จิตตปัญญาศึกษา : เดินทางใจสู่วิวัฒนาการเรียนรู้


 

หลังจากได้รับการฝึกอบรมเข้มกระบวนกรจิตตปัญญาศึกษามาเป็นวันที่ 3 แล้ว พบว่า

  • การเรียนรู้ด้วยใจ กับ การเรียนรู้ด้วยสมองนั้น แตกต่างกัน 

  • การเรียนรู้ด้วยใจ หรือ การเดินทางด้านในด้วยใจ  เป็นการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาจิตใจด้านในของตนเองด้วยการเรียนรู้ และยิ่งเรายิ่งเดินทางเข้าไปในใจได้ลึกละเอียดมากขึ้น เราก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีปัญญาญาณมากขึ้น ยิ่งทำให้เราเดินชีวิตทางโลกได้ดีและถูกต้องยิ่งกว่า 

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้#ใจ
หมายเลขบันทึก: 334466เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

*    สำหรับผม   สมองไว   แต่ใจช้า  ครับ  ส่วนใหญ่ก็จึงเรียนรู้ที่มาจาก  สมอง  มากกว่า  ใจ

*   ตอนนี้ ก็จะพยายามเรียนรู้ด้วยใจ  ให้มากขึ้น ครับ 

 

สวัสดีครับ ท่านรองฯ

  • เราส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้ใช้ "สมอง" เป็นหลักในการเรียนรู้ เราก็พบว่า ถึงเรียนมากความทุกข์ก็ไม่ได้ลดน้อยลงเลย บางทีอาจจะเป็นทุกข์มากขึ้นก็มี 
  • เราส่วนใหญ่คิดไปว่า หาทรัพย์สมบัติมาก ยศฐาบรรดาศักดิ์มากขึ้นแล้ว มันจะทำให้เราเป็นสุขมากขึ้นกว่าเดิม แต่หาเป็นเช่นนั้นเสมอไปไม่
  • เราไม่น้อยไม่เห็นว่า มันมีการเรียนรู้บางวิธี ที่มุ่งเป้าไปที่การเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง และทำให้พ้นทุกข์ได้ 
  • ผมเองก็พึ่งเห็นครับ

 

สวัสดีครับอาจารย์

การเรียนรู้ด้วยใจ จะต้องสะสมเวลาถึงจะถึงแก่นแท้

เรียนท่านภูฟ้า

ต่อไปจะลองวิธีการเรียนรู้ด้วยใจดูครับ

ว่าจะทำอย่างไร

 

สวัสดีครับ ครูประสิทธิ์

การเรียนรู้ด้วยใจ จะต้องสะสมเวลาถึงจะถึงแก่นแท้

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ การเดินทางใจก็คือการเดินจากเปลือก กระพี้ เข้าสู่แก่นใจนั่นเอง
  • ผมเข้าใจว่า... ยิ่งเราเข้าไปลึกซึ้งเพียงใด ญาณทัศนะ หรือ ปัญญาญาณ ก็จะชัดเจนยิ่ง ๆ ขึ้น
  • ขอบคุณที่แวะมา ลปรร ครับ

 

 

เรียน ท่าน พลาย

  • การเรียนรู้ด้วยใจ กับ สมอง ดู ๆ ไปก็เหมือนเป็นการเล่นคำ เพื่อสื่อความหมายให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน จริง ๆ อาจเป็นการใช้สมองด้วยกันทั้งสอง แต่ระดับคุณภาพต่างกัน กล่าวคือ การเรียนรู้ด้วยใจ น่าจะเป็นการเข้าสู่คลื่นอัลฟ่า ทำนองนั้นครับ
  • สำหรับการฝึกนั้น ผมว่า ไม่ง่าย ไม่ยาก โดยเรา "ภาวนา" ตามรู้ความเป็นจริงของกายและใจ ผ่อนคลาย สบาย ๆ ไม่ต้องรีบร้อน ค่อยเป็นค่อยไป อาจดูเหมือนว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่จริง ๆ แล้ว เหมือนการเดินทางใจครับ เปลี่ยนไปแล้วไม่มากก็น้อย
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ

 

 

สวัสดีครับ krutoiting

  • ต้องผสานความรู้กับคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ เรื่อง "การดูจิต" ทั้งนี้ต้องผ่อนคลายไม่กักขังหรือปล่อยให้จิตร่อนเร่ ก็จะทำให้เรารู้จักกายและใจของเราลึกซึ้งขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท