การทำงานด้านสถานะบุคคล


การทำงานด้านสถานะบุคคล

หลายคนคงคิดว่าทำไมหรือที่ต้องเขียนงานแบบนี้ออกมา เพราะอะไร?

เริ่มต้นที่ว่า แล้วอะไรละคืองานสถานะบุคคล?

    เราทุกคนเกิดมาย่อมต้องมีสถานะบุคคลตามกฎหมายภายในรัฐที่เรานั้นได้เกิดมา ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนชาติของรัฐนั้นหรือ เป็นคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในรัฐนั้นก็ตาม นั่นก็คือรัฐที่เราอาศัยอยู่นั้นย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่มีตัวตนในรัฐนั้น ถ้าหากเราไม่มีตัวตนในรัฐนั้นก็ย่อมหมายถึงการที่เรานั้นตกเป็นคน "ไร้รัฐ" หรือ "คนไม่มีรัฐ"

   ด้วยเหตุนี้การทำงานด้านสถานะบุคคล ก็คือการทำงานเพื่อให้ประชาชนที่เดือดร้อนในเรื่องของสถานะบุคคลได้รับการ ช่วยเหลือและแก้ไขให้ได้รับสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะเวลานั้น นี่คือการทำงานด้านสถานะบุคคลที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่แต่จะทำเพื่อมุ่งเป้าไปสู่การมีสัญชาติ นั้นหาได้ไม่ 

   แต่เป็นการนำคนเข้าสู่ระบบ "การจัดการสถานะบุคคล" เพราะทั้งนี้ในสถานะบุคคลนั้น มีอยู่ 3 ประเด็นใหญ่ ดังนี้

1. การมีสถานะเป็นคนสัญชาติ

2. การมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราว

3. การมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิอาศัยอยู่ถาวร

    ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้นเป็นเรื่องของ "การจัดการสถานะบุคคล"ที่กำหนดชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจว่าแต่ละข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมเขาควรจะอยู่ในจุดไหน และเขาควรจะมีสถานะบุคคลอย่างไร แม้ว่าในข้อเท็จจริงปัจจุบันการอยู่อาศัยในราชอาณาจักรไทยจะยังคงแบ่งออกอีกเป็น การได้รับการรับรองการมีภูมิลำเนา(เป็นการให้สิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราว คือกลุ่มผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย) หรือการรับรองตัวบุคคลแต่ยังไม่รับรองการมีภูมิลำเนาในประเทศ (ยังไม่ให้สิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราว เช่นกลุ่มบุคคลที่อยู่ในระบบของการถือแบบพิมพ์ประวัติ ทร.38/1 หรือ ทร.38ก)

   โดยที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้วนั้นนี่คือกรอบขอบเขตในการทำงานด้านสถานะบุคคล ซึ่งไม่ว่าใครก็ตามที่จะมาทำงานด้านนี้ก็ต้องยึดหลักการนี้ให้แน่น เพราะมันคือ "หัวใจซีกขวา" ของงานด้านสถานะบุคคล ทั้งนี้ใน"หัวใจซีกซ้าย"นั้นก็คือ "การยึดหลักกฎหมาย"ในการทำงานเพราะ กฎหมายคือเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้บุคคลหนึ่งคนที่ประสบปัญหาได้รับการเยียวยาและแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลนี้ได้

   ดังนี้ "การทำงานด้านสถานะบุคคล" จึงมีความหมายคร่าวๆอย่างที่ได้กล่าวมาในตอนต้น

แล้วทำไมผมถึงต้องเขียนเรื่องนี้ ?

   ความจริงแล้วก็ตั้งใจที่จะเขียนเรื่องนี้ออกมานานแล้ว แต่เนื่องจากติดงานระยะเวลาไม่ว่างพอที่จะได้เริ่มต้นเขียนเสียที ก็เลยต้องเก็บไว้เรื่อยมาแต่เมื่อถึงวันนี้เมื่อทุกอย่งสุกงอมด้วยการทำงานมา และสิ่งที่ต้องการสะท้อนออกมาพร้อมแล้ว ก็เลยต้องลงมือเขียน

    การทำงานด้านสถานะบุคคลนี้ คนที่ทำงานนี้ได้ต้องเริ่มจากเป็นคนที่มี "จิตอาสา" ที่อยากทำอะไรเพื่อตอบแทนสังคมชุมชน และประเทศชาติ พร้อมกันนี้ยังต้องเป็นคนที่เข้าใจสภาพปัญหาสถานะบุคคลของพื้นที่ที่ทำงานเป็นอย่างดี และต้องเป็นคนที่เข้าใจชาวบ้านพร้อมยืนสู่เคียงข้างชาวบ้านเสมอ เพระงานด้านนี้นั้น(อันนี้กล่าวในส่วนของ NGO) จะเป็นงานที่ต้องอยู่กับสภาพปัญหาด้านสถานะบุคคลของชาวบ้าน ต้องรับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด รวมไปถึง "ประวัติศาสตร์ชุมชน"ของกลุ่มชาวบ้าน เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเพราะ 

    ซึ่งนั่นไม่ใช่การที่เราจะไปช่วยเหลือหรือไปเก็บข้อมูลอย่างใดๆแล้ว แต่ไปเพียงแค่เพราะต้องไป เพราะหากทำแล้วจะได้หน้า หรือเพราะทำแล้วฉันจะได้รู้จักคนอื่นมากขึ้น ฯลฯ ที่กล่าวมานี้นั้นเป็นหนทางที่นำพาไปสู่อันตรายของชาวบ้านที่พวกเขาเหล่านั้นไปสำรวจ เพราะอะไร ก็เป็นเพราะการทำอย่างนั้นคนที่เดือดร้อนอยู่แล้วคือชาวบ้าน ซ้ำการไปนั้นยังไปซ้ำเติมให้ชาวบ้านเดือดร้อนเข้าไปอีก จะกล่าวง่ายๆคือไปซ้ำเติมชาวบ้าน  

    และก็ไม่ใช่เพราะมีคนสั่งมาให้ทำโดยที่เราไม่ได้คิดถึงความเสี่ยงความคุ้มค่ากับการเสียเวลา เสียแรงเสียทุนทรัพย์ ทั้งนี้การทำงานเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงนั้น ต้องได้ข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนและต่องเป็นคนแสวงหาหรือวิ่งไล่หาจ้อเท็จจริงที่เป็นข้อเท็จจริงแท้ๆของบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อน (เป็นกระบวนการเพื่อช่วยทางราชการกลั่นกรองตัวบุคคล)

หมายเลขบันทึก: 334361เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท