คำกริยาห้าชนิด


คำกริยาห้าชนิด

คำกริยา คือคำที่แสดงอาการกระทำของนามหรือสรรพนามในประโยค  คำกริยาแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ

๑.      อกรรมกริยา  คือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น  ฝนตก  แดดออก  หมาเห่า  นกร้อง  ไก่ขัน   

         บางกรณีคำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค  ถือเป็นกริยาของประโยค  เช่น 

                สมปองสูงเท่าสมชาย

                ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำร้านนี้อร่อยมาก

                สับปะรดภูแลหวานมาก

๒.    สกรรมกริยา  คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้ความสมบูรณ์  เช่น

                ฉันกินข้าว               ข้าวเป็นกรรม (ถูกกิน)

                หมากัดแมว             แมวเป็นกรรม (ถูกกัด)

               จิ๊กโก๋เตะกะเทย        กะเทยเป็นกรรม (ถูกเตะ)

        กริยาบางคำมีทั้งกรรมตรงและกรรมรอง เช่น

               ฉันให้ดอกไม้เพื่อน 

               หมายถึง  ฉันให้ดอกไม้แก่เพื่อน

               ดอกไม้เป็นกรรมตรง  เพื่อนเป็นกรรมรอง

๓.     วิกตรรถกริยา  (กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็ม)  เป็นกริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง  ต้องอาศัย นาม สรรพนาม หรือคำวิศษณ์มาเติมข้างหลังจึงจะได้ความสมบูรณ์  ได้แก่  เป็น เหมือน คล้าย เท่า คล้าย คือ ดุจ  ประดุจ  ประหนึ่ง  แปลว่า  เช่น

              พี่เบิร์ดเป็นนักร้องขวัญใจประชาชน

              สัญชัยคล้ายโน้ตอุดม

๔.     กริยานุเคราะห์  คือ กริยาช่วย  เป็นคำที่ช่วยให้กริยาของประโยคได้ความครบสมบูรณ์  ชัดเจน  ได้แก่  กำลัง  คง  ย่อม เคย  ต้อง  อาจจะ  กริยานุเคราะห์อาจจะวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังกริยาสำคัญก็ได้ เช่น

             วางไว้ข้างหน้า        พายัพคงจะไม่มาโรงเรียน

             วางไว้ข้างหลัง        พายัพมาโรงเรียนแล้ว

๕.     กริยาสภาวมาลา  คือ  กริยาที่มาทำหน้าที่เป็นคำนาม  จะเป็น ประธาน กรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้  เช่น

            นอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี      (ประธานของประโยค)

            ฉันชอบไปเที่ยวต่างจังหวัด        (เป็นบทกรรม)

            ฉันมาเพื่อดูการแข่งขันฟุตบอล  (เป็นบทขยาย)

ได้เวลาทดสอบความเข้าใจ

๑.      คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดไม่ใช่อกรรมกริยา

ก.      ตัวละครผ่านออกมาทางประตูนี้

ข.      นางกินรีพำนักอยู่ที่เขาไกรลาศ

ค.      พระสุธนตามนางมโนห์ราไป

ง.       ผู้แสดงร่ายรำด้วยท่าทางเข้ากับทำนองเพลง

เฉลย  คำตอบที่ถูก คือ ข้อ ค (นางมโนราห์เป็นกรรม)

๒.    คำว่า “ดี” คำใดในข้อความต่อไปนี้ใช้เป็นคำกริยา

“จงทำดี(๑)และคิดให้ดี(๒)ว่าการเป็นคนดี(๓)นั้นต้องดี(๔) กับทุก ๆ คน”

ก.      (๑)

ข.      (๒)

ค.      (๓)

ง.       (๔)

เฉลย  คำตอบที่ถูกคือ ข้อ ง.  (๔)  คำทึ่ ๑ - ๓  เป็นคำวิเศษณ์

       

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 335570เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีน้อยเกินไปน่าจะมีเยอะกว่านี้หน่อย

ให้ความรู้ดีมาก มีประโยชน์ต่อเด็กที่กำลังเรียน แต่ถ้าคำถามมีเยอะจะดีมาก

ดีนะคะที่มีการบอกแบบนี้        ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท