การจัดการเชิงกลยุทธ์


การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการจัดการองค์การ ผู้บริหารจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าทำอย่างไรจึงจะให้องค์กรบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลแลงทางเศรษฐกิจ สังคม

 

การจัดการเชิงกลยุทธ์

จิราวรรณ  บุญศรีวงษ์

1.  ความนำ

                ในการจัดการองค์การ  ผู้บริหารจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าทำอย่างไรจึงจะให้องค์กรบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้  สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลแลงทางเศรษฐกิจ สังคม

และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยากร  ผู้บริหารจำเป็นจะต้องรู้จักเลือกคนและนำคน นำจุดแข็งและความรู้ความสามารถของคนมาหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่สามารพัฒนาก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง และสิ่งสุดท้ายคือผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อสร้างภาพที่อยากให้องค์กรเป็นไปในอนาคต เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน รวมทั้งจะต้องรู้จักวางแผนกลยุทธ์ เพราะกลยุทธ์เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จหรือความเป็นเลิศซึ่งต้องอาศัยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้วางแผนกลยุทธ์จะต้องสามารถมองไปข้างหน้าได้อย่างถูกต้อง เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น

                การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) เป็นศาสตร์และศิลป์ทางด้านการบริหารงานในองค์การ  ในบทความนี้จะกล่าวถึงความหมาย  ความสำคัญ  ประโยชน์และกระบวนการในการจัดการเชิงกลยุทธ์

2.  ความหมาย

          กลยุทธ์  มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ  ดังนี้

          Pitts and Lei (2000:6)  กล่าวว่า  กลยุทธ์หมายถึง  ความคิด (ideas)  แผนงาน (plans)   และการกระทำ  (actions)  ต่าง ๆ  ที่บริษัทนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสำเร็จเหนือคู่แข่งขัน  กลยุทธ์จะถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยบริษัทบรรลุผลสำเร็จ  มีความเป็นต่อหรือความได้เปรียบในการแข่งขัน  (competitive advantage)  ซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันมาจากความสามารถของบริษัทที่จะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้เด่นชัดมากกว่า  หรือมีประสิทธิภาพหรือคู่แข่งขัน

Schermerhorn  (2002:203)  กล่าวว่า  กลยุทธ์หมายถึง  แผนแม่บทหรือแผนปฏิบัติการหลักสำคัญขององค์กร (comprehensive action plan) ซึ่งองค์การใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางการดำเนินงาน

ระยะยาว รวมทั้งใช้เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  โดยทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน (sustainable competitive advantage)

กลยุทธ์จะมุ่งเน้นการนำมาใช้ในสภาวการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่มีการแข่งขัน (competitive environmean) อันแสดงถึง  “การคาดการณ์ที่ดีที่สุด” (best guess)  ในสิ่งที่ต้องการกระทำเพื่อให้เกิด

ความมั่นใจว่าจะเกิดผลสำเร็จในอนาคตในขณะที่เผชิญอยู่กับคู่แข่งขัน  หรือแม้แต่ในสภาวการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

2

 

                ความหมายของกลยุทธ์ในภาครัฐบาล

Samuel Paul  (1983:57)  กล่าวว่า  กลยุทธ์หมายถึงชุดของทางเลือกระยะยาวที่เกี่ยวกับเป้าประสงค์เชิงปฏิบัติการและนโยบาย  รวมทั้งแผนปฎิบัติการของแผนงานของรัฐบาล ซึ่งหน่วยงานภาครัฐบาลกำหนด โดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญสองประการ  ได้แก่  วัตถุประสงค์ของแผนงานที่รัฐบาลกำหนดไว้และสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของแผนงาน

                จากการศึกษาความเห็นของนักวิชาการดังกล่าวข้างต้น  สรุปได้ว่า  กลยุทธ์หมายถึงวิธีการรูปแบบการตัดสินใจ หรือแผนปฏิบัติการที่ผู้บริหารนำมาใช้เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการ

จากปัจจุบันให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ในอนาคต

                การจัดการเชิงกลยุทธ์  มีผู้ให้ความหมายต่าง  ๆ  ดังนี้

                Thompson and Strickland  (1999:3-4) กล่าวว่า  การจัดการเชิงกลยุทธ์  เป็นกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน  เกี่ยวกับการจัดทำกลยุทธ์ (strategy making)  และการปฏิบัติตามกลยุทธ์  (strategy-implementing)  ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้แก่

  1. การกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์  (forming a strategic vision)  ซึ่งบ่งบอกลักษณะของ

ธุรกิจในอนาคตของบริษัทว่ามีลักษณะอย่างไร องค์กรจะมุ่งหน้าไปทางไหน  ทั้งนี้เพื่อเป็นการ   กำหนดทิศทางในการดำเนินงานในระยะยาวให้กับองค์กร  บอกชนิดของธุรกิจที่บริษัท    พยายามอยากจะให้เป็นไป  และแจ้งให้ทุกคนได้รับทราบ  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปใน     ทิศทางตามที่มุ่งหวังร่วมกัน

2.    การกำหนดวัตถุประสงค์ (setting objectives) เป็นการเปลี่ยนวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์  ให้เป็น

เป้าหมายในการดำเนินงานโดยเฉพาะเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้

3.   การจัดทำกลยุทธ์  (crafting a strategy)  เพื่อบรรลุผลสำเร็จตามที่ตั้งความมุ่งหวังไว้

4.   การนำกลยุทธ์ที่เลือกไว้ไปปฏิบัติ  (implementing and executing the chosen strategy) 

 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

  1. การประเมินผลการดำเนินงานและการปรับปรุงแก้ไขเพื่อเริ่มต้นใหม่ (evaluating

performance and initiating corrective adjustment)  การปรับปรุงแก้ไขจะเริ่มตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์  การกำหนดทิศทางในการดำเนินงานระยะยาว  การกำหนดวัตถุประสงค์  การจัดทำกลยุทธ์  หรือการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ  โดยพิจารณาจากประสบการณ์จริง  และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ใหม่  ความคิดใหม่และโอกาสที่เกิดขึ้นขึ้นใหม่

                Wheelen and Hunger (2002:3)  กล่าวว่า  การจัดการเชิงกลยุทธ์หมายถึง  ชุดของการตัดสินใจและการปฏิบัติการต่าง ๆ ทางด้านการบริหาร  ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการดำเนินงานระยะยาวของบริษัท ประกอบด้วย การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (environmental scanning) ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  การจัดทำกลยุทธ์ (strategic formulation)   ซึ่งเป็นแผนกลยุทธ์หรือแผนระยะยาว    การปฏิบัติตามกลยุทธ์

3

 

(strategy implementation)   และการประเมินผลและการควบคุม  (evaluation and control)  และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการตรวจสอบและประเมิน โอกาส (opportunities)  และอุปสรรคหรือข้อจำกัด  (threats) โดยคำนึงถึง จุดแข็ง  (strengths) และจุดอ่อน (weaknesses)  ของบริษัทเป็นหลักสำคัญ

                Pearce and Robinson  (2000:3)  กล่าวว่า  การจัดการเชิงกลยุทธ์  หมายถึงชุดของการตัดสินใจและการปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและปฏิบัติตามแผน  ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้วัตถุประสงค์ของบริษัทบรรลุผลสำเร็จ (Strategic management is defined as the set of decisions and actions that result in the formulation and implementation of plans designed to achieve a companys objectives) 

                การจัดการเชิงกลยุทธ์  ประกอบด้วยงานหลักสำคัญ  9  อย่าง ดังนี้

  1. การกำหนดพันธกิจหรือภารกิจของบริษัท  ซึ่งประกอบด้วยการเขียนข้อความบรรยาย  

กว้าง ๆ เกี่ยวกับความมุ่งหมาย  ปรัชญา และเป้าหมาย

  1. การศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในแง่มุมต่าง ๆ ภายในบริษัท  เพื่อทราบจุดแข็งและ

จุดอ่อน

  1. ประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อค้นหาความได้เปรียบในการแข่งขันและปัจจัยแวดล้อม

ทั่วไป  เพื่อฉกฉวยโอกาสมาเพื่อดำเนินงาน  และหลีกเลี่ยงอุปสรรคหรือภัยคุกคามต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

  1. วิเคราะห์ทางเลือกในการดำเนินงานของบริษัท  โดยการจัดสรรทรัพยากรของบริษัท  เพื่อให้

เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก

  1. กำหนดทางเลือกในการปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด  โดยการประเมินแต่ละทางเลือก  ซึ่งจะต้อง

สอดคล้องกับพันธกิจของบริษัท

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว  และกลยุทธ์แม่บทที่จะนำมาใช้  เพื่อเป็นทางเลือกในการ

ดำเนินธุรกิจที่เลือกไว้นั้นบรรลุผลสำเร็จ

  1. พัฒนาวัตถุประสงค์ประจำปีและกลยุทธ์ระยะสั้น  ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระยะยาว

และกลยุทธ์แม่บท

  1. นำกลยุทธ์ที่เลือกไว้ไปปฏิบัติด้วยการจัดสรรปันส่วนทรัพยากร  เพื่อให้เหมาะสมกับงาน

คน โครงสร้างและเทคโนโลยี         

  1. ประเมินผลสำเร็จของกระบวนการกลยุทธ์ทุกขั้นตอนที่ได้ปฏิบัติ  เพื่อนำผลที่ได้มาใช้เป็น

ตัวนำเข้า  เพื่อการตัดสินใจในอนาคต

จากงานหลักทั้ง 9 อย่างที่กล่าวข้างต้น  แสดงให้เห็นว่าการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารงาน

ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน (planning)  การอำนวยการ (directing)  การจัดองค์การ (organizing)   และการ

4

 

ควบคุม (controlling)  อันเกี่ยวกับการตัดสินใจและการปฎิบัติการทางด้านกลยุทธ์ของบริษัท  สำหรับ  กลยุทธ์ในความหมายของผู้จัดการ หมายถึงแผนแม่บทขนาดใหญ่ที่จะนำไปปฏิบัติในอนาคต  เพื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์  กลยุทธ์จึงเปรียบได้เหมือนกัน  “แผนการแข่งขัน” หรือ  “game plan”  ของบริษัทนั่นเอง  แม้ว่าแผนนั้นจะไม่ให้รายละเอียดชัดเจนมากนักเกี่ยวกับการเตรียมการทุกด้านในอนาคต  (เช่น คน เงินและวัสดุ)  แต่ก็ได้ให้แนวทางในการตัดสินใจด้านการจัดการเป็นอย่างดี  กลยุทธ์จะสะท้อนให้บริษัทตระนักว่า  บริษัทควรจะแข่งขันอย่างไร (how)   เมื่อไร  (when) และที่ไหน  ( where)   ควรจะแข่งกับใคร (against whom)  และมีความมุ่งหมายอะไร (for what purposes)

                พิบูล  ทีปะปาล  (2546: 10)  กล่าวว่า  การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการกำหนดแนวทางหรือวิถีทางในการดำเนินงานขององค์การ  เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  ซึ่งการกำหนดแนวทางหรือทิศทางในการดำเนินงานนั้น ผู้บริหารจำเป็นจะต้องทำการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อจัดทำแผนงานดำเนินงานที่เหมาะสมที่สุด  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ปัณรส  มาลากุล ณ อยุธยา (2551:1)  กล่าวว่า  การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Srategy managememnt)  เป็นวิธีการบริหารที่มุ่งเน้น

-         การกำหนดทิศทาง ภารกิจและกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรให้ชัดเจนและสอดคล้องกับ

กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพการณ์ภายในขององค์การ

-         การดำเนินการพัฒนาปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ขององค์การให้สามารถนำกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

-         และการติดตามกำกับ ควบคุมและประเมินผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ เพื่อเรียนรู้ผล

ความก้าวหน้า ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ  เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงต่อไป

จากการศึกษาความเห็นของนักวิชาการดังกล่าวข้างต้นสรุปว่า  การจัดการเชิงกลยุทธ์    เป็น

กระบวนการทางการบริหารงานที่มุ่งเน้นการวางแผน การกำหนดการดำเนินงานของบริษัท โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อจัดทำเป็นแผนการดำเนินงานที่เหมาะสม กำหนดการติดตาม ควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

3.   ความสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์

                ในการจัดการเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญ ดังนี้

                1.  การจัดการเชิงกลยุทธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

 

5

 

                2.  การจัดการเชิงกลยุทธ์จะคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์การอย่างกว้างขวาง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์การ (Stakeholders) หมายถึง  กลุ่มผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจกำหนดนโยบายขององค์การ  ซึ่งการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องเหล่านี้อย่างเหมาะสม

                3.  การจัดการเชิงกลยุทธ์ต้องคำนึงถึงผลทั้งระยะสั้นและยะยาว  การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องกำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ระยะยาวขึ้นก่อน จากนั้นจึงมอบหมายให้ผู้บริหารระดับกลางนำกลยุทธ์ระยะยาวเหล่านั้นไปกำหนดเป็นแผนปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละงาน อันเป็นผลต่อความสำเร็จขององค์การทั้งในระยะสั้นและระยาว

                4.  การจัดการเชิงกลยุทธ์มุ่งเน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล   เป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดผลสำเร็จ

ของงาน

4.  ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์

                นักวิชาการได้กล่าวถึงประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์ไว้ต่าง ๆ กัน  ที่น่าสนใจมีดังนี้

Thompson and Sreickland  (1999:24)  ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์ พอสรุปได้ดังนี้

1.  เพื่อให้แนวทางในการปฏิบัติงานต่อทุกคนในองค์การ  โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญ “สิ่งที่เราพยายามจะทำ และทำให้สำเร็จ”

2.   ทำให้ผู้จัดการ  มีความตื่นตัวมากขึ้นต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลง    เพื่อปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่  และหาทางหลบหลีกภยันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

3.   เพื่อช่วยให้ผู้จัดการ  มีเหตุผลในการจัดสรรงบประมาณในการลงทุนจัดกำลังคนและทรัพยากรอื่น ๆ  ให้กับแผนงานต่าง ๆ

4.   ช่วยให้การตัดสินในเชิงกลยุทธ์  ซึ่งผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ  ทั้งองค์การปฏิบัติงานร่วมกัน  จะได้ตัดสินใจสอดคล้องกันเป็นหนึ่งเดียว

5.   เพื่อช่วยให้เกิดการจัดกิจกรรมล่วงหน้า   เพื่อตัดสินใจตอบโต้  หรือตั้งรับต่อแนวโน้มต่าง ๆ

ที่จะเกิดขึ้น

ข้อได้เปรียบของการลงมือก่อนหรือการริเริ่มใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ก่อนผู้อื่น  เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการดำเนินงานในระยะยาวที่กว่าเสมอ

Pearce and Robinson  (2000:9-10)  ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์ ไว้ดังนี้

การใช้การจัดการเชิงกลยุทธ์ไปดำเนินงาน  จะช่วยให้ผู้จัดการทุกระดับของบริษัทได้เข้ามาทำงานร่วมกัน ทั้งด้านการวางแผนและการนำแผนงานไปปฏิบัติ การให้ผู้จัดการทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน  ย่อมก่อให้เกิดผลประโยชน์ในเชิงพฤติกรรมในแง่ของการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีคุณค่า

6

 

เป็นอย่างยิ่ง  กล่าวคือทำให้ผู้บริหารทุกระดับเกิดความรัก ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  พร้อมที่จะอุทิศตนอุทิศเวลามุ่งมั่นทำงานร่วมกัน เพื่อให้งานเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งสิ่งดังกล่าวเหล่านี้ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้  แต่มีความหมายอย่างยิ่งในเชิงการจัดการ

นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์  มีส่วนช่วยสำคัญทำให้ผลการดำเนินงานดีกว่าองค์การที่ไม่ใช้หลักการจัดการเชิงกลยุทธ์  จากการสำรวจเกือบ 50 บริษัท  พบว่า  ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์ 3 ลำดับแรกที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้เข้าใจวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทชัดเจนยิ่งขึ้น  รู้ว่าเรื่องอะไรบ้างที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์  และทำให้เข้าใจสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงดียิ่งขึ้น

จากการศึกษาความเห็นของนักวิชาการและผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น สรุปประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์ได้ดังนี้ 

                1.   ช่วยให้องค์การกำหนดวัตถุประสงค์และกำหนดทิศทงหรือภารกิจหลักในอนาคตได้อย่างชัดเจน  สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติงานในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                2.    ช่วยให้ทุกคนในองค์การดำเนินงานในหน้าที่ต่าง ๆ ไปในทิศทางเดียวกัน  และมีความสอดคล้องกันในระหว่างส่วนย่อยต่าง ๆ ขององค์การโดยมีกรอบทิศทางที่แน่ชัด

                3.   ช่วยให้ผู้บริหารทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหาร มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์การด้วยความรัก และถือได้ว่าเป็นการสร้างความเป็นผู้นำให้แก่ผู้บริหารด้วยเช่นกัน

                4.   ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างขวาง  สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและสามารถลดความเสี่ยงได้

5.  กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

                กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Process) มี  5  ขั้นตอน ประกอบด้วย

  1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยพิจารณา “จุดแข็ง-จุดอ่อน” ภายในหน่วยงานและ “โอกาส-

อุปสรรค” จากภายนอกหน่วยงาน ซี่งเป็นปัจจัยเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน  ทั้งที่เป็นปัจจัยเงื่อนไขในระยะเวลาที่ผ่านมาและที่จะเป็นไปในอนาคต

  1. การจัดวางทิศทางของหน่วยงาน  โดยพิจารณาภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งเน้นเหตุผลในการมี

หน่วยงาน และเป้าประสงค์ของหน่วยงาน  ซึ่งเน้นประโยชน์ที่ได้รับจากการมีหน่วยงาน

  1. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)  หรือการวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Planning)  

โดยพิจารณาออกแบบและเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงจากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ

  1. การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์  โดยดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

 

7

 

ให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยคำนึงถึงโครงการสร้างของหน่วยงานและวัฒนธรรมของหน่วยงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่พึงประสงค์

  1. การควบคุมเชิงกลยุทธ์  โดยวิธีการติดตามผลการปฏิบัติงานและวิธีการประเมินผล

กระบวนการและประเมินผลสำเร็จของหน่วยงาน รวมถึงการติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์

6.   แผนกลยุทธ์

แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan)  คือ

  1. เอกสารที่ระบุวิสัยทัศน์ (Vision)  ภารกิจ (Mission)  และกลยุทธ์ (Strategigs) ต่าง ๆ  ในการ

ดำเนินงานขององค์การหนึ่ง ๆ

  1. เป็นแผนระยะยาวที่บอกถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์การ   สำหรับใช้เป็นเครื่องมือใน

การประสานและกำกับติดตามการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ ขององค์การให้เป็นไปในทิศทางและจังหวะเวลาที่สอดคล้องกัน

  1. เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายนอกและภายในองค์การ  เพื่อ

คาดคะเนแนวโน้มของสถานการณ์ดังกล่าว

7.   การจัดทำแผนกลยุทธ์

การจัดทำแผนกลยุทธ์  ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญของการดำเนินธุรกิจ เป็นการกำหนดแนวทาง

วิธีการเพื่อให้องค์การมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน และสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้  ด้วยการประเมิน ปรับเปลี่ยนศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม  โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรภายในขององค์การให้มีศักยภาพต่อการฉกฉวยโอกาสที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความได้เปรียบในการแข่งขัน

                การจัดทำแผนกลยุทธ์ มีขั้นตอนดังนี้

                7.1  การวิเคราะห์สถานการณ์

                        การวิเคราะห์สถานการณ์  หมายถึง  การคาดคะเนแนวโน้มของสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์การ  โดยมีตัวแปรสำคัญที่ควรพิจารณา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

7.1.1            การวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก  ได้แก่การพิจารณาถึงแนวโน้มของตัวแปร

ต่าง ๆ ดังนี้

(1)    สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีปัจจัยที่ควรพิจารณา ดังนี้

  • S     Social                     สภาพและกระแสสังคมและชุมชนที่ล้อมรอบ

องค์การ

 

8

 

  • T     Technology          แนวโน้มของพัฒนาการด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ

ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ

  • E     Economic              สภาพและแนวโน้มเศรษฐกิจ
  • P     Politics                   สภาพของการเมือง รวมทั้งกฎหมายและนโยบาย

ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การ

  • I      International         แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ

ที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์การ   

(2)    สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การโดยตรง  มีปัจจัยที่ควรพิจารณาดังนี้

  • สภาพของตลาด
  • ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
  • กลุ่มลูกค้าผู้รับบริการ
  • สภาพของคู่แข่งและการแข่งขัน
  • สภาพของคู่ค้าหรือองค์การที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับองค์การของเรา  เช่น 

                       ส่วนราชการในพื้นที่เดียวกัน เป็นต้น

  • สภาพของผู้ที่ป้อนวัตถุดิบ หรืออุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนเทคโนโลยีให้แก่องค์การ
  • สภาพของตลาดแรงงานที่เป็นตัวกำหนดปริมาณและคุณภาพและความรู้สึกผูกพันของคนในองค์การ

ปัจจัยเหล่านี้  คือตัวอย่างของปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อวิเคราะห์หรือมองหาโอกาส (Opportunities) และภัยคุกคาม (Threats)

        7.1.2    การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในองค์การ  ได้แก่การพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

                    ความสามารถ

¡        ความสามารถทางการตลาดในการที่จะกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์หรือความ

        ต้องการสินค้าและบริการที่องค์การผลิต

¡        ความสามารถในการจัดจำหน่ายหรือส่งมอบสินค้าและบริการที่องค์การผลิต

¡        ความสามารถในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบขององค์การ เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ในยามจำเป็น

9

 

¡        ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

¡        ความสามารถในการจัดซื้อ จัดหาเครื่องจักร  เครื่องมือ วัตถุดินและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ

¡        ความสามารถในด้านการบริหารจัดการ

¡        การวางแผน

¡        การจัดโครงสร้างองค์การ

¡        การประสานงานระหว่างส่วนงานต่าง ๆ

¡        การบริหารการเงินและงบประมาณ

¡        การบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การ

¡        ความสามารถในการติดตาม อำนวยการ การกำกับและควบคุมงาน

¡        ภาวะผู้นำ : บุคลิกภาพ ภาพลักษณ์ ความรู้ความสามารถ คุณธรรม

                       เอาจริงเอาจัง เอาใจใส่และให้ความสำคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์

                    ขององค์การ

ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อระบุ จุดแข็ง (Strengths)  และจุดอ่อน

(Weaknesses)  ขององค์การ

                7.2  การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ

                       วิสัยทัศน์ขององค์การ (Vision) คือ  คำบรรยายถึงสภาพและการดำเนินงานขององค์การที่ต้องการให้เกิดขึ้น  ภายใต้เงื่อนไขแนวโน้มของสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่ได้คาดคะเนไว้

                7.3  การกำหนดภารกิจ

                              การกำหนดภารกิจมีสองระดับ คือ

˜        ระดับแรก  เป็นการกำหนดภารกิจในลักษณะของอาณัติ หรือบทบาทหน้าที่ขององค์การที่สังคมกำหนดให้  หรืออีกนัยหนึ่งคือ  การตอบคำถามที่ว่า “องค์การนี้มีขึ้นมาเพื่ออะไร”  ซึ่งคำตอบจะคงที่ตลอดชั่วอายุขององค์การ

˜        ระดับที่สอง  เป็นการกำหนดภารกิจที่องค์การจะต้องดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนกลยุทธ์นั่นเอง  ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์  แต่ไม่ควรเปลี่ยนไปจนไม่สอดคล้องกับภารกิจดั้งเดิม(ระดับแรก) ขององค์การ

7.4    การกำหนดกลยุทธ์

เมื่อได้กำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจอัน  เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานขององค์การแล้ว 

ขั้นตอนต่อมาก็คือการกำหนดกลยุทธ์  ซึ่งหมายถึงแนวทางหรือวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำองค์การไปสู่การบรรลุผลตามวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้  ซึ่งกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นนั้น  ควรมีความสอดคล้องกับแนวโน้ม

10

 

ที่สำคัญที่ระบุไว้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกและภายในองค์การด้วย  โดยอาจพิจารณากำหนดกลยุทธ์ได้ดังนี้

7.4.1           พิจารณาโอกาสสำคัญที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม  แล้วมองหาวิธีการที่จะใช้จุดแข็งขององค์การให้ได้ประโยชน์ในการคว้าโอกาสนั้นมารใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การ  โดยควรพิจารณาจุดอ่อนขององค์การประกอบด้วย  เพราะองค์การอาจมีจุดอ่อนที่เป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถนำเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาใช้ในการคว้าโอกาสที่เปิดขึ้นมาได้  เช่น  เมื่อเศรษฐกิจเฟื่องฟู องค์การที่มีความสามารถด้านการผลิตสูงย่อมมีความได้เปรียบ  แต่ถ้าหากองค์การนั้นมีจุดอ่อนอยู่ที่การตลาดก็จะทำให้ไม่สามารถใช้จุดแข็งด้านความสามารถในการผลิตได้อย่างเต็มที่

7.4.2           พิจารณาถึงภัยคุกคามที่สำคัญ  โดยพยายามหากลยุทธ์ที่เป็นการนำเอาจุดแข็งที่มีอยู่มใช้ในการป้องกันตัว หรือไม่ก็นำจุดแข็งนั้นนำไปใช้คว้าโอกาสอื่นที่เกิดขึ้น เช่น  เมื่อมีคู่แข่งที่เข้มแข็งเข้ามาในตลาดที่เราครองอยู่  ก็อาจต้องใช้จุดแข็งของเรา  เช่น  ในเรื่องความสนิทสนมกับตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่เป็นเครื่องป้องกันตัว  เป็นต้น

7.5    การแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ  งานของผู้จัดการในตอนนี้จึงหันมามุ่งเน้นให้ความสนใจ

ที่จะเปลี่ยนแผนกลยุทธ์นั้นไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีมีประสิทธิภาพมากที่สุด การจัดทำกลยุทธ์กับการกับแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดี จำเป็นต้องอาศัยงานด้านการบริหารและทักษะ

ที่แตกต่างกัน การจัดทำกลยุทธ์นั้นส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นที่ตลาด  อันเป็นกิจกรรมของผู้บริหารกิจการ

ส่วนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นที่การดำเนินงานหรือปฏิบัติการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการบริหารงานบุคคลและกระบวนการทางด้านธุรกิจเป็นสำคัญ  และในการแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัตินั้น  ต้องอาศัยแผนปฏิบัติการเป็นเครื่องมือสำหรับใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับส่วนงานต่าง ๆ

ให้เป็นไปอย่างสอดประสานกันทั้งในแง่ทิศทางและจังหวะเวลา  โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการนั้นอาจใช้รูปแบบต่าง ๆ กันได้หลายแบบ เช่น  การใช้การวางแผนโครงการแบบเหตุผลสัมพันธ์  หรืออาจเขียน

ในทำนอง Gant Chart   ก็ได้  แต่อย่างน้อยในแผนปฏิบัติการควรมีองค์ประกอบพื้นฐาน ดังนี้

7.5.1           ชื่อแผนงาน  ซึ่งก็คือชื่อของกลยุทธ์แต่ละกลยุทธ์นั่นเอง

7.5.2           วัตถุประสงค์และ/หรือเป้าหมายของแผนงานนั้น  ซึ่งจะสามารถให้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ(Key Success Indicators) และเป็นมาตรการที่สามารถใช้ในการติดตามประเมินความสำเร็จก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนงานได้

7.5.3           ชื่อโครงการ  งาน  หรือกิจกรรมต่าง ๆ  ที่อยู่ในแผนงานนั้น

11

 

7.5.4           วัตถุประสงค์ เป้าหมายและ/หรือตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ กิจกรรม   นั้น ๆ ที่ผู้บริหารและผู้ปฎิบัติงานสามารถที่จะใช้ในการติดตามประเมิน

ผลงานได้

7.5.5           เงื่อนเวลาซึ่งสะท้อนถึงลำดับก่อน-หลังในการดำเนินการ

7.5.6           ผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการให้บรรลุผลสำเร็จ

7.5.7           งบประมาณและปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ

7.6    การติดตามและการประเมินผลกลยุทธ์  เป็นกระบวนการสุดท้ายในการจัดการเชิงกลยุทธ์

ที่จะใช้เป็นเครื่องมือเพื่อติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ว่าบรรลุผลสำเร็จตามแผนที่วางไว้  ซึ่งวิธีการในการติดตามประเมินผลนั้นก็คือการคอยติดตามข่าวสารข้อมูล โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวชี้วัดความสำเร็จต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้และคอยแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนถึงการคอยติดตามให้การสนับสนุนแก่ผู้ปฏิบัติงานในส่วนงาน

ต่าง ๆ ในทุก ๆ ด้าน  ให้สามารถปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

       &

หมายเลขบันทึก: 340098เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจาร์ยข๋า แล้ว strategic Vision มันแปลว่าอะไรอ่ะค่ะ คือหนูหาความหมายมันไม่เจอ หาเจอแต่มันต้องแยกคำ รบกวนอาจาร์ยหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท