Logistics กับจังหวัดพิษณุโลก


วิสัยทัศน์ “Indo-china Logistics Center”

         ผมมีข้อความในเอกสารประกอบการจุดประเด็น ของท่านพลเอกศิริ ทิวะพันธ์ ในสภากาแฟการวิจัย ครั้งที่ 1 < Link  > มาฝากทุกท่าน มีอยู่ 2 เรื่องด้วยกันคือ 1. Logistics กับจังหวัดพิษณุโลก และ 2. สี่แยกอินโดจีน บันทึกนี้จะเป็นเรื่องของ Logistics กับจังหวัดพิษณุโลก ส่วนในบันทึกหน้าจะเป็นเรื่องของ สี่แยกอินโดจีน ครับ

Logistics กับจังหวัดพิษณุโลก

วิสัยทัศน์

         “Indo-china Logistics Center”

จังหวัดพิษณุโลก

         “โครงการศึกษาและออกแบบระบบบริหารจัดการศูนย์กระจายสินค้าสี่แยกอินโดจีน” (Indo-china Logistics Center)

พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างศูนย์ 3 แห่ง

         (1) พื้นที่บริเวณบึงพระ

         (2) พื้นที่บริเวณบ้านเต็งหนาม

         (3) พื้นที่บริเวณวัดจันทร์

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์

         • เพื่อใช้เป็นที่เก็บชั่วคราวสำหรับสินค้าที่ตัดทิ้งหรือสินค้าที่ต้องนำไปผลิตใหม่

         • เพื่อการเพิ่มมูลค่าของสินค้า โดยการให้บริการในด้านอื่นให้ลูกค้าเช่น จัดหาวัตถุดิบ และบริหารสินค้าสำเร็จรูป การจัดส่งและการดำเนินการทางการเงินให้แก่ลูกค้า คัดเลือกและบรรจุภัณฑ์ตามคำสั่งซื้อ

         • เพื่อให้เกิดการประหยัดในการขนส่ง

การออกแบบศูนย์

         • คลังสินค้าเกษตร
  
         ข้าว, ข้าวโพด, อ้อย, มันสำปะหลัง, น้ำตาล

         • คลังสินค้าอุตสาหกรรม 
  
         ชิ้นส่วนยางยนต์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องทางการเกษตร

         • คลังสินค้าพื้นเมือง 
  
         สินค้า SMEs/OTOP

หน้าที่ของศูนย์

         • การเคลื่อนย้าย

         • การเก็บรักษา

         • การถ่ายโอนข้อมูล

ประเด็นสำคัญ

         1. มีทำเลที่ตั้งที่มีการเชื่อมโยงแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Corridor) และตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor)

         2. มีระบบโครงสร้างการขนส่งที่พร้อมทั้ง 3 ระบบและเชื่อมทั้งภูมิภาค

         3. มีนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร และลำพูนอยู่ใกล้กับศูนย์ฯ ที่จะเกิดขึ้น

         4. มีนโยบายภาครัฐสนับสนุนในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า/ศูนย์กลางโลจิสติก ในจังหวัดพิษณุโลกอย่างชัดเจน

         5. มียุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างที่สนับสนุนให้พิษณุโลกเป็นเมืองบริการสี่แยกอินโดจีนอย่างชัดเจน

         6. เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าแห่งแรกของจังหวัดพิษณุโลกและภาคเหนือตอนล่าง

         7. มีการให้บริการศูนย์กระจายสินค้าครบวงจร

         8. สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกโดยเป็นจุดได้เปรียบของเส้นทางการขนส่งของภูมิภาค

         9. สามารถลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการส่งออก โดยการส่งเสริมให้เป็น ICD ในอนาคต

         10. เป็นศูนย์สำหรับการส่งออกและแสดงสินค้าเพื่อสร้างโอกาสและช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการในพื้นที่

         11. การเกิดขึ้นของศูนย์กระจายสินค้าทำให้ผู้ประกอบการในพื้นที่มีช่องทางในการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ

         12. จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดเชื่อมต่อกับกลุ่มภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

         13. การแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบันในเรื่องการขนส่งที่รุนแรงทำให้ศูนย์กระจายสินค้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกระจายสินค้า

         14. ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนกระจายสินค้าสูงขึ้นการใช้บริการศูนย์ฯ จะช่วยลดต้นทุนได้

ศูนย์กระจายสินค้ากับความต้องการสำหรับจังหวัดพิษณุโลกและกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง

         ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการจัดตั้ง DC ที่เป็นศูนย์กลาง และพัฒนาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง จัดเก็บ และกระจายสินค้า ซึ่งภาครัฐอันหมายรวมถึงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างและจังหวัดพิษณุโลก ควรดำเนินการ

         • ควรมีการจัดตำแหน่งงานรับผิดชอบยุทธศาสตร์ด้าน Logistics ของสี่แยกอินโดจีนอย่างชัดเจน

         • การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

         • การวางแผนจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบครบวงจร ทั้งวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ (วัตถุดิบจนถึงแปรรูป ระบบการจัดจำหน่าย และส่งมอบถึงลูกค้า)

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 33748เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากมำศูนย์กระจายสินค้าจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท