากและต้นทุนต่ำ  สามารถซื้อวัตถุดิบจำนวนมากในราคาถูก  และมีอำนาจต่อรองกับธุรกิจการเงินและการขนส่งอีกด้วย  ธุรกิจระบบทรุสต์ของสหรัฐอมเริกาขยายตัวอย่างรวดเร็ว  มีการรวมธุรกิจแบบเดียวกันทุกแห่งทั่วประเทศไว้ในกิจการเดียวกัน  โดยทรัสต์แต่ละแห่งจะมอบหมายกิจการของตนให้อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการกลาง การขยายตัวของทรัสต์  มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์อเมริกาในเวลาต่อมา  เพราะทำให้ธุรกิจแทบทั้งหมดอยู่ในมือบุคคลเพียงไม่กี่คน  ที่มีอานาจทางการเงินเหนือประชาชนนับล้านๆ คน  และมีอำนาจพอที่จะมีอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐ การผูกขาดทำให้ระบบการแข่งขันแบบเสรีหมดไป  ประชาชนต้องอยู่ภายใต้การกำหนดราคาสินค้าจากบริษัท  คนงานต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของบริษัท  ถึงแม้การผูกขาดจะทำให้ประเทศเติบโตด้วยระบบทุนนิยม  แต่ได้นำความเดือดร้อนมาสู่ประชาชน  ก่อให้เกิดผลกระทบแระปัญหาต่าง ๆ  ตามมาอย่างมากมาย เช่น ปัญหากิจการรถไฟ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ปัญหาสังคมและแนวคิดทางการเมือง ปัญหากรรมกร ปัญหากสิกร ปัญหาคนเข้าเมือง และปัญหาการเงินของประเทศ   มัคเรคเกอร์ (Muckraker) เกอร์ (Muckraker) หรือพวกขุดคุ้ยหาข้อเท็จจริงที่เลวร้ายในสังคมมาเขียนตีแผ่ให้ประชาชนได้อ่าน  ประธานาธิบดีธิโดดอร์  รุสเวลท์เองไม่ชอบคนพวกนี้นัก  เพราะเกรงว่าจะเขียนเร้าอารมณ์เกินความจริงไป  แต่พวกมัคเรคเกอร์ ไม่สนใจ  เพราะรู้ดีว่าประชาชนจะไม่ลุกขึ้นต่อต้านหรือปฎิรูปสังคม  ถ้าไม่เกิดความเจ็บแค้นอย่างรุนแรงเสียก่อน  ฉะนั้นจึงเป็นน่าที่ของตนที่จะต้องขุดค้นหาที่มาของสิ่งชั่วร้ายนั้น ๆ  ออกมาเปิดโปงให้ประชาชนรู้เห็นทั่วถึงกัน

 

2.ยุคปฎิรูปประเทศ (The Progressiv Era)
     ยุคปฏิรูปประเทศ (The Progressive Era) ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาอยู่ในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20  เป็นยุคของการปราบปรามและปรับปรุงประเทศ  โดยมีจุดประสงค์ที่จะปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง  ความเหลวแหลกไร้ประสิทธิภาพที่มีอยู่ในวงการรัฐบาลทุกระดับ  ตั้งแต่หลังสงครามกลางเมืองเรื่อยมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 การปฏิรูปยุคนี้  เน้นโจมตีการผูกขาดในทางการค้าและอุตสาหกรรมของธุรกิจขนาดใหญ่  กำจัดการแข่งขันของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มุ่งทำลายบริษัทเล็ก  และพวกโปรเกรสซีฟมีความปรารถนาจะเสริมสร้างประเทศให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น  เพราะเห็นว่าระบบทรัสต์ตรงกันข้ามกับระบอบประชาธิปไตย  และต้องการให้คนอเมริกันโดยทั่วไปเป็นเจ้าของทรัพย์สิน  โดยที่พวกโพรเกรสซีฟมีแนวความคิดในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
     2.1 การปฏิรูประดับท้องถิ่น  จอห์น  เพอร์รอย   มิทเชล  เป็นนายกเทศมลตรี  ที่นครชิคาโกเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ประชาชนผู้นำทางสังคมร่วมมือกันก่อตั้งสันนิบาตผู้ออกเสียงเลือกตั้งเทศบาล  และลงมือกวาดล้างความสกปรกโสมม  โดยเปิดโปงเล่ห์เปลี่ยมในการฉ้อราษฎร์บังหลวง  จนลินคอล์น  สเตฟเฟนส์  มองหาการฉ้อโกงรายใหญ่ ๆ ไม่ได้เมื่อเข้าเยือนชิคาโก  ในปี 1903  ที่นครมินนิอาโปลีส คณะกรรมการผลเรือนที่แข็งขันและพวกลูกขุนที่ไม่หวั่นเกรงต่ออิทธิพลใด ๆ  ได้ร่วมมือกันเปิดโปงการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงการเจ้าหน้าที่ตำรวจจนสามารถส่งตัวการเข้าคุกได้ โรเบิร์ต เอ็ม. ลาโฟแลต (Robert M. Lafollette)  เป็นคนหนึ่งในบรรดานักปฏิรูปสังคมที่ระสบความสำเร็จมากที่สุด ในฐานะผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน  เขาได้ปฎิรูปมลรัฐนี้จนได้ชื่อว่าเป็นมลรัฐที่ก้าวหน้าที่สุดมลรัฐหนึ่งในการปฏิรูป  ลาโฟแลตได้ชื่อว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของนักฉ้อราษฎร์บังหลวง  และนักธุรกิจที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากการเมือง  เขาเป็นนักอนุรักษ์นิยมที่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย  และมีศรัทธาทางการเมืองว่าประชาชนย่อมทำสิ่งที่ถูกต้องเสมอในทุกโอกาส  หากได้รับแรงดลใจหรือข่าวสารข้อเท็จจริงอย่างเหมาะสม ลาโฟแลต  ได้ปรับปรุงกลไกของรัฐให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น  โดยจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งสำคัญ ๆ  ทางการเมืองโดยตรงจากประชาชน  เช่น  ตำแหน่งวุฒิสมาชิกผู้แทนมลรัฐในรัฐบาลกลาง  เขากวดขันมิให้ใช้วิธีการทุจริตในการเลือกตั้ง  จัดให้มีการแถลงและจำกัดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้แข่งขันทุกฝ่าย  กระจายอำนาจในมลรัฐให้ท้องถิ่นมีอำนาจบริหารตนเองมากยิ่งขึ้น  เพื่อให้การพัฒนาดำเนินไปอย่างรวกเร็วและตรงความต้องการของท้องถิ่นนั้น ๆ  เอง
     2.2 นักปฏิรูประดับประเทศ
     ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลท์ นโยบาย ยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย (The Square Deal) ของรูสเวลท์มุ่งจะให้กลุ่มผลประโยชน์ทั้ง 4 กลุ่ม  ได้แก่  กลุ่มนานทุนธุรกิจ  กลุ่มแรงงาน  กลุ่มกสิกร  และกลุ่มผู้อุปโภคและบริโภคก้าวหน้าไปอย่างสมดุลกัน  โดยการควบคุมดูแลของรัฐบาลกลางภายใต้อำนาจขอบเขตที่มีอยู่ด้วยความเป็นกลาง  รูสเวลท์ไม่มีนโยบายที่จะล้มธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งหลาย  แต่ต้องการจะจำกัดอำนาจของธุรกิจเหล่านั้นตามที่ประชาชนเรียกร้อง  ในด้านกิจการรถไฟ รูสเวลได้เข้าไปควบคุมดูแลกิจการรถไฟอย่างจริงจัง  ในด้านการใช้แรงงานซึ่งมีผลต่อศิลธรรม  รูสเวลท์ได้แร่งรัดให้รัฐสภาออกกฎหมายจ่ายค่าชดเชยแก่คนงานซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐบาล  กำหนดให้ทำงานเพียงวันละ 8  ชั่วโมง  และออกกฎหมายแรงงานเด็กเฉพาะที่เมืองหลวงก่อน  โดยที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายนี้อย่างจริงจัง  ในด้านการสาธารสุขได้ออกกฎหมายอาหารและยา  และวันเดียวกันรัฐสภาก็ออกกฎหมายอีกฉบับคือกฎหมายตรวจเนื้อสัตว์
     ประธานาธิบดีวิลเลี่ยม เอช ทัฟท์  ในสมัยของทัพท์ได้มีกฎหมายสำคัญ ๆ  ออกมาอีก 6 ฉบับ  คือ  บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ  มาตราที่ 16  กำหนดเก็บภาษีรายได้  โดยเริ่มจากบริษัทอุตสาหกรรม  บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตราที่ 17  กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งวุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาโดยตรง  รัฐบัญญัติตีราคาทรัพย์สินของบริษัทรถไฟ  รัฐบัญญัติจัดตั้งธนาคารไปรษณีย์ออมสินและการขนส่งไปรษณีย์ภันฑ์  รัฐบัญญิติสถาปนากระทรวงแรงงาน  รัฐบัญญัติแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทางการเมืองของแต่ละพรรคการเมืองให้สาธารณชนทราบ
     ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน โครงการปฏิรูปของวิลสันมีชื่อว่าโครงการอิสรภาพใหม่  หมายถึงการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจของตน  ส่วนใหญ่คือพวกชนชั้นกลาง  ได้มีโอกาสดำเนินธุรกิจแข่งขันกันได้  เพราะเขาไม่ต้องการให้อเมริกันมีแต่นายจ้างและลูกจ้าง  ให้โอกาสแก่ทุกคนทำมาหากินเท่าเทียมกัน  โดยจัดระเบียบการเงินและแรงงานใหม่  ทำให้โครงการอิสรภาพใหม่ของวิลสันต้องไปเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปงานต่าง ๆ รัฐบาลวิลสันได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัสต์  โดยได้ออกกฏหมายจัดตั้งกรรมาธิการพาณิชย์แห่งชาติ (The Federal Trade Commission Act)  ในวันที่ 26 กันยายน ปี ค.ศ. 1914  จุดประสงค์เพื่อคอยสอดส่องปราบปรามการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม

3. ปัญหากรรมกร
     ในขณะที่ธุรกิจอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาเจริญก้าวหน้า  นำความมั่งคั่งและผลประโยชน์ให้กับบุคคลเพียงไม่กี่คน  แต่ผู้ใช้แรงงานกลับได้ผลประโยชน์น้อย  ความเจริญรุ่งเรื่องทางเทคโนโลยีที่นำมาให้ในกิจการอุตสาหกรรม  ทำให้กรรมกรตกงานและค่าจ้างแรงงานต่ำเพราะใช้เครื่องจักรผลิตแทนแรงงานคน  กรรมกรได้มีการรวมตัวกันเพื่อต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมในรูปของสหพันธ์แรงงาน  การต่อต้านขอกรรมกรเกิดขึ้นจากสาเหตุดังนี้

- กรรมกรถูกตัดค่าจ้างแรงงาน
- สภาพการทำงาน
- การดำเนินงานในรูปบรรษัทได้เข้ามาทำลายความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและกรรมกร
- สภาพของโรงงานอุตสาหกรรมและสภาพที่อยู่อาศัยของกรรมกรอยู่ในสภาพเลวร้าย
- ความต้องการในการจัดตั้งองค์การกรรมกร

 3.1 การจัดตั้งองค์กรของกรรมกร
     3.1.1 สหพันธ์กรรมกรแห่งชาติ (The National Labor Union)
          ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1866  ที่เมืองบอลทิมอร์  โดยมีผู้แทนกรรมกรจากหลายท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นสมาชิก  จุดประสงค์คือต้องการให้มีการปรับปรุงสวัสดิ์การของกรรมกรให้ดีขึ้น  ลดชั่วโมงการทำงานลงให้เหลือวันละ  8  ชั่วโมง  ระหว่างปี ค.ศ. 1868 ถึงปี 1873  สหพันธ์กรรมกรได้จัดตั้งพรรการเมืองของตน  มีชื่อว่าพรรคปฎิรูปแรงงาน (The Labor Reform Party)  แต่ทั้งทั้งพรรคการเมืองและสหพันธ์กรรมกรไม่ประสบผลสำเร็จ  เนื่องจากความไม่เห็นพ้องในนโยบาย  โครงการต่างๆ สูงส่งเกินไป  และมีการบริหารงานไม่ดีพอ  ประกอบกับการนัดหยุดงานและประท้วงอย่างรุนแรงในรัฐเพนซิลเวเนียในปี ค.ศ. 1873  มีส่วนช่วยทำให้สมาพันธ์กรรมกรถูกทำลายไปในปี ค.ศ. 1877
     3.1.2 สหพันธ์ระเบียบอันสูงส่งของอัศวินแห่งกรรมกร  (The Noble Order of the Knights of Labor)
          ขณะที่สหพันธ์กรรมกรแห่งชาติกำลังเสื่อม  สหพันธ์ระเบียบอันสูงส่งของอัศวินแห่งกรรมกรได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่  24  กันยายน   ค.ศ. 1869  นำโดยยูไรซ์ เอส  สตีเฟ่น  ในระยะแรกมีสภาพเป็นเพียงสมาคมลับ  ต่อมาเปลี่ยนสภาพเป็นสมาพันธ์กรรมกรอย่างเปิดเผยภายใต้การนำของ  เทอร์เรนซ์  วี  เพาเดอร์ลี่  ซึ่งได้รับเลือกเป็นแกรนด์มาสเตอร์ของสหพันธ์ในปี  ค.ศ.  1878  นโยบายของสหพันธ์คือขอพิจารณาขึ้นค่าแรงงานและลดอัตราเวลาการทำงานจากวันละ 10 ถึง 12 ชั่วโมง เหลือ 8 ชัวโมง  จัดสวัสดิการแก่กรรมกรอย่างยุติธรรมสหพันธ์ไม่นิยมการนัดหยุดงานและก่อความวุ่นวาย  เพราะนโยบายของเพาเวร์ลีต้องการเรจาโดยสันติวิธีก่อน  ถ้าใช้การเจรจาแบบสันติวิธีล้มเหลว  ก็จะนัดหยุดงาน  ในปี ค.ศ. 1885  สหพันธ์กรรมกรแห่งนี้มีสมาชิกถึง 700,000 คน  และมีการจัดตั้งธุรกิจสหกรณ์ให้กรรมกรกว่า 30 แห่ง  แต่ผลที่สุดสหพันธ์ระเบียบอันสูงส่งของอัศวินแห่งกรรมกรก็เสื่อมเพราะมีสมาชิกมากเกินไป  ผู้นำดูแลไม่ทั่วถึง  และได้รับการต่อต้านจากประชาชน  เพราะการนัดหยุดงานแต่ละครั้งมักจะมีพวกหัวรุนแรงเข้าร่วมด้วย  ทำให้เกิดการนัดหยุดงานและเกิดจราจล  เป็นเหตุให้ประชาชนไม่สนับสนุนและกล่าว่ากรรมกรเป็นพวกสร้างความวุ่นวาย
     3.1.3 สหพันธ์กรรมกรอเมริกัน  (The American Federation of Labor)
          สหพันธ์กรรมกรอเมริกันประสบความสำเร็จในการก่อตั้ง  จะเห็นได้ว่าสมาชิกของสหพันธิกรรมกรอเมริกันมีมากถึง 2 ล้านคนในปี ค.ศ. 1914  เนื่องจากสหพันธ์จะคัดเลือกสมาชิกที่มีทักษะ  มีระเบียบวินัยเคร่งครัด  หลีกเลี่ยงเป้ามหายที่สูงส่งเกินไป  และหลีกเลี่ยงการผูกพันธ์ทางการเมือง  เน้นวิธีเจรจาโดนสันติระหว่างนายจ้างแระลูกจ้าง  ถึงแม้ว่าสหพันธ์กรรมกรอเมริกันจะไม่นิยมความรุ้นแรงก็ตาม  แต่การนัดหยุดงานที่เกิดขึ้นรุนแรงถึงสองครั้ง คือ โฮมสเตด สไตรค์ (Homestead Strike)  และพลูแมนสไตรค์ (The Pullman Strike)


บรรณานุกรม
กิทลิน, เจย์, วิภาวรรณ ตุวยานนท์  กว่าจะเป็นอเมริกัน   *กรุงเทพฯ : คบไฟ, 2534.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ประวัติศาสตร์อเมริกา   *กรุงเทพฯ : แพรวิทยา, 2518.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์  สหรัฐอเมริกา : ประวัติศาสตร์และการเมือง   *กรุงเทพฯ :
บรรณกิจ, 2524.
ทิพย์อุบล ดาบสุวรรณ ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา 1   *กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, [2520?].
มาลินี ประเสริฐธรรม  สหรัฐอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1   *กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2538].
สนธิ  บางยี่ขัน . การเมืองสหรัฐอเมริกา   กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2519
สมร นิติทัณฑ์ประภาศ ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1865-1945 ยุคหลังสงครามกลางเมือง –
สงครามโลกครั้งที่ 2   *กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2525.

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #the progressive era
หมายเลขบันทึก: 340266เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ส่งในรายวิชา ระบบสารสนเทศทางประวัติศาสตร์

อาจารย์ อภิเชษฐ กาญจนดิษฐ์

ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ

สวัสดีค่ะ

หนูมาขอบพระคุณค่ะ  ที่กรุณาไปอ่านบันทึกของหนู

หนูอ่านบันทึกของคุถณแล้ว เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง

แต่สรุปว่าเป็นเรื่องของสิทธิผู้ใช้แรงงานใช่ไหมคะ

ดีคับน้องนัท

ถูกแล้วครับน้องนัท มันเป็นผลมาจาก การพัฒนาของอุตสาหกรรมใน อเมริกาครับ

บางครั้ง การพัฒนาอะไรจนไม่มองถึงผลกระทบ หรือลืมเรื่องจริยธรรมไป มันก็ไม่ดีใช่มั้ยหล่ะคับ ^ ^

ดีเลยครับ ได้ความรู้อีกเยอะ...
แต่ผมชอบอ่านในมิติวรรณกรรมด้วยเหมือนกัน
เคยอ่านบ้างหรือเปล่าครับนวนิยายเรื่อง "แม่" ของแม็กซิม กอร์กี้...แต่เป็นเรื่องของชาวรัสเซีย ก็เป็นเรื่องในแนวกรรมการนี่แหละ...

 

สวัสดีครับคุณแผ่นดิน

ขอบคุณมากๆเลยครับที่เข้ามาอ่าน

ยังไม่เคยได้ลองอ่านเลยครับ สำหรับเรื่องที่คุณแนะนำ

ถ้ามีโอกาส จะลองสืบค้นมาหาอ่านดูครับ

ส่วนประวัติศาสตร์รุสเซียนัั้น

ผมเคยได้ศึกษาในสมัยของ นิกิต้า ครุสชอฟ

สมัยสหภาพโซเวียตครับ ปัญหาสงครามเย็นกำลังมันส์เลยคับ ช่วงนั้น

เอาขีปนาวุธไปจ่อ จะยิงแหล่ไม่ยิงแหล่ หนุกดีครับ

ความรู้ทั้งดุลเลย.... ยุคนี้แรงงานเริ่มจะน้อยลงแล้วก็จริงนะคะ

แต่ว่าความต้องการให้การใช้แรงงานกลับมากขึ้น เพราะธุรกิจต่างๆมีแต่จะเติบโตขึ้น

และแรงงานเป็นสิ่งสำคัญคะ

ใช่แล้วครับ คุณ εöз. . . NinG-WerN . . .εöз

อย่างประเทศจีนดูสิ แรงงานเยอะมาก

งานบางชิ้นบางอัน เครื่องจักรไม่สามารถทำได้หมด

ขอบคุณมากนะครับที่แวะเข้ามาอ่าน

  • แวะมาศึกษาเรียนรู้ค่ะ
  • ทุกยุคทุกสมัย "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" เสมอ
  • ขอบพระคุณค่ะ

แจ่มมเิพื่อนเบิ้ด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท