การอบรม "การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน" (ต่อ)


เริ่มต้นการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน” (ชื่อนี้ผู้วิจัยเป็นคนตั้งเองค่ะ  เพราะ  คิดชื่ออื่นไม่ออก  รู้สึกอยู่เหมือนกันว่าไม่ค่อยจะครอบคลุมเนื้อหาในวันนี้สักเท่าไหร่  แต่ไม่รู้ว่าจะตั้งชื่ออะไร  ขี้เกียจคิดค่ะ  ก็เลยเอาชื่อนี้เลยค่ะ)  โดยการที่ผู้วิจัยกับอาจารย์พิมพ์สวัสดีทักทายผู้เข้าร่วมอบรม  พร้อมกับกล่าวขออภัยที่มาช้านิดหน่อยค่ะ  (ที่มาช้า  เพราะ  อาจารย์พิมพ์ตื่นสายค่ะ  แต่ก็ให้อภัย  ไม่อย่างนั้นจะไม่มีคนขับรถให้นั่งค่ะ ฮิ! ฮิ!)  ผู้วิจัยเริ่มต้นโดยกล่าวถึงเป้าหมายของเวทีในวันนี้ว่าประกอบด้วย            1.การประเมินตนเองของคุณกิจและคุณอำนวย            2.เสริมสร้างความรู้/ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน            3.ถอดบทเรียนการดำเนินการขององค์กรฯในระยะเวลาที่ผ่านมาและการวางเป้าหมายในอนาคต            โดยในช่วงเช้าจะเป็นการประเมินตนเองและการอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนฯ  ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นการถอดบทเรียน  ซึ่งกิจกรรมนี้คงจะทำกันอย่างเข้มข้นอีกครั้งหนึ่งในวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2549  โดยจะมี  .ดร.ทิพวัลย์   สีจันทร์  จากคณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กำแพงแสน  และคุณภีม  ภคเมธาวี  จากหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  มาเป็นวิทยากรในเรื่องการถอดบทเรียน  แต่ในวันนี้เราจะมาเริ่มต้นกันก่อน  เพราะ  ในวันจันทร์หน้าคณะกรรมการคงจะไม่ได้ไปร่วมทุกคน  คงจะมีคณะกรรมการไปร่วมประมาณ 5-7 คน              สำหรับกำหนดการของเวทีในวันนี้นั้น  เริ่มต้นด้วย1.การลงทะเบียน  2.การแนะนำตัวเองว่าเป็นใคร  ทำหน้าที่อะไรในกองทุนฯ  3.การอธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีในวันนี้  ซึ่งก็สามารถสรุปได้ 3 ข้อข้างต้น  สำหรับในส่วนนี้ผู้วิจัยได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับศัพท์บางคำ (ไม่รู้ว่าอธิบายถูกหรือเปล่าค่ะ  คนอธิบายก็ยังงงๆอยู่) เช่น  คุณอำนวย คือ  ผู้อำนวยความสะดวกในการที่จะทำให้กองทุนฯบริหารจัดการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ได้แก่  ประธานฯ  รองประธานฯ  เลขานุการ  ผู้ประสานงาน  เหรัญญิก , คุณกิจ  คือ  ผู้ปฏิบัติงาน  ได้แก่  คณะกรรมการที่ดูแลรับผิดชอบกองทุนต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบัญชี  ฝ่ายคอมพิวเตอร์  กองทุนครบวงจรชีวิต  กองทุนหมุนเวียน  กองทุนธุรกิจชุมชน  กองทุนเพื่อการศึกษา  กองทุนชราภาพ  กองทุนทดแทน  กองทุนกลาง  เป็นต้น4.การประเมินตนเองของคุณกิจและคุณอำนวย  อยากให้ทุกคนคิดถึงตอนที่เราเรียนหนังสือหรือเวลาที่เราไปอบรมในเรื่องต่างๆที่บางทีจะมีแบบทดแบบ Pre-test , Post-test ให้ทดสอบ  เช่น  เราจะเรียนในเรื่อง OTOP เราก็จะต้องทำแบบทดสอบก่อนว่าก่อนที่เราจะเรียนหรืออบรม  เรามีความรู้เรื่อง OTOP มากน้อยแค่ไหน  พอเราเรียนหรือได้รับความรู้ไปแล้ว  เราก็จะต้องทำแบบทดสอบนี้อีกครั้งเพื่อที่จะประเมินดูว่าเรามีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่  เป็นต้น  นอกจากนี้แล้วการประเมินตนเองยังทำให้เรารู้ว่าเราเก่งตรงไหน  อ่อนตรงไหน  เราจะต้องไปเรียนรู้จากใคร  ใครจะต้องมาเรียนรู้กับเรา5.การอบรมเรื่อง การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน  เป็นหน้าที่ของคุณอุทัย  ซึ่งเป็นประธานฯกองทุน  เราทั้ง 2 คนก็จะร่วมเรียนรู้ด้วย  เพราะ  เราคงจะไม่มีความรู้เท่าท่านประธานฯ6.กิจกรรม เหลียวหลัง  จะให้คณะกรรมการสำรวจว่าที่ผ่านมาองค์กรมีความสำเร็จอะไรเกิดขึ้นบ้าง  มีปัญหา/อุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง7.กิจกรรม แลหน้า  เป็นการวางเป้าหมายข้างหน้าว่าต้องการให้องค์กรดำเนินไปอย่างไร8.การทำ AAR  กิจกรรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั่วไป    ต่อไปหากเราจัดอบรม/สัมมนา/ประชุม/กิจกรรมอื่นๆ  เราสามารถทำ AAR ได้  เหมือนเป็นการประเมิน  เปรียบเทียบง่ายๆเวลาเราไปประชุม/สัมมนาที่ไหน  หลังการประชุมเขาจะมีการแจกแบบประเมินให้ผู้เข้าร่วมได้ประเมิน  การทำ AAR เป็นการเปิดให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น  ไม่มีถูก/ผิด  ส่วนผู้ดำเนินรายการต้องเปิดใจรับฟัง  ไม่โกรธ  ในทางตรงกันข้ามต้องนำสิ่งที่ได้รับการ Comment ไปปรับปรุงด้วย  เช่น  ถ้าวันนี้ในการทำ AAR มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นว่า  ผู้วิจัยพูดเร็วเกินไป  ฟังไม่ทัน  ชอบใช้ศัพท์วิชาการ  พูดไทยคำอังกฤษคำ  ฟังไม่รู้เรื่อง  ผู้วิจัยก็จะต้องบันทึกเอาไว้พร้อมกับนำไปปรับปรุง  ต่อไปเวลามาจัดเวทีอีกต้องพูดให้ช้าลง  ต้องใช้ศัพท์ง่าย  เป็นต้น9.ปิดการอบรม  แยกย้ายกันกลับบ้าน
หมายเลขบันทึก: 33751เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท