การออกแบบการสร้างหลักสูตร รูปแบบสหวิชาการศิลปะ Interdisciplinary Core


การออกการสร้างหลักสูตร รูปแบบสหวิชาการศิลปะ Interdisciplinary Core

ข้อแนะนำสำหรับผู้สอนวิชาชีพศิลปะ

Guide – LinesFor  Professional  Art  Teachers

.............................................

 

ผู้เชี่ยวชาญจัดสร้างหลักสูตร นายสิวาวุธ    สุทธิ   ตำแหน่งครู   อันดับ คศ.1   

ข้าราชการครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช   สพฐ.

กระทรวงศึกษาธิการ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดโทร.0825354867

                1.  สร้างความเข้าใจกับหลักสูตร  หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์  เป็นหลักสูตรเฉพาะทางของปริญญาวิชาชีพศิลปะ  (Professional  Degree)   ลักษณะอุดมศึกษาสถาบันท้องถิ่นของรัฐ  (Regional  State  Institution)  ที่ประเทศไทยได้นำหลักการแนวคิดปรัญญาเข้ามาจัดดำเนินการจัดการเรียนการสอนในการสร้างขบวนการผลิตทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาประเทศ   ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานวิชาชีพศิลปะแต่ละสังคมของท้องถิ่น  (Art  in  Social  Context)  ตามมรดกทางวัฒนธรรมเป็นหลัก  เพื่อเป็นการยกระดับให้เป็นวิชาชีพตรงตามความต้องการของสังคม   และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแกนวิชาชีพ (Congnate  Field)  หรือแกนวิชาชีพสหวิทยาการศิลปะ (Interdisciplinary  Core)  ของหลักสูตรวิชาศิลปกรรมศาสตร์  ได้ผ่านการเลือกสรรค์  และกลั่นกรองจากรากฐานของความรู้ที่สามารถนำมาพัฒนาผู้เรียนเพื่อความเป็นวิชาชีพมาตรฐานสากล  คือ

            1.1  การปลูกฝังความสำนึก  คุณค่า  และกลิ่นไอของมรดกวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนเอง   เพื่อให้มีความรอบรู้ในการพัฒนาวิชาชีพ   ตรงกับยุคสมัยของผู้เรียน  3  วิชา  คือ

1.  ประวัติศิลปะท้องถิ่น :     History  of  Local   Arts   2   (2 – 0 – 0)

2.  วัฒนธรรมท้องถิ่น     :     Local  Culture     2  (2 – 0 – 0)

3.  ศิลปะกับสิ่งแวดล้อม  :    Art  and  Environments     2  (2 – 0 – 2)

         1.2  การวางรากฐานความรู้และการเรียน  ที่มาจากฐานของศาสตร์ศิลปะที่สามารถขยายไปสู่การเรียนรู้สาขาหนึ่ง  โดยเฉพาะทั้งทฤษฏีและปฏิบัติสร้างสรรค์ตามความถนัดและความเหมาะสมกับสมรรถนะภาพทางเชาวน์ปัญญาของตนเอง  ได้แก่  วิชา

  1. พื้นฐานทัศนศิลป์    :    Visual  Arts  Foundation          2 (1 – 2 – 0)
  2. พื้นฐานดุริยศิลป์     :     Musical  Arts  Foundation       2 (1 – 2 – 0)
  3. พื้นฐานการแสดง    :     Performing  Arts  Foundation  2 (1 – 2 – 0) 

          1.3  เพื่อเป็นการพัฒนาเชาวน์ปัญญาทางศิลปะ (Artistic  Intelligence)  ในระดับพุทธิปัญญา  (Intellectual  State)  ทางวิชาชีพให้สูงได้ตามสมรรถภาพของเชาวน์ปัญญาที่ติดมากับตัว  คือ  วิชา

  1. สุนทรียวิทยา    :               Aesthetic  Study                2 (2 – 0 – 0)
  2. การวิจารณ์ศิลปะ  :            Art  Criticism                      2 (1 – 2 – 0)

       1.4     เพื่อให้ผู้เรียานได้ตระหนักถึงความจำเป็นและมีความคล่องตัวในการเรียนรู้สภาวะการณ์ของการสื่อความหมาย  และการค้นคว้าพัฒนาวิชาชีพของตนในสังคมธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เป็นระบบข้อมูลได้  คือ

วิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพศิลปะ :    English  for  Art  Profession

2.  สร้างความเข้าใจกับศาสตร์  ความรู้  และแบบของการเรียนรู้

           2.1  ศาสตร์  (Sastra – priori  Knowledge)  อันเป็นบ่อเกิดความรู้  ศิลป  มาจากความเป็นจริง    (Reality)  ที่ปรากฏและเป็นข้อเท็จจริงซึ่งก่อให้เกิดความรู้  และการเรียนรู้แก่มนุษย์    เช่น  เดียวกับศาสตร์อื่น ๆ  เพียงแต่ศาสตร์ของศิลปะเป็นการเรียนรู้กริยาภายนอกของสิ่งที่ปรากฏ  คือ  สภาวะของสรรพสิ่งของโลกตั้งอยู่บนสัจธรรมของการเกิด   และนำไปสู่การดับสูญ  สัมพันธ์  สืบเนื่องกันไปไม่รู้จบสิ้น (Eternal  Becomming)  สภาวะการณ์ธรรมชาติที่เกิดแล้วดับสูญ   (The  nature   of  arising  and  passing  away  come   into  being)  ที่กล่าวนี้เป็นสภาวะธรรมชาติที่ทำให้เกิดเป็นฐานของศาสตร์และกลายมาเป็นความรู้

           2.2  สภาวะการเคลื่อนของสรรพสิ่งโดยธรรมชาติ   คือ  ที่มาของความรู้ศิลปะในมิติชองการเคลื่อนไหว  (The  Art  of  Movement)  คือ รากฐานของความรู้นาฎศิลป์และการละคร  (Dramatic  and  Performing  Arts)  

           2.3  เมื่อใดมีสภาวการณ์ของการเคลื่อนเกิดขึ้น   จะต้องมีตัวเคลื่อนของธรรมชาติ  (Natural  Imange)  ปรากฏให้เห็น  ซึ่งเป็นที่มาของศิลปในมิติทางการเห็น  คือ  ทัศนศิลป์ (Visual  Arts)

           2.4   หากมีปฏิกิริยาทางการเคลื่อนเกิดขึ้น  จะทำให้มีเสียงโดยธรรมชาติ (Natural  Sound) ติดตามมา  ซึ่งเป็นบ่อเกิดของศิลปะในมิติทางเสียง  คือดุริยศิลป์  (Musical  Arts)  จากรากฐานที่มาของศาสตร์ดังกล่าว   ขยายมาเป็นรากฐานของความรู้ของศิลปกรรมศาสตร์  โดยจัดให้มีการเรียนรู้แบบ  สหวิทยาการศิลปะ  (Interdisciplinary  of  Arts)  แล้วผู้เรียนจึงมาทำการเรียนรู้เป็นโปรแกรมวิชาเฉพาะด้านวิชาชีพตามความถนัด  และเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน

                แกนวิชาชีพศิลปกรรมศาสตร์  นอกจากเป็นฐานความรู้เชิงวิชาชีพแล้ว  ยังเป็นตัวที่จะทำให้ปริญญาของศิลปกรรมศาสตร์  ได้รับการยอมรับจากสมาคมหรือสถาบันวิชาชีพศิลปะ  (Professional  Art  Accreditation)  ดังมีสถาบันการศึกษาวิชาชีพศิลปะอื่น ๆ  ระดับอุดมศึกษาได้ตั้งไว้เป็นเกณฑ์มาตรฐานของวิชาชีพศิลปะอื่น ๆ  ระดับอุดมศึกษาได้ตั้งไว้เป็นเกณฑ์มาตรฐานของวิชาชีพไว้ในสังคม  ทั้งในและต่างประเทศ

 3.   องค์ความรู้  และกระบวนการเรียนรู้Form  of  Knowledge  and  Learning  Process :สิ่งที่ควรสร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานของความเป็นศิลปกรรมศาสตร์โดยเฉพาะนั้นจะต้องมีความเข้าใจในสิ่งดังต่อไปนี้

         3.1    องค์ความรู้ของศิลปะ  (Form  of  Artistic  Knowledge)

              ความรู้เป็นศิลปะขององค์ความรู้ลักษณะเฉพาะ (Particular  Knowledge)  หรือในเชิงวิชาการว่าเป็นความรู้แบบตรง  (Direct  Knowledge)  ที่เกิดจากประสบการณ์ตรง (Direct  Experience)  หลังจากการสัมผัสโดยตรงจากสิ่งที่เป็นจริงโดยมีการรับรู้เป็นตัวสังเคราะห์  (Synthetic)  สิ่งที่รู้ออกมาให้เห็นเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ว่าเป็นความรู้  ก็ด้วยจากผลของการกระทำที่แสดงออกมาให้เห็น โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการบอกเล่าหรือการอธิบายแต่อย่างไร  หรืออาจเป็นความรู้ที่เกิดจากผลงานที่สร้างสรรค์  หรือแสดงออกมาให้เห็น  (Austentatious  Knowledge)  และปรากฏว่ามีความรู้ 

                องค์ความรู้ศิลปะจะตรงข้ามกับองค์ความรู้แบบทั่วไป  (Knowledge  of  General)  ซึ่งเป็นความรู้แบบอ้อม  (Indirect  Knowledge)  หรือใช้เรียกกันในวงวิชาการว่าเป็นความรู้แบบสามัญ  ที่ผ่านมากระบวนการบอกเล่าท่องบ่น  ในลักษณะเชิงวิเคราะห์  (Analytic)  ของสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง  ความคิดความจำ  ความเข้าใจ  และเหตุผลที่ใช้ทำการเรียนรู้กันในความรู้แบบอื่น

            3.2    กระบวนการเรียนรู้  (Learning  Process)

ในเมื่อแบบความรู้ศิลปะเป็นความรู้แบบเฉพาะ  และเรียนรู้ได้จากการสัมผัสโดยตรง      ก็จะต้องผ่านกระบวนการของ  การปลูกฝัง  (Cultivation)  เพื่อฟูมฟักเป็นช่วง ๆ  (Articulation)  อย่างต่อเนื่องจนเป็นประสบการณ์ของการเรียนรู้  ประสบการณ์ที่กล่าวถึงนี้มิได้หมายถึงประสบการณ์ของการกระทำลักษณะประดิษฐ์   ซึ่งเป็นการเรียนรู้ของความเป็นช่าง  (Craftmanship)  แต่ตรงข้ามกับประสบการณ์ที่กล่าวนี้คือ  ประสบการณ์ของการรับรู้  (Perceptual   Experience)  ประสบการณ์ที่กล่าวนี้  นอกจากจะเป็นตัวปรับศักยภาพไม่ให้เป็นผู้มืดบอกทางการรับรู้  (Perceptual  Illiteracy)  แล้ว  ยังมีความจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้เป็นสื่อและตัวแปรความหมายในการเรียนรู้  (Perceptual  and its Communications) ซึ่งจะเป็นตัวที่จะต้องนำมาพัฒนาเชาว์ปัญญาศิลปะ  (Artistic  Intelligence)  ในศาสตร์และความรู้ของศิลปะโดยตรง    ประดุจเดียวกันกับการพัฒนาให้คนเป็นผู้อ่านออกเขียนได้   หรือให้เป็นผู้ที่รู้หนังสือ  (Literacy)  เพื่อนำภาษาหนังสือมาเป็นภาษาและการสื่อสาร  (Language  and  its  Communication)  และเป็นเครื่องมือสำหรับนำไปทำการเรียนรู้วิชาสามัญทั่วไปในศาสตร์และความรู้แบบอื่น

4.  ระเบียบวิธีการเรียนการสอนLearning / Teaching  Methodology :

                วิชาแกนทุกวิชาได้จัดแนวการเรียนการสอนไว้เป็น  แบบแกนสหวิทยาการ  (Interdisciplinary  Core)  ด้วยการนำวิชาแกนของศิลปะมาทำการเรียนการสอนให้คล้องจองและสัมพันธ์กัน  ทั้งขั้นตอนและเนื้อหา  พัฒนาผ่านการรับรู้และการสื่อสารซึ่งเป็นความรู้ศิลปะที่ยืนอยู่บนญาณศาสตร์เดียวกัน  คือ

           4.1   การรับรู้ทางการเห็น  (Visual  Perecption)  เป็นพื้นฐานนำไปสู่การเรียนรู้สายทัศนศิลปกรรม  และสายทัศนศิลปออกแบบ  (Visual  Fine  Arts  &  Visual  Design)  และวิชาภาคทฤษฏีและปฏิบัติอื่น ๆ  ที่สัมพันธ์กัน  เช่น   การวิจารณ์ศิลปะ   (Art   Criticism)  และสุนทรียะวิทยา (Aesthetic  Study)  เป็นต้น 

            4.2  การรับรู้ทางการได้ยิน  (Audible  Perception)   เป็นพื้นฐานการนำไปสู่การเรียนรู้สายดุริยศิลป์ (Musical  Arts)

            4.3  การรับรู้และการเคลื่อนไหว  (Perception  &  Movement)  เป็นพื้นฐานการนำไปสู่การเรียนรู้สายนาฎศิลป์และการแสดง  (Dramatic  &  Performing  Arts)

 5.  ธรรมชาติของการรับรู้ The  Nature  of  Perception

                เพื่อให้ผู้สอนมีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการรับรู้ในระดับพื้นฐาน  ในการรับรู้ของมนุษย์   หมายถึง   สิ่งที่มนุษย์ได้ทำการสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ  รอบตัวที่ปรากฏด้วยการเห็น  การได้ยิน  หรือ  ทั้งการเป็น   การได้ยิน  รวมกันจนถึงการเคลื่อนไหว  กระบวนการของการรับรู้ที่กล่าวนี้  แบ่งออกได้  2  ลักษณะใหญ่ ๆ  คือ

              5.1    การรับรู้ที่เกิดจากความจงใจหรือเจตนาหรือตั้งใจ  (Intentional  Perception) 

             เป็นการรับรู้ลักษณะแรกที่มีความตั้งใจหรือความจริงใจเป็นตัวกำหนดจากตัวเราด้วยสัญชาตญาณ  (Instinct)  อันเป็นศักยภาพตามธรรมชาติที่มีติดตัวมากับมนุษย์ทุกรูปทุกนามการรับรู้ลักษณะที่กล่าวนี้  มีลักษณะและนำมาใช้เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินชีวิตธรรมดาของมนุษย์ทุกคน  การรับรู้ลักษณะนี้จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องนำมาพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ศิลปะแต่อย่างใด

              5.2    การรับรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจหรือไม่เจตนา  (Unintentional  Perception) เป็นการรับรู้อีกลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยมีปรากฎการณ์รอบตัวอย่างหนึ่งอย่างใดมากระทบแล้วดึงดูดหรือซักถาม  หรือเชื้อเชิญให้ไปสนใจกับมัน   โดยที่เราไม่จงใจหรือเจตนาจะรับรู้มาก่อน  การรับรู้ลักษณะที่กล่าวนี้  มีพลังที่กระทบการรับรู้ได้รวดเร็วและมีความละเอียดอ่อนในลักษณะของความสุนทรียะ   ที่ปลุกเร้าและนำไปสู่ความซาบซึ้งหรือสะเทือนใจหรือปิติยินดี  ฯลฯ   เกิดขึ้นในห้วงความสำนึกของเรา   ศักยภาพของการรับรู้ลักษณะที่กล่าวนี้มีน้อย  หรือหายาก หรือมิได้มีติดตัวมากับมนุษย์ทุกคนดังการรับในลักษณะแต่ในด้านการเรียนรู้ศิลปะนั้นให้ตระหนักไว้ว่ามีความจำเป็นและสำคัญที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง  ความสลับซับซ้อนทางการรับรู้ดังกล่าว  เป็นศักยภาพเบื้องต้นอันหนึ่งที่เป็นตัวชี้วัดได้ว่าใคร   หรือผู้ใดมีศักยภาพแหลมคมมากน้อยในการรับรู้คุณค่าของศิลปะการสร้างสรรค์และสามารถทำการเรียนรู้ศิลปะเป็นวิชาชีพได้หรือไม่เพียงใดทั้งนี้หากผู้เรียนขาดศักยภาพการรับรู้ลักษณะที่กล่าวนี้  ผู้นั้นก็เปล่าประโยชน์ที่จะทำการเรียนรู้ศิลปะ

                5.3   ความรู้ทางการรับรู้  (Perceptual  Knowledge)

                ทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นและปรากฎรอบตัวเราพุ่งเข้าสู่ประสาทสัมผัส   ทั้งการเป็นและการได้ยินพร้อม  ๆ    กัน   แต่ละครั้งนับไม่ถ้วน  ซึ่งเรายังมีโชคดีที่ธรรมชาติสร้างให้การสัมผัสเป็นแก่  ตัวรับ   แล้วจึงจะป้อนเข้าสู่  ตัวรู้   ซึ่งเป็นตัวคอยกลั่นกรองในสิ่งที่รับรู้ได้ทีละอย่างตามลำดับก่อนหลัง  มิฉะนั้นมนุษย์คงจะรับรู้สิ่งรอบตัวทุกอย่างพร้อมกันอย่างนับไม่ถ้วนนั้น   คงจะสร้างความลำบากให้กับสมองเป็นอย่างมาก  ในเมื่อตัวรับเป็นตัวกลั่นกรองให้เกิดการรู้ทีละอย่างตามลำดับก่อนหลัง   ดังนั้น   ตัวที่ถูกรู้  (Knowing)   จึงถูกนำมาสู่ตัวเราตามลำดับแล้วสะสมกันเป็น   ความรู้  (Knowledge)  เกิดขึ้นในตัวเราอีกชั้นหนึ่ง   หากผู้สอนทราบและมีความเข้าใจกระบวนการของความรู้ที่เกิดจากการรับรู้ก็สามารถที่จะทำการถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง   แม้สิ่งที่กล่าวนี้แตกต่างไปจากกระบวนการเรียนการสอนในความรู้แบบอื่น ๆ  แต่ถ้าหากมีความเข้าใจในกระบวนการของมันดังที่กล่าวแล้ว  ก็สามารถไปประยุกต์ใช้การเรียนการสอนศิลปะเป็นการเฉพาะในวิชาที่เป็นทั้งภาคของการปฏิบัติการสร้างสรรค์และภาคของการรับรู้เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในความรู้เชิงทฟษฏีของศิลปะได้ไม่ยากนัก

6. การเตรียมการสอน  Pre – Teaching   Preparation

ให้ระลึกไว้เสมอว่า  การเตรียมทุกอย่างให้พร้อมทุกครั้งก่อนที่จะทำการสอนนั้นเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง   หากผู้สอนจัดเตรียมทุกอย่างไว้อย่างรอบคอบทุกขั้นตอนของการสอนก็เท่ากับผู้สอนได้รับความสำเร็จจากการสอนไปแล้วครึ่งหนึ่ง   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งลืมว่าการเรียนการสอน  ณ  ที่นี้  คือ  การสอนแกนวิชาชีพศิลปะ   ซึ่งมีความสำคัญในการวางรากฐานที่จะนำไปสู่ความเป็นวิชาชีพของผู้เรียน   ในเอกสารคู่มือสำหรับการสอนเล่มนี้   แต่ละวิชาจะมีการเสนอแนะแนวคิดของการสอน  (Concept  of  Teaching)  เนื้อหา (Content)  ระเบียบวิธีสอน (Teaching  Methodology)  วัสดุสื่อ  และเครื่องมือ  หรืออุปกรณ์  (Materials/Media & Tools  or  Equipments)  ข้อพึงปฏิบัติในการที่จะสอน  และการวัดผล  (Evaluation)  หลังการสอน  ทั้งวิชาภาคทฤษฏี  และวิชาภาคปฏิบัติของแต่ละวิชาไว้ให้อย่างครบถ้วน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 338497เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2010 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท