ความรู้ในด้านพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคต่างๆ


ความรู้ในด้านพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

ความรู้ในด้านพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคต่างๆ

    การพัฒนาการการศึกษาที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาในอดีต เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้คือ

1)  ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค.ศ.1700

การศึกษาช่วงเวลาดังกล่าวมีการพัฒนาการที่ช้ามาก การจัดการเรียนการสอนอยู่ในกลุ่มคนเล็ก ๆ การสื่อสารยังไม่เจริญ การจัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษามีดังนี้

1. เทคโนโลยีการศึกษาของกลุ่มโซฟิสต์

ในตอนปลายของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชนั้น มีกลุ่มนักการศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นครูรับจ้างสอนตามบ้านในกรุงเอเธนส์ กรีกโบราณ และเป็นที่รู้จักในนามของกลุ่ม Elder Sophist คำว่า Sophist หรือ Sophistes ในยุคนั้น (450- 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้รู้ ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้รู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่ 5 คน คือ โปรตากอรัส, จอจิแอส, โปรดิคอส, ฮิปเปียส และทราซีมาคัส ซึ่งบางทีอาจจะเรียกได้ว่าเป็นนักเทคโนโลยีทางการศึกษากลุ่มแรกก็ได้

รูปแบบเทคนิคการสอนของกลุ่มโซฟิสต์มี 3 ขั้นตอนคือ

            - เตรียมคำบรรยายอย่างละเอียด

            - เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่เขาต้องการรู้

            - บรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง

หลักการนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพูดในที่สาธารณะ (Public Lecture) และนอกจากนั้นกลุ่มโซฟิสต์ยังได้ใช้ระบบการพบปะสนทนากับผู้เรียน (Tutorial System) เพื่อสร้างสัมพันธ์กับ ผู้เรียนด้วย ลักษณะการแบบนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการสอนแบบมวลชน (Mass Instruction) ได้เช่นกัน

2.เทคโนโลยีการศึกษาของโสเครติส (ค.ศ.399-470)

               โสเครตีส เพลโตและเซโนฟอนลูกศิษย์ของเขาได้ทำการบันทึกวิธีการสอนของเขาไว้ วิธีการของโสเครติสแตกต่างไปจากวิธีการของกลุ่มโซฟิสต์ที่ได้กล่าวถึงมาแล้วมาก วิธีการสอนของโสเครติส ที่อธิบายไว้ใน Plasto's Meno นั้น มุ่งที่จะสอนให้ผู้เรียนเสาะแสวงหรือสืบเสาะหาความรู้ที่เหมาะสมเอง จากการป้อนคำถามต่าง ๆ ที่เป็นการชี้แนะแนวทางให้ผู้ตอบได้ข้อคิด วิธีการของ โสเครติสนี้อาจจะเทียบได้กับวิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)

3. เทคโนโลยีการศึกษาของอเบลาร์

               ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ยุโรปเริ่มตื่นตัวในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบมีสถานศึกษาหรือโรงเรียน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีใหม่แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนถึงกับการให้สิทธิแก่ผู้สอนตั้งโรงเรียนในโบสถ์หรือวัดได้ ในบรรดาผู้สอนในโรงเรียนทั้งหมด อเบลาร์ด (ค.ศ.1079-1142) เป็นบุคคลตัวอย่างที่ดีคนหนึ่ง อเบลาร์ด สอนที่ Notre Dame ซึ่งเป็นโรงเรียนวัดในระหว่างปี ค.ศ.1108-1139 ต่อมาโรงเรียนนี้ได้ยกฐานะเป็น The University of Paris เมื่อ ค.ศ.1180 เขาได้ฝึกนักเรียนของเขา โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติล ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Sic et Non (Yes and No) อันเป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงวิธีสอนของเขา ซึ่งเขาให้แง่คิดและความรู้ ทั้งหลายแก่นักเรียนโดยการเสนอแนะว่าอะไรควร (Yes) และอะไรไม่ควร (No) บ้างเสร็จแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจและสรุปเลือกเองอย่างเสรีวิธีสอนของอเบลาร์ด มีอิทธิพลโดยตรงต่อ Peter Lombard (ค.ศ.1100-1160) และ St. Thomas Aquinas (1225-1274) ซึ่งเขาทั้งสองได้นำแนวคิดของอเบลาร์ด มาปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอน โดยการระมัดระวังเทคนิคการใช้คำถามให้รัดกุมขึ้น

หมายเลขบันทึก: 340236เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท