คำสรรพนาม แทนนามอย่างไร


คำสรรพนาม  แทนคำนามอย่างไร

คำสรรพนามเป็นคำที่ใช้แทนคำนามเพื่อทำให้เนื้อความสละสลวยขึ้น  คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ

๑.      บุรุษสรรพนาม  เป็นสรรพนามใช้ในการพูดจากัน

-ใช้แทนตัวผู้พูด(สรรพนามบุรุษที่ ๑)  ได้แก่ กู  ข้า ฉัน ข้าพเจ้า ผม ดิฉัน อาตมา 

-ใช้แทนตัวผู้ฟัง (สรรพนามบุรุษที่ ๒) ได้แก่ มึง  แก คุณ เธอ  ตัวเอง  ท่าน  ฝ่าพระบาท  

-ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง (สรรพนามบุรุษที่ ๓) ได้แก่ เขา  พวกเขา มัน  พวกมัน  พระองค์

-ในการสนทนาคำนามอาจใช้เป็นสรรพนามได้ เช่น ปั๊มมาหาคุณพี่เมื่อวานนี้ (ปั๊มใช้แทนผู้พูด)

- บุรุษสรรพนามบางคำเป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๒ และสรรพนามบุรุษที่ ๓ ต้องพิจารณาจากบริบท

           ท่านมาหาใครครับ                   -    บุรุษที่ ๒

           เธอจะไปกับท่านหรือเปล่า       -    บุรุษที่ ๓

           เธออยู่บ้านนะ                           -    บุรุษที่ ๒

           คุณแม่พาเธอไปโรงพยาบาล   -   บุรุษที่ ๓

๒.    ประพันธสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้เชื่อมประโยค ในประโยคความซ้อน  ทำหน้าที่แทนคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า  และทำหน้าที่เชื่อมประโยค ๒ ประโยคให้สัมพันธ์กัน  ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น 

            คฤหาสน์หลังใหญ่ที่ปลูกอยู่บนเขาเป็นของเฉลิมพล

            ความงามซึ่งรัตนาปรารถนาคือการมีเรือนร่างสูงเพรียว

            บทเพลงอันไพเราะแต่งโดยสิทธิชัย

            บุคคลผู้ไม่ประสงค์ออกนามประสงค์จะออกเงิน ๕๐๐ บาท

๓.     วิภาคสรรพนาม  เป็นสรรพนามบอกความชี้ซ้ำ  ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่แยกออกเป็นส่วน ๆ หรือเป็นคน ๆ หรือ เป็นพวก ๆ ได้แก่ คำว่า ต่าง บ้าง กัน

            นักฟุตบอลต่างดีใจที่ได้ครองแชมป์ฟุตบอลโลก

            นักเรียนบ้างก็อ่านหนังสือ  บ้างก็ทำการบ้าน

            นักเรียนต้องไม่เล่นกันในเวลาเรียน

      ต่าง  บ้าง  กัน ไม่ใช่วิภาคสรรพนามเสมอไป ต้องพิจารณาบริบทประกอบด้วย เช่น

             ฝาแฝดคู่นี้ต่างกันมาก  -  ต่างเป็นกริยา

             ใครจะไปเที่ยวบ้าง        -  บ้าง เป็นคำแสดงคำถาม

             ตำรวจกันณัฐพลไว้เป็นพยาน  -  กัน เป็นกริยา มีความหมายว่าแยก

๔.     นิยมสรรพนาม  เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจง หรือ บอกความใกล้ไกล ที่เป็นระยะทาง  ได้แก่คำว่า  นี่  นั่น  โน่น  นี้  นั้น  โน้น  เช่น

            นี่คือรายงานของฉัน  โน่นคือรายงานของเธอ

๕.     อนิยมสรรพนาม  เป็นสรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะแน่นอนลงไป  ได้แก่  ใคร  อะไร  ไหน  ผู้ใด  ใคร ๆ อะไร ๆ ไหน ๆ  เช่น

            ใคร ๆ ก็ชอบพี่เบิร์ดทั้งนั้น  (ไม่ต้องการคำตอบ)

๖.      ปฤจฉาสรรพนาม  เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามที่มีเนื้อความเป็นคำถาม

          ใครชอบพี่เบิร์ด ?  (ต้องการคำตอบ)

ได้เวลาทดสอบความเข้าใจแล้ว

๑.  คำว่า ท่าน ในข้อใดไม่ใช่สรรพนามบุรุษที่ ๒

ก.  ท่านมาหาใครครับ

ข.  ท่านมองใครหรือครับ

ค.  ท่านไม่ได้มาหรอกครับ

ง.  ท่านจะไม่มาหรือครับ

เฉลย  คำตอบที่ถูกคือ  ข้อ ค  ท่านเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ คำว่าท่านในคำตอบข้ออื่น ๆ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒

๒.  ข้อใดใช้คำ "ที่"  เป็นคำเชื่อมทั้ง ๒ แห่ง

ก.  กิจกรรมที่ฉันสนใจคือไปดูนิทรรศการที่ศูนย์การค้า

ข.  ขณะที่ฉันเดินเพลิน ๆ ก็ได้พบเพื่อนเก่าที่จากกันไปนาน

ค.  เมื่อเขาไปบ้านที่ระยอง  เขาจึงรู้ว่าบ้านที่เคยอยู่ถูกไฟไหม้เสียแล้ว

ง.  ฉันดีใจมากที่รู้ว่าคุณครูที่ฉันรักได้รับรางวัลครูดีเด่น

เฉลย  คำตอบที่ถูกคือข้อ ง

ก.  ที่ คำหลังเป็นบุพบท

ข.  ที่ คำแรกเป็นสันธาน

ค.  ที่ คำแรกเป็นบุพบท

 

                               

หมายเลขบันทึก: 335338เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เนื้อหานิดน่อยต้องให้มากกว่านี้ขอบคุณที่ให้มาฮิๆ

หวัดดีค่ะื  ทุกทุกคน เนื้อก้อ โอเคดี  สวดยวดมากกกกก   555555+++( คัยไม่มีแฟ....ขอจีบ)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท