พบกันในวันประชุม เน้นเรื่องทำงานตามแผน และการดูแลเบาหวานชนิดที่ 1


และนี้เป็นอีกก้าวที่พวกเราร่วมกันก้าวเดินต่อไป โดยรู้และเข้าใจ ในงานที่ดูเพิ่มพูนนั้น เราอาจเหนื่อย แต่ผลที่รออยู่ถ้าเราทำได้ดี นั้นคือความสุขของคนเจ็บป่วยอีกหลายๆชีวิต และถ้าเราทำได้ดี อาจเป็นทาง ให้พื้นที่อื่นๆได้เดินตาม มาร่วมเรียนรู้ และจูงมือเดินไปสู่จุดหมายเดียวกัน

วันนี้เรามาพบกันเพื่อสานงานต่อ อ้อมาบอกเล่าเรื่องราวทิศทางการทำงานที่ไปรับนโยบายมา ชี้แจงการทำงานให้ทำ เหมือนๆกัน ทั้งอำเภอ เพื่อทำให้ถูกทาง ได้คุณภาพ ทันเวลา เป็นระบบและไม่ลืมที่จะสานสัมพันธ์การดูแลผู้ป่วยร่วมกับพี่ใหญ่ซึ่งคือโรงพยาบาลของเราและน้องๆPCU ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

 

ก่อนอื่นเริ่มต้นด้วย อ้อบอกถึงแนวทางการทำงาน วาง Timeframes การทำงาน   ทั้งงานการคัดกรอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการจัดบริการโรคเรื้อรังใน PCU และที่สำคัญ ข้อมูล  ที่ต้องบอกว่า จากข้อมูล OP individual เรามีคนไข้น้อยกว่าที่ควรจะมี จะได้ 4 เท่า (5,000 : 20,000 ) ก็เน้นให้ทุกคนเห็นความสำคัญ ปรับปรุงและหาทางแก้ไข ไม่งั้นคงเข้าข่าย ทำงานเยอะแยะ ผลงานที่ออกนิดเดียว รวมถึงงบที่ถูกจัดสรรให้ก็น้อยลงไปกว่าที่ควรเป็น   ว้าว...ว  

ในวันนี้เรามีหลายๆเรื่องที่จะมาพูดคุยกันแต่หนึ่งในหลายเรื่องมีเรื่องสำคัญที่เราจะมาพบแนวร่วมคนใหม่

 แพทย์หญิง เมจินี เด่นศรีวิวัฒน์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบต่อมไร้ท่อ มาร่วมคิด ร่วมทำดูแลผู้ป่วยเบาหวาน type  1  โดยเริ่มที่พี่อู๊ด ที่มาบอกเล่าว่า เมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้ เบาหวานเด็กที่อายุน้อยที่สุด คือ อายุ 1 ขวบ 2 เดือนมาให้ดูแล หนูน้อยยังไม่หย่านมแม่เลย ทำเอาพวกเราใจอ่อนระทวย  เห็นใจ และตามมาด้วยพลังมหาศาลที่อยากช่วยดูแล  

โดยหมอเมจิบอกว่า เบาหวานเด็ก เป็นเรื่องใหญ่โต ที่หมอดูแลคนเดียวไม่ได้ต้องให้พี่ๆPCU ที่เป็นคนสำคัญช่วยกันดูแล ตามมาด้วยแจกรายชื่อ เบาหวานเด็กของเราให้ พยาบาลประจำพื้นที่ดูแล ซึ่งส่วนใหญ่ รู้จักเด็กๆ และไปเยี่ยมกันมาบ้างแล้ว  พี่ไก่(ยักษ์ เพราะลดน้ำหนักไม่สำเร็จ) ยกมือขึ้นบอกว่า รู้จักเด็กและไปเยี่ยมมาแล้ว  .....เยี่ยม

และก็เข้าเรื่อง...เพราะพี่ๆ ทุกคนต้องการคำแนะนำ ในการดูแลเด็กเหล่านี้ ซึ่งเป็นการดูแลเฉพาะ และอยากรู้ว่า ทีมร.พ ทำอะไรไปแล้วบ้าง  และทีมPCU จะทำอะไร 

ถาม :  อาการอะไรที่ควรระวังและเป็นข้อสังเกตุ

หมอเมจิ : เราอาจพบเด็กฉี่รดที่นอน บ่อยๆ ให้สังเกต ว่าเด็กๆ ที่ไม่ฉี่รดที่นอนแล้วมีอาการแบบนี้ให้สังเกตและระวัง

เมื่อเด็กadmit ด้วย DKA......???

  • Wardเด็ก โทรศัพท์แจ้ง พี่อู๊ด จะไปเยี่ยม พูดคุย ประเมินการดูแลในครอบครัว พ่อ แม่ ซักถามถึงที่โรงเรียน ประเมินการดูแลกับชีวิตที่เปลี่ยนไป ว่าเด็กและครอบครัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอันหนักหน่วงได้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องบอกว่า  เราและทีมต้อง ยกขบวนออกไปหาเด็ก  เพื่อให้เรามั่นใจว่าเด็กทำได้ ครอบครัวดูแลได้ โดยประสานกับพื้นที่ PCU ในการลงเยี่ยม 

โรงพยาบาลสนับสนุนอะไรบ้าง

อ้อตอบ : สิ่งที่เราสนับสนุนการดูแลคือ

  • เครื่องตรวจน้ำตาล พร้อมแผ่นตรวจบางส่วน และบางส่วนครอบครัวต้องซื้อเอง  เหตุผลคือ ในช่วงแรกของการปรับตัว บางครอบครัวยังไม่พร้อม

PCU ร้องยุ้งข้าวให้ข้อมูลว่า : น้องรายใหม่ที่อยู่ที่ร้องยุ้งข้าว พ่อแม่อาชีพรับจ้าง  ค่าแรง 2 อาทิตย์ ถึงจะซึ้งเครื่องตรวจน้ำตาลได้ ถ้าต้องเจาะเลือด วันละ 2-4 ครั้ง   พ่อกับแม่เด็ก คงทำงานหาเงินมาได้แค่ซื้อแผ่นตรวจ  ที่เหลือประทังชีวิต และบางส่วนเก็บไว้เป็นค่ารถมารพ 

: จึงเป็นเหตุผลที่ในช่วงแรกเราเลือกสนับสนุน แผ่นตรวจ  และเมื่อเด็ก ปรับตัว ปรับยา ควบคุมได้อยู่ตัว ก็เจาะห่างๆ และเราก็สนับสนุนบางส่วน    ผสมกับการติดตามเยี่ยมบ้าน และไปเยี่ยมดูที่โรงเรียน 

เด็กรายใหม่ทุกคนที่พบทำอะไรบ้าง

ตอบ :  หมอเมจิ จะเขียนจดหมายไปหาคุณครูที่โรงเรียน เหตุผลเพราะ เด็กฉีดยา ตอนเช้า และจะมีกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนตลอดทั้งวัน เช่น ชั่วโมงพละศึกษา ต้องเล่นกีฬา เพราะฉะนั้น อาจเกิดhypoได้

  • ที่โรงเรียนมีกฎของโรงเรียน เราที่เคยผ่านชีวิตในวัยเด็กมาแล้วคงจะจำได้  คือ ห้ามเด็กทานขนมในห้องเรียน  แต่เด็กเบาหวานใช้กฎนี่ไม่ได้ ถ้าหิวต้องทานในชั่วโมงเรียน นี่เป็นสิทธิของเด็กที่ครูต้องรู้ ไม่ต้องรอให้เด็กนั่งตัวสั่นมือสั่น หน้าเหลือง จนเป็นลม 

  • เด็กอาจต้องแซงคิวทานข้าว เมือถึงเวลา อาหารกลางวัน ซึ่งครูและเพื่อนต้องเข้าใจ

  • ดูแลเมื่อเด็กไม่สบาย ครูและพ่อแม่  ต้องสังเกตุและระวัง น้ำตาลต่ำ  และสูง ต้องให้เด็กเจาะเลือดบ่อยๆ กว่าเดิมและทานน้ำหวานได้

หมอเมจิ : เด็กออกกำลังกายเหมือนคนอื่นได้  หมอเคยพบ ว่าครูพละไม่ไห้เด็กสอบพละ แต่ให้ผ่านไปเลย ซึ่งไม่ไช่  เพียงแค่ให้เด็กทานอาหารล่วงหน้ามากกว่าปกติ .ให้ครูตรวจสอบการทานอาหาร ว่าทานมากกว่าปกติแล้ว ก็ให้เรียนและสอบวิชาพละได้เหมือนเด็กอื่นๆ  เท่านั้นเอง

พี่ไก่ :  ทานมากกว่าปกติ เท่าไหน และเด็กมีชั่วโมงพละประมาณ บ่าย  3  ต้องทานอาหารอย่างไร จึงจะไม่เกิด hypo

หมอเมจิ : ให้ทานคาร์โบไฮเดรต 1 ส่วน เช่น ขนมปัง 1 แผ่น apple 1 ผล สำหรับเด็กทุก size (คือทั้งเด็กอ้วน เด็กผอม เด็กปกติ) ภายใน ½ ชั่วโมง ก่อนเรียน และ ทานเพิ่ม 1 ส่วน ทุก ½  ชั่วโมง ถ้าออกกำลังต่อเนื่อง

หมอเมจิ : เด็กต้องมีวินัย  เวลาไหนกิน เวลาไหนฉีดยา ตรงเวลา  เด็กต้องมีสมุดบันทึกกิจกรรมชีวิตประจำวัน ว่า ทานอะไร เท่าไหน  

ซึ่งอ้อว่าถ้าเด็กบันทึกโดยใส่อารมณ์ ความรู้สึกของการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ลงไป คงเป็นบันทึกที่มีค่า น่าสนใจ และน่าติดตาม น่าดู

พี่อู๊ด :  อยากให้พี่ๆ เน้นการติดตามหลังเด็กออกจากโรงพยาบาลเร็วที่สุด และติดตามไปที่โรงเรียน

อ้อ : เสนอว่าจะทำแนวทางการดูแลแจก โดยบอกว่าภายใน 7 วัน หลังเด็กจำหน่ายจากward     ส่ง บส 1 ทุกราย และหมอเมจิ พี่อู๊ด อ้อ จะประสานPCU ลงเยี่ยม ที่บ้านและโรงเรียน ให้ ครบ 100%  ทุกคน ลงมติตกลง ยินดีเป็นอย่างยิ่ง  OK

สุดท้าย หมอเมจิ กล่าวขอบคุณ ที่เราต่างมาช่วยดูแล ขอบคุณพี่ๆคนสำคัญ  ที่จะมาสานการดูแลผู้ป่วยเด็กและร่วมกันทำงานให้ดีที่สุด

และนี้เป็นอีกก้าวที่พวกเราร่วมกันก้าวเดินต่อไป โดยรู้และเข้าใจ ในงานที่ดูเพิ่มพูนนั้น เราอาจเหนื่อย แต่ผลที่รออยู่ถ้าเราทำได้ดี นั้นคือความสุขของคนเจ็บป่วยอีกหลายๆชีวิต  และถ้าเราทำได้ดี อาจเป็นแนวทาง ให้เพื่อนพื้นที่อื่นๆได้เดินตาม มาร่วมเรียนรู้ และจูงมือเดินไปสู่จุดหมายเดียวกัน

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #ประชุม
หมายเลขบันทึก: 340116เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชีวิตใดๆก็มีค่าเช่นเดียวกัน ขอบคุณหมอเมจินี ที่เข้าใจการทำงานอย่างเป็นองค์รวม ยินดีที่ได้ทำงานร่วมกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท