เมื่อท่านจะไปเป็นผู้บริหารในสถานที่แห่งใหม่


ผู้บริหารใหม่ควรอ่าน

แรงต้านและแรงสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง

      Kurt Levin ได้กล่าวถึงธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงว่าจะต้องมีทั้งแรงต้าน (Restraining Forces) และแรงเสริม (Driving Forces) โดยสภาพการณ์ปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นที่จุดที่แรงต้านและแรงเสริมมาปะทะกันพอดี การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเมื่อมีแรงด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่ง ดังนั้นการบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีการพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นแรงต้าน และแรงเสริม และพยายามเพิ่มแรงเสริม และลดแรงต้านการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนให้องค์การดำเนินการเปลี่ยนแปลงไปจนบรรลุเป้าหมาย

 

ปัจจัยที่เป็นแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

                การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเสมอ เมื่อจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในองค์การ มักเกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

                1. ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียประโยชน์ อำนาจ ความมั่นคง หรือสิ่งที่เคยมี เคยทำอยู่จนเคยชิน

                2. ความรู้สึกหวั่นไหวต่อความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน ความรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ตนถูกโดดเดี่ยว แปลกแยก และความรู้สึกที่จะต้องละจากแบบแผนของชีวิตที่ใช้มาจนเคยชิน

                3. การขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอเกี่ยวกับแนวทาง วิธีการ และจุดหมายปลายทางของการเปลี่ยนแปลง

                4. ความไม่เชื่อถือ ไว้วางใจ ไม่เชื่อใจกัน ซึ่งทำให้ขาดการสื่อสารสร้างความเข้าใจ ซึ่งยิ่งบ่อนทำลายความไว้วางใจกันและกัน

                5. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ข้อจำกัดด้านทรัพยากร ความไม่ยืดหยุ่นของกฎระเบียบ ความยากลำบากในการสื่อสาร ฯลฯ

 

ปัจจัยที่เป็นแรงเสริมการเปลี่ยนแปลง

                ปัจจัยที่มักพบว่าเป็นแรงเสริมที่ช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงในองค์การได้แก่

                1. ความไม่พึงพอในในสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่

                2. ความสามารถในการรับรู้ข่าวสารร่วมกันในหมู่คนในองค์การ ซึ่งตะช่วยให้เห็นความจำเป็นของสถานการณ์ได้ตรงกัน พร้อม ๆ กัน

                3. ภาพลักษณ์ และการปฏิบัติตนของผู้นำที่แสดงถึงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจังต่อการเปลี่ยนแปลง

                4. การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในตำแหน่งต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มตำแหน่งผู้บริหาร

                5. ความจำเป็นขององค์การที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการดำเนินการ และความรวดเร็วของพัฒนาการทางเทคโนโลยีประเภทที่องค์การใช้เป็นหลักในการดำเนินการ

                6. สัมพันธภาพระหว่างบุคลากรในฝ่ายและระดับต่าง ๆ ในองค์การ รวมถึงความไว้วางใจ และการสื่อสารที่ทั่วถึงกัน

                7. การมีศัตรูร่วม หรือเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน

                8. กลไกในการประเมิน ทบทวนสภาพภายในองค์การ เช่น ระบบการติดตามประเมินผล

                9. การได้ติดต่อสัมพันธ์กับภายนอกองค์การ ซึ่งทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์

 

คำสำคัญ (Tags): #ยโสธร6
หมายเลขบันทึก: 339407เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท