Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

กรณีศึกษานางต้อย อาจปรุ : - คนไร้รัฐที่เป็นโรคเรื้อนแห่งโคราช- มิใช่ชายแดน มิใช่พื้นที่สูง กลางเมืองใหญ่ทีเดียว


ทันทีที่ได้รับอีเมลล์นี้ อ.แหววก็อีเมลล์ต่อไปยังเครือข่าย คศน. อาทิ หมอจุ๊ก หมอตุ่ย หมอแคน น้องแวว น้องกิ๋วว่า “โปรดอ่านข้อเท็จจริงที่สรุปโดย อ.มิวถึง " นางต้อย อาจปรุ" เป็นเรื่องของคนไร้รัฐแห่งโคราชค่ะ เป็นโรคเรื้อนค่ะ และอาจสร้างโรคติดต่อในโคราชได้แน่นอนค่ะ แบบนี้ คศน.จะทำอย่างไรคะ ?? ฝากให้คุณหมอ คศน. ที่มาจากโคราชด้วยค่ะ แล้วก็คุณหมอที่ดูแลโรคระบาดค่ะ" อ.แหววหวังว่า เรื่องของนางต้อยจะเป็นการบอกแก่เครือข่าย คศน.ว่า คนไร้รัฐไม่ได้มีอยู่แค่ที่อุ้มผางค่ะ กองทุนรักษาพยาบาลคนไร้รัฐนั้นจำเป็นในพื้นที่ที่เราพบคนไร้รัฐอย่างหนาแน่น อาทิ โคราชค่ะ

เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ อ.มิว อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ เขียนอีเมลล์มาเล่าให้ อ.แหววทราบเรื่องของ “นางต้อย อาจปรุ” มีใจความว่า อ.คะ ที่ อ.บอกว่าให้เขียนเล่าเรื่องนางต้อยมาให้อ.อ่าน ส่งมาให้เท่าที่นึกออก ณ ตอนนี้ค่ะ  เมื่อกลางปี ๒๕๕๒  ได้มีโอกาสเดินทางไปชุมชนสองข้างทางรถไฟ (ชุมชนไบเล่ย์และชุมชนหลังจวน) จังหวัดนครราชสีมา เดินทางไปกับคณะอนุกรรมการติดตามการให้สถานะบุคคลแก่เด็ก ได้ไปพบกับหญิงชราคนหนึ่ง อายุประมาณ ๖๐ ปี แกบอกว่าชื่อ นางต้อย อาจปรุ (แต่ก็ไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่) ความจำแกเลอะเลือน จำได้แต่สิ่งที่ยังฝังใจในอดีตเท่านั้น  แกเป็นโรคเรื้อนและโรคเรื้อนนี้ได้แพร่ทำให้ ข้อมือแกด้วน หายไปเลย  และเมื่อปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๓ ได้เดินทางไปที่เดิมอีกครั้ง  เพื่อติดตามความคืบหน้าของกรณีศึกษาในชุมชนสองข้างทางรถไฟ ก็ได้ข่าวว่า  นางต้อย อาจปรุ ได้ถูกโรคเรื้อนแพร่กระจาย ณ  ตอนนี้แขนแกหายไปครึ่งหนึ่งแล้ว ทางคณะทำงานในพื้นที่กล่าวว่า "เคยพานางต้อย อาจปรุ ไปหาสถานีอนามัยกาชาดที่ ๔ และได้ยามาทานแต่แกไม่ได้ทาน และไม่ได้ไปหาหมอตามนัด ถ้าจะให้แกไปหาหมอต้องอุ้มแกไปเลย บางวันก็เห็นแกนั่งขอทานอยู่หน้าชุมชน" เชื่อได้ว่าใครที่เห็นนางต้อย อาจปรุแล้วเป็นต้องน้ำตาไหล ไม่รู้ว่าจะมีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยนางต้อยได้บ้าง โรคเรื้อนมันสามารถกระจายได้เรื่อย ๆ ถ้าไม่รักษา และยังสามารถติดต่อสู่คนอื่นได้ด้วย นางต้อยเองก็อาจไม่รู้ถึงผลเสียของการไม่รักษา แต่นางต้อยได้บอกว่าไม่รู้จะรักษาไปทำไม เสียเงินตั้งมากมาย หายแล้วก็ไปไหนไม่ได้อยู่ดี เท่าที่สอบข้อเท็จจริงและเข้าใจได้ว่าประวัติของนางต้อย อาจปรุ  เกิดที่กองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา จำวันเดือน ปี เกิด ไม่ได้  พ่อเป็นทหารอากาศ ชื่อเลิศ แม่ชื่อถาวร ตอนอายุได้ ๖ ขวบตนหนีออกจากบ้าน เดินทางไปทั่ว จำได้ว่าไปที่จังหวัดยโสธร และลพบุรี  นางต้อยยังบอกด้วยว่าเคยแต่งงานที่ลพบุรีสามีเป็นทหารบก  แต่จำชื่อสามีไม่ได้ มีลูก ๒ คน จำชื่อไม่ได้เช่นกัน ปัจจุบันนางต้อย อาจปรุ อาศัยอยู่ในชุมชนตัวคนเดียว ถามหลายครั้ง ถามหลายคน ก็ได้ข้อเท็จจริงมาเท่านี้จริง ๆ และทุกครั้งนางต้อยเล่าก็ออกมาพร้อมกับน้ำใส ๆ ในตา”

ทันทีที่ได้รับอีเมลล์นี้  อ.แหววก็อีเมลล์ต่อไปยังเครือข่าย คศน. อาทิ หมอจุ๊ก หมอตุ่ย หมอแคน น้องแวว น้องกิ๋วว่า โปรดอ่านข้อเท็จจริงที่สรุปโดย อ.มิวถึง " นางต้อย อาจปรุ"  เป็นเรื่องของคนไร้รัฐแห่งโคราชค่ะ เป็นโรคเรื้อนค่ะ และอาจสร้างโรคติดต่อในโคราชได้แน่นอนค่ะ แบบนี้ คศน.จะทำอย่างไรคะ ?? ฝากให้คุณหมอ คศน. ที่มาจากโคราชด้วยค่ะ แล้วก็คุณหมอที่ดูแลโรคระบาดค่ะ" อ.แหววหวังว่า เรื่องของนางต้อยจะเป็นการบอกแก่เครือข่าย คศน.ว่า คนไร้รัฐไม่ได้มีอยู่แค่ที่อุ้มผางค่ะ กองทุนรักษาพยาบาลคนไร้รัฐนั้นจำเป็นในพื้นที่ที่เราพบคนไร้รัฐอย่างหนาแน่น อาทิ โคราชค่ะ อยากให้ทีม คศน. ลองไปเดินเผชิญสืบดู

และเชื่อไหมคะ ในวันเดียวกัน อีเมลล์ฉบับที่สองก็มาถึง อ.แหวว และ อ.มิว เป็นอีเมลล์จากคุณหมอแคน สายพิณ หัตถีรัตน์ เพื่อถามเราเกี่ยวกับนางต้อยว่า มีข้อมูลอื่นไหมคะว่า นั่งประจำตรงไหน เขตพื้นที่ไหน จะได้ประสานเวชกรรมสังคมของมหาราชให้ เอาหมอไปเยี่ยมบ้านได้ค่ะ แล้วค่อยว่ากันอีกที เป็นงานโรคระบาด เขาต้องเข้าไปดูแลเต็มที่ถ้ารู้ค่ะ แต่รักษาคงจะยากแล้วนะคะ แกเป็นคนเร่ร่อนหรือเปล่าคะ  จะร่อนไปเรื่อยๆ หรือขอทานประจำตรงไหน บอกถนนมาเลยค่ะ”

อ.มิวรีบตอบไปโดยทันทีว่า นางต้อยอาศัยอยู่ในชุมชนสองข้างทางรถไฟ บางวันก็จะนั่งขอทานอยู่หน้าชุมชน ตรงศาลเจ้า อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม และเทศบาลนครราชสีมาค่ะ ขอบคุณค่ะ”

ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ คุณแวว ณาตยา  แวววีรคุปต์ ก็ส่งความเห็นมายังวงอีเมลล์กระจายข่าวความเจ็บป่วยของนางต้อยว่า ถ้าเวชกรรมสังคมของมหาราชหรือเจ้าหน้าที่สา-สุข  จะไปติดตามเคสนี้เมื่อไหร่  ช่วยบอกด้วยนะคะ เคสนี้น่าจะสะท้อนปัญหาโรคระบาดกลางเมืองได้ดี”

ในวันที่ ๗ นี้อีกเช่นกัน อ.มิวเรียกส่งรูปนางต้อยเข้าวงอีเมลล์ของเราเพื่อการตามหานางต้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ คุณหมอแคน สายพิณ หัตถีรัตน์ บอกพวกเราว่า แจ้งคุณหมอสุรสิทธิ์ หัวหน้าเวชกรรมสังคมทราบแล้วค่ะ จะดำเนินการต่อให้”

เรามารอดูกันว่า การตามหานางต้อยจะประสบผลสำเร็จไหมนะ ? และเราจะสามารถรักษาโรคร้ายให้นางต้อยได้ไหมนะ ? แล้วเราจะรักษาโรคไร้รัฐให้นางต้อยได้ไหมนะ ?

 

หมายเลขบันทึก: 335151เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เมื่อวาน (๙ ก.พ. ๒๕๕๓) เวลา ๑๙.๐๐ น. ทางพี่แวว ให้คนทำข่าวโทร.มาแจ้งว่า จะไปโคราชเพื่อทำข่าวเรื่องนางต้อย ในวันที่ ๑๐ - ๑๑ ก.พ. ๒๕๕๓ จึงได้บอกข้อมูลไปเท่าที่ทราบไปแล้ว

กรณีนางต้อย อาจปรุ

ได้รับข่าวจากเครือข่ายระบาดของ สคร5 และทีม สสจ. โคราช เลย สืบข้อมูล ดังนี้ นางต้อย อาจปรุ เคยมาขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าระบบดูแลรักษา และ การฟื้นฟูสภาพ ที่คลีนิคโรคผิวหนัง ในปี 2549 ผลเชื้อโรคเรื้อนทางห้อง Lab ไม่พบ(Negative) ดูจากรอยโรคที่ผิวหนัง ไม่พบรอยโรคในลักษณะกำเริบ ไม่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้แล้ว ก่อนหน้าปี 2549 น่าจะเคยได้รับยารักษาโรคเรื้อนมาแล้วดูจากผลเชื้อและรอยโรค เหลือปัญหาเรื่องการฟื้นฟูสภาพ กาย ใจ สังคม อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วย นางต้อยฯ เคยมีทีมออกติดตาม จะไม่พบ( ปี 2549) ตัวนางต้อยฯ แกจำเรื่องราวไมได้รวมทั้งประวัติว่าเคยรักษามาจากที่ใด น่าเห็นใจครับ ตอนนี้หากนางต้อย มีเลข13 หลัก หรือมีบัตรประชาชนเก่า หรือมีหน่วยราชการคือมหาดไทยรับรอง และผู้รับผิดชอบคือสาสุขในพื้นที่ส่งหลักฐานมาให้ สคร5. ผมจะประสานเบี้ยยังชีพผู้พิการจากโรคเรื้อนซึ่งสามารถทำได้ ประมาณ 3000บาท ตลอดชีพ เมื่อวานผมก็ได้รับการประสานกับ สสจ. พมจ. เพื่อหาทางช่วย สรุปว่าในแง่ของการแพร่ กระจายโรคเรื้อนกรณีนาง ต้อย ฯ ไม่สามารถแพร่ไปยัง ชุมชนสังคมได้

โกเมศ อุนรัตน์

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา

เรื่องนี้มีความคืบหน้ามั๊ยครับ

คุณหมอคะ เดี๋ยวไปหาข้อมูลก่อนค่ะ

ดิฉันส่งลูกให้เหล่าคุณหมอ คศน. แล้ว ก็ไม่ได้ตามเลยค่ะ

รอคำตอบนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท