แบบทดสอบสามัคคีเภทคำฉันท์ (๒)


แบบทดสอบสามัคคีเภทคำฉันท์ (๒)

แบบทดสอบชุดนี้เป็นคำถามแบบปรนัย    มี ๔ ชุด ชุดละ ๑๐ ข้อ  ได้แก่

ชุดที่  ๑  ที่มาของเรื่อง

ชุดที่ ๒  ทำนองแต่ง

ชุดที่ ๓  เนื้อเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

ชุดที่ ๔  วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

แบบทดสอบชุดที่ ๓  เนื้อเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

๑.      นายชิต  บุรทัตแสดงเจตนาในการแต่งหนังสือเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ไว้ตรงกับข้อใด

ก.  แสดงคุณของความสามัคคี 

ข.  แสดงโทษของการแตกสามัคคี

ค.  แสดงคุณค่าของอปริหานิยธรรม 

ง.  แสดงผลของการเป็นคนหูเบาเชื่อง่าย

๒.          “ดั่งอินทโคปกะผวา                มุหฝ่า ณ กองไฟ”

 ข้อความนี้เปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องใด

 ก.  ความหลง                                       ข.  ความฮึกเหิม

 ค.  ความตื่นตระหนก                            ง.  ความโอหังอวดดี

 ๓.         “ ควรขัติยยานยรรยง              เพียงพาหนาสน์องค์

  สหัสนัยน์ใดปาน”

  ข้อความเปรียบเทียบนี้แสดงว่าราชพาหนะของพระเจ้าอชาตศัตรูคืออะไร

ก.  หงส์                                                 ข.  ช้าง

ค.  โค                                                    ง.  ม้า 

๔.         “แยกพรรคสมรรคภิน                       ทนสิ้นบปรองดอง

    ขาดญาณพิจารณ์ตรอง                             ตริมลักประจักษ์เจือ”

ฉันท์นี้ระบุว่ากษัตริย์ลิจฉวีบกพร่องในคุณธรรมข้อใด

ก.  สติและปัญญา                                 ข.  ขันติและปรีชาญาณ

ค.  สามัคคีและวิจารณญาณ                ง.  สามัคคีและหิริโอตัปปะ

 ๕.    “กลกะกากะหวาดขมังธนู                บ่ห่อนจะเห็นธวัชริปู

      สิล่าถอย”

ฉันท์บทนี้ผู้พูดเจตนากล่าวในลักษณะที่ตรงกับข้อใด

ก.  บริภาษให้เจ็บใจ  

ข.  ให้แง่คิดเสริมปัญญา

ค.  ท้าทายให้เกิดมานะ 

ง.  ประกาศความโกรธให้ปรากฎ

๖.     “และโลกจะล่วงวา                           ทติว่าพระองค์จำ

  นงเจตนาดำ                                           ริวิรุธประทุษเขา”

  ฉันท์บทนี้แสดงว่าผู้พูดคิดอย่างไร

 ก.  คิดเรื่องสำคัญระดับโลก

ข.  คิดเกรงเรื่องจะดังไปทั่วโลก

ค.  คิดถึงความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ในโลก 

ง.  คิดห่วงชาวโลกจะตำหนิได้

๗.     “หวังพระหฤทัยใคร่กรี-                   ธาทัพโยธี

    กระทำประยุทธ์ชิงชัย

          ครั้นทรงดำริตริไป                          กลับยั้งหยั่งใน

   มนัสมิแน่แปรเกรง

ฉันท์บทนี้แสดงออกถึงอุปนิสัยอย่างไร

ก.  ขี้ขลาด                                            ข.  จิตใจรวนเร

ค.  ไม่กล้าตัดสินใจ                              ง.  คิดอย่างรอบคอบ

 ๘.  ข้อความต่อไปนี้เป็นคำพูดของผู้ใด

         “มิแผกมิผิดพา                               กยข้าพระองค์ทาย

 ไป่ได้สะดวกดาย                                    และจะแพ้เพราะไพรี”

ก.  พระเจ้าอชาตศัตรู                             ข.  กษัตริย์ลิจฉวี

ค.  วัสสการพราหมณ์                             ง.  พระราชกุมาร

๙.  ข้อความต่อไปนี้ผู้พูดพูดแก่ผู้ใด

        “เปรียบปานมหรรณพนที            ทะนุที่ประทังความ

 ร้อนกายกระหายอุทกยาม                  นรหากประสบเห็น

 เอิบอิ่มกระหยิ่มหทยคราว                  ระอุผ่าวก็ผ่อนเย็น

ยังอุณหมุญจนและเป็น                        สุขปีติดีใจ”

ก.  พระเจ้าอชาตศัตรู                            ข.  กษัตริย์ลิจฉวี

ค.  วัสสการพราหมณ์                            ง.  พระราชกุมาร

๑๐.  จากข้อ ๙  ผู้พูดมีเจตนาในการพูดตรงกับสำนวนข้อใด

 ก.  ยกยอปอปั้น                             ข.  สรรเสริญเยินยอ

ค.  ยุยงส่งเสริม                              ง.  ชักแม่น้ำทั้งห้า

 เฉลย แบบทดสอบชุดที่ ๓ เนื้อเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

๑.  ข           ๒.  ง             ๓.  ข              ๔.  ค            ๕.  ก

๖.  ค           ๗.  ง            ๘.  ค              ๙.  ข            ๑๐. ข

แบบทดสอบ ชุดที่  ๔  วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

๑.       ข้อใดเป็นแก่นหลักของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

ก.       โทษของการแตกสามัคคีนำหมู่คณะไปสู่ความฉิบหาย

ข.       การใช้ปัญญาเอาชนะศัตรูโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ

ค.       การรู้จักใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงานทำให้งานสำเร็จด้วยดี

ง.       การใช้วิจารณญาณใคร่ครวญก่อนตัดสินใจทำสิ่งใดย่อมเป็นผลดี

๒.     การกระทำของวัสสการพราหมณ์ตรงกับสำนวนไทยว่ากระไร

ก.  เห็นขี้ดีกว่าไส้  

ข.  ไส้ศึก

ค.  เกลือเป็นหนอน

ง.  น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

 ๓.  ข้อใดแยกคำไม่ถูกต้อง

ก.  อนัตถ์  =  อน +  อัตถ์ 

ข.  ภาโรปกรณ์ =  ภาร +  อุปกรณ์

ค.  พุทธาทิบัณฑิต  =  พุทธ +  อาทิ + บัณฑิต

ง.  พยุหาธิทัพ =  พยุ +  หา + ธิ + ทัพ

๔.  ต่อไปนี้ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมไทย

ก.  บราลีพิลาศศุภจรูญ 

ข.  หางหงส์ผจงพิจิตรงอน

ค.  ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน 

ง.   วรมัญจบรรจถรณ์

๕.  ข้อความต่อไปนี้มีรสวรรณคดีตามข้อใด  

        สามยอดตลอดระยะระยับ           วะวะวับสลับพรรณ

ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน                    จะเยาะยั่วทิฆัมพร

บราลีพิลาศศุภจรูญ                             นภศูลประภัสสร

หางหงส์ผจงพิจิตรงอน                       ดุจกวักนภาลัย

ก.  เสารจนี                                         ข.  นารีปราโมทย์

ค.  พิโรธวาทัง                                    ง.  สัลลาปังคพิสัย

 ๖.  ข้อความต่อไปนี้ใช้โวหารภาพพจน์อย่างไร

         เปรียบปานมหรรณพนที                    ทะนุที่ประทังความ

ร้อนกายกระหายอุทกยาม                          นรหากประสบเห็น

เอิบอิ่มกระหยิ่มหทยคราว                          ระอุผ่าวก็ผ่อนเย็น

ยังอุณหมุญจนและเป็น                               สุขปีติดีใจ

ก.  อุปมาอุปไมย                                 ข.  อุปลักษณ์

ค.  สัญลักษณ์                                     ง.  อธิพจน์

๗.  ข้อความต่อไปนี้ดีเด่นทางด้านใด

       พลหัยพิศเห็นเช่นเหิน                       หาวเหาะเหยาะเดิน

 เดาะเตือนก็เต้นตีนซอย

  ก.  เด่นทางอักษร 

  ข.  เด่นทางความเปรียบ

  ค.  เด่นทางพรรณนาความชัดเจนมองเห็นภาพ

  ง.  เด่นทางแสดงคติธรรม

๘.  คำประพันธ์ต่อไปนี้  ข้อใดเล่นพยัญชนะต้นเป็นคู่ ๆ ได้ไพเราะและก่อให้เกิดมโนภาพชัดเจนที่สุด

  ก.            โสภาอัศวาภรณ์สรรพ์            ตาบหน่าพร่าวรรณ์

    ณเด่นดำกลกาญจน์มณี

 ข.            เล็งสูงลิ่วสวยชวยธง               ชายโบกชวนบง

    สะบัดระริ้วปลิวปลาย

 ค.            สองพลุกสุกวลัยเลอยล           ลาดพัสตร์รัตคน

   และปกขนองซองหาง

 ง.             สีกายฝ้ายแซมแกมขน           ดำบ้างด่างปน

   กระเลียวเหล่าเหลืองแดงพรรณ

๙.  ลักษณะประการใดของพระเจ้าอชาตศัตรูที่นักเรียนไม่ควรยึดถือปฏิบัติตาม

 ก.  เชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่  

 ข.  สำนึกในความผิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

 ค.  เอื้ออาทรต่อผู้อื่น

 ง.  ทำงานด้วยความรอบคอบ

๑๐. ข้อใดเป็นเหตุผลที่กล่าวว่า

         “ขาดญาณพิจารณ์ตรอง              ตริมลักประจักษ์เจือ”

ก.            เชื่ออรรถยุบลเอา                   รสเล่าก็ง่ายเหลือ

         เหตุหากธมากเมือ                         คติโมหเป็นมูล

ข.           ควรยกประโยชน์ยื่น                นรอื่นก็แลเหลียว

        ดูบ้างและกลมเกลียว                      มิตรภาพผดุงครอง

ค.          ลาภผลสกลบรร                        ลุก็ปันก็แบ่งไป

        ตามมากและน้อยใจ                       สุจริตนิยมธรรม์

ง.         พึงมรรยาทยึด                           สุประพฤติสงวนพรค์

       รื้อริษยาอัน                                     อุปเฉทไมตรี

เฉลยแบบทดสอบชุดที่ ๔

 ๑.  ก              ๒.  ข               ๓.  ง             ๔.  ง              ๕.  ก

 ๖.  ก              ๗.  ก               ๘.  ข            ๙.  ก             ๑๐. ก

หมายเลขบันทึก: 335005เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆนะคะ ถ้าไม่ได้นี่แย่เลยย :)

รบกวนช่วยเฉลยให้หน่อยครับ


1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกวีผู้แต่งเรื่อง สามัคคีเภท

     คำฉันท์

    ก.  เคยทำงานหนังสือพิมพ์หลายฉบับ

    ข.  เป็นคนเดียวกับผู้แต่งเรื่อง กรุงเทพฯ คำฉันท์

    ค.  ใช้นามปากกาว่า เอกชน แมวคราว และเขียวหวาน

    ง.     ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จ

          พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

    ก.  เคยตีพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ

    ข.  แต่งด้วยฉันท์ 19 ชนิด และกาพย์ 1 ชนิด

    ค.  เนื้อหาของเรื่องเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของ

          นายชิต บุรทัต ผู้เป็นกวี

    ง.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่มีพระราชดำริ

          ให้แต่งขึ้นเป็นคำฉันท์

 

3. คุณธรรมใดที่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวียึดถือปฏิบัติมาช้านาน     

     จนช่วยให้สามารถปกครองบ้านเมืองได้อย่างเข้มแข็ง

     ก่อนหน้าที่วัสสการพราหมณ์จะคิดอุบายมาทำลาย

    ก.  พรหมวิหาร             ข.  สามัคคีธรรม

    ค.  ทศพิธราชธรรม         ง.  อปริหานิยธรรม

 

4.     อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ 

    ขยาดขยั้นมิทันอะไร                        ก็หมิ่นกู

          กลกะกากะหวาดขมังธนู                           

    บ ห่อนจะเห็นธวัชริปู                       สิล่าถอย

    ข้อความข้างต้นแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

    ก.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์       ข.  วิชชุมมาลาฉันท์

    ค.  อุปชาติฉันท์            ง.  อีทิสังฉันท์

 

5. จากบทประพันธ์ในข้อ 4. ข้างต้น กวีใช้ภาพพจน์ชนิดใด

    ก.  อุปมา                   ข.  สัทพจน์

    ค.  อุปลักษณ์               ง.  บุคลาธิษฐาน

 

 

6.   ข่าวเศิกเอิกอึง             ทราบถึงบัดดล

    ในหมู่ผู้คน                         ชาวเวสาลี

    แทบทุกถิ่นหมด                                ชนบทบูรี

    อกสั่นขวัญหนี                  หวาดกลัวทั่วไป

    ข้อความข้างต้นแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

    ก.  อินทรวิเชียรฉันท์       ข.  วิชชุมมาลาฉันท์

    ค.  อุปชาติฉันท์            ง.  โตฎกฉันท์

 

7.   อันข้าพระองค์กษณะนี้         ภยมีจะร้อนใด

    ยิ่งกว่าและหามนุษย์ไหน         จะเสมอเสมือนตน

    ข้อความข้างต้นแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

    ก.  มาลินีฉันท์              ข.  มาณวกฉันท์

    ค.  วสันตดิลกฉันท์         ง.  อินทรวิเชียรฉันท์

 

8. ข้อใดใช้ภาพพจน์อุปมา

     ก.      ทราบข่าวขจรกิรติบา       รมิว่าพระองค์เป็น

            เอกอัครกษัตริย์สุขุมเพ็ญ     กรุณามหาศาล

    ข.     บางคนกมลอ่อน             อุระข้อนพิไรพรรณน์

           บางพวกพิสัยฉัน               กุธเกลียดก็เสียดสี

    ค.     ควรขัตติยยานยรรยง      เพียงพาหนาสน์องค์

           สหัสนัยน์ใดปาน

    ง.     พะพ้องพระอาชญา         บมิน่าจะเป็นจะปาน

           มิหนำนิเทสการ                ทวิวิธลุทัณฑทวน

 

9. ข้อใดไม่ได้หมายถึงวัสสการพราหมณ์

    ก.     โดยเต็มกตัญญู              กตเวทิตาครัน

           ใหญ่ยิ่งและยากอัน                                                             นรอื่นจะอาจทน

    ข.     ก็พ้อและต่อพิษ             ทุรทิฐิมานจน

           ลุโทสะสืบสน                   ธิพิพาทเสมอมา

    ค.     ปลงอาตม์นิราศรา          ชคฤห์ฐานมุ่งไป

           สู่เทศสถานไกล                บุรรัฐวัชชี

    ง.     ทิชงค์เจาะจงเจตน์         กลห์เหตุยุยงเสริม

           กระหน่ำและซ้ำเติม           นฤพัทธก่อการณ์

10. ทุกข้อต่อไปนี้ มีคำไวพจน์ที่หมายถึง “พราหมณ์”

        ยกเว้นข้อใด

    ก.        และฝ่ายกุมารผู้          ทิชครูมิเรียกหา

           ก็แหนงประดารา               ชกุมารทิชงค์เชิญ

    ข.        ชะรอยว่าทิชาจารย์      ธ คิดอ่านกะท่านเป็น

           รหัสเหตุประเภทเห็น          ละแน่ชัดถนัดความ

    ค.        ทิชงค์เจาะจงเจตน์       กลห์เหตุยุยงเสริม

           กระหน่ำและซ้ำเติม            นฤพัทธก่อการณ์

    ง.        เมตตาทยาลุศุภกรรม   อุปถัมภการุณย์

           สรรเสริญเจริญพระคุณสุน   ทรพูนพิบูลงาม

 

11. จากข้อความที่กำหนดให้ ข้อใดเป็นบท “พิโรธวาทัง”

    ก.        ไป่เห็นกะเจ็บแสบ       ชิวแทบจะทำลาย

           มอบสัตย์สมรรถหมาย        มนมั่นมิหวั่นไหว

    ข.        เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร

           ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน           ก็มาเป็น

    ค.        เสื่อมสีสะผมเผ้า         สิริเปล่าประจานตัว

           เป็นเยี่ยงประหยัดกลัว        ผิมลักจะหลาบจำ

    ง.        ต่างทรงสำแดง           ความแขงอำนาจ

            สามัคคีขาด                    แก่งแย่งโดยมาน

            ภูมิศลิจฉวี                      วัชชีรัฐบาล

            บ่ ชุมนุมสมาน                แม้แต่สักองค์

 

12. บทประพันธ์ในข้อใดดีเด่นด้านการแสดงภาพเคลื่อนไหว

     มากที่สุด

    ก.        แพร้วแพร้วพรายพรายข่ายกรอง ก่องสกาวดาวทอง

              ทั้งพู่สุพรรณสรรถกล

    ข.        ขุนอัศว์อาตม์โอ่โอฬาร       รำทวนเทิดปาน

            ประหนึ่งจะโถมโจมแทง

    ค.        ต่างตัวดีดโลดโดดลอย       เริงเล่นเผ่นคอย

            จะควบประกวดอวดพล

    ง.        ขุนคชขึ้นคชชินชาญ          คุมพลคชสาร

            ละตัวกำแหงแข็งขัน

 

13. คำว่า “ธ” ในข้อใด หมายถึง วัสสการพราหมณ์

    ก.        ราช ธ ก็เล่า               เค้า ณ ประโยค

            ตนบริโภค                      แล้วขณะหลัง

    ข.        เสร็จอนุศาสน์                                                            ราชอุรส

            ลิจฉวิหมด                      ต่าง ธ ก็มา

    ค.        เห็นน่าจะหายนะก็ขัด   พจนัตถทัดทาน

            บัดดลบดินทร ธ ดาล         พระพิโรธสำแดง

    ง.        บ่ ห่อนจะมีสา            ร ฤ หาประโยชน์ไร

            กระนั้นเสมอนัย               เสาะแสดง ธ แสร้งถาม

 

14. บทประพันธ์ในข้อใดพรรณนาภาพช้าง

    ก.        พลหัยพิศเห็นเช่นเหิน     หาวเหาะเหยาะเดิน

            เดาะเตือนก็เต้นตีนซอย

    ข.        โสภาอัศวาภรณ์สรรพ์     ตาบหน้าพร่าวรร

            ณเด่นดำกลกาญจน์มณี

    ค.        โอภาสอาภรณ์อัครภัณฑ์  คชลักษณ์ปิลันธน์

            ก็เลิศก็ล้ำลำยอง

    ง.        ต่างขับและขี่เข้มแขง       ควงแส้สำแดง

            ดุรงควิธีโรมรณ

 

15. ข้อใดคือแนวคิดที่สำคัญที่สุดของเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

    ก.  อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง

    ข.  ความมีปัญญาช่วยให้เอาชนะศัตรูได้สำเร็จ

    ค.  ความเห็นแก่ตัวและอิจฉาริษยานำมาซึ่งความแตกสามัคคี

    ง.   ความไม่สามัคคีปรองดองทำให้หมู่คณะและบ้านเมือง

           ประสบความหายนะได้

รบกวนช่วยเฉลยให้หน่อยครับIP: xxx.68.5.76

รบกวนช่วยเฉลยให้หน่อยครับIP: xxx.68.5.76

เฉลย ๑๕ ข้อ ด้านบนนะคะ๑. ก ๒. ก ๓. ง ๔. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง ที่ถูกค้องตอบ สัทธราฉันท์ ๒๑ ๕. ถ้าถามเกี่ยวกับโวหาร จะตอบ พิโรธวาทัง ๖. ข ๗. ค ๘. ค ๙. ข ๑๐. ง ๑๑. ข ๑๒. ค ๑๓. ง ๑๔. ค ๑๕. ง หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

จากวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์หากเราเป็นวัสสการพราหมณ์เราจะใช้วิธีการกรือแผนการใดที่ไม่ซ้ำกับวัสสการพราหมณ์ยึดครองเมืองเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีโดยไม่ต้องใข้กำลัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท