รวบรวมปพพ.


รวบรวมปพพ.ที่มีในชีท อาจารย์

  เรียน เพื่อนๆ
       รวบรวมปพพ.ที่มีในชีท อาจารย์
 
      เพื่อเอาไว้หนุนหมอนนอนจ้า
 
      apple

ประมวลกม.แพ่งและพาณิชย์ (2550) สำหรับสอบ กม.เอกชน

บรรพ 1 หลักทั่วไป

บุคคลธรรมดา/สภาพบุคคล

6

ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคน กระทำการ โดยสุจริต

15

สภาพบุคคล ย่อมเริ่มแต่ เมื่อ คลอด แล้ว อยู่รอด เป็นทารก และ สิ้นสุดลง เมื่อ ตาย

 

ทารกในครรภ์มารดา ก็สามารถ มีสิทธิต่างๆได้ หากว่า ภายหลังคลอด แล้ว อยู่รอดเป็นทารก

16

การนับอายุ ของ บุคคล ให้เริ่มนับแต่ วันเกิด ในกรณีที่ รู้ว่าเกิด ในเดือนใด แต่ ไม่รู้วันเกิด ให้นับ วันที่หนึ่ง แห่ง เดือนนั้น เป็นวันเกิด แต่ถ้า พ้นวิสัย ที่จะหยั่งรู้ เดือน 

 

และ วันเกิด ของ บุคคลใด ให้นับอายุ บุคคล นั้น ตั้งแต่ วันต้นปีปฏิทิน ซึ่ง เป็นปี ที่บุคคลนั้นเกิด

 

**ข้อสังเกต  ข. หลังใช้พรบ. กำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันต้นปีปฏิทิน

บุคคลธรรมดา/ความสามารถ

19

บุคคล ย่อม พ้นจาก ภาวะ ผู้เยาว์ และ บรรลุนิติภาวะ เมื่อ มีอายุ ยี่สิบปีบริบูรณ์

20

ผู้เยาว์ ย่อม บรรลุนิติภาวะ เมื่อ ทำการสมรส หาก การสมรสนั้น ได้ทำตาม บทบัญญัติ มาตรา ๑๔๔๘ 

21

ผู้เยาว์ จะทำ นิติกรรม ใดๆ ต้องได้รับ ความยินยอม ของ ผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ ผู้เยาว์ ได้ทำลง ปราศจาก ความยินยอม เช่นว่านั้น เป็นโมฆียะ เว้นแต่ 

 

จะบัญญัติไว้ เป็นอย่างอื่น

22

ผู้เยาว์ อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะ ได้ไป ซึ่ง สิทธิ อันใดอันหนึ่ง หรือ เป็นการ เพื่อ ให้หลุดพ้น จากหน้าที่ อันใดอันหนึ่ง

23

ผู้เยาว์ อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่ง เป็นการต้อง ทำเองเฉพาะตัว 

24

ผู้เยาว์ อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่ง เป็นการ สมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และ เป็นการอันจำเป็น ในการดำรงชีพ ตามสมควร

25

ผู้เยาว์ อาจทำพินัยกรรมได้ เมื่อ มีอายุ สิบห้าปีบริบูรณ์

26

ถ้า ผู้แทนโดยชอบธรรม อนุญาตให้ ผู้เยาว์ จำหน่าย ทรัพย์สิน เพื่อการ อันใดอันหนึ่ง อันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์ จะจำหน่าย ทรัพย์สิน นั้นเป็นประการใด ภายในขอบ 

 

ของการที่ระบุไว้นั้น ก็ทำได้ ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้า ได้รับอนุญาตให้ จำหน่าย ทรัพย์สิน โดย มิได้ระบุว่า เพื่อการอันใด ผู้เยาว์ ก็จำหน่ายได้ ตามใจสมัคร

27

ผู้แทนโดยชอบธรรม อาจให้ ความยินยอมแก่ ผู้เยาว์ ในการประกอบ ธุรกิจทางการค้า หรือ ธุรกิจอื่น หรือ ในการทำสัญญา เป็น ลูกจ้างใน สัญญาจ้างแรงงาน ได้ 

 

ในกรณีที่ ผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่ให้ ความยินยอม โดยไม่มี เหตุอันสมควร ผู้เยาว์ อาจร้องขอต่อ ศาล ให้สั่งอนุญาตได้

 

ในความเกี่ยวพัน กับ การประกอบธุรกิจ หรือ การจ้างแรงงาน ตาม วรรคหนึ่ง ให้ ผู้เยาว์ มีฐานะ เสมือนดัง บุคคล ซึ่ง บรรลุนิติภาวะ แล้ว

 

ถ้า การประกอบธุรกิจ หรือ การทำงาน ที่ได้รับ ความยินยอม หรือ ที่ได้รับอนุญาต ตาม วรรคหนึ่ง ก่อให้เกิด ความเสียหาย ถึงขนาด หรือ เสื่อมเสียแก่ ผู้เยาว์ 

 

ผู้แทนโดยชอบธรรม อาจบอกเลิก ความยินยอม ที่ได้ให้ แก่ ผู้เยาว์ เสียได้ หรือ ในกรณีที่ ศาล อนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรม อาจร้องขอต่อ ศาล ให้เพิกถอน 

 

การอนุญาต ที่ได้ให้แก่ ผู้เยาว์ นั้นเสียได้

 

ในกรณีที่ ผู้แทนโดยชอบธรรม บอกเลิก ความยินยอม โดยไม่มี เหตุอันสมควร ผู้เยาว์ อาจร้องขอต่อ ศาล ให้เพิกถอน การบอกเลิก ความยินยอม 

 

ของผู้แทนโดยชอบธรรมได้

 

การบอกเลิก ความยินยอม โดยผู้แทนโดยชอบธรรม หรือ การเพิกถอน การอนุญาตโดย ศาล ย่อมทำให้ ฐานะ เสมือนดัง บุคคล ซึ่ง บรรลุนิติภาวะ แล้ว ของ 

 

ผู้เยาว์ สิ้นสุดลง แต่ ไม่กระทบกระเทือน การใดๆ ที่ ผู้เยาว์ ได้กระทำไปแล้ว ก่อนมี การบอกเลิก ความยินยอม หรือ เพิกถอนการอนุญาต

28

บุคคลวิกลจริต ผู้ใด ถ้า คู่สมรส ก็ดี ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ก็ดี ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ ก็ดี ผู้ปกครอง 

 

หรือ ผู้พิทักษ์ ก็ดี ผู้ซึ่ง ปกครองดูแล บุคคลนั้นอยู่ ก็ดี หรือ พนักงานอัยการ ก็ดี ร้องขอต่อศาล ให้สั่งให้ บุคคลวิกลจริต ผู้นั้น เป็น คนไร้ความสามารถ ศาล จะสั่งให้ 

 

บุคคลวิกลจริต ผู้นั้น เป็น คนไร้ความสามารถ ก็ได้

 

บุคคล ซึ่ง ศาล ได้สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถ ตาม วรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ใน ความอนุบาล การแต่งตั้ง ผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ ของ ผู้อนุบาล และ การสิ้นสุด 

 

ของความเป็น ผู้อนุบาล ให้เป็นไป ตาม บทบัญญัติ บรรพ ๕ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้

 

คำสั่งของศาล ตาม มาตรานี้ ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

29

การใดๆ อันบุคคล ซึ่ง ศาล สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถ ได้กระทำลง การนั้น เป็น โมฆียะ

30

การใดๆ อัน บุคคลวิกลจริต ซึ่ง ศาล ยังมิได้สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถ ได้กระทำลง การนั้น จะเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อ ได้กระทำ ในขณะที่ บุคคลนั้น 

 

จริตวิกลอยู่ และ คู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้แล้วด้วยว่า ผู้กระทำ เป็น คนวิกลจริต

31

ถ้า เหตุที่ทำให้เป็น คนไร้ความสามารถ ได้สิ้นสุดไปแล้ว และ เมื่อ บุคคล ผู้นั้นเอง หรือ บุคคลใดๆ ดังกล่าวมาใน มาตรา ๒๘ ร้องขอต่อศาล ก็ให้ ศาล

 

สั่งเพิกถอน คำสั่งที่ให้เป็น คนไร้ความสามารถ นั้น

 

คำสั่ง ของ ศาล ตาม มาตรานี้ ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

32

บุคคลใด มีกายพิการ หรือ มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือ ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ หรือ ติดสุรายาเมา หรือ มีเหตุอื่นใด ทำนองเดียวกันนั้น

 

จนไม่สามารถจะ จัดทำการงาน โดยตนเองได้ หรือ จัดกิจการไปในทาง ที่อาจจะ เสื่อมเสีย แก่ ทรัพย์สิน ของ ตนเอง หรือ ครอบครัว เมื่อ บุคคล ตาม ที่ระบุไว้ใน 

 

มาตรา ๒๘ ร้องขอต่อ ศาล ศาลจะสั่งให้ บุคคล นั้น เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ ก็ได้

 

บุคคล ซึ่ง ศาล ได้สั่งให้เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม วรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ใน ความพิทักษ์ การแต่งตั้ง ผู้พิทักษ์ ให้เป็นไป ตาม บทบัญญัติ บรรพ ๕ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้

 

ให้นำ บทบัญญัติ ว่าด้วย การสิ้นสุดของ ความเป็นผู้ปกครองใน บรรพ ๕ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่ การสิ้นสุด ของ การเป็น ผู้พิทักษ์ โดยอนุโลม

 

คำสั่ง ของ ศาล ตาม มาตรานี้ ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

33

ในคดี ที่มีการร้องขอ ให้ศาล สั่งให้ บุคคลใด เป็น คนไร้ความสามารถ เพราะ วิกลจริต ถ้า ทางพิจารณา ได้ความว่า บุคคลนั้น ไม่วิกลจริต แต่ มีจิตฟั่นเฟือน

 

ไม่สมประกอบ เมื่อ ศาล เห็นสมควร หรือ เมื่อ มีคำขอ ของ คู่ความ หรือ ของ บุคคล ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา ๒๘ ศาล อาจสั่งให้ บุคคลนั้นเป็น 

 

คนเสมือนไร้ความสามารถ ก็ได้ หรือ ในคดี ที่มีการร้องขอ ให้ศาลสั่งให้ บุคคลใดเป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ เพราะ มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ถ้า ทางพิจารณา 

 

ได้ความว่า บุคคลนั้น วิกลจริต เมื่อ มีคำขอ ของ คู่ความ หรือ ของ บุคคล ตาม ที่ระบุไว้ใน มาตรา ๒๘ ศาล อาจสั่งให้ บุคคลนั้น เป็น คนไร้ความสามารถ ก็ได้

34

  คนเสมือนไร้ความสามารถ นั้น ต้องได้รับ ความยินยอม ของ ผู้พิทักษ์ ก่อน แล้วจึงจะทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ได้

 

                (๑) นำ ทรัพย์สิน ไปลงทุน

 

                (๒) รับคืน ทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงิน หรือ ทุนอย่างอื่น

 

                (๓) กู้ยืม หรือ ให้กู้ยืมเงิน ยืม หรือ ให้ยืม สังหาริมทรัพย์ อันมีค่า

 

                (๔) รับประกัน โดยประการใดๆ อันมีผลให้ตน ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้

 

                (๕) เช่า หรือ ให้เช่า สังหาริมทรัพย์ มีกำหนดระยะเวลา เกินกว่า หกเดือน หรือ อสังหาริมทรัพย์ มีกำหนดระยะเวลา เกินกว่า สามปี

 

                (๖) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่ การให้ที่ พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อ การกุศล การสังคม หรือ ตามหน้าที่ธรรมจรรยา

 

                (๗) รับการให้โดยเสน่หา ที่มี เงื่อนไข หรือ ค่าภาระติดพัน หรือ ไม่รับการให้โดยเสน่หา

 

                (๘) ทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อ จะได้มา หรือ ปล่อยไป ซึ่ง สิทธิใน อสังหาริมทรัพย์ หรือ ใน สังหาริมทรัพย์ อันมีค่า

 

                (๙) ก่อสร้าง หรือ ดัดแปลง โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่น หรือ ซ่อมแซมอย่างใหญ่

 

                (๑๐) เสนอคดี ต่อศาล หรือ ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ เว้นแต่ การร้องขอ ตาม มาตรา ๓๕ หรือ การร้องขอถอน ผู้พิทักษ์

 

                (๑๑) ประนีประนอมยอมความ หรือ มอบข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

 

            ถ้า มีกรณีอื่นใด นอกจาก ที่กล่าว ในวรรคหนึ่ง ซึ่ง คนเสมือนไร้ความสามารถ อาจจัดการ ไปในทางเสื่อมเสียแก่ ทรัพย์สิน ของ ตนเอง หรือ ครอบครัว 

 

ในการสั่ง ให้บุคคลใดเป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือ เมื่อ ผู้พิทักษ์ ร้องขอในภายหลัง ศาล มีอำนาจสั่งให้ คนเสมือนไร้ความสามารถ นั้น ต้องได้รับ 

 

ความยินยอม ของ ผู้พิทักษ์ ก่อน จึงจะทำการนั้นได้

 

            ในกรณีที่ คนเสมือนไร้ความสามารถ ไม่สามารถจะทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ที่กล่าวมาใน วรรคหนึ่ง หรือ วรรคสอง ด้วยตนเอง เพราะเหตุมี กายพิการ 

 

หรือ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาล จะสั่งให้ ผู้พิทักษ์ เป็นผู้มีอำนาจ กระทำการนั้นแทน คนเสมือนไร้ความสามารถ ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้นำ บทบัญญัติ 

 

ที่เกี่ยวกับ ผู้อนุบาล มาใช้บังคับแก่ ผู้พิทักษ์ โดยอนุโลม

 

            คำสั่ง ของ ศาล ตาม มาตรานี้ ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

 

            การใด กระทำลง โดยฝ่าฝืน บทบัญญัติ มาตรานี้ การนั้น เป็นโมฆียะ

บุคคลธรรมดา/ภูมิลำเนา

37

ภูมิลำเนา ของ บุคคลธรรมดา ได้แก่ ถิ่น อัน บุคคลนั้น มีสถานที่อยู่ เป็นหลักแหล่งสำคัญ

บุคคลธรรมดา/สาบสูญ

48

ถ้า บุคคลใด ไปเสียจาก ภูมิลำเนา หรือ ถิ่นที่อยู่ โดยมิได้ตั้ง ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และ ไม่มีใครรู้แน่ว่า บุคคลนั้น ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เมื่อ

 

ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการ ร้องขอ ศาล จะสั่ง ให้ทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ไปพลางก่อน ตามที่จำเป็น เพื่อ จัดการ ทรัพย์สิน ของ บุคคล ผู้ไม่อยู่ นั้น ก็ได้

 

        เมื่อ เวลา ได้ล่วงเลยไป หนึ่งปี นับแต่ วันที่ ผู้ไม่อยู่ นั้น ไปเสียจาก ภูมิลำเนา หรือ ถิ่นที่อยู่ และ ไม่มีผู้ใด ได้รับข่าว เกี่ยวกับ บุคคลนั้น ประการใดเลย ก็ดี 

 

หรือ หนึ่งปี นับแต่ วันมีผู้ได้พบเห็น หรือ ได้ทราบข่าว มาเป็นครั้งหลังสุด ก็ดี เมื่อ บุคคล ตาม วรรคหนึ่ง ร้องขอ ศาล จะตั้ง ผู้จัดการทรัพย์สิน ของ ผู้ไม่อยู่ ขึ้น ก็ได้

49

ในกรณีที่ ผู้ไม่อยู่ ได้ตั้ง ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และ สัญญาตัวแทน ระงับสิ้นไป หรือ ปรากฏว่า ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป ได้จัดการ ทรัพย์สิน 

 

นั้นในลักษณะที่ อาจเสียหาย แก่ บุคคล ดังกล่าว ให้นำ มาตรา ๔๘ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

50

เมื่อ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการ ร้องขอ ศาล จะสั่งให้ ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป จัดทำบัญชี ทรัพย์สิน ของ ผู้ไม่อยู่ ขึ้น ตามที่ ศาล จะมีคำสั่ง ก็ได้

53

บัญชี ทรัพย์สิน ตาม มาตรา ๕๐ และ มาตรา ๕๒ ต้องมีพยาน ลงลายมือชื่อ รับรอง ความถูกต้อง อย่างน้อย สองคน พยานสองคนนั้น ต้องเป็น คู่สมรส หรือ ญาติของ

 

ผู้ไม่อยู่ ซึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ถ้า ไม่มี คู่สมรส หรือ หาญาติไม่ได้ หรือ คู่สมรส และ ญาติ ไม่ยอมเป็นพยาน จะให้ผู้อื่น ซึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นพยาน ก็ได้

55

ถ้า ผู้ไม่อยู่ ได้ตั้ง ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจเฉพาะการ อันใดไว้ ผู้จัดการทรัพย์สิน จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ การอันเป็น อำนาจเฉพาะการนั้น ไม่ได้ แต่ถ้า ปรากฏว่า 

 

การ ที่ ตัวแทน จัดทำอยู่นั้น อาจจะเสียหาย แก่ ผู้ไม่อยู่ ผู้จัดการทรัพย์สิน จะร้องขอให้ ศาล ถอดถอน ตัวแทนนั้นเสีย ก็ได้

56

เมื่อ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการ ร้องขอ หรือ เมื่อ ศาล เห็นสมควร ศาล อาจสั่ง อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

 

                (๑) ให้ ผู้จัดการทรัพย์สิน หาประกัน อันสมควร ในการจัดการ ทรัพย์สิน ของ ผู้ไม่อยู่ ตลอดจน การมอบคืน ทรัพย์สิน นั้น

 

                (๒) ให้ ผู้จัดการทรัพย์สิน แถลงถึง ความเป็นอยู่ แห่ง ทรัพย์สิน ของ ผู้ไม่อยู่

 

                (๓) ถอดถอน ผู้จัดการทรัพย์สิน และ ตั้งผู้อื่น ให้เป็น ผู้จัดการทรัพย์สิน แทนต่อไป

57

ในคำสั่งตั้ง ผู้จัดการทรัพย์สิน ศาล จะกำหนด บำเหน็จ ให้แก่ ผู้จัดการทรัพย์สิน โดยจ่ายจาก ทรัพย์สิน ของ ผู้ไม่อยู่ นั้น ก็ได้ ถ้า ศาล มิได้กำหนด ผู้จัดการ

 

ทรัพย์สิน จะร้องขอต่อ ศาล ให้กำหนด บำเหน็จ ในภายหลัง ก็ได้

 

        ถ้า ผู้จัดการทรัพย์สิน หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการ ร้องขอ หรือ เมื่อ มีกรณี ปรากฏแก่ศาลว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับ การจัดการ ทรัพย์สิน ได้เปลี่ยน

 

แปลงไป ศาล จะสั่ง กำหนด บำเหน็จ งด ลด เพิ่ม หรือ กลับให้ บำเหน็จ แก่ ผู้จัดการทรัพย์สิน อีก ก็ได้

58

ความเป็น ผู้จัดการทรัพย์สิน ย่อมสิ้นสุดลง ในกรณี ดังต่อไปนี้

 

                (๑) ผู้ไม่อยู่ กลับมา

 

                (๒) ผู้ไม่อยู่ นั้น มิได้กลับมา แต่ ได้จัดการ ทรัพย์สิน หรือ ตั้ง ตัวแทน เพื่อ จัดการ ทรัพย์สิน ของตนแล้ว

 

                (๓) ผู้ไม่อยู่ ถึงแก่ความตาย หรือ ศาล มีคำสั่ง ให้เป็น คนสาบสูญ

 

                (๔) ผู้จัดการทรัพย์สิน ลาออก หรือ ถึงแก่ความตาย

 

                (๕) ผู้จัดการทรัพย์สิน เป็น คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ

 

                (๖) ผู้จัดการทรัพย์สิน เป็น บุคคลล้มละลาย

 

                (๗) ศาล ถอดถอน ผู้จัดการทรัพย์สิน

61

  ถ้า บุคคลใด ได้ไปจาก ภูมิลำเนา หรือ ถิ่นที่อยู่ และ ไม่มีใครรู้แน่ว่า บุคคลนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ ตลอดระยะเวลา ห้าปี เมื่อ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ 

 

พนักงานอัยการ ร้องขอ ศาล จะสั่งให้ บุคคลนั้น เป็น คนสาบสูญ ก็ได้

 

            ระยะเวลา ตาม วรรคหนึ่ง ให้ลดเหลือ สองปี

 

                (๑) นับแต่ วันที่ การรบ หรือ สงคราม สิ้นสุดลง ถ้า บุคคลนั้น อยู่ในการรบ หรือ สงคราม และ หายไปใน การรบ หรือ สงคราม ดังกล่าว

 

                (๒) นับแต่ วันที่ ยานพาหนะ ที่ บุคคลนั้น เดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือ สูญหายไป

 

                (๓) นับแต่ วันที่ เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) หรือ (๒) ได้ผ่านพ้นไป ถ้า บุคคลนั้น ตกอยู่ใน อันตราย เช่นว่านั้น

 

note**บุคคล ในมาตรานี้ เป็นคนธรรมดา ไม่ใช่นิติบุคคล

 

วรรคสอง ในประมวลกฎหมายหลายเล่มใช้ว่า ได้ลดเหลือ สองปี ซึ่ง แปลกมาก

62

บุคคล ซึ่ง ศาล ได้มี คำสั่ง ให้เป็น คนสาบสูญ ให้ถือว่า ถึงแก่ความตาย เมื่อ ครบกำหนด ระยะเวลา ดังที่ระบุไว้ใน มาตรา ๖๑ 

63

  เมื่อ บุคคลผู้ถูกศาล สั่งให้เป็น คนสาบสูญ นั้นเอง หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการ ร้องขอต่อ ศาล และ พิสูจน์ได้ว่า บุคคล ผู้ถูกศาล สั่งให้เป็น 

 

คนสาบสูญ นั้น ยังมีชีวิตอยู่ ก็ดี หรือว่า ตาย ในเวลาอื่น ผิดไปจากเวลา ดังระบุไว้ใน มาตรา ๖๒ ก็ดี ให้ศาล สั่งถอนคำสั่ง ให้เป็น คนสาบสูญ นั้น แต่ การถอนคำสั่งนี้ 

 

ย่อมไม่กระทบกระเทือน ถึง ความสมบูรณ์ แห่ง การทั้งหลาย อันได้ทำไป โดยสุจริต ในระหว่างเวลา ตั้งแต่ ศาล มีคำสั่งให้เป็น คนสาบสูญ จนถึงเวลา ถอนคำสั่งนั้น

 

            บุคคล ผู้ได้ ทรัพย์สิน มาเนื่องแต่ การที่ ศาล สั่งให้ บุคคลใด เป็น คนสาบสูญ แต่ต้องเสียสิทธิ ของตนไป เพราะ ศาล สั่งถอนคำสั่ง ให้บุคคลนั้นเป็น คนสาบสูญ 

 

ให้นำ บทบัญญัติ ว่าด้วย ลาภมิควรได้ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

64

คำสั่งศาลให้เป็น คนสาบสูญ หรือ คำสั่งถอนคำสั่งให้เป็น คนสาบสูญ ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

นิติบุคคล/บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

65

นิติบุคคล จะมีขึ้นได้ ก็แต่ด้วย อาศัยอำนาจ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น

66

นิติบุคคล ย่อมมี สิทธิ และ หน้าที่ ตามบทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น ภายใน ขอบแห่ง อำนาจหน้าที่ 

 

หรือ วัตถุประสงค์ ดังที่ได้บัญญัติ หรือ กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือ ตราสารจัดตั้ง

67

ภายใต้บังคับ มาตรา ๖๖ นิติบุคคล ย่อมมี สิทธิ และ 

70

นิติบุคคล ต้องมี ผู้แทน คนหนึ่ง หรือ หลายคน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมาย ข้อบังคับ หรือ ตราสารจัดตั้ง จะได้กำหนดไว้

 

ความประสงค์ ของ นิติบุคคล ย่อมแสดงออกโดย ผู้แทน ของ นิติบุคคล

71

ในกรณีที่ นิติบุคคล มีผู้แทน หลายคน การดำเนินกิจการ ของ นิติบุคคล ให้เป็นไปตาม เสียงข้างมาก ของผู้แทน ของ นิติบุคคลนั้น เว้นแต่ จะได้มี

 

ข้อกำหนดไว้ เป็นประการอื่น ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือ ตราสารจัดตั้ง

72

การเปลี่ยนตัว ผู้แทนของนิติบุคคล หรือ การจำกัด หรือ แก้ไขเปลี่ยนแปลง อำนาจหน้าที่ ของ ผู้แทนของนิติบุคคล ให้มีผล ต่อเมื่อ ได้ปฏิบัติตาม กฎหมาย 

 

ข้อบังคับ หรือ ตราสารจัดตั้ง แล้ว แต่จะยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอก ผู้กระทำการ โดยสุจริต มิได้

73

ถ้า มีตำแหน่งว่างลง ในจำนวน ผู้แทนของนิติบุคคล และ มีเหตุอันควรเชื่อว่า การปล่อยตำแหน่ง ว่างไว้ น่าจะเกิด ความเสียหายขึ้นได้ เมื่อ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ 

 

พนักงานอัยการ ร้องขอ ศาลจะแต่งตั้ง ผู้แทนชั่วคราว ขึ้น ก็ได้

74

ถ้า ประโยชน์ได้เสีย ของ นิติบุคคล ขัดกับ ประโยชน์ได้เสีย ของ ผู้แทน ของ นิติบุคคล ในการใด ผู้แทน ของ นิติบุคคลนั้น จะเป็น ผู้แทน ในการนั้น ไม่ได้

นิติกรรม/บททั่วไป

149

นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลง โดยชอบด้วยกฎหมาย และ ด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อ การผูกนิติสัมพันธ์ ขึ้น ระหว่าง บุคคล เพื่อจะ ก่อ เปลี่ยนแปลง 

 

โอน สงวน หรือ ระงับ ซึ่ง สิทธิ

150

การใด มีวัตถุประสงค์ เป็นการ ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการ พ้นวิสัย หรือ เป็นการ ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดี ของประชาชน 

 

การนั้นเป็นโมฆะ

153

การใด มิได้เป็นไป ตามบทบัญญัติ ของกฎหมาย ว่าด้วย ความสามารถของบุคคล การนั้น เป็นโมฆียะ

นิติกรรม/แสดงเจตนา

157

การแสดงเจตนา โดย สำคัญผิด ในคุณสมบัติ ของ บุคคล หรือ ทรัพย์สิน เป็นโมฆียะ

 

            ความสำคัญผิด ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็น ความสำคัญผิด ในคุณสมบัติ ซึ่ง ตามปกติ ถือว่า เป็นสาระสำคัญ ซึ่ง หากมิได้มี ความสำคัญผิด ดังกล่าว การอัน

 

 เป็นโมฆียะ นั้นคงจะ มิได้กระทำขึ้น

 

**สำคัญผิดใน คุณสมบัติ เป็น โมฆียะ เทียบ มาตรา ๑๕๖ สำคัญผิด ในสาระสำคัญ เป็น โมฆะ

159

  การแสดงเจตนา เพราะถูก กลฉ้อฉล เป็นโมฆียะ

 

            การถูก กลฉ้อฉล ที่จะ เป็นโมฆียะ ตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาด ซึ่งถ้า มิได้มี กลฉ้อฉล ดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้น คงจะมิได้ กระทำขึ้น

 

            ถ้า คู่กรณีฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนา เพราะ ถูกกลฉ้อฉล โดย บุคคลภายนอก การแสดงเจตนา นั้น จะเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้ หรือ ควรจะได้รู้ถึง 

 

กลฉ้อฉล นั้น

164

การแสดงเจตนา เพราะถูกข่มขู่ เป็นโมฆียะ

 

            การข่มขู่ ที่จะทำให้ การใด ตกเป็นโมฆียะ นั้น จะต้องเป็น การข่มขู่ ที่ จะให้เกิด ภัยอันใกล้จะถึง และ ร้ายแรงถึงขนาด ที่จะจูงใจ ให้ผู้ถูกข่มขู่ มีมูลต้องกลัว 

 

ซึ่งถ้า มิได้มี การข่มขู่ เช่นนั้น การนั้นก็คงจะ มิได้กระทำขึ้น

นิติกรรม/โมฆะและโมฆียะ

175

   โมฆียะกรรม นั้น บุคคลต่อไปนี้ จะบอกล้างเสีย ก็ได้

 

   &n

คำสำคัญ (Tags): #กฏหมาย ปพพ
หมายเลขบันทึก: 336804เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำหรับคนเพิ่งเรียนนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท