กุมภาพันธ์ : เอื้องช้างน้าว


  ครั้งแรกที่ได้เห็นเอื้องช้างน้าว  ก็รู้สึกสะดุดตามาก เนื่องจากเห็นเอื้องช้างน้าวเกาะอยู่กับขอนไม้หน้าที่ทำการป่าไม้  กลางแดดเปรี้ยง ๆ  ไม่มีอะไรบังเลย  ยังนึกว่าเอื้องอะไรหนอ ช่างทนแดดได้ถึงเพียงนี้  ต่อได้รู้จักว่าชื่อเอื้องช้างน้าว ก็เที่ยวเสาะหามาเลี้ยงดู  ไม่นึกเหมือนกันว่าจะมีลำต้นยาวเป็นวา อย่างนี้  และก็ทนแดดจริง ๆ เสียด้วย เพราะเคยแยกกอไปเลี้ยงในที่ร่ม ๆ  ปรากฎว่าเป็นเชื้อราตายบ้าง บางกอก็กลายเป็นพันธ์ดูใบ ไม่ได้ดูดอก  คนที่มีเลี้ยงไว้แล้วไม่ออกดอกลองย้ายไปไว้ที่แดดส่องหน่อยนะคะ  จะได้เชยชมดอกเอื้องช้างน้าวกันค่ะ

เอื้องช้างน้าว

ชื่อทางวิทยาศาสตร์                             Dendrobium  puchellum  Roxb. Ex Lindl. 

ชื่อไทย                                            เอื้องช้างน้าว   เอื้องคำตาควาย    เอื้องตาควาย  สบเป็ด

ลักษณะ                                           ลำต้นเป็นลำตรงหรือโค้งเล็กน้อย  ยาวประมาณ  1 เมตรหรือมากกว่า  ต้นแข็ง  ปลายเรียว  ขึ้นเป็นกลุ่ม   ใบรูปหอกขนานแกมรูปใบหอก   ขนาด  6-10 X 2-3  ซม.  แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว    สีเขียวอมน้ำตาลหรืออมม่วง     ออกดอกเป็นช่อ 7- 10 ดอก   ช่อดอกเกิดใกล้ปลายต้นเป็นพวงห้อยลง     ดอกขนาด 7.5 – 10  ซม.    กลีบสีเหลืองครีม  มีเส้นสีชมพูเรื่อกระจาย  กลีบปากแผ่เป็นแผ่นกว้าง สีขาว  มีขนนุ่ม  โคนสีเหลือง มีปื้นใหญ่สีแดงอมน้ำตาลที่สองข้างกลีบ และมีเส้นสีเดียวกันที่กลางกลีบช่วงโคน 

ฤดูออกดอก           ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม

คำสำคัญ (Tags): #เอื้องช้างน้าว
หมายเลขบันทึก: 337391เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

แวะมาทักทายบล็อคเกอร์ชาวเมืองตากครับ

ตอนนี้ผมย้ายกลับไปอยู่บ้านเกิดครึ่งตัวแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท