ความผิดเกี่ยวกับผู้ปกครอง


ผู้ปกครองควรอ่าน

กฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับความผิดต่อเจ้าพนักงาน

และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และคดีตัวอย่าง

 

  1. เจ้าพนักงานเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารงานของรัฐ รัฐจึงต้องให้ความคุ้มครองแก่เจ้าพนักงานไว้เป็นพิเศษ โดยบัญญัติลงโทษผู้ที่ดูหมิ่น ต่อสู้ขัดขวางหรือให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน
  2. โดยที่เจ้าหน้าที่นั้นกฎหมายให้อำนาจในอันที่จะปฏิบัติการตามหน้าที่ รัฐจึงจำเป็นต้องควบคุม การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน มิให้ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร โดยบัญญัติลงโทษเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

  1. ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เจ้าพนักงานย่อมได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษจากการกระทำของบุคคลอื่น เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การดูหมิ่น การแจ้งความเท็จ การต่อสู้ขัดขวาง หรือการข่มขืนใจเจ้าพนักงาน ย่อมมีความผิด
  2. ในกรณีที่เจ้าพนักงานได้ทำการรักษาตรา เครื่องหมาย ทรัพย์สิน หรือเอกสารใดเพื่อประโยชน์ของราชการ หากผู้ใดกระทำให้สิ่งของดังกล่าว เสียหายหรือสูญหาย ทำลายลงผู้กระทำย่อมมีความผิด
  3. การให้สินบนแก่เจ้าพนักงานให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่ซึ่งเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดๆ ผู้กระทำย่อมมีความผิด
  4. การแสดงตนหรือการกระทำเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการนั้น กฎหมายถือเป็นความผิด

 

                                        ความผิดที่กระทำต่อเจ้าพนักงาน

มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจ ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมาย   ในการปฏิบัติ การตามหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้นได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่  หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้ กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

แดงเสพสุราเมามายจนครองสติไม่ได้ เดินโซเซไปตามถนน ส.ต.ต. ดำมาพบเข้า จึงจับกุมแดง แต่แดงกลับพูดกับ ส.ต.ต. ดำว่า “คุณแกล้งจับผม” แดงผิดหรือไม่

ตอบ  คำกล่าวของแดงในลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ แดงผิดตามมาตรา 136

 

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่

ตอบ  พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เป็นข้าราชการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้วในตัว เนื่องจากได้มีการแต่งตั้งตามกฎหมายและได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินในหมวดเงินเดือน

ข้อดีของการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา คือ หากในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีบุคคลมากระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้กระทำความผิดก็จะมีความผิดในความผิดฐานความผิดต่อเจ้าพนักงาน ในลักษณะ ๒ หมวด ๑ ของประมวลกฎหมายอาญา ตัวอย่างเช่น พนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจเนื้อที่เขียงซักไซ้ถามแม่ค้าที่เขียงว่าเนื้อนี้มาจากโรงฆ่าไหน แม่ค้าไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ อารมณ์เสียเลยด่าพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ไอ้ animal (ให้แปลเป็นภาษาไทย) การด่าดังกล่าวเป็นดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ แม่ค้าที่ด่ามีความผิดตามมาตรา ๑๓๖ ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าหากแม่ค้าด่าคนทั่วๆไป ก็มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามมาตรา ๓๙๓ โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฉะนั้น โทษในความผิดต่อเจ้าพนักงานจะสูงกว่าความผิดที่ทำต่อคนทั่วๆ ไป

 

ดำเป็นปลัดอำเภอ ถูกสอบสวนทางวินัยข้อหารับสินบนโดยมีดีนายอำเภอเป็นประธานกรรมการสอบสวน แดงไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนว่าได้ทราบจากราษฎรหลายคนว่า ถูกดำเรียกเอาเงินเวลามาติดต่อราชการ แต่แดงไม่ยืนยันว่าเรื่องนี้จะเท็จหรือจริง  แดงผิดฐานแจ้งความเท็จหรือไม่

ตอบ  แดงไม่ทราบว่าข้อความที่ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นความเท็จ จึงขาดเจตนาในการทำความผิด

 

ตำรวจสืบทราบว่า ดำกับพวกรักรอบเล่นการพนันอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งจึงไปทำการจับกุม ขณะตำรวจเข้าจับกุมดำกับพวกนั้น ดำรีบดับไฟฟ้าเพราะกลัวจะถูกจับ ทำให้บ้านมืดไม่สะดวกแก่ตำรวจในการจับกุม และพวกของดำบางคนก็สามารถอาศัยความมืดหลบหนีการจับกุมไปได้ แต่ดำหนีไม่พ้น ถูกตำรวจตั้งข้อหาว่า ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ จงวินิจฉัยกรณีนี้

ตอบ  ดำดับไฟเพราะกลัวถูกจับ เป็นกระทำเพียงเพื่อให้ตนเองสามารถหลบหนีการจับกุมของตำรวจได้ฉะนั้น เจตนาในการกระทำของดำ จึงมิใช่เจตาที่จะต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน เมื่อดำไม่มีเจตนาเช่นนี้ก็ยังไม่ผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน

 

ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามมาตรา 138 กับความผิดฐานข่มขืนใจ เจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ตามมาตรา 139 นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ  ความผิดในสองมาตรานี้มีความแตกต่างที่สำคัญคือมาตรา 138 เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่มาตรา 139 เป็นการบังคับข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ เช่นตำรวจจะจับกุมผู้ร้ายตามหน้าที่ แต่มีผู้มาดึงแขนตำรวจไว้ เป็นเหตุให้คนร้ายหนีไปได้ เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานตามมาตรา 138 วรรค 2 แต่ถ้าทำร้ายและขู่บังคับไม่ให้ตำรวจจับ แม้ตำรวจจะไม่กลัว และจับผู้ร้ายได้ ก็เป็นพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 139

 

                                        ความผิดที่กระทำต่อตา เครื่องหมาย ทรัพย์สิน หรือเอกสารอันเจ้าพนักงานได้ทำหรือรักษาไว้

มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใด ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดอายัด หรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหายทำลาย ซ่อนเร้นเอาไปเสียหรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใดๆอันเจ้าพนักงานได้ยึดรักษาไว้ หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐานหรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษา ทรัพย์ หรือเอกสารนั้นไว้เองหรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่นส่งหรือรักษาไว้ก็ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

เจ้าพนักงานป่าไม้ประทับตราเลขประจำต้นไม้เพื่อแสดงให้ผู้รับสัมปทานทำป่าไม้ทราบว่า ได้อนุญาตให้ตัดฟันต้นไม้นั้นได้ แก้วไม่ต้องการให้ผู้รับสัมปทานตัดไม้ต้นนั้น จึงใช้ขวานถากตราที่ประทับไว้นั้นออกเสีย แก้วจะมีความผิดฐานทำลายตราที่เจ้าพนักงานประทับไว้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่หรือไม่

ตอบ  ตราเลขประจำต้นไม้ที่เจ้าพนักงานป่าไม้ประทับไว้นั้นเป็นตราประทับเพื่อรักษาต้นไม้นั้นไว้ เพื่อให้ผู้รับสัมปทานตัดได้ การทำลายตรานั้น จึงเป็นความผิดตามมาตรา 141

 

แก้วใช้ปืนยิงฟ้าตาย ตำรวจจับแก้วและสั่งให้สิงเก็บปืนของกลางไว้ แต่สิงกับเอาปืนนั้นไปวางทิ้งไว้หน้าบ้านซึ่งมีคนเดินผ่านไปมา ทำให้ปืนหายไป สิงจะมีความผิดหรือไม่

ตอบ  ปืนนั้นเป็นปืนของกลางที่จะต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา และเจ้าพนักงานสั่งให้สิงรักษาไว้ การที่สิงเอาปืนไปวางทิ้งไว้หน้าบ้านทำให้ปืนของกลางหายไป ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 142

 

 

 

                                        การแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน

มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา จังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

แก้วถูกจับกุมในข้อหาปล้นทรัพย์ ดำจึงไปพบเขียวบิดาของแก้วบอกว่าตนสนิทสนมกับภรรยาของนายอำเภอสามารถจะวิ่งเต้นกับภรรยาของนายอำเภอ ให้พูดกับพนักงานสอบสวนเพื่อล้มคดีได้และเรียกเงินจากนายเขียว 10,000 บาท เป็นค่าวิ่งเต้น ดำมีความผิดฐานเรียกทรัพย์สินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานหรือไม่

ตอบ  ไม่ผิดเพราะผู้ที่จะถูกจูงใจนั้นมิใช่เจ้าพนักงาน

 

แดงให้สินบนกับเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์อพยพชาวเวียดนามจังหวัดสงขลา เพื่อให้สั่งซื้ออาหารของแดงในราคาแพง แดงจะมีความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานหรือไม่

ตอบ เจ้าพนักงานนั้นจะต้องเป็นเจ้าพนักงานที่รัฐบาลไทยแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการของรัฐบาลไทย เจ้าหน้าที่สหประชาชาติประจำศูนย์อพยพจึงมิใช่เจ้าพนักงาน แดงไม่ผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน

 

จ่าสิบตำรวจขาว จับกุมเขียวขณะกำลังขายเฮโรอีน ส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนแล้วบิดาของเขียวจึงไปพบจ่าสิบตำรวจขาวขอปล่อยตัวเขียวโดยจะให้เงินจำนวนหนึ่ง บิดาของนายเขียวจะมีความผิดฐานให้สินบนหรือไม่

ตอบ จ่าสิบตำรวจขาวจับกุมเขียวส่งให้เจ้าพนักงานสอบสวนไปแล้ว การจะดำเนินการสอบสวนหรือจัดการอย่างใดต่อไปกับเขียวเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน มิใช่อำนาจหน้าที่ของจ่าสิบตำรวจขาวแล้ว บิดาของเขียวจึงไม่ผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน

 

                                        การแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน

มาตรา 146 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่อง หมายของเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือไม่มีสิทธิใช้ยศตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

แสนบอกส้มว่าเป็นตำรวจ ขอค้นบ้านของส้มแล้วแสนก็เข้าไปในบ้านของส้มเอาปืนขู่ส้มบังคับให้ส่งทรัพย์ให้ เมื่อได้ทรัพย์แล้วแสนก็หลบหนีไป แสนจะมีความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานหรือไม่

ตอบ  ไม่ผิด เพราะแสนยังไม่ได้กระทำการเป็นเจ้าพนักงานด้วย

 

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการที่กระทำโดยทุจริต

  1. เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม หากเบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มาหรือถือไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ กฎหมายถือเป็นความผิด
  2. ในกรณีที่เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจ หรือจูงใจเพื่อให้บุคคลอื่นมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น กฎหมายถือเป็นความผิดแม้ยังมิได้มอบทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นแก่กันก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
  3. เจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งของตนไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ย่อมมีความผิดแม้ยังมิได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นดังกล่าว กฎหมายก็ถือเป็นความผิดสำเร็จแล้ว
  4. ในบางกรณีความผิดสำเร็จเมื่อผู้นั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน และได้กระทำการหรือไม่กระทำการในตำแหน่งโดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนจะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนั้น
  5. เจ้าพนักงานผู้ใดที่อาศัยตำแหน่งหน้าที่ที่ตนมีเกี่ยวกับทรัพย์อันใดอันหนึ่ง หาผลประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการเอาทรัพย์นั้น ย่อมมีความผิด
  6. เจ้าพนักงานผู้ใดมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด หากได้เข้ามีส่วนได้เสียประโยชน์ สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น ย่อมมีความผิด
  7. เจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่จ่ายทรัพย์ ถ้าได้จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น กฎหมายถือเป็นความผิด
  8. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เรียกเก็บ หรือตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใด รวมทั้งเจ้าพนักงานที่ไม่มีหน้าที่ดังกล่าว แต่ได้แสดงตนว่ามีหน้าที่เช่นว่านั้น หากไม่เรียกเก็บเพื่อไม่ให้ผู้เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมต้องเสีย หรือเรียกเก็บน้อยไปกว่าที่เขาพึงจะต้องเสีย ย่อมมีความผิด
  9. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้าเพื่อเรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นไม่ต้องเสียหรือเสียน้อยไปกว่าที่พึงจะต้องเสีย ย่อมมีความผิด
  10. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมาย หากได้กระทำการใดเพื่อไม่ให้มีการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมหรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสียย่อมมีความผิด
  11. เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยทุจริต ย่อมมีความผิด

 

 

 

 

                                        เจ้าพนักงานยักยอก

มาตรา 147 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์สินนั้นเสีย ต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใดหรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

 

แดงรับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล ดำเป็นลูกจ้างรายวัน ทำงานในโรงพยาบาลเดียวกัน แดงมีหน้าที่จำหน่ายยาแก่คนไข้ ดำมีหน้าที่เก็บรักษาเงินค่าจำหน่ายไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินด้วย แดงและดำขายยาได้เงินทั้งสิ้น 30,000 บาท แต่ได้ร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินว่าขายได้เงิน 20,000 บาท และนำเงินจำนวนนี้ส่งแก่เจ้าหน้าที่การเงิน ส่วนเงินค่าขายยาอีก 10,000 บาท แดงและดำแบ่งกันคนละครึ่ง แดงและดำมีความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกหรือไม่

ตอบ  แดงรับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาลจึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย แต่แดงไม่มีหน้าที่เก็บรักษาเงินจึงไม่ผิดตามาตรา 147 เพราะความผิดตามมาตรานี้ผู้กระทำความผิดต้องมีหน้าที่จัดการหรือรักษาเงินนั้น เมื่อไม่มีหน้าที่เช่นนี้ ก็ไม่ผิด (แต่แดงผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352)

 

                                        ใช้อำนาจในตำแหน่งข่มขืนใจเอาทรัพย์

มาตรา 148 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดย มิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ ซึ่ง ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

 

ดำ ผู้ใหญ่บ้านและแก้วกับเขียว ราษฎร แกล้งจับแดงหาว่าลักโค และพูดว่าถ้าไม่อยากรำบากก็หาเงินมาให้ 500 บาท จะปล่อยตัวไป แดงปฏิเสธและไม่ยอมให้เงินตามที่ถูกเรียก ดังนี้ ดำ แก้ว เขียว จะมีความผิดหรือไม่

ตอบ  ดำ ผิด ฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตามมาตรา 148 เพราะเป็นการแกล้งจับ โดยไม่ปรากฏว่าได้มีการกระทำผิด แม้แดงจะไม่ยอมให้เงินตามที่ถูกเรียกเก็บก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว

แม้แก้วกับเขียวจะร่วมกับดำ แกล้งจับแดง แต่แก้วและเขียวเป็นราษฎรจึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำผิดตามมาตรา 148 ได้ แก้วและเขียวจึงผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ตามมาตรา 86

 

มาตรา 86 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้น เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ สนับสนุนนั้น

 

                                        เรียก รับ หรือยอมจะรับสินบน

ความผิดตามมาตรา 148 และมาตรา 149 มีข้อแตกต่างกันอย่างไร

มาตรา 148 เป็นเรื่องเริ่มต้นด้วยการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบก่อน แล้วเรียกทรัพย์ เช่น ผู้ถูกจับมิได้กระทำผิด แต่แกล้งจับเขา แล้วเรียกทรัพย์สินหรือประโยชน์

มาตรา 149 เป็นเรื่องของการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยชอบ แล้วเรียกเอาทรัพย์ เช่น ผู้ถูกจับเป็นผู้กระทำผิดจริง และผู้จับก็จับตามอำนาจหน้าที่โดยชอบแล้วเรียกทรัพย์หรือประโยชน์เพื่อปล่อยตัว

มาตรา 148 จำกัดเฉพาะการเรียกทรัพย์สินหรือประโยชน์ ส่วนมาตรา 149 รวมถึงการรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ด้วย

 

มาตรา 149 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับหรือยอมจะ รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ในตำแหน่งไม่ว่าการนั้น จะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือ ประหารชีวิต

 

                                        เรียกสินบนก่อนรับตำแหน่ง

มาตรา 150 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน กระทำการหรือไม่กระทำการ อย่างใดในตำแหน่งโดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดซึ่งตน ได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ในตำแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุก ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

นายดาบตำรวจแดงสอบได้เลื่อนยศตำรวจเป็นชั้นสัญญาบัตร แต่ยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง ได้เรียกเงินจากขาวโดยพูดว่า เมื่อตนได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสอบสวนแล้ว ตนจะช่วยเหลือขาวในเรื่องคดี ขาวจึงมอบเงินจำนวนหนึ่งให้ไป ต่อมานายดาบตำรวจแดงได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสอบสวน และได้กระทำตามที่พูด ถามว่า ร.ต.ต. แดง (ยศใหม่) มีความผิดหรือไม่ อย่างไร

ตอบ  ร.ต.ต. แดง เป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจในการสอบสวน ได้เรียกเงินจากขาวไว้ก่อนที่ตนจะได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานสอบสวน เพื่อจะช่วยเหลือขาวในเรื่องคดี ความผิดย่อมเกิดขึ้นสำเร็จแล้วเมื่อได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจสอบสวนและได้กระทำการหรือไม่กระทำการในตำแหน่ง เพื่อช่วยเหลือให้ขาวไม่ต้องถูกดำเนินคดี ร.ต.ต. แดง จึงมีความผิดตามมาตรา 150

 

                                        ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต

ความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกตามมาตรา 147 แตกต่างจากความผิดฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ตามมาตรา 151 อย่างไร

ความผิดตามมาตรา 147 เป็นการเบียดบังเอาตัวทรัพย์ที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษานั้นเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือยักยอกทรัพย์ในหน้าที่นั่นเอง

ความผิดตามมาตรา 151 มิใช่เรื่องยักยอกหรือเบียดบังตัวทรัพย์ในหน้าที่ของตน หากเป็นการอาศัยตำแหน่งหน้าที่ที่ตนมีเกี่ยวกับทรัพย์อันใดอันหนึ่ง หาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการเอาทรัพย์นั้น

มาตรา 151 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือ รักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการ เสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

 

                                        เข้ามีส่วนได้เสียในกิจการในหน้าที่

มาตรา 152 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแล กิจการใด เข้ามีส่วนได้เสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเนื่องด้วยกิจการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

แสวงเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้มอบหมายให้เป็นผู้จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องประชุมโรงเรือน แสวงถือโอกาสไปซื้อของจากร้านค้าของภริยาของตน โดยคิดว่าซื้อของร้านไหนๆ ก็ราคาเหมือนกัน และยังจะได้ช่วยเหลือภริยาของตนด้วย ในกรณีดังกล่าว แสวงมีความผิดหรือไม่ อย่างไร

ตอบ  กรณีตามข้อเท็จจริง แสวงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องประชุมของโรงเรียน การที่แสวงถือโอกาสซื้อของจากร้านค้าของภริยาของตนโดยมุ่งหวังจะช่วยเหลือภริยา จึงเป็นการเข้ามีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น แสวงจึงมีความผิดตามมาตรา 152

 

                                        จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย

ดำเป็นข้าราชการได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่รับประมูลซื้อเครื่องพิมพ์ดีดสำหรับใช้ในราชการ แดงเข้าประมูลขายเครื่องพิมพ์ดีดด้วย และตกลงกับดำว่าถ้าประมูลได้จะให้ดำไปทัศนาจรทวีปยุโรปกับบริษัท นำเที่ยวโดยจะออกค่าใช้จ่ายให้ทุกอย่าง ดำจึงจัดการช่วยให้แดงประมูลขายเครื่องพิมพ์ดีดได้ แต่ภายหลังจากนั้นแดงก็เพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ดำไปทัศนาจรตามที่สัญญาไว้ให้วินิจฉัยการกระทำของดำว่าผิดหรือไม่

ตอบ  ดำผิดตามมาตรา 152 เพราะดำมีหน้าที่จัดการดูแลการกระมูลซื้อเครื่องพิมพ์ดีด แต่เข้ามีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองในกิจการนั้น

 

 

                                        เรียกเก็บหรือไม่เรียกเก็บภาษีอากรโดยทุจริต

ความผิดตามมาตรา 154 แตกต่างจากความผิดตามมาตรา 147 อย่างไร

ตอบ  ข้อแตกต่างของมาตรา 154 และมาตรา 147 อยู่ที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เรียกเก็บหรือตรวจสอบภาษีอากรค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดตามมาตรา 154 นั้นได้เรียกเก็บเกินจำนวน ที่ต้องเสียตามกฎหมายแล้วเอาส่วนที่เกินเป็นประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมมิต้องเสียหรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย แต่มาตรา 147 เป็นกรณีเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เรียกเก็บนั้น ได้เรียกเก็บตามอัตรา ในกฎหมาย แล้วเอาเงินที่เรียกเก็บนั้นไป จึงมีความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกตามมาตรา 147 ไม่ใช่มาตรา 154

 

มาตรา 154 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่หรือแสดงว่าตนมีหน้าที่ เรียกเก็บหรือตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใด โดย ทุจริตเรียกเก็บหรือละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมหรือ เงินนั้นหรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอากร หรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย หรือเสียน้อยไปกว่าที่ จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอด ชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

 

                                        กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้าโดยทุจริต

แห้ว ต้องการจะเสียภาษีที่ดินของตน จึงไปถามกำนันห้าว ขอให้ช่วยกำหนดราคาที่ดินเพื่อเสียภาษี ซึ่งกำนันห้าว ก็ตีราคาที่ดินและกำหนดจำนวนเงินเสียภาษีที่ดินให้แห้ว แต่เมื่อแห้วไปถึงที่ว่าการอำเภอ กลับปรากฏว่าราคาที่ดินที่กำหนดนั้นต่ำกว่าที่ทางอำเภอกำหนดไว้ จงวินิจฉัยความรับผิดของห้าว

ตอบ  ห้าว มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน แต่ไม่มีหน้าที่กำหนดราคาที่ดินเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร จึงไม่มีความผิดฐานใดแม้จะได้กำหนดราคาที่ดินให้ แห้ว ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เสียน้อยไปกว่าที่ต้องเสีย แต่คำพูดดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำซึ่งไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด

 

                                                ตรวจสอบบัญชีโดยทุจริต

มาตรา 156 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตาม กฎหมาย โดยทุจริต แนะนำ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการ อย่างใด เพื่อให้มีการละเว้นการลงรายการในบัญชี ลงรายการเท็จ ในบัญชี แก้ไขบัญชีหรือซ่อนเร้นหรือทำหลักฐานในการลงบัญชีอันจะเป็นผลให้การเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย หรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสียต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือ จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

แดงเป็นพนักงานเทศบาล มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีที่เกี่ยวกับการเสียภาษีอากร เมื่อตรวจพบว่าผู้ใดมิได้เสียภาษีก็จะต้องแนะนำให้ยื่นแบบประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป แดงตรวจพบว่าดำยังมิได้เสียภาษีโรงเรือนจึงบอกดำว่า ถ้าดำไม่ต้องการจะมีเรื่องยุ่งยากก็ต้องเอาเงินให้ตน 1,000 บาท ดำก็ยอมให้เงินแก่แดงไป แดงจึงไม่รายงานเรื่องนี้ต่อเจ้าหน้าที่ให้เรียกเก็บภาษีจากดำ แดงจะมีความผิดฐานใดหรือไม่

ตอบ  แดงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีที่เกี่ยวกับการเสียภา

คำสำคัญ (Tags): #ยโสธร6
หมายเลขบันทึก: 339406เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

        ขอบคุณครับอ่านแล้วมีประโยชน์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท