คำบุพบทใช้นำหน้า อย่าไขว้เขว


คำบุพบท ใช้นำหน้าอย่าไขว้เขว

คำบุพบท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา(กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม)  เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำและประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำประประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร

            พ่อแม่ตรากตรำทำงานเพื่อลูก

            ครูจัดทำแบบฝึกหัดชุดนี้สำหรับทบทวนเนื้อหา

คำบุพบทมี ๒ ชนิด คือ

๑.      คำบุพบทที่ใช้เชื่อมกับคำอื่น เช่น คำนามกับคำนาม  คำนามกับคะสรรพนาม  คำนามกับคำกริยา  คำสรรพนามกับคำสรรพนาม  คำสรรพนามกับคำกริยา  เพื่อแสดงสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้

-          บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ

           ฉันชอบเสื้อของแพนเค้ก  (นามกับนาม)

           บ้านของเขาน่าอยู่  (นามกับสรรพนาม)

           อะไรของเธออยู่ในกระเป๋านัน  (สรรพนามกับสรรพนาม)

-          บอกความเกี่ยวข้อง

           สุรวุฒิมองดูอาหารในจาน  (นามกับนาม)

           นางมัทรีเห็นแก่พระเวสสันดร  (กริยากับนาม)

           พงศกรป็นคนเห็นแก่กิน  (กริยากับกริยา)

-          บอกการให้และบอกความประสงค์

           อาหารนี้เป็นของสำหรับใส่บาตร  (นามกับกริยา)

           ครูให้รางวัลแก่นักเรียน (นามกับนาม)

           พวกนักแสดงหารายได้เพื่อช่วยเหลือชาวเฮติ (นามกับกริยา)

-          บอกเวลา

           สิริวิมลมาโรงเรียนตั้งแต่เช้า (นามกับนาม)

           เขามาอยู่นนทบุรีเมื่อปีที่แล้ว (นามกับนาม)

-          บอกสถานที่

            แม่น้ำคงคาไหลมาจากเทือกเขาหิมาลัย (กริยากับนาม)

           นักท่องเที่ยวเดินทางมาจากประเทศจีน (กริยากับนาม)

-          บอกความเปรียบเทียบ

           ฉันสวยกว่าพัชราภา (กริยากับนาม)

            เขาสูงกว่าฉัน (กริยากับสรรพนาม)

๒.    คำบุพบทที่ไม่เชื่อมกับคำอื่น  ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย  มักใช้ในคำประพันธ์  เช่น

           ดูกร  นางนาฏพระน้องรัก  เจ้าผู้มีพักตร์อันผุดผ่องเสมือนหนึ่งน้ำทองทาบทับประเทืองผิว

          ดูกร  สงฆ์ผู้ทรงศีลสังวรณญาณ

          ดูรา  มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร

ข้อสังเกต  ๑.  คำบุพบทบางคำสามารถละได้โดยไม่ทำให้เสียความ  เช่น

                ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ  (ผู้หญิงของข้าใครอย่าแตะ)

                แม่ให้เงินลูก  (แม่ให้เงินแก่ลูก)

                สมชายประสบอุบัติเหตุ  (สมชายประสบกับอุบัติเหตุ)

                ๒.     ถ้าไม่มีคำนาม หรือสรรพนามตามหลัง  คำนั้นจะเป็นวิเศษณ์  เช่น

                คนสวยนั่งหน้า

                สุชาดามาก่อน

ได้เวลาทดสอบความเข้าใจ

๑.      ข้อใดใช้บุพบทได้ถูกต้องและเหมาะสม

ก.      ผมพร้อมจะเผชิญต่อเหตุการณ์ทุกรูปแบบ

ข.      เขาลาออกจากงานเพราะขัดแย้งต่อผู้บังคับบัญชา

ค.      นโยบายข้อนี้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

ง.       วีรกรรมของทหารเหล่านี้สมควรต่อการยกย่อง

เฉลย  คำตอบที่ถูกคือ  ข้อ  ค

ก.      ผมพร้อมจะเผชิญกับเหตุการณ์ทุกรูปแบบ

ข.      เขาลาออกจากงานเพราะขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา

ค.      วีรกรรมของทหารเหล่านี้สมควรแก่การยกย่อง

๒.    ข้อใดตัดคำบุพบทออกได้โดยความคงเดิม

ก.      เขาอยู่ที่บ้านทุกวัน

ข.      เขาหาเงินเพื่อครอบครัว

ค.      คำราชาศัพท์คำนี้ใช้สำหรับพระสงฆ์

ง.       เขาเป็นคนเห็นแก่ตัว

เฉลย  คำตอบที่ถูกคือ ข้อ ก  ตัดบุพบท ที่ ออกได้โดยไม่เสียความ

หมายเลขบันทึก: 336716เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณครูคับถ้าผมอยากจะได้ข้อสอบพร้อมกับคำอธิบายสักร้อยข้อ ผมจะทำอย่างไรได้บ้างคับ

ขอบคุณค่ะ  มีประโยชน์ดีจัง  ครูอ้อยจะติดตามอ่านต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท