เคล็ดวิชากระบวนกร (3) : นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ


             ในการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ใหญ่ ท่านได้พูดขึ้นมาประโยคหนึ่งประมาณว่า

...เราได้พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเรา เอ! จะเป็นไปได้หรือไม่ ? ที่เราจะพัฒนานวัตกรรมใจขึ้นมา...

 

  • ตอนที่ผมได้ยินประโยคนี้นั้น ผมอยู่ระหว่างการทดลองฝึกเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ทดแทน การเรียนรู้แบบเดิมที่เน้นการใช้สมองเป็นหลัก ทำนองว่า นำเข้าห้องรับแขกใจ แขวนไว้ก่อน ไม่ด่วนตัดสินด้วยสมอง
  • การเรียนรู้ด้วยสมองเป็นหลักแบบเดิมนั้น ไม่ใช่ไม่ดี น่าจะใช้คำว่า ดีอยู่ แต่ไม่เพียงพอ และไม่ใช่ดีที่สุด เราจะสังเกตุเห็นว่า ถ้าเรียนรู้ด้วยสมองเป็นหลักนั้น ถ้าเรียนอย่างต่อเนื่องนาน ๆ เราจะเหนื่อยและเครียดเป็นธรรมดาธรรมชาติ แต่สำหรับการเรียนรู้ด้วยใจนั้น ยิ่งเรียน ใจของยิ่งวิวัฒน์
  • --- แต่ปัญหามันคือ เราคุ้นชินอยู่กับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ด้วยการใช้สมองเป็นหลักมาตั้งแต่เราเข้าโรงเรียนแล้ว นานแสนนาน แต่พอต้องปรับเปลี่ยนเป็นกระบวนทัศน์การเรียนรู้ด้วยใจที่เราไม่คุ้นชินนั้น เราจะประสบปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ทำให้เราเข้าถึงได้ยาก ไม่เห็นด้วย และกลับมาใช้แบบเดิม ๆ ที่ถนัดดีกว่า
  • แรก ๆ ที่ผมฝึกนั้น เกิดผลกระทบมากมาย สิ่งใดที่ใจมันไม่รับ มันก็ลืมเอาดื้อ ๆ บางทีเราก็ดูแปลก ๆ ไป
  • เมื่อเวลาผ่านมาถึงได้ทราบว่า ...จริง ๆ แล้วการเรียนรู้ด้วยใจกับการเรียนรู้ด้วยสมองมันนั้นมันอันเดียวกัน... แต่เป็นการใช้คำพูดมาอธิบายสิ่งบางสิ่งเพื่อให้เห็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่างกาลเทศะเท่านั้นเอง
  • --- ถ้าพูดในทางธรรม น่าจะประมาณว่า ตั้งแต่เกิดเป็นต้นมา กิเลสมันก็เข้าเคลือบและครอบงำจิตเดิมของเรา จนจิตเดิมของเรากลายเป็นกิเลสเสียเองไปแล้ว เพราะฉะนั้นการใช้จิตก็คือการใช้กิเลส การใช้สมองก็คือการใช้ "สัญญา" ที่ถูกกิเลสเข้าครอบเป็น "ตัวตน" ของเราขึ้นมา การเรียนรู้ด้วยการใช้สมองก็จะโดนกิเลสเข้าแทรกแซงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเรียนรู้ด้วยใจหรือจิตเดิมอย่างตรงไปตรงมาที่ไม่ถูกตีความด้วยสมองนั้น ด้วยการมีสร้างและมีสติสัมปะชัญญะมากขึ้นอย่างเป็นพลวัตร ก็จะทำให้เราก้าวข้าม... ไปได้

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 335889เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2010 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ดีใจที่อาจารย์มา
  • กำลังทำเรื่อง นวัตกรรมใจอยู่พอดี
  • อาจารย์เอาเรื่องนี้ไปทำกับนิสิตปริญญาโทดีไหมครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/335802

แวะมาเยี่ยมและเรียนรู้ด้วยคนครับ

 

สวัสดีครับอาจารย์

  • ทุกสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจะถูกถ่ายทอดเข้าสู่ห้องเรียนทั้ง ป.ตรี ป.โท และ ป.เอก เสมอ ๆ ครับท่านอาจารย์  (ตามวาระของผู้เรียน ห้องเรียน และวิชาครับ)
  • ตามไปอ่านงานเขียนอาจารย์อยู่บ่อยครั้ง แต่มีเวลาน้อยจึงไม่ค่อยได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ครับ

 

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับท่านหนานเกียรติ

 

เรียนท่านภูฟ้าครับ

จิตกับกายเกี่ยวเนื่องเป็นหนึ่งเดียวมานาน

ต้องใช้สติและสมาธิเพื่อพิจารณา

และรู้เท่าทันการเป็นไปของกิเลสใช่ไหมครับ

 

เรียน ท่านพลาย

  • ท่านผู้รู้สอนว่า... สงครามที่แท้จริง คือ การต่อสู้กับกิเลสตัณหาแห่งตน นั่นเอง
  • ออมชอมไม่ได้ เจอกิเลสคราใดให้ประหารครานั้น ครับ
  • แต่ต้องพิจารณาให้ดีนะครับว่า กิเลส คือ อะไร ?
  • เงิน ไม่ใช่ กิเลส แต่การไปยึดมั่นถือมั่น หรือ "โลภ" นั่นเองเป็นกิเลส

 

 

 

 

 

 

 

จริง ๆ แล้วบันทึกนี้ต้องการสื่อถึงว่า การศึกษา หรือ การดำเนินชีวิต ควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น หรือ วิวัฒน์ขึ้น

และหรือ เราจะมีวิธีการวิวัฒน์จิตอย่างไร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

สังเกตเด็กทารกจนถึง 1 ขวบ

แล้วสังเกตผู้ป่วยวาระก่อนสุกท้าย ถึงสุดท้าย

ลองดูนะคะ

สวัสดีครับ   krutoiting

  • ถ้าได้แวะมาอีก อยากให้ขยายความประสบการณ์ไว้เป็นธรรมทานด้วยครับผม
  • ขอบพระคุณครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท