สรุปวิจัยเล่มที่ 5


สรุปวิจัย

ชื่อเรื่อง   การศึกษาสมรรถภาพ  ปัญหาและความต้องการของครูวิทยาศาสตร์

              ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบล เขตการศึกษา6

ผู้แต่ง      เฉลิม  รอดหลง                  

              มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปี พ.ศ.    2529

คำถามงานวิจัย 

ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบล  เขตการศึกษาที่ 6 มีสมรรถภาพ  ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง

 

สมมติฐาน

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเกี่ยวกับสมรรถภาพ  ปัญหา  และความต้องการของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์  นำไปแก้ไขและปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรตาม  ได้แก่  สมรรถภาพ  ปัญหา  และความต้องการเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของ  ครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบล  เขตการศึกษาที่ 6

 

ขอบเขตงานวิจัย

  1. การศึกษาสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ให้ครูวิทยาศาสตร์เป็นผู้ประเมินตนเอง
  2. การศึกษาครั้งนี้  เป็นการศึกษาครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบล เขตการศึกษา 6  ปี 2528  ซึ่งเป็นครูวิทยาศาสตร์จำนวน 106 คน  จาก 43 โรง  ได้รับแบบสอบถามกลับมา 98 คน คิดเป็นร้อยละ 92.45   (จึงนำผลจากครู 98 คน ใน 40  โรงเรียนมาวิเคราะห์ผล)

 

เครื่องมือที่ใช้   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4  ตอน คือ

ตอนที่ 1  แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของโรงเรียนและสถานภาพของครู

ตอนที่ 2  แบบการประเมินสมรรถภาพตนเองของครูวิทยาศาสตร์

ตอนที่ 3  แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาของครูวิทยาศาสตร์  ได้แก่   ปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน  หลักสูตร  วิธีสอน  วัสดุอุปกรณ์

ตอนที่ 4  แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของครูวิทยาศาสตร์  ได้แก  ความต้องการด้านวิชาการ  ด้านการอบรมสัมมนา  ด้านการปรับปรุงการสอน 

 

วิธีการวิจัย  เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ

ผลการวิจัย

สถานภาพของครูวิทยาศาสตร์

        เพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน  มีอายุระหว่าง 25-29 ปี  ส่วนมากจบวุฒิปริญญาตรีและจบวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไปมากที่สุด

สถานภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบล

        ส่วนมากเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและเป็นโรงเรียนขนาดเล็กคือ มีนักเรียนน้อยกว่า 500 คน  อัตราส่วนระหว่างจำนวนครูวิทยาศาสตร์ต่อจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาเฉลี่ย 1 : 143

การประเมินสมรรถภาพตนเองของครูวิทยาศาสตร์

        ครูส่วนใหญ่ประเมินตนเองว่ามีมโนทัศน์ต่อวิชาวิทยาศาสตร์ , มีทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์, ด้านหลักสูตร ด้านการสอน และด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง  แต่มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์มาก

ปัญหาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

        ปัญหาส่วนที่พบในการเรียนการสอนมีทั้งเนื่องมาจากผู้เรียนและผู้สอน  คือ  ครูส่วนใหญ่คิดว่านักเรียนมีพื้นความรู้ไม่ดีพอ  และครูก็มีภาระหน้าที่มากเกินไปจนไม่มีเวลาเตรียมการสอน นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น เวลาเรียนและเนื้อหาที่กำหนดในหลักสูตรไม่เหมาะสม 

ความต้องการของครูวิทยาศาสตร์

        ครูมีความต้องการเอกสารทางวิทยาศาสตร์  ต้องการอบรมสัมมนาในเนื้อหาวิชาและเรื่องการผลิตและซ่อมแซมอุปกรณ์วิทยาศาสตร์  และ ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

 

หมายเลขบันทึก: 334144เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2010 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท